1 / 20

อาจารย์ ดร. จุติมา เมทนีธร คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

การพัฒนาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์แบบผสมผสาน รายวิชา กฎหมายและจริยธรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ (The Development of Blended Synchronous and Asynchronous e-Learning for the Subject of Law and Ethics in Information Technology ). อาจารย์ ดร. จุติมา เมทนีธร คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง.

Download Presentation

อาจารย์ ดร. จุติมา เมทนีธร คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การพัฒนาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์แบบผสมผสาน รายวิชา กฎหมายและจริยธรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ(The Development of Blended Synchronous and Asynchronous e-Learning for the Subject of Law and Ethics in Information Technology ) อาจารย์ ดร. จุติมา เมทนีธร คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

  2. “Nowadays, education is all about how to make use of technology – sometimes, small changes in existing practice can crate a far more reaching effects- JutimaMethaneethorn -

  3. ความเป็นมาของการวิจัยความเป็นมาของการวิจัย • แผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2545 – 2559) ได้กำหนดแนวนโยบายในการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการจัดการศึกษา โดยมีกรอบการดำเนินงานให้ใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มคุณภาพและประสิทธิภาพในการจัดการศึกษาให้ครอบคลุมทั่วถึงและเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา และมุ่งพัฒนาผู้ใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาให้มีความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเอง สามารถคัดสรร กลั่นกรอง และใช้ข้อมูลจากสื่อทางการศึกษาได้ • เพื่อให้การจัดการศึกษาในรายวิชา กฎหมายและจริยธรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศมีความสอดคล้องกับแผนการศึกษาแห่งชาติ และการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้น ผู้วิจัยจึงได้ทำการพัฒนาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์แบบผสมผสานขึ้นเพื่อใช้ในการเรียนการสอนรายวิชาดังกล่าว

  4. ความเป็นมาของการวิจัยความเป็นมาของการวิจัย • การเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Learning) ว่าเป็นการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีเครือข่ายและการสื่อสารเป็นเครื่องมือในการสร้างสรรค์และส่งผ่านองค์ความรู้ในรูปแบบต่าง ๆ ไปยังผู้เรียนที่อยู่ในสถานที่แตกต่างกันให้ได้รับความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ร่วมกันอย่างมีชีวิตชีวา (มนต์ชัย, 2545) • สำหรับเครื่องมือที่การเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์ควรจัดหาให้ผู้เรียนนั้น ควรมีในส่วนของการประชุมทางคอมพิวเตอร์ซึ่งสามารถเป็นได้ทั้งในลักษณะของการติดต่อสื่อสารแบบต่างเวลา (asynchronous) เช่น การแลกเปลี่ยนข้อความผ่านทางกระดานข่าวอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น หรือในลักษณะของการติดต่อสื่อสารแบบเวลาเดียวกัน (synchronous) เช่น การสนทนาออนไลน์ หรือที่รู้จักกันในชื่อของแชท (chat) เป็นต้น (ถนอมพร, 2545)

  5. ความเป็นมาของการวิจัยความเป็นมาของการวิจัย • Ahmad & Bokhari (2013) กล่าวว่า ไม่มีรูปแบบการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ใดที่สามารถเติมเต็มความต้องการของผู้เรียนได้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์แบบพร้อมกัน (synchronous e-Learning) หรือรูปแบบการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์แบบไม่พร้อมกัน (asynchronous e-Learning) ซึ่งนักวิจัยทั้งสองได้ร่วมกันพัฒนาสภาพแวดล้อมการเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Learning environment) ที่เป็นการผสมผสานรูปแบบการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ทั้ง 2 แบบเข้าด้วยกัน โดยนำเอาเทคโนโลยีที่หลากหลายมาประยุกต์ใช้

  6. วัตถุประสงค์การวิจัย • เพื่อพัฒนาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์แบบผสมผสาน (blended synchronous and asynchronous e-Learning) บนระบบบริหารจัดการการเรียนรู้ Moodleสำหรับใช้ในการจัดการเรียนสอนรายวิชา “กฎหมายและจริยธรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ” • เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ที่มีต่อการใช้บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์แบบผสมผสาน

  7. คำจำกัดความที่ใช้ในงานวิจัยคำจำกัดความที่ใช้ในงานวิจัย • บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์แบบผสมผสาน หมายถึง บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ที่รวมเอาลักษณะของรูปแบบการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์แบบพร้อมกัน (synchronous e-Learning) และรูปแบบการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์แบบไม่พร้อมกัน (asynchronous e-Learning) เข้าด้วยกัน • ความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อการใช้บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์แบบผสมผสาน หมายถึง ระดับความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์แบบผสมผสานในด้านความพึงพอใจกับการเรียนการสอนผ่านบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์แบบผสมผสานบนระบบบริหารจัดการการเรียนรู้ Moodle และความพึงพอใจกับปฏิสัมพันธ์รูปแบบต่าง ๆ ที่ปรากฏในบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์แบบผสมผสานบนระบบบริหารจัดการการเรียนรู้ Moodle วัดโดยใช้แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีลักษณะเป็นมาตรประมาณค่า 5 ระดับ และข้อคำถามปลายเปิด

  8. วิธีดำเนินการวิจัย • ขอบเขตของการวิจัย • ประชากรของการวิจัย ได้แก่ นักศึกษาสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา“กฎหมายและจริยธรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ” ในภาคเรียนที่ 2 ของปีการศึกษา 2555 จำนวน 24 คน • เนื้อหาที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ เนื้อหาที่ปรากฏอยู่ในรายวิชา “กฎหมายและจริยธรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ” ซึ่งเกี่ยวข้องกับความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบกฎหมายไทย และกฎหมายของประเทศไทยที่เกี่ยวข้องกับสารสนเทศและเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐, พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 และ พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 เป็นต้น

  9. วิธีดำเนินการวิจัย • เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย • บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์แบบผสมผสานที่รวมเอาลักษณะของรูปแบบการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ 2 รูปแบบเข้าด้วยกัน คือ การเรียนรู้ผ่านสื่อ ฯ แบบไม่พร้อมกัน (asynchronous e-Learning) และ การเรียนรู้ผ่านสื่อ ฯ แบบพร้อมกัน (synchronous e-Learning) โดยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book) และเครื่องมืออื่น ๆ บนระบบบริหารจัดการการเรียนรู้ Moodle ได้แก่ กิจกรรม (task) และกระดานข่าว (web board) ได้ถูกนำมาใช้สำหรับการเรียนรู้ผ่านสื่อ ฯ แบบไม่พร้อมกัน และห้องสนทนา (chat room) ได้ถูกนำมาใช้สำหรับการเรียนรู้ผ่านสื่อ ฯ แบบพร้อมกัน • แบบประเมินผลบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์แบบผสมผสานสำหรับผู้เชี่ยวชาญ • แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์แบบผสมผสาน มีลักษณะเป็นมาตรประมาณค่า 5 ระดับ

  10. วิธีดำเนินการวิจัย • การตรวจสอบเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย • บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์แบบผสมผสานได้ถูกตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญด้านการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 3 ท่าน พบว่า บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ ฯ มีความน่าสนใจ สะดวกและเหมาะสมกับการเรียนรู้ในยุคปัจจุบัน และสอดคล้องกับแนวคิด Learn for all: anyoneanywhere anytime อีกทั้ง เครื่องมือต่าง ๆ บนระบบบริหารจัดการการเรียนรู้ Moodle ที่นำมาใช้นั้นช่วยส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนและผู้เรียน และสนับสนุนแนวคิดเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล (individual difference) ด้วย ในส่วนของเนื้อหาที่ปรากฏในบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ ฯ มีความครอบคลุมตามคำอธิบายรายวิชาและมีลำดับขั้นตอนในการนำเสนอที่เหมาะสม

  11. วิธีดำเนินการวิจัย • การเก็บรวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล • ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้จัดให้มีการเรียนการสอนผ่านบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์แบบผสมผสานบนระบบบริหารจัดการการเรียนรู้ Moodle ในรายวิชา “กฎหมายและจริยธรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ” ตลอดภาคการศึกษา และเมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนในสัปดาห์สุดท้าย ได้ทำการแจกแบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์แบบผสมผสานแก่นักศึกษาเพื่อสอบถามความคิดเห็น • ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้ใช้วิธีการหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสำหรับข้อมูลจากแบบสอบถามความคิดเห็น ฯ ดังกล่าว

  12. สรุปผลการวิจัย • ผลการพัฒนาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์แบบผสมผสาน • บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์แบบผสมผสานที่พัฒนาขึ้นได้ถูกแบ่งโครงสร้างออกเป็น 9 หัวข้อ โดยในแต่ละหัวข้อจะประกอบด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ กิจกรรมสำหรับแต่ละหัวข้อ กระดานข่าวสำหรับการตั้งคำถาม / ข้อสงสัยเกี่ยวกับหัวข้อที่เรียน กระดานข่าวสำหรับแสดงความคิดเห็นที่มีต่อการเรียนในแต่ละครั้ง และห้องสนทนาที่ใช้สำหรับการจัดการเรียนการสอน รูปที่ 1: หน้าต่างหลักของบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์แบบผสมผสาน

  13. สรุปผลการวิจัย รูปที่ 2: ตัวอย่างโครงสร้างหัวข้อของบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์แบบผสมผสาน รูปที่ 3: ตัวอย่างห้องสนทนาของหัวข้อที่ 8 ของบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์แบบผสมผสาน

  14. สรุปผลการวิจัย • ผลการวิเคราะห์ความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์แบบผสมผสาน • ด้านบทเรียน - ในภาพรวมนักศึกษามีความพึงพอใจกับบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์แบบผสมผสานในระดับมาก โดยเห็นว่าบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ ฯ นั้นมีความน่าสนใจ สะดวกต่อการเรียนรู้และเหมาะสมกับยุคปัจจุบัน และช่วยให้เกิดความเข้าในการเรียน • ด้านโครงสร้างของบทเรียน - นักศึกษามีความเห็นว่าเนื้อหาที่ปรากฏในบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์แบบผสมผสานมีความครอบคลุม และมีลำดับขั้นตอนในการนำเสนอที่เหมาะสมในระดับมาก • ด้านการออกแบบบทเรียน - นักศึกษามีความเห็นว่าเครื่องมือต่าง ๆ (หนังสืออิเล็กทรอนิกส์, กิจกรรม, กระดานข่าว และห้องสนทนา) ที่ใช้ในการเรียนผ่านบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ ฯ สอดคล้องกับแนวคิด Learn for all: anyone anywhere anytime ในระดับมาก และเครื่องมือดังกล่าวยังช่วยส่งเสริมปฏิสัมพันธ์กับผู้สอนในระดับที่มากด้วย

  15. สรุปผลการวิจัย • ผลการวิเคราะห์ความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์แบบผสมผสาน • ปัญหาและข้อเสนอแนะ - เรื่องความเร็วของอินเทอร์เน็ต ซึ่งอาจเป็นเพราะมีนักศึกษาเข้าใช้งานอินเทอร์เน็ตพร้อมกันเป็นจำนวนมาก และในบางครั้งอินเทอร์เน็ตภายในมหาวิทยาลัยก็ไม่สามารถใช้งานได้เนื่องจากมีการปิดระบบ ฯ เพื่อการตรวจสอบ / ซ่อมแซม

  16. อภิปรายผลการวิจัย • การพัฒนาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์แบบผสมผสานบนระบบบริหารจัดการการเรียนรู้ Moodle ในรายวิชา “กฎหมายและจริยธรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ” เพื่อใช้สอนในภาคเรียนที่ 2 ของปีการศึกษา 2555 ถือได้ว่าบรรลุวัตถุประสงค์ของการวิจัยที่มุ่งการสร้างบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์รูปแบบใหม่ที่ผสมผสานการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์แบบพร้อมกันและแบบไม่พร้อมกัน • ผู้เชี่ยวชาญด้านการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 3 ท่าน มีความเห็นสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกันว่า บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ ฯ ดังกล่าวมีความน่าสนใจ สอดคล้องกับแนวคิด Learn for all: anyoneanywhere anytime สนับสนุนแนวคิดเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล และเครื่องมือต่าง ๆ บนระบบบริหารจัดการการเรียนรู้ Moodle ที่นำมาใช้นั้นก็ได้ช่วยส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนและผู้เรียน • การศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษา พบว่า ในภาพรวมนักศึกษามีความพึงพอใจมากกับบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ ฯ โดยเห็นว่าสะดวกและมีความเหมาะสมกับยุคปัจจุบัน และช่วยส่งเสริมปฏิสัมพันธ์กับผู้สอน

  17. อภิปรายผลการวิจัย • การที่ผู้เชี่ยวชาญ ฯ และนักศึกษามีความเห็นสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกันเช่นนี้เป็นเพราะได้มีการนำเอาจุดแข็งของการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์แต่ละรูปแบบมาใช้ในการพัฒนาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ ฯ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียน (Ahmad & Bokhari, 2013) โดยอาศัยเครื่องมือต่าง ๆ ที่มีอยู่บนระบบบริหารจัดการการเรียนรู้ Moodle ในการประชุมทางคอมพิวเตอร์ เช่น กระดานข่าวอิเล็กทรอนิกส์ การสนทนาออนไลน์ เป็นต้น (ถนอมพร, 2545)

  18. ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไปข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป • การศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาก่อนและหลังการเรียนผ่านบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์แบบผสมผสาน รายวิชา “กฎหมายและจริยธรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ” • การศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาระหว่างกลุ่มที่ใช้วิธีการเรียนการสอนแบบปกติกับกลุ่มที่เรียนรู้ผ่านบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์แบบผสมผสาน ในกรณีที่มีนักศึกษาลงทะเบียนเรียนในรายวิชาดังกล่าวมากกว่า 1 กลุ่มในแต่ละภาคการศึกษา • การศึกษาด้านปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ผ่านบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ ฯ เช่น ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมของสถานที่เรียน (เช่น ความเร็วของอินเทอร์เน็ต เป็นต้น) เพื่อนำมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับสภาพจริงต่อไป

  19. เอกสารอ้างอิง • ถนอมพร เลาหจรัสแสง. (2545). Best Practice in Teaching with e-Learning. คู่มืออาจารย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ด้านการสอนด้วย e-Learning. • มนต์ชัย เทียนทอง. (2545). ก้าวไกล: Learning. Learning solution for the next education ตอนที่ 1. พัฒนาเทคนิคการศึกษา.14, 43 (กรกฎาคม-กันยายน 2545), 56-66. • Ahmad, I. & Bokhari, M. U. (2013). The Combine Effect of Synchronous and Asynchronous e-Learning on Distance Education. International Journal of Computer Science. 10, 1(1), 546-550.

  20. ขอบคุณค่ะ

More Related