580 likes | 1.15k Views
การบริหารความเสี่ยง ( Risk Management ) โดย กลุ่มงานมาตรฐานด้านการตรวจสอบภายใน กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง 15 สิงหาคม 2549. ประเด็นการบรรยาย. สภาพแวดล้อมภาครัฐ พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย
E N D
การบริหารความเสี่ยง ( Risk Management ) โดย กลุ่มงานมาตรฐานด้านการตรวจสอบภายใน กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง 15 สิงหาคม 2549
ประเด็นการบรรยาย • สภาพแวดล้อมภาครัฐ • พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 • แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย (พ.ศ. 2546 – 2550) • พ.ร.ก. ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการ บ้านเมืองที่ดี • การบริหารความเสี่ยง
กระแสสังคม เช่น • ประชาธิปไตย • ธรรมาภิบาล สังคม เศรษฐกิจเป็น ยุคแห่งการเรียนรู้ • เศรษฐกิจเสรีไร้พรมแดน • การแข่งขันในเวทีโลก ใครเรียนรู้ไม่ทันโลก ก็จะมีปัญหา สภาพแวดล้อม โลกยุคโลกาภิวัตน์ งานของรัฐมากขึ้น ยากขึ้น รัฐต้องเล็กลง ลดเงิน ลดคน ลดอำนาจ ต้องเปิดให้มีส่วนร่วม ต้องโปร่งใส พร้อมถูกตรวจสอบ
พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 มาตรา 3/1 การบริหารราชการตาม พ.ร.บ.นี้ต้องเป็นไป เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนเกิดผลสัมฤทธิ์ต่อ ภารกิจของรัฐความมีประสิทธิภาพ ความคุ้มค่าในเชิง ภารกิจแห่งรัฐ………..การอำนวยความสะดวก และ การตอบสนองความต้องการของประชาชน ทั้งนี้ โดยมี ผู้รับผิดชอบต่อผลของงาน
ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทยยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย ยุทธศาสตร์ที่ 1 การปรับเปลี่ยนกระบวนการและวิธีการทำงาน ยุทธศาสตร์ที่ 2 การปรับปรุงโครงสร้างการบริหารราชการแผ่นดิน ยุทธศาสตร์ที่ 3 การรื้อปรับระบบการเงินและการงบประมาณ ยุทธศาสตร์ที่ 4 การสร้างระบบบริหารงานบุคคลและค่าตอบแทนใหม่ ยุทธศาสตร์ที่ 5 การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ วัฒนธรรม และค่านิยม ยุทธศาสตร์ที่ 6 การเสริมสร้างระบบราชการให้ทันสมัย ยุทธศาสตร์ที่ 7 การเปิดระบบราชการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การปรับเปลี่ยนกระบวนการและ วิธีการทำงาน 1. นำระบบการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์มาประยุกต์ใช้ อย่างจริงจัง โดยให้มีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์และแผนดำเนินงาน ให้สอดคล้องและเชื่อมโยงกับนโยบาย เป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ของ รัฐบาล 2. ในแผนยุทธศาสตร์ ให้ส่วนราชการกำหนดเป้าหมายในการ เพิ่มประสิทธิภาพและยกระดับคุณภาพมาตรฐานการให้บริการ
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การปรับเปลี่ยนกระบวนการและ วิธีการทำงาน (ต่อ) 3. ปรับเปลี่ยนระบบการควบคุมภายในของส่วนราชการให้มี ความทันสมัย โดยเฉพาะการควบคุมก่อนการดำเนินงาน เช่น การบริหารความเสี่ยง 4. ปรับปรุงระบบประเมินผลการดำเนินงาน โดยจัดให้มีการ เจรจาและทำข้อตกลงว่าด้วยผลงานประจำปี ให้มีการติดตามและ ประเมินผลการดำเนินงานตามข้อตกลงดังกล่าวทุกสิ้นปี และถือเป็น เงื่อนไขส่วนหนึ่งของการให้เงินรางวัลประจำปีแก่ส่วนราชการ
พ.ร.ก. ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารบ้านเมืองที่ดี เกิดประโยชน์สุข ของประชาชน ประเมินผลการปฏิบัติ ราชการอย่างสม่ำเสมอ ผลสัมฤทธิ์ต่อ ภารกิจของรัฐ การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี มีประสิทธิภาพ และเกิดความคุ้มค่า ในเชิงภารกิจของรัฐ ประชาชนได้รับ ความสะดวก ตอบสนองความต้องการ ไม่มีขั้นตอนการปฏิบัติงาน เกินความจำเป็น ปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการ ให้ทันต่อสถานการณ์
หมวด 3 การบริหารราชการเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ มาตรา 9 ส่วนราชการต้องจัดให้มีการติดตามและประเมินผล การปฏิบัติตามแผนปฏิบัติราชการตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ที่ส่วนราชการกำหนดขึ้น ซึ่งต้องสอดคล้องกับมาตรฐาน ที่ กพร. กำหนด
หมวด 8 การประเมินผลการปฏิบัติราชการ มาตรา 45 นอกจากการจัดให้มีการประเมินผลตามมาตรา 9 (3) แล้ว ให้ส่วนราชการจัดให้มีคณะผู้ประเมินอิสระดำเนินการประเมินผล การปฏิบัติราชการของส่วนราชการเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ของภารกิจ คุณภาพการให้บริการ ความพึงพอใจของประชาชนผู้รับบริการ ความคุ้มค่าในภารกิจ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์วิธีการและระยะเวลา ที่ กพร. กำหนด
การสร้างแรงจูงใจ เพื่อเสริมสร้างการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี กรอบการประเมินผลการพัฒนาการปฏิบัติราชการ มิติที่ 1มิติด้านประสิทธิผลตามพันธกิจ แสดงผลงานที่บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมาย ตามที่ได้รับงบประมาณมาดำเนินการ เพื่อให้ เกิดประโยชน์สุขต่อประชาชนผู้รับบริการ เช่น ผลสำเร็จในการพัฒนาการปฏิบัติราชการ (1กรม/ 1 ปฏิรูป) เป็นต้น มิติที่ 2 มิติด้านประสิทธิภาพของ การปฏิบัติราชการ แสดงความสามารถในการปฏิบัติราชการ เช่น การลดค่าใช้จ่าย การลดระยะเวลา การให้บริการ และความคุ้มค่าของการใช้เงิน เป็นต้น มิติที่ 3 มิติด้านคุณภาพการให้บริการ แสดงการให้ความสำคัญกับลูกค้าในการให้ บริการที่มีคุณภาพ สร้างความพึงพอใจแก่ ผู้รับบริการ มิติที่ 4 มิติด้านการพัฒนาองค์กร แสดงความสามารถในการเตรียมพร้อมกับการ เปลี่ยนแปลงขององค์กร เช่น การลดอัตรากำลัง การมอบอำนาจ การตัดสินใจ การอนุมัติ การอนุญาต ไปยังระดับปฏิบัติการ การวัดต้นทุนต่อหน่วย การพัฒนาระบบควบคุมภายใน เช่น มีการบริหาร ความเสี่ยง เป็นต้น
การจัดทำแผนบริหารความเสี่ยง หมายถึง การวางแผน การดำเนินงานเพื่อจัดทำระบบบริหารความเสี่ยงของส่วนราชการ ขั้นตอนที่ 1 แต่งตั้งทีมงานเพื่อบริหารความเสี่ยง ขั้นตอนที่ 2 ทีมงานบริหารความเสี่ยงได้รับการอบรมด้านการ บริหารความเสี่ยง สามารถระบุ วิเคราะห์และ ประเมินผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับองค์กร
ขั้นตอนที่ 3 จัดทำรายงานประเมินผลความเสี่ยงได้ครอบคลุม ทุกด้าน ขั้นตอนที่ 4 กำหนดมาตรการหรือแผนปฏิบัติการเพื่อแก้ไข ลด ป้องกันความเสี่ยง ขั้นตอนที่ 5 มีการทบทวนและประเมินผลมาตรการหรือ แนวปฏิบัติการดังกล่าว
ขอบเขต :- การบริหารความเสี่ยง ความหมาย ความสำคัญ กระบวนการ แนวทางดำเนินการ
Good Governance องค์กร Internal Control Risk Management Internal Audit
การบริหารความเสี่ยงองค์กร(Enterprise Risk Management) COSO การควบคุมภายใน(Internal Control)
การควบคุมภายใน การควบคุมภายใน คือ อะไร หมายถึงกระบวนการที่คณะผู้บริหารและบุคลากรในหน่วยงานร่วมกันกำหนดขึ้น เพื่อสร้างความมั่นใจในระดับที่สมเหตุสมผลว่า การปฏิบัติงานจะสามารถบรรลุผลตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ ดังนี้ - ความมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการดำเนินงาน - ความเชื่อถือได้ของข้อมูลและรายงานทางการเงิน - การปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง
การติดตามผล การประเมิน ความเสี่ยง กิจกรรม การควบคุม สารสนเทศ และการสื่อสาร นโยบาย/วิธีปฏิบัติ ระบุปัจจัยเสี่ยง การกระจายอำนาจ วิเคราะห์/วัดความเสี่ยง การสอบทาน จัดลำดับความเสี่ยง ฯลฯ จริยธรรม ปรัชญา บุคลากร โครงสร้าง อำนาจหน้าที่ ตรวจสอบ สภาพแวดล้อมการควบคุม
แนวคิดเกี่ยวกับการควบคุมภายใน • การควบคุมภายในเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการดำเนินงานของหน่วยงาน • การควบคุมภายในเกิดขึ้นได้ด้วยบุคลากรทุกระดับของหน่วยงาน • การควบคุมภายในเป็นการสร้างความมั่นใจให้ผู้บริหารในระดับที่สมเหตุสมผลว่าการปฏิบัติงานจะบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้
การบริหารความเสี่ยงองค์กร (Enterprise Risk Management) กระบวนการที่ปฏิบัติโดยคณะกรรมการ ผู้บริหาร และบุคลากรทุกคนในองค์กร เพื่อช่วยในการกำหนดกลยุทธ์และการดำเนินงาน ซึ่งกระบวนการบริหารความเสี่ยงได้รับการออกแบบไว้ให้สามารถบ่งชี้เหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้น เพื่อให้ได้รับความมั่นใจอย่างสมเหตุสมผลในการบรรลุวัตถุประสงค์ที่องค์กรกำหนดไว้
การบริหารความเสี่ยงองค์กรการบริหารความเสี่ยงองค์กร • เครื่องมือนำไปสู่การบรรลุวัตถุประสงค์:- • ด้านกลยุทธ์ (Strategic) • ด้านการดำเนินงาน (Operation) • ด้านการรายงาน (Reporting) • ด้านการปฏิบัติตามกฎ/ระเบียบ/ข้อบังคับ (Compliance)
? ? ? ? การบริหารความเสี่ยงองค์กร
แนวคิดพื้นฐาน • เป็นกระบวนการ • เกิดจากบุคลากร • กำหนดกลยุทธ์องค์กร • นำไปใช้ทั่วทั้งองค์กร • จัดการความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ • สร้างความมั่นใจอย่างสมเหตุสมผล • บรรลุวัตถุประสงค์
องค์ประกอบการบริหารความเสี่ยงองค์ประกอบการบริหารความเสี่ยง • สภาพแวดล้อมในองค์กร (Internal Environment) • การกำหนดวัตถุประสงค์ (Objective Setting) • การบ่งชี้เหตุการณ์ (Event Identification) • การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment) • การตอบสนองความเสี่ยง (Risk Response) • กิจกรรมการควบคุม (Control Activities) • สารสนเทศและการสื่อสาร (Information & Communication) • การติดตามผล (Monitoring)
COSO : IC COSO : ERM • Strategic • Operation • Reporting • Compliance • Operation • Financial Reporting • Compliance
COSO : ERM COSO : IC • Internal Environment • Objective Setting • Event Identification • Risk Assessment • Risk Response • Control Activities • Information&Communication • Monitoring • Control Environment • Risk Assessment • Control Activities • Information&Communication • Monitoring
เหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้น การบริหารความเสี่ยงองค์กร วัตถุประสงค์ เพื่อช่วยบริหารโอกาสและควบคุมความเสี่ยง เชิงบวก โอกาส เชิงลบ ความเสี่ยง
ความเสี่ยง (Risk) คืออะไร ความเป็นไปได้ที่จะเกิดเหตุการณ์ที่เป็นอุปสรรคต่อการบรรลุเป้าหมายขององค์กร ความเสี่ยงวัดได้จากผลกระทบที่ได้จากเหตุการณ์และโอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์นั้น
โอกาส (Opportunity) คืออะไร ความเป็นไปได้ที่จะเกิดเหตุการณ์ที่เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มต่อการบรรลุเป้าหมายขององค์กร
ประเภทของความเสี่ยง ความเสี่ยงทางการเงิน (Financial Risk) ความเสี่ยงทางการปฏิบัติงาน (Operational Risk) ความเสี่ยงทางนโยบาย/กลยุทธ์ (Policy/Strategic Risk) ความเสี่ยงทางกฎ/ระเบียบ/ข้อบังคับ (Regulatory Risk) ความเสี่ยงทางเศรษฐกิจ/การเมือง (Economic/Political Risk) ความเสี่ยงทางธรรมชาติ (Natural Risk)
กระบวนการบริหารความเสี่ยงกระบวนการบริหารความเสี่ยง • การกำหนดวัตถุประสงค์ • การระบุความเสี่ยง • การประเมินความเสี่ยง • การเลือกวิธีการจัดการความเสี่ยง • การติดตามและประเมินผล
การจัดการความเสี่ยง • การหลีกเลี่ยง (Avoid) • การยอมรับ (Accept) • การลด (Reduce) • การโอน/กระจาย (Share)
แนวทางดำเนินการ มีวิธีการที่หลากหลาย ขึ้นอยู่กับความพร้อม ขนาด และความซับซ้อนขององค์กร จัดให้มีบรรยากาศและวัฒนธรรมที่สนับสนุนการบริหารความเสี่ยง
การสนับสนุนจากผู้บริหารการสนับสนุนจากผู้บริหาร ความรับผิดชอบ เป้าหมายที่ชัดเจน ปัจจัยสู่ความสำเร็จ การดำเนินการต่อเนื่อง การสื่อสารมีประสิทธิผล การวัดและติดตามผล
A&Q กลุ่มงานมาตรฐานด้านการตรวจสอบภายใน กรมบัญชีกลาง โทร. 0 2270 0427