270 likes | 472 Views
สรุปบทเรียนการถ่ายโอนสถานีอนามัย ไปองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น. โดย อาจารย์สมพันธ์ เตชะ อธิก และคณะ. เทคนิคที่ใช้ในการสรุปบทเรียน. การสรุปบทเรียนการถ่ายโอนสถานีอนามัยไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) จำนวนทั้งสิ้น 22 แห่ง
E N D
สรุปบทเรียนการถ่ายโอนสถานีอนามัยสรุปบทเรียนการถ่ายโอนสถานีอนามัย ไปองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น โดย อาจารย์สมพันธ์ เตชะอธิก และคณะ
เทคนิคที่ใช้ในการสรุปบทเรียน เทคนิคที่ใช้ในการสรุปบทเรียน การสรุปบทเรียนการถ่ายโอนสถานีอนามัยไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) จำนวนทั้งสิ้น 22 แห่ง ใช้กระบวนการทบทวนภายหลังการปฏิบัติการถ่ายโอนไปเรียบร้อยแล้ว โดยเทคนิค After Action Review (AAR) ในการระดมความคิดเห็นและข้อมูลจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในแต่ละแห่ง จำนวน 10-19 คน โดยมีคำถามหลัก 4 ข้อ ได้แก่ ความคาดหวัง , ความเป็นจริง , ทำไมถึงแตกต่างกัน และทางเลือกหรือวิธีการใหม่ควรทำอย่างไร?
ภาพรวมผลการ สรุปบทเรียนการถ่ายโอนสถานีอนามัย ไปองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น
ความคาดหวังจากการถ่ายโอนฯความคาดหวังจากการถ่ายโอนฯ
ความคาดหวัง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น:- • มีระบบกลไกทำงานที่สะดวก กำหนดทิศทางงานได้อย่างคล่องตัว • มีนโยบายที่เน้นและให้ความสำคัญด้านสุขภาพของประชาชน • มีบุคลากรรับผิดชอบงานด้านสุขภาพประชาชน • เสริมสร้างการมีส่วนร่วมกับภาคประชาชนที่รับบริการ
ความคาดหวัง สถานีอนามัย :- • ได้รับการหนุนเสริมในการทำงานจากทุกภาคส่วน อย่างรวดเร็ว สะดวก และเป็นประโยชน์ต่อการทำงาน • มีความคล่องตัวกว่าระบบเก่า • รักษามาตรฐานการบริการให้ดียิ่งขึ้น • ลดงานข้อมูล เอกสาร การเขียนรายงานที่เป็นภาพรวมประเทศ • จัดสรรเวลาไปทำงานเชิงรุก (ตรวจคัดกรองโรค มะเร็งปากมดลูก เยี่ยมคนพิการ ความเสี่ยง เป็นต้น) ได้มากขึ้น
ความคาดหวัง สาธารณสุขอำเภอ จังหวัด :- • งานเอกสารลดลง • งานด้านสาธารณสุขเริ่มต้นที่ท้องถิ่น ค้นหา ตอบสนองได้อย่างเหมาะสมกับความต้องการของประชาชน ครอบคลุมบริการทั้ง 4 ด้าน คือ การสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกัน การรักษาและการฟื้นฟู • เกิดการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่ายในการบริหารจัดการระบบสาธารณสุขอย่างแท้จริง
ความคาดหวัง อาสาสมัคสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.):- • ประชาชนจะได้รับการดูแลสุขภาพจากเจ้าหน้าที่ที่มีความชำนาญ • มีเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่เยี่ยมชาวบ้านอย่างต่อเนื่องเพื่อเท่าทันสถานการณ์และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชน • มีรถ อุปกรณ์ช่วยยามฉุกเฉิน และทันสถานการณ์ • ลดขั้นตอนการเขียนแผน การเบิกจ่าย • คุณภาพชีวิตประชาชนจะดีขึ้น
ความคาดหวัง ประชาชนผู้รับบริการ:- • มีบุคลากรในการให้บริการเพิ่มขึ้น • การให้บริการดีกว่าเดิม • ประชาชนเข้าถึงบริการสุขภาพ • มีอุปกรณ์พร้อม เครื่องมือพร้อม • เปิดบริการเสาร์ อาทิตย์ • คนในชุมชน“อยู่ดีมีสุข”
ความเป็นจริงที่เกิดขึ้นความเป็นจริงที่เกิดขึ้น มีทั้งสิ่งดีๆและปัญหาอุปสรรค ดังนี้คือ.....
สิ่งดีๆที่เกิดขึ้นจากการถ่ายโอนฯ สิ่งดีๆที่เกิดขึ้นจากการถ่ายโอนฯ • ด้านการบริหารทรัพยากร :ปรับปรุงสอ. ถนน ต่อยอดโครงการฯซ่อมบำรุงรถยนต์ (ลดขั้นตอน ทำได้รวดเร็ว ทันสถานการณ์) • ด้านการประสานงานระดับท้องถิ่น(สอ./อบต.): มีการประสานงาน สะดวก รวดเร็ว ลดขั้นตอนน้อยลง • ด้านอัตรากำลังบุคลากร มีการแก้ไขปัญหา บริหารจัดการให้มีความเหมาะสมกับภารกิจ
สิ่งดีๆที่เกิดขึ้นจากการถ่ายโอนฯ สิ่งดีๆที่เกิดขึ้นจากการถ่ายโอนฯ • ด้านการบริหารงานของผู้นำ : มีผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ มีทักษะในการบริหารจัดการ ทำให้การถ่ายโอนฯเป็นไปได้ • ด้านการบริการด้านสุขภาพของประชาชน :ทำได้ต่อเนื่อง มีการปรับขยายเวลาทำการให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของชาวบ้าน • ด้านความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างอปท.และ สอ.และประชาชน : สร้างเสริมให้เกิดความร่วมมือและตั้งใจทำงาน ประชาชนยอมรับและมีความพึงพอใจในการรับบริการ เข้าถึง ใกล้ชิด รวดเร็ว • ด้านงบประมาณ : อปท.สนับสนุนงบประมาณด้านสุขภาพมากขึ้น
ปัญหา อุปสรรคในการถ่ายโอนฯ • ด้านนโยบายและความชัดเจนในการถ่ายโอนฯ “การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น” และข้อกฎหมาย ทำให้เกิดความล่าช้า • การปรับระบบงานเก่าสู่ระบบงานใหม่ทั้งระบบ ด้านงาน เงิน คน กำลังประสบปัญหา (หนังสือสั่งการ ใบเสร็จ การเบิกจ่าย คู่สัญญากับ สปสช. เป็นต้น) • ภารกิจของบุคลากรมากขึ้น แต่บุคลากรในการให้บริการไม่เพียงพอ • ระเบียบ งบประมาณการใช้จ่ายต่างๆ เช่น การเบิกจ่ายงบประมาณค่าตอบแทน ค่ารักษาพยาบาล ค่าทำงานนอกเวลา พัสดุ ยาเวชภัณฑ์ การใช้เงินกองทุนบำรุงของสถานีอนามัย ฯลฯ
ปัญหา อุปสรรคในการถ่ายโอนฯ • ระบบข้อมูล การรายงานยังมีความซ้ำซ้อน • ความไม่มั่นคงในตำแหน่งของลูกจ้าง: การเลื่อนขั้น การเสียสิทธิ์ในการปรับเปลี่ยนตำแหน่ง ใบประกอบวิชาชีพ และการมอบอำนาจรักษาพยาบาล • การสื่อสารระหว่างพื้นที่กับส่วนกลาง อำนาจการตัดสินใจในการแก้ไขปัญหาต่างๆ และกฎระเบียบที่แตกต่างกันของกระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงมหาดไทย ยังรอให้แก้ไขปัญหาข้อข้องใจ และการดำเนินการในพื้นที่ให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น
ทำไมจึงแตกต่างจากความคาดหวังทำไมจึงแตกต่างจากความคาดหวัง
ทำไมจึงแตกต่างจากความคาดหวัง กระบวนการถ่ายโอนฯ(เตรียมความพร้อม –หลังการถ่ายโอนฯ) ยังไม่มีความเหมาะสม เนื่องจากเป็นการปรับเปลี่ยนจากกระทรวงหนึ่งไปยังอีกกระทรวงหนึ่ง ระเบียบปฏิบัติมีรายละเอียดมากและแตกต่างกัน ไม่มีการเตรียมพร้อมเรื่องกฎระเบียบที่ชัดเจน การตัดสินใจและสั่งการโดยผู้บริหารส่วนกลางและท้องถิ่นยังไม่ชัดเจน ไม่เป็นลายลักษณ์อักษรและสื่อสารไม่รวดเร็ว การถ่ายโอนฯเจ้าหน้าที่ไม่ครบทุกคนใน สอ.
ทำไมจึงแตกต่างจากความคาดหวัง “ระบบตัดขาด” เริ่มปรากฏหรือ เริ่มเกิดขึ้นระหว่างการปฏิบัติงานสอ. รพ. สธ.ทั้งระดับจังหวัดและระดับอำเภอ (บางแห่ง) ทำให้ฐานความสัมพันธ์ที่ดี ระหว่างจนท. องค์กรฯ ลดลงจากเดิม เช่น การช่วย ให้คำแนะนำในการรักษาบนฐาน “วัฒนธรรมบริการ”คือ เริ่มหดหายไป ส่งผลให้พยาบาลวิชาชีพกล้าๆกลัวๆในการปฏิบัติหน้าที่ที่มากไปกว่าการทำแผลปกติ
ทำไมจึงแตกต่างจากความคาดหวัง อัตรากำลังคน หรือบุคลากรมีความยุ่งยากในการโอนย้าย มีความล่าช้า โดยเฉพาะอยู่ในองค์กรที่มีผู้บริหารที่ไม่เข้มแข็ง ไม่มีทักษะในการบริหารจัดการฯ ด้านการบริหารงบประมาณ ระบบการสนับสนุนงบประมาณ ไม่มีการสื่อสาร ชี้แจงที่ชัดเจนทั้งในเรื่องระเบียบการใช้จ่ายเงินหลายๆด้าน ภาครัฐ”สนง.ท้องถิ่นจังหวัด” เป็นกลไกหลักในการประสานงานถ่ายโอนภารกิจจากหน่วยงานต่างๆ มายัง อปท. แต่หลายแห่งยังขาดการเรียนรู้ ความเข้าใจที่ครอบคลุมทุกภารกิจ ต้องใช้เวลาศึกษาระเบียบ กฎหมาย ส่งผลให้ส่วนหนึ่งของการถ่ายโอนขับเคลื่อนไม่ต่อเนื่อง
ก่อนการถ่ายโอน ควรมีการกำหนดนโยบายจากส่วนกลางและท้องถิ่นในแนวทางปฏิบัติร่วมกันที่ชัดเจนทั้งในเรื่อง กรอบอัตรากำลัง บุคลากร แผนงาน งบประมาณ สวัสดิการการเบิกจ่ายงบประมาณ และกฎระเบียบต่างๆที่เกี่ยวข้อง โดยมีการสื่อสารอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร รวดเร็ว ข้อมูลถูกต้อง การถ่ายโอน สอ.ควรถ่ายโอนทุก สอ.ในพื้นที่เดียวกันทั้งหมดเพื่อที่จะได้ทำงานบูรณาการและทำงานเป็นเอกภาพร่วมกัน เพื่อสุขภาพประชาชน รวมทั้งไม่ควรจำกัดเฉพาะพื้นที่ตำบล เนื่องจากโรคระบาดบางโรคหรือปัญหาสุขภาพบางเรื่อง เป็นเรื่องที่ขอบเขตอาณาบริเวณพื้นที่กว้างขวางกว่าความรับผิดชอบเฉพาะพื้นที่ของ อบต./เทศบาลตำบล อปท.จึงควรมีระบบประสานงานนอกเขตปกครองด้วย • ทางเลือกหรือวิธีการใหม่ มีดังต่อไปนี้
ก่อนการถ่ายโอนควรมีการพัฒนาตัวชี้วัดมาตรฐานภารกิจของ สอ.ร่วมกับ อปท.และประชาชนที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ รวมทั้งมีการสรุปบทเรียน การติดตามประเมินผลอย่างเป็นระบบและวิชาการเมื่อมีการปฏิบัติตามแผนงาน เพื่อกำกับ ควบคุมการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามเป้าหมายและประโยชน์แก่ประชาชน ก่อนการถ่ายโอน สอ. อบต./เทศบาลตำบล สอ. ประชาคมหมู่บ้าน ควรมีเวทีวิเคราะห์ผลดี ผลเสีย ของการถ่ายโอนสอ.และการเตรียมความพร้อมในเรื่องแผนงาน งบประมาณ ตำแหน่ง สวัสดิการและกฎระเบียบต่างๆร่วมกัน • ทางเลือกหรือวิธีการใหม่ มีดังต่อไปนี้
ระหว่างการถ่ายโอนฯ : ควรมีกลไกกลางทำหน้าที่ในการจัดการความรู้ (สรุปบทเรียน ติดตาม จัดกระบวนการให้เกิดการประเมินตนเอง “โดยกระบวนการประเมินแบบเสริมพลัง ฯลฯ” ตามความเหมาะสม จัดเวทีให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างพื้นที่ หรือในพื้นที่ ให้โอกาสได้ทบทวนตนเอง (ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง) วิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง เพื่อหาแนวทางหรือทางออกในการแก้ไขปัญหา หรือต่อยอด ยกระดับศักยภาพที่มีอยู่ ช่วยส่งเสริมให้งานถ่ายโอนขับเคลื่อนไปได้ • ทางเลือกหรือวิธีการใหม่ มีดังต่อไปนี้
ภายหลังการถ่านโอน สอ.เรียบร้อยแล้ว การเสริมสร้างความรู้และเทคนิคทางวิชาการด้านสาธารณสุข อปท.ควรเปิดโอกาสและประสานงานกับระบบสาธารณสุขเดิมและสนับสนุนทุกวิถีทางในการเสริมสร้างศักยภาพเจ้าหน้าที่ สอ.ให้สามารถพัฒนาระบบบริการสาธารณสุขเพื่อประชาชนได้ดียิ่งขึ้น การพัฒนาระบบประสานงานของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ท้องถิ่นจังหวัด/อำเภอ โรงพยาบาล อบต./เทศบาล สอ. ทั้งในเรื่องระบบส่งต่อผู้ป่วย CUP คู่สัญญากับ สปสช. ใบประกอบวิชาชีพและการรับรองการรักษาพยาบาล ฯลฯ ควรมีการกำหนดรายละเอียดและถือปฏิบัติร่วมกัน • ทางเลือกหรือวิธีการใหม่ มีดังต่อไปนี้
ควรมีการวิจัยประเมินผลผลสัมฤทธิ์ของการถ่ายโอน สอ.ความพึงพอใจของประชาชน นวัตกรรมต่างๆของระบบบริการสาธารณสุขภายใต้ อปท.ที่สามารถแก้ไขปัญหาสุขภาพได้ตรงจุดและสอดคล้องกับพื้นที่ อปท. สอ. อสม. ผู้นำชุมชน ควรมีการสำรวจและเก็บข้อมูลสุขภาวะประชาชน โดยพัฒนาตัวชี้วัด และจัดทำแผนที่สุขภาพ 4 มิติได้แก่ สุขภาพร่างกาย , จิตใจ , สังคมและปัญญา จากนั้นนำมาจัดเวทีแบบมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ แผน โครงการ งบประมาณ ทั้งในระยะยาว 5 ปี ระยะปานกลาง 3 ปี และระยะสั้น 1 ปี • ทางเลือกหรือวิธีการใหม่ มีดังต่อไปนี้
ทางเลือกหรือวิธีการใหม่ มีดังต่อไปนี้ • ในเรื่องบุคลากรที่มีไม่เพียงพอ ในระยะยาว ควรมีการคัดเลือกนักเรียนในพื้นที่และให้ทุนศึกษาต่อตามสายงานที่เกี่ยวข้องทางด้านสาธารณสุข โดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องมาทำงานกับท้องถิ่นตนเอง เป็นทางเลือกที่หลายองค์กรที่ถ่ายโอนฯ กำลังดำเนินการ • การเสริมแรง ผลักดัน กระตุ้นการทำงานทางด้านสุขภาพ เป็นเรื่องที่ดี เช่น การจัดประกวด แข่งขัน รณรงค์ด้านสุขภาพ ควรให้สอ.ที่ถ่ายโอนฯมีสิทธิ์ที่จะเข้าร่วมเช่นเดิม
การไม่มีใบประกอบวิชาชีพทางการแพทย์เป็นปัญหาของเจ้าหน้าที่ระดับตำบล การทำคู่สัญญากับหลักประกันสุขภาพ ระบบการส่งต่อ การจัดซื้อยาและเวชภัณฑ์ และการสนับสนุนงบประมาณเพื่อดำเนินงานตามแผนงานของสถานีอนามัยควรมีความชัดเจนว่าจะจัดการอย่างไร ควรเตรียมความพร้อม สร้างความรู้ ความเข้าใจเรื่องดังกล่าวต่อองค์การบริหารส่วนตำบล และพัฒนาระบบการทำงานให้ชัดเจน • ทางเลือกหรือวิธีการใหม่ มีดังต่อไปนี้
ทางเลือกหรือวิธีการใหม่ มีดังต่อไปนี้ • ควรหนุนเสริมให้มีการการสรุปบทเรียน และการประเมินตนเองในแต่ละพื้นที่เป็นระยะ (ก่อน ระหว่าง หลังถ่ายโอนฯ) หรือตามความเหมาะสม เพื่อเสริมพลังการทำงานด้านสาธารณสุขได้อย่างเหมาะสมสอดคล้อง