1.26k likes | 1.62k Views
JP 612 Research Methodology ภาค 2 ปีการศึกษา 2549. อ.ดร.พัชราพร แก้วกฤษฎางค์ อ.สุภาพร ศรีสัตตรัตน์. http://arts.tu.ac.th/japan/files/Research%20Methodologyforupload.ppt 24/8/50. ความหมายและลักษณะโดยทั่วไปของการวิจัยทางสังคมศาสตร์.
E N D
JP 612Research Methodology ภาค 2 ปีการศึกษา 2549 อ.ดร.พัชราพร แก้วกฤษฎางค์ อ.สุภาพร ศรีสัตตรัตน์ http://arts.tu.ac.th/japan/files/Research%20Methodologyforupload.ppt 24/8/50
ความหมายและลักษณะโดยทั่วไปของการวิจัยทางสังคมศาสตร์ความหมายและลักษณะโดยทั่วไปของการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สังคมศาสตร์ เป็นศาสตร์ที่มุ่งศึกษาเรื่องของการดำรงชีวิตของมนุษย์ซึ่งเป็นชุมชน เป็นการศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ทั้งในแง่ส่วนบุคคลและแง่กลุ่มสังคม และศึกษาที่มาของพฤติกรรมนั้น ๆ ด้วย การศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ซึ่งเป็นสิ่งที่ซับซ้อนนั้นจำเป็นต้องอาศัยหลักทางวิชาการ และการศึกษาอย่างเป็นระบบ เพื่อจะสามารถเข้าใจพฤติกรรมของมนุษย์ได้ถูกต้องและชัดเจน
ประเภทของการวิจัย และ องค์ประกอบเบื้องต้นของการวิจัย
ประเภทของการทำวิจัย (1) • การทำวิจัยเบื้องต้น (Basic Research) คือ การมุ่งแสวงหาข้อเท็จจริงพื้นฐาน หาความรู้ความเข้าใจ หรือ เพื่อสร้างทฤษฎีที่เกี่ยวกับการเกิดขึ้นของปรากฏการณ์ที่ศึกษา ความรู้ที่ได้จะเป็นพื้นฐานของการวิจัยในขั้นต่อไป • การทำวิจัยประยุกต์ (Applied Research) คือ การวิจัยที่มีวัตถุประสงค์ที่จะนำผลการวิจัยไปใช้ในทางปฏิบัติจริง เช่น เพื่อนำไปแก้ปัญหา หรือ เพื่อประกอบการตัดสินใจ
ประเภทของการทำวิจัย (2) • การวิจัยทดลอง (Experimental Method)หมายถึง การวิจัยที่อาศัยการทดลองเป็นหลัก ซึ่งต้องมีการวางแผนการทดลองภายใต้การควบคุมดูแลอย่างรอบคอบและมีการเฝ้าสังเกตผลที่เกิดขึ้นอย่างมีระบบ • การวิจัยแบบไม่อาศัยการทดลอง (Nonexperimental Method) เป็นการวิจัยที่ใช้การเก็บรวบรวมข้อมูลกระทำตามสภาพความเป็นจริงที่เป็นอยู่ไม่มีการควบคุมหรือกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ทั้งสิ้น
ประเภทของการทำวิจัย (3) • การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantative Research)หมายถึง การวิจัยที่เน้นการใช้ข้อมูลที่เป็นตัวเลขเป็นสิ่งยืนยันความถูกต้องของทฤษฎี • การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) หมายถึง การวิจัยที่ไม่เน้นข้อมูลที่เป็นตัวเลขเป็นหลัก แต่เน้นการหารายละเอียดต่าง ๆที่จะก่อให้เกิดความเข้าใจที่ลึกซึ้ง
องค์ประกอบเบื้องต้นของการทำวิจัย • การกำหนดหัวข้อสำหรับการวิจัย • การทบทวนวรรณกรรม • การตั้งสมมติฐานในงานวิจัย • การออกแบบการวิจัย • การกำหนดกลุ่มเป้าหมาย • การสร้างเครื่องมือสำหรับการเก็บข้อมูล • การวิเคราะห์ข้อมูล • การตีความผลการวิเคราะห์ข้อมูล และรายงานผล
การกำหนดหัวข้อสำหรับการวิจัยการกำหนดหัวข้อสำหรับการวิจัย
ที่มาของหัวข้อปัญหาสำหรับงานวิจัย การกำหนดหัวข้อสำหรับการวิจัย • ผู้วิจัยมีความสนใจในหัวข้อนี้จากประสบการณ์ของตน • ได้จากการอ่านเอกสารงานวิจัยต่าง ๆ • แหล่งอุดหนุนทุนวิจัยเป็นผู้กำหนด ฯลฯ
หลักเกณฑ์ในการเลือกหัวข้อปัญหาหลักเกณฑ์ในการเลือกหัวข้อปัญหา • ความสำคัญของปัญหา • ความสนใจของผู้วิจัย • การเสริมสร้างความรู้ใหม่ • ความเป็นไปได้ในการดำเนินการวิจัยให้สำเร็จลุล่วง
วิธีช่วยกำหนดหัวข้อปัญหาให้ชัดเจนวิธีช่วยกำหนดหัวข้อปัญหาให้ชัดเจน • กำหนดเป็นแนวคิด (concept) • ตั้งเป็นคำถามหรือข้อความ (statement) • ตั้งวัตถุประสงค์ของงานวิจัย (research objective)
ข้อผิดพลาดในการเลือกหัวข้อปัญหาสำหรับการวิจัยข้อผิดพลาดในการเลือกหัวข้อปัญหาสำหรับการวิจัย • ขาดการรวบรวมข้อมูลก่อน • ข้อปัญหาและความมุ่งหมายของการวิจัยไม่ชัดเจน หัวข้อปัญหาใหญ่โตไม่จำกัดขอบเขต • ข้อปัญหาและความมุ่งหมายของการวิจัยไม่ชัดเจน หัวข้อปัญหาใหญ่โตไม่จำกัดขอบเขต • ข้อตกลงเบื้องต้นไม่ชัดเจนไม่น่าเชื่อถือ • ไม่คำนึงถึงทรัพยากร เช่น เวลา ทรัพย์ และกำลัง
การวิเคราะห์การเลือกหัวข้อปัญหาสำหรับการวิจัยการวิเคราะห์การเลือกหัวข้อปัญหาสำหรับการวิจัย • ผู้วิจัยมีความสนใจหัวข้อปัญหาและอยากหาคำตอบจริงหรือไม่ • ผู้วิจัยมีความรู้พื้นฐานในหัวข้อปัญหาดีพอหรือไม่ • หัวข้อปัญหามีเครื่องมือที่จะทำการวิจัยได้หรือไม่ • สมมติฐานชัดเจนและมีข้อมูลมาทดสอบได้หรือไม่ • หัวข้อปัญหามีความสำคัญ และเป็นประโยชน์หรือไม่ • หัวข้อปัญหาซ้ำซ้อนหรือไม่
การตั้งชื่อหัวข้อวิจัยการตั้งชื่อหัวข้อวิจัย การตั้งชื่อหัวข้อวิจัยควรประกอบด้วยมิติดังนี้ • สาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง • ลักษณะการเก็บวิเคราะห์ข้อมูล • ประชากรเป้าหมาย • ประเด็นสำคัญของการวิจัย การกำหนดประเด็นเป็นการชี้แนวทางในการทำการวิจัยซึ่งสัมพันธ์กับการทบทวนวรรณกรรม
ตัวอย่างหัวข้อวิจัย 「日本語の起源について」 「日本語起源論における南方説の系譜」 「日本語の平叙文における主語の有無-機能的分析」 「現代日本語における非標準的語順の機能 -談話機能観点から」
การทบทวนวรรณกรรม การทบทวนวรรณกรรม หมายถึง การค้นคว้า ศึกษา รวบรวมและประมวลผลงานทางวิชาการ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ทำวิจัย เพื่อศึกษาเนื้อหา รูปแบบและเครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ทำให้ทราบถึง • ระเบียบวิธีการวิจัย • ประเด็น แนวความคิด • ผลการวิเคราะห์ • ข้อสรุปข้อเสนอแนะจากผลงานวิจัย
ควรทบทวนวรรณกรรมเมื่อใดควรทบทวนวรรณกรรมเมื่อใด การทบทวนวรรณกรรมต้องทำก่อนลงมือทำการวิจัย ก่อนกำหนดประเด็นปัญหา หลังจากผู้วิจัยได้เลือกหัวข้ออย่างคร่าว ๆ แล้ว การทบทวนวรรณกรรมช่วยทำให้ผู้วิจัยสามารถกำหนดประเด็นปัญหาก่อนกำหนดหัวข้อวิจัย เนื่องจากมีงานวิจัยออกมาอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นจึงควรทำการทบทวนวรรณกรรมเพิ่มเติมไปในระหว่างที่ทำการวิจัย และหลังจากทำการวิจัยด้วย
ประโยชน์ของการทบทวนวรรณกรรมประโยชน์ของการทบทวนวรรณกรรม • ช่วยมิให้ทำวิจัยในเรื่องที่มีผู้ได้ทำการศึกษาวิจัยมาอย่างเพียงพอแล้ว • ช่วยให้กำหนดปัญหาและสมมติฐานในการวิจัยได้ถูกต้องเหมาะสม • ทราบถึงวิธีการศึกษาที่ทำมาในอดีตและช่วยให้ออกแบบงานวิจัย ได้เหมาะสม • ทำให้ทราบถึงปัญหาความยุ่งยากของการวิจัย • ทำให้ทราบว่าแหล่งความรู้อยู่ที่ไหนบ้าง • ช่วยเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างข้อค้นพบในอดีตและเชื่อมโยงทฤษฎีแนว ความคิดในอดีตกับข้อมูลปัจจุบัน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการสะสมความรู้
หลักการเลือกสำรวจเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องหลักการเลือกสำรวจเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ภาพรวมอย่างกว้าง ๆ หัวข้อเฉพาะ หัวข้อที่เกี่ยวข้องโดยตรง
สำรวจเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องสำรวจเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง - หนังสือทั่วไป - หนังสืออ้างอิง - หนังสือรายปี - วารสาร - หนังสืออ้างอิงอื่น ๆ - เวบไซต์ต่าง ๆ
ขั้นตอนการทบทวนวรรณกรรมขั้นตอนการทบทวนวรรณกรรม • กำหนดแผนการรวบรวมข้อมูล • อ่านพร้อมจดบันทึก - ทำบรรณนานุกรมหนังสือที่เราได้อ่านไปแล้วทั้งหมด - ทำการ์ดเดต้าเบสแล้วต้องจัดเก็บเอกสารที่ซีรอกซ์มาให้เป็นระบบเพื่อสะดวกในการค้นหา ต้องบันทึกข้อมูลเบื้องต้น คือ ชื่อผู้เขียน, ชื่อหนังสือ(ชื่อบทความ ชื่อวารสาร), ปีที่ตีพิมพ์, ครั้งที่ตีพิมพ์, ชื่อสำนักพิมพ์และสถานที่ตั้งเนื้อหา, เลขที่ฉบับและเลขหน้า เก็บไว้ทุกครั้ง
ตัวอย่างการ์ดข้อมูล หัวข้อเนื้อเรื่องมีบทความนี้อยู่ในมือหรือไม่ชื่อผู้แต่งปีชื่อบทความหรือหนังสือพิมพ์ที่ : ชื่อสำนักพิมพ์ชื่อวารสารฉบับที่หน้าที่Comment :
ประธาน โครงสร้างประโยค มี Kuno,S. 1973 The Structure of the Japanese Language. Cambridge, Mass.: MIT Press. Language Vol.1,No.1,pp. 30-40. Comment:สำคัญหนังสือเกี่ยวกับภาพรวมกว้างๆของโครงสร้างประโยคในภาษาญี่ปุ่นมีประโยคตัวอย่างมากน่าจะนำประโยคตัวอย่างมาใช้ได้แต่ทฤษฎีเก่าและการอธิบายไม่ชัดเจน
การเสนอผลการทบทวนวรรณกรรมการเสนอผลการทบทวนวรรณกรรม • ไม่ควรเสนอเป็นรายชื่อบุคคล หรือตามรายปี • ไม่ควรกล่าวว่าใครเป็นคนแรกที่ทำงานวิจัยเรื่องนี้ • ควรเรียบเรียงให้อยู่ในรูปของประเด็นศึกษา แนวคิดหรือสมมติฐานของงานวิจัย • ควรชี้ให้เห็นว่ามีผู้ใดเสนอแนวความคิดหรือข้อโต้แย้งอะไรบ้าง • ควรชี้ให้เห็นว่าผู้วิจัยค้นพบสิ่งใดที่ควรทำวิจัยเพิ่มเติม • ควรชี้ให้เห็นว่าแต่ละงานวิจัยได้นำระเบียบวิธีวิจัยอะไรมาใช้ และตัวผู้วิจัยจะใช้วิธีการใด เพราะเหตุใด
สิ่งที่ช่วยให้การทบทวนวรรณกรรมมีประสิทธิภาพและรวดเร็วขึ้นสิ่งที่ช่วยให้การทบทวนวรรณกรรมมีประสิทธิภาพและรวดเร็วขึ้น 1. เพื่อนวิจัย การสร้างกลุ่มเพื่อนวิจัยเพื่อการแลกเปลี่ยนความรู้ ข้อมูลหนังสือบทความต่างๆ 2. การเข้าร่วมการสัมมนาทางวิชาการต่าง ๆ การเข้าร่วมการสัมมนาวิชาการต่าง ๆ บ่อย ๆ จะทำให้ผู้วิจัยได้รับความรู้ที่กว้างขวางและทันสมัยมากขึ้น
ประโยชน์ของการมีอ้างอิงประโยชน์ของการมีอ้างอิง • เพื่อเป็นการยอมรับงานของผู้เขียนคนอื่น เป็นการอ้างอิงโดยไม่ได้เป็นการขโมยความคิดของผู้อื่น • เพื่อแสดงให้เห็นถึงองค์ความรู้ที่ผู้อ้างอิงได้ใช้เป็นพื้นฐานในงานของตน • เพื่อทำให้ผู้วิจัยคนอื่นๆ สามารถหาร่องรอยกลับไปยังแหล่งอ้างอิงและทำให้เขาได้สารนิเทศเพิ่มเติม • ระบบการอ้างอิงที่มีมาตรฐานทำให้การกลับไปหาแหล่งความรู้เป็นเรื่องง่ายขึ้น สะดวกและมีประสิทธิภาพขึ้น
ทฤษฎี / สมมติฐานในการวิจัย ทฤษฎี หมายถึง คำอธิบายปรากฏการณ์ตามเหตุผลที่ผ่านการทดสอบแล้ว ในการวิจัยจะมีการใช้กรอบทฤษฎีหรือกรอบแนวคิดกำกับกระบวนการวิจัย สมมติฐาน หมายถึง ข้อความที่ระบุถึงความสัมพันธ์ระหว่างแนวคิดที่ผู้วิจัยมุ่งจะนำไปทดสอบว่าเป็นจริงเช่นนั้นหรือไม่
ความสำคัญของทฤษฎี ในเรื่องเดียวกันอาจมีทฤษฎีมากกว่าหนึ่ง การเลือกทฤษฎีที่เหมาะสมเป็นสิ่งที่สำคัญมากเพราะจะมีผลต่อการเลือกวิธีดำเนินการวิจัย การเลือกตัวแปร ฯลฯ เพราะจะมีผลต่อการเลือกวิธีดำเนินการวิจัย การเลือกตัวแปร ฯลฯ
การตั้งสมมติฐานในการวิจัย(1)การตั้งสมมติฐานในการวิจัย(1) • สมมติฐานในการวิจัยมี 2 ประเภท • 1. สมมติฐานการวิจัย เป็นข้อความที่บอกว่าหรือคาดคะเนว่าตัวแปรที่จะศึกษานั้นมีความสัมพันธ์กันอย่างไร • ตัวอย่าง เพศมีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเลือกสาขาในการเรียน • 1.1 สัมพันธ์กันอย่างไม่มีทิศทาง • 1.2 สัมพันธ์กันอย่างมีทิศทาง • 2.สมมติฐานทางสถิติ เป็นสัญลักษณ์และความหมายทางสถิติ เพื่อพร้อมที่จะนำไปพิสูจน์ทางสถิติ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
การตั้งสมมติฐานในการวิจัย(2)การตั้งสมมติฐานในการวิจัย(2) • 2.1 สมมติฐานว่าง (Null Hypothesis) เป็นสมมติฐานที่บอกว่าตัวแปรที่จะศึกษานั้นไม่มีความแตกต่างกัน หรือไม่มีความสัมพันธ์กับสัญลักษณ์ของสมมติฐานว่าง คือ H0 • 2.2 สมมติฐานทางเลือก(AlternativeHypothesis) เป็นสมมติฐานที่บอกว่าตัวแปรที่กำลังจะศึกษานั้น มีความสัมพันธ์กันอย่างไร สัญลักษณ์ของสมมติฐานทางเลือกคือ H1 ตัวอย่าง H0 : µ1 = µ2 H1 : µ1≠ µ2
การทดสอบสมมติฐาน • วัตถุประสงค์ของการทดสอบ • การเริ่มการทดสอบจากการพยายามพิสูจน์ว่าตัวแปรไม่มีความสัมพันธ์กัน ถ้ายังคงพบว่าตัวแปรมีความสัมพันธ์ ย่อมให้ผลที่น่าเชื่อถือได้มากกว่าการทดสอบที่พยายามว่าตัวแปรไม่มีความสัมพันธ์กัน • การใช้สถิติทดสอบที่ถูกต้อง • ในการทดสอบสมมติฐานซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการวิจัยเชิงปริมาณที่มุ่งหาคำอธิบาย จำเป็นจะต้องใช้เทคนิคการวิเคราะห์ทางสถิติให้ถูกต้อง ทั้งนี้เพราะสถิติวิเคราะห์แต่ละวิธีสร้างขึ้นมาอย่างมีเป้าหมายโดยเฉพาะและเหมาะสมกับระดับการวัดตัวแปรบางระดับเท่านั้น
การออกแบบการวิจัย (Research design) หมายถึง การกำหนดกิจกรรมและรายละเอียดต่าง ๆ ที่จะต้องทำ และวิธีการ แนวทางต่าง ๆ ที่จะใช้เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลจากประชากรเป้าหมาย เพื่อสามารถตอบปัญหาของการวิจัยตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ได้อย่างถูกต้อง (Validly)และแม่นยำ(Accurately) เป็นไปตามความเป็นจริงหรืออย่างมีวัตถุวิสัย (Objectively)
การออกแบบการวิจัย ควรออกแบบการวิจัยให้ • ค่าตัวแปรผันแปรมากที่สุด • ลดอิทธิพลของตัวแปรอื่นที่นอกขอบเขตการวิจัย • ขจัดข้อบกพร่องของการวัด
การกำหนดแนวคิดและการกำหนดตัวแปร การกำหนดแนวคิดและการกำหนดตัวแปร แนวคิดและทฤษฎีต่าง ๆ จะช่วยให้ทราบว่ามีข้อมูลใดบ้างที่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่ผู้วิจัยศึกษา และข้อมูลเหล่านั้นมีความสัมพันธ์ไปในทิศทางใด ซึ่งจะทำให้ผู้วิจัยสามารถ กำหนดเป้าหมายและขอบเขตการหาข้อเท็จจริงเพื่อตอบปัญหาได้ชัดเจน และช่วยให้ผู้วิจัยกำหนดตัวแปรเลือกวิธีวิจัยและกำหนดหน่วยวิเคราะห์หรือกลุ่มประชากรเป้าได้อย่างถูกต้อง
การกำหนดตัวแปร ตัวแปร (variable) คือ แนวความคิด หรือข้อคิดเห็นซึ่งหลากหลายในด้านประเภทและจำนวน สำหรับงานวิจัยตัวแปรต้องเป็นสิ่งที่วัดได้ การแปลงแนวคิดเป็นตัวแปรที่วัดค่าได้ในทางปฏิบัติ เช่น เวลาในการเรียนมีความสัมพันธ์กับสัมฤทธิ์ผลด้านการเรียน ∴ ตัวแปรเรื่องเวลาในการเรียนวัดเป็นจำนวนชั่วโมง ส่วนตัวแปรเรื่องสัมฤทธิ์ผลด้านการเรียนวัดด้วยคะแนนสอบ
ความยากง่ายของตัวแปร ตัวแปรในการวิจัยมีความยากง่ายไม่เท่ากัน เช่น ตัวแปรเพศ ตัวแปรน้ำหนัก เป็นตัวแปรที่เห็นได้ง่ายและชัดเจน มากกว่าตัวแปรที่เป็นนามธรรม เช่น ความพอใจในอาชีพปัจจุบัน ความคิดเห็นต่อระบบการปกครองในปัจจุบัน ความสามัคคีของคนในชุมชม ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่มองไม่เห็น ไม่มีมาตรวัดที่ชัดเจน ผู้วิจัยต้องออกแบบการวิจัยเพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งเหล่านี้
ประเภทของตัวแปร 1. ตัวแปรเชิงคุณภาพ เป็นตัวแปรที่ได้จากการแยกประเภท เช่น เพศ อาชีพ 2. ตัวแปรเชิงปริมาณ เป็นตัวแปรที่ได้จากการวัด มีลักษณะที่ระบุเป็นตัวเลขได้ เช่น น้ำหนัก ส่วนสูง รายได้ต่อปี
การนิยามตัวแปร เมื่อศึกษาจนเข้าใจเนื้อหาแนวคิดของหัวข้อ และตัวแปรต่าง ๆ แล้ว ต้องแปลงคำจำกัดความหรือนิยามทางทฤษฎีให้เป็นนิยามเชิงปฏิบัติการ ซึ่งเป็นข้อความเชิงประจักษ์เพื่อให้สามารถทำการทดสอบเชิงสถิติได้ โดยนำแนวคิดมาพิจารณาว่ามีตัวชี้ใดบ้างที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดและตัวแปรนั้น ๆ แล้วนำตัวชี้เหล่านั้นมาตั้งเป็นคำถามในแบบสอบถาม
คำนิยามเชิงทฤษฎี หมายถึง การกำหนดความหมายโดยทั่วไปของแนวคิดหรือตัวแปรในการวิจัย เป็นคำจำกัดความที่มุ่งอธิบาย แนวคิด ที่เกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์ในระดับทฤษฎีซึ่งมีความเป็นนามธรรม ผู้วิจัยต้องเขียนคำจำกัดความให้สามารถบอกเนื้อหาโดยใช้คำอธิบายที่ทำให้เกิดความกระจ่างชัด คำจำกัดความประเภทนี้จะไม่อยู่ในลักษณะจำนวน หรือมวลที่คลุมเครือ เช่น ความขัดแย้ง คือ ความไม่เห็นด้วยอย่างรุนแรง (เพราะความรุนแรงสำหรับแต่ละคนไม่เท่ากัน)
คำนิยามเชิงปฏิบัติการคำนิยามเชิงปฏิบัติการ หมายถึง การกำหนดตัวชี้หรือรายละเอียดที่สามารถสังเกตได้หรือสัมภาษณ์ได้ภายในขอบข่ายของความหมายของคำนิยามทั่วไป เป็นการลดระดับความเป็นนามธรรมสู่ข้อความเชิงประจักษ์ โดยการนำแนวคิดมาพิจารณาว่ามีตัวชี้ใดบ้างที่บอกหรือแสดงแนวคิดนั้น และตัวชี้เหล่านี้คือ ตัวแปรที่ผู้วิจัยต้องนำมาให้คำนิยามเชิงปฏิบัติการ ซึ่งนำไปสู่การวัดตัวแปร
ตัวอย่างการแปลงนิยามเชิงทฤษฎีให้เป็นนิยามเชิงปฏิบัติการ ตัวอย่างการแปลงนิยามเชิงทฤษฎีให้เป็นนิยามเชิงปฏิบัติการ ตัวแปร “น้ำใจ” ความหมายทั่วไป “การกระทำซึ่งแสดงถึงการชอบให้และชอบช่วยเหลือผู้อื่น” นิยามเชิงปฏิบัติการ • ใครขอความช่วยเหลืออะไรก็ไม่เคยปฏิเสธ • ใครเดือดร้อนก็จะยื่นมือไปช่วยเหลือ • ใฝ่ถามทุกข์สุขของเพื่อนฝูงอยู่เป็นนิจ ฯลฯ
ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร 1. เหตุผล คือ การระบุว่าตัวแปรใดมีความสัมพันธ์กับตัวแปรใดบ้าง เพราะเหตุใด 2. รูปแบบของความสัมพันธ์ 2.1 ความสัมพันธ์ทางเดียว(ความสัมพันธ์แบบอสมมาตร) 2.2 ความสัมพันธ์แบบตอบโต้(ความสัมพันธ์แบบสมมาตร) 3. ทิศทางของความสัมพันธ์ 3.1 เชิงลบ 3.2 เชิงบวก
ความสัมพันธ์แบบอสมมาตรกับ ความสัมพันธ์แบบสมมาตร ความสัมพันธ์แบบอสมมาตร หมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรสองตัวที่มีทิศทางเดียวกัน X Y ความสัมพันธ์แบบสมมาตร หมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรสองตัวที่มีผลต่อกันแต่ไม่มีตัวใดเป็นตัวแปรอิสระตลอดไป X Y
ความสัมพันธ์เชิงเส้นกับความสัมพันธ์เชิงเส้นโค้งความสัมพันธ์เชิงเส้นกับความสัมพันธ์เชิงเส้นโค้ง ความสัมพันธ์เชิงเส้น หมายถึง สาระของความสัมพันธ์(รูปแบบของการเปลี่ยนค่าของตัวแปร)มีลักษณะเป็นเส้นตรง ความสัมพันธ์เชิงเส้นโค้ง หมายถึง ค่าของตัวแปรหนึ่งเปลี่ยนแปลงไป ค่าของอีกตัวแปรหนึ่งก็จะเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย แต่ไม่ตลอดในบางช่วงค่าของตัวแปร
ทิศทางของความสัมพันธ์เชิงบวกกับเชิงลบทิศทางของความสัมพันธ์เชิงบวกกับเชิงลบ ทิศทางของความสัมพันธ์เชิงบวก หมายถึง เมื่อตัวแปรตัวหนึ่งมีค่าสูงขึ้นตัวแปรอีกตัวหนึ่งจะมีค่าสูงขึ้น หรือ เมื่อตัวแปรตัวหนึ่งมีค่าต่ำลง ตัวแปรอีกตัวหนึ่งก็จะมีค่าต่ำลงด้วย ทิศทางของความสัมพันธ์เชิงลบ หมายถึง เมื่อตัวแปรตัวหนึ่งมีค่าสูงขึ้นตัวแปรอีกตัวหนึ่งจะมีค่าต่ำลง หรือในทางกลับกัน
การควบคุมมิให้ตัวแปรอื่นมีผลต่อข้อสรุปการควบคุมมิให้ตัวแปรอื่นมีผลต่อข้อสรุป 1. การคัดเลือกประชากรที่มีคุณสมบัติเหมือนกันทุกด้านที่ผู้วิจัยต้องการ ควบคุมอิทธิพล 2. การสุ่มตัวอย่างแบบกระจาย 3. การจับคู่วิเคราะห์ 4. การควบคุมทางสถิติ