950 likes | 1.85k Views
การตรวจวิเคราะห์ ทางห้องปฏิบัติการ จุลทรรศน์ศาสตร์. การตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการจุลทรรศน์ศาสตร์. ประกอบด้วยการตรวจวิเคราะห์ดังนี้ การตรวจปัสสาวะ ( Urinalysis ) การตรวจอุจจาระ ( Stool exam ) การตรวจหา Occult blood ในอุจจาระ การตรวจน้ำจากส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
E N D
การตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการจุลทรรศน์ศาสตร์การตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการจุลทรรศน์ศาสตร์
การตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการจุลทรรศน์ศาสตร์การตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการจุลทรรศน์ศาสตร์ ประกอบด้วยการตรวจวิเคราะห์ดังนี้ • การตรวจปัสสาวะ ( Urinalysis ) • การตรวจอุจจาระ ( Stool exam ) • การตรวจหา Occult blood ในอุจจาระ • การตรวจน้ำจากส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ( Fluid cell count )
การตรวจน้ำจากส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ( Body fluid Analysis )
ของเหลวในร่างกาย ( Body fluid ) • ในสิ่งมีชีวิตทุกชนิดรวมทั้งสัตว์เลี้ยงภายในร่างกายจะมีน้ำ เป็นส่วนประกอบเป็นส่วนใหญ่
ของเหลวในร่างกาย ( Body fluid ) • น้ำในร่างกายสามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ 1. น้ำที่อยู่นอกเซลล์ ( Extracellular fluid ) 2. น้ำที่อยู่ภายในเซลล์ ( Intracellular fluid )
น้ำที่อยู่นอกเซลล์ ( Extracellular fluid ) • เป็นน้ำที่อยู่นอกเยื่อหุ้มเซลล์ • เช่นน้ำที่อยู่ระหว่างเซลล์ และน้ำที่อยู่ในเส้นเลือดและเส้นนน้ำเหลือง เป็นต้น • ทำหน้าที่รักษาสภาพแวดล้อมภายนอกเซลล์ให้คงที่ • แบ่งออกได้ 3 ส่วนคือ
น้ำที่อยู่นอกเซลล์ ( Extracellular fluid ) 1. น้ำเลือด ( Plasma ) 2. น้ำเหลือง ( Lymph ) 3. น้ำที่อยู่ระหว่างเซลล์ ( Intercellular fluid )
น้ำเลือด ( plasma ) คือน้ำที่อยู่ในระบบหมุนเวียนของเลือด มีอยู่ประมาณ 4-5 % ของน้ำหนักตัว
น้ำเหลือง ( Lymph ) คือน้ำที่อยู่ภายในท่อน้ำเหลือง ซึ่งจะไหลเวียนเข้าสู่ระบบเส้นเลือดดำเข้าหัวใจ มีประมาณ 2-3%
น้ำที่อยู่ระหว่างเซลล์ ( Intercellular fluid ) เป็นน้ำที่อยู่รอบๆเซลล์ หรือน้ำตามช่องว่างระหว่างงเซลล์ มีหน้าที่ช่วยทำให้เยื่อหุ้มเซลล์ชุ่มชื้นอยู่เสมอ เพื่อช่วยในการนำสารอาหารเข้าสู่เซลล์และนำของเสียออกขากเซลล์ มีประมาณ 16-20%
น้ำที่อยู่ภายในเซลล์ ( Intracellular fluid ) • คือน้ำที่อยู่ภายในเยื่อหุ้มเซลล์ทั้งหมด • มีความสำคัญในการเมตาโบลิซึม • มีประมาณ 20-40%
น้ำจากส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ( Body Fluid ) • น้ำไขสันหลัง ( Cerebrospinal fluid , CSF ) • น้ำไขข้อ ( Synovial fluid ) • น้ำคร่ำ ( Amniotic fluid ) • Semen , Seminal fluid
น้ำไขสันหลัง ( Cerebrospinal fluid , CSF ) • น้ำในไขสันหลังคือของเหลวใส • มีส่วนประกอบคล้ายกับน้ำเลือดและของเหลวที่อยู่ระหว่างงเซลล์ แต่มีปริมาณโปรตีน กลูโคสและโปแตสเซี่ยมอิออนต่ำกว่า อาจมีพวกเซลล์เม็ดเลือดขาวอยู่บ้าง
น้ำไขสันหลัง ( Cerebrospinal fluid , CSF ) • หน้าที่สำคัญของน้ำไขสันหลัง คือ เป็นกันชนไม่ให้สมองและไขสันหลังได้รับการกระทบกระเทือนจากภายนอก รวมทั้งยังทำหน้าที่ในการขนส่งอาหารและลำเลียงของเสียต่าง ๆ ออกจากสมองด้วย • หล่อเลี้ยงสมองและไขสันหลัง • น้ำไขสันหลังสามารถนำมาใช้ตรวจดูการติดเชื้อในระบบบประสาทส่วนกลางได้
น้ำไขสันหลัง ( Cerebrospinal fluid , CSF ) • ในผู้ใหญ่จะมีปริมาณน้ำไขสันหลังประมาณ 90 – 150 มล. • ในเด็กเล็กจะมีปริมาณ 10 – 60 มล.
น้ำไขสันหลัง ( Cerebrospinal fluid , CSF ) • ปกติน้ำไขสันหลังจะใส ไม่มีเลือดปน ไม่มีเซลล์ • ถ้ามีอาจเป็นความผิดปกติจริงของผู้ป่วย • แต่ก็อาจมาจากการเจาะเก็บตัวอย่างไม่ดี มีเลือดปนหรือการ contaminate การตรวจพบและรายงานค่าอาจผิดพลาดได้ • ความผิดปกติจากการบาดเจ็บ มีการอักเสบและการติดเชื้อ ที่ไขสันหลัง ทำให้ลักษณะสีเปลี่ยน เช่นชมพูแดงจากบาดเจ็บมีเลือดปน ขุ่นขาวจากหนองหรือ
การตรวจน้ำไขสันหลัง ( Cerebrospinal fluid examination , CSF examination ) • มีประโยชน์มากในการช่วยวินิจฉัย พยากรณ์โรค และการรักษา • ถ้าพบสิ่งผิดปกติ แสดงถึงความรุนแรงของโรคได้ หรืออาจพบสาเหตุของโรคได้
การตรวจน้ำไขสันหลัง ( Cerebrospinal fluid examination , CSF examination )
การตรวจน้ำไขสันหลัง ( Cerebrospinal fluid examination , CSF examination )
การตรวจน้ำไขสันหลัง ( Cerebrospinal fluid examination , CSF examination ) • สามารถเก็บน้ำไขสันหลังมาตรวจได้ครั้งละประมาณ 10 – 20 มล. • โดยปกติ CSF ที่ได้หลังการเจาะ ควรใส่ในขวดที่ปราศจากเชื้อ แล้วแบ่งเป็นส่วน ๆ ตามลำดับ ส่วนละ 2-3 มล. ประมาณ 3 ส่วน โดยแบ่งเป็นส่วนต่าง ๆ เพื่อส่งตรวจวิเคราะห์ ดังนี้
การตรวจน้ำไขสันหลัง ( Cerebrospinal fluid examination , CSF examination ) ขวดที่ 1 สำหรับส่งตรวจทางเคมี และอิมมูโนวิทยา ขวดที่ 2 สำหรับส่งตรวจจุลชีววิทยา ขวดที่ 3 สำหรับนับจำนวนของเซลล์และนับแยกชนิด ของเซลล์
การตรวจน้ำไขสันหลัง ( Cerebrospinal fluid examination , CSF examination ) • เมื่อเก็บน้ำไขสันหลังได้แล้ว ควรรีบนำส่งห้องปฏิบัติการ และทำการตรวจวิเคราะห์โดยเร็วภายใน 1 ชั่วโมง • ไม่ควรตั้งทิ้งไว้เกิน 1 ชั่วโมง • เพราะเซลล์ที่อยู่ในน้ำไขสันหลังแตกสลายได้ง่าย
การตรวจน้ำไขสันหลัง ( Cerebrospinal fluid examination , CSF examination ) แบ่งการตรวจได้ดังนี้ • การตรวจด้วยตาเปล่า ( Macroscopic examination ) • การตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ ( Microscopic examination ) • การตรวจทางเคมี ( Chemical examination )
การตรวจด้วยตาเปล่า ( Macroscopic examination ) ลักษณะของ CSF ปกติ • ใส ไม่มีสี • ไม่มีตะกอน • ไม่แข็งตัวเมื่อตั้งทิ้งไว้ • มีความหนืดเท่ากับน้ำ
การตรวจด้วยตาเปล่า ( Macroscopic examination ) • การสังเกตดูลักษณะความผิดปกติของน้ำไขสันหลัง ให้สังเกต สี ความขุ่น การมีเลือดปน รวมทั้งการเกิด clotted
การตรวจด้วยตาเปล่า ( Macroscopic examination ) ความผิดปกติที่อาจพบได้คือ • CSF ขุ่น เนื่องจากมีเม็ดเลือดปนอยู่ • ถ้ามีเม็ดเลือดแดง มากกว่า 400 เซลล์/ลบ.มม. ฃ • เม็ดเลือดขาวมากกว่า 200 เซลล์/ลบ.มม. • จะมองเห็นความขุ่นได้ด้วยตาเปล่า
การตรวจด้วยตาเปล่า ( Macroscopic examination ) • ความขุ่นที่เกิดขึ้นอาจเกิดจากมีเชื้อโรคปนอยู่ก็ได้ เช่น แบคทีเรีย เชื้อรา ยีสต์
การตรวจด้วยตาเปล่า ( Macroscopic examination ) • สี CSF ที่ผิดปกติ เช่น มีสีเหลืองใส เนื่องจาก Bilirubin และสารที่ได้จากการสลายตัวของ Hemoglobin • สีของน้ำไขสันหลังที่มีเลือดปน จะมีสีแดง ชมพู เหลือง • CSF มีเลือดปน อาจเกิดจากการเจาะ • มี Lipid-like substance ปน ซึ่งอาจจะเป็นผลจากมีการทำลายของเนื้อสมอง
การตรวจด้วยตาเปล่า ( Macroscopic examination ) • CSF แข็งตัว ( Clotted ) เมื่อตั้งทิ้งไว้ เนื่องจากมี protein พวก Fibrinogen สูงหรือมีเลือดปนมาก
การตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ ( Microscopic examination ) ประกอบด้วย • การนับเซลล์ ( Cell count ) • การนับแยกชนิดของเม็ดเลือกขาว ( WBC differencial cell count )
การนับเซลล์ ( Cell count ) • ควรทำทันทีอย่างช้าไม่เกิน 1 ชั่วโมงหลังเจาะ มิฉะนั้นเซลล์จะเริ่มแตกทำให้การนับค่าผิดพลาดไปได้
การนับเซลล์ ( Cell count ) • จะนับจำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาวและเซลล์เม็ดเลือดแดง
การรายงานผลการตรวจวิเคราะห์การรายงานผลการตรวจวิเคราะห์ • รายงานผลการตรวจวิเคราะห์เป็นจำนวนเซลล์ เม็ดเลือดขาวที่นับได้ ( cells/cu.mm ) • รายงานผลการตรวจวิเคราะห์เป็นจำนวนเซลล์ เม็ดเลือดแดงที่นับได้ ( cells/cu.mm )
การนับแยกชนิดของเม็ดเลือดขาว( WBC differential ) เป็นการทดสอบที่สำคัญมาก เพราะจะช่วยบอกพยาธิสภาพต่าง ๆ
ผลการตรวจวิเคราะห์ • ปกติ 60 – 100% จะเป็นเซลล์พวก Lymphocyte , Monocyte • เซลล์ปกติที่จะไม่พบใน CSF ได้แก่ Neutrophil , Eosinophil • ถ้าพบเซลล์เหล่านี้อาจเกิดจาก Minigitis , Helminthic parasites, การอักเสบ ติดเชื้อ
การตรวจทางเคมี ประกอบด้วย - การตรวจหา Protein ค่าปกติประมาณ 20 – 50 มก./ดล. - การตรวจหา Glucose
การตรวจทางเคมี - การตรวจหา Protein ค่าปกติประมาณ 20 – 50 มก./ดล.
การตรวจทางเคมี การตรวจหา Glucose • ควรทำควบคู่กับการตรวจระดับน้ำตาลในพลาสมาด้วยกันนเสมอ • ระดับน้ำตาลที่สูงกว่าปกติไม่มีนัยสำคัญ เนื่องจากอาจเป็นผลกระทบจากปริมาณน้ำตาลในพลาสมาที่สูงขึ้น
การตรวจอื่น ๆ • การย้อมเชื้อโรค และการเพาะเชื้อ • ควรทำทุกรายเมื่อพบว่า CSF มีเม็ดเลือดขาวมากกว่าปกติ
น้ำไขข้อ ( Synovial fluid ) • เป็นของเหลวเหนียวข้นที่พบอยู่ในข้อต่อตามส่วนต่างๆของร่างกาย • ทำหน้าที่ช่วยลดการกระแทกของข้อต่อ
Effusion • ร่างกายคนเราโดยปกติอวัยวะภายในทั้งหลายจะมีเยื่อ connective tissue หุ้มอยู่คล้ายเป็นถุง ซึ่งด้านในจะมีเซลล์บุ • การที่อวัยวะภายในมีเยื่อหุ้มไว้นี้ ทำให้เกิดลักษณะเป็น cavity ซึ่งแบ่งเป็น 3 ส่วนใหญ่ ๆ ที่สำคัญ ได้แก่ • Pericardial cavity ( ช่องหัวใจ ) • Pleural cavity ( ช่องปอด ) • Peritoneal cavity ( ช่องท้อง )
Effusion • ในแต่ละ cavity จะมีของเหลวอยู่น้อยมาก เพียงพอที่จะช่วยให้อวัยวะภายในเคลื่อนไหวได้สะดวกเท่านั้น • โดยของเหลวในแต่ละ cavity จะมีปริมาณ ดังนี้ • Pericardial cavity มีประมาณ 20-50 มล. • Pleural cavity มีประมาณ 30 มล. • Peritoneal cavity มีประมาณ 100 มล.
Effusion ถ้ามีพยาธิสภาพใดก็ตาม มีผลทำให้มีของเหลวผ่านเข้ามาในช่องว่างเหล่านี้เพิ่มขึ้น จะเกิดการสะสมปริมาณของของเหลวเพิ่มขึ้นจนเกินปริมาณปกติ เรียกว่า การเกิด Effusion
Effusion • ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า Effusion คือ สารน้ำหรือของเหลวที่ซึมผ่านนเข้าไปใน cavity ต่าง ๆ ของร่างกาย • เราเรียก Effusion ตามตำแหน่งที่เกิดขึ้นดังนี้ - Pericardial effusion - Pleural effusion - Peritoneal effusion( Ascites )
Effusion • น้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด ( Pleural effusion ) • น้ำในช่องเยื่อหุ้มหัวใจ ( Pericardial effusion ) • น้ำในช้องท้อง ( Peritoneal effusion , Ascites )
น้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด ( Pleural effusion ) • น้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด ( Pleural effusion ) เกิดจากการอักเสบของเนื้อปอดลามออกมาถึงเยื่อหุ้มปอด • จำนวนน้ำมีได้ตั้งแต่เล็กน้อยจนถึงมาก • ถ้ามีไม่มากก็อาจหายเองได้ • ในรายที่มีจำนวนมากจนทำให้เกิดอาการหอบจะต้องทำการรักษาโดยการเจาะดูดเอาน้ำออก