210 likes | 428 Views
การพัฒนาแบบมีส่วนร่วมเพื่อการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์วัฒนธรรม ไทย-กัมพูชา : ช่องสะงำ (ช่องเจือม). The Participatury Development of Eco-Tourism Between Thai and Cambodia : Chong Sa-Ngam ( Chong Cheum ). โดย. นายไกรสิทธิ มานะศรีสุริยัน นาประสพ ศรีสมบูรณ์ นายปริง เพชรล้วน
E N D
การพัฒนาแบบมีส่วนร่วมเพื่อการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์วัฒนธรรม ไทย-กัมพูชา : ช่องสะงำ (ช่องเจือม) The Participatury Development of Eco-Tourism Between Thai and Cambodia : Chong Sa-Ngam (Chong Cheum)
โดย นายไกรสิทธิ มานะศรีสุริยัน นาประสพ ศรีสมบูรณ์ นายปริง เพชรล้วน สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตศรีสะเกษ
วัตถุประสงค์ของการวิจัยวัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษาการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย- กัมพูชา : ช่องสะงำ – ช่องเจือม เพื่อศึกษากระบวนการแนวทางในการพัฒนาการท่องเที่ยงเชิงอนุรักษ์แบบการมีส่วนร่วม (Participation) ของประชาชนไทย – กัมพูชา : ช่องสะงำ (ช่องเจือม)
ขอบเขตของโครงการวิจัยขอบเขตของโครงการวิจัย ผู้วิจัยได้กำหนดขอบเขตของการวิจัยไว้ ดังนี้ 1. ต้องการศึกษาปัญหาและแนวทางในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย-กัมพูชา 4 องค์ประกอบ คือ 1.1 ศักยภาพในการเป็นแหล่งท่องเที่ยว 1.2 การจัดการด้านการใช้ประโยชน์ของพื้นที่ให้เกิดความยั่งยืน 1.3 การจัดการด้านความรู้และสร้างจิตสำนึก 1.4 และการมีส่วนร่วมของชุมชนในกิจกรรมการท่องเที่ยว 2. ต้องการศึกษากระบวนการในการพัฒนาแบบมีส่วนร่วมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย-กัมพูชา
ขอบเขตของโครงการวิจัยขอบเขตของโครงการวิจัย 3. กำหนดจุดการศึกษาในภาคสนามจังหวัดศรีสะเกษ ประเทศไทย จังหวัดเสียมราฐ ประเทศกัมพูชา ที่เป็นแหล่งโบราณสถาน โบราณวัตถุ ประเพณีวัฒนธรรมของท้องถิ่น ดังนี้ 3.1 ปราสาทหินสระกำแพงใหญ่ อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ 3.2 ปราสาทปรางค์กู่ อำเภอปรางกู่ จังหวัดศรีสะเกษ 3.3 ปราสาทบ้านปราสาท อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ 3.4 วัดล้านขวด อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ 3.5 พระธาตุเรืองรอง อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ 3.6 เขาพระวิหาร อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ 3.7 นครวัด จังหวัดเสียมราฐ ประเทศกัมพูชา 3.8 นครธม จังหวัดเสียมราฐ ประเทศกัมพูชา
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1. สถาบันการพลศึกษาได้ข้อมูลสารสนเทศที่จะนำไปพัฒนาในการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาให้ตรงกับความต้องการของสังคม ชุมชนท้องถิ่น และประเทศชาติ เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนายุทธศาสตร์การบริหารการจัดการทรัพยากรด้านต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวที่จะผลิตบัณฑิตของคณะศิลปะศาสตร์ สาขานันทนาการเชิงพาณิชย์และการท่องเที่ยว Bachelor’s of Arts (Commercial Recreation and tourism) รับผิดชอบโดยตรงเพื่อให้สอดคล้องกับจุดเน้นของแนวทางการพัฒนาสถาบันการพลศึกษา
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 2. กระทรงการท่องเที่ยวและกีฬา ได้ข้อมูลสารสนเทศที่จะนำไปปรับปรุง พัฒนามาตรฐานการท่องเที่ยว ในการส่งเสริมด้านการตลาดการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และการพัฒนาระบบการบริหารการจัดการแบบบูรณาการต่อไป 3. จังหวัดศรีสะเกษ ได้ข้อมูลสารสนเทศที่จะนำไปจัดการบริหารการดำเนินการเชิงนโยบายให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ที่มีส่วนได้เสีย 4. ภาคประชาชนมีความเข็มแข่งต่อการบริหารการจัดการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์วัฒนธรรม
วิธีการดำเนินการวิจัยวิธีการดำเนินการวิจัย การวิจัยนี้เป็นศึกษาการพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชน ที่จะนำไปสู่การพัฒนาเชิงอนุรักษ์ วัฒนธรรมช่องสะงำ ซึ่งผู้วิจัยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพแบบ PAR (Participatory Action Research) ในแนวทางผสมผสานที่จะช่วยให้ได้ผลการศึกษาที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะเป็น การเข้าถึงข้อมูลความจริงด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) จะช่วยให้ได้ข้อมูลที่ลุ่มลึกมากยิ่งขึ้นทั้งด้านความรู้สึกนึกคิด การให้ความหมายภายใต้บริบทของสังคมวัฒนธรรมที่เป็นอยู่ในขณะนั้น ข้อมูลดังกล่าวจะได้นำมาวิเคราะห์เพื่อหาคำอธิบายพฤติกรรมที่เกิดขึ้นอันจะนำไปสู่การแสวงหาแนวทางในการปฏิบัติ ซึ่งใช้เป็นกรอบในการวิจัยครั้งนี้ ต้องการศึกษาปัญหาและแนวทางในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย - กัมพูชา ใน 4 องค์ประกอบ
วิธีการดำเนินการวิจัยวิธีการดำเนินการวิจัย 1. ศักยภาพในการเป็นแหล่งท่องเที่ยว 2. การจัดการด้านการใช้ประโยชน์ของพื้นที่ให้เกิดความยั่งยืน 3. การจัดการด้านความรู้และสร้างจิตสำนึก 4. และการมีส่วนร่วมของชุมชนในกิจกรรมการท่องเที่ยว
ประชากรและกลุ่มตัวอย่างเป้าหมายพื้นที่ที่ศึกษาประชากรและกลุ่มตัวอย่างเป้าหมายพื้นที่ที่ศึกษา ประชากรเป้าหมายและพื้นที่ที่ใช้เป็นแหล่งในการศึกษาครั้งนี้ พิจารณาจากเกณฑ์ความเป็นไปได้และความเหมาะสมที่จะได้ข้อมูลที่หลากหลาย โดยศึกษาแหล่งเฉพาะที่อยู่ในเขตรอบๆ พื้นที่เขตวัฒนธรรม ทั้งนี้เพื่อต้องการทำความเข้าใจกับการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ที่มีผลต่อการรับรู้และความเปลี่ยนแปลงเข้ามาประกอบด้วย ผู้วิจัยจึงกำหนดเป้าหมายและพื้นที่ที่ศึกษา คือ พื้นที่ที่ใช้ในการศึกษาจะเป็นสถาปัตยกรรมทางประวัติศาสตร์ โบราณสถาน โบราณวัตถุ ประเพณีวัฒนธรรมของท้องถิ่น ประกอบด้วย ชุมชนวัดปราสาทสระกำแพงใหญ่ ชุมชนวัดปราสาทบ้านปราสาท ชุมชนวัดล้านขวด ชุมชนตำบลกู่ และชุมชนตลาดเมืองใหม่ช่องสะงำ ตำบลไพรพัฒนา อำเภอภูสิงห์
วิธีการศึกษา ผู้วิจัยใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพในการศึกษาการพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนที่จะนำไปสู่การอนุรักษ์เชิงวัฒนธรรมช่องสะงำ โดยใช้มิติวัฒนธรรมเป็นฐานของการพัฒนาของท้องถิ่น ร่วมกับความสัมพันธ์ประเทศกัมพูชาซึ่งเป็นเพื่อนบ้าน โดยนำเทคนิคการวิจัยผสมผสานหลากหลายรูปแบบมาประยุกต์ใช้ เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพชุมชนในแต่ละพื้นที่ ในกระบวนการ วิจัยแบบ PAR (Participatory Action Research)
วิธีการศึกษา ขั้นตอนที่ 1 การเตรียมแกนนำและพื้นที่ 1.1 การเตรียมแกนนำและวิทยากรในการสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของคนในชุมชน ต้องมีการเตรียมผู้ที่จะเป็นผู้นำชุมชนหรือแกนนำชุมชน ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่มีความมุ่งหวังที่จะพัฒนาชุมชน ไม่จำกัดฐานะ ได้แก่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน พัฒนากร เจ้าอาวาส ผู้นำกลุ่มชาวบ้านแม่บ้าน อสม. อปพร. สมาชิก อบต. โดยกลุ่มแกนนำต้องทำความเข้าใจร่วมกัน
วิธีการศึกษา ขั้นตอนที่ 2 เวทีสร้างความเข้าใจ 2.1 คณะทำงานเลือกชุมชนแล้ว จึงได้กำหนดจัดเวทีในชุมชน 2.2 กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมเวที ควรมีความหลากหลายกลุ่มอาชีพหรือกลุ่มผลประโยชน์ โดยให้ตัวละกลุ่มส่งตัวแทนเข้าร่วมเวทีตามสัดส่วน เป็นบุคคลที่มีทัศนคติเชิงบวก มีความปรารถนาที่จะพัฒนาชุมชนเพื่อการพึ่งตนเอง 2.3 กำหนดการประชุม ควรจะเป็นวันเดียว มีระยะเวลาที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตชุมชน 2.4 เนื้อหาการประชุม คือ ความจำเป็นที่ต้องมีแผนชุมชนพึ่งตนเอง ความหมายและสาระสำคัญของแผนชุมชน
วิธีการศึกษา ขั้นตอนที่ 3 การเก็บข้อมูลชุมชนเพื่อจัดทำแนวทางการพัฒนาชุมชน ในกรอบการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในชุมชน ในการส่งเสริมพื้นที่การท่องเที่ยว ขั้นตอนที่ 4 เวทีวิเคราะห์ข้อมูลชุมชน เป็นขั้นตอนที่ให้ชุมชนย่อยแต่ละชุมชนเสนอผลการศึกษา เพื่อให้แต่ละกลุ่มอภิปรายให้เห็นเพิ่มเติมเพื่อระดมความคิด
วิธีการศึกษา ขั้นตอนที่ 5 วิเคราะห์โครงการและกิจกรรมการทำงาน ขั้นตอนนี้คณะทำงานผู้รับผิดชอบแต่ละโครงการ นำเสนอโครงการต่อที่ประชุม พร้อมทั้งกำหนดบุคคลผู้รับผิดชอบแต่ละโครงการเพื่อดำเนินการต่อไป ขั้นตอนที่ 6 การจัดทำเอกสารแผนชุมชนพึ่งตนเองและการสนับสนุนงบประมาณโครงการที่ได้รับบรรจุในแผน คณะทำงาน ผู้รับผิดชอบโครงการ และแกนนำชุมชนต้องมีความสามารถในการนำเสนอโครงการให้เป็นที่ยอมรับของหน่วยงานต่างๆ ที่มีทุนสนับสนุน
วิธีการศึกษา ขั้นตอนที่ 7 การติดตามผล การติดตามผลเป็นขั้นตอนสุดท้ายเพื่อจะสรุปบทเรียนการทำงานตั้งแต่ขั้นตอนที่ 1 จนถึงขั้นตอนสุดท้าย และมีการติดตามผลการดำเนินงาน และแก้ไขปรับปรุงข้อบกพร่องต่างๆ ที่เกิดขึ้น เพื่อให้โครงการต่างๆ ที่ดำเนินการตอบสนองความต้องการของชุมชน สนับสนุนให้ชุมชนพัฒนาและพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล จากการศึกษางานวิจัยเชิงคุณภาพนั้นจำเป็นจะต้องเอาแนวการศึกษาผสมผสาน (Integrated study) วิธีการเก็บข้อมูลถูกแบ่งออกเป็นกลุ่มหลักตามลักษณะของการเก็บได้ 4 แบบ คือ 1. ทบทวนข้อมูลเดิม (secondary data) 2. สังเกต (observation) 3. สัมภาษณ์ (interview) 4. การสนทนากลุ่ม (Focus Group)
สรุปผลการวิจัย 1.ด้านศักยภาพในการเป็นแหล่งท่องเที่ยว จังหวัดศรีสะเกษ มีโบราณสถานหลายแห่ง เพียงแต่จังหวัดไม่ได้ส่งเสริมศักยภาพเท่าที่ควร หากมีการร่วมมือจากภาครัฐหลายแห่งมาร่วมทำงานแบบเชิงบูรณาการร่วมกันกับภาคประชาชน เป็นการส่งเสริมให้ภาคประชาชนเข้มแข็งตามไปด้วย จะเห็นได้ว่า ศักยภาพด้านแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดศรีสะเกษจะมีมาก เช่น ปราสาทปรางค์กู่ ปราสาทสระกำแพงใหญ่ ปราสาทสระกำแพงน้อย ปราสาทบ้านปราสาท ขาดการสนับสนุนงบประมาณของจังหวัด และส่วนกลาง การบูรณะ ปฏิสังขรณ์ เป็นไปอย่างเชื่องช้า ขณะนี้บางสถานที่กำลังได้รับงบประมาณปรับปรุงบูรณะเฉพาะตัวปราสาท แต่ขาดการปรับปรุงพื้นที่อาณาเขตบริเวณรอบๆพื้นที่ ในการจัดตกแต่งภูมิทัศน์ให้ดูสวยงาม
สรุปผลการวิจัย 2. ด้านการจัดการใช้ประโยชน์ของพื้นที่ให้เกิดความยั่งยืน ควรจะอยู่ในรูปขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร่วมประสานงานแบบมีส่วนร่วมกับชุมชนในพื้นที่ โดยทำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น ให้มองเห็นประโยชน์ร่วมกัน มีความรับผิดชอบต่อสังคมร่วมกัน ในการส่งเสริมศักยภาพ สร้างกระบวนการการมีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่องให้ชุมชนเข้มแข็ง เพื่อความยั่งยืนต่อไป
สรุปผลการวิจัย 3.ด้านการจัดการความรู้และสร้างจิตสำนึกนั้น จะต้องใช้ระยะเวลาและการให้การศึกษาด้านวัฒนธรรมและแหล่งท่องเที่ยวให้มากขึ้น หากได้ผู้นำที่ดีมีแนวคิดการส่งเสริมด้านการท่องเที่ยว จะนำพาแนวคิดในสิ่งต่างๆ โดยการส่งเสริมปรับปรุงกิจกรรมแนวทางใน การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวให้ยั่งยืนถาวรต่อเนื่อง จัดกิจกรรมเทศกาล มหกรรมงานแสงสี ประเพณีรณรงค์ประชาสัมพันธ์ ส่งเสริมการเรียนรู้หรืออบรมมัคคุเทศก์ ปลุกจิตรสำนึก รักและหวงแหน และทำให้พื้นที่เป็นที่รู้จักกับนักท่องเที่ยว
สรุปผลการวิจัย 4. ด้านการมีส่วนร่วมของชุมชนในกิจกรรมการท่องเที่ยว ภาครัฐควรสนับสนุน ส่งเสริม สร้างความเชื่อมั่น และปลูกฝังให้คนท้องถิ่นตระหนักถึงความรู้เพื่อเป็นรากฐานของการพัฒนาด้านต่างๆ อย่างจริงจัง โดยเฉพาะด้านการมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว กำหนดคุณลักษณะ ตลอดจนการผลิตกำลังคนที่สามารถตอบสนองความต้องการของท้องถิ่นได้หรือดึงศักยภาพผู้ที่มีความรู้ความสามารถที่มีอยู่ในแต่ละท้องถิ่นทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชนเข้ามาช่วยในการพัฒนา และมีการจัดการที่ดีในลักษณะเน้นการเรียนรู้วัฒนธรรมท้องถิ่น เพื่อเป็นการสืบสานและต่อยอดให้เป็นฐานในการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป