390 likes | 660 Views
การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี Good Governance. โดย รศ.ดร.ลำปาง แม่น มาตย์ คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น. เอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อเพิ่มศักยภาพ นักวิเคราะห์นโยบายและแผน มหาวิทยาลัยขอนแก่น 6 มิถุนายน 2555.
E N D
การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี Good Governance โดย รศ.ดร.ลำปาง แม่นมาตย์คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น เอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อเพิ่มศักยภาพ นักวิเคราะห์นโยบายและแผน มหาวิทยาลัยขอนแก่น6 มิถุนายน 2555
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี หรือธรรมาภิบาล Good Governance • การปกครองหรือบริหารงานที่เป็นธรรม • วัฒนธรรมของการอยู่ร่วมกันในสังคม องค์กร อย่างมีความสงบสุข สามารถสานประโยชน์และคลี่คลายข้อขัดแย้ง ได้อย่างสันติวิธี • พัฒนาองค์กร ให้เติบโตมีคุณภาพอย่างยั่งยืน
ทำไมต้องมีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีทำไมต้องมีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี • การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีหรือธรรมาภิบาล เป็นวิถีทางของการใช้อำนาจในการใช้ทรัพยากรเพื่อการบริหารองค์กร โดยมีเป้าหมายอยู่ที่การพัฒนาอย่างยั่งยืน • ครอบคลุมการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่างๆ • การบริหารอย่างมีความรับผิดชอบ (ภาระรับผิดชอบ) • มีกฎหมาย กฎระเบียบในการปฏิบัติงาน • มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ • มีข้อมูลข่าวสาร
การบริหารจัดการภาครัฐ ในประเทศไทย • ปัญหาประสิทธิภาพและคุณภาพ การบริหารของหน่วยงานภาครัฐ • การบกพร่อง การทำผิด ทุจริตและการขาดจริยธรรมของบุคลากร • ความเปลี่ยนแปลงทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงในระบบบริหารและกระบวนการทำงานของภาครัฐ • สภาพการบริหารจัดการในหน่วยงานภาครัฐ • โครงสร้างการบริหารจัดการภาครัฐยังขาดความยืนหยุ่น • ข้าราชการไม่สามารถปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ วัฒนธรรม ค่านิยม และวิธีการปฏิบัติงาน ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง
ปัญหาของการบริหารจัดการของหน่วยงานภาครัฐปัญหาของการบริหารจัดการของหน่วยงานภาครัฐ • ขาดกลไกและเกณฑ์ในการบริหารจัดการบ้านเมืองที่มีประสิทธิภาพ คล่องตัว สอดรับกับการเปลี่ยนแปลง • บุคลากรขาดความรู้ความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติงาน ไม่สามารถปรับตัวให้ทันต่อความเปลี่ยนแปลงของระบบราชการที่เปลี่ยนไป • ระบบการตัดสินใจการบริหารของภาครัฐ ขาดความโปร่งใส บริสุทธิ์ยุติธรรม และตรวจสอบได้ • เกิดปัญหาทุจริต คอรัปชั่น ประพฤติมิชอบอย่างกว้างขวาง • ขาดระบบข้อมูลสารสนเทศที่ใช้ประกอบการปฏิบัติงาน
การเสริมสร้างธรรมาภิบาลและการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีในหน่วยงานภาครัฐการเสริมสร้างธรรมาภิบาลและการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีในหน่วยงานภาครัฐ • รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2540 • พรบ. ระเบียบการบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2546 มาตรา 3/1 • พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์ และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี 2546 • แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย
ขอบเขต ความหมายของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี เป็นแนวปฏิบัติราชการของทุกส่วนราชการในการทำภารกิจใดๆ ต้องมีความมุ่งหมายให้บรรลุเป้าหมาย ดังนี้ • เกิดประโยชน์สุขของประชาชน • เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ • มีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่า • ไม่มีขั้นตอนการปฏิบัติงานเกินความจำเป็น • ปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการให้ทันต่อเหตุการณ์ • ประชาชนได้รับความสะดวกและตอบสนองความต้องการ • มีผลการปฏิบัติงานสม่ำเสมอ
การก่อให้เกิดและเสริมสร้างธรรมาภิบาลการก่อให้เกิดและเสริมสร้างธรรมาภิบาล
องค์ประกอบของหลักธรรมาภิบาลทั่วไปองค์ประกอบของหลักธรรมาภิบาลทั่วไป หลักธรรมาภิบาลมีองค์ประกอบที่สำคัญ 6 ประการ ดังนี้ 1. หลักนิติธรรม คือ การตรากฏหมาย กฏ ระเบียบ ข้อบังคับและกติกาต่างๆ ให้ทันสมัยและเป็นธรรม ตลอดจนเป็นที่ยอมรับของสังคมและสมาชิก โดยมีการยินยอมพร้อมใจและถือปฏิบัติร่วมกันอย่างเสมอภาคและเป็นธรรม กล่าวโดยสรุปคือ สถาปนาการปกครองภายใต้กฏหมาย มิใช่กระทำกันตามอำเภอใจหรืออำนาจของบุคคล
องค์ประกอบของหลักธรรมาภิบาลทั่วไปองค์ประกอบของหลักธรรมาภิบาลทั่วไป 2. หลักคุณธรรม คือ การยึดถือและเชื่อมั่นในความถูกต้องดีงาม โดยการรณรงค์เพื่อสร้างค่านิยมที่ดีงามให้ผู้ปฏิบัติงานในองค์กรหรือสมาชิกของสังคมถือปฏิบัติ ได้แก่ ความซื่อสัตย์สุจริต ความเสียสละ ความอดทนขยันหมั่นเพียร ความมีระเบียบวินัย เป็นต้น
องค์ประกอบของหลักธรรมาภิบาลทั่วไปองค์ประกอบของหลักธรรมาภิบาลทั่วไป 3. หลักความโปร่งใส คือ การทำให้สังคม องค์กรเป็นที่เปิดเผยข้อมูลข่าวสารอย่างตรงไปตรงมา และสามารถตรวจสอบความถูกต้องได้โดยการปรับปรุงระบบและกลไกการทำงานขององค์กรให้มีความโปร่งใส มีการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารหรือเปิดให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้สะดวก
องค์ประกอบของหลักธรรมาภิบาลทั่วไปองค์ประกอบของหลักธรรมาภิบาลทั่วไป 4. หลักความมีส่วนร่วม คือ การทำให้สังคมที่ประชาชนมีส่วนร่วมรับรู้และร่วมเสนอความเห็นในการตัดสินใจสำคัญๆ ของสังคม โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนมีช่องทางในการเข้ามามีส่วนร่วม ได้แก่ การแจ้งความเห็น การไต่สวน สาธารณะ การประชาพิจารณ์ การแสดงประชามติ หรืออื่นๆ และขจัดการผูกขาดทั้งโดยภาครัฐหรือโดยภาคธุรกิจเอกชน ซึ่งจะช่วยให้เกิดความสามัคคีและความร่วมมือกันระหว่างภาครัฐและภาคธุรกิจเอกชน
องค์ประกอบของหลักธรรมาภิบาลทั่วไปองค์ประกอบของหลักธรรมาภิบาลทั่วไป 5. หลักความรับผิดชอบ ผู้บริหาร ตลอดจนคณะข้าราชการ ทั้งฝ่ายการเมืองและข้าราชการประจำ ต้องตั้งใจปฏิบัติภารกิจตามหน้าที่อย่างดียิ่ง โดยมุ่งให้บริการแก่ผู้มารับบริการ เพื่ออำนวยความสะดวกต่างๆ มีความรับผิดชอบต่อความบกพร่องในหน้าที่การงานที่ตนรับผิดชอบอยู่และพร้อมที่จะปรับปรุงแก้ไขได้ทันท่วงที
องค์ประกอบของหลักธรรมาภิบาลทั่วไปองค์ประกอบของหลักธรรมาภิบาลทั่วไป 6. หลักความคุ้มค่า ผู้บริหาร ต้องตระหนักว่ามีทรัพยากรค่อนข้างจำกัด ดังนั้นในการบริหารจัดการจำเป็นจะต้องยึดหลักความประหยัดและความคุ้มค่า ซึ่งจำเป็นต้องตั้งจุดหมายไปที่ผู้รับบริการหรือประชาชนโดยส่วนรวม
องค์ประกอบของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีในหน่วยงานภาครัฐองค์ประกอบของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีในหน่วยงานภาครัฐ 1. หลักประสิทธิผล (Effectiveness)ผลการปฏิบัติราชการที่บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายของแผนการปฏิบัติราชการตามที่ได้รับงบประมาณมาดำเนินการ รวมถึงสามารถเทียบเคียงกับส่วนราชการหรือหน่วยงานที่มีภารกิจคล้ายคลึงกันและมีผลการปฏิบัติงานในระดับชั้นนำของประเทศเพื่อให้เกิดประโยชน์สุขต่อประชาชน โดยการปฏิบัติราชการจะต้องมีทิศทาง ยุทธศาสตร์ และเป้าประสงค์ที่ชัดเจน มีกระบวนการปฏิบัติงานและระบบงานที่เป็นมาตรฐาน รวมถึงมีการติดตามประเมินผลและพัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ
องค์ประกอบของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีในหน่วยงานภาครัฐองค์ประกอบของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีในหน่วยงานภาครัฐ 2. หลักประสิทธิภาพ (Efficiency)การบริหารราชการตามแนวทางกำกับดูแลที่ดีที่มีการออกแบบกระบวนการปฏิบัติงานโดยการใช้เทคนิคและเครื่องมือการบริหารจัดการที่เหมาะสม ให้องค์การสามารถใช้ทรัพยากรทั้งด้านต้นทุนแรงงานและระยะเวลาให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาขีดความสามารถในการปฏิบัติราชการตามภารกิจเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม
องค์ประกอบของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีในหน่วยงานภาครัฐองค์ประกอบของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีในหน่วยงานภาครัฐ 3. หลักการตอบสนอง (Responsiveness)การให้บริการที่สามารถดำเนินการได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด และสร้างความเชื่อมั่น ความไว้วางใจ รวมถึงตอบสนองตามความคาดหวัง/ความต้องการของประชาชนผู้รับบริการ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีความหลากหลายและมีความแตกต่าง
องค์ประกอบของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีในหน่วยงานภาครัฐองค์ประกอบของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีในหน่วยงานภาครัฐ 4. หลักภาระรับผิดชอบ (Accountability)การแสดงความรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่และผลงานต่อเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยความรับผิดชอบนั้นควรอยู่ในระดับที่สนองต่อความคาดหวังของสาธารณะ รวมทั้งการแสดงถึงความสำนึกในการรับผิดชอบต่อปัญหาสาธารณะ
องค์ประกอบของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีในหน่วยงานภาครัฐองค์ประกอบของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีในหน่วยงานภาครัฐ 5. หลักความโปร่งใส (Transparency)กระบวนการเปิดเผยอย่างตรงไปตรงมา ชี้แจงได้เมื่อมีข้อสงสัยและสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารอันไม่ต้องห้ามตามกฏหมายได้อย่างเสรี โดยประชาชนสามารถรู้ทุกขั้นตอนการดำเนินกิจกรรมหรือกระบวนการต่างๆ และสามารถตรวจสอบได้
องค์ประกอบของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีในหน่วยงานภาครัฐองค์ประกอบของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีในหน่วยงานภาครัฐ 6. หลักการมีส่วนร่วม (Participation)กระบวนการที่ข้าราชการ ประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มมีโอกาสได้เข้าร่วมในการรับรู้ เรียนรู้ ทำความเข้าใจ ร่วมแสดงทัศนะ ร่วมเสนอปัญหา/ประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้อง ร่วมคิดแนวทาง ร่วมการแก้ไขปัญหา ร่วมในกระบวนการตัดสินใจ และร่วมกระบวนการพัฒนาในฐานะหุ้นส่วนการพัฒนา
องค์ประกอบของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีในหน่วยงานภาครัฐองค์ประกอบของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีในหน่วยงานภาครัฐ 7. หลักการกระจายอำนาจ (Decentralization)การถ่ายโอนอำนาจการตัดสินใจ ทรัพยากร และภาระกิจ จากส่วนราชการส่วนกลางให้แก่หน่วยการปกครองอื่น (ราชการบริหารส่วนท้องถิ่น) และภาคประชาชนดำเนินการแทนโดยมีอิสระตามสมควร รวมถึงการมอบอำนาจและความรับผิดชอบในการตัดสินใจและการดำเนินการให้แก่บุคลากร โดยมุ่งเน้นการสร้างความพึงพอใจในการให้บริการต่อผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การปรับปรุงกระบวนการ และเพิ่มผลิตภาคเพื่อผลการดำเนินงานที่ดีของส่วนราชการ
องค์ประกอบของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีในหน่วยงานภาครัฐองค์ประกอบของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีในหน่วยงานภาครัฐ 8. หลักนิติธรรม (Rule of Law)การใช้อำนาจของกฏหมาย กฏระเบียบ ข้อบังคับในการบริหารราชการด้วยความเป็นธรรม ไม่เลือกปฏิบัติ และคำนึงถึงสิทธิเสรีภาพของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 9. หลักความเสมอภาค (Equity)การได้รับการปฏิบัติและโดยไม่มีการแบ่งแยกด้าน ชาย/หญิง ถิ่นกำเนิได้รับบริการอย่างเท่าเทียมกันด เชื้อชาติ ภาษา เพศ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษา การฝึกอบรม และอื่นๆ
องค์ประกอบของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีในหน่วยงานภาครัฐองค์ประกอบของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีในหน่วยงานภาครัฐ 10. หลักมุ่งเน้นฉันทามติ (Consensus Oriented)การหาข้อตกลงทั่วไปภายในกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องซึ่งเป็นข้อตกลงที่เกิดจากการใช้กระบวนการเพื่อหาข้อคิดเห็นจากกลุ่มบุคคลที่ได้รับประโยชน์และเสียประโยชน์ โดยเฉพาะกลุ่มที่ได้รับผลกระทบโดยตรงซึ่งต้องไม่มีข้อคัดค้านที่ยุติไม่ได้ในประเด็นที่สำคัญ โดย ฉันทามติไม่จำเป็นต้องหมายความว่าเป็นความเห็นพ้องโดยเอกฉันท์
องค์ประกอบของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีในหน่วยงานภาครัฐองค์ประกอบของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีในหน่วยงานภาครัฐ
เกณฑ์การจัดระดับการกำกับดูแลองค์การภาครัฐตามหลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีเกณฑ์การจัดระดับการกำกับดูแลองค์การภาครัฐตามหลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
1. หลักประสิทธิผล (Effectiveness)
2. หลักประสิทธิภาพ (Efficiency)
3. หลักการตอบสนอง (Responsiveness)
4. หลักภาระรับผิดชอบ (Accountability)
5. หลักความโปร่งใส (Transparency)
6. หลักการมีส่วนร่วม (Participation)
7. หลักการกระจายอำนาจ (Decentralization)
ตัวอย่าง แนวทางการดำเนินการและมาตรการ/โครงการ ตามนโยบายการกำกับดูแลองค์การที่ดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 (ดังเอกสารแนบ)