40 likes | 157 Views
Doctor of Philosophy Program in Biopharmaceutical Sciences. Faculty of Pharmaceutical Sciences Chulalongkorn University. สาขาวิชาเภสัชศาสตร์ชีวภาพ.
E N D
Doctor of Philosophy Program in Biopharmaceutical Sciences Faculty of Pharmaceutical Sciences Chulalongkorn University
สาขาวิชาเภสัชศาสตร์ชีวภาพสาขาวิชาเภสัชศาสตร์ชีวภาพ • การเสาะแสวงหา และพัฒนายาขึ้นในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้เหมาะสมและสะดวกในการใช้ในการบำบัดบรรเทา พิเคราะห์โรค ป้องกันและส่งเสริมสุขภาพ การศึกษาทางพิษวิทยาของยาและสารพิษซึ่งอาจส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ จำเป็นต้องอาศัยบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถอย่างสูง จากความสำคัญนี้ จึงได้เปิด หลักสูตร วท.ด. (เภสัชศาสตร์ชีวภาพ) เพื่อสร้างบุคลากรที่มีคุณภาพเหล่านี้ขึ้นภายในประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อ : 1. ผลิตวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาเภสัชศาสตร์ชีวภาพ ที่มีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญทั้งทางด้านวิชาการและการวิจัยในระดับนานาชาติ 2. สร้างงานวิจัยขั้นสูง ที่กอปรด้วยคุณภาพในสาขาเภสัชศาสตร์ชีวภาพ เพื่อพัฒนาวิชาการสาขานี้ในประเทศให้เท่าเทียมกับนานาประเทศตลอดจนสามารถนำไปประยุกต์ใช้และถ่ายทอดให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมหรืออุตสาหกรรมได้
การจัดการเรียนการสอน • เป็นหลักสูตรบูรณาการโดยคณาจารย์ผู้มีความรู้ความสามารถสูงของภาควิชาเภสัชวิทยา ภาควิชาสรีรวิทยา และภาควิชาชีวเคมี ซึ่งมีศักยภาพสูงทั้งทางด้านบุคลากรและเครื่องมือต่างๆ โดยทำการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ เภสัชวิทยา ประสาทวิทยาศาสตร์ พิษวิทยา การศึกษาทางเคมีและฤทธิ์ทางชีวภาพของชีวโมเลกุล การศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของสมุนไพรหรือสารสังเคราะห์ การศึกษาด้านชีวโมเลกุลของยาต้านมะเร็งและยาต้านไวรัส และอื่นๆเนื่องจากมีการสนับสนุนจากหน่วยปฏิบัติการวิจัยต่างๆ รวมทั้งการสร้างเครือข่ายงานวิจัยของคณาจารย์ในหลักสูตรฯ ทั้งภายในประเทศและรวมถึงความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก ทั้งในสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และญี่ปุ่น โดยมีการทำโครงการวิจัยร่วมและการแลกเปลี่ยนทั้งในระดับอาจารย์และนิสิตกันอย่างต่อเนื่อง โดยมีทุนการศึกษาหลายประเภท • จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร • สำหรับผู้สำเร็จปริญญาตรี 72 หน่วยกิต (วิทยานิพนธ์ 48 หน่วยกิต) • สำหรับผู้สำเร็จปริญญาโท 60 หน่วยกิต (วิทยานิพนธ์ 48 หน่วยกิต)
คุณสมบัติของผู้สมัครและการคัดเลือกคุณสมบัติของผู้สมัครและการคัดเลือก • คุณสมบัติของผู้สมัคร • สำเร็จปริญญาบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชศาสตร์ หรือสาขาอื่นที่เทียบเท่า และได้รับเกียรตินิยมอันดับสองหรือเทียบเท่าขึ้นไปหรือ • สำเร็จปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชศาสตร์หรือเทียบเท่า • การคัดเลือก • สอบข้อเขียนวิชาเภสัชวิทยา ชีวเคมี และสรีรวิทยา • สอบสัมภาษณ์ • จำนวนนิสิตที่รับ 5 คน/ปี สนใจขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ รศ.ดร.ธงชัย สุขเศวต ภาควิชาสรีรวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โทร. 02-218 8339 e-mail: sthongch@chula.ac.th