200 likes | 1.12k Views
สื่อการเรียน เรื่องรามเกียรติ์ ตอนนารายณ์ ปราบนนนทก ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียน ราชินู ทิศ 2 โดย คุณครูกัลยา นารถภักดี.
E N D
สื่อการเรียนเรื่องรามเกียรติ์ ตอนนารายณ์ปราบนนนทกระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2โรงเรียนราชินูทิศ 2โดย คุณครูกัลยา นารถภักดี
คำแนะนำการใช้สื่อการเรียนรู้1.ให้ผู้เรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน2. เมื่อทำแบบทดสอบก่อนเรียนเสร็จ จะเข้าสู่เนื้อหาผู้เรียนควรศึกษาเนื้อหาตามลำดับ 3. ผู้เรียนศึกษาเนื้อหาให้ครบทุกหัวข้อ 4. ให้ผู้เรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน
คำสั่ง จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว1. เรื่อง รามเกียรติ์มีต้นกำเนิดมาจากชาติใด ก.ศรีลังกา ข.มลายู ค.อินเดีย ง.ชวา
2.เรื่อง รามเกียรติ์ แต่งด้วยคำประพันธ์ชนิดใด ก.กลอนนิราศ ข.กลอนบทละคร ค.กลอนเพลงยาว ง.กลอนนิทาน
3.คำในข้อใดมีความหมายต่างจากข้ออื่น3.คำในข้อใดมีความหมายต่างจากข้ออื่น ก.พระสยมภูวญาณ ข.พระอิศราธิบดี ค. พระอิศวร ง. หัสนัยน์
4.รามเกียรติ์ ตอน นารายณ์ปราบนนทก ได้รับการยกย่องว่าเป็นตอนที่มีความงามยิ่งด้านใด ก.คีตศิลป์ ช. นาฏศิลป์ ค.วรรณศิลป์ ง. ถูกทั้งข้อ ข และ ค
6.ข้อใดแสดงถึงความงามของนารายณ์แปลงกายจนนนทกหลงใหล6.ข้อใดแสดงถึงความงามของนารายณ์แปลงกายจนนนทกหลงใหล ก.เมื่อนั้น พระนารายณ์ทรงสวัสดิ์รัศมี ข. เมื่อนั้น นางนารายณ์เยาวลักษณ์เสน่หา ค. ถึงโฉมองค์อัครลักษมี พระสุรัสวดีเสน่หา ง. เป็นโฉมนางเทพอัปสร อ้อนแอ้นอรชรเฉลิมศรี
7.พฤติกรรมของนนทกตรงกับข้อใด7.พฤติกรรมของนนทกตรงกับข้อใด ก.ขิงก็รา ข่าก็แรง ข. ยิ่งว่ายิ่งยุ ค. เพชรตัดเพชร ง. ยิ่งกดยิ่งดัน
8. “งามจุไร” คำว่า จุไร มีความหมายตรงกับข้อใด ก.จมูก ข.คิ้ว ค.ไรผม ง.คาง
9. คำที่ทำตัวหนาข้อใด ไม่ได้หมายถึง พระนารายณ์ ก.ย้ายท่ามัจฉาชมสาคร พระสี่กรขว้างจักรฤทธิ์รงค์ ข. ครั้นแล้วนนทกมรณา พระจักราผู้มีอัชฌาสัย ค. เมื่อนั้น หัสนัยน์เจ้าตรัยตรึงศา ง. เห็นพระองค์ทรงสังข์คชาธร เป็นสี่กรก็รู้ประจักษ์ใจ
10.ข้อคิดจากเรื่อง รามเกียรติ์ ตอน นารายณปราบนนทก ข้อใดที่นักเรียนสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ ก.การใช้อำนาจ ข. แค้นนี้ต้องชำระ ค. การอดทนอดกลั้น ง. เวรย่อมระงับด้วยการจองเวร
มาตรฐานและตัวชี้วัด มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด ท 5.1 ม.2/1 สรุปเนื้อหาวรรณคดีและวรรณกรรมที่อ่านในระดับที่ยากขึ้น ม.2/2 วิเคราะห์และวิจารณ์วรรณคดี วรรณกรรม และวรรณกรรมท้องถิ่นที่อ่าน พร้อมยกเหตุผลประกอบ ม.2/3 อธิบายคุณค่าของวรรณคดีและวรรณกรรมที่อ่าน ม.2/4 สรุปความรู้และข้อคิดจากการอ่านไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง ม.2/5 ท่องจำบทอาขยานตามที่กำหนด และบทร้อยกรองที่มีคุณค่าตามความสนใจ รามเกียรติ์ เป็นวรรณคดีที่ไทยรับเค้าเรื่องมาจากมหากาพย์รามายณะของอินเดีย มีความสำคัญและมีอิทธิพลต่อความคิดความเชื่อของคนไทยมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีความดีเด่นด้านเนื้อหาที่ให้คุณค่าและให้ข้อคิดแก่ผู้อ่านหลายประการที่สามารถนำไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้
นนทกมีหน้าที่ล้างเท้าเทวดาอยู่ที่เชิงเขาไกรลาส เมื่อเทวดาพากันไปเฝ้าพระอิศวร พวกเทวดาชอบข่มเหง นนทกอยู่เป็นประจำโดยการลูบหัวบ้าง ตบหัวบ้าง จนกระทั่งผมร่วงหมด นนทกแค้นใจเป็นอันมากจึงไปเฝ้าพระอิศวรกราบทูลว่าตนเองได้รับใช้มานานยังไม่เคยได้รับสิ่งใดตอบแทนเลย จึงทูลขอให้นิ้วเป็นเพชรมีฤทธิ์ชี้ผู้ใดก็ให้ผู้นั้นถึงตายได้ พระอิศวรก็ประทานให้ตามขอเมื่อเทวดามาลูบศีรษะเล่นเช่นเคย นนทกก็ชี้ให้ตายลงเป็นจำนวนมาก พระอิศวรทรงทราบก็กริ้วโปรดให้พระนารายณ์ไปปราบ พระนารายณ์แปลงกายเป็นนางฟ้าสวยงามมายั่วยวน นนทกนึกรักจึงเกี้ยวนาง นางแปลงจึงชวนให้นนทกร่ายรำก่อนจึงจะรับรัก นนทกตกลงรำตามไปจนถึงท่ารำที่ใช้นิ้วเพชรชี้ที่เข่าตนเอง นนทกก็ล้มลง ก่อนตายนนทกเห็นนางแปลงปรากฏร่างเป็นพระนารายณ์จึงต่อว่าพระนารายณ์มีอำนาจมีถึงสี่กร เหตุใดจึงต้องทำอุบายมาหลอกลวงตน พระนารายณ์จึงให้ นนทกไปเกิดใหม่ให้มีถึง 20 มือมีฤทธิ์มากมายแล้วพระองค์จะตามไปเกิดเป็นมนุษย์มีเพียง 2 มือลงไปสู้ด้วยและจะเอาชนะให้ได้ ศึกษาเนื้อโดยย่อ
อ่านบทประพันธ์เพื่อศึกษาศัพท์อ่านบทประพันธ์เพื่อศึกษาศัพท์ "เหลือบเห็นสตรีวิไลลักษณ์ พิศพักตร์ผ่องเพียงแขไข งามโอษฐ์งามแก้มงามจุไร งามนัยน์เนตรงามกร งามถันงามกรรณงามขนง งามองค์ยิ่งเทพอัปสร งามจริตกิริยางามงอน งามเอวงามอ่อนทั้งกายา" ให้นักเรียนบอกความหมายของคำที่กำหนดให้ต่อไปนี้ - พักตร์ ความหมาย ใบหน้า - โอษฐ์ ความหมาย ปาก - จุไร ความหมาย ไรผม - นัยน์เนตร ความหมาย นัยน์ตา - กร ความหมาย มือ - ถัน ความหมาย หน้าอก - กรรณ ความหมาย หู - ขนง ความหมาย คิ้ว
ข้อคิดที่ได้ ข้อคิดที่ได้รับ ๑. อำนาจตกอยู่ในมือของคนที่ลืมตัว จะเกิดผลร้ายตามมาได้ ๒. เมื่อคนมีอำนาจ จะตัดสินใจด้วยความรู้สึกก้าวร้าวรุนแรงได้ง่ายเมื่อคิดว่าถูกรังแก ๓. คนเราควรใช้อำนาจเพียงเพื่อป้องกันตัวไม่ให้รับพิบัติเท่านั้น ไม่ใช่เพื่อทำลายผู้อื่นเพื่อแก้แค้น ๔. ความหลงอำนาจเป็นกิเลสอย่างหนึ่งที่ทำให้ผู้อยู่ร่วมในสังคมต้องได้รับความเดือดร้อน ๕. วรรณคดีเป็นบทวิจารณ์ชีวิตที่ทำให้คนเราเข้าใจชีวิตของเพื่อนมนุษย์ได้อีกทางหนึ่ง