220 likes | 605 Views
Greenpeace. กรีนพีซ คือ ???. กรีนพีซ เป็นองค์กรนานาชาติที่ให้ความสำคัญแก่การรณรงค์เพื่อสิ่งแวดล้อมเป็นอันดับแรก กรีนพีซมีสำนักงานใหญ่อยู่ในกรุงอัมสเตอร์ดัม เนเธอแลนด์ มีผู้สนับสนุน 2.8 ล้านคนทั่วโลก และมีสำนักงานประจำประเทศและภูมิภาคใน 43 ประเทศ. หลักการ.
E N D
กรีนพีซ คือ ??? กรีนพีซ เป็นองค์กรนานาชาติที่ให้ความสำคัญแก่การรณรงค์เพื่อสิ่งแวดล้อมเป็นอันดับแรกกรีนพีซมีสำนักงานใหญ่อยู่ในกรุงอัมสเตอร์ดัม เนเธอแลนด์ มีผู้สนับสนุน 2.8 ล้านคนทั่วโลก และมีสำนักงานประจำประเทศและภูมิภาคใน 43 ประเทศ
หลักการ พันธกิจของกรีนพีซเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ "เรามุ่งมั่นที่จะปกป้องสิทธิด้านสิ่งแวดล้อมเปิดโปงและหยุดยั้งอาชญากรรมต่อสิ่งแวดล้อมพร้อมกับเร่งรัดการพัฒนาที่สะอาดด้วยวิธีเปิดเผย สร้างสรรค์ บนพื้นฐานของสันติวิธี"
ผลงานของกรีนพีซ กรีนพีซร่วมกับพันธมิตร ได้แก่ กลุ่ม KAM แห่งชิลาชัป, จาทัม (JATAM), วาลฮี(Walhi) และ Sekolah Demokrasi Ekonomi ได้เปิดตัวการรณรงค์ต่อต้านการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินแห่งใหม่และขยายโรงไฟฟ้าถ่านหินที่ดำเนินการอยู่ในอินโดนีเซีย ก้าวแรกคือ การเผยแพร่รายงาน “ต้นทุนที่แท้จริงของถ่านหิน”ในภาษาอินโดนีเซีย ซึ่งเปิดโปงค่าใช้จ่ายของพลังงานถ่านหิน ซึ่งเท่ากับ 160 หมื่นล้านบาทสำหรับค่าใช้จ่ายด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ซึ่งผู้ที่ต้องชดใช้ คือ ชุมชน เช่น ชิลาชัป ไม่ใช่ บริษัท PT Segara Sumber Prima ซึ่งเป็นผู้ก่อมลพิษให้กับโลกในชิลาชัป
ผลงานของกรีนพีซ กลุ่มเยาวชนยุคพลังงาน สะอาดกรีนพีซ (Solar Generation) ถือป้ายที่มี ข้อความ "อย่าจมอนาคตพวกเรา (Don't Drown our Future)" หน้าวัดขุนสมุทรจีนในหมู่บ้านชายฝั่งเล็กๆ ในขุนสมุทรจีน ชุมชนแห่งแรกในประเทศไทยที่ต้องประสบกับการกัดเซาะของชายฝั่งสาเหตุหลัก คือ พายุรุนแรงเนื่องจากภาวะโลกร้อน วัดนี้ ซึ่งในปัจจุบัน ตั้งอยู่ใกล้ชายฝั่งที่ถูกกัดเซาะ เคยตั้งอยู่ห่างจากชายฝั่งหลายกิโลเมตร กลุ่มเยาวชนยุคพลังงานสะอาดเรียกร้องให้รัฐบาลทั่วโลกหันมาใช้พลังงานหมุนเวียน และความมีประสิทธิภาพทางพลังงาน ในขณะที่คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วย การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) จัดประชุมในต้นเดือนพฤษภาคม 2550 ในกรุงเทพฯ เพื่อหารือมาตรการลดภาวะโลกร้อน
ผลงานของกรีนพีซ เรือเรนโบว์ วอริเออร์ที่ติดป้าย “น้ำมันปาล์มฆ่าป่าและภูมิอากาศ” ได้ทอดสมอข้างเรือบรรทุกน้ำมันที่ชื่อ เอ็มที เวสตามา ซึ่งบรรรทุกน้ำมันปาล์มมากกว่า 30,000 ตัน เพื่อขัดขวางไม่ให้ออกจากท่าเรือ ในเมืองดูไม อินโดนีเซีย
ผลงานของกรีนพีซ นักกิจกรรมกรีนพีซ 2 คนวัดขนาดของ ตึกสำนักงานใหญ่บริษัท Medco Energi Internasional เพื่อที่จะแขวน แบนเนอร์ขนาด 30 เมตร ที่มีข้อความประกาศว่า “Medco วางมือจากนิวเคลียร์” ในจาการ์ตาตอนกลางในวันนี้ นักกิจกรรมทั้ง 2 คนกำลังเรียกร้อง ให้ Medco ยกเลิกข้อตกลงที่ทำกับบริษัทพลังงานนิวเคลียร์และ พลังงานน้ำเกาหลีเพื่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์กำลังผลิต 2,000 เมกกะวัตต์ บนเกาะชวา
ความเกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์พลังงานความเกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์พลังงาน • เรื่องที่ 1 เป็นการต่อต้านโรงไฟฟ้าถ่านหินในอินโดนีเซีย เพราะ การนำถ่านหินมาใช้ จะทำให้เกิดภาวะโลกร้อน เพราะสิ่งที่เกิดจากการเผาไหม้ถ่านหิน นั่นคือ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ • เรื่องที่ 2 เป็นการสนับสนุนการนำพลังงานหมุนเวียนมาใช้ • เรื่องที่ 3 เป็นการต่อต้านการใช้น้ำมันปาล์ม เมื่อมีการใช้น้ำมันปาล์ม ก็ต้องมีการปลูกต้นปาล์มมากขึ้น ทำให้ป่าพรุถูกทำลายลงไป ทำให้การเก็บกักก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลดลงไปด้วย • เรื่องที่ 4 เป็นการต่อต้านการสร้างโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ เนื่องจากการที่พื้นที่ถูกทำลาย รวมทั้งเมื่อเกิดการรั่วไหลของสารกัมมันตรังสี จะส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมและชีวิตโดยตรง
ข้อดี ข้อเสีย ข้อดี ทั้ง 4 อย่างที่นำมาเสนอนั้น เป็นการต่อต้านการนำพลังงานที่ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมของโลก ซึ่งหากว่าสามารถ ทำได้สำเร็จ จะช่วยแก้ปัญหาโลกร้อนได้เป็นอย่างมาก อีกทั้ง การอนุรักษ์แบบนี้เป็นการร่วมแรงร่วมใจของกลุ่มคน ซึ่งอาจจะสร้างแรงบันดาลใจให้กับคนกลุ่มอื่นๆ ให้หันมาช่วยกันอนุรักษ์พลังงานด้วย ในแต่ละกิจกรรมสามารถเข้าร่วมได้ง่าย ข้อเสีย การสูญเสียด้านเศรษฐกิจ เนื่องจากถ่านหินมีราคาถูก และให้พลังงานค่อนข้างสูง การพัฒนา การนำเทคโนโลยีด้านพลังงานนิวเคลียร์มาใช้ อาจทำให้เกิดการค้นพบใหม่ๆ ทางด้านวิทยาศาสตร์ หากโรงงานมีการตอบโต้มาอย่างรุนแรง ย่อมส่งผลไม่ดีต่อสมาชิกกลุ่มกรีนพีซ
ปัญหา อุปสรรค ในปัจจุบัน การอนุรักษ์สภาพแวดล้อมและพลังงาน ยังทำได้ยาก เนื่องจากไม่ได้รับความร่วมมือจากบุคคลทั่วไป กลุ่มกรีนพีซ เป็นเพียงกลุ่มคนที่มารวมตัวกันเป็นองค์กร การยื่นเสนอเรื่องไปยังทางภาครัฐยังยากอยู่ เราจะเห็นได้จากการออกมาตอบโต้ในวิธีต่างๆ ล้วนเป็นวิธีการชักชวนและชี้แจงให้เห็นถึงผลเสียต่างๆที่เกิดขึ้น นอกจากนี้ โรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ยังไม่มีเทคโนโลยีที่สูงพอที่จะนำพลังงานหมุนเวียนอื่นๆมาใช้ รวมทั้งค่าใช้จ่ายของโรงงานค่อนข้างสูง จึงนิยมกับการนำเชื้อเพลิงราคาถูกมาใช้มากกว่า อีกทั้ง ในด้านโรงงานพลังงานนิวเคลียร์ ถึงจะสามารถคัดค้านได้ในบางแห่ง แต่ก็ยังมีอีกหลายแห่งที่ไม่สนใจ เนื่องจากพลังงานที่ได้จากนิวเคลียร์มีมาก เพราะเหตุมาจากการแข่งขันในตลาดอุตสาหกรรมด้วย
แนวความคิดในการแก้ปัญหาแนวความคิดในการแก้ปัญหา • เรื่องที่ 1,2,4 เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการนำพลังงานอื่นๆมาใช้ เรามีแนวทางในการแก้ปัญหา โดยการนำพลังงานหมุนเวียนมาใช้ โดยพลังงานหมุนเวียน ได้แก่ พลังงานลมพลังงานแสงอาทิตย์พลังงานชีวภาพพลังน้ำขนาดเล็ก และแหล่งพลังงานอื่นๆ โดยทางภาครัฐควรจะยื่นมือเข้ามาช่วย ในด้านการให้ความรู้แก่บุคลากร รวมทั้งในเรื่องการยกเลิกการใช้เชื้อเพลิงประเภท ถ่านหิน รวมถึงการออกกฎหมายควบคุมการใช้พลังงานนิวเคลียร์ ซึ่งยังไม่ปลอดภัยในปัจจุบัน • เรื่องที่ 3 ลดการใช้น้ำมันประเภทน้ำมันปาล์ม ทำการปลูกป่าพรุเพิ่มขึ้น เนื่องจากป่าพรุสามารถเก็บกักก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ ตัวอย่างการกักเก็บก๊าซ ได้แก่ ป่าพรุของรีอาลกักเก็บก๊าซคาร์บอนไว้มหาศาลถึง 14.6 พันล้านตัน ซึ่งเท่ากับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลก 1 ปี
การนำมาประยุกต์ เพื่อเป็นการช่วยเหลือลดสภาวะโลกร้อนในชีวิตประจำวันของเรา เราสามารถทำได้โดยการลดพลาสติก ใช้พลังงานอย่างประหยัด และเมื่อเรียนจบไปเป็นวิศวกร ก็ปรับปรุงโรงงานให้ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด โดยยึดหลักกรีนพีซ ทั้งในด้านการกำจัดของเสีย การเลือกใช้เชื้อเพลิง นอกจากนี้ เรายังสามารถเข้าร่วมกับทางกรีนพีซ โดยการสมัครเป็นสมาชิก และออกเดินทางช่วยเหลือธรรมชาติในบางครั้งก็ได้เช่นกัน
อ้างอิง • http://www.greenpeace.org/seasia/th/ • http://th.wikipedia.org/wiki/Greenpeace
สรุป จากสิ่งที่ได้นำเสนอมานั้น จะเห็นได้ว่า โลกของเรากำลังถูกคุกคาม จากสิ่งที่เราเรียกมันว่า เทคโนโลยี แต่ขอให้สังเกตไว้ว่า หากนำเทคโนโลยีเหล่านั้นมาใช้ในทางที่ถูกต้องและเหมาะสม ก็จะสามารถช่วยโลกได้ การหันมาใช้พลังงานหมุนเวียนต่างๆ การลดการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ รวมถึงการร่วมแรงร่วมใจ ช่วยกันอนุรักษ์สภาพแวดล้อมให้คงเดิม เพื่อที่ในอนาคต เราจะเหลือพลังงานและอากาศบริสุทธิ์ ให้กับคนรุ่นหลังต่อไป
รายชื่อสมาชิก นายชยชน อานามวัฒน์ 09490614 นายมานิต สร้อยเพชร 09490675