1 / 16

โดย นางสาวฐาปณีย์ โลพันดุง ตำแหน่ง ครู / นักกายภาพบำบัด

บทบาทการพัฒนาเด็ก ออทิสติก ในด้านการแพทย์ การศึกษา สังคม และอาชีพ. โดย นางสาวฐาปณีย์ โลพันดุง ตำแหน่ง ครู / นักกายภาพบำบัด ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 11 จ.นครราชสีมา. หน่วยงานหลักของภาครัฐที่เกี่ยวข้อง กับการพัฒนาเด็กออทิสติก.

ziazan
Download Presentation

โดย นางสาวฐาปณีย์ โลพันดุง ตำแหน่ง ครู / นักกายภาพบำบัด

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทบาทการพัฒนาเด็กออทิสติกในด้านการแพทย์ การศึกษา สังคม และอาชีพ โดย นางสาวฐาปณีย์ โลพันดุง ตำแหน่ง ครู / นักกายภาพบำบัด ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 11 จ.นครราชสีมา

  2. หน่วยงานหลักของภาครัฐที่เกี่ยวข้อง กับการพัฒนาเด็กออทิสติก กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ (พก.) กระทรวงศึกษาธิการ รับผิดชอบการศึกษาและการฝึกอาชีพสำหรับคนพิการ กระทรวงแรงงาน รับผิดชอบดูแลด้านการประกอบอาชีพ การจ้างงานคนพิการ การส่งเสริมการประกอบอาชีพของคนพิการ รวมทั้งกฎ ระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการจ้างงานคนพิการ เพื่อมิให้คนพิการถูกเอารัดเอาเปรียบและเลือกปฏิบัติ

  3. กระทรวงสาธารณสุข มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพอนามัย การป้องกัน ควบคุม และการรักษาโรค กระทรวงมหาดไทย การจัดสรรเบี้ยยังชีพคนพิการ เดือนละ 500 บาท

  4. การพัฒนาเด็กออทิสติกด้านการแพทย์การพัฒนาเด็กออทิสติกด้านการแพทย์ • ทีมสหวิทยาการ /สหวิชาชีพ (Multidisciplinary Team Approach) ประกอบด้วยแพทย์หรือจิตแพทย์ จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น กุมารแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านประสาทวิทยา นักจิตวิทยา/นักจิตวิทยาคลินิก นักกิจกรรมบำบัด นักแก้ไขการพูด พยาบาลพัฒนาการเด็ก พยาบาลจิตเวช นักกายภาพบำบัด(ในรายที่มีปัญหาด้านกล้ามเนื้อและการเคลื่อนไหวร่วมด้วย) เป็นต้น

  5. การรักษาด้วยยา (Pharmacotherapy) • การรักษาด้วยยาไม่ได้มีเป้าหมายเพื่อรักษาให้หายขาดจากโรคออทิสติกโดยตรง แต่นำมาใช้เพื่อบรรเทาอาการบางอย่างที่เกิดร่วมด้วย เด็กไม่จำเป็นต้องรักษาด้วยยาทุกคน • เมื่อทานยาแล้วก็ไม่จำเป็นต้องทานต่อเนื่องไปตลอดชีวิต แพทย์จะพิจารณาปรับขนาดยาหรือหยุดยา เมื่ออาการเป้าหมายทุเลาลงแล้ว • ในปัจจุบันยังไม่พบว่ามียาตัวใดที่ช่วยแก้ไขความบกพร่องด้านสังคมและการสื่อสาร ซึ่งเป็นปัญหาหลักได้ ส่วนยาที่นำมาใช้พบว่ามีประโยชน์ในการลดพฤติกรรมอยู่ไม่นิ่ง (Hyperactivity) หุนหันพลันแล่น (Impulsivity) ไม่มีสมาธิ (Inattention) ก้าวร้าวรุนแรง (Aggression) และหมกมุ่นมากเกิน (Obsessive Preoccupation) • ยาที่นำมาใช้รักษามีหลายชนิด ได้แก่ กลุ่มยารักษาอาการทางจิต (Neuroleptics) ยากลุ่ม SSRI (Selective Serotonin Reuptake Inhibitor) และยาเพิ่มสมาธิ (Psychostimulant) เป็นต้น

  6. การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์สำหรับเด็กออทิสติก • การแก้ไขการพูด (Speech Therapy)ผู้ปกครองสามารถกระตุ้นให้มีการพูดได้โดยผ่านการเล่นได้ นอกจากนี้ควรนำเทคนิควิธีการฝึก ซึ่งได้รับการแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ มาปฏิบัติอย่างต่อเนื่องที่บ้าน และเทคนิคอื่นๆ เพื่อทดแทนการพูดในกรณีที่ยังไม่สามารถพูดได้ เช่น การสื่อความหมายทดแทน (Augmentative and Alternative Communication; AAC) กลวิธีการรับรู้ผ่านการมอง (Visual Strategies) โปรแกรมแลกเปลี่ยนภาพเพื่อการสื่อสาร (Picture Exchange Communication System; PECS) เครื่องโอภา (Communication Devices) และโปรแกรมปราศรัย เป็นต้น

  7. กิจกรรมบำบัด (Occupational Therapy) • เป็นการประยุกต์กิจวัตร หรือกิจกรรม มาใช้ในการตรวจประเมิน วินิจฉัย ส่งเสริม บำบัดรักษา และฟื้นฟูสมรรถภาพ ให้สามารถกลับไปดำรงชีวิตในสังคมได้ ช่วยเสริมสร้างสมาธิ ทักษะการคิด พัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก และการทำงานประสานกันของกล้ามเนื้อ ผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ต่างๆ โดยนักกิจกรรมบำบัด (Occupational Therapist) รวมถึงการนำทฤษฎีการบูรณาการประสาทรับความรู้สึก (Sensory Integrative Theory) มาประยุกต์ใช้เพื่อกระตุ้นระบบการรับความรู้สึกของเด็กให้มีการพัฒนาที่ดีขึ้น

  8. พฤติกรรมบำบัด (Behavior Therapy) • การทำพฤติกรรมบำบัด ตั้งแต่อายุน้อยๆ และทำอย่างต่อเนื่องเป็นสิ่งที่สำคัญจะช่วยเสริมสร้างทักษะด้านภาษา ด้านสังคม และทักษะอื่นๆ นอกจากนี้ยังช่วยลดระดับความเครียดของผู้ปกครองด้วย • เทคนิคที่ใช้มีพื้นฐานมาจากหลักการของทฤษฎีการเรียนรู้ เทคนิคที่ใช้ได้ผลดีคือ การให้แรงเสริม เมื่อมีพฤติกรรมที่ต้องการ แรงเสริมมีทั้งสิ่งที่จับต้องได้ เช่น ขนม ของเล่น สติกเกอร์ และสิ่งที่จับต้องไม่ได้ เช่น คำชมเชย ตบมือ ยิ้มให้ กอด เป็นต้น

  9. การบำบัดทางเลือก (Alternative Therapy) • ในปัจจุบันมีแนวทางการบำบัดทางเลือกที่หลากหลาย สามารถเลือกใช้ควบคู่กับแนวทางหลัก ตามความเหมาะสมกับสภาพปัญหา และผลการตอบสนองที่ได้รับของเด็กแต่ละคน • สิ่งสำคัญที่ควรทำความเข้าใจคือ การบำบัดทางเลือกใช้เสริมแนวทางหลักให้มีประสิทธิผลเพิ่มขึ้น ไม่ใช่การนำมาใช้โดดๆ เพียงอย่างเดียวแล้วได้ผล การบำบัดทางเลือกดังกล่าวประกอบด้วย • 1. การสื่อความหมายทดแทน (Augmentative and Alternative Communication; AAC) • 2. ศิลปะบำบัด (Art Therapy) • 3. ดนตรีบำบัด (Music Therapy)

  10. 4. เครื่องเอชอีจี (HEG; Hemoencephalogram)เป็นเครื่องมือตรวจวัดการปรับเปลี่ยนกระแสการไหลเวียนของเลือดที่ผิวสมอง  เพื่อทำการตรวจสอบการอิ่มตัวของออกซิเจนในเส้นเลือดฝอยที่ผิวสมอง โดยแสงนี้สามารถส่องผ่านเข้าไปบริเวณผิวสมองและสะท้อนกลับมาที่หนังศีรษะ ตรวจวัดได้โดย photoelectric cells ซึ่งส่งไปวิเคราะห์ข้อมูลที่เครื่อง Biocomp เพื่อแปลผลข้อมูล และป้อนกลับไปให้ผู้ฝึกมองเห็นและเรียนรู้ได้อย่างเป็นรูปธรรมทางจอคอมพิวเตอร์ • 5. การฝังเข็ม (Acupuncture) • 6. การบำบัดด้วยสัตว์ (Animal Therapy) เช่น อาชาบำบัด (hippo therapy) Dog therapy เป็นต้น

  11. การพัฒนาเด็กออทิสติกด้านการศึกษาการพัฒนาเด็กออทิสติกด้านการศึกษา • การศึกษา มีบทบาทสำคัญในการเพิ่มทักษะพื้นฐานด้านสังคม การสื่อสาร และทักษะทางความคิดแก่เด็กออทิสติก ซึ่งทำให้เกิดผลดีในระยะยาว โดยเนื้อหาหลักสูตรจะเน้นการเตรียมความพร้อม เพื่อให้เด็กสามารถใช้ในชีวิตประจำวันจริงๆ ได้ แทนการฝึกแต่เพียงทักษะทางวิชาการเท่านั้น • การศึกษาในระบบ : การเรียนร่วม / เรียนรวม / ห้องคู่ขนาน • การศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย : การช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม (Early Intervention: EI) การศึกษานอกระบบ การฝึกอาชีพ การฝึกทักษะการดำรงชีวิต ฯลฯ

  12. การพัฒนาเด็กออทิสติกด้านอาชีพการพัฒนาเด็กออทิสติกด้านอาชีพ • แนวคิดการฟื้นฟูสมรรถภาพทางอาชีพ ในปัจจุบันเปลี่ยนจากการให้ทำงานในสถานพยาบาล หรือโรงงานในอารักษ์ มาสู่ตลาดแรงงานจริง หรือการประกอบอาชีพส่วนตัว ภายใต้การชี้แนะ การฝึกอาชีพ การจัดหางาน และการสนับสนุนอย่างเป็นระบบ • เพื่อไปสู่เป้าหมายให้บุคคลออทิสติกสามารถทำงาน มีรายได้ และดำรงชีวิตโดยอิสระ พึ่งพาผู้อื่นน้อยที่สุด จึงต้องมีการเตรียมความพร้อมทักษะที่จำเป็นในการทำงาน เช่น การตรงต่อเวลา การปรับตัวเข้ากับหัวหน้างาน และเพื่อนร่วมงาน ความปลอดภัยในการทำงาน เป็นต้น และฝึกทักษะพื้นฐานเฉพาะทางอาชีพ ควบคู่กันไป

  13. ในการทำงานจะมีผู้ฝึกสอนงาน (Job Coach) ฝึกให้ ณ ที่ทำงานจริง คอยช่วยเหลือแนะนำในเรื่องเทคนิคการทำงาน และทักษะสังคม ให้คำปรึกษา ประเมินผล และพัฒนาในจุดที่ยังบกพร่องอยู่ • บุคคลออทิสติกสามารถประกอบอาชีพได้ปกติ ตามความถนัดของแต่ละคน ถ้ามีการเตรียมความพร้อมอย่างเหมาะสม และสังคมมีความเข้าใจ เปิดโอกาสให้ ในกลุ่มออทิสติก ที่ระดับความสามารถสูง และได้รับการเตรียมความพร้อมมาตั้งแต่เด็ก ทั้งในทักษะพื้นฐานเพื่อการเรียนรู้ด้านต่างๆ และทักษะสังคม สามารถประกอบอาชีพ และใช้ชีวิตได้ตามปกติเหมือนบุคคลทั่วไป เพียงแต่ในเรื่องการปรับตัว หรือกรณีที่มีสถานการณ์ยุ่งยากซับซ้อน จะเป็นกระบวนการให้คำปรึกษาเป็นกรณีไป LOGO

  14. “เด็กเป็นตัวตั้ง ครอบครัวเป็นตัวหาร ผู้เชี่ยวชาญเป็นตัวช่วย” LOGO

  15. ศูนย์วิชาการ แฮปปี้โฮม ศูนย์วิชาการเพื่อการพัฒนาเด็กและวัยรุ่นhttp://www.happyhomeclinic.com/academy.html • สมาคมผู้ปกครองบุคคลออทิซึม(ไทย) :http://www.autisticthai.net/ • โรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์ ในพระอุปถัมภ์ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข : http://www.yuwaprasart.com/ • มูลนิธิออทิสติกไทย : http://www.autisticthai.com/index.php

  16. Thank You !

More Related