1.56k likes | 3.64k Views
การนำเสนอต่อไปนี้ สามารถรับชมได้ทุกวัย. Six Sigma. ประวัติของ 6 ซิกม่า. - ปีค.ศ.1960 มีการนำไปใช้กับยาน อวกาศอะพอลโล เป็นครั้งแรก - ปีค.ศ.1974 ทางกองทัพเรือสหรัฐฯได้พัฒนาเป็นมาตรฐานทางทหารที่1629 ( MIL-STD-1629) เกี่ยวกับการวิเคราะห์ผลกระทบจากความผิดพลาด
E N D
การนำเสนอต่อไปนี้ สามารถรับชมได้ทุกวัย
ประวัติของ 6 ซิกม่า - ปีค.ศ.1960 มีการนำไปใช้กับยานอวกาศอะพอลโลเป็นครั้งแรก - ปีค.ศ.1974 ทางกองทัพเรือสหรัฐฯได้พัฒนาเป็นมาตรฐานทางทหารที่1629 (MIL-STD-1629) เกี่ยวกับการวิเคราะห์ผลกระทบจากความผิดพลาด - ปีค.ศ.1970 อุตสาหกรรมรถยนต์ได้นำมาใช้เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการผลิต
ประวัติของ 6 ซิกม่า(ต่อ) ในทศวรรษที่ 1980 และ1990 เป็นต้นมา บริษัทต่างๆได้นำกลยุทธ์ 6 ซิกม่ามาใช้ในการปรับปรุงผลการผลิตเพื่อในการแข่งขันกับคู่แข่งของตนจนทำให้บริษัทนั้นๆต่างมีผลกำไรอย่างมากมายและเป็นที่ ภาคภูมิใจกับบริษัทของตน เช่น • บริษัทโมโตโรล่า (Motorola (1987) ) • บริษัทเท็กซัส อินสตรูเม้นท์ส ( Texas Instruments (1988) ) • บริษัทเอบีบี ( Asea Brown Boveri (1993) ) • บริษัทอัลไลด์ ซิกนอล ( Allied Signal (1994) ) • บริษัทจีอี ( GE (1995) ) • โทรศัพท์มือถือโนเกีย ( Nokia Mobile(Phone) ระหว่างปีค.ศ.1996-1997 )
“Six Sigma เหมือนกับเหล้าเก่าในขวดใหม่” Six Sigma ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นการประสมประสานกันของสุดยอดเทคนิคต่างๆในอดีต เช่น เทคนิคทางด้านสถิติ เทคนิคในการจัดการสมัยใหม่ เป็นต้น และแนวคิดด้านการบริหารใหม่ๆที่กำลังมาแรงเช่น ดัชนีวัดผลงาน( KPI หรือ BSC )แต่ก็ยังไม่ทิ้งเทคนิคพื้นฐานเดิมๆคือ PDCA
Six Sigmaเป็นกระบวนการในการพัฒนาคุณภาพ โดยการลดข้อบกพร่อง หรือความสูญเสียต่อสินค้าและบริการ คุณภาพในความหมายของทฤษฎีนี้ จะเกิดขึ้นได้ เมื่อมีการลดข้อบกพร่องหรือลดต้นทุนโดยอาศัยวิธีการทางสถิติ ในรูปแบบ การกระจายแนวโน้มออกจากมาตรฐานกลาง Six Sigmaประกอบด้วย 3 อย่าง คือ แนวคิด Six Sigma • การวัดในเชิงสถิติ • กลยุทธ์ทางการดำเนินการ • ปรัชญา หรือแนวความคิด
Six Sigma คือ เครื่องมือและแนวคิดในการปรับปรุงคุณภาพในองค์กรเพื่อลดความผิดพลาดที่เกิดขึ้นในกระบวนการต่างๆ ให้เหลือน้อยที่สุดโดยใช้หลักการทางสถิติ และมุ่นเน้นลูกค้าเป็นหัวใจสำคัญในการแก้ไขปัญหาเพื่อการปรับปรุงและพัฒนากระบวนการรวมทั้งลดผลกระทบและค่าใช้จ่าย โดยชื่อของ Six Sigma นั้นได้มาจากแนวความคิดที่ว่าโอกาสที่เกิดขึ้น 3.4 ครั้งต่อการผลิตหรือการปฏิบัติงาน 1 ล้าน ระดับสมรรถนะขององค์กรโดยส่วนใหญ่จะอยู่ที่ 2 Sigma หรือ 3 Sigma 6 Sigmaคืออะไร?
การวัดผลทางสถิติของการปฏิบัติงานที่มีต่อกระบวนการ หรือ ผลิตภัณฑ์ • เป้าหมายคือเพื่อให้ปราศจากความบกพร่อง (เป็นศูนย์) ในการทำงาน • ระบบการจัดการที่จะนำไปสู่ความเป็นผู้นำในธุรกิจระดับโลก (World Class) 6 Sigmaคืออะไร?
ความหมายเชิงตัวเลขของ 6 ซิกม่า • ± 1σ มีค่าการยอมรับ เท่ากับ 68.27 % • ± 2σ มีค่าการยอมรับ เท่ากับ 95.45 % • ± 3σ มีค่าการยอมรับ เท่ากับ 99.73 % • ± 4σ มีค่าการยอมรับ เท่ากับ 99.9937 % • ± 5σ มีค่าการยอมรับ เท่ากับ 99.999943 % • ± 6σ มีค่าการยอมรับ เท่ากับ 99.9999996 % Michael Harley ผู้คิดค้นวิธีการ 6 ซิกม่า กล่าวว่า “6σ คือ เป้าหมายขั้นที่สุดของการจัดการเพื่อบรรลุเป้าหมายคุณภาพ”
ที่ความสามารถของกระบวนการ โอกาสเกิดความบกพร่องต่อล้านหน่วย 2 σ 308,537 PPM 3 σ 66,807 PPM 4 σ6,210 PPM 5 σ233 PPM 6 σ3.4 PPM
99% ยังไม่ดีพอ • จดหมายสูญหายจำนวน 20,000 ฉบับ ต่อชั่วโมง • น้ำดื่มไม่สะอาด มีเกือบจะ 15 นาที ต่อวัน • การผ่าตัดผิดพลาด 5,000 ครั้งต่อสัปดาห์ • การลงจอดของเครื่องบินผิดพลาด 2 ครั้งต่อวัน • มีการจ่ายยาผิดพลาด 200,000 ครั้ง ต่อปี • ไฟฟ้าดับเกือบจะ 7 ชั่วโมง ต่อเดือน
6 ซิกม่ากับความหมายในทางปฏิบัติ ( Six Sigma – Practical Meaning ) 99% Good (3.8 Sigma) 99.99966% Good (6 Sigma) จดหมายสูญหายจำนวน 20,000 ฉบับ ต่อชั่วโมง น้ำดื่มไม่สะอาด มีเกือบจะ 15 นาที ต่อวัน การผ่าตัดผิดพลาด 5,000 ครั้งต่อสัปดาห์ การลงจอดของเครื่องบินผิดพลาด 2 ครั้งต่อวัน มีการจ่ายยาผิดพลาด 200,000ครั้ง ต่อปี ไฟฟ้าดับเกือบจะ 7 ชั่วโมง ต่อเดือน จดหมายสูญหายจำนวน 7 ฉบับ ต่อชั่วโมง น้ำดื่มไม่สะอาด มีเพียง 1นาที ในช่วง 7 เดือน การผ่าตัดผิดพลาด 1.7 ครั้งต่อสัปดาห์ การลงจอดของเครื่องบินผิดพลาด ทุกๆ 5 ปี มีการจ่ายยาผิดพลาดเพียง 68 ครั้ง ต่อปี ไฟฟ้าดับเกือบจะเพียง 1 ชั่วโมงในช่วง 3-4 ปี
ขอบเขต ข้อกำหนดล่าง ศูนย์กลางการ แจกแจงแบบปกติ ขอบเขต ข้อกำหนดบน -5 -4 -3 -2 -1 1 2 3 4 5 X Six sigma ในมุมมองต่าง ๆ 1.Six sigma ในมุมมองที่เป็นการวัดผลทางสถิติอย่างหนึ่ง
2. Six sigma ในมุมมองที่เป็นเป้าหมายอย่างหนึ่ง ช่วยในด้านบุคลากรและกระบวนการให้บรรลุถึงผลิตภัณฑ์และบริการโดยไม่ปรากฏข้อบกพร่องเลย 3.Six sigma ในมุมมองที่เป็นระบบการจัดการแบบหนึ่ง ฝ่ายบริหารมีบทบาทหลักที่สำคัญในการติดตามผลของโปรแกรมและติดตามความสำเร็จที่ได้รับ
แนวคิดพื้นฐานของ Six sigma การพัฒนาองค์การแบบ six sigma เป็นการพัฒนาที่มุ่งเน้นความเป็นเลิศ ซึ่งได้มีการกำหนดแนวทางในด้านต่าง ๆ ได้แก่ ด้านการสื่อสาร การสร้างกลยุทธ์ และนโยบาย การกระจายนโยบาย การจูงใจ และการจัดสรรทรัพยากรในองค์การให้เหมาะสม เพื่อให้การปรับปรุงองค์การเป็นไปอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ โดยเน้นการมีส่วนร่วมของพนักงานที่มีความสามารถ มีความตั้งใจที่จะปรับปรุง ต้องได้รับความรู้ที่เพียงพอต่อการปรับปรุง รวมทั้งมีทีมที่มีความสามารถและมีความตั้งใจที่จะปรับปรุง มีทีมที่ปรึกษาที่มีความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์สูงคอยให้ความช่วยเหลือสนับสนุน
แนวคิดแบบ six sigma เน้นให้พนักงานแต่ละคนสร้างผลงานขึ้นมาโดย 1. การตั้งทีมที่ปรึกษา (Counselling groups) เพื่อให้คำแนะนำพนักงานในการกำหนดแผนปรับปรุงการทำงาน 2. การให้ทรัพยากรที่จำเป็นต่อการปรับปรุง (Providing resource) 3. การสนับสนุนแนวความคิดใหม่ ๆ (Encouraging Ideas) เพื่อให้โอกาสพนักงานในการเสนอแนะความคิดเห็นใหม่ๆ 4. การเน้นให้พนักงานสามารถคิดได้ด้วยตัวเอง (Thinking) เพื่อให้พนักงานสามารถกำหนดหัวข้อการปรับปรุงขึ้นเอง ภายใต้ข้อกำหนดของผู้บริหารองค์การ
แนวคิดการบริหารแบบ six sigma 1.เน้นสร้างทักษะและการเรียนรู้ให้แก่พนักงานอย่างเป็นระบบ และเข้มงวด รู้ปัญหาและกำหนดเป็นโครงการปรับปรุงทั้งระยะสั้นและระยะยาว 2.วัดที่ผลการปรับปรุงเป็นหลัก 3.ใช้ทีมงานที่มีผลประเมินการทำงานดี หรือ ดีเยี่ยม มาทำการปรับปรุงและตัดสินใจให้คนเก่งมีเวลาถึง 100 % เพื่อแก้ปัญหาให้กับองค์การ 4.สร้างผู้นำโครงการให้เกิดขึ้นในอนาคต 5.ใช้ข้อมูลเป็นตัวตัดสินใจเท่านั้น 6.เน้นความรับผิดชอบในการทำโครงการ 7.การให้คำมั่นสัญญามาจากผู้บริหาร
Process Improvement Process Design/Redesign Process Management องค์ประกอบของ Six Sigma
องค์ประกอบแรก คือ การปรับปรุงกระบวนการ เป็นการค้นหาโอกาสพัฒนาจากกระบวนการที่มีอยู่เดิม เพื่อดูว่ามีปัญหา, ความสูญเสีย, ข้อบกพร่อง หรือประเด็นใดที่ยังตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ไม่ดี และนำมาพัฒนาคุณภาพ โดยพยายามค้นหาสาเหตุ และขจัดสาเหตุดังกล่าวทิ้ง เมื่อพัฒนาได้ตามที่ต้องการก็หาทางควบคุมให้อยู่อย่างถาวรซึ่งเป็นการพัฒนาคุณภาพแบบก้าวกระโดดสู่ระดับ 6 Sigma (Breakthough Six Sigma) องค์ประกอบที่สอง คือ การออกแบบกระบวนการ องค์กรจะเลือกออกแบบกระบวนการใหม่, พัฒนาสินค้าใหม่, เพิ่มบริการใหม่ แทนการพยายามปรับปรุงข้อบกพร่องของกระบวนการเดิม เพื่อสร้างความพึงพอใจสูงสุดแก่ลูกค้า และมีข้อบกพร่องให้น้อยที่สุด ซึ่งการออกแบบกระบวนการใหม่ให้เกิดคุณภาพสูงสุดที่นิยมเรียกว่าเป็น การออกแบบเพื่อคุณภาพระดับ 6 Sigma (Design for Six Sigma – DFSS)
องค์ประกอบที่สาม คือ การจัดกระบวนการ หมายถึง การที่ฝ่ายบริหารจัดการมีการกำหนดทิศทาง และกลยุทธ์ขององค์กร การใช้ภาวะผู้นำในการสร้างให้เกิดวัฒนธรรมในการพัฒนาคุณภาพแบบ Six Sigma การค้นหาความต้องการของลูกค้า การค้นหาโอกาสพัฒนาที่เป็นปัญหาหลักขององค์กร การวิเคราะห์และการติดตามผลการพัฒนาคุณภาพ ตลอดจนการพยายามควบคุมผลลัพธ์ที่ได้จากการพัฒนาให้สามารถดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืนในองค์กร เรียกองค์ประกอบที่สามนี้ว่า เป็นภาวะผู้นำเพื่อคุณภาพระดับ 6 Sigma (Six Sigma Leadership)
ปรัชญาของ 6s ทุกๆ สิ่ง ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมใดก็ตาม เช่น ใบแสดงราคาสินค้า (invoice)หรือ แผงวงจรไฟฟ้า ( PCBA) จะเกิดขึ้นได้ล้วนต้องอาศัย กระบวนการ (process) inputs กระบวนการ outputs ทุกๆ กระบวนการสามารถบ่งชี้ได้ ทุกๆ กระบวนการสามารถวัดผลได้ ทุกๆ กระบวนการสามารถควบคุมได้ ทุกๆ กระบวนการสามารถทำนายได้ ทุกๆ กระบวนการสามารถทำให้ดีขึ้นได้ ทุกๆ ข้อบกพร่องสามารถป้องกันได้
เป้าหมายของ 6s • การลดข้อบกพร่อง (Defect Reduction) • การพัฒนาประสิทธิภาพการผลิต (Yield Improvement) • เพิ่มความพอใจของลูกค้า (Improved Customer Satisfaction) • เพิ่มรายได้สุทธิ (Higher Net Income)
หลักการสำคัญ 1. การยึดลูกค้าเป็นจุดศูนย์กลาง 2. การบริหารการจัดการโดยใช้ข้อมูล ข้อเท็จจริง 3. การมุ่งเน้นกระบวนการ 4. เน้นการจัดการเชิงรุก 5. เน้นการแก้ไขปัญหาแบบไร้พรมแดน 6. เน้นภาวะผู้นำและการมีส่วนร่วมของฝ่ายบริหาร 7. การมุ่งเน้นนวัตกรรมตามความคิดสร้างสรรค์ 8. การมุ่งสู่ความเป็นเลิศ ไม่เกรงกลัวต่อการเปลี่ยนแปลง และอดทนต่อความล้มเหลว
ปัจจัยแห่งความสำเร็จ 1. ผู้บริหารระดับสูงต้องแสดงวิสัยทัศน์และความเป็นผู้นำในการปรับปรุง และคัดเลือกพนักงานที่มีความรู้ความสามารถในการปรับปรุงเพื่อให้เกิดความสำเร็จ 2. องค์กรต้องมีความพร้อม เช่น จัดทีมงานที่มีความรู้ด้าน Six Sigma งบประมาณ วัฒนธรรมที่พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง และระบบสารสนเทศที่สามารถตรวจสอบได้ 3. มีนโยบายคุณภาพที่เน้นการปรับปรุงองค์กรให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า
หกซิกม่าเริ่มต้นที่ CTQCTQ : CRITICAL TO QUALITY คือจุดวิกฤตต่อคุณภาพซึ่งหมายถึงส่วนของกระบวนการหรือวิธีการปฏิบัติงานที่มีผลโดยตรงต่อความต้องการของลูกค้าและมาตรฐาน
ยุทธวิธี Six Sigma 5 ขั้นตอน(DMAIC) 1.Define คือ ขั้นตอนของการกำหนดปัญหา เลือกการปรับปรุงหรือออกแบบ ทั้งนี้เน้นความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก เพื่อให้โครงการที่เลือกจะทำนั้นเป็นเรื่องสำคัญ ๆ จริง ทำแล้วคุ้มค่า ตรงประเด็น ไม่เสียเวลาเปล่า 2.Measure คือ ขั้นตอนการวัด เช่น วัดความสามารถของกระบวนการวัดของเสีย วัดประสิทธิผล ฯลฯ เพื่อนำมาวิเคราะห์ตัวแปรต่าง ๆ 3.Analyze คือ ขั้นตอนการวิเคราะห์ (จากข้อมูลที่วัดมาได้) เพื่อหาหรือพิสูจน์ตัวแปรที่สำคัญที่สุดในระบวนการ (Key Process Variables) ที่เป็นต้นตอสาเหตุของปัญหา ในขั้นตอนนี้ถือว่าสำคัญมากเพราะถ้าหาตัวแปรไม่เจอ หรือหาผิดก็ไม่อาจจะปรับปรุง หรือปรับปรุงผิด
4.Improve คือ ขั้นตอนการปรับปรุง หลังจากที่เราจับตัวแปรที่มีผลมาก ๆ หรือสำคัญๆ ได้แล้ว เราก็ลงมือแก้ไข/ปรับปรุง เพื่อขจัดสาเหตุที่วิเคราะห์ได้ หรือในการออกแบบขั้นนี้จะเป็นการออกแบบกระบวนการ/ผลิตภัณฑ์เพื่อขจัดหรือควบคุมตัวแปรที่วิเคราะห์ได้ 5.Control คือขั้นตอนการควบคุม เพื่อให้กระบวนการนั้นนิ่ง ทำให้สม่ำเสมอ เพื่อไม่ให้เกิดข้อบกพร่องอีก
Define Measure Analyze Improve Control • วิเคราะห์ข้อมูล • วิเคราะห์กระบวนการ • วิเคราะห์หาต้นตอของความผันแปร • ประยุกต์ใช้ Graphical • Analysis Tools • ประยุกต์ใช้ Statistical • Analytical Tools • สรุปรากเหง้าของปัญหา • กำหนดขอบเขตของปัญหา • ค้นหาลูกค้าและความต้องการของลูกค้า • - จัดทำผัง CTQ • - เขียนProcessMap • กำหนดขอบเขตของโครงการ • ปรับปรุง Project • Charter • ค้นหาทางเลือกที่เป็นไปได้ • คัดเลือกทางเลือก • ทดลองเพื่อหาทางเลือกที่ดีที่สุด • สร้าง "Should be" • Process Map • ปรับปรุงกระบวนการ • โดยใช้ FMEA • วิเคราะห์ความ คุ้มค่า/คุ้มทุน • กำหนดกลยุทธ์ใน การควบคุมผล • จัดทำแผน ควบคุมผล • ปรับปรุงคู่มือปฏิบัติงาน • - จัดทำแผนฝึกอบรม • ค้นหาความผันแปรของกระบวนการ • กำหนดตัวชีวัดของกระบวนการ • กำหนดชนิดของข้อมูล • ที่จะเก็บ • กำหนดวิธีการเก็บตัวอย่าง • ทำการวิเคราะห์ระบบการวัดผล • ทำการเก็บข้อมูล • วิเคราะห์ขีดความสามารถของกระบวนการ ขั้นตอนการดำเนินการโครงการ Six Sigma
Control Define Improve Measure Analyze DMAIC ทำความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหา และผลกระทบต่อการเงิน ตรวจสอบให้แน่ใจในผลลัพธ์ที่ได้มา ประยุกต์ใช้ ตลอดจน ดำเนินการโดยใช้วิธีการเก็บข้อมูลที่เหมาะสม กำหนดแนวทางการแก้ไข ค้นพบ สาเหตุของปัญหา
การดำเนินการ • - หลักการจากเบื้องบน ( Top-down approach ) • SIX SIGMA ต้องได้รับการส่งเสริมโดยการประยุกต์เข้ากับนโยบาย และกลยุทธ์ของผู้บริหารระดับสูง คำสั่งจากเบื้องบน คือ กุญแจสำคัญของความสำเร็จ • - ให้พนักงานทั้งหมดเข้าร่วม • พนักงานทั้งหมดในทุกๆฝ่าย ไม่ว่าฝ่ายค้นคว้าและออกแบบ , วิศวกร , ฝ่ายผลิต , ฝ่ายขาย และฝ่ายบริการ ต่างก็ได้ถูกคาดเกณฑ์ให้มีส่วนร่วม • ดำเนินการโดยจัดทำเป็นโครงการต่างๆ ( Projects ) • หน่วยงานส่วนต่างๆ ( divisions ) รับผิดชอบในการนำและสนับสนุนกิจกรรมกลุ่มย่อย (SGA : SmallGroup Activities ) ซึ่งถูกวางแผนให้สามารถบรรลุผลได้ในระยะเวลาอันสั้น ช่วง สี่ ถึง ห้าเดือน
- ใช้วิธีการ 6 ซิกม่า มีการกำหนดเป้าหมายอย่างชัดเจน และทำการปรับปรุงกระบวนการต่างๆโดยยืนอยู่บนพื้นฐานของการควบคุมข้อมูลเชิงตัวเลข มีรากฐานทางวิทยาศาสตร์ มีการวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ เข้ามาแทนที่การใช้ประสบการณ์ และสัญชาตญาณ - มีการฝึกอบรม เริ่มจากผู้บริหารระดับสูงลงมา ทุกคนต้องได้รับการอบรมอย่างทั่วถึง ทั้งนี้เพื่อให้สามารถมั่นใจได้ว่า การแพร่กระจายของวิธีการแบบ 6 ซิกม่า ได้เป็นไปอย่างทั่วถึงตลอดทั้งกลุ่ม
วิธีการทำ Six Sigma • ผู้บริหารสูงสุดรับรู้ถึงความไม่พอใจของลูกค้าที่มีต่อสินค้าหรือบริการของบริษัทจึงแต่งตั้ง แชมเปี้ยน เพื่อดูแลแก้ไขปัญหา แชมเปี้ยนจะ 1.Defineเพื่อดูแลแก้ไข ค้นหาปัญหาที่เกิด แล้วแยกแยะปัญหาที่เกิดขึ้นออกเป็นโครงการต่างๆ เลือกโครงการที่มีผลกระทบสูงมาปรับปรุงก่อน นำโครงการที่เลือกแล้วมาทำเป็นแผนผังกระบวนการ เพื่อให้เห็นความเชื่อมโยงของขั้นตอนเพื่อให้เห็นจุดที่เกิดความผิดพลาดได้ชัดขึ้น จากตอนนี้จะทำให้สามารถทำการคัดเลือกทีมงานที่จะมาทำงานได้ • จากนั้น Black Belt ต้องทำการ2.วัดประเมินค่า (Measure) ของปัญหาที่เกิดขึ้นโดยตรวจสอบระบบการวัดและการเก็บข้อมูล ประเมินสภาพปัญหาปัจจุบันของปัญหาจากข้อมูลที่วัดได้ แล้ววางแนวทางการดำเนินงาน โดยประเมินตัวเลขเป้าหมายที่ต้องการปรับปรุง รวมถึงระยะเวลาในการทำงาน แล้วรายงานให้ แชมเปี้ยนรับรู้ เพื่อขออนุมัติดำเนินการต่อไป
จากนั้น Black Belt จะนำข้อมูลที่วัดได้ 3.มาวิเคราะห์(Analyze)เพื่อหาปัจจัยที่แท้จริงของความผิดพลาด โดยใช้เทคนิคด้านสถิติ และนำข้อมูลจาการวิเคราะห์ที่ได้ เสนอให้ แชมเปี้ยน พิจารณา • จากนั้นเข้าสู่ขั้นตอน 4. Improve หรือ ปรับปรุงแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างเป็นขั้นตอน โดยการตั้งสมมติฐานถึงวิธีการแก้ไขปัญหา จนถึงขั้นออกแบบแผนการปรับปรุง โดยอาจต้องปรับปรุงกระบวนการขึ้นใหม่ ลดขั้นตอนที่ไม่จำเป็น และเพิ่มขั้นตอนที่จำเป็น ที่สำคัญคือต้องขจัดปัญหาที่แท้จริงของการผิดพลาดให้ได้ • เมื่อสามารถปรับปรุงจนได้ผลตามเป้าหมายแล้ว ก็ทำเป็นแบบแผนในการ 5. ควบคุมและป้องกัน Control ไม่ให้เกิดปัญหาเหล่นนั้นขึ้นมาได้อีก เมื่อสามารถแก้ไขปัญหาโครงการเดิมได้แล้ว จึงค่อยก้าวไปแก้ไขปัญหาโครงการอื่นๆ ต่อไป โดยกำหนดเป็นแผนที่ต่อเนื่องตลอดไป ***สิ่งสำคัญที่สุดของ six Sigma คือ การสนับสนุนกันตั้งแต่ระดับบริหารจนถึงระดับปฏิบัติการ
“การทำ six sigma เป็นการเปลี่ยนแปลงที่โครงสร้าง(Organize)” -ไม่ใช่กระบวนการ(Process) -Organize เป็นเจ้าของ Process
โครงสร้างเพื่อการบริหาร Six Sigma ทีมนำสูงสุด แม่ทัพ แม่ทัพ แม่ทัพ อัศวินพี่เลี้ยง อัศวินพี่เลี้ยง อัศวินพี่เลี้ยง อัศวิน อัศวิน อัศวิน อัศวิน อัศวิน อัศวิน ทีมสมาชิก ทีมสมาชิก หัวหน้างาน สมาชิก ผู้จัดการกระบวนการ
องค์ประกอบสำคัญที่มีบทบาทต่อ six sigma 1.Champion(ทีมนำสูงสุด)คือผู้บริหารระดับสูง (Executive-Level Management) สนับสนุนให้เป้ามายของงานสำคัญประสบความสำเร็จ รณรงค์และผลักดันให้เกิดองค์การ six sigma และเกิดกระบวนการปรับปรุงองค์การอย่างต่อเนื่อง ขจัดอุปสรรค ให้รางวัลหรือค่าตอบแทน ตอบปัญหา อนุมัติโครงการ กำหนดวิสัยทัศน์โครงการ สนับสนุนทรัพยากรในด้านบุคลากร งบประมาณ เวลา สถานที่ กำลังใจ และความชัดเจนในหน้าที่
2. Master Black Belt(อัศวินพี่เลี้ยง)คือ ผู้ชำนาญการด้านเทคนิค และเครื่องมือสถิติ เป็นผู้มีความรู้และความเชี่ยวชาญในการทำงานเป็นอย่างดี และสามารถถ่ายทอดและให้การอบรมเพื่อสร้างทีม Black Belt และ Green Belt ตลอดการปรับปรุงได้ 3. Black belt (แม่ทัพ)คือ ผู้บริหารโครงการ (Project Manager) และผู้ประสานงาน (Facilitator )ได้รับการรับรองว่าเป็นสายดำชั้นครู Black belt เป็นการบ่งบอกถึงระดับความสามารถสูงสุดของนักกีฬายูโด จะทำหน้าที่เป็นหัวหน้าโครงการ บริหารลูกทีมที่มีลักษณะข้ามสายงาน ซึ่งในการบริหาร six sigma จะประกอบไปด้วยการทำโครงการย่อยที่คัดเลือกจากปัญหาที่มีอยู่ในกระบวนการต่าง ๆ ขององค์การ กระจายกลยุทธ์และนโยบายของบริษัทไปยังระดับปฏิบัติการ
4. Green belt(อัศวิน)คือพนักงานที่ทำหน้าที่โครงการ เป็นผู้ที่รับการรับรองว่ามีความสามารถเทียบเท่านักกีฬายูโดในระดับสายเขียว ซึ่งในการบริหาร six sigma นั้น ผู้ที่ทำหน้าที่เป็น Green belt จะเป็นผู้ช่วยของ Black belt ในการทำงาน ทำหน้าที่ในการปรับปรุงโดยใช้เวลาส่วนหนึ่งของการทำงานปกติ 5. Team Member(สมาชิกทีม)ในโครงการทุกโครงการจะต้องมีสมาชิกทำงาน 4-6 คน โดยเป็นตัวแทนของคนที่ทำงานในกระบวนการที่อยู่ในขอบข่ายของโครงการ
กระบวนการพัฒนาคุณภาพแบบ Six Sigma ระยะที่ 1 ระยะตัดสินใจ ระยะที่ 2 ระยะเตรียมความพร้อม ระยะที่ 3 ระยะคัดเลือกโอกาสพัฒนา ระยะที่ 4 ระยะพัฒนาตามขั้นตอน D-M-A-I-C ระยะที่ 5 ระยะทบทวนผลดำเนินการและปรับปรุงระบบ
ความแตกต่างระหว่าง Six Sigma กับหลักการปรับปรุงต่างๆ Six Sigma เป็นกระบวนการที่รวบรวมหลักการปรับปรุงต่างๆ ได้แก่ Benchmarking, Productivity Improvement, Strategic Deployment และ Statistical and Techniques เป็นต้น นำมาหลอมรวมกันเพื่อให้พนักงานทุกระดับสามารถเข้าใจปฎิบัติให้เป็นรูปธรรม มีเป้าหมายเด่นชัด และที่สำคัญที่สุดคือเห็นผลสำเร็จย่างรวดเร็ว ทั้งนี้เพราะว่าการบิหารแบบ Six Sigma จะเน้นการบริหารแบบบนลงล่าง (Top Down Management) คือระบบที่ผู้บริหารต้องผลักดันแนวความคิดและการปรับปรุงให้เกิดขึ้น นอกจากนี้ Six Sigma ยังเป็นกระบวนการหนึ่งที่สามารถทำให้ องค์การต่างๆ ที่นำไปใช้สามารถบรรลุถึงข้อกำหนดของรางวัลคุณภาพแห่งชาติ (National Quality Award)
ISO 9000 และซิกส์ซิกม่า การใช้ระบบมาตรฐาน ISO 9000 เพื่อแสดงให้เห็นถึงสมรรถนะของบริษัทในการจัดหาผลิตภัณฑ์และการบริการที่สอดคล้องต่อความต้องการของลูกค้าได้ ดังนั้นซิกส์ ซิกม่าจึงเป็นสิ่งจำเป็นต่อองค์กรไม่ว่าองค์กรจะมีการทำ ISO 9000 หรือไม่ก็ตาม แม้ว่ามาตรฐานชุด ISO 9000 เป็นสิ่งที่อุตสาหกรรมคำนึงถึงและนำมาปฏิบัติจนเป็นข้อกำหนดหนึ่งของการทำธุรกิจตั้งแต่แรกเริ่ม แต่ในมาตรฐาน ISO 9000: 2000 ชุดใหม่กลับไม่มีการนำเสนอถึงความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญไปสู่แนวคิดนี้ แต่ซิกส์ ซิกม่าจะตรงข้ามกันเพราะซิกส์ ซิกม่าจะมุ่งสู่การมีสมรรถนะระดับโลกโดยมีพื้นฐานเชิงปฏิบัติในเรื่องการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องนั่นเอง ซิกส์ ซิกม่า จึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญเหนือกว่าทั้งในส่วนของอัตราการปรับปรุง ผลลัพธ์ทั้งในระดับพื้นฐานและระดับลึก ความพึงพอใจของลูกค้าและความผิดชอบจากผู้บริหารระดับสูง แต่อย่างไรก็ตามซิกส์ ซิกม่ากับ ISO 9000 ก็เป็นสิ่งที่สามารถประยุกต์ใช้ร่วมกันได้ในองค์กรหากแต่ต้องเป็นเรื่องที่มีจุดประสงค์แตกต่างกันเป็นอย่างมาก
ความจำเป็นและเหมาะสมในการจัดทำระบบ ISO 9001 ต่อองค์กรต่างๆ เป็นดังนี้ • ISO9001 เหมาะมากสำหรับองค์กรที่ไม่ค่อยมีระบบ โดยเฉพาะบริษัทที่เติบโตจากระบบครอบครัว การทำ ISO9001 จะเป็นอะไรที่เด่นชัดมาก และเห็นประสิทธิผลมาก ในขณะเดียวกัน ก็ต้องใช้กำลังภายในในการจัดทำระบบมากขึ้นเป็นทวีคูณ • ISO9001 จะเหมาะน้อยสำหรับองค์กรที่มีระบบดีปานกลาง เช่น ระบบที่ถ่ายโอนมาจากต่างประเทศ เช่นญี่ปุ่น อเมริกา ยุโรป(แต่มักไม่รู้ว่าระบบตัวเองดี เพราะความเคยชิน) ประสิทธิผลอาจจะเห็นได้บ้าง แต่อาจไม่มาก • ISO9001 อาจไม่จำเป็นเลย (แต่ต้องมี เพราะข้อตกลงทางการค้า) สำหรับองค์กรที่มีระบบดีเลิศ เช่น องค์กรที่ปฏิบัติ TQM, Six Sigma จนได้ผลดีเลิศ บางทีการปฏิบัติ ISO9001 อาจไม่ทำให้องค์กรรู้สึกได้เลยว่ามีอะไรดีขึ้นบ้าง
ความสัมพันธ์ระหว่าง TQM กับ Six Sigma แนวคิด Six Sigma ไม่ใช่การปัดฝุ่นของ TQM แต่เป็นการนำแนวคิดใหม่ทางสถิติ โดยการสลัดเอาความคิดเก่าๆเกี่ยวกับสถิติออกไป แล้วหันมามองกลวิธีการควบคุมกระบวนการทางสถิติที่แตกต่างออกไป Ronald Snee ได้อธิบายไว้ว่า “Six Sigma เป็นการพัฒนาเป้าหมายกลยุทธ์ของกิจการ ที่จะเพิ่มความพึงพอใจของลูกค้า และสถานะทางการเงินของกิจการ” และได้หยิบยกคุณสมบัติพิเศษ 8 ประการของ Six Sigma ในการเพิ่มความสำเร็จสำหรับการบริหารงาน จากระดับล่างขององค์กรขึ้นมา ดังนี้
เกิดผลลัพธ์สุดท้ายได้ตามที่คาดหวังเกิดผลลัพธ์สุดท้ายได้ตามที่คาดหวัง • เป็นการแสดงภาวะผู้นำของระดับบริหาร • มีขั้นตอนที่ลงตัว (การวัด การวิเคราะห์ การปรับปรุง และการควบคุม) • เห็นผลสำเร็จของโครงการได้ทันใจ (3-6 เดือน) • สามารถกำหนดมาตรการสำหรับการวัดผลได้ชัดเจน • ปัจจัยพื้นฐานของ Six Sigma คือ ภาวะผู้นำและผู้ปฏิบัติงาน • เน้นที่ลูกค้าและกระบวนการ • ใช้กลวิธีทางสถิติในการพัฒนา ซึ่งเมื่อเทียบกับการบริหารคุณภาพแบบอื่นๆ จะพบว่า วิธีการบริหารคุณภาพแบบอื่นๆ จะประกอบไปด้วย 2-3 ข้อข้างต้น แต่ Six Sigma จะเป็นการผสมผสานของความสำเร็จทั้ง 8 ประการ
การประยุกต์ใช้ six sigma Six Sigma จะเป็นกระบวนการที่ทำให้การปรับปรุงองค์การสำเร็จได้นั้น จะต้องขึ้นกับกระบวนการต่างๆ ดังนี้ 1. การยอมรับการเปลี่ยนแปลงกระบวนการ เนื่องจากกระบวนการทุกกระบวนการสามารถก่อให้เกิดความผิดพลาดได้ ดังนั้นจะต้องมีการปรับเปลี่ยนกระบวนการให้เหมาะสมอย่างต่อเนื่อง 2. ความสามารถของพนักงานในการปรับปรุง ผู้บริหารระดับสูงต้องแสดงวิสัยทัศน์และความเป็นผู้นำในด้านการปรับปรุง รวมทั้งคัดเลือกพนักงานที่มีความรู้และความสามารถในการปรับปรุง เพื่อให้เกิดความสำเร็จอย่างแท้จริง 3. โครงสร้างองค์การที่เหมาะสม องค์การจะต้องมีโครงสร้างการปรับปรุงชัดเจนโดยเฉพาะทีมบุคลากรปรับปรุงคุณภาพ จะต้องมีเวลาเพียงพอเพื่อการวัดและวิเคราะห์ปัจจัยของความผิดพลาด ปรับปรุงเพื่อลดความผิดพลาดนั้น และควบคุมปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน มีการจัดตั้งหน่วยงานรองรับต่อการประยุกต์ใช้ Six Sigma 4. การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ การสื่อสารที่เกี่ยวข้องกับการปรับปรุงจะต้องมีอยู่อย่างสม่ำเสมอ และต่อเนื่องตลอดโครงการปรับปรุง เพื่อให้พนักงานที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการเห็นประโยชน์และอยากนำไปปฏิบัติตาม 5. การมีตัวชี้วัด ตัวชี้วัดที่ดีที่สุด คือ ระดับคุณภาพที่พนักงานทุกคนรับทราบ และพยายามหาแนวทางปรับปรุงเพื่อบรรลุซึ่งระดับคุณภาพ
ความสัมพันธ์ระหว่าง Lean กับ Six Sigma • แนวคิดแบบ Lean Six Sigma นั้นเป็นการรวมเอาแนวคิด และกลยุทธ์มารวมกันเพื่อให้องค์กรธุรกิจนั้นมีความเร็วที่ดีกว่า มีความแปรปรวนที่ลดน้อยลง และที่สำคัญที่สุดจะมีผลกระทบต่อองค์กรมากที่สุด สังเกตดูได้จากแนวโน้มในอนาคตว่าแนวคิดต่าง ๆ อาจจะรวมเป็นแค่วิธีการเดียวเท่านั้น คงต้องคอยติดตามดูหัวใจหลักของ Lean Six Sigma นั้น คืออัตราที่เร็วที่สุดของการปรับปรุงในความพอใจของลูกค้า ต้นทุน คุณภาพ ความเร่ง และการลงทุนในทรัพย์สิน • ลำพังแนวคิดของ Lean เองนั้นไม่สามารถที่จะทำให้กระบวนการอยู่ในการควบคุมเชิงสถิติได้ และแนวคิด Six Sigma เองก็ไม่สามารถปรับปรุงความเร็วของกระบวนการได้อย่างมากมายหรือลดการลงทุนได้ แต่เป็นที่รับรู้กันว่าความแปรปรวนนั้นเป็นศัตรูของธุรกิจทั้งหมด และ Lean Six Sigma สามารถที่จะกำจัดความแปรปรวนนี้ออกไปจากกระบวนการได้ดีกว่าวิธีการอื่น ๆ
10 ขั้นตอนในการนำเอา Lean Six Sigma ไปใช้งาน • 1. ต้องหาทีมที่ปรึกษา ที่ปรึกษาในยุคปัจจุบันจะต้องเป็นเหมือน ตัวแทนความรู้ (Knowledge Agent) ที่จะต้องมีความรู้ในเรื่องราวเทคนิคใหม่ ถ่ายทอดได้ และสร้างกระบวนการถ่ายทอดความรู้เหล่านั้นให้เกิดขึ้นกับองค์กรที่ได้รับคำปรึกษา ดังนั้นเพื่อให้เกิดความรวดเร็วในการเรียนรู้ องค์กรจึงจำเป็นที่จะต้องหาที่ปรึกษามาเป็นตัวกระตุ้นมาเป็นตัวแทนความรู้ในการบริหารความเปลี่ยนแปลง • 2. ความเป็นผู้นำ (Leader ship)สิ่งหนึ่งที่สำคัญมากในการนำองค์กรธุรกิจ คือ ความเป็นผู้นำ (Leader ship) วิสัยทัศน์ (Vision) และเป้าหมาย (Goal) ขององค์กรจะต้องถูกกำหนดอย่างเด่นชัดโดยผู้นำ MD หรือ CEO เพื่อที่จะสร้างความเกี่ยวโยงไปถึงโปรแกรม หรือโครงการ Lean Six Sigma • 3. การคัดเลือกผู้ปฏิบัติงานการสร้างงานใหญ่ในระดับองค์กรนั้นจะต้องมีเจ้าภาพ หรือผู้ที่รับผิดชอบ • 4. การฝึกอบรมทุกบริษัทมีการฝึกอบรมประจำทุกปี หรือตลอดเวลาตามแผนงาน ฝ่ายทรัพยากรบุคคลซึ่งจะเป็นฝ่ายจัดการฝึกอบรมจึงมีความสำคัญมาก เพราะว่าการฝึกอบรมที่มาจากฝ่ายบุคคลเป็นความต้องการพื้นฐานของบุคคลไม่ใช่ขององค์กรที่กำลังต้องการจะเปลี่ยนแปลง
10 ขั้นตอนในการนำเอา Lean Six Sigma ไปใช้งาน • 5. การเริ่มโครงการโครงการจะริเริ่มได้ก็คงจะต้องมาจากวิสัยทัศน์ของผู้บริหารที่ผ่านการฝึกอบรมมาก่อน สิ่งที่สำคัญของโครงการริเริ่มต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นโครงการอะไรก็ตามสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ การได้รับการสนับสนุนจากฝ่ายบริหาร • 6. การเลือกโครงการ และการดำเนินงาน เราสามารถเริ่มโครงการ Lean และ Six Sigma ด้วยภาพองค์รวมขององค์กรได้ด้วยการวาดแผนผังสายคุณค่า (Valve Stream Mapping) ที่จะแสดงให้เห็นถึงกระบวนการธุรกิจ และจุดที่สามารถจะนำมาเป็นโครงการที่ทำให้เกิดผลประโยชน์ได้มากขึ้น • 7. การติดตามผลสมรรถนะของทีมงานโครงการโดยทั่วไปแล้วในระดับผู้บริหารจะติดตามผลจากผลตอบแทนจากการลงทุนในรูปแบบทางการเงินด้วยกำไรที่เพิ่มขึ้น หรือต้นทุนที่ลดลง • 8. การพัฒนาปรับปรุงสมรรถนะของทีม การติดตามสมรรถนะของโครงการริเริ่ม เช่น Lean Six Sigma ก็คงจะไม่ใช้แค่การประเมินบุคคล หรือความสามารถของบุคคลเท่านั้น แต่เป็นการประเมินความสามารถขององค์กรในการตอบสนองต่อการพัฒนา
10 ขั้นตอนในการนำเอา Lean Six Sigma ไปใช้งาน • 9. ดำเนินการอย่างต่อเนื่องคงจะเหมือนกับคำที่ว่า Keep Walking โครงการ Lean Six Sigma ไม่เหมือนกับโครงการทั่วไปที่มีจุดเริ่มต้น และจุดจบหรือจุดสำเร็จของโครงการ แต่โครงการ Lean Six Sigma ไม่เหมือนกัน เพราะว่าขั้นตอนหลังสุดของทั้ง Lean และ Six Sigma คือ การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง (Continuous Improvement) • 10. พัฒนาจนไปบรรจบกับการจัดการโซ่อุปทาน จากสภาพการแข่งขันที่เปลี่ยนแปลงไป และความซับซ้อนในการดำเนินธุรกิจที่มีมากขึ้น ส่งผลให้บริษัท และองค์กรต่าง ๆ ต้องพัฒนาแนวคิดการจัดการขึ้นมาใหม่ หรือบูรณาการจุดแข็งของแนวคิดเดิมที่มีอยู่ขึ้นมาใหม่ เพื่อให้สามารถรับมือและตอบสนองกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไปได้
“ทำ 6 sigma ต้องได้ Innovation” นวัตกรรม (Innovation) คืออะไร • "ทำสิ่งใหม่ขึ้นมา" (สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ, 2547) • โทมัส ฮิวส์ (Hughes, 1987) ได้ให้ความหมายของนวัตกรรมว่า เป็นการนำเอาวิธีการใหม่ๆ มาปฏิบัติหลังจากที่ได้ผ่านการทดลองและได้รับการพัฒนามาเป็นลำดับแล้ว โดยเริ่มมาจากการคิดค้นและพัฒนา ซึ่งอาจมีการทดลองปฏิบัติก่อน และถ้าจะนำไปปฏิบัติจริงจะมีความแตกต่างไปจากการปฏิบัติเดิมที่เคยปฏิบัติมา และ "นวัตกรรม" ยังหมายความรวมไปถึงการทำใหม่ขึ้นอีกครั้ง • จอห์นและสเนลสัน (Johne and Snelson, 1990) กล่าวว่า หัวใจแห่งความสำเร็จขององค์การคือการพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์นั้น