480 likes | 1k Views
บทที่ 4 เทคโนโลยีระบบเครือข่ายท้องถิ่น. 4 .1 ระบบเครือข่ายท้องถิ่น 4 .1.1 อีเธอร์เน็ต (Ethernet) 4 .1.2 โทเคนริง (Token Ring) 4 .1.3 เอฟดีดีไอ (FDDI) 4.1.4 แลนไร้สาย ( Wireless LAN ) 4 .2 อีเธอร์เน็ต (Ethernet) 4.2.1 สถาปัตยกรรม IEEE 802.3 อีเธอร์เน็ต 4.2.2 ดาต้าลิงค์เลเยอร์
E N D
บทที่ 4 เทคโนโลยีระบบเครือข่ายท้องถิ่น • 4.1 ระบบเครือข่ายท้องถิ่น • 4.1.1 อีเธอร์เน็ต (Ethernet) • 4.1.2 โทเคนริง (Token Ring) • 4.1.3 เอฟดีดีไอ (FDDI) • 4.1.4 แลนไร้สาย (Wireless LAN) • 4.2 อีเธอร์เน็ต (Ethernet) • 4.2.1 สถาปัตยกรรม IEEE 802.3 อีเธอร์เน็ต • 4.2.2 ดาต้าลิงค์เลเยอร์ • 4.2.3 เฟรมข้อมูลของอีเธอร์เน็ต • 4.2.4 โปรโตคอล CSMA/CD • 4.2.5 อุปกรณ์เครือข่ายอีเธอร์เน็ต • 4.3 ระบบปฏิบัติการเครือข่าย (NOS : Network Operating System)
บทที่ 4 เทคโนโลยีระบบเครือข่ายท้องถิ่น • ลักษณะสำคัญ LAN คือ ครอบคลุมพื้นที่จำกัด • จากการแบ่งประเภทระบบเครือข่ายด้วยระยะทางเทเนนบาม (2542) ได้กำหนดเครือข่ายท้องถิ่นว่า มีระยะตั้งแต่ 1 เมตร จนถึง 1 กิโลเมตร เป็นเครือข่ายในสำนักงาน ในหน่วยงาน ในอาคารเดียวกัน ในอาคารที่ใกล้กัน • เกือบทุกๆ เครือข่ายมักจะมีเครือข่ายท้องถิ่นเป็นส่วนประกอบ คอมพิวเตอร์สองเครื่องเชื่อมต่อ ไปจน มีคอมพิวเตอร์เป็นพันๆ เครื่อง มีอุปกรณ์เครือข่ายอื่นๆ อีกเป็นจำนวนมาก
4.1 ระบบเครือข่ายท้องถิ่น • เทคโนโลยีที่ใช้ในระบบเครือข่ายท้องถิ่น • อีเธอร์เน็ต (Ethernet) • โทเคนริง (Token Ring) • เอฟดีดีไอ (FDDI) • ไวร์เลสแลน (Wireless LAN) • การศึกษาเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อประโยชน์ในการเปรียบเทียบ และเข้าใจหลักการทำงานของเครือข่าย • เทคโนโลยีที่เป็นที่นิยมใช้ในปัจจุบัน คือ อีเธอร์เน็ต (Ethernet) ซึ่งเทคโนโลยีอีเธอร์เน็ตก็มีการจำแนกได้เป็นหลายประเภทย่อย ตามความเร็ว ภูมิลักษณะ (Tology) และสายสัญญาณที่ใช้ • เทคโนโลยีเครือข่ายท้องถิ่นแต่ละประเภทมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน การเลือกใช้ควรให้เหมาะกับลักษณะการใช้งานขององค์กร
คำถาม • ลักษณะที่สำคัญของ LAN คือ • ถ้าใช้ระยะทางเป็นเครื่องแบ่ง LAN มีระยะทางเท่าใด • เทคโนโลยีที่ใช้ใน LAN • อีเธอร์เน็ต (Ethernet) การจำแนกได้เป็น • หลายประเภทย่อย • ตามความเร็ว • ภูมิลักษณะ (Topology) • สายสัญญาณที่ใช้
4.1.1 อีเธอร์เน็ต (Ethernet) • เป็นที่ยอมรับว่า เป็นเทคโนโลยีที่นิยมมากที่สุด (ใช้ในทุกเครือข่าย) • มีการใช้งานมากว่า 30 ปี มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ยากที่จะพัฒนาเทคโนโลยีใหม่มาแทนที่ได้ • พัฒนาและรับผิดชอบโดย IEEE • โดยสิ่งที่สำคัญในการเปลี่ยนแปลงและปรับปรุง • การเพิ่มความเร็วในการรับส่งข้อมูลหรือแบนด์วิธ (Bandwidth) • การปรับปรุงอีเธอร์เน็ตในครั้งแรก • ปรับความเร็วจาก 10 Mbps เป็น 100 Mbps • พัฒนาชั้นกายภาพใหม่ (Physical Layer) UTP Cat 3 เป็น UTP Cat 5 • ใช้ Topology จาก BUS เป็น Star • เปลี่ยนชื่อ “อีเธอร์เน็ต” เป็น อีเธอร์เน็ตความเร็วสูง (Fast Ethernet) • ปัจจุบันได้รับความนิยมเหนือ ATM (Asychronous Transfer Mode) ในระดับ LAN
อีเธอร์เน็ต (Ethernet) กับ CSMA/CD • ในสมัยแรกคำว่า "อีเธอร์เน็ต" กับ CSMA/CD หมายถึงระบบเครือข่ายชนิดเดียวกัน • เนื่องจากอีเธอร์เน็ตจะใช้โปรโตคอล CSMA/CD ในการเข้าถึงสื่อกลางในการรับส่งข้อมูล • โดยโหนดที่จะส่งข้อมูล จะต้องรอให้สายสัญญาณว่าง และหากส่งข้อมูลแล้วเกิดการชนกันของข้อมูล ก็จะต้องรอตามระยะเวลาที่กำหนด จึงจะส่งข้อมูลได้
อีเธอร์เน็ต (Ethernet) กับ CSMA/CD • ปัจจุบันอีเธอร์เน็ตได้ปรับปรุงชั้นกายภาพ พัฒนาเป็น Fast Ethernet • รับส่งข้อมูลเป็นแบบฟูลล์ดูเพล็กซ์ (Full Duplex) รับส่งได้ในเวลาเดียวกัน ไม่ต้องรอให้สายสัญญาณว่าง (คู่หนึ่งรับ อีกคู่หนึ่งส่งข้อมูล) • ใช้เทคโนโลยีสวิตชิ่ง (Switching) ขจัดปัญหาในการใช้สื่อนำสัญญาณในลักษณะกระจายสัญญาณ (Share) มาเป็นแบบรับส่งสัญญาณข้อมูลพร้อมกัน • ดังนั้นคำว่า CSMA/CD จะใช้แทนคำว่าอีเธอร์เน็ตไม่ได้อีกต่อไป
อีเธอร์เน็ต (Ethernet) กับชื่อ • เพื่อไม่ให้สับสนในการเรียกชื่อ ชื่อ ความเร็ว • อีเธอร์เน็ต 10 Mbps • อีเธอร์เน็ตความเร็วสูง 100 Mbps (Fast Ethernet) • กิกะบิตอีเธอร์เน็ต 1,000 Mbps หรือ 1 Gbps • เทนกิกะบิตอีเธอร์เน็ต 10 Gbps
ตัวอย่างการอุปกรณ์ Ethernet ที่ใช้งานทั่วไป http://www.advice.co.th/price/p_list.php3
คำถาม • Fast Ethernet แตกต่างจาก Ethernet อย่างไรบ้าง • ความเร็ว • สายสัญญาณที่ใช้ • ทิศทางในการรับส่งข้อมูล ตรวจสอบอุปกรณ์ที่ใช้งานในปัจจุบัน http://www.byxtreme.comหรือ http://www.advice.co.th
4.1.2 โทเคนริง (Token Ring) • พัฒนาโดยบริษัท IBM ในช่วงทศวรรษที่ 1970 • ปัจจุบัน ยังเป็นเทคโนโลยีหลักใน LAN ของ IBM • IEEE นำมาเป็นแบบแม่แบบ พัฒนามาตรฐาน IEEE 802.5 • คำว่า “Token Ring” จึงหมายถึงทั้งโทเคนริงของ IBMและมาตรฐาน IEEE 802.5
มาตรฐาน Token Ring ของ IBM และ IEEE ตารางเปรียบเทียบมาตรฐาน Token Ring ของ IBM และ IEEE 802.5 STP : Shield Twisted Pair,UTP : Unshield Twisted Pair ข้อกำหนดที่แตกต่างกัน : ภูมิลักษณะ สายสัญญาณ อุปกรณ์ศูนย์กลาง
Topology การเชื่อมต่อ Token Ring ของ IBM
เทคนิคการส่งข้อมูล Token Ring • การส่งต่อโทเคน (Token-Passing) เป็นเทคนิคเดียวกับเครือข่าย FDDI • เฟรมข้อมูล หรือ “โทเคน” (Token) จะส่งต่อๆ กันเป็นวงกลม • สถานีที่ได้รับโทเคนเท่านั้น จึงจะมีสิทธิ์ส่งข้อมูลไปยังในเครือข่าย • ถ้าสถานีใดได้รับโทเคน แต่ไม่มีข้อมูลที่จะส่งก็ต้องส่งโทเคนต่อไปยังสถานีถัดไป • แต่ละสถานีจะมีเวลาจำกัดในการส่งข้อมูล • ถ้าสถานีได้รับโทเคน มีข้อมูลที่จะส่ง ก็จะปรับเปลี่ยนเฟรมโทเคนเป็นเฟรมข้อมูล • แล้วส่งเฟรมข้อมูลไปยังสถานีถัดไป จนถึงสถานีปลายทาง เฟรมข้อมูลจะถูกคัดลอกไว้ • สถานีปลายทางจะใส่ข้อมูลในเฟรม เพื่อแจ้งให้สถานีส่งทราบว่าได้รับข้อมูลแล้ว • จากนั้นเฟรมจะส่งต่อๆ กันไปจนเฟรมข้อมูลกลับมาที่สถานีส่ง • เทคนิคการส่งข้อมูลแบบนี้จะป้องกันการชนกันของข้อมูล (Collision) ที่เกิดในเครือข่ายอีเธอร์เน็ต
ระบบการจัดลำดับความสำคัญ (Priority System) • เครือข่ายแบบโทเคนริง สามารถจัดลำดับความสำคัญให้กับผู้ใช้หรือสถานีที่มีความสำคัญ มีสิทธิ์ในการส่งข้อมูลได้มากกว่า • ในเฟรมของโทเคนริง จะมีฟิลด์ที่ควบคุมสิทธิพิเศษ คือ ฟิลด์ Priority และ Reservation • เมื่อสถานีที่มีสิทธิพิเศษต้องการจะส่งข้อมูล จะทำการจองโทเคน เพื่อทำการส่งในครั้งต่อไป • เมื่อสถานีนั้นส่งข้อมูลเสร็จและส่งเฟรมโทเคนกลับเข้าในเครือข่าย สถานีที่ทำการเพิ่มค่าสิทธิของเฟรม จะทำการลดค่าสิทธิของเฟรมด้วย
คำถาม • เทคโนโลยี Token Ring เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ด้วยสายสัญญาณประเภทใด • การเชื่อมต่อด้วยเทคโนโลยี Token Ring ต้องใช้อุปกรณ์ศูนย์กลางหรือไม่
4.1.3 เอฟดีดีไอ (FDDI) • เป็นเครือข่ายแบบส่งผ่านโทเคนริง • มีแบนด์วิธที่ 100 Mbps โดยใช้ Fiber Optic ต่อสถานีเป็นวงแหวนสองวง • ส่วนใหญ่จะใช้ FDDI เป็นแบ็คโบนของเครือข่าย เนื่องจาก • แบนด์วิธที่สูงกว่า • สามารถส่งข้อมูลได้ไกลกว่าสายทองแดง • ล่าสุดได้พัฒนา CDDI (Copper Distribution Data Interface) โดยใช้สายคู่บิดเกลียวแทนสายใยแก้วนำแสง แต่ยังคงใช้โปรโตคอล FDDI
4.1.4 เอฟดีดีไอ (FDDI) • ใช้สายสัญญาณเชื่อมต่อสถานีเป็นวงแหวนสองวง • ทิศทางการไหลของข้อมูลจะตรงกันข้ามกัน • วงแหวนวงหนึ่งจะทำหน้าที่เป็นเส้นทางหลักในการรับส่งข้อมูล • ส่วนวงที่สอง จะเป็นเส้นทางสำรอง เพื่อเพิ่มความเชื่อถือได้ ให้กับเครือข่าย
สายสัญญาณ FDDI • ใช้สายใยแก้วนำแสงเป็นสายสัญญาณหลัก • มีความปลอดภัยจากการถูกฟ้าฝ่า • การถูกสัญญาณรบกวนน้อยกว่า • ประสิทธิภาพในการรับส่งข้อมูลที่ไกลกว่า • Multimode ระยะทาง 2 km. • Single mode ระยะทางมากกว่า 2 km. • มาตรฐานที่ใช้สาย UTP จะเรียกว่า “CDDI” • ระยะสาย 100 ม.
มาตรฐาน FDDI • โปรโตคอล FDDI จะอยู่ในชั้นกายภาพ (Physical Layer) และชั้นเชื่อมโยงข้อมูล (Data link Layer) ของแบบอ้างอิง OSI • โปรโตคอลแบ่งเป็น 4 ส่วน สามารถทำงานร่วมกับโปรโตคอล TCP/IP ได้
4.1.4 แลนไร้สาย (Wireless LAN) • ระบบสื่อสารข้อมูลที่มีความยืดหยุ่นสูง • นิยมติดตั้งเพิ่มเติม หรือแทนที่ระบบเครือข่ายท้องถิ่นแบบใช้สายสัญญาณ • ใช้คลื่นวิทยุ หรือ RF (Radio Frequency) เป็นสัญญาณ และใช้อากาศเป็นตัวนำสัญญาณ • ปัจจุบันรับส่งข้อมูลได้ถึง 54 Mbps มากกว่า Ethernet (10 Mbps) • ประโยชน์ที่สำคัญ : ความสะดวกในการเคลื่อนย้ายคอมพิวเตอร์ • ปัจจุบันกำลังได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ โดย เฉพาะองค์กรที่ใช้คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก
ข้อดีของ Wireless LAN • ความคล่องตัว (Mobility) ในการเคลื่อนย้าย PC • ความสะดวกในการติดตั้งสายและจัดการสายสัญญาณง่าย • ประหยัดค่าใช้จ่าย : ปรับเปลี่ยนระบบโดยไม่ต้องรื้อสายสัญญาณ • ความสามารถในการขยายเครือข่าย (Scalability) : เพิ่มจุดเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ได้โดยสะดวก ง่าย
ข้อเสียของ Wireless LAN • อัตราข้อผิดพลาด (Error Rate) ระหว่างการรับส่งข้อมูลค่อนข้างสูง • โดนรบกวนจากคลื่นรบกวนทั่วไป (Noise) • เส้นทางข้อมูลหลายทาง (Multipath) • การลดทอนของสัญญาณ (Attenuation) ค่อนข้างสูง • ความปลอดภัยของข้อมูล ถูกลักลอบตรวจจับได้ง่าย • คลื่นวิทยุ ไม่สามารถกำหนดทิศทางและขอบเขตได้ • การรบกวน (Interference) • เครื่องที่อยู่ต่างเครือข่าย ก็สามารถส่งคลื่นสัญญาณได้ ซึ่งจะมีผลทำให้รบกวนการส่งข้อมูลของอีกเครือข่ายหนึ่งได้ • โทรศัพท์ไร้สาย เตาไมโครเวฟ • ส่งข้อมูลแบบกระจาย (Share) ไม่สามารถกำหนดเส้นทางได้ เกิดภาระงานการตรวจสอบข้อมูลที่ได้รับ
ภูมิลักษณะ (Topology) ของระบบแลนไร้สาย แบบเพียร์ทูเพียร์ (Peer-to-Peer) ใช้แอ็กเซสส์พอยต์ (Access Point) แบบใช้สายสัญญาณ โดยใช้แอ็กเซสส์พอยต์ (Access Point)
มาตรฐาน IEEE 802.11 • ค.ศ.1997 IEEE ประกาศมาตรฐานแรกของ WLAN • IEEE 802.11 ความเร็ว 2 Mbps ในขณะที่ IEEE 802.3 อีเธอร์เน็ต ความเร็วที่ 10 Mbps • IEEE ตั้งทีมงานพัฒนามาตรฐาน WLAN • กลุ่มแรกคือ TGa (Task Group a) พัฒนามาตรฐาน IEEE 802.11b โดยใช้ความถี่ที่ 5 GHz และสามารถรองรับข้อมูลได้ที่ 6, 9, 12, 18, 24, 36, 48, และ 54 Mbps • ข้อจำกัดคือ มาตรฐานความถี่ 5 GHz บางประเทศต้องขออนุญาตก่อนถึงจะใช้งานได้ • ทีม TGbพัฒนามาตรฐาน IEEE 802.11b โดยใช้ความถี่ 2.4 GHz โดยรองรับอัตราข้อมูล 4 อัตราคือ 1.2, 5.5 และ 11 Mbps • ข้อจำกัดคือรองรับแบนด์วิธได้สูงสุดเพียง 11 Mbps • ทีม TGg พัฒนามาตรฐาน คือ IEEE 802.11g ซึ่งใช้ความถี่ 2.4 GHz และสามารถรองรับแบนด์วิธได้ถึง 54 Mbps ตัวอย่างการนำมาตรฐานมาใช้ใน Notebookhttp://www.buyscom.com
ตัวอย่างการนำมาตรฐาน Wireless มาใช้ในอุปกรณ์ http://www.buyscom.com/cart/detail.asp?id=173
4.2 อีเธอร์เน็ต (Ethernet) • มีพัฒนาการมากว่า 30 ปี และยังคงมีการพัฒนาเพิ่มขึ้นต่อไปอีก • คิดค้นในปี ค.ศ.1972 โดย บ็อบ เม็ทคาลเฟ (Bob Metcalfe) และเพื่อนในบริษัท Xerox PARC • โครงการ "the Alto Aloha Network" ทดลองสั่งพิมพ์งานผ่านสายเคเบิล ด้วยความเร็ว 2.94 Mbps • ในช่วงแรก เป็นลิขสิทธิ์ของบริษัท Xerox • ต่อมา ปี 1980 3 บริษัท คือ DEC-Intel-Xerox ร่วมกันพัฒนาอีเธอร์เน็ตให้มีความเร็วที่ 10 Mbps • ในปี 1985 IEEE ปรับปรุงและพัฒนา และประกาศมาตรฐาน IEEE 802.3 • ทำให้บริษัทใดก็ได้สามารถผลิตอุปกรณ์อีเธอร์เน็ต โดยไม่ต้องเสียค่าลิขสิทธิ์ • จากนั้น การใช้งานอีเธอร์เน็ตจึงแพร่ไปทั่วโลกอย่างรวดเร็ว กลายเป็นที่นิยมใช้โดยทั่วไป • พัฒนาการอีเธอร์เน็ต • ระยะแรก ใช้สายโคแอ็กซ์เชียลแบบหนา (Thicknet) ต่อมาเปลี่ยนมาใช้สายโคแอ็กเชี่ยลแบบบาง (Thinnet) จากนั้นใช้สาย UTP และ Fiber Optic • ปรับปรุงความเร็วเป็น 100 Mbps และ 1000 Mbps ปัจจุบันมาตรฐานล่าสุดของอีเธอร์เน็ตอยู่ที่ 10 Gbps
ตารางมาตรฐานอีเธอร์เน็ตตารางมาตรฐานอีเธอร์เน็ต
4.2.5 อุปกรณ์เครือข่ายอีเธอร์เน็ต • ทำหน้าที่ • การรับส่งข้อมูลในเครือข่าย • ทวนสัญญาณ เพื่อให้การส่งข้อมูลได้ในระยะไกลขึ้น • ขยายเครือข่ายให้มีขนาดใหญ่ขึ้น • อุปกรณ์เครือข่ายที่พบเห็นโดยทั่วไป เช่น • ฮับ • สวิตซ์ • เราท์เตอร์
ฮับ (Hub) • บางทีเรียกว่า "รีพีทเตอร์" (Repeater) • ใช้เชื่อมต่อกลุ่มของคอมพิวเตอร์ • มีหน้าที่รับส่งเฟรมข้อมูลทุกเฟรมที่ได้รับจากพอร์ตหนึ่งไปยังทุกพอร์ตที่เหลือ ยิ่งมีคอมพิวเตอร์มากเท่าใด โอกาสในส่งข้อมูลก็จะน้อยลง • ในท้องตลาดมีฮับหลายชนิดจากหลายบริษัท ข้อแตกต่างคือ • จำนวนพอร์ต : 8 port, 16 port, 24 port • สายสัญญาณที่ใช้ : UTP, Fiber SM, Fiber MM • ประเภทของเครือข่าย : Ethernet, Fast Ethernet, Giga Ethernet • อัตราข้อมูลที่รองรับได้ (Mbps): 10/100, 10/100/1000, 1000 • ฮับที่ระบุความเร็วหลายระดับ จะทำงานในระดับความเร็วต่ำสุดของโหนดที่เชื่อมต่อ
สวิตซ์ (Switch) • ทำหน้าที่ในเลเยอร์ที่ 2 บางทีก็เรียกว่า "สวิตซิ่งฮับ" (Swiching Hub) • สวิตซ์มีความสามารถมากกว่าฮับ คือ สามารถส่งข้อมูลไปยังเฉพาะพอร์ตปลายที่เป็นปลายทางเท่านั้น พอร์ตที่เหลือสามารถส่งข้อมูลให้กับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ได้ ทำให้ไม่มีปัญหาการชนกันของข้อมูล
เลเยอร์ 3 สวิตซ์ (Layer 3 Switch) • เมื่อกล่าวถึงสวิตซ์จะหมายถึงอุปกรณ์เครือข่ายที่ทำงานในเลเยอร์ที่ 2 แต่ปัจจุบันเทคโนโลยีการผลิตอุปกรณ์เครือข่ายพัฒนาไปค่อนข้างมาก สวิตซ์บางประเภทสามารถรองรับการทำงานที่เลเยอร์ที่ 3 (Network Layer) ซึ่งอุปกรณ์เครือข่ายที่ทำงานในเลเยอร์นี้จะรู้จักในชื่อ "เราท์เตอร์" (Router) ความสามารถที่เพิ่มขึ้นของเลเยอร์ 3 สวิตซ์ คือ • เชื่อมต่อ 2 เครือข่ายที่ใช้เทคโนโลยีต่างกันได้ เช่น Ethernet, ATM, TCP/IP
ถาม • อุปกรณ์เครือข่ายของเทคโนโลยี Ethernet คือ HUB, Switch และ Router มีความสามารถในการทำงานต่างกันอย่างไร • ในแต่ละอาคารของคณะ • มีการอุปกรณ์ Ethernet แบบใดบ้าง จำนวน • แต่ละตัวสามารถให้บริการได้จำนวน .... • แต่ละอุปกรณ์ ให้บริการ PC กับภาควิชา/งาน ใด จำนวน .....
4.2.9 อีเธอร์เน็ตที่ความเร็ว 10 Mbps • มาตรฐานอีเธอร์เน็ตที่ความเร็ว 10 Mbps UTP : Unsheilded Twisted Pair MMF : Multimode Fiber Optic SMF : Single Mode Fiber Optic PPP : Point-to-Point
4.1.10 ฟาสต์อีเธอร์เน็ต (Fast Ethernet) • มาตรฐานฟาสต์อีเธอร์เน็ต
ถาม • LAN ในแต่ละอาคารของคณะ มส • ใช้เทคโนโลยีเครือข่ายท้องถิ่นแบบใด • ใช้สายสัญญาณอะไรบ้าง – ชนิดบ้างใด (ระหว่างอาคาร/ภายในอาคาร) • รับส่งข้อมูลได้ด้วยความเร็วเท่าใด (ระหว่างอาคาร/ภายในอาคาร) • ถ้าจะใช้สายใยแก้วนำแสง • จะต้องใช้ประเภทใด • มีระยะทางไกลสุดเท่าใด • รับส่งข้อมูลที่ความเร็วเท่าใด
4.2.11 กิกะบิตอีเธอร์เน็ต (Gigabit Ethernet)
คำถาม • ในอนาคต (1 ปี) เส้นทางเครือข่ายหลัก (backbone) ของมหาวิทยาลัยจะเปลี่ยนเป็น Gigabit ถ้าคณะ มส. จะปรับเปลี่ยนเครือข่ายย่อยในแต่ละอาคารให้รับส่งข้อมูลในระดับ Gigabit ด้วย จะต้องมีการปรับเปลี่ยนอะไรบ้าง • สายสัญญาณ : • สาย UTP จะต้องใช้แบบใด ส่งสัญญาณได้ไกล ... เมตร • สาย Fiber Optic จะต้องใช้แบบใด ส่งสัญญาณได้ไกล ... เมตร • อุปกรณ์ : • อุปกรณ์กระจายสัญญาณ, Lan card จะต้องปรับเปลี่ยนเป็นแบบใด
4.2.12 เทนกิกะบิต (10 Gigabit Ethernet) nm = ความยาวคลื่นหน่วยเป็น นาโนเมตร
คำถาม • การใช้สายสัญญาณแต่ละแบบใน 10 Gigabit Ethernet สามารถใช้ได้ในระยะเท่าใด • สาย UTP ใช้ได้/ไม่ได้ ระยะทาง ........... • สาย Fiber Optic • Single Mode ใช้ได้/ไม่ได้ ระยะทาง ........... • Multi Mode ใช้ได้/ไม่ได้ ระยะทาง ...........
4.2.13 ข้อจำกัดของฟาสต์อีเธอร์เน็ต • 100 Base-Tx มีข้อกำหนดเรื่องความยาวสูงสุดของสาย UTP ที่ใช้เชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์ หรือ NIC กับฮับ คือ 100 เมตร ซึ่งแยกออกเป็นแต่ละส่วนดังนี้ • 5 เมตร จากฮับไปแพทช์พาแนล (Patch Panel) • 90 เมตร จากแพทซ์พาแนลไปยังเต้าเสียบฝาผนัง โดยสายที่อยู่ในช่วงนี้จะเรียกว่า Horizontal Cabling • 5 เมตร จากเต้าเสียบฝาผนังไปยังคอมพิวเตอร์ • Switch Hub • Rack • Patch Panel • Patch cable • NIC • UTP Outlet • UTP cable
4.2.14 การออกแบบเครือข่ายขนาดใหญ่ • ในสมัยก่อนองค์กรจะมีเซิร์ฟเวอร์ที่อยู่ในวงเครือข่ายเดียวกัน มีการแชร์ไฟล์ในกลุ่มหรือการเข้าใช้บริการต่างๆ ของเซิร์ฟเวอร์ • จึงคำนวณความต้องการแบนด์วิธจะใช้หลัก 80/20 คือ • 80 เปอร์เซ็นต์ของอัตราการสื่อสารข้อมูลจะอยู่ภายในเครือข่าย • ส่วน 20 เปอร์เซ็นต์ที่เหลือจะเป็นการสื่อสารกับภายนอก • ปัจจุบันการใช้งานเครือข่ายเปลี่ยนไป โปรแกรมสมัยใหม่จะเปลี่ยนไปเป็นแบบเว็บเบส (Web-base Application) เช่น เว็บเซิร์ฟเวอร์ เมลเซิร์ฟเวอร์ ดาต้าเบสเซิร์ฟเวอร์ และเซิร์ฟเวอร์อื่นๆ • การสื่อสารในเครือข่ายสมัยใหม่ จึงใช้หลัก 20/80 คือ • 20 เปอร์เซ็นต์ของอัตราการสื่อสารข้อมูลจะอยู่ภายในเครือข่าย • ส่วน 80 เปอร์เซ็นต์ที่เหลือจะเป็นการสื่อสารกับภายนอก
4.2.14 การออกแบบเครือข่ายขนาดใหญ่ • เพื่อรองรับการสื่อสารตามกฎ 20/80 • การเชื่อมต่อเครือข่ายท้องถิ่นจะรองรับความเร็วที่ 100 Mbps ด้วยสาย UTP เชื่อมต่อแต่ละโหนดด้วยสวิตซ์ • ส่วนเครือข่ายวงกว้าง (WAN) หรือเครือข่ายแบ็คโบน ซึ่งเป็นเส้นทางหลักของเครือข่าย จะรองรับความเร็วที่ 1000 Mbps ด้วยสายใยแก้วนำแสง เนื่องจากมักจะมีระยะทางไกลเกินข้อกำหนดของสาย UTP และมักจะต้องเดินสายภายนอกอาคาร โดยเชื่อมต่อเครือข่ายย่อยๆ ที่เป็นเครือข่ายท้องถิ่นด้วยเลเยอร์ 3 สวิตซ์
ถาม • ระบบเครือข่ายภายใน (Intranet) ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ควรจะใช้กฎ 20/80 หรือ 80/20
4.3 ระบบปฏิบัติการเครือข่าย (NOS : Network Operating System) • ต่อใน File 412 754_52