1k likes | 3.05k Views
ระบบกล้ามเนื้อ. วันที่ 21 กันยายน 2554 สำนักพัฒนาวิชาการและนิเทศงาน กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. กล้ามเนื้อ. เป็นเนื้อเยื่อที่หดตัวได้ในร่างกาย เป็นระบบหนึ่งที่สำคัญต่อการเคลื่อนไหวของร่างกาย. ประเภทของกล้ามเนื้อ. 1. กล้ามเนื้อลายหรือกล้ามเนื้อยึดกระดูก (skeleton muscle)
E N D
ระบบกล้ามเนื้อ วันที่ 21 กันยายน 2554 สำนักพัฒนาวิชาการและนิเทศงาน กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข
กล้ามเนื้อ • เป็นเนื้อเยื่อที่หดตัวได้ในร่างกาย • เป็นระบบหนึ่งที่สำคัญต่อการเคลื่อนไหวของร่างกาย
ประเภทของกล้ามเนื้อ • 1. กล้ามเนื้อลายหรือกล้ามเนื้อยึดกระดูก (skeleton muscle) • เช่น กล้ามเนื้อแขน กล้ามเนื้อขา จึงทำหน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของร่างกายโดยตรง เมื่อนำเซลล์กล้ามเนื้อเหล่านี้มาศึกษาด้วย กล้องจุลทรรศน์จะมองเห็นเป็นแถบลาย เซลล์กล้ามเนื้อนี้มีลักษณะเป็นทรงกระบอกยาว แต่ละเซลล์ มีหลายนิวเคลียส การทำงานของกล้ามเนื้อยึดกระดูกถูกควบคุมโดยระบบประสาทโซมาติก การทำงานของกล้ามเนื้อชนิดนี้ ร่างกายสามารถบังคับได้ซึ่งถือว่าอยู่ในอำนาจจิตใจ
2.กล้ามเนื้อหัวใจ (cardiac muscle) • เซลล์มีรูปร่างเป็นทรงกระบอก แต่สั้นกว่าเซลล์กล้ามเนื้อยึดกระดูกและเห็นเป็นลายเช่นเดียวกัน แต่ตอนปลายของเซลล์มีการแตกแขนง และเชื่อมโยงติดต่อกับเซลล์ข้างเคียง การทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจถูกควบคุมโดยระบบประสาทอัตโนมัติ ดังนั้นร่างกายไม่สามารถบังคับได้ จึงเป็นกล้ามเนื้อที่อยู่นอกอำนาจจิตใจ
3.กล้ามเนื้อเรียบ (smooth muscle) • กล้ามเนื้อเรียบเป็นกล้ามเนื้อที่พบอยู่ตามอวัยวะภายในเช่นผนังกระเพาะอาหาร ผนังลำไส้ ผนังหลอดเลือด และม่านตา เป็นต้น กล้ามเนื้อเหล่านี้ ประกอบด้วยเซลล์ที่มีลักษณะยาว หัวท้ายแหลม แต่ละเซลล์มี 1 นิวเคลียส ไม่มีลายพาดขวาง การทำงานของกล้ามเนื้อเรียบถูกควบคุมโดยระบบประสาทอัตโนมัติ
การควบคุมของระบบประสาทการควบคุมของระบบประสาท • ระบบประสาท:มีหน้าที่ในการออกคำสั่งการทำงานของกล้ามเนื้อ ควบคุมการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่ายกาย • โดยมีเส้นประสาทนำเข้าจะนำความรู้สึกจากอวัยวะต่างๆ เช่น ผิวหนัง ไปยังระบบประสาทส่วนกลาง • ในขณะที่เส้นประสาทนำออก จะนำสัญญาณกระตุ้นจากระบบประสาทกลางไปยังกล้ามเนื้อและต่อมต่างๆ
การทำงานของกล้ามเนื้อการทำงานของกล้ามเนื้อ • เมื่อสมองสั่งให้ร่างกายเคลื่อนไหว กล้ามเนื้อจะเกิดการหดตัวและคลายตัว ทำงานประสานเป็นคู่ ๆ พร้อมกัน แต่ตรงข้ามกัน ในขณะที่กล้ามเนื้อมัดหนึ่งหดตัว กล้ามเนื้ออีกมัดหนึ่งจะคลายตัว • มัดกล้ามเนื้อไบเซพ (Biceps) อยู่ด้านบน และไตรเซพ (Triceps) อยู่ด้านล่างของแขน • ไบเซพหรือ (Flexors) คลายตัว ไตรเสพ หรือ (Extensors) หดตัว »» แขนเหยียดออก • ไบเซพหรือ (Flexors) หดตัว ไตรเสพ หรือ (Extensors) คลายตัว »» แขนงอเข้า