210 likes | 623 Views
โปรแกรม คำนวณค่าปริมาณการใช้น้ำของพืชอ้างอิง ( ET O ) จากข้อมูลอุตุนิยมวิทยา เกษตร Development of Meteorological Data and Reference Crop Evapotranspiration (ET O ) Quick Computation Program. M R Quick. โดย กลุ่มวิจัยและพัฒนาด้านวิศวกรรม สำนักวิจัยและพัฒนา
E N D
โปรแกรมคำนวณค่าปริมาณการใช้น้ำของพืชอ้างอิง (ETO) จากข้อมูลอุตุนิยมวิทยาเกษตร Development of Meteorological Data and Reference Crop Evapotranspiration (ETO) Quick Computation Program MR Quick โดย กลุ่มวิจัยและพัฒนาด้านวิศวกรรม สำนักวิจัยและพัฒนา ร่วมกับ กลุ่มงานวิจัยการใช้น้ำชลประทาน ส่วนการใช้น้ำชลประทาน สำนักบริหารจัดการน้ำและอุทกวิทยา กรมชลประทาน รางวัลบุคคลหรือทีมงานที่มีผลงานสร้างสรรค์ดีเด่น (RID INNOVATION 2011) อันดับที่ 1 ประจำปี พ.ศ. 2554 ด้านการพัฒนาหรือประยุกต์ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์และพัฒนาระบบฐานข้อมูล เพื่อสนับสนุนการบริหารและการติดตามงาน (MIS)
คณะผู้พัฒนาโปรแกรม MR Quick ผู้ดำเนินการ ชื่อ : นายนฤพลสีตบุตร ตำแหน่ง : วิศวกรโยธาปฏิบัติการ สังกัด : กลุ่มวิจัยและพัฒนาด้านวิศวกรรม สำนักวิจัยและพัฒนา กรมชลประทาน ผู้ร่วมดำเนินการ ชื่อ : นางมัณฑณา สุจริต ตำแหน่ง : นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ สังกัด : กลุ่มงานวิจัยการใช้น้ำชลประทาน ส่วนการใช้น้ำชลประทาน สำนักบริหารจัดการน้ำและอุทกวิทยา กรมชลประทาน ผู้ร่วมดำเนินการ ชื่อ : น.ส.วราลักษณ์ งามสมจิตร ตำแหน่ง : นักวิชาการเกษตรชำนาญการ สังกัด : กลุ่มงานวิจัยการใช้น้ำชลประทาน ส่วนการใช้น้ำชลประทาน สำนักบริหารจัดการน้ำและอุทกวิทยา กรมชลประทาน
ความสำคัญและที่มาของปัญหาการเริ่มต้นก่อตั้งสถานีค้นคว้าและวิจัยด้านเกษตรชลประทานในประเทศไทยความสำคัญและที่มาของปัญหาการเริ่มต้นก่อตั้งสถานีค้นคว้าและวิจัยด้านเกษตรชลประทานในประเทศไทย ก่อนที่โครงการชลประทานเจ้าพระยาใหญ่ จะได้เริ่มสร้างในปี พ.ศ. 2494 นั้น กรมชลประทาน ทราบดีว่าเมื่อสร้างเสร็จแล้ว การควบคุม การจัดสรรน้ำ และแบ่งปริมาณน้ำที่มีมาตามลำน้ำธรรมชาติ เพื่อส่งเข้าคลองต่าง ๆ ไปยังไร่นาตลอดฤดูการเพาะปลูกตามวิธีการที่ถูกต้องในเวลาที่พืชต้องการ และมีปริมาณที่เพียงพอแก่การเจริญเติบโต เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง ดังนั้นเพื่อให้บรรลุถึงจุดประสงค์ดังกล่าวข้างต้น กรมชลประทานจึงได้ติดต่อกับองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO)ขอผู้เชี่ยวชาญในด้านการเกษตรชลประทานมาช่วยดำเนินการ โดยจัดตั้งไร่นาผสมตัวอย่างขึ้นที่แผนกโครงการชลประทานหลวงสามชุก เมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2498 ในปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น สถานีทดลองการใช้น้ำชลประทานที่ 4 (สามชุก) ซึ่งเป็นสถานี ฯ แห่งแรก ดำเนินการศึกษาและค้นคว้าวิจัยการใช้น้ำของพืชรวมทั้งวิธีการชลประทานต่าง ๆ เพื่อต้องการทราบว่าในการปลูกพืชแต่ละชนิด ได้แก่ ข้าว พืชไร่ พืชผัก ไม้ผล และการเกษตรแบบผสมผสานจะต้องทำการให้น้ำอย่างไรจึงจะเป็นการประหยัดน้ำ ทำให้พืชเจริญงอกงามและได้รับผลผลิตที่ดีทั้งปริมาณและคุณภาพ โดยมีเป้าหมายเพื่อให้การใช้น้ำชลประทาน และการใช้ที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม เป็นไปอย่างเหมาะสม และเกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งจะช่วยให้เกษตรกรได้รับผลตอบแทนอย่างคุ้มค่า ในบริเวณที่ราบภาคกลาง
ความสำคัญและที่มาของปัญหา (ต่อ) • ทำไมต้องศึกษาการใช้น้ำของพืช : ที่มา เกษตรชลประทานประยุกต์. สุรีย์ สอนสมบูรณ์. 2526 ตามหลักการชลประทาน ในการให้น้ำแก่พืชผู้ปฏิบัติจะต้องพยายามเลือกวิธีการปฏิบัติให้มีการสูญเสียน้ำที่ไร้ประโยชน์ให้น้อยที่สุด เช่น ควบคุมและป้องกัน การรั่วซึม การรั่วไหลออกจากแปลง การระเหยจากระบบส่งน้ำ ระบบกระจายน้ำ และในแปลงเพาะปลูก ซึ่งถ้าสามารถควบคุมสิ่งเหล่านี้ได้แล้ว ก็จะทำให้ประสิทธิภาพของการชลประทานสูงขึ้น แต่ถึงแม้ว่าประสิทธิภาพการชลประทานที่ได้จะสูงขึ้น แต่ถ้าผู้ปฏิบัติไม่ได้คำนึงถึงผลผลิตของพืชที่จะได้รับต่อไร่แล้ว ก็มักจะปรากฏว่าพื้นที่ชลประทานที่ประสิทธิภาพสูงแต่ผลผลิตของพืชจะต่ำ ดังนั้นการตรวจสอบประสิทธิภาพการชลประทาน จึงเป็นเพียงแค่มาตรการอันหนึ่งในการควบคุมการส่งน้ำและจัดสรรน้ำให้เกิดการประหยัดน้ำชลประทาน เพื่อที่จะสามารถขยายพื้นที่ออกไปได้มากที่สุดเท่านั้น แต่ถ้าคำนึงถึงผลผลิตของพืชที่จะได้รับด้วยแล้ว พืชจะให้ผลผลิตสูงสุดก็ต่อเมื่อได้รับน้ำเต็มที่ตามความต้องการของ ชนิดพืช พันธุ์พืช และตามการเจริญเติบโตของพืชในแต่ละช่วง ซึ่งอย่างน้อยอาจแบ่งได้ 3 ช่วง
ความสำคัญและที่มาของปัญหา (ต่อ)ทำไมต้องศึกษาการใช้น้ำของพืช : ที่มา เกษตรชลประทานประยุกต์. สุรีย์ สอนสมบูรณ์. 2526 ช่วงแรกคือ ช่วงการเจริญเติบโตทางใบและลำต้น ช่วงที่สองคือ ช่วงการตั้งท้องออกรวงออกดอก และช่วงที่สามคือ ช่วงการสร้างผลผลิต ดังนั้นในการให้น้ำจึงจำเป็นต้องควบคุมให้พืชได้รับน้ำเต็มที่ทั่วถึงทุกต้น หรือตลอดพื้นที่เพาะปลูกตามจังหวะที่พืชต้องการทั้งสามช่วง แต่ในทางปฏิบัติเป็นไปได้ ดังนั้นตามความเป็นจริงจะมีพืชจำนวนหนึ่งเทานั้นที่ได้รับน้ำเต็มที่และให้ผลผลิตสูงสุด ที่เหลือจะได้รับน้ำไม่เต็มที่และให้ผลผลิตต่ำ ถ้าพืชส่วนแรกมีเปอร์เซ็นต์สูงผลผลิตโดยรวมก็จะสูงขึ้นด้วย ดังนั้นเป้าหมายของการชลประทานจึงมิใช่อยู่ที่การเพิ่มประสิทธิภาพการชลประทานให้สูงขึ้นเท่านั้น แต่ยังต้องการให้ผลผลิตโดยรวมตลอดพื้นที่การชลประทาน หรือผลผลิตต่อไร่สูงขึ้นด้วย ซึ่งในทางวิชาการเป้าหมายในการเพิ่มผลผลิตต่อไร่ด้วยน้ำชลประทานมีชื่อเรียกว่า ประสิทธิภาพของการใช้น้ำให้เกิดประโยชน์ (Water Utilization Efficiency) มีหน่วยเป็นกิโลกรัมของผลผลิตที่ได้รับต่อจำนวนน้ำที่ใช้ไป 1 ลูกบาศก์เมตร
ค่าพารามิเตอร์ที่สำคัญค่าพารามิเตอร์ที่สำคัญ ในงานวิจัยด้านเกษตรชลประทาน ของกรมชลประทาน ในเรื่องที่เกี่ยวกับการใช้น้ำของพืช มีค่าพารามิเตอร์ที่สำคัญอยู่ 3 ค่า 1. ค่าปริมาณการใช้น้ำของพืช (Consumptive Use หรือ Evapotranspiration; ET) ประกอบด้วย ปริมาณน้ำที่พืชดูดไปจากดิน นำไปใช้สร้างเซลล์และเนื้อเยื่อ ซึ่งเรียกว่า "การคายน้ำ (Transpiration; T)" กับปริมาณน้ำที่ระเหยจากผิวดินบริเวณรอบ ๆ ต้นพืช จากผิวน้ำในขณะให้น้ำหรือในขณะที่มีน้ำขังอยู่ และจากน้ำที่เกาะอยู่ตามใบเนื่องจากฝนหรือการให้น้ำ รวมเรียกว่า "การระเหย (Evaporation; E) 2. ค่าสัมประสิทธิการใช้น้ำของพืช (Crop Coefficient; KC) เป็นค่าสัมประสิทธิ์ที่ขึ้นอยู่กับชนิดและอายุของพืชแต่เพียงอย่างเดียว 3. ค่าปริมาณการใช้น้ำของพืชอ้างอิง (Reference Crop Evapotranspiration; ETO) เป็นค่าที่นักวิทยาศาสตร์คิดค้นขึ้น แทนการวัดค่าการใช้น้ำของพืชแต่ละชนิดในทุกสภาพภูมิอากาศโดยตรง ซึ่งการวัดโดยตรงเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก (เป็นค่าที่โปรแกรม MR Quick คำนวณให้จากวิธีการทั้งสิ้น 6 วิธีการ)
วัตถุประสงค์ของพัฒนาโปรแกรม MR Quick เพื่อพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ในการคำนวณค่าปริมาณการใช้น้ำของพืชอ้างอิง (ETO) จากฐานข้อมูลอุตุนิยมวิทยาเกษตร ชื่อย่อ(MR Quick) โดยโปรแกรมประยุกต์นี้ทำงานภายใต้ระบบปฏิบัติการ Windows XP จัดการฐานข้อมูลอุตุนิยมวิทยาเกษตรโดยใช้โปรแกรม Microsoft Office ExcelVersion 2003 และเขียนโปรแกรมโดยใช้โปรแกรมภาษา Visual Basic Version 6.0 • แนวคิดในการพัฒนาโปรแกรม MR Quick การใช้น้ำของพืชอ้างอิงนี้มีความสำคัญต่อการจัดการน้ำชลประทานเป็นอย่างมากเพราะจะทำให้ทราบค่าความต้องการน้ำของพืชชนิดต่าง ๆ ที่ไม่ใช่พืชอ้างอิง และสามารถคำนวณได้จากสูตร ET = KC x ETOโดยที่ ET เป็นค่าการใช้น้ำของพืชที่ต้องการทราบ KCเป็นค่าสัมประสิทธิ์การใช้น้ำของพืชดังกล่าว ซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดและอายุของพืชเพียงอย่างเดียว ETOเป็นค่าปริมาณการใช้น้ำของพืชอ้างอิง ในทางกลับกันถ้าต้องการทดลองวัดค่า KCของพืชชนิดใดชนิดหนึ่ง ในสนามเพื่อหาค่า KCไปใช้ในการส่งน้ำให้แก่พืชชนิดนั้น ๆ ในช่วงการเจริญเติบโตช่วงใดช่วงหนึ่ง หรือตลอดฤดูการเพาะปลูก จะคำนวณได้จากสูตร KC = ET/ETOในเมื่อ ET เป็นการใช้น้ำของพืชที่วัดจริงในสนามโดยใช้ถังวัดการใช้น้ำของพืช และ ETOเป็นการใช้น้ำของพืชอ้างอิงโดยการปลูกหญ้า หรือ คำนวณจากข้อมูลภูมิอากาศที่ได้ทำการวัดจริงในบริเวณพื้นที่ ที่ทำการทดลอง จากสูตร ต่าง ๆ จากที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นจะเห็นได้ว่าการคำนวณหาค่า ETOเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ ทั้งการทดลองเพื่อวัดค่า KCและการนำค่า KCไปใช้ในการบริหารจัดการน้ำให้แก่พืช
แนวคิดในการพัฒนาโปรแกรม MR Quick (ต่อ) การคำนวณค่า ETOของสำนักบริหารจัดการน้ำและอุทกวิทยาในปัจจุบัน ทำการคำนวณด้วยมือจากสูตรที่นิยมใช้ในทางเกษตรชลประทานจำนวน 6 สูตร ซึ่งมีความยุ่งยาก และใช้เวลานาน เนื่องจากต้องใช้ข้อมูลอุตุนิยมวิทยาเกษตรหลายค่า และบางสูตรประกอบด้วยสมการที่ซับซ้อน การนำโปรแกรมคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการคำนวณภายใต้แนวคิดที่ว่า “ใช้งานง่าย ไม่ซับซ้อน ตรวจสอบรายการคำนวณได้ทุกขั้นตอน” จะทำให้ลดเวลาในการทำงานลง ทุกคนสามารถใช้โปรแกรมได้โดยไม่จำเป็นต้องมีความรู้ทางคณิตศาสตร์ และมีความมั่นใจมากขึ้นกับผลลัพธ์ที่ได้ จึงได้มีการจัดทำโปรแกรม MR Quick ขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการดังกล่าว โดยใช้ข้อมูลอุตุนิยมวิทยาเกษตรในการคำนวณ และทำการบันทึกในโปรแกรม Excel ตามแบบฟอร์มและโฟลเดอร์ที่กำหนดไว้ โดยโปรแกรมจะดึงข้อมูลจากฐานข้อมูลที่เก็บอยู่ในรูปแบบตารางคำนวณ (Worksheet) ของโปรแกรม Excel ไปคำนวณค่าเฉลี่ยข้อมูลอุตุนิยมวิทยาในช่วงที่เกี่ยวข้องและคำนวณค่า ETOจากนั้นจึงส่งค่าผลลัพธ์ต่างๆที่คำนวณได้ไปเก็บไว้ในโฟลเดอร์ที่โปรแกรมสร้างให้ในฮาร์ดดิสก์ของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่คำนวณโดยอัตโนมัติ ทั้งนี้จะใช้ข้อมูลเฉพาะในพื้นที่ของสถานีทดลองการใช้น้ำชลประทานที่ 1 - 8 และศูนย์สาธิตการใช้น้ำชลประทาน ของสำนักบริหารจัดการน้ำและอุทกวิทยาเท่านั้น
ETOเป็นค่าที่นักวิทยาศาสตร์คิดค้นขึ้น แทนการวัดค่าการใช้น้ำของพืชแต่ละชนิดในทุกสภาพภูมิอากาศโดยตรง ซึ่งการวัดโดยตรงเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก วิธีการหาทำโดยการเลือกพืชขึ้นมาชนิดหนึ่งที่เจริญงอกงามได้ตลอดปี มีอัตราการใช้น้ำไม่ขึ้นอยู่กับอายุ และกำหนดให้ดินที่ปลูกพืชอ้างอิงมีความชื้นสูงมากพออยู่ตลอดเวลา จนทำให้คุณสมบัติอย่างอื่น ๆ ของดิน เช่น เนื้อดิน ความเข้มข้นของเกลือในดิน (เฉพาะในเกณฑ์ปกติ) ความสามารถในการเก็บน้ำของดินไว้ให้พืชใช้ ฯลฯ หมดความสำคัญหรือมีอิทธิพลต่อการใช้น้ำของพืชอ้างอิงที่เลือกไว้ ดังนั้นการใช้น้ำของพืชอ้างอิงจึงขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศรอบ ๆ ต้นพืชเพียงอย่างเดียว ด้วยเหตุนี้จึงทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถคิดวิธีการคำนวณเป็นสูตรต่าง ๆ ในการคำนวณค่า ETOได้โดยใช้ข้อมูลภูมิอากาศได้อย่างมากมาย • สูตรคำนวณค่า ETOจากข้อมูลอุตุนิยมวิทยาเกษตร ที่กรมชลประทานใช้ในการทดลองหาค่าการใช้น้ำของพืชอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นค่าที่โปรแกรม MR Quick คำนวณ คือ • 1. Blaney – Criddle Method • 2. Radiation Method • 3. Hargreaves Method • 4. Modified Penman Method • 5. Pan Evaporation Method • 6. Penman – Monteith Method การคำนวณค่า ETO ในกรมชลประทาน โดยใช้โปรแกรม MR Quick
ขอบเขตของการพัฒนาโปรแกรมขอบเขตของการพัฒนาโปรแกรม 1. โปรแกรม MR Quick ใช้คำนวณค่า ETO ได้ 6 วิธีการเท่านั้น คือ Pan Evaporation Method, Hargreaves Method, Radiation Method, Blaney – Criddle Method, Modified Penman Method และ Penman – Monteith Method 2. ข้อมูลอุตุนิยมวิทยาเกษตรที่นำมาใช้คำนวณ ต้องเก็บข้อมูลในรูปแบบของโปรแกรม Microsoft Excel ตามแบบฟอร์ม และโฟลเดอร์ที่โปรแกรม MR Quick กำหนดเท่านั้น 3. โปรแกรม MR Quick ได้ใส่ค่าพิกัดที่ตั้ง เส้นรุ้ง (Latitude) เส้นแวง (Longitude) และความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง (Altitude) เฉพาะพื้นที่ของ สถานีทดลองการใช้น้ำชลประทานที่ 1 (แม่แตง) อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่, สถานีทดลองการใช้น้ำชลประทานที่ 2 (พิษณุโลก) อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก, สถานีทดลองการใช้น้ำชลประทานที่ 3 (ห้วยบ้านยาง) อ.เมือง จ.นครราชสีมา, สถานีทดลองการใช้น้ำชลประทานที่ 4 (สามชุก) อ.สามชุก จ.สุพรรณบุรี, สถานีทดลองการใช้น้ำชลประทานที่ 5 (แม่กลองใหญ่) อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม, สถานีทดลองการใช้น้ำชลประทานที่ 6 (เพชรบุรี) อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี, สถานีทดลองการใช้น้ำชลประทานที่ 7 (ปัตตานี) อ.เมือง จ.ยะลา, สถานีทดลองการใช้น้ำชลประทานที่ 8 (นครศรีธรรมราช) อ.เชียรใหญ่ จ.นครศรีธรรมราช และศูนย์สาธิตการใช้น้ำชลประทานแม่กลอง อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี เท่านั้น ดังนั้นในการคำนวณค่า ETOจึงใช้ได้กับพื้นที่ ที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นกับพื้นที่ใกล้เคียงเท่านั้น
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1. โปรแกรมจะมีส่วนช่วยอำนวยความสะดวกในการวิจัยด้านการใช้น้ำของพืชเพื่อวัดค่า KC ในสนาม ซึ่งมีความสัมพันธ์ดังสมการ KC = ET/ETO โดยโปรแกรมสามารถคำนวณค่า ETOจากข้อมูลอุตุนิยมวิทยาเกษตรที่มีปริมาณมาก ลดระยะเวลาและขั้นตอนที่ยุ่งยาก ลดความผิดพลาด และเพิ่มประสิทธิภาพให้ผู้คำนวณแทนการคำนวณด้วยมือ ทุกคนสามารถใช้โปรแกรมได้โดยไม่จำเป็นต้องมีความรู้ทางคณิตศาสตร์ และมีความมั่นใจมากขึ้นกับผลลัพธ์ที่ได้ เพราะรูปแบบการใช้งานง่าย ไม่ซับซ้อน ตรวจสอบการคำนวณได้ทุกขั้นตอน หน่วยงานที่นำผลการศึกษาและพัฒนาโปรแกรมไปใช้ประโยชน์ ได้แก่ ส่วนการใช้น้ำชลประทาน สถานีทดลองการใช้น้ำชลประทานที่ 1 – 8, ศูนย์สาธิตการใช้น้ำชลประทานแม่กลอง 2. ประโยชน์ในด้านการพัฒนาบุคลากรของกรมชลประทาน เพราะในการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ไม่ว่าจะใช้ในการทำงานอะไรก็ตาม ผู้พัฒนาไม่ว่าจะเป็นบุคคล หรือเป็นทีมงานจะต้องมีการศึกษา ค้นคว้าข้อมูล ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับงานที่จะพัฒนานั้น ๆ อย่างดีก่อน จึงจะสามารถนำมาพัฒนาเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้ จึงเป็นการเพิ่มขีดความสามารถให้กับบุคลากร ของกรมชลประทานให้สูงขึ้น อันจะส่งผลต่อการพัฒนางานของกรมชลประทานในอนาคต 3. ลดการพึ่งพาโปรแกรมคอมพิวเตอร์จากต่างประเทศ ซึ่งจะติดปัญหาในเรื่องลิขสิทธิ์ในการใช้งาน และโปรแกรมที่ไม่ตอบสนองต่อความต้องการในการใช้งานจริง ของหน่วยงานภายในกรมชลประทาน