1 / 33

สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำ จังหวัดมหาสารคาม

การ เปิดเผยราคากลางและการแสดงบัญชีรายรับรายจ่ายโครงการตามมาตรา 103/7 แห่งพระราชบัญญัติประกอบ รัฐธรรมนูญว่า ด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554. สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำ จังหวัดมหาสารคาม. ความเป็นมา.

Download Presentation

สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำ จังหวัดมหาสารคาม

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การเปิดเผยราคากลางและการแสดงบัญชีรายรับรายจ่ายโครงการตามมาตรา 103/7 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554 สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดมหาสารคาม

  2. ความเป็นมา ตามมาตรา 103/7 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554 ได้กำหนดมาตรการการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานรัฐ ไว้ 2 ประการ ได้แก่

  3. 1. การให้หน่วยงานของรัฐทำข้อมูลเกี่ยวกับรายละเอียดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง ราคากลาง การคำนวณราคากลางไว้ในระบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้ประชาชนได้รับรู้ข้อมูลราคากลางและตรวจสอบได้ 2. ให้บุคคลหรือนิติบุคคลที่เป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐแสดงบัญชีรายรับรายจ่ายโครงการต่อกรมสรรพากร (บังคับใช้ 1 เมษายน 2555)

  4. เหตุผลและความจำเป็น - การจัดหาพัสดุของหน่วยงานรัฐใช้เงินของแผ่นดิน - การดำเนินการที่ผ่านมามีการทุจริตแสวงหาประโยชน์ โดยมิชอบ ทำให้รัฐเสียหาย - มีการสมยอมในการเสนอราคา ไม่แข่งขันอย่างเป็นธรรม จ่ายเงินเพื่อให้เจ้าหน้าที่รัฐเพื่อให้ได้เป็นคู่สัญญา - นักการเมือง เจ้าหน้าที่รัฐมีส่วนร่วมหรือสนับสนุนการทำความผิด ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ - เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบและจัดเก็บรายได้

  5. ขอบเขตการบังคับใช้ 1. บังคับใช้เฉพาะการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานของรัฐ 2. ใช้บังคับการจัดซื้อจัดจ้าง 7 ประเภท (1) งานจ้างก่อสร้าง (2) งานจ้างควบคุมงาน (3) งานจ้างออกแบบ (4) การจ้างที่ปรึกษา (5) งานจ้างวิจัยหรือให้เงินสนับสนุนการวิจัย (6) การจ้างพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ (7) การจัดซื้อจัดจ้างซึ่งมิใช่งานก่อสร้าง (รวมถึงการเช่า เช่าซื้อ แลกเปลี่ยนด้วย)

  6. หน่วยงานของรัฐ 1. กระทรวง ทบวง กรม เป็นการบริหารราชการส่วนกลางตามพระราชบัญญัติปรับปรุง กระทรวง ทบวง กรม พ.ศ.2545 และพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 - สำนักนายกรัฐมนตรี - กระทรวง หรือทบวงซึ่งมีฐานะเทียบเท่ากระทรวง - กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม ซึ่งสังกัดหรือไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง

  7. หน่วยงานของรัฐ (ต่อหน้าที่ 1) 2. ราชการส่วนภูมิภาค - จังหวัด อำเภอ ตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 - ตำบล หมู่บ้าน ตาม พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.2453 3. ราชการส่วนท้องถิ่น - กรุงเทพมหานคร - เมืองพัทยา - องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) - เทศบาล - องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.)

  8. หน่วยงานของรัฐ (ต่อหน้าที่ 2) 4. รัฐวิสาหกิจ หมายถึง องค์การของรัฐบาลหรือหน่วยงานธุรกิจที่รัฐบาลเป็นเจ้าของ หรือรัฐมีทุนเกินร้อยละห้าสิบ รวมทั้งบริษัทจำกัด และห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจมีทุนอยู่ด้วยเกินร้อยละห้าสิบตามกฎหมายว่าด้วยวิธีงบประมาณ 5. องค์กรมหาชน หมายถึง หน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบบริการสาธารณะทางสังคมและวัฒนธรรม เช่น การศึกษา การวิจัย การฝึกอบรม เป็นต้น โดยไม่มีวัตถุประสงค์ในการแสวงหากำไร ซึ่งอาจจัดตั้งตามพระราชบัญญัติองค์กรมหาชน พ.ศ.2542 หรือองค์กรมหาชนที่มีพระราชบัญญัติจัดตั้งเป็นการเฉพาะ

  9. หน่วยงานของรัฐ (ต่อหน้าที่ 3) 6. หน่วยงานธุรการขององค์กรตามรัฐธรรมนูญ (1) หน่วยงานธุรการขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ คือ - สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง - สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน - สำนักงาน ป.ป.ช. - สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (2) หน่วยงานธุรการขององค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญ คือ - สำนักงานอัยการสูงสุด - สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ - สำนักงานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

  10. หน่วยงานของรัฐ (ต่อหน้าที่ 4) 7. หน่วยงานอื่นของรัฐ ได้แก่ หน่วยงานของรัฐซึ่งมิได้อยู่ในรูปแบบข้างต้นโดยอาจเป็นส่วนราชการซึ่งมิได้อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาหรือกำกับดูแลของฝ่ายบริหาร หรือเป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ตามมติ ค.ร.ม. เพื่อทำหน้าที่ในการควบคุมดูแลกำกับกิจกรรมของรัฐซึ่งจะมีฐานะเป็นนิติบุคคลหรือไม่ก็ได้ เช่น - สำนักงานเลขาธิการของวุฒิสภา และสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร - หน่วยงานธุรการของศาล - หน่วยงานที่รัฐธรรมนูญกำหนดให้มีการจัดตั้งขึ้น เช่น สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ สภาพัฒนาการเมือง สภาเกษตรกรแห่งชาติ สำนักงานปฏิรูปกฎหมาย - หน่วยงานซึ่งเป็นหน่วยบริการรูปแบบพิเศษตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารงานรูปแบบพิเศษ ได้แก่ สถาบันส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา - สถาบันอุดมศึกษาและมหาวิทยาลัยในกำกับภาครัฐ

  11. หน่วยงานของรัฐ (ต่อหน้าที่ 6) 8. หน่วยงานอื่นใดที่ดำเนินกิจการของรัฐตามกฎหมายและได้รับเงินอุดหนุนหรือทรัพย์สินลงทุนจากรัฐ ได้แก่ กองทุนที่เป็นนิติบุคคล ที่จัดตั้งขึ้นโดยตราเป็นพระราชบัญญัติโดยการดำเนินงานของกองทุนจะได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาล และเงินสมทบจากกลุ่มเป้าหมายนั้นๆ เช่น พระราชบัญญัติการออมแห่งชาติ พ.ศ. 2554 กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เป็นต้น ไม่รวมถึงหน่วยงานอื่นใดที่จัดตั้งขึ้นในลักษณะเป็นองค์กรวิชาชีพ เช่น สภาวิชาชีพบัญชี สภาทนายความ เป็นต้น

  12. การจัดซื้อจัดจ้าง การจัดซื้อจัดจ้าง หมายความว่า การจ้างก่อสร้าง การจ้างควบคุมงาน การจ้างออกแบบ การจ้างที่ปรึกษา การจ้างงานวิจัยหรือเงินสนับสนุนให้ทุนการวิจัย การจ้างพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ การจัดซื้อจัดจ้างที่มิใช่งานก่อสร้าง อันเป็นการจัดซื้อจัดจ้างตามระเบียบ ข้อบังคับ หรือกฎว่าด้วยการพัสดุของหน่วยงานของรัฐ เว้นแต่การจ้างงานวิจัยหรือเงินสนับสนุนให้ทุนวิจัย ไม่ว่าการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานของรัฐนั้นจะใช้เงินจากงบประมาณ เงินกู้ เงินช่วยเหลือ หรือเงินรายได้ของหน่วยงานของรัฐเองก็ตาม แต่ไม่รวมถึงการจำหน่ายพัสดุ

  13. ความหมายของศัพท์ที่สำคัญ ราคากลาง หมายความว่า รายละเอียดราคามาตรฐานหรือราคาที่ใกล้เคียงความเป็นจริงเพื่อใช้เป็นฐานสำหรับเปรียบเทียบราคาที่ผู้เสนอราคาได้ยื่นเสนอไว้ซึ่งสามารถจัดซื้อจัดจ้างได้จริง การคำนวณราคากลาง หมายความว่า วิธีการคำนวณราคาการจัดซื้อจัดจ้างในแต่ละรายการตามหลักเกณฑ์ วิธีการ ที่หน่วยงานของรัฐกำหนด หรือปฏิบัติเพื่อให้ได้มาซึ่งราคากลาง

  14. หัวข้อที่ 1 การประกาศราคากลาง วงเงินที่ต้องประกาศ ให้หน่วยงานของรัฐจัดทำประกาศรายละเอียดข้อมูลราคากลางและคำนวณราคากลางในการจัดซื้อจัดจ้างที่มีวงเงินเกินกว่า 100,000.-บาท ไม่ว่าจะเป็นการจัดซื้อจัดจ้างประเภทใดๆ ก็ตาม

  15. วิธีการประกาศ ให้หน่วยงานของรัฐประกาศรายละเอียดข้อมูลราคากลางและคำนวณราคากลางในการจัดซื้อจัดจ้างในระบบฐานข้อมูล (เว็บไซต์) 2 แห่ง 1. ในระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ของกรมบัญชีกลาง (E-GP)

  16. กรมบัญชีกลางได้จัดทำคู่มือการเปิดเผยราคากลางในระบบ E-GP เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงาน

  17. วิธีการประกาศ 2. ในเว็บไซต์หน่วยงานของรัฐที่จัดซื้อจัดจ้าง หรือในกรณีที่หน่วยงานของรัฐไม่มีเว็บไซต์ของตนเอง ให้ประกาศหน้าเว็บไซต์ของหน่วยงานต้นสังกัด

  18. ประเภทการจัดซื้อจัดจ้างประเภทการจัดซื้อจัดจ้าง 1. การเปิดเผยราคากลางและการคำนวณราคากลางงานก่อสร้าง

  19. ประเภทการจัดซื้อจัดจ้างประเภทการจัดซื้อจัดจ้าง 2. การเปิดเผยราคากลางและการคำนวณราคากลางการจ้างควบคุมงาน

  20. ประเภทการจัดซื้อจัดจ้างประเภทการจัดซื้อจัดจ้าง 3. การเปิดเผยราคากลางและการคำนวณราคากลางการจ้างออกแบบ

  21. ประเภทการจัดซื้อจัดจ้างประเภทการจัดซื้อจัดจ้าง 4. การเปิดเผยราคากลางและการคำนวณราคากลางการจ้างที่ปรึกษา

  22. ประเภทการจัดซื้อจัดจ้างประเภทการจัดซื้อจัดจ้าง 5. การเปิดเผยราคากลางและการคำนวณราคากลางการจ้างงานวิจัยหรือให้ทุนสนับสนุนงานวิจัย

  23. ประเภทการจัดซื้อจัดจ้างประเภทการจัดซื้อจัดจ้าง 6. การเปิดเผยราคากลางและการคำนวณราคากลางการจ้างพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์

  24. ประเภทการจัดซื้อจัดจ้างประเภทการจัดซื้อจัดจ้าง 7. การเปิดเผยราคากลางและการคำนวณราคากลางการจัดซื้อจัดจ้าง ที่มิใช่งานก่อสร้าง

  25. ระยะเวลาที่ประกาศ กรณีการจัดหาที่มีการแข่งขันที่ต้องประกาศเชิญชวน 1. ให้ประกาศพร้อมกับการประกาศ TOR 2. กรณีไม่มีการประกาศขอบเขตดำเนินการ TOR (Terms of Reference) ให้ประกาศพร้อมกับการประกาศจัดซื้อจัดจ้าง ระยะเวลาปลดประกาศ 1. เมื่อผู้มีอำนาจอนุมัติการสั่งซื้อสั่งจ้างได้มีคำสั่งรับคำเสนอซื้อหรือจ้างแล้ว หรือ 2. เมื่อพ้น 30 วันนับแต่วันที่คณะกรรมการพิจารณาผลหรือผู้มีอำนาจหน้าที่พิจารณาผลเสนอความเห็นต่อผู้มีอำนาจอนุมัติสั่งซื้อสั่งจ้างแล้วแต่ระยะเวลาใดถึงกำหนดก่อน

  26. ระยะเวลาที่ประกาศ กรณีการจัดหาที่ไม่มีประกาศเชิญชวน ให้หน่วยงานของรัฐประกาศรายละเอียดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง ราคากลางและการคำนวณราคากลาง ดังนี้ (1) ภายในสาม (3) วันทำการ นับแต่วันที่ผู้มีอำนาจได้อนุมัติรายงานขอซื้อขอจ้าง หรือ (2) หากไม่มีการรายงานขอซื้อขอจ้าง ให้ประกาศภายในสาม (3) วันทำการนับแต่วันที่ผู้มีอำนาจได้อนุมัติการจัดซื้อจัดจ้าง หรืออนุมัติให้เงินสนับสนุนทุนการวิจัย (3) หากไม่สามารถประกาศก่อนการสั่งซื้อสั่งจ้างได้ เช่น กรณีที่ต้องจัดซื้อจัดจ้างโดยพลัน เร่งด่วน เป็นต้น ให้ประกาศพร้อมกับการจัดซื้อจัดจ้าง

  27. ระยะเวลาที่ประกาศ กรณีการจัดหาที่ไม่มีประกาศเชิญชวน (ต่อ) (4) หากไม่สามารถประกาศพร้อมกับการจัดซื้อจัดจ้าง เนื่องจากเหตุสุดวิสัย หรือเหตุจำเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้ ให้หน่วยงานของรัฐประกาศภายในสามสิบ (30) วันนับแต่วันที่มีการจัดซื้อจัดจ้าง ระยะเวลาปลดประกาศ เมื่อประกาศเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามสิบวัน (30) วัน แล้ว ก็สามารถปลดประกาศออกได้

  28. ระยะเวลาที่ประกาศ กรณีการแก้ไขสัญญา ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐมีการแก้ไขสัญญาและการแก้ไขสัญญานั้นมีผลกระทบต่อจำนวน ปริมาณ ชนิดของวัสดุ พัสดุ หรือเปลี่ยนแปลงชนิดของสินค้าหรือบริการหรือรูปแบบรายการจากที่เคยประกาศไว้ ให้หน่วยงานของรัฐเจ้าของโครงการต้องเผยแพร่รายละเอียดที่เกี่ยวกับสัญญาซึ่งได้มีการแก้ไขนั้นไว้ในระบบข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์อีกครั้งเป็นเวลาอย่างน้อย 30 วัน

  29. บทกำหนดโทษ หากหน่วยงานของรัฐไม่ปฏิบัติจะมีบทลงโทษดังต่อไปนี้ 1. เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้างอาจมีความผิดทางวินัย เช่นคณะกรรมการกำหนดราคากลาง เจ้าหน้าที่ผู้กำหนดราคากลาง หรือเจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างในครั้งดังกล่าว

  30. บทกำหนดโทษ (ต่อหน้าที่ 1) หากหน่วยงานของรัฐไม่ปฏิบัติจะมีบทลงโทษดังต่อไปนี้ 2. เป็นเหตุให้ถูกถอดถอนออกจากตำแหน่งหรือต้องพ้นจากตำแหน่ง หากเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งมีอำนาจหน้าที่พิจารณา อนุมัติ หรือดำเนินการเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างดังกล่าว เป็นผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูงหรือเป็นผู้ดำรงตำแหน่งซึ่งกฎหมายรัฐธรรมนูญ หรือ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2554 กำหนดให้สามารถถูกถอดถอนออกจากตำแหน่งได้ หากบุคคลดังกล่าวไม่จัดทำข้อมูลรายละเอียดราคากลางและการคำนวณราคากลางไว้ในระบบอิเล็กทรอนิกส์

  31. บทกำหนดโทษ (ต่อหน้าที่ 2) หากหน่วยงานของรัฐไม่ปฏิบัติจะมีบทลงโทษดังต่อไปนี้ 3. ความผิดทางอาญา แม้มาตรา 103/8 วรรคสอง มิได้กำหนดว่าการไม่จัดทำข้อมูลรายละเอียดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง ราคากลางและการคำนวณราคากลาง ไว้ในระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าวเป็นการกระทำความผิดทางอาญาก็ตาม แต่การไม่ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามกฎหมายบัญญัตินั้น อาจเป็นการกระทำความผิดอาญาฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงแล้วแต่กรณี

  32. สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม • 1. สำนักงาน ป.ป.ช. • ศูนย์กำกับดูแลการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ 02-5284800 ต่อ 4232 4234 • - สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดมหาสารคาม 043-777-412 • 2. กรมบัญชีกลาง • Call Center ของกรมบัญชีกลาง 02-1277386-89 ฝ่ายบริหารต่อ 5424 • กลุ่มระเบียบว่าด้วยการพัสดุ 02-1277000 ต่อ 4588 4589 4551 6125 • - ปัญหาการลงทะเบียนหน่วยงานของรัฐ 02-1277000 ต่อ 6777 • - ปัญหาการลงทะเบียนผู้ค้า 02-1277000 ต่อ 4547 • - ตอบข้อหารือเกี่ยวกับการจัดทำประกาศราคากลางใน E-GP 02-12770000 • ต่อ 6951 6959

  33. จบการบรรยาย ขอบคุณครับ

More Related