1 / 84

สัปดาห์ที่ 2

สัปดาห์ที่ 2. 502101 เคมีสำหรับวัสดุวิศวกรรมและกระบวนการเปลี่ยนแปลง. ผู้เตรียม : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิทวัส แจ้งเอี่ยม ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์. ตารางธาตุ.

Download Presentation

สัปดาห์ที่ 2

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. สัปดาห์ที่ 2 502101 เคมีสำหรับวัสดุวิศวกรรมและกระบวนการเปลี่ยนแปลง ผู้เตรียม : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.วิทวัส แจ้งเอี่ยม ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์

  2. ตารางธาตุ • ตารางธาตุ (Periodic Table) หมายถึง ตารางที่นักวิทยาศาสตร์ได้รวบรวมธาตุต่างๆ เข้าเป็นหมวดหมู่จัดตามลักษณะหรือสมบัติที่คล้ายคลึงกัน • ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบธาตุมากกว่า 110 ธาตุ จากการที่ได้ค้นพบธาตุจำนวนมากจึงยากที่จะศึกษาและจดจำสมบัติของธาตุต่างๆ ได้ทั้งหมด เพื่อความสะดวกในการศึกษาและจดจำสมบัติต่างๆ ของธาตุนักวิทยาศาสตร์จึงจัดธาตุต่างๆ ที่มีสมบัติ คล้ายคลึงกันให้อยู่ในหมวดหมู่เดียวกัน

  3. การแบ่งประเภทของธาตุ

  4. ตารางธาตุในปัจจุบัน • ตารางธาตุในปัจจุบัน เรียงตาม เลขอะตอม โดยแบ่งเป็น 1. หมู่หลัก (Main Group) หรือหมู่ A จะมี 8 หมู่ และ 2. หมู่ B หรือ Transition มี 8 หมู่ • ส่วนคาบ (Period) จะแบ่งเป็น 7 คาบ • เลขอะตอมเกิน 83 จัดว่าเป็นธาตุกัมมันตรังสี

  5. ตารางธาตุ • ธาตุในหมู่ A เดียวกัน จะมีสมบัติที่คล้ายคลึงกัน หมู่ IA, IIA, IIIA จะมีความเป็นโลหะ หมู่ IVA ถึง VIIIA จะมีความเป็นอโลหะเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันในหมู่เดียวกันจะมี Valent e-เท่ากัน และเท่ากับลำดับที่ของหมู่ ยกเว้น He = 2 แต่อยู่หมู่ 8 • ความเป็นโลหะในหมู่เดียวกันจะเพิ่มขึ้น เมื่อเลขอะตอมเพิ่มขึ้น แต่ความเป็นอโลหะจะลดลง • ความเป็นโลหะ : การให้ e-ได้ดี (ค่า IE1น้อย) • ความเป็นอโลหะ : การรับ e-ได้ดี (ค่า EN สูง) *IE1และ EN นิสิตจะเรียนในสไลด์ต่อไป

  6. ตารางธาตุ • ธาตุที่อยู่ในคาบเดียวกันจะมีระดับพลังงานเท่ากันเลขคาบเท่ากับจำนวนระดับพลังงาน (n) ( 2 ระดับ = คาบที่ 2 ) • ในคาบเดียวกันจะมีสมบัติที่แตกต่างกัน หรือแปรเปลี่ยนไปตามหมู่ของธาตุ

  7. ตารางธาตุ • สำหรับธาตุ 2 แถวล่างมีเลขอะตอม ตั้งแต่ 58 – 71 คือ Ce (Cerium)  Lu (Lutelium) เรียกกลุ่มธาตุแลนทาไนด์(Lanthanides) • และตั้งแต่ 90 – 103 คือ Th (Thorium)  Lr (Lawrencium) เรียกว่า กลุ่มธาตุแอคทีไนด์ (Actinides) ธาตุทั้ง 2 กลุ่มนี้แยกจากหมู่ 3B ในคาบที่ 6 และ 7 ตามลำดับ เรียกรวมๆ ว่า กลุ่มธาตุ Inner Transition Elements

  8. ตารางธาตุ • นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบธาตุเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก บางครั้งธาตุชนิดเดียวกันถูกค้นพบโดยนักวิทยาศาสตร์หลายคน จึงมีชื่อเรียกที่แตกต่างกัน • องค์การนานาชาติทางเคมี (International Union of Pure and Applied Chemistry, IUPAC) ได้ตกลงกันให้เรียกชื่อที่มีเลขอะตอมตั้งแต่ 100 ขึ้นไป เป็นภาษาละติน และลงท้ายเสียงของธาตุเป็นiumและให้เขียนสัญลักษณ์ตามตัวอักษรตัวแรกของจำนวนนับแต่ละตัวมารวมกัน

  9. การจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม (Electron configuration) • อิเล็กตรอนที่โคจรอยู่รอบนิวเคลียสจะอยู่เป็นชั้นๆ คล้ายระบบสุริยะจักรวาล โดยมีนิวเคลียสเป็นศูนย์กลาง การจัดเรียงอิเล็กตรอนในชั้นต่างๆ มีหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ • ต้องทราบจำนวนอิเล็กตรอนในอะตอมของธาตุโดยใช้เลขอะตอม • จัดอิเล็กตรอนลงในระดับพลังงานชั้นที่หนึ่ง n = 1 ให้เต็มก่อน จึงจะจัดลงในระดับพลังงานชั้นที่สอง n = 2 ถ้ายังเหลืออิเล็กตรอนจะต้องจัดลงในชั้นต่อไปเรื่อยๆ • อิเล็กตรอนที่มีได้ในแต่ละชั้น หรือ แต่ละระดับพลังงาน (n) หาได้จากสูตร

  10. 2n2 (ตามแบบอะตอมของ Bohr) 2(1)2 = 2 ชั้นที่หนึ่ง n =1 สามารถบรรจุอิเล็กตรอนได้ 2(2)2 = 8 ชั้นที่สอง n =2 สามารถบรรจุอิเล็กตรอนได้ 2(3)2 = 18 ชั้นที่สาม n =3 สามารถบรรจุอิเล็กตรอนได้ 2(4)2 = 32 ชั้นที่สี่ n =4 สามารถบรรจุอิเล็กตรอนได้

  11. การจัดตัวของอิเล็กตรอนในอะตอมของธาตุบางชนิดการจัดตัวของอิเล็กตรอนในอะตอมของธาตุบางชนิด

  12. ตารางแสดงระดับพลังงานและจำนวนอิเล็กตรอนที่มีได้เต็มที่ในแต่ละระดับพลังงานตารางแสดงระดับพลังงานและจำนวนอิเล็กตรอนที่มีได้เต็มที่ในแต่ละระดับพลังงาน

  13. ชั้นที่ 1 (Shell 1) ชั้นที่ 1 (Shell 1) ชั้นที่ 2 (Shell 2) ชั้นที่ 2 (Shell 2) ชั้นที่ 3 (Shell 3) 32 3Li= 2,1 16S= 2,8,6 18 คาบ 2 หมู่ 1 วาเลนซ์อิเล็กตรอน 1 คาบ 3 หมู่ 6 วาเลนซ์อิเล็กตรอน 6 8 2

  14. จงจัดเรียงอิเล็กตรอนของอะตอมต่อไปนี้จงจัดเรียงอิเล็กตรอนของอะตอมต่อไปนี้ • 20Ca = 2,8,8,2 • 38Sr = 2,8,18,8,2 • 17Cl = 2,8,7 • 54Xe = 2,8,18,18,8 • 35Br = 2,8,18,7 • 55Cs = 2,8,18,18,8,1 • 13Al = 2,8,3 • 32Ge = 2,8,18,4 • 19K = 2,8,8,1 • 7N = 2,5 • 20Ca = • 38Sr = • 17Cl = • 54Xe = • 35Br = • 55Cs = • 13Al = • 32Ge = • 19K = • 7N =

  15. การจัดอิเล็กตรอนในระดับพลังงานย่อยSub-shell , Orbital จากการเสนอแบบจำลองอะตอมในปัจจุบันนี้ว่า มีลักษณะเป็นกลุ่มหมอก และจากการคำนวณพลังงานของ e- ในระดับสูงต่อไป พบว่า e-ไม่ได้จัดเป็นชั้น (Shell)อย่างที่โบร์เสนอไว้ หลักความไม่แน่นอนของไฮเซนเบิร์ก: เราไม่สามารถบอกตำแหน่งและระดับพลังงานที่แน่นอนของ e- ได้พร้อมกัน e- ถูกจัดอยู่ในรูปแบบ ออร์บิทัล (Orbital)โดยมีข้อกำหนดว่าจำนวน e-ในแต่ละออร์บิทัลจะมีได้ ไม่เกิน 2e-และมีรูปร่างแตกต่างไปตามความหนาแน่นของ e-ดังนี้ 15

  16. ออร์บิทัล (Orbital) S p d f subshells ระดับวงย่อย s เริ่มตั้งแต่ชั้นแรก (n=1),จึงมี 1 วงย่อยและมี e-=2 e- ระดับวงย่อย p เริ่มตั้งแต่ชั้นที่สอง (n=2),จึงมี 3 วงย่อยและมี e-=6e- ระดับวงย่อย d เริ่มตั้งแต่ชั้นที่สาม (n=3),จึงมี 5 วงย่อยและมี e-=10e- ระดับวงย่อย f เริ่มตั้งแต่ชั้นที่สี่ (n=4),จึงมี 7 วงย่อยและมี e-=14e-

  17. 14 e n = 4 n = 3 n = 2 n = 1 4f 10 e 4d 6 e 4p Energy 3d 10 e 2 e 4s 3p 6 e 2 e 3s 6 e 2p 2 e 2s 2 e 1s จำนวน e- ในแต่ละ subshell = {(2n-1)+1} x 2

  18. รูปร่างออร์บิทัล s p และ d

  19. โปรตอนนิวตรอนอิเล็กตรอนโปรตอนนิวตรอนอิเล็กตรอน S ออร์บิทัล(orbital)(มีอิเล็กตรอนสูงสุด 2 ตัว)

  20. โปรตอนนิวตรอนอิเล็กตรอนโปรตอนนิวตรอนอิเล็กตรอน P ออร์บิทัล(orbital) (อิเล็กตรอนสูงสุด 6 ตัว)

  21. d ออร์บิทัล (orbitals) z z z z d d d d d xy xz z2 x2-y2 yz x x y x x y y y z x y 5 แบบ x 2; d orbital มี 10 e-

  22. การจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอมการจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม • ใช้หลักอาฟบาว (Aufbau principle) ในจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม ซึ่งสรุปได้ดังนี้ • ในแต่ละออร์บิทัลจะบรรจุอิเล็กตรอนได้อย่างมากที่สุด 2 ตัว (มีสปินต่างกัน) • ใช้เครื่องหมาย   แทนอิเล็กตรอนที่มีสปินขึ้น (spin up) • ใช้เครื่องหมาย   แทนอิเล็กตรอนที่มีสปินลง (spin down) • ใช้เครื่องหมาย   แทนอิเล็กตรอนเดี่ยวในออร์บิทัล • ใช้เครื่องหมาย   แทนอิเล็กตรอนคู่ในออร์บิทัล

  23. 2. บรรจุอิเล็กตรอนในออร์บิทัลที่มีระดับพลังงานต่ำสุดที่ยังว่างก่อน (เรียงลำดับออร์บิทัลตามลูกศรในรูป) จนครบจำนวนอิเล็กตรอนทั้งหมดในอะตอมนั้น การจัดเรียงอิเล็กตรอนแบบนี้จะทำให้อะตอมมีสถานะเสถียรที่สุดเพราะพลังงานรวมทั้งหมดของอะตอมมีค่าต่ำสุด • 1s - - - ระดับพลังงานที่ต่ำ • 2s 2p - - • 3s 3p 3d - • 4s 4p 4d 4f • 5s 5p 5d 5f • 6s 6p 6d 6f • 7s 7p 7d 7fระดับพลังงานที่สูง

  24. 3. การบรรจุอิเล็กตรอนในออร์บิทัลที่มีระดับพลังงานเท่ากันเช่นออร์บิทัล d จะใช้ กฎของฮุนด์ (Hund's rule) คือ"การบรรจุอิเล็กตรอนในออร์บิทัลที่มีระดับพลังงานเท่ากัน จะบรรจุในลักษณะที่ทำให้มีอิเล็กตรอนเดี่ยวมากที่สุด" 4.บรรจุอิเล็กตรอนที่ทุกๆออร์บิทัล มีระดับพลังงานเป็น degenerate (ระดับพลังงานเท่ากัน) ทุกออร์บิทัลอาจมีอิเล็กตรอนอยู่เต็ม (2 อิเล็กตรอนต่อ 1 ออร์บิทัล) หรือมีอิเล็กตรอนอยู่เพียงครึ่งเดียว (1 อิเล็กตรอนต่อ 1 ออร์บิทัล)

  25. 1S 2S 2P 3S แบบฝึกหัด : การจัดเรียงอิเล็กตรอน อะตอม 1H 2He 3Li 4Be

  26. 1S 2S 2P 3S แบบฝึกหัด : การจัดเรียงอิเล็กตรอน อะตอม 5B 6C 7N 8O

  27. Ne : 1s2, 2s2, 2p6 เรียกว่า การบรรจุเต็ม N :  1s2, 2s2, 2p3 เรียกว่า การบรรจุครึ่ง

  28. โครงแบบอิเล็กตรอนแบบบรรจุเต็มจะเสถียรกว่าแบบบรรจุครึ่ง และแบบบรรจุครึ่งก็จะเสถียรกว่าแบบอื่นๆ เช่น 2p6 เสถียรกว่า 2p3 2p3เสถียรกว่า 2p4 3d10เสถียรกว่า 3d9 • 26Fe1s2 2s2 2p6 3s2 3p6 4s2 3d6 • 2 8 14 2 ตัวอย่าง = [Ar]4s23d6 เมื่อเกิดเป็นสารประกอบ Fe2+ =>1s2 2s2 2p6 3s2 3p6 3d6 Fe3+=> 1s2 2s2 2p6 3s2 3p6 3d5

  29. เพื่อให้การแสดงการจัดเรียงอิเล็กตรอนของอะตอมของธาตุที่มีจำนวนอิเล็กตรอนอยู่มากกระชับขึ้น เราอาจย่อให้สั้นลงโดยใช้สัญลักษณ์ของก๊าซเฉื่อยเป็นสัญลักษณ์แก่น (Core symbol) ดังนี้ [He] = 1s2 [Ne] = 1s22s2 2p6 [Ar] = 1s2 2s2 2p63s2 3p6 [Kr] = 1s2 2s2 2p6 3s2 3p64s2 3d104p6 [Xe] = 1s2 2s2 2p6 3s2 3p6 4s2 3d10 4p65s2 4d105p6 [Rn] = 1s2 2s2 2p6 3s2 3p6 4s2 3d10 4p6 5s2 4d10 5p66s2 4f14 5d106p6

  30. ยังมีธาตุบางชนิดที่มีการจัดอิเล็กตรอนไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ข้างต้น เช่น ธาตุโครเมียม หรือธาตุทองแดง เป็นต้น Cr (Z=24): [Ar] 4s1 3d5 [Ar] __ 4s __ __ __ __ __ 3d Cu (Z=29): [Ar] 4s1 3d10 [Ar] __ 4s __ __ __ __ __ 3d

  31. 2. Hund principle การจัดเรียงอิเล็กตรอนในออร์บิทัลแบบที่เสถียรที่สุดคือ แบบที่มีสปินขนานกันจำนวนมากที่สุด (กระจายมากที่สุด)    3. Pauli exclusionprinciple แต่ละออร์บิทัลสามารถรับอิเล็กตรอนได้อย่างมาก 2 ตัว และอิเล็กตรอนทั้งสองตัวนี้จะต้องมีสปินตรงกันข้าม หรือมีเลขควอนตัม ต่างกัน

  32. ลำดับความเสถียรของอิเล็กตรอนลำดับความเสถียรของอิเล็กตรอน complete filling > halffilling > incompletefilling เสถียรกว่า เสถียรกว่า

  33. 33

  34. สมบัติของธาตุตามหมู่และตามคาบสมบัติของธาตุตามหมู่และตามคาบ ขนาดอะตอม (Sizes of Atoms) รัศมีไอออน (Ionic Radius) พลังงานไอออไนเซชัน (Ionization Energy, IE) สัมพรรคภาพอิเล็กตรอน (Electron Affinity, EA) อิเล็กโตรเนกาติวิตี (Electronegativity, EN) จุดเดือดและจุดหลอมเหลว(Boiling Point and Melting point) เลขออกซิเดชัน (Oxidation Number)

  35. แรงดึงดูดของนิวเคลียส(Zeff) บ่งบอกถึงอิเล็กตรอนที่อยู่ในชั้นนอกสุดว่าสามารถถูกดูดโดยประจุที่นิวเคลียสได้มากน้อยเพียงใด พบว่าถ้าจำนวนอิเล็กตรอนมากขึ้น แรงดึงดูดของนิวเคลียสจะมากขึ้นด้วย ทำให้ Zeffมากขึ้น Element Al Si P S Cl Ar Atomic No 13 14 15 16 17 18 Zeff 1+ 2+ 3+ 4+ 5+ 6+ Effective nuclear charge

  36. ขนาดอะตอม

  37. ธาตุในคาบเดียวกัน เมื่อเลขอะตอมเพิ่มขึ้น ขนาดอะตอมจะเล็กลง เนื่องจากธาตุในคาบเดียวกันมีจำนวนระดับพลังงานเท่ากัน แต่เมื่อเลขอะตอมเพิ่ม จำนวนโปรตอนจะเพิ่มขึ้นด้วย แรงดึงดูดระหว่างนิวเคลียสกับเวเลนซ์อิเล็กตรอนเพิ่มขึ้น ขนาดจึงลดลง ขนาดอะตอม ขนาดอะตอม ในตาราง มีหน่วยเป็น pm ธาตุในหมู่เดียวกัน เมื่อเลขอะตอมเพิ่มขึ้น ขนาดอะตอมจะใหญ่ขึ้น เพราะเมื่อเลขอะตอมเพิ่มขึ้น จะมีจำนวนระดับพลังงานเพิ่มขึ้น แม้ว่าจำนวนโปรตอนจะเพิ่มขึ้นด้วยก็ตาม แต่แรงดึงดูดต่อเวเลนซ์อิเล็กตรอนมีน้อย จึงทำให้ขนาดใหญ่ขึ้น กล่าวได้ว่ากรณีนี้การเพิ่มระดับพลังงานมีผลมากกว่าการเพิ่มจำนวนโปรตอน

  38. “ไอออนของอโลหะในหมู่เดียวกัน จะมีขนาดใหญ่ขึ้นเมื่อเลขอะตอมเพิ่มขึ้น”และ “ไอออนของอโลหะในคาบเดียวกันจะมีขนาดเล็กลง เมื่อเลขอะตอมเพิ่มขึ้น” ขนาดไอออน “ไอออนของโลหะในหมู่เดียวกันจะมีขนาดใหญ่ขึ้นเมื่อเลขอะตอมเพิ่มขึ้น”และ“ไอออนของโลหะในคาบเดียวกันจะมีขนาดเล็กลงเมื่อเลขอะตอมเพิ่มขึ้น” ธาตุที่กลายเป็นไอออนบวกจะมีขนาดเล็กลง ธาตุที่กลายเป็นไอออนลบจะมีขนาดใหญ่ขึ้น

  39. Ionization Energy (IE) พลังงานที่ใช้ในการดึง e-หลุดออกจากอะตอมในสภาวะก๊าซ กลายเป็นไอออนบวกในสภาวะก๊าซ อะตอมใดมีขนาดเล็ก จะทำให้ดึง e- ออกยาก IE สูง อะตอมใดมีขนาดใหญ่ จะทำให้ดึง e- ออกง่าย IE ต่ำ

  40. Ionization Energy (IE) -We can remove any number of electrons in sequence, forming ions with greater charge -Each successively removed electron has successively greater ionization energy: First ionization energy IE1: A(g) A+(g) + e-(g) Second ionization energy IE2: A+(g) A2+(g) + e-(g) Third ionization energy IE3: A2+ A3+(g) + e-(g)

  41. Successive Ionization Energies (kJ/mol)

  42. First Ionization Energy เพิ่มขึ้น First Ionization Energy เพิ่มขึ้น ตามคาบจำนวนประจุบวกเพิ่มมากขึ้น e- ถูกดึงดูดมาอยู่ใกล้ Nu ได้มากe- หลุดยาก IE สูง ตามหมู่ระดับพลังงานมากขึ้น e- อยู่ไกล Nu มาก e- หลุดง่าย IE ต่ำ

  43. X (g) + e- X-(g) O (g) + e- O-(g) F (g) + e- F-(g) Electron Affinity(EA) คือพลังงานที่ปลดปล่อยออกมาจากการรับอิเล็กตรอนของอะตอมธาตุแล้วเกิดเป็นแอนไอออน ณ สถานะแก๊ส Electron Affinity ธาตุที่มี EA สูง จะคายพลังงานออกมามากเมื่อรับอิเล็กตรอนเข้าไป ทำให้เกิดไอออนลบที่มีความเสถียรมาก ดังนั้นค่า EA จึงใช้ทำนายความสามารถในการเป็นไอออนลบ กล่าวคือ ธาตุที่มี EA สูง จะสามารถเกิดเป็นไอออนลบได้ง่ายกว่าธาตุที่มี EA ต่ำ H = -328 kJ/mol EA = +328 kJ/mol H = -141 kJ/mol EA = +141 kJ/mol

  44. ธาตุในหมู่เดียวกัน ค่า EA เพิ่มขึ้นจากล่างขึ้นบน เพราะธาตุข้างบนมีขนาดเล็กกว่าธาตุข้างล่าง จึงมีแรงดึงดูดระหว่างประจุบวกที่นิวเคลียสกับอิเล็กตรอนที่เพิ่มเข้าในอะตอมได้มากกว่า ระยะทางจากนิวเคลียสถึงขอบเขตของอะตอมสั้นกว่าอะตอมที่มีขนาดใหญ่ที่อยู่ข้างล่างของหมู่ ธาตุข้างบนรับอิเล็กตรอนได้ดีกว่าธาตุข้างล่าง EA จึงมากกว่า Electron Affinity ธาตุในคาบเดียวกัน ค่า EA เพิ่มขึ้นจากซ้ายไปขวาของตารางธาตุ เพราะธาตุทางขวามีขนาดเล็กกว่าธาตุทางซ้าย จึงรับ e- ได้ดีกว่า e- ที่เข้ามาใหม่จะถูกดึงดูดด้วย Nucleus ได้มากกว่า EA จึงมากกว่า

  45. Electronegativity อิเล็กโตรเนกาติวิตี้ ( Electronegativity ) เป็นค่าสมบัติที่แสดงความสามารถในการดึงดูดอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะจาก Nucleus e- คู่ร่วมพันธะของอะตอมที่มีขนาดเล็ก จะได้รับแรงดึงดูดจาก Nucleus มาก  EN สูง e- คู่ร่วมพันธะของอะตอมที่มีขนาดใหญ่ จะได้รับแรงดึงดูดจาก Nucleus น้อย  EN ต่ำ

  46. Electronegativity ธาตุในคาบเดียวกัน ค่า EN จะเพิ่มขึ้นจากซ้ายไปขวาเพราะขนาดอะตอมเล็กลงทำให้ได้รับแรงดึงดูดจากนิวเคลียสมากกว่าอะตอมที่มีขนาดใหญ่ EN จึงสูงขึ้น ธาตุหมู่เดียวกัน ค่า EN จะลดลงจากบนลงล่าง เพราะขนาดอะตอมใหญ่ขึ้นทำให้นิวเคลียสมีโอกาสดึงดูดอิเล็กตรอนได้น้อยกว่าอะตอมที่มีขนาดเล็ก EN จึงต่ำลง

  47. จุดหลอมเหลวและจุดเดือดจุดหลอมเหลวและจุดเดือด ก. โลหะในหมู่เดียวกันคือ หมู่ IA , IIA, และ IIIA “จุดหลอมเหลวและจุดเดือดมีแนวโน้มลดลง เมื่อเลขอะตอมเพิ่มขึ้น”เนื่องจากความแข็งแรงของพันธะโลหะลดลง เพราะมีขนาดอะตอมใหญ่ขึ้น ข. โลหะในคาบเดียวกันคือ โลหะในหมู่ IA , IIA, และ IIIA ในคาบต่างๆ “จุดหลอมเหลวและจุดเดือดมีแนวโน้มสูงขึ้น เมื่อเลขอะตอมเพิ่มขึ้น”เนื่องจากมีพันธะโลหะที่แข็งแรงมากขึ้น ทั้งนี้เพราะอะตอมมีขนาดเล็กลงและมีจำนวนเวเลนต์อิเล็กตรอนเพิ่มขึ้น หมายเหตุสำหรับธาตุหมู่ IVA และ VA จุดหลอมเหลวและจุดเดือดมีแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงไม่ชัดเจน เนื่องจากมีโครงสร้างและแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอะตอมที่แตกต่างกัน สูง หมู่ IA หมู่IVA (โลหะ) ต่ำ

  48. จุดหลอมเหลวและจุดเดือดจุดหลอมเหลวและจุดเดือด ก.อโลหะในหมู่เดียวกันคือ หมู่ VIA , VIIA, และ VIIIA “จุดหลอมเหลวและจุดเดือดมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เมื่อเลขอะตอมเพิ่มขึ้น”เนื่องจากแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลคือแรงวันเดอร์วาลส์เพิ่มขึ้น เพราะมวลโมเลกุลและขนาดโมเลกุลเพิ่มขึ้น ข. อโลหะในคาบเดียวกันคือ อโลหะ หมู่ VA, VIA , VIIA, และ VIIIA “จุดหลอมเหลวและจุดเดือดมีแนวโน้มลดต่ำลงเมื่อเลขอะตอมเพิ่มขึ้น” เนื่องจากแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลคือ แรงวันเดอร์วาลส์มีค่าลดลง เพราะขนาดของโมเลกุลเล็กลง โดยเฉพาะก๊าซเฉื่อยเป็นก๊าซประเภทโมเลกุลเดี่ยว และมีขนาดเล็ก มีจุดหลอมเหลวและจุดเดือดต่ำมาก หมู่ VA หมู่VIIIA ต่ำ (อโลหะ) สูง

  49. Oxidation Number เลขออกซิเดชัน เป็นตัวเลขเพื่อแสดงค่าประจุไฟฟ้าหรือประจุไฟฟ้าสมมติของไอออนหรืออะตอมของธาตุ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเลขจำนวนเต็มรวมทั้งศูนย์และอาจมีเครื่องหมายเป็นบวกหรือลบก็ได้ การกำหนดค่าเลขออกซิเดชัน มีกฎดังนี้ คือ 1. อะตอมของธาตุต่าง ๆ ในสภาวะอิสระ ไม่ว่าจะอยู่ในรูปที่เป็นอะตอมเดียว หรือโมเลกุล จะมีเลขออกซิเดชันเท่ากับศูนย์ เช่น Na, Be, He, O2, S8 2. ไอออนที่มีอะตอมเดี่ยวเลขออกซิเดชันจะมีค่าเท่ากับประจุของไอออนนั้น เช่น Na+ มีเลขออกซิเดชัน เท่ากับ +1 Be2+ มีเลขออกซิเดชัน เท่ากับ +2 O2- มีเลขออกซิเดชัน เท่ากับ -2 3. เลขออกซิเดชันของโลหะอัลคาไล (หมู่ IA) และโลหะอัลคาไลน์เอิร์ท (หมู่ IIA) ในสารประกอบต่าง ๆ มีค่าเท่ากับ +1 และ +2 ตามลำดับ

  50. Oxidation Number • 4. เลขออกซิเดชันของออกซิเจนในสารประกอบส่วนมากมีค่าเท่ากับ -2 ยกเว้น • สารประกอบเปอร์ออกไซด์ เช่น H2O2 และ Na2O2 ออกซิเจนมีเลขออกซิเดชัน -1 • สารประกอบซุปเปอร์ออกไซด์ เช่น KO2  ออกซิเจนมีเลขออกซิเดชัน -1/2 • สารประกอบ OF2  ออกซิเจนมีเลขออกซิเดชัน +2 • 5. เลขออกซิเดชันของไฮโดรเจนในสารประกอบส่วนมากมีค่าเท่ากับ +1 ยกเว้นในสารประกอบพวกไฮไดรด์ไอออนิก ซึ่งไฮโดรเจนมีค่าเลขออกซิเดชันเท่ากับ -1 เช่น LiAlH4 และ NaBH4 • 6. ผลรวมทางพีชคณิตของเลขออกซิเดชันของอะตอมทั้งหมดในสูตรเคมีใด ๆ จะมีค่าเท่ากับประจุสำหรับกลุ่มของอะตอมที่เขียนแสดงในสูตรนั้น ๆ เช่น ผลรวมของเลขออกซิเดชันของ KMnO4 เท่ากับ 0 ผลรวมของเลขออกซิเดชันของ NO3- เท่ากับ -1

More Related