230 likes | 544 Views
Human Capital. จุฑา ภรน์ อารียะ 562131001 สันติ พงษ์ นา จรัส 562132012 นงค์ ลักษณ์ เจริญ ไชย 562132040. ความหมายของทุนมนุษย์ ผลที่เกิดจากการนำเสนอทฤษฎีทุนมนุษย์ ประโยชน์และความสำคัญของทุนมนุษย์ การจัดการและการพัฒนาทุนมนุษย์ การวัดค่าทุนมนุษย์. ความหมาย.
E N D
Human Capital จุฑาภรน์ อารียะ 562131001 สันติพงษ์นาจรัส 562132012 นงค์ลักษณ์ เจริญไชย 562132040
ความหมายของทุนมนุษย์ • ผลที่เกิดจากการนำเสนอทฤษฎีทุนมนุษย์ • ประโยชน์และความสำคัญของทุนมนุษย์ • การจัดการและการพัฒนาทุนมนุษย์ • การวัดค่าทุนมนุษย์
ความหมาย Becker เป็น ความรู้ ทักษะและความสามารถของลูกจ้าง William R.Tracey ผลตอบแทนที่องค์กรได้รับจากความจงรักภักดี ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ความพยายาม ความมุ่งมั่นสู่ความสำเร็จ ซึ่งเป็นผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นของบุคลากรในองค์กร Dzinkowski ทุนมนุษย์ ในช่วงตั้งแต่ปี 2000 เป็นต้นมา มีความหมายว่าเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความรู้เชิงเทคนิค (Know-how) ความสามารถ ทักษะ และความเชี่ยวชาญของคนในองค์การ
ความหมาย • สรุปความหมายของทุนมนุษย์ “เป็นส่วนผสมของความรู้ ทักษะ ความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์ ความสามารถ หรือสมรรถนะ สติปัญญา และคุณลักษณะอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อตนเอง และองค์กร”
ผลที่เกิดจากการนำเสนอทฤษฎีทุนมนุษย์ผลที่เกิดจากการนำเสนอทฤษฎีทุนมนุษย์ การนำเสนอความคิดเรื่อง “ทุนมนุษย์” ได้ทำให้การบริหารงานบุคคลและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ได้ก้าวไปอีกขั้นหนึ่ง • ขั้นที่หนึ่ง: Personnel Management หรือ Personnel Administration เน้นกระบวนการที่เป็นงานปฏิบัติและงานประจำตามกฎระเบียบ • ขั้นที่สอง: Strategic Human Resource Management ยึดคนเป็นทรัพยากรขององค์กร • ขั้นที่สาม: Strategic Human Capital Management เป็นแนวคิดใหม่ ยึดคนเป็นทุน
ผลที่เกิดจากการนำเสนอทฤษฎีทุนมนุษย์ผลที่เกิดจากการนำเสนอทฤษฎีทุนมนุษย์ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนมุมมองของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ • เปลี่ยนจากการมองคนเป็นค่าใช้จ่ายไปสู่การมองคนเป็นสินทรัพย์ เก่า :องค์กรจะมองบุคลากรเป็นค่าใช้จ่าย (Cost) ที่ต้องควบคุม ใหม่ : มองบุคลากรเป็นสินทรัพย์ (Asset) ที่เพิ่มมูลค่าในตัวได้
ผลที่เกิดจากการนำเสนอทฤษฎีทุนมนุษย์ผลที่เกิดจากการนำเสนอทฤษฎีทุนมนุษย์ • มองทุนมนุษย์ในลักษณะที่เป็นคุณสมบัติแยกออกจากตัวบุคคล • “ทุนมนุษย์” จัดเป็นสินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตน (Intangible Asset) • เป็นคุณสมบัติของลูกจ้างดังนั้น องค์กรจึงไม่ใช่เจ้าของทุนมนุษย์ แนวความคิดที่แยกทุนมนุษย์ออกจากตัวลูกจ้างจึงเป็นสิ่งท้าทายความสามารถในการจัดการความรู้ขององค์กรที่จะทำอย่างไรจึงจะสามารถดึง Tacit Knowledge นี้ออกมาจากตัวลูกจ้างได้โดยสมัครใจ
ผลที่เกิดจากการนำเสนอทฤษฎีทุนมนุษย์ผลที่เกิดจากการนำเสนอทฤษฎีทุนมนุษย์ • เกิดแนวคิดประสานระหว่างการสร้างความผูกพันและการพัฒนาทุนทางปัญญา พัฒนา “ทุนมนุษย์” ควบคู่กับการสร้างความผูกพันกับองค์กร เช่น สร้างสมดุลระหว่างคุณภาพชีวิตและการพัฒนาขีดความสามารถ
ผลที่เกิดจากการนำเสนอทฤษฎีทุนมนุษย์ผลที่เกิดจากการนำเสนอทฤษฎีทุนมนุษย์ • ให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์ทางสังคมร่วมกับความฉลาดทางอารมณ์ ความสัมพันธ์ทางสังคมเป็นเครื่องช่วยให้เกิดความหลากหลายในความคิดและช่วยให้การเรียนรู้กว้างขวางและลึกซึ้งขึ้น ในขณะที่ ความฉลาดทางอารมณ์จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถรับรู้เรื่องราวและเรื่องราวต่างๆที่ตรงข้ามกับความคิดได้มากขึ้น
ผลที่เกิดจากการนำเสนอทฤษฎีทุนมนุษย์ผลที่เกิดจากการนำเสนอทฤษฎีทุนมนุษย์ • เน้นคุณค่าของคนและวิธีการที่ใช้ในการบริหารคนมากกว่าหน้าที่เฉพาะบุคคล Human Resource Management และ Human Capital Management มีความแตกต่างกันในสองเรื่อง • การบริหาร “ทุนมนุษย์” จะเน้นคุณค่าของคนและสิ่งที่คนสร้าง มากกว่าสนใจตัวหน้าที่บุคคล • การบริหาร “ทุนมนุษย์” จะให้ความสำคัญกับการวัดค่าให้เห็นเชิงประจักษ์ ว่าใช้เครื่องมือใด ตัวชี้วัดลักษณะไหน? • การบริหารทรัพยากรมนุษย์ เน้นการวางแผนและวางกลยุทธ์
ผลที่เกิดจากการนำเสนอทฤษฎีทุนมนุษย์ผลที่เกิดจากการนำเสนอทฤษฎีทุนมนุษย์ • เกิดแนวคิดการวัดค่าสินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตน การวัดมูลค่าของ “ทุนมนุษย์” จะวัดได้เฉพาะในแง่มุมที่เกี่ยวกับกลยุทธ์หรือเป้าหมายขององค์กรเท่านั้น
ผลที่เกิดจากการนำเสนอทฤษฎีทุนมนุษย์ผลที่เกิดจากการนำเสนอทฤษฎีทุนมนุษย์ • ทำให้การบริหารและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นเรื่องของทุกฝ่ายในองค์กร เนื่องจากการบริหาร “ทุนมนุษย์” มีความสัมพันธ์กับกลยุทธ์ขององค์กร จึงไม่ใช่การมองแค่ตัวคนหรือกระบวนการอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่เป็นการมองทั้งสองอย่างเชื่อมโยงกัน
ผลที่เกิดจากการนำเสนอทฤษฎีทุนมนุษย์ผลที่เกิดจากการนำเสนอทฤษฎีทุนมนุษย์ • กลยุทธการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เกิดแนวคิดในเรื่องของการพัฒนาทรัพยากรบุคคลเชิงกลยุทธ์เพื่อสร้าง “ทุนมนุษย์” ควบคู่ไปกับแนวคิดเรื่องการบริหารทรัพยากรบุคคล
ความสำคัญ/ประโยชน์ของทุนมนุษย์ความสำคัญ/ประโยชน์ของทุนมนุษย์ • เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้องค์กรนั้น ๆ บรรลุเป้าหมายได้ตามกลยุทธ์ที่วางไว้ ถ้าหากคนในองค์กรมีทุนส่วนตัวของเขาคือมีความรู้ ความสามารถหรือมีศักยภาพที่เหมาะสม ก็จะทำให้องค์กรนั้นมีการประสานความร่วมมือของทุนมนุษย์ทุกคนในองค์กร จนนำไปสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้
ความสำคัญ/ประโยชน์ของทุนมนุษย์ความสำคัญ/ประโยชน์ของทุนมนุษย์ • เป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน เป็นผลมาจากข้อ 1 เมื่อประสานความร่วมมือกันจนบรรลุเป้าหมายที่องค์กรได้วางไว้แล้ว องค์กรของท่านจะสามารถแข่งขันกับคู่แข่งได้ในทุกสถานการณ์ เพราะท่านมีทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพอยู่อย่างมากมายในองค์กรของท่านเอง • ทำให้องค์กรมีการพัฒนา และอยู่รอด เป็นผลพลอยได้ต่อมาจากสองข้อแรก คือ องค์กรก็จะมีการพัฒนาตนเองอยู่เสมอ ทั้งการพัฒนาศักยภาพในการเพิ่มมูลค่าของทุนมนุษย์ในองค์กรที่มากยิ่งขึ้น และการอยู่ได้ในสภาวการณ์ต่าง ๆ ที่ไม่แน่นอน ก็เพราะว่าเราได้มีการเตรียมการพัฒนาทุนมนุษย์ในองค์กรจนกระทั่งเขาเหล่านั้นเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าอย่างเต็มที่แล้ว
การจัดการและการพัฒนาทุนมนุษย์การจัดการและการพัฒนาทุนมนุษย์ • การจัดการทุนมนุษย์ หมายถึง ระบบในการปรับปรุงผลการปฏิบัติงานของพนักงานที่มีบทบาทสำคัญ (critical role) ในองค์กร • พัฒนาทุนมนุษย์โดยการ Learning-by-doing -> Tacit Knowledge • มองมนุษย์เป็นทุน และเลือกลงทุนในมนุษย์ที่สร้างประโยชน์ให้องค์กร • หน้าที่ในการพัฒนาบุคลากรจึงตกมาเป็นของตัวบุคลากรเอง • จึงต้องพัฒนาองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) • หาวิธีการที่จะทำให้ทุนมนุษย์เหล่านั้น ยินดีทำงานให้กับองค์การอย่างเต็มที่ด้วยความเต็มใจ
การจัดการและการพัฒนาทุนมนุษย์การจัดการและการพัฒนาทุนมนุษย์ • แนวทางการเพิ่มพันธะผูกพันของบุคลากรที่มีต่อองค์กร • ลดความต้องการที่องค์กรมีต่อบุคลากร • จัดทรัพยากรที่จำเป็นต่อการทำงานให้เพียงพอ • การจัดให้มีการสอนงานแบบระบบพี่เลี้ยง (Mentor System) • เพิ่มการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในเรื่องสำคัญ • มีสวัสดิการที่ดีให้กับบุคลากร
การวัดค่าทุนมนุษย์ • การวัดค่าไม่มีกฎตายตัว ขึ้นอยู่กับกลยุทธ์ที่สอดคล้องกับเป้าหมายขององค์กร
บรรณานุกรม • http://thitikornblog.wordpress.com/2012/09/26/humancapita/ • http://samson-hrdhrmguru.blogspot.com/2011/11/human-capital.html • http://www.inded.kmitl.ac.th/journal/images/stories/year10_2/vol10_02_a4.pdf • http://www.hrmeservice.com/th/page/1286