950 likes | 3.04k Views
แพลงก์ตอนสัตว์ (Zooplankton). ขวัญเรือน ศรีนุ้ย สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา. การศึกษาแพลงก์ตอนในประเทศไทย. เริ่มมีการศึกษาแพลงก์ตอนในอ่าวไทยปี ค.ศ. 1899 โดย Johannes Schmidt ได้รายงานไว้ใน “ The Flora of Koh Chang”
E N D
แพลงก์ตอนสัตว์(Zooplankton) ขวัญเรือน ศรีนุ้ย สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา
การศึกษาแพลงก์ตอนในประเทศไทยการศึกษาแพลงก์ตอนในประเทศไทย • เริ่มมีการศึกษาแพลงก์ตอนในอ่าวไทยปี ค.ศ. 1899 โดย Johannes Schmidt • ได้รายงานไว้ใน “The Flora of Koh Chang” • ในปี 1928-30 ได้มีการสำรวจรอบโลก “The Oceanographical Expedition of the Carberg round the world 1928-30” • 23 เมษายน 1929 ได้สำรวจบริเวณเกาะสีชังและเกาะช้าง และรายงานผลสำรวจใน DANA Report
ในปี ค.ศ.1959-61 มีการสำรวจโครงการพยานาค (NAGA) • สำรวจในอ่าวไทยทางด้าน ชีววิทยา เคมี และฟิสิกส์ และตีพิมพ์ผลงานใน NAGA Report • ศึกษาอนุกรมวิธานของ Siphonophora, Medusae, Euphausids, Copepoda, Decapods, Mollusca, และ Tunicate • Sudara, 1973a และ 1973b
แบ่งตามลักษณะการดำรงชีวิตแบ่งตามลักษณะการดำรงชีวิต แพลงก์ตอนสัตว์คืออะไร แพลงก์ตอนสัตว์ หมายถึง สัตว์ที่ล่องลอยไปตามกระแสน้ำ ไม่สามารถสังเคราะห์แสงได้ต้องกินแพลงก์ตอนพืชและสารแขวนลอยอื่นเป็นอาหาร โดยการกรองด้วยเหงือก หรืออวัยวะ สำหรับการกรองประกอบด้วยสัตว์ที่มีเซลล์ขนาดเล็ก จนถึงสัตว์หลายเซลล์ที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง พบทั้งที่เป็นแพลงก์ตอนชั่วคราวและแพลงก์ตอนถาวร (สุนีย์, 2527) • แพลงก์ตอนถาวร(Holoplankton) • แพลงก์ตอนชั่วคราว(Meroplankton)
การแบ่งแพลงก์ตอนตามการแพร่กระจายตามความลึกการแบ่งแพลงก์ตอนตามการแพร่กระจายตามความลึก • พลูสตอน หมายถึงสัตว์ที่อาศัยอยู่ผิวหน้าน้ำ • นูสตอน หมายถึงสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ผิวหน้าน้ำไม่เกิน 10 มิลลิเมตร • เอพิเพลาจิค หมายถึงสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่บริเวณน้ำตื้นไม่เกิน 300 ม. • เมโซเพลาจิค หมายถึงสัตว์ที่อาศัยอยู่ที่ความลึกระหว่าง 300-1000 ม. • แบทีเพลาจิค หมายถึงสัตว์ที่อาศัยอยู่ที่ความลึกระหว่าง 1,000-4,000 ม. • อะบิสโซเพลาจิค หมายถึงสัตว์ที่อาศัยอยู่ในเขตน้ำลึก 3,000-4,000 ม. • เอพิเบนทิค หมายถึงแพลงก์ตอนที่อาศัยอยู่ตามพื้นท้องทะเล
การแบ่งกลุ่มแพลงก์ตอนโดยการจำแนกตามขนาด(Dussart,1965)การแบ่งกลุ่มแพลงก์ตอนโดยการจำแนกตามขนาด(Dussart,1965)
จัดอยู่ในลำดับฑุติยภูมิของห่วงโซ่อาหารจัดอยู่ในลำดับฑุติยภูมิของห่วงโซ่อาหาร • เป็นอาหารของสัตว์น้ำและมนุษย์ • เป็นตัวชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งทำการประมงและเป็นตัวบ่งชี้คุณภาพน้ำ • เป็นตัวกลางในการถ่ายทอดสารมลพิษไปตามสายใยอาหาร • เป็นข้อมูลพื้นฐานในการศึกษาทางด้านนิเวศวิทยา ความสำคัญของแพลงก์ตอนในระบบนิเวศของแหล่งน้ำ
ห่วงโซ่อาหาร (food chain)
Phylum Ectoprocta Phylum Cnidaria Phylum Ctenophora Phylum Nemertinea Phylum Nematoda Phylum Rotifera Phylum Annelida Phylum Sipunculida Phylum Arthropoda Phylum Chaetognatha Phylum Tentaculata Phylum Mollusca Phylum Echinodermata Phylum Chordata สรุปไฟลัมของแพลงก์ตอนสัตว์ที่พบเสมอ 14 ไฟลัมได้แก่
1.Phylum Ectoprocta • ตัวอ่อนของ ectoproct หรือ bryozoan • จะดำรงชีวิตแบบแพลงก์ตอนชั่วคราว • ตัวอ่อนว่ายน้ำอิสระ เรียกว่า cyphonautes larva
2. ไฟลัมโปรโตซัว (Phylum Protozoa) 2.1 ฟอแรมมินิเฟอราน (foraminiteran) จัดอยู่ในคลาส ซาโคดินา (Class Sarcodina) ส่วนใหญ่เป็นสัตว์หน้าดินพบชุกชุมทั้งหมด 28 ชนิด โดยพบในเขตร้อนและกึ่งเขต ร้อนถึง 22 ชนิด ที่เหลือพบในเขตหนาวและแถบขั้วโลก ชีวิตส่วนใหญ่ในช่วงแรกอยู่ในเขตที่มีแสงส่องถึง (euphotic zone) และเมื่อมันโต เต็มที่จะอาศัยอยู่ลึกลงไปแต่ส่วนใหญ่พบอยู่เหนือระดับ 200 เมตร พวกนี้มีเปลือกหุ้มเซลล์ที่มีขนาดและสีที่แตกต่างกันส่วนใหญ่มีขนาดเส้นผ่าน ศูนย์กลางหรือมีความยาวน้อยกว่า 1 มิลลิเมตร แต่ก็มีบางชนิดที่มีขนาดหลาย มิลลิเมตร
มีขาเทียมแบบไรโซโปเดีย (rhizopodia) ใช้จับอาหารซึ่งเป็นพวกโปรโตซัวอื่นๆ และครัสเตเชียนขนาดเล็กๆ ส่วนพวกที่อยู่ตามพื้นท้องทะเลกินสาหร่ายและไดอะตอมเป็นอาหาร บางชนิดมีสาหร่ายซูแซนเทลลี (Zooxanthellae ) อาศัยร่วมอยู่ เจริญเติบโตโดยการสร้างช่องอื่นๆ ต่อไปช่องแต่ละช่องจะมีผนังกั้นและมีรูหนึ่งรูหรือหลายรูเชื่อมต่อกันทำให้มีโปรโตพลาสซั่มเชื่อมตลอดทุกช่อง โดยมีช่องสุดท้ายเป็นช่องเปิดขนาดใหญ่ เปลือกเป็นสารประกอบพวกแคลเซียมคาร์บอเนตมีลักษณะเป็นรูพรุนและแบ่งออกเป็นช่องๆ (chamber) ซึ่งช่องเล็กสุดเรียกว่าโพรโรคูลั่ม (proloculum) 2.2Globigerinaเปลือกพบหนาแน่นตามพื้นท้องทะเลครอบ คลุมพื้นที่หลายตารางไมล์ พวกนี้เปลือกเป็นสารประกอบพวกแคลเซียมคาร์บอเนต เมื่อสะสมที่พื้นท้องทะเลนานๆ เรียกว่า โกลบิเจอรินาอูส (Giobigerina Ooze) ตะกอนดินเหล่านี้ต่อไปจะเปลี่ยนแปลงไปเป็นหินปูนหรือชอล์ก
2.3 ทินทินนิด (tintinnid) จัดอยู่ในคลาสซิลิเอต้า (Class Ciliata) อันดับสไปโรตริชา (Order Spirotricha) ทินทินนิดมีเปลือก (lorica) ซึ่งเป็นสารประกอบพวกไคตินและเปลือกมีรูปร่างแตกต่างกัน เปลือกมีรูปร่างคล้ายแจกันหรือโถแก้วบางชนิดมีทรายอินทรีย์สารหรือคอคโคลิทติดอยู่ที่ผิวของเปลือกตัวของมันหดอยู่ภายในเปลือก โดยมีกล้ามเนื้อเป็นตัวดึงให้ยืดหรือหดได้ บริเวณปากมีขนเรียงกันเป็นแผงประมาณ 16-22 เส้น ช่วยในการกินอาหารพวกนี้พบตามชายฝั่งทะเลโดย เฉพาะบริเวณปากแม่น้ำ
3. ไฟลัมไนดาเรีย (Phylum Cnidarian) 3.1 ไซโฟโนฟอร์ (siphonophores) • พวกนี้อยู่กันเป็นโคโลนี จัดเป็นแพลงก์ตอนถาวร • เป็นแพลงก์ตอนสัตว์ขนาดใหญ่ • จัดอยู่ในคลาส ไฮโดรซัว (Class Hydrozoa) • โดยแต่ละตัวจะมีรูปร่างและหน้าที่ที่แตกต่างกัน เช่น กินอาหาร ป้องกันตัวและลอยตัว เป็นต้น พวกนี้มีเข็มพิษ (nematocyst) ใช้จับอาหารและป้องกันตัวบางชนิดพิษของมันรุนแรงมากทำให้มนุษย์ถึงตายได้ถ้าถูกบริเวณหนวด (tentacles) ของมันเช่น Physalia(Protuguese man – of- war) ตัวอย่างอื่นๆ ในกลุ่มนี้ได้แก่ Velella และ Porpila เป็นต้น
3.2 ไซโฟโซน (scyphozoans) จัดอยู่ในคลาสไซโฟซัว (Class Scyphozoa) เป็นแมงกะพรุนที่แท้จริงพบ แพร่กระจายอยู่ทั่วไปมีรูปร่างเหมือนร่มหรือระฆังที่ประกอบไปด้วยวุ้นเป็นส่วนใหญ่ กระเพาะอาหารมักแยกออกเป็น 4 แฉก บริเวณขอบร่มไม่มีวีลั่ม (velum) พวกนี้มีเข็มพิษช่วยในการจับเหยื่อและป้องกันตัว เช่น Rhizostoma
4. ไฟลัมทีโนฟอรา (Phylum Ctenophora) • สมาชิกในกลุ่มนี้มีประมาณ 90 ชนิด • ลำตัวเป็นวุ้นและมีสมมาตรแบบรัศมี จึงทำให้มีลักษณะคล้ายเมดูซามากแต่ไม่มีเข็มพิษ หวีวุ้นมีแถวของซี่หวี (comb rows) อยู่ 8 แถวที่สะท้อนแสงได้ช่วยในการเคลื่อนที่ • โดยมีระบบประสาทเป็นตัวควบคุมอัตราความเร็วและทิศทางของการเคลื่อนที่ มีหนวด 2 เส้น ที่ยาวมากใช้เป็นตัวจับเหยื่อและป้องกันตัว พวกนี้มีรูปร่างแตกต่างกันส่วนใหญ่เป็นทรงกลมมีขนาดตั้งแต่ 2–3 มิลลิเมตร จนถึง 1–2 เซนติเมตร บางชนิดมีรูปร่างแบนยาวอาจยาวถึง 1–2 เมตร • กินเนื้อเป็นอาหาร (carnivores) อาหารส่วนใหญ่เป็นพวกแพลงก์ตอนสัตว์ และถูกกินโดยปลาวัยอ่อน
5. ไฟลัมนีเมอเทีย (Phylum Nemertea) • ส่วนใหญ่อาศัยอยู่หน้าดินและมีตัวอ่อนเป็นแพลงก์ตอนชั่วคราวเกือบทั้งหมด • ลำตัวจะสั้นแบนและทางส่วนท้ายของลำตัวจะขยายออกเป็นครีบและมีครีบหางทำหน้าที่ในการว่ายน้ำ
6. ไฟลัมโรติเฟอรา (Phylum Rofifera) • ส่วนใหญ่พบในน้ำจืด 80 % หรือบริเวณปากแม่น้ำที่มีความเค็มต่ำพบน้อยชนิดที่อาศัยอยู่ในน้ำทะเล • ลำตัวแบ่งออกเป็นส่วนหัว ลำตัวและเท้า ซึ่งอาจมีเปลือก (lorica) หุ้มหรือไม่ก็ได้ • บริเวณส่วนหัวมีซีเลียอยู่เป็นวง (corona) ทำหน้าที่พัดโบกและกรองอาหารเข้าสู่ปากตัวอย่างเช่น Brachionusที่ใช้เป็นอาหารเลี้ยงลูกสัตว์น้ำ
6. ไฟลัมแอนนีลิดา (Phylum Annelida) • จัดอยู่ในคลาสโพลีคีตา (Class Polychaeta) หรือไส้เดือนทะเล • ส่วนใหญ่ที่พบเป็นแพลงก์ตอนชั่วคราวในช่วงที่เป็นตัวอ่อนหรือในขณะผสมพันธุ์
8. ไฟลัมมอลลัสกา (Phylum Mollusca) 8.1 เทอร์โรปอด (pteropods) จัดอยู่ในซับออเดอร์โอพิลโทแบรนเชีย (Suborder Opisthobranchia) • อาศัยอยู่บริเวณผิวหน้าน้ำทะเลบางครั้งพบรวมกันเป็นกลุ่ม ส่วนของเท้า (foot) จะขยายแผ่ออกเป็นแผ่นหรือครีบขนาดใหญ่ 2 อัน ทำหน้าที่ในการเคลื่อนที่และลอยตัวไม่มีเหงือกและเป็นกระเทย เช่น Spiratella, Limaca และ Clioneซึ่งเป็นอาหารที่สำคัญของปลาวาฬ • เทอร์โรปอดมี 2 ชนิดคือ พวกที่ไม่มีเปลือกกินอาหารโดยการล่าเหยื่อ (predator) กับพวกที่มีเปลือก (shell pteropods) พวกนี้มีเปลือกบางขดเป็นวงเปราะแตกหักง่ายและกินพืชเป็นอาหาร
8.2 เฮดเทอร์โรปอด (heterropods) • จัดอยู่ในซับออเดอร์สเตพโตนิวรา (Suborder Streptoneura) พบมากในเขตร้อนและกึ่งเขตร้อน • พบในอ่าวไทยที่มีความลึกประมาณ 40 เมตร • ลำตัวโปร่งใสส่วนของเปลือกลดขนาดลง ส่วนหัวและเท้ามีขนาดใหญ่เมื่อเทียบกับลำตัว • ส่วนของเท้าพัฒนาไปเป็นครีบช่วยในการลอยตัวเช่นเดียวกับเทอร์โรปอด แต่มี 1–3 อัน มีหนวด 1 คู่ และตาขนาดใหญ่ 1 คู่ บางชนิดมีปุ่มดูดและฝาปิดเปลือก (operculum) ตัวที่รู้จักกันดี ได้แก่ Atlanta, Carinaria และ Pterotrachaea
ตัวอ่อนหอยฝาเดียวและหอยสองฝาตัวอ่อนหอยฝาเดียวและหอยสองฝา ในหอยฝาเดียวโบราณมีตัวอ่อนในระยะนี้แต่หอยฝาเดียวส่วนใหญ่วางไข่ในแคปซูล เมื่อฟักออกจากไข่จะเป็นตัวอ่อนระยะวิลิเจอร์ (veliger larvae) มีเปลือก มีวีลัม (velum) ที่คล้ายปีกขนาดใหญ่ 1 คู่ มีซีเรียล้อมรอบช่วยในการว่ายน้ำและกรองอาหารเข้าสู่ปาก หอยสองฝาและหอยงาช้างมีตัวอ่อนในระยะนี้เช่นกัน
Phylum Brachiopoda • ตัวอ่อนของหอยตะเกียงจัดเป็นแพลงก์ตอนชั่วคราว • สกุลที่พบบ่อย Lingula • ลำตัวของLingula larva จะเป็นรูปครึ่งวงกลมหรือรูปไข่ ตัวอ่อนมีสีเหลืองยาวประมาณ 0.3-1.5 มม.
9. ไฟลัมอาร์โทรโปดา (Phylum Arthropoda) • พบมากกว่า 4,500 ชนิด และอาศัยอยู่ในทะเลมากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ • Order copepoda โคพีพอดทั้งหมด 11,500 species 200 families 1,650genera (Humes 1994) รวมทั้งที่เป็นพาราสิต (parasites) • โคพีพอดเป็นแพลงก์ตอนสัตว์ที่พบมากทั้งจำนวนชนิดและปริมาณและเป็นกลุ่มที่มีความสำคัญมากที่สุดของแพลงก์ตอนสัตว์ในทะเล • พวกนี้มีขนาดเล็กยาวประมาณ 0.2 มิลลิเมตร ถึง 2 เซนติเมตร • โคพีพอดมีปล้องทั้งหมด 15 ปล้อง โดยแบ่งออกเป็นส่วนหัว 5 ปล้องซึ่งมีหนวด (antennae) เขี้ยว (mandible) และแมคซิลี (maxillae) ส่วนอกมี 6 ปล้อง ได้แก่แมคซิลิเปด (maxilliped) และขาว่ายน้ำ 5 คู่ ส่วนท้องมี 3 ปล้อง และส่วนหาง 1 ปล้อง โดยที่ปลายแยกเป็นสองแฉก (caudal rami)
Calanoida Harpacticoida Poecilostomatoida Cyclopoida
9.2 ไมซิด (mysid หรือ opossum shrimps) • จัดอยู่ในอันดับไมซิดาเซีย (Order Mysidacea) • พบมากตามปากแม่น้ำและชายฝั่งทะเลและมักอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ๆ มีรูปร่างคล้ายกุ้งลำตัวขาวโปร่งใสส่วนของเปลือกบางและหุ้มส่วนนอกเกือบทั้งหมดแต่ไม่เชื่อมติดกับปล้องอก • ตามีก้านและเป็นตาประกอบ (compound eyes) • รยางค์อกเป็นแบบไบรามัส (biramous) มี 8 คู่ • ส่วนท้องมีรยางค์ 6 คู่ โดย 5 คู่แรกเป็นขาว่ายน้ำ (swimmeret) ที่มีขนาดเล็ก • รยางค์คู่ที่ 6 เปลี่ยนรูปไปเป็นส่วนที่เรียกว่า แพนหาง (uropod)
ไมซิดจะมีสตาโตซิสท์ (statocyst) เป็นอวัยวะอยู่ที่แพนหางและไม่มีเฟอร์คอลเรไม (furcal rami) แต่จะมีหนามตรงปลายแทนซึ่งเป็นข้อแตกต่างระหว่างไมซิดกับครัสเตเชียนชนิดอื่นที่มีลักษณะคล้ายกุ้ง • ส่วนของแพนหางและหาง (telson) จะรวมกันเป็นส่วนของหาง (tail fan) ช่วยในการว่ายน้ำ • ไมซิดตัวเมียจะมีอูสทีไจท์ (oostegites) อยู่ที่ส่วนอกเป็นที่เก็บไข่ ไข่อาจถูกเก็บไว้ในที่เก็บไข่จนมีรูปร่างคล้ายตัวโตเต็มวัยจากนั้นจะถูกปล่อยลงในน้ำหรือไข่อาจถูกปล่อยลงในน้ำแล้วจึงฟักเป็นตัวอ่อนระยะนอเพลียส (nauplius) ก็ได้ ส่วนไมซิดตัวผู้ไม่มีอูสทีไจท์แต่ขาว่ายน้ำคู่ที่ 4 จะมีขนาดใหญ่กว่าคู่อื่นๆ • ไมซิดกินแพลงก์ตอนขนาดเล็กเป็นอาหารและมันจะถูกปลากินเป็นอาหารอีกทอดหนึ่ง
9.3 ยูฟาวซิด (euphausiids หรือ krill shimp) • จัดอยู่อันดับยูฟาวซิเซีย (Order Euphausiacea) • พวกนี้มีลักษณะคล้ายไมซิดมากแต่มีขนาดใหญ่กว่าลำตัวยาวตั้งแต่ 8 มิลลิเมตรถึง 6 เซนติเมตร • ลำตัวใสแต่บางชนิดมีสีแดงตามีก้านตา • รยางค์ส่วนอกเป็นไบรามัสและไม่มีส่วนใดเปลี่ยนแปลงไปเป็นแมกซิลิเปด พวกนี้ส่วนของคาราเปส (carapace) ที่หุ้มส่วนอกจะเชื่อมติดกับส่วนอกทั้งหมด • มีเหงือกโผล่ออกมานอกคาราเปสซึ่งต่างจากกุ้งจริงๆ • ยูฟาวซิดกินโคพีพอดเป็นอาหารและตัวมันเป็นอาหารของสัตว์หลายชนิด เช่น ปลา นกทะเล และปลาวาฬ ตัวอย่างเช่น Pseudoeuphausia latifronsชาวบ้านเรียกว่า เคย
9.4 ออสตราคอด(ostracods หรือ bean clams) • จัดอยู่ในอันดับออสตราโคดา (Order Ostracoda) • พบทั้งในน้ำจืดและทะเลส่วนมากอาศัยอยู่ตามพื้นท้องทะเลหรือติดตามสาหร่ายหรืออาจขุดรูอยู่ตามโคลนหรือฝังตัวอยู่ตามพื้นทราย • พวกนี้มีขนาดเล็กประมาณ 1–2 มิลลิเมตร ลำตัวแบนข้างมีตาประกอบ 1– 2 อัน ขึ้นอยู่กับชนิดของมัน • มีเปลือก (carapace) 2 อัน ประกบกันและมีสัน (hinged) ยึดติดกันคล้ายหอยสองฝา โดยหุ้มลำตัวไว้ภายในเกือบทั้งหมดและอาจยื่นเฉพาะส่วนปลายของรยางค์ออกมาเท่านั้นเพื่อใช้ในการว่ายน้ำ • บางชนิดเรืองแสงได้ • ออสตราคอดส่วนใหญ่จะเก็บไข่ไว้ในถุงเก็บไข่ที่อยู่ทางส่วนหลังของลำตัว เช่น Cypridina
9.5 ไรน้ำ (Water flea) • จัดอยู่ในอันดับคลาโดเซอรา (Order Cladocera) • เป็นพวกที่มีเปลือก 2 ฝา หุ้มลำตัวเกือบทั้งหมด • ยกเว้นส่วนหัวเท่านั้นที่อยู่นอกเปลือกและเปลือกไม่มีสัน • ตัวใหญ่แบนข้าง (compressed) มีขนาดเล็กประมาณ 0.5–1 มิลลิเมตร • มีตาประกอบ 1 อัน หนวดคู่ที่ 2 มีขนาดใหญ่ใช้ว่ายน้ำ • มีที่เก็บไข่อยู่ที่ส่วนหลังของเปลือก ได้แก่ Penilia schmackeriและ Evadne tergestina ส่วนมากอาศัยอยู่ในน้ำจืด
9.6 ไอโซปอด (Isopods ) • จัดอยู่ในอันดับไอโซโปดา (Order Isopoda) • ส่วนใหญ่อาศัยอยู่หน้าดินไม่มีเปลือกหุ้มตัว • ลำตัวแบนจากบนลงล่าง (dorsoventally flattened) • มีรยางค์อก 7 คู่เป็นแบบยูนิรามัส (uniramous) • มีตาประกอบและไม่มีก้านตา (sessile) • มีเหงือกอยู่บนรยางค์ท้อง ไอโซปอดที่เป็นแพลงก์ตอนและพบเสมอๆ ได้แก่ Eurydiceหรือ Munnopsis
9.7 แอมฟิพอด (beach fleas, scuds) • จัดอยู่ในอันดับแอมฟิโปดา (Order Amphipoda) • ไม่มีเปลือกหุ้ม มีรูปร่างโดยทั่วไปคล้ายไอโซปอด • แต่มีลำตัวแบนทางด้านข้าง (compressed) • มีเหงือกเป็นเส้นๆ อยู่บนขาที่ส่วนอกพวกที่เป็นแพลงก์ตอนจัดอยู่ในครอบครัวไฮเพอริดี (Family (Family Hyperiidae) • มีขนาดประมาณ 1–2 เซนติเมตร • ส่วนหัวและตาขนาดใหญ่
9.8 เดคาปอด (Decapods) • จัดอยู่ในอันดับเดคาโปดา (Order Decapoda) • เป็นพวก ครัสเตเชียนที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ได้แก่ กุ้ง กุ้งมังกร ปูเสฉวน • และปูส่วนใหญ่เป็นพวกที่อาศัยอยู่หน้าดินและมีตัวอ่อน • เป็นแพลงก์ตอนชั่วคราวอยู่ในน้ำ • ส่วนพวกที่เป็นแพลงก์ตอนตลอดชีพมีไม่มากนักและมีขนาดใหญ่ • ว่ายน้ำได้ค่อนข้างเร็วและมักอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ได้แก่ ลูซิเฟอร์(Lucifer) หรือเคยสำลี • ลำตัวเรียวยาวส่วนหัวมีก้านตาที่ยาวมาก • พบมากตามชายฝั่งที่น้ำลึกไม่เกิน 30 เมตร ตามปากแม่น้ำใช้ทำกะปิ • นอกจากนั้นพวกเซอเจสทิด (Sergestids) ซึ่งมีรูปร่างเรียวยาวคล้ายกุ้ง • มีกรี (Rostrum) สั้นหรือไม่มีเลยลำตัวโปร่งแสงก็จัดเป็นแพลงก์ตอนเช่นกัน ได้แก่ Sergestesและ Acetes
10. ไฟลัมคีโตนาตา (Phylum Chaetognatha) • หนอนธนู (Arrow worms หรือ glass worms)เป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในทะเลเท่านั้น • พบแพร่กระจายทั่วโลกมี ประมาณ 50 ชนิด • รูปร่างยาวคล้ายหนอนตัวใสและมีขนาดใหญ่อาจมีความยาวถึง 1 นิ้ว • ลำตัวแบ่งเป็นสามส่วน คือ ส่วนหัว ลำตัวและหาง • ส่วนปลายสุดของหัวมีเขี้ยว (jaws) ที่โค้งงอใช้จับเหยื่อลำตัวมีครีบ 1-2 คู่ • มีครีบหางช่วยในการทรงตัว พวกนี้เป็นกระเทยมีรังไข่อยู่ด้านข้างของลำตัว ถุงเก็บสเปิร์มอยู่ที่ส่วนหาง • หนอนธนูกินโคพีพอด ตัวอ่อนของปลา ตัวอ่อนของ เดคาพอดและกินพวกเดียวกันเป็นอาหารและมันเป็นอาหารของปลา เมดูซา และสัตว์อื่นๆ ได้แก่ Sagitta sp. • หนอนธนูแต่ละชนิดอาศัยอยู่ในมวลน้ำที่มีคุณสมบัติแตกต่างกันจึงเป็นตัวบ่งชี้คุณสมบัติของแหล่งน้ำที่ดีและแหล่งกำเนิดของมวลน้ำได้
11. ไฟลัมเอคไคโนเดอร์มาทา(Echinodermata) • 10.1 แอสเทอร์รอยด์ (asteroids) ได้แก่ ดาวทะเล (sea star) • พวกนี้มีตัวอ่อนระยะไดพลูรูลาเรีย (dipleurularia) รูปร่างค่อนข้างยาว • มีแถบของซิเลีย 1 แถบ ล้อมรอบปาก แล้วเจริญไปเป็นระยะออริคูลาเรีย (auricularia) ที่มีขนาดใหญ่ขึ้น และแถบของซิเลียเริ่มแบ่งออกเป็นสองส่วนและมีส่วนของแขนยื่นยาวออกไป เรียกตัวอ่อนระยะนี้ว่า ไบพินนาเรีย (bipinnaria larvae)
11.2 โอฟิยูรอยด์ (ophiuroids) ได้แก่ ดาวเปราะ (brittle star) และดาวตาข่าย (basket star) • มีตัวอ่อนระยะแรกคือ ไดพลูรูลา • จากนั้นเจริญไปเป็นตัวอ่อนระยะโอฟิโอพลูเทียส (ophiopluteus) ที่มีแขนยื่นออกไป 3-4 คู่
11.3 เอคไคนอยด์ (Echinoids) เช่น เม่นทะเล (sea urchins) เหรียญทะเล (sand dollars) และเม่นหัวใจ (heart urchins) • ตัวอ่อนระยะแรก คือไดพลูรูลา • แล้วเจริญเป็นตัวอ่อนระยะเอคไคโนพลูเทียส (echinopluteus) ที่มีแขนยื่นออกไป 6 คู่ และมีรูปร่างคล้ายกับตัวอ่อนระยะโอฟิโอพลูเทียสของดาวเปราะมาก
11.4 โฮโลทูรอยด์ (holothuroids) เช่น ปลิงทะเล (sea cucumbers) • ตัวอ่อนระยะแรก คือ ไดพลูรูลา • แล้วเจริญไปเป็นตัวอ่อนระยะออลิคูลารียที่มีรูปร่างคล้ายออลิคูลาเรียของดาวทะเล • จากนั้นเจริญไปเป็นตัวอ่อนระยะโดลิโอลาเรีย(doliolarias larvae) มีรูปร่างคล้ายถังเบียร์ และมีแถบของซิเลียเป็นวงรอบลำตัว
11.5 ไครนอยด์ (crinoides) เช่น ดาวขนนก (feather stars) และซีลิลี่ (sea lily) • มีตัวอ่อนระยะไวเทลลาเรีย (vitellaria larvae) มีรูปร่างลักษณะคล้ายเรดิโอลาเรีย ของปลิงทะเล
12. Phylum Tentaculata • หรือ Phylum Phoronida • ได้แก่ Phoronids ซึ่งเป็นแพลงก์ตอนชั่วคราว ตัวอ่อนเรียกว่า actinotrocha larva
13. ไฟลัมคอร์ดาตา (Phylum Chordata) 13.1 Appendicularia • จัดอยู่ในคลาส ลาร์วาเชีย หรือโคพีลาต้า (Class Larrvarcea หรือ Copelata) • รูปร่างคล้ายตัวอ่อนของเพรียงหัวหอม (tunicates) ประกอบด้วยส่วนหัวที่มีขนาดใหญ่ • ลำตัวและส่วนหางแบน • แอพเพนดิคูลาเรียมีลักษณะพิเศษคือ ตัวจะอยู่ภายใน เฮาส์ (house) ลักษณะเป็นวุ้นทางด้านบนเป็นที่กรองอาหารโดยมีรูเล็กๆ ยอมให้แพลงก์ตอนขนาดเล็กผ่านได้ • ส่วนของหางจะสั่นทำให้เกิดกระแสน้ำ น้ำจะไหลสู่เฮาส์ผ่านตัวมันและเกิดการกรองอาหารขึ้น • เฮาส์ชำรุดหรือบริเวณที่กรองอาหารอุดตันมันจะออกจากเฮาส์เดิมแล้วไปสร้างเฮาส์ใหม่ทันที • ในตัวอย่างแพลงก์ตอนที่เก็บได้นั้นจะไม่พบเฮาส์ของมันอาจเนื่องมาจากมันหลุดหรือขาดหายไปขณะเก็บตัวอย่าง ตัวอย่างเช่น Oikopluera และ Fritillaria
13.2 ซัลพ์และโดลิโอลิด (salps and doliolid) • จัดอยู่ในคลาสทาร์ลิเอเชีย (Class Thaliacea) • ได้แก่สัตว์ในครอบครัว ซัลพิดี้ (Family Salpidae) และครอบครัวโดลิโอลิดี้ (Family Doliolidae) • พวกนี้มีรูปร่างเป็นทรงกระบอก ตัวใส ผนังลำตัวหนาเป็นพวกทูนิค (tunic) • ยืดหยุ่นได้ มีแถบกล้ามเนื้อล้อมรอบตัวเป็นวงหลายวงเห็นได้ชัด • มีช่องขนาดใหญ่อยู่ที่ปลายเปิดทั้งสองข้าง • เคลื่อนที่ไปข้างหน้าโดยการยืดหดตัวของแถบกล้ามเนื้อทำให้เกิดแรงดันน้ำออกทางส่วนท้ายของลำตัว • พบทั้งที่อยู่เดี่ยวๆ (Solitary) และอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม • โดยมีรูปร่างเปลี่ยนแปลงไปบ้าง ทำให้เข้าใจผิดคิดว่าเป็นคนละชนิดกัน ตัวอย่างแพลงก์ตอนในกลุ่มนี้ ได้แก่ Salpa และThalia ซึ่งมีแถบกล้ามเนื้อล้อมรอบลำตัวไม่สมบูรณ์นัก • Doliolum ที่มีแถบกล้ามเนื้อล้อมรอบลำตัวอย่างสมบูรณ์
13.3 เพรียงหัวหอม (tunicate) • มีตัวอ่อนชื่อแทดโพล (tadpole) • มีรูปร่างคล้ายกับแอพเพนดิคูลาเรียนแต่ยังไม่มีเซลล์สืบพันธุ์และทวารหนัก • ลำตัวแบ่งออกเป็นส่วนหัวและส่วนหาง มีทูนิค (tunic) ปกคลุมลำตัว • มีสตาโตซิส • มีไขสันหลัง (tubular nerve cord) ลักษณะเป็นท่อ • มีโนโตคอร์ด (notochord) อยู่ใต้ไขสันหลังและยื่นยาวออกไปทางส่วนหาง
13.4 ไข่ปลาและปลา วัยอ่อน(fish eggs and fish larvae) • ระยะที่เป็นแพลงก์ตอนชั่วคราว ได้แก่ ไข่ปลาและตัวอ่อนของปลา ระยะนี้ค่อนข้างยากในการจำแนกชนิด เนื่องจากมีรูปร่างที่แตกต่างจากตัวเต็มวัย จากนั้นจะเจริญไปเป็นตัวเต็มวัยทั้งที่ดำรงชีวิตเป็น เนคตอนและปลาหน้าดิน
เอกสารที่ใช้ในการจำแนกชนิดเอกสารที่ใช้ในการจำแนกชนิด Brodsky (1950), Wellershaus (1969,1970), Research group of Carcinology (1979), Nishida (1985), Walter (1986,1987,1989), Huy and Baxshall (1991), สุนีย์ สุวภีพันธ์ (2527) และ วรรณา สุวรรณรัมภา(1987)