2.02k likes | 5.4k Views
บทที่ 5 มอเตอร์เฟสเดียว. 5.1 มอเตอร์เหนี่ยวนำหนึ่งเฟส ( Single phase induction motor ). มอเตอร์หนี่ยวนำหนึ่งเฟส ส่วนมากเป็นมอเตอร์ขนาดเล็ก มักมีพิกัดกำลังเอาท์พุทต่ำกว่า 1 แรงม้า จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ มอเตอร์ที่มีขนาดพิกัดเป็นเศษส่วนของแรงม้า ”. 1.
E N D
บทที่ 5 มอเตอร์เฟสเดียว 5.1 มอเตอร์เหนี่ยวนำหนึ่งเฟส( Single phase induction motor ) มอเตอร์หนี่ยวนำหนึ่งเฟส ส่วนมากเป็นมอเตอร์ขนาดเล็ก มักมีพิกัดกำลังเอาท์พุทต่ำกว่า 1 แรงม้า จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า“มอเตอร์ที่มีขนาดพิกัดเป็นเศษส่วนของแรงม้า” 1
มอเตอร์เหนี่ยวนำหนึ่งเฟสแบ่งออกได้ 3 แบบซึ่งแต่ละแบบจะแตกต่างกันที่วิธีการทำให้มอเตอร์เริ่มหมุนคือ - มอเตอร์แบบสปลิตเฟส หรือแบบแยกเฟส - มอเตอร์แบบคาปาซิเตอร์ - มอเตอร์แบบเชดเดดโพล 2
5.1.1 หลักการของมอเตอร์เหนี่ยวนำหนึ่งเฟส ( Principle of single phase induction motor ) มอเตอร์เหนี่ยวนำหนึ่งเฟสไม่สามารถสร้างสนามแม่เหล็กหมุนได้ด้วยตัวเอง ดังนั้นจึงไม่สามารถสร้างแรงบิดเริ่มหมุนให้เกิดขึ้นได้ 3
หลักการของมอเตอร์เหนี่ยวนำหนึ่งเฟสหลักการของมอเตอร์เหนี่ยวนำหนึ่งเฟส ( Principle of single phase induction motor ) 4
เฟสเซอร์แรงดันและกระแสของมอเตอร์สปลิทเฟสเฟสเซอร์แรงดันและกระแสของมอเตอร์สปลิทเฟส 5 Back
. ก) ความสัมพันธ์ระหว่างเฟสของเส้นแรงแม่เหล็กจากสเตเตอร์ ( ) แรงคลื่นไฟฟ้าเมื่อโรเตอร์ถูกทำให้หมุน ซึ่งสัมพันธ์กับกระแสโรเตอร์ และเส้นแรงแม่เหล็กขวาง ข) รูปคลื่นสอดคล้องกับแผนภาพเฟสเซอร์ในรูป(ก.) (ค) ทิศทางชั่วขณะของ และ เส้นแรงแม่เหล็กรวมที่สอดคล้องกับมุนต่างเฟสของเส้นแรงแม่เหล็กทั้งสองในรูป ข. 7
เนื่องจากอัตราส่วนของค่ารีแอตเตนท์ต่อค่าความต้านทานของ โรเตอร์มีค่าสูงมากจึงเป็นเหตุทำให้กระแสโรเตอร์และเส้นแรงแม่เหล็กขวางล้าหลังแรงคลื่นไฟฟ้าเป็นมุม 90 องศา จะสังเกตเห็นว่าแรงคลื่นไฟฟ้าเมื่อโรเตอร์ถูกทำให้หมุนจะอินเฟสกับสิ่งที่ทำให้มันเกิดขึ้นคือเส้นแรงแม่เหล็กจากสเตเตอร์ 8
5.1.2 มอเตอร์เหนี่ยวนำแบบสปลิทเฟส หรือแบบแยกเฟส( Split phase induction motor ) มอเตอร์แบบสปลิทเฟสเป็นมอเตอร์เหนี่ยวนำหนึ่งเฟสที่เก่าแก่มากแบบหนึ่งปัจจุบันยังมีความสำคัญอยู่มาก เพราะนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายโดยเฉพาะอย่างยิ่งเครื่องใช่ไฟฟ้าภายในบ้านและสำนักงาน เช่น เครื่องซักผ้า โบลเวอร์ (Blowers) ปั้มแรงเหวี่ยง (Centrifugal pumps) เครื่องมือกลงานไม้ (woodworking tools) เครื่องจักรกลธุรกิจ (Business machines) เครื่องล้างขวด (Bottle washers) เครื่องดนตรีอัตโนมัติ (Automatic musical instruments) 9
โครงสร้างและส่วนประกอบของมอเตอร์สปลิทเฟสโครงสร้างและส่วนประกอบของมอเตอร์สปลิทเฟส 10
ส่วนประกอบ มีส่วนประกอบที่สำคัญดังนี้ สเตเตอร์ของมอเตอร์แบบสปลิตเฟสประกอบด้วยแกน สเตเตอร์ที่ทำด้วยเหล็กแผ่นลามิเนท มีร่องเป็นแบบกึ่งปิด โครงทำด้วยเหล็กหล่อหรือเหล็กเหนียวขดลวดที่พันไว้ในร่องของ สเตเตอร์มีสองชุด ( เป็นลวดทองแดงอาบด้วยฉนวนไฟฟ้า) คือขดลวดช่วย (Auxiliary winding) หรือขดสตาร์ท (Starting winding) และขดลวดหลัก(Main winding) หรือขดรัน (Running winding) แกนสเตเตอร์ที่ทำด้วยเหล็กแผ่นลามิเนทและโรเตอร์ของมอเตอร์แบบสปลิตเฟส 11
สเตเตอร์ (Stator) แกนสเตเตอร์ที่ทำด้วยเหล็กแผ่นลามิเนทของมอเตอร์แบบสปลิตเฟสขนาด 187 วัตต์ ( ¼hp ) 12
โรเตอร์ โรเตอร์ของมอเตอร์แบบสปลิตเฟส เป็นโรเตอร์แบบกรงกระรอกเช่นเดียวกับโรเตอร์ของมอเตอร์เหนี่ยวนำสามเฟส 13
ฝาครอบฝาครอบหรือฝาปิดหัวท้าย (End plates ) จะยึดติดกับสเตเตอร์ด้วยสกรูและโบลท์ (Screw and bolt) หน้าที่หลักของฝาครอบก็คือรองรับเพลาของโรเตอร์ด้วยแบริ่งให้หมุนอยู่ในแนวศูนย์กลาง เพื่อไม่ให้โรเตอร์หมุนเสียดสีกับสเตเตอร์ 14
สวิทช์แรงเหวี่ยง (Centrifugal switch)สวิทช์แรงเหวี่ยงติดตั้งอยู่ภายในมอเตอร์ มีหน้าที่ตัดขดสตาร์ทออกจากวงจร หลังจากโรเตอร์หมุนได้ความเร็วประมาณ 75 % ของความเร็วเต็มพิกัด โดยทั่วไปสวิทช์แรงเหวี่ยงประกอบด้วยส่วนประกอบสองส่วนคือ ส่วนที่อยู่กับที่และส่วนที่หมุน 15
คุณลักษณะและการนำไปใช้งานคุณลักษณะและการนำไปใช้งาน มอเตอร์แบบสปลิตเฟส มีการออกแบบไว้เป็น 2 ลักษณะคือ ก. แบบใช้งานทั่วไป (General purpose)หรือแบบมาตรฐาน (Standard Split phase motor) มีขนาดพิกัดกำลังเอาพุตตั้งแต่ 1/20 -3/4 hp. มีแรงบิดเต็มพิกัดมีค่าเพาเวอร์แฟคเตอร์และประสิทธิภาพเมื่อโหลดเต็มพิกัดประมาณ 65% และ 67% ตามลำดับ 16
100 90 80 70 60 50 40 30 20 10 ขดรันอย่างเดียว สวิตซ์แรงเหวี่ยงทำงาน 0 50 100 150 200 250 300 350 400 %แรงบิดเต็มพิกัด % ความเร็วซิงโครนัส เส้นกราฟคุณลักษณะแรงบิด-ความเร็วของมอเตอร์ สปลิตเฟสแบบใช้งานทั่วไปหรือแบบมาตรฐาน 17
ข. แบบให้แรงบิดสูง (High-torque)หรือแบบพิเศษ (Special-service split-phase motor) มีขนาดพิกัดกำลังเอาท์พุทตั้งแต่ 1/6 – 1/3 hp. มีแรงบิดเริ่มหมุนประมาณ 275% ของแรงบิดเต็มพิกัด ให้แรงบิดสูงสุดประมาณ 350% ของแรงบิดเต็มพิกัด มีค่าเพาเวอร์และประสิทธิภาพเมื่อโหลดเต็มพิกัดประมาณ 62% คุณลักษณะแรงบิด-ความเร็วของมอเตอร์สปลิตเฟสแบบให้แรงบิดสูงหรือแบบพิเศษแสดงไว้ในรูป 18
100 90 80 70 60 50 40 30 20 10 สวิตซ์แรงเหวี่ยงทำงาน ทั้งสองขด 0 50 100 150 200 250 300 350 400 450 500 %แรงบิดเต็มพิกัด % ความเร็วซิงโครนัส เส้นกราฟคุณลักษณะแรงบิด-ความเร็วของมอเตอร์สปลิตเฟส แบบให้แรงบิดสูงหรือแบบพิเศษ 19
5.1.3 มอเตอร์แบบคาปาซิเตอร์ (Capacitor type motor) เนื่องจากมอเตอร์แบบสปลิตเฟส เป็นมอเตอร์ที่มีแรงบิดเริ่มหมุนค่อนข้างเพราะว่ากระแสในขดสตาร์ทกับกระแสในขดรันต่างเฟสกันประมาณ 25 องศาทางไฟฟ้าเท่านั้น ดังนั้นถ้าต้องการให้มอเตอร์มีแรงบิดเริ่มหมุนสูงขึ้น จึงจำเป็นต้องใช้คาปาซิเตอร์ต่ออนุกรมกับวงจรของขดสตาร์ทดังจะกล่าวต่อไป 20
มอเตอร์แบบคาปาซิเตอร์ แบ่งออกได้ 3 แบบ คือ - มอเตอร์แบบคาปาซิเตอร์สตาร์ท - มอเตอร์แบบเปอร์มาเนนท์-สปลิต คาปาซิเตอร์ - มอเตอร์แบบคาปาซิเตอร์สองค่า มอเตอร์คาปาซิเตอร์แต่ละแบบต่างก็มีคุณลักษณะที่แตกต่างกัน ส่วนที่เหมือนๆกันก็คือ มีขดลวดสเตเตอร์ 2 ชุด คือ ขดรันและขดสตาร์ทพันเรียงห่างกัน 90 องศาทางไฟฟ้าและขดสตาร์ทจะต้องต่ออนุกรมกับคาปาซิเตอร์เสมอ 21
1. มอเตอร์แบบคาปาซิเตอร์สตาร์ท (Capacitor start motor) มอเตอร์แบบนี้มีส่วนประกอบเหมือนกับมอเตอร์แบบสปลิตเฟสทุกอย่าง แต่เพิ่ม คาปาซิเตอร์อีก 1 ตัว เพื่อต่ออนุกรมกับขดสาร์ท คาปาซิเตอร์ดังกล่าวติดตั้งไว้บนโครงของมอเตอร์ ดังรูป 22
หลักการทำงานของมอเตอร์แบบนี้เหมือนกับมอเตอร์แบบ สปลิตเฟส การต่อคาปาซิเตอร์อนุกรมกับขดสตาร์ทจะทำให้กระแสที่ไหลผ่านขดสตาร์ทนำหน้าแรงดันป้อนและทำให้กระแสของขดสตาร์ท (IS)นำหน้ากระแสของขดรัน (IM)เป็นมุมประมาณ 80 องศาทางไฟฟ้า จึงเป็นเหตุทำให้มอเตอร์แบบนี้มีแรงบิดเริ่มหมุนสูงกว่ามอเตอร์แบบสปลิตเฟส 24
คุณลักษณะและการนำไปใช้งานคุณลักษณะและการนำไปใช้งาน การต่อคาปาซิเตอร์อนุกรมกับวงจรขดสตาร์ท ทำให้มอเตอร์แบบนี้มีแรงบิดเริ่มหมุนสูงมาก ประมาณ 350% ของแรงบิดเต็มพิกัด ให้แรงบิดสูงสุดประมาณ 250% ของแรงบิดเต็มพิกัด มีค่าเพาเวอร์แฟคเตอร์และประสิทธิภาพเมื่อโหลดเต็มพิกัด คุณลักษณะแรงบิดความเร็วของมอเตอร์แบบคาปาซิเตอร์สตาร์ทแสดงไว้ในรูป 26
100 90 80 70 60 50 40 30 20 10 สวิตซ์แรงเหวี่ยงทำงาน ขดรันอย่างเดียว ทั้งสองขด 0 50 100 150 200 250 300 350 400 450 500 %แรงบิดเต็มพิกัด %ความเร็วซิงโครนัส เส้นกราฟคุณลักษณะแรงบิด-ความเร็วของมอเตอร์แบบ คาปาซิเตอร์สตาร์ท 27
คาปาซิเตอร์ คาปาซิเตอร์ที่ใช้ช่วยสตาร์ทมอเตอร์แบบนี้ เป็นคาปาซิเตอร์ชนิดอีเล็กทรอไลติ(Electrolytic capacitor) ผลิตขึ้นโดยใช้ แผ่นอลูมิเนียมบาง ๆสองแผ่น คั่นกลางด้วยวัสดุ ฉนวนซึ่งทำจากผ้าก๊อสชุบด้วยสารละลายเคมีที่เรียกว่าอีเล็กทรอไลต์จนอิ่มตัวซึ่งอีเล็กทรอไลต์จะทำให้เกิดไขขึ้นมาคั่นกลางระหว่างแผ่นอลูมิเนียมทั้งสอง 28
แสดงลักษณะภายนอกของคาปาซิเตอร์ชนิดอีเล็กทรอไลติก ซึ่งเป็นคาปาซิเตอร์ที่มีค่าความจุสูงต่อใช้งานได้ในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ 29
คุณสมบัติของคาปาซิเตอร์ที่ควรทราบมีดังนี้คุณสมบัติของคาปาซิเตอร์ที่ควรทราบมีดังนี้ ก. ขนาดพิกัดแรงดันไฟฟ้า (Voltage rating) ควรเลือกใช้คาปาซิเตอร์ให้สามารถทนแรงดันไฟฟ้าได้เท่ากับแรงดังไฟฟ้าของมอเตอร์เป็นอย่างต่ำ ข. ขนาดความจุของคาปาซิเตอร์ (Capacitance rating) ควรเลือกใช้คาปาซิเตอร์ที่มีขนาดความจุเหมาะสมกับขนาดของมอเตอร์ อย่าลืมว่าขนาดความจุยิ่งสูง ราคายิ่งแพง 30
ค. อุณหภูมิขณะใช้งาน (Ambient temperature) ขนาดความจุของคาปาซิเตอร์ตามปกติวัด ณ อุณหภูมิ 25 C แต่สามารถใช้งานจนกระทั่งอุณหภูมิของห้องเพิ่มขึ้นถึง 80 C อุณหภูมิยิ่งสูงอายุการใช้งานของ คาปาซิเตอร์ยิ่งสั้นลง ณ อุณหภูมิ 95 C ก็ยังพอใช้งานได้ แต่ต้องใช้งานแบบเดิน ๆ หยุด ๆ 31
ง. พิกัดการใช้งาน ( Duty cycle) ตามปกติคาปาซิเตอร์ที่ใช้งานในสตาร์ทมอเตอร์ มักมีข้อกำหนดหรือข้อห้ามไว้ว่าจะสตาร์ทมอเตอร์ได้ไม่เกิน 20 ครั้ง ในหนึ่งชั่วโมง และช่วงเวลาในการสตาร์ทแต่ละครั้งต้องไม่เกิน 3 วินาที 32
ขดสตาร์ท และขดรัน 1370r/min N-m 10 8 6 4 2 9.5N-m สวิตซ์แรงเหวี่ยงเปิดวงจร 300r/min แรงบิด 3.4N-m 2.8N-m สวิตซ์แรงเหวี่ยงปิดวงจร โหลดเต็มพิกัด 0 200 400 600 800 1000 1200 1400 1600 1800 r/min ความเร็ว เส้นกราฟแรงบิด-ความเร็วของมอเตอร์แบบคาปาซิเตอร์สตาร์ท ขนาดพิกัด 1/3 แรงม้า1760 รอบ ต่อนาที 115 โวลท์ 60 เฮร์ตช์ 33
การต่อมอเตอร์แบบคาปาซิเตอร์สตาร์ทให้หมุนกลับทิศทางสามารถกระทำได้เช่นเดียวกับมอเตอร์แบบสปลิตเฟสการต่อมอเตอร์แบบคาปาซิเตอร์สตาร์ทให้หมุนกลับทิศทางสามารถกระทำได้เช่นเดียวกับมอเตอร์แบบสปลิตเฟส ก) หมุนในทิศทางตามเข็มนาฬิกา ข) หมุนในทิศทางทวนเข็มนาฬิกา 34
2. มอเตอร์แบบเปอร์มาเนนท์-สปลิต คาปาซิเตอร์( Permanent-split capacitor motor) มอเตอร์แบบนี้มีลักษณะโครงสร้างโดยทั่วไปเหมือนกับมอเตอร์แบบคาปาซิเตอร์สตาร์ท แต่ไม่มีสวิทช์แรงเหวี่ยง ดังนั้นทั้งคาปาซิเตอร์และขดสตาร์ทจึงต้องอยู่ในวงจรตลอดเวลา ทั้งในขณะเริ่มหมุนและขณะหมุนขับโหลด วงจรของมอเตอร์แบบนี้แสดงไว้ในรูป 35
วงจรของมอเตอร์แบบเปอร์มาเนนท์-สปลิต คาปาซิเตอร์ 36
คาปาซิเตอร์ที่ต่อใช้งานในมอเตอร์แบบนี้ เป็นคาปาซิเตอร์ชนิดบรรจุน้ำมัน (Oilfilledcapacitor ) ฉนวนคั่นกลางระหว่างแผ่นอะลูมิเนียมทำด้วยกระดาษแผ่นบางๆอาบด้วยน้ำมันฉนวนแล้วม้วนเป็นรูปทรงกระบอกหรือพับเป็นรูปสี่เหลี่ยม แล้วบรรจุลงในกล่องอลูมิเนียมหรือกล่องพลาสติก คุณสมบัติของคาปาซิเตอร์ ชนิดบรรจุน้ำมันคือมีค่าความจุต่ำและสามารถต่อใช้งานในวงจรได้เป็นระยะเวลานาน ๆ (Continuous duty) 37
แสดงลักษณะภายนอกของคาปาซิเตอร์ชนิดบรรจุน้ำมัน ซึ่งเป็น คาปาซิเตอร์ที่มีค่าความจุต่ำ ต่อใช้งานในวงจรได้เป็นระยะเวลานานๆ 38
คุณลักษณะและการนำไปใช้งานคุณลักษณะและการนำไปใช้งาน มอเตอร์แบบเปอร์มาเนนท์-สปลิต คาปาซิเตอร์ มีการออกแบบไว้เป็นสองลักษณะคือ ก) แบบแรงบิดเริ่มหมุนต่ำ (Low starting torque) มีขนาดพิกัดกำลังตั้งแต่ ถึง แรงม้า มีแรงบิดเริ่มหมุนประมาณ 60-75% ของแรงบิดเต็มพิกัด 39
ข) แบบแรงบิดเริ่มหมุนปกติ (Normal starting torque) มีขนาดพิกัดกำลังตั้งแต่ ถึง แรงม้ามีแรงบิดเริ่มหมุนและแรงบิดสูงสุดประมาณ 200% ของแรงบิดเต็มพิกัด มีค่าเพาเวอร์แฟคเตอร์และประสิทธิภาพเมื่อโหลดเต็มพิกัดประมาณ 80-95% และ 55-65% ตามลำดับเหมาะกับงานขับโหลดด้วยสายพานและโหลดที่ยึดติดกับแกนเพลาของมอเตอร์โดยตรง เช่นมอเตอร์ พัดลมของเครื่องปรับอากาศ พัดลมเพดาน พัดลมดูดอากาศและเตียงพยาบาล เป็นต้น 40
การกลับทางหมุน การกลับทางหมุนมอเตอร์แบบเปอร์มาเนนท์-สปลิต คาปาซิเตอร์ ที่มีปลายสายสี่สายทำได้โดยสลับปลายสาย T5 และT8 41
3. มอเตอร์แบบคาปาซิเตอร์สองค่า ( Two-value capacitor motor) มอเตอร์แบบนี้ใช้คาปาซิเตอร์สองตัวหรือสองค่า คาปาซิเตอร์ตัวแรกเป็นชนิดอีเล็กทรอไลติก ทำหน้าที่เป็นคาปาซิเตอร์สตาร์ท อีกตัวหนึ่งเป็นคาปาซิเตอร์ชนิดบรรจุน้ำมันทำหน้าที่เป็นคาปาซิเตอร์รันคาปาซิเตอร์ทั้งสองตัวดังกล่าวติดตั้งไว้บนโครงการของมอเตอร์ดังรูป 42
ลักษณะโครงสร้างภายนอกของมอเตอร์แบบคาปาซิเตอร์สองค่าลักษณะโครงสร้างภายนอกของมอเตอร์แบบคาปาซิเตอร์สองค่า 43
คาปาซิเตอร์ชนิดบรรจุน้ำมัน ขณะเริ่มสตาร์ทมอเตอร์คาปาซิเตอร์ทั้งสองตัวจะต่อขนานกันซึ่งทำให้ค่าความจุความสูงขึ้น ทำให้มอเตอร์มีแรงบิดเริ่มหมุนสูง 44
คุณลักษณะและการนำไปใช้งานคุณลักษณะและการนำไปใช้งาน มอเตอร์แบบนี้ มีขนาดพิกัดกำลังเอาท์พุท ตั้งแต่ 1/8 ถึง ¾แรงม้า มีแรงบิดเริ่มหมุนประมาณ 350% ของแรงบิดเต็มพิกัด ให้แรงบิดสูงสุดประมาณ 250% ของแรงบิดเต็มพิกัด คุณลักษณะแรงบิด-ความเร็วของมอเตอร์แบบคาปาซิเตอร์สองค่า 45
5.1.4 มอเตอร์แบบเชดเดดโพล (Shaded pole motor) มอเตอร์แบบเชดเดดโพล เป็นมอเตอร์ เหนี่ยวนำหนึ่งเฟส ขนาดเล็กที่มีขนาดพิกัดกำลังเอาท์พุทตั้งแต่ 1/100-1/20 แรงม้า ใช้เป็นมอเตอร์อเนกประสงค์ที่มีความเร็วรอบคงที่ ส่วนประกอบไม่ยุ่งยาก สร้างได้ง่าย ราคาถูก ทนทานและใช้งานได้ดี 46
ส่วนประกอบ สเตเตอร์ ทำด้วยเหล็กแผ่นลามิเนทนำมาอัดติดกันเป็นรูปทรงกระบอก มีขั้วแม่เหล็กเป็นแบบขั้วแม่เหล็กยื่น (Salient pole) โดยแบ่งพื้นที่ด้านหน้าของขั้วแม่เหล็กออกเป็นสองส่วน ส่วนที่มีพื้นที่น้อยเรียกว่า เชดเดดโพล (Shaded pole) ส่วนที่มีพื้นที่มากเรียกว่า อันเชเดดโพล (Unshaded pole) ลักษณะของแกนเหล็กสเตเตอร์ของมอเตอร์แบบเชดเดดโพลชนิด 6 ขั้ว 47
เหล็กแผ่นลามิเนทแกนเหล็กสเตเตอร์ของมอเตอร์แบบเชดเดดโพลชนิด 6 ขั้ว 48
โรเตอร์เป็นแบบกรงกระรอกเช่นเดียวกับโรเตอร์ของมอเตอร์แบบสปลิตเฟสและมอเตอร์แบบคาปาซิเตอร์โรเตอร์เป็นแบบกรงกระรอกเช่นเดียวกับโรเตอร์ของมอเตอร์แบบสปลิตเฟสและมอเตอร์แบบคาปาซิเตอร์ ฝาครอบปิดหัวท้ายทำด้วยเหล็กหล่อเหนียว เช่นเดียวกับฝาปิดหัวท้ายของมอเตอร์ต่างๆดังกล่าวมาข้างต้น 49
หลักการทำงาน เมื่อป้อนแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับหนึ่งเฟสเข้าขดลวดเมน กระแสชั่วขณะที่ไหลเข้าขดลวดเมนจะเปลี่ยนแปลงตามรูปคลื่นไซน์ คือกระแสจะเปลี่ยนแปลงโดยมีค่าเพิ่มขึ้นจาก o ถึง a การเปลี่ยนแปลงค่าของกระแสอย่างรวดเร็วทำให้สนามแม่เหล็กของขั้วแม่เหล็กเกิดการเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่เพิ่มขึ้นทำให้มีแรงคลื่นไฟฟ้าเหนี่ยวนำเกิดขึ้นในเชดดิ้งคอล์ยและมีกระแสจำนวนมากไหล ในเชดดิ้งคอล์ยซึ่งมีค่าความต้านทานต่ำ 50