1 / 36

พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พุทธศักราช 2475

พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พุทธศักราช 2475. ภาษีโรงเรือนและที่ดิน หมายถึง ภาษีที่จัดเก็บจากโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นๆ กับที่ดินที่ใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างนั้น. หลักการสำคัญ 1. ต้องมีทรัพย์สิน ได้แก่ - โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นๆ

travis-ryan
Download Presentation

พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พุทธศักราช 2475

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินพุทธศักราช 2475

  2. ภาษีโรงเรือนและที่ดินหมายถึงภาษีที่จัดเก็บจากโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นๆ กับที่ดินที่ใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างนั้น หลักการสำคัญ 1. ต้องมีทรัพย์สิน ได้แก่ - โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นๆ - ที่ดินซึ่งใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างนั้น 2. ไม่เข้าข้อยกเว้น ตามมาตรา 9,10 และมาตรา 19 ของ พ.ร.บ.ฯ ฉบับที่ 4

  3. หลักการสำคัญภาษีโรงเรือนและที่ดินหลักการสำคัญภาษีโรงเรือนและที่ดิน 1. โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้าง - ต้องเป็นส่วนควบยึดติดกับที่ดิน การโยกย้ายต้อง รื้อถอนทำลาย - ปกติคนสามารถใช้สอยตามปกติได้โดยทั่วไป 2. ที่ดินซึ่งใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างนั้น - ที่ดินจะต้องใช้เกี่ยวเนื่องภารกิจเดียวกันกับโรงเรือน - ที่ดินที่ไม่เกี่ยวข้องให้แยกเก็บภาษีบำรุงท้องที่

  4. ทรัพย์สินที่ได้รับการยกเว้นภาษีฯ มาตรา 9 1. พระราชวัง 2. ทรัพย์สินของรัฐบาลที่ใช้ในกิจการของรัฐบาลหรือสาธารณะ และทรัพย์สินของการรถไฟที่ใช้ในกิจการของการรถไฟโดยตรง 3. ทรัพย์สินของโรงพยาบาลสาธารณะ และโรงเรียนสาธารณะ 4. ทรัพย์สินซึ่งเป็นศาสนสมบัติ 5. โรงเรือนฯซึ่งปิดไว้ตลอดปีและเจ้าของมิได้อยู่เองหรือให้ผู้อื่นอยู่ นอกจากคนเฝ้า 6. โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างของการเคหะฯที่ผู้เช่าซื้ออยู่อาศัยเอง และมิได้ใช้เป็นที่เก็บสินค้า หรือประกอบการอุตสาหกรรม มาตรา 10 โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งเจ้าของอยู่เองหรือให้ผู้แทนอยู่เฝ้ารักษา และซึ่งมิได้ใช้เป็นที่ไว้สินค้า หรือประกอบการอุตสาหกรรม

  5. กรณีลดหย่อนค่ารายปี มาตรา 11 โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้าง ถูกรื้อถอนทำลาย โดยประการอื่น ให้ลด ยอดค่ารายปีตามส่วน ตลอดเวลาที่ยังไม่ได้ทำขึ้น และยังใช้ไม่ได้ มาตรา 12 โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างทำขึ้นระหว่างปีถือเอาเวลาซึ่งมีขึ้น และ สำเร็จจนควรอยู่ได้แล้ว เป็นเกณฑ์คำนวณค่ารายปี มาตรา 13 เจ้าของโรงเรือนติดตั้งส่วนควบที่สำคัญขึ้นในโรงเรือนนั้นมีลักษณะ เป็นเครื่องจักรกล เครื่องกระทำ หรือเครื่องกำเนิดสินค้า เพื่อใช้ ดำเนินการอุตสาหกรรม ลดค่ารายปีลงเหลือ 1 ใน 3

  6. กรณีลดหย่อนภาษี มาตรา 41 1. เมื่อปรากฏว่าผู้รับประเมินได้เสียหายเพราะทรัพย์สิน ว่างลง หรือชำรุด ต้องซ่อมแซมส่วนที่สำคัญ 2. ผู้รับประเมินยื่นคำร้อง 3. ลดค่าภาษีลงตามส่วนที่เสียหาย หรือ ปลดค่าภาษี ทั้งหมดก็ได้

  7. การขอยกเว้น ขอให้ปลดภาษี หรือขอลดค่าภาษีมาตรา 33 - ผู้รับประเมินต้องเขียนลงในแบบพิมพ์ - พยานหลักฐานที่สนับสนุน - พนักงานสอบสวนโดยการไต่สวนหรือวิธีอื่นว่าคำร้องขอนั้นมีมูลและควรได้รับการยกเว้น หรือปลด หรือลดภาษีเพียงใด

  8. ผู้มีหน้าที่เสียภาษี มาตรา 40 1. เจ้าของทรัพย์สิน 2. เจ้าของโรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้าง และเจ้าของที่ดินเป็น คนละเจ้าของ เจ้าของโรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างเป็นผู้เสีย มาตรา 45 ถ้าค่าภาษีค้างอยู่และยังมิได้ชำระขณะเมื่อทรัพย์สินได้โอนกรรมสิทธิ์ด้วนเหตุใดๆก็ตาม เจ้าของคนเก่าและคนใหม่เป็นลูกหนี้ค่าภาษีนั้นร่วมกัน

  9. การหาค่ารายปีมาตรา 8 - จำนวนเงินซึ่งทรัพย์สินนั้นสมควรให้เช่าได้ในปีหนึ่งๆ - กรณีให้เช่า ให้ถือค่าเช่า เป็น ค่ารายปี - กรณีมีเหตุอันสมควรให้ พนง.จนท.ประเมินค่ารายปี ตามหลักเกณฑ์ที่ รมว.มท. กำหนด มาตรา 18 ค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้วนั้นเป็นหลักในการคำนวณค่าภาษีซึ่งจะต้องเสียในปีต่อมา

  10. การคำนวณค่าภาษี(มาตรา 8 วรรคแรก) 1. ผู้รับประเมิน ชำระภาษีปีละครั้งตามค่ารายปี 2. อัตราร้อยละ 12.5 ของค่ารายปี ค่าภาษี = ค่ารายปีX 12.5 %

  11. กฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง มาตรา 37 คำสั่งทางปกครองที่ทำเป็นหนังสือและการยืนยัน คำสั่งทางปกครอง ต้องจัดให้มีเหตุผลไว้ด้วย และเหตุผลนั้น อย่างน้อยต้องประกอบด้วย (1) ข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ (2) ข้อกฎหมายที่อ้างอิง (3) ข้อพิจารณาและข้อสนับสนุนในการใช้ดุลพินิจ ดังนั้นให้ อปท. ดำเนินการ 1. จัดทำรายละเอียดการคำนวนค่ารายปีและภาษี ส่งพร้อมกับ ภ.ร.ด.8 2. จัดทำรายละเอียดการชี้ขาดเมื่อมีการร้องขอให้ประเมินใหม่ส่งพร้อมกับ ภ.ร.ด.10 หรือภ.ร.ด. 11

  12. การชำระค่าภาษี(มาตรา 38) 1. ชำระภาษีภายใน 30 วัน นับแต่วันถัดจากวันที่ ได้รับแจ้งการประเมิน 2. โดยธนาณัติ ตั๋วแลกเงินธนาคาร หรือเช็คที่ ธนาคารรับรอง ทางไปรษณีย์ลงทะเบียน 3. ชำระผ่านธนาคาร

  13. การผ่อนชำระ 1. ภาษีโรงเรือนและที่ดิน 9,000 บาทขึ้นไป 2. ผ่อนชำระเป็น 3 งวดเท่า ๆ กัน 3. แจ้งความจำนงเป็นหนังสือก่อนครบกำหนดเวลา ชำระภาษี (ภายในกำหนดสามสิบวันนับแต่วันถัดจากวันที่ได้รับแจ้งการประเมิน)

  14. สรุป : หลักเกณฑ์ทำการประเมินค่ารายปี 1. ทรัพย์สินให้เช่า ค่าเช่าสมควรถือค่าเช่าคือค่ารายปี 2. ทรัพย์สินให้เช่า ค่าเช่าไม่สมควร หรือหาค่าเช่าไม่ได้ ประเมินโดยเทียบเคียง - ค่ารายปีที่ล่วงมาแล้ว - ค่ารายปีของทรัพย์สินที่ให้เช่า 3. กรณีเทียบเคียงตาม 2. ไม่ได้ อาจใช้มูลค่าทรัพย์สิน มาประกอบการประเมินค่ารายปีได้ 4. คำนึงถึงภาระภาษีของประชาชน

  15. มาตรา 24 ทวิกรณีไม่ยื่นแบบพิมพ์แสดงรายการเพื่อเสียภาษี หรือยื่นไม่ถูกต้อง หรือไม่บริบูรณ์ 1. พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจประเมิน 2. แจ้งการประเมินย้อนหลังตามที่ประเมินได้ 3. กำหนดเวลา - ไม่ยื่นแบบ ย้อนหลังได้ไม่เกิน 10 ปี - ยื่นไม่ถูกต้อง ย้อนหลังได้ไม่เกิน 5 ปี - นับแต่วันสุดท้ายแห่งระยะเวลาที่กำหนดให้ยื่นแบบพิมพ์ตามมาตรา 19 (วันสุดท้ายของเดือนกุมภาพันธ์)

  16. 1. การยื่นแบบ ภรด.2 ให้ระบุขนาดตัวอาคารที่ดำเนิน กิจการ และที่ดินต่อเนื่อง2. เจ้าของทรัพย์สินต้องลงนามในแบบพิมพ์ หรือตัวแทนที่ได้รับมอบหมายเป็นลายลักษณอักษร ซึ่งชอบด้วยกฎหมายแพ่งและพาณิชย์3. ไม่ว่าเจ้าของดำเนินกิจการเองหรือให้เช่า พนง.จนท. ต้องใช้ดุลยพินิจหลายอย่างประกอบกัน เพื่อกำหนด ค่ารายปีให้อยู่ในมาตรฐานที่เหมาะสม ข้อสังเกต

  17. การตรวจสอบทรัพย์สิน (มาตรา 23) เพื่อประโยชน์ในการรับประเมิน : 1. พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าไปตรวจสอบด้วย ตนเองต่อหน้าผู้รับประเมิน 2. ระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก 3. ต้องแจ้งความเป็นลายลักษณ์อักษรก่อนล่วงหน้า ไม่ต่ำกว่า 48 ชั่วโมงก่อนตรวจ 4. ผู้รับประเมินฯ ต้องอำนวยความสะดวกตามสมควร

  18. การส่งหนังสือ(มาตรา 36) การส่งหนังสือแจ้งความ หรือหมายเรียก 1. ให้คนนำไปส่ง หากไม่พบผู้รับให้ส่งให้บุคคลอายุ เกิน 20 ปี ที่อยู่ในบ้านเรือน หรือสำนักงานของผู้รับ 2. จดหมายไปรษณีย์ลงทะเบียน 3. ส่งตาม 1. และ 2. ไม่ได้ อาจส่งโดยวิธีปิดในที่เห็นได้ ถนัดที่ประตูบ้านผู้รับ หรือ โฆษณาหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น

  19. การยื่นคำร้องให้พิจารณาการประเมินใหม่มาตรา 25 , 26 , 27(การอุทธรณ์) 1. ผู้รับประเมินไม่พอใจการประเมิน 2. คำร้องเขียนตามแบบพิมพ์ที่กำหนดภายใน15วัน นับแต่วันได้รับแจ้งต่อผู้บริหารท้องถิ่น 3. ยื่นภายหลังเวลาที่กำหนดให้มีหนังสือแจ้งผู้รับ ประเมินว่า"หมดสิทธิที่จะให้พิจารณาการประเมิน ใหม่และจำนวนเงินที่ประเมินไว้เป็นจำนวนเด็ดขาด” และมิให้นำเรื่องขึ้นสู่ศาล 4. คำชี้แจงให้แจ้งเป็นลายลักษณ์อักษร

  20. การนำเรื่องขึ้นสู่ศาล มาตรา 39 1. ผู้ยื่นฟ้องต่อศาลตามความในมาตรา 31 2. ห้ามมิให้ศาลประทับรับฟ้องเว้นแต่จะเป็นที่พอใจศาล ว่าผู้รับประเมินได้ชำระค่าภาษีทั้งสิ้นซึ่งถึงกำหนด ชำระ 3. เนื่องจากมาตรา 38 ให้ชำระภาษีภายใน 30 วัน นับแต่วันถัดจากวันที่ได้รับแจ้งการประเมิน ศาลตัดสินให้ลดค่าภาษี ต้องคืนภายใน 3 เดือน โดยไม่ค่าอย่างใด

  21. การนำคดีไปสู่ศาล มาตรา 31 เมื่อผู้รับประเมินไม่พอใจคำชี้ขาดของผู้บริหารท้องถิ่น ฟ้องต่อศาลได้ภายใน 30 วัน และต้องชำระภาษีก่อนฟ้องทุกกรณี กรณีรัฐวิสาหกิจไม่พอใจคำชี้ขาดเนื่องจากจำนวนเงินสูงเกินสมควรให้รัฐวิสาหกิจนำเรื่องเสนอ ครม. มติ ครม.ถือเป็นที่สุด

  22. การคิดเงินเพิ่ม มาตรา 43 ถ้าค่าภาษีค้างชำระ ให้เพิ่มจำนวนขึ้นในอัตราดังนี้ 1. ไม่เกิน 1 เดือน ให้เพิ่ม 2.5 % ของค่าภาษีที่ค้าง 2. เกิน 1 เดือน แต่ไม่เกิน 2 เดือน เพิ่ม 5 % ของค่าภาษีที่ค้าง 3. เกิน 2 เดือน แต่ไม่เกิน 3 เดือน เพิ่ม 7.5 % ของค่าภาษีที่ค้าง 4. เกิน 3 เดือน แต่ไม่เกิน 4 เดือน เพิ่ม 10 % ของค่าภาษีที่ค้าง

  23. บทกำหนดโทษ มาตรา 46ละเลยไม่แสดงข้อความตามมาตรา 20เว้นแต่เป็นเหตุสุดวิสัย มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองร้อยบาท มาตรา 20ให้ผู้รับประเมินผู้เช่า หรือผู้ครองทรัพย์กรอกรายการในแบบพิมพ์ตามความเป็นจริง ตามความรู้เห็นของตนให้ครบถ้วน และรับรองความถูกต้องของข้อความดังกล่าว พร้อมทั้งลงวันที่ เดือน ปี และลงลายมือชื่อของตนกำกับไว้ แล้วส่งคืนไปยังพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ทรัพย์สินนั้นตั้งอยู่

  24. บทกำหนดโทษ มาตรา 47จงใจไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกไม่แจ้งรายละเอียดเพิ่มเติมไม่นำพยานหลักฐานมาแสดงไม่ตอบคำถามตามมาตรา 21 มาตรา 22 มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท มาตรา 48ผู้ใด ก. โดยรู้อยู่แล้วหรือจงใจยื่นข้อความเท็จหรือให้ถ้อยคำเท็จหรือตอบคำถามอันเป็นเท็จนำพยานหลักฐานเท็จมาแสดงหรือจัดหาทางให้ผู้อื่นหลีกเลี่ยงการคำนวณค่ารายปีของตน ข.   โดยความเท็จโดยเจตนาละเลยโดยฉ้อโกงโดยอุบายโดยวิธีการมีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือนหรือไม่เกินห้าร้อยบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

  25. การบังคับภาษี มาตรา 44ถ้าไม่ชำระภาษีและเงินเพิ่มภายใน 4 เดือน ออกคำสั่งเป็นหนังสือ ให้ยึด อายัด หรือ ขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ค้างชำระ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งโดยอนุโลม ถ้า อปท. ไม่ดำเนินการตามมาตรา 44 สามารถ นำเรื่องส่งให้อัยการสูงสุดฝ่ายภาษีอากรนำฟ้องต่อศาลภาษีอากรกลางก็ได้

  26. ตามหนังสือด่วนที่สุด ที่ มท 0307/ว. 2393ลงวันที่ 10 กันยายน 2536 1. การแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาการประเมินและคณะกรรมการพิจารณาคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ 2. กำหนดราคาค่าเช่ามาตรฐานกลางเฉลี่ยต่อตารางเมตร (ต่อเดือน) - ประเภททรัพย์สิน - ทำเลการใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ 3. การประเมินค่ารายปีของส่วนควบที่เป็นเครื่องจักรกลไกฯ

  27. 2. คณะกรรมการพิจารณา คำร้องขอให้พิจารณา การประเมินใหม่ - รองนายกฯที่ได้รับมอบหมาย - ปลัด อปท. - หน.ส่วนราชการในพื้นที่ ไม่เกิน 2 คน - หน.กสถ.จ./กสถ.อ/ปลัด อ. - ราษฎรผู้ทรงคุณวุฒิ 2 คน - ผอ./หน.คลัง เป็นเลขาฯ 1. คณะกรรมการพิจารณาการประเมินกำหนดราคาค่าเช่ามาตรฐานกลางเฉลี่ยต่อตารางเมตร (ต่อเดือน) - ปลัด อปท. - หน.ส่วนใน อปท. 3 คน - หน.ส่วนราชการในพื้นที่ ไม่เกิน 2 คน - ราษฎรผู้ทรงคุณวุฒิ 2 คน - ผอ./หน.คลัง เป็นเลขาฯ - หน.ฝ.พัฒนารายได้/หน.ง.

  28. ตัวอย่างการหาค่าเช่าเฉลี่ยต่อตารางเมตรต่อเดือนตัวอย่างการหาค่าเช่าเฉลี่ยต่อตารางเมตรต่อเดือน 1. ต้องเป็นกรณีไม่สามารถหาค่าเช่าได้ 2. ให้สำรวจเก็บข้อมูลการเช่าบ้าน (1) บ้านไม้ บ้านตึก บ้านครึ่งตึกครึ่งไม้ (2) จำนวนชั้น (3) ขนาดของบ้าน กว้าง X ยาว (4) ค่าเช่าต่อเดือน (5) ค่าเช่าเฉลี่ยต่อตารางเมตร = ค่าเช่า ต่อเดือน กว้าง X ยาว 3. ทำตารางแบ่งเป็นทำเลตามสภาพแต่ละพื้นที่ที่มีความเจริญ

  29. ตัวอย่างกำหนดราคาค่าเช่ามาตรฐานกลางเฉลี่ยต่อตารางเมตรต่อเดือนตัวอย่างกำหนดราคาค่าเช่ามาตรฐานกลางเฉลี่ยต่อตารางเมตรต่อเดือน

  30. ตัวอย่างกำหนดราคาค่าเช่ามาตรฐานกลางเฉลี่ยต่อตารางเมตรต่อเดือนตัวอย่างกำหนดราคาค่าเช่ามาตรฐานกลางเฉลี่ยต่อตารางเมตรต่อเดือน

  31. ตัวอย่างการประเมินค่ารายปีส่วนควบ(เครื่องจักร)จังหวัดปทุมธานีตัวอย่างการประเมินค่ารายปีส่วนควบ(เครื่องจักร)จังหวัดปทุมธานี 1. กรณีไม่สามารถหาค่าเช่าได้ 2. ให้นำมูลค่าเครื่องจักรมาคำนวณหาค่ารายปีร่วมกับองค์ประกอบอื่นเช่นดรรชนีผู้บริโภครวมถึงภาวะทางเศรษฐกิจ (1) มูลค่าเครื่องจักรหักค่าเสื่อมร้อยละ 10 รวมไม่เกิน 7 ปี แล้วยืนอยู่ที่ร้อยละ 30 = มูลค่าx 30 / 100 (2) นำอัตราดอกเบี้ยสถาบันการเงินที่ให้ประโยชน์สูงสุด ณ เวลานั้น เพื่อคำนวณหาค่ารายปี = มูลค่า (1) x 7.5 / 100 (3) ค่ารายปีโรงเรือนและเครื่องจักร คิดค่ารายปีเพียง 1 ใน 3

  32. การประเมินโรงแรม แยกพิจารณา (1) เฉพาะส่วนที่เป็นห้องพัก จำนวนห้อง X ค่าเช่าห้อง/วัน X 365 X 8 % (2) อาคารอื่น – ค่าเช่าจริง (3) โรงเรือนและที่ดินต่อเนื่อง (4) ที่ดินบริเวณโรงแรม ประเมินไม่ต่ำกว่าภาษีบำรุงท้องที่ ค่ารายปี = (1) + (2) + (3) + (4) (5) ให้แยกกรอกรายการแต่ละหลังให้ออกยอดค่ารายปี/ ค่าภาษีทุกรายการ (6) โรงแรมที่ให้ผู้อื่นดำเนินการ/เช่าช่วง ให้พิจารณาค่าเช่า สูงสุดสมควรหรือไม่โดยเปรียบเทียบกับ (4) ยอดใดสูง กว่าให้นำยอดนั้นมาประเมิน

  33. แนวคิด การหาค่ารายปี ที่ดินต่อเนื่องโรงเรือน - หลักการให้เก็บภาษีไม่ต่ำกว่าภาษีบำรุงท้องที่ - เนื้อที่ที่ดิน 1 ไร่ มี 1,600 ต.ร.ม. - ใช้ราคาปานกลางปัจจุบัน สมมุติไร่ละ 100,000 บาท - ค่าภาษีบำรุงท้องที่ = 70 + 175 = 245 บาท - ค่าภาษี ต.ร.ม. ละ 245 / 1,600 = 0.153 บาท - หาค่ารายปีจากเงินภาษี = 0.153 x 100 /12.5 = 1.225 บาท - ค่าเช่าเฉลี่ยต่อ ต.ร.ม. 1.225 / 12 เดือน = 0.10 บาท - ดังนั้น การกำหนดค่าเช่าที่ดินต่อเนื่องจึงควรพิจารณาให้เกิด ความเหมาะสมไม่สูงเกินไปและไม่ต่ำกว่าภาษีบำรุงท้องที่ - ให้หาฐานข้อมูลการเช่าที่ดินเปล่าประกอบ

  34. ขั้นตอนการชำระภาษีโรงเรือนและที่ดินขั้นตอนการชำระภาษีโรงเรือนและที่ดิน ไม่กรอกรายละเอียดในแบบ ภ.ร.ด. ภายในกุมภาพันธ์มีโทษปรับ 200 บาท ตรวจสอบหรือออกหมายเรียก ประชาชนยื่นแบบ (ภ.ร.ด.2) เลขประจำตัวประชาชน แจ้งประเมิน (ภ.ร.ด.8) ค่ารายปี,เงินภาษีที่ต้องชำระ อุทธรณ์ภายใน 15 วัน (ภ.ร.ด.9) เกินกำหนด แจ้งหมดสิทธิ์ (ภ.ร.ด.11) ชำระภาษีภายใน 30 วัน นับถัดจากวันที่ได้รับแจ้งประเมิน ผู้บริหารท้องถิ่นชี้ขาด (ภ.ร.ด.10) เกิน 9,000 บาท ผ่อนได้ 3 งวดเท่าๆ กัน พ้นกำหนดคิดเงินเพิ่ม เดือนแรกร้อยละ 2.5 เดือนสองร้อยละ 5 เดือนสาม ร้อยละ 7.5 เดือนสี่ ร้อยละ 10 นำเรื่องขึ้นสู่ศาลภายใน 30 วัน รัฐวิสาหกิจนำเข้า ครม. ออกใบเสร็จ (ภ.ร.ด.12)

  35. ขั้นตอนการชำระภาษีโรงเรือนและที่ดินรหัสภาษีใช้รหัสบัญชี องค์กรท้องถิ่น เลขรหัสหน่วยงานใช้รหัสโค๊ต ประชาชนยื่นแบบ (ภรด.2) เลขประจำตัวประชาชน ใช้รหัสโค๊ต แจ้งประเมิน (ภรด.8) จำนวนเงินภาษีที่ต้องชำระ ใช้รหัสโค๊ต ปำระภาษีภายใน 30 วันหรือไม่เกินวันที่ระบุไว้ พ้นกำหนดไม่สามารถชำระภาษี หากยินยอมคิดเงินเพิ่ม เดือนแรกที่พ้นกำหนด ร้อยละ 2.5 เดือนสองที่พ้นกำหนด ร้อยละ 5 เดือนสามที่พ้นกำหนด ร้อยละ 7.5 เดือนสี่ที่พ้นกำหนด ร้อยละ 10 พ้นจากนี้ไม่รับชำระเงินผ่านระบบ จำนวนเงินภาษีที่ต้องชำระ มีรหัสโค๊ต บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ธ.กรุงไทยสาขา ที่องค์กรท้องถิ่นเปิดไว้ มีรหัสโค๊ต ชำระเงินผ่านธนาคาร/สถานบริการเอกชน ธนาคารสาขาทำรายการการชำระภาษีผ่านระบบเครือข่ายให้องค์กรท้องถิ่นตรวจสอบ มีรหัสโค๊ต

  36. ขั้นตอนการชำระภาษีท้องถิ่นผ่านธนาคารขั้นตอนการชำระภาษีท้องถิ่นผ่านธนาคาร องค์กรปกรองส่วนท้องถิ่น เลขรหัสหน่วยงานใช้รหัสโค๊ต (ของสำนักการทะเบียน ปค.) ประชาชนยื่นแบบ (กรอกเลขประจำตัวประชาชน) 1. แบบภาษีโรงเรือนและที่ดิน (ภรด.2) 2. แบบภาษีบำรุงท้องที่ (ภบท.5) 3. แบบภาษีป้าย (ภป.1) (ใช้รหัสภาษีตามรหัสบัญชี สถ.) แจ้งประเมิน (ภรด.8) (ภบท.9/10) (ภป.3) จำนวนเงินภาษีที่ประเมิน ชำระภาษีภายใน 30 วันนับถัดจากวันที่ได้รับ แจ้งการประเมิน หรือที่ระบุ ไว้ในใบแจ้งหนี้ (พ้นกำหนดต้องชำระที่ อปท. เท่านั้น) พร้อมออกใบแจ้งหนี้ระบุ จำนวนเงินภาษีที่ต้องชำระ (ระบุขั้นตอนการชำระภาษีผ่านธนาคาร) - ชำระเงินที่ อปท. (ออกใบเสร็จ) - ชำระเงินผ่านธนาคาร (ออกใบเสร็จ) ธนาคารทำรายการการชำระภาษี ผ่านระบบเครือข่าย ให้องค์กรปกรองส่วนท้องถิ่นตรวจสอบ โดยมีรหัสเข้าไประบบ บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ธ.กรุงไทยสาขา ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเปิดไว้ (ใช้รหัสโค๊ต) ความร่วมมือระหว่างกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นและธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)

More Related