130 likes | 405 Views
ASEAN Anthem. เพลงประจำอาเซียน โดย นาง ญาณิศา ถิร วัฒนากุล ครูผู้ช่วยโรงเรียนบ้านเกาะน้ำโจน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต ๑. ความหมายของ ASEAN.
E N D
ASEAN Anthem เพลงประจำอาเซียน โดย นางญาณิศาถิรวัฒนากุล ครูผู้ช่วยโรงเรียนบ้านเกาะน้ำโจน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต ๑
ความหมายของ ASEAN อาเซียน (ASEAN) คือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้(Association of South East Asian Nations) เริ่มก่อตั้งเป็นทางการในประเทศไทย ผ่านการลงนามความร่วมมือทางเศรษฐกิจในปฏิญาอาเซียน (ASEAN Declaration) เมื่อวันที่ 8 ส.ค. 2510 ผ่านทางผู้นำ 5 ชาติ คือ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย สิงคโปร์ และประเทศไทย ปัจจุบันมีสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ ซึ่งสมาชิกที่เพิ่มขึ้นคือ บรูไน พม่า ลาว เวียดนาม และกัมพูชา
ความเป็นมาของเพลงประจำอาเซียน (ASEAN Anthem) 1. จุดเริ่มต้นของความคิดในการมีเพลงประจำอาเซียนเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก จากการหารือ ในที่ประชุม อาเซียนทางด้านวัฒนธรรมและสนเทศ (ชื่อทางการคือคณะกรรมการ อาเซียนว่าด้วยวัฒนธรรม และสนเทศ) ครั้งที่ 29 ในเดือนมิถุนายน ปี 2537 ซึ่งในครั้งนั้นที่ประชุม มีความเห็นตรงกันว่า อาเซียนควรจะมีเพลงประจำอาเซียน โดยกำหนดจะให้เปิดเพลงประจำอาเซียนในช่วงของการจัด กิจกรรมต่างๆ ทางด้านวัฒนธรรมและสนเทศ ทั้งนี้ในเรื่องการสนับสนุนด้านการเงินที่ประชุมตกลง ให้ใช้เงินจากกองทุนวัฒนธรรมอาเซียนเพื่อสนับสนุนการจัดทำโครงการเพื่อคัดเลือกเพลงประจำ อาเซียน
2. ต่อมาในการประชุม ครั้งที่ 32 ของคณะกรรมการอาเซียนว่าด้วยวัฒนธรรมและสนเทศในเดือน พฤษภาคม ปี 2540 ที่ประเทศมาเลเซีย ได้พิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อคัดเลือกเพลงใน รอบสุดท้าย โดยเพลงที่เข้ารอบในครั้งนั้นเป็นเพลงจากไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ และเพลง ASEAN Song of Unity หรือ ASEAN Oh ASEAN จากฟิลิปปินส์ได้รับรางวัลชนะเลิศ อย่างไรก็ดี เพลงดังกล่าวไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลายในประเทศสมาชิกอาเซียน เนื่องจากใช้เปิดเฉพาะในการ ประชุมคณะกรรมการอาเซียนว่าด้วยวัฒนธรรมและสนเทศและกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง
3. ด้วยเหตุนี้ทำให้ในการประชุมสุดยอดอาเซียนที่มาเลเซีย และที่สิงคโปร์ ประเทศที่เป็นเจ้าภาพ การประชุมจึงได้แต่งเพลงเพื่อใช้เปิดในที่ประชุม โดยมาเลเซียแต่งเพลง “ASEAN Our Way” และสิงคโปร์แต่งเพลง "Rise" บทบาทของไทยกับการจัดทำเพลงประจำอาเซียน 4. การจัดทำเพลงประจำอาเซียนเป็นการดำเนินการตามกฎบัตรอาเซียนโดย ข้อบทที่ 40 ระบุให้ อาเซียนมีเพลงประจำอาเซียนโดยหากเป็นไปได้ให้เสร็จเรียบร้อยก่อนการให้สัตยาบันกฎบัตร อาเซียนและการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14
5. ประเทศไทยได้รับความไว้วางใจจากประเทศสมาชิกอาเซียนให้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันเพลง ประจำอาเซียน โดยที่ประชุมประเทศสมาชิกอาเซียนได้เห็นชอบให้กำหนดรูปแบบการแข่งขันเป็น open competition โดยให้สำนักเลขานุการอาเซียนในแต่ละประเทศกลั่นกรองคุณสมบัติเบื้องต้น และจัดส่งให้ประเทศไทยภายในเดือนกันยายน 2551 โดยเนื้อร้องต้องมีเกณฑ์ ดังนี้ คือ (1) เป็น ภาษาอังกฤษ (2) มีลักษณะเป็นเพลงชาติประเทศสมาชิกอาเซียน (3) มีความยาวไม่เกิน 1 นาที (4) เนื้อร้องสะท้อนความเป็นหนึ่งเดียวของอาเซียนและความหลากหลายทางด้านวัฒนธรรมและ เชื้อชาติ (5) เป็นเพลงที่แต่งขึ้นใหม่ ทั้งนี้ ผู้ชนะเลิศจะได้รับเงินรางวัล 2 หมื่นดอลลาร์สหรัฐ
6. ในส่วนของการคัดเลือกเพลงในประเทศไทย กระทรวงวัฒนธรรมได้จัดการประชุมคณะกรรมการ ตัดสินเพื่อคัดเลือกเพลงภายในประเทศขึ้นเมื่อวันที่ 22 กันยายน 2551 โดยมีเพลงจำนวน11เพลง ที่ผ่านเกณฑ์ และประเทศไทยได้ส่งเพลงดังกล่าวเข้าร่วมการประกวดแข่งขันในระดับภูมิภาค อาเซียน
7. ในระดับภูมิภาคอาเซียน กรมอาเซียน ได้เป็นเจ้าภาพจัดการประกวดแข่งขันเพลงประจำอาเซียน ในระดับภูมิภาค รอบแรก เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2551 ที่โรงแรม Pullman Bangkok King Power โดยมีกรรมการจากประเทศสมาชิกอาเซียนประเทศละ 1 คน ในส่วนของไทย ฯพณฯ องคมนตรี พล.ร.อ. อัศนี ปราโมช ได้ให้เกียรติรับเป็นกรรมการฝ่ายไทยโดยทำหน้าที่ประธานการประชุมคัด เลือกเพลงและได้คัดเลือกเพลงจำนวน 10 เพลง จากที่ส่งเข้าประกวดทั้งสิ้น 99 เพลง รอบตัดสิน เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2551 ประกอบด้วยกรรมการจากอาเซียน 10 คนเดิม และจากนอก อาเซียนอีก 3 คน ได้แก่จากญี่ปุ่น จีน และออสเตรเลียร่วมตัดสินด้วย ทั้งนี้ ที่ประชุมมีมติเป็น เอกฉันท์เลือกเพลง ASEAN Way ของไทยที่แต่งโดย นายกิตติคุณ สดประเสริฐ (ทำนองและ เรียบเรียง) นายสำเภา ไตรอุดม (ทำนอง) และนางพะยอม วลัยพัชรา (เนื้อร้อง) ให้เป็นเพลง ประจำอาเซียน
8. กรมอาเซียนได้เป็นเจ้าภาพจัดงานเปิดตัวเพลงประจำอาเซียนเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2551 ณ โรงละครอักษรา โดยมีวงดุริยางค์ทหารเรือบรรเลงเพลง ASEAN Anthem และเพลงยอดนิยม จากประเทศสมาชิกอาเซียน ในส่วนของไทยได้บรรเลงเพลง “ลาวดวงเดือน” โดยได้มีแขกผู้มี เกียรติจากส่วนราชการต่างๆ คณะทูต ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และสื่อมวลชน กว่า 500 คน มาร่วมงาน ทั้งนี้ เพลงประจำอาเซียนจะใช้บรรเลงอย่างเป็นทางการในพิธีเปิดการประชุมสุดยอด อาเซียน ครั้งที่ 14 ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2552 ที่หัวหิน
ความสำคัญของเพลงประจำอาเซียนความสำคัญของเพลงประจำอาเซียน 9. การมีเพลงอาเซียน ถือว่ามีความสำคัญต่ออาเซียนเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจาก นับจากนี้ไปอาเซียนจะมีเพลงประจำอาเซียนซึ่งจะช่วยสนับสนุนการเสริมสร้างอัตลักษณ์ของอาเซียนในการเชื่อมโยง อาเซียนเข้าไว้ด้วยกัน นอกจากนี้ การได้รับความไว้วางใจจากประเทศสมาชิกอาเซียนให้เป็น เจ้าภาพจัดการประกวดแข่งขันครั้งนี้ รวมทั้งการที่เพลงจากไทยได้รับคัดเลือกให้เป็นเพลงประจำ อาเซียน ถือเป็นเกียรติภูมิของประเทศและแสดงถึงความสามารถของคนไทยด้วย
Raise our flag high, sky high.Embrace the pride in our heart.ASEAN we are bonded as one.Look' in out to the world.For peace our goal from the very startAnd prosperity to last.We dare to dream,We care to share.Together for ASEAN.We dare to dream,We care to shareFor it's the way of ASEAN. ชูธงเราให้สูงสุดฟ้าโอบเอาความภาคภูมิไว้ในใจเราอาเซียนเราผูกพันเป็นหนึ่งมองมุ่งไปยังโลกกว้างสันติภาพ คือเป้าหมายแรกเริ่มความเจริญ คือปลายทางสุดท้ายเรากล้าฝันและใส่ใจต่อการแบ่งปันร่วมกันเพื่ออาเซียนเรากล้าฝันและใส่ใจต่อการแบ่งปันนี่คือวิถีอาเซียน ASEAN Way
พลิ้วลู่ลม โบกสะบัดใต้หมู่ธงปลิวไสวสัญญาณแห่งสัญญาทางใจวันที่เรามาพบกันอาเซียนเป็นหนึ่งดังที่ใจเราปรารถนาเราพร้อมเดินหน้าไปทางนั้นหล่อหลอมจิตใจให้เป็นหนึ่งเดียวอาเซียนยึดเหนี่ยวสัมพันธ์ให้สังคมนี้มีแต่แบ่งปันเศรษฐกิจมั่นคงก้าวไกล เนื้อร้องไทย
เพลง อาเซียนร่วมใจเนื้อร้อง/ทำนอง ประภาส ชลศรานนท์ดนดรี คุณพระช่วยออร์เคสตราขับร้อง ปาน ธนพร แวกประยูร / บี พีระพัฒน์ เถรว่อง (พร้อมกัน) มาจับมือกันสร้างรั้ว เพราะลมเศรษฐกิจนั้นมันพัดแรงรั้วนี้จะแข็งจะแกร่ง มันอยู่ที่เรา ผองชาวอาเซียนร่วมใจ (ญ.) รอบบ้านเราอยู่ติดกัน ขอบรั้วชนกัน เป็นบ้านพี่เมืองน้องตะวันออกเฉียงใต้เรืองรอง พระอาทิตย์สีทองสาดส่องบ้านเรา (ช.) เพราะบ้านเราอยู่ติดกัน สุขทุกข์ร่วมกัน แบ่งปันบรรเทาฝนรั่ว ฝนแล้งก็แบ่งเบา บ้านเธอบ้านเขาเรามาช่วยเหลือกัน(ซ้ำ *) (ช.) ข้าวปลาและอาหาร ตั้งร้านเรียงกัน ผูกพันแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมเราหมุนเวียน ปรับเปลี่ยนเชื่อมโยง เสริมส่งแข็งแรง(พร้อมกัน) มาจับมือกันสร้างรั้ว เพราะลมเศรษฐกิจนั้นมันพัดแรงรั้วนี้จะแข็งจะแกร่ง มันอยู่ที่เรา ผองชาวอาเซียนร่วมใจ (ซ้ำ *,**) * อาเซียนร่วมใจ อาเซียนเรามาร่วมใจอาเซียนร่วมใจ อาเซียนเรามาร่วมใจ * * มาเลเซีย พม่า กัมพูชา ลาว ไทยสิงคโปร์ เวียดนาม บรูไน ฟิลิปปินส์ … อินโดนีเซีย(ซ้ำ *) (ญ.) รอบบ้านเราอยู่ติดกัน ขอบรั้วชนกัน เป็นบ้านพี่เมืองน้องตะวันออกเฉียงใต้เรืองรอง แผ่นดินสีทองสาดส่องบ้านเรารอบบ้านเราอยู่ติดกัน สุขทุกข์รวมกัน แบ่งปันบรรเทาฝนรั่ว ฝนแล้งก็แบ่งเบา บ้านเธอบ้านเขาเรามาช่วยเหลือกัน (ซ้ำ *,**) (ช.) ข้าวปลาและอาหาร ตั้งร้านเรียงกัน ผูกพันแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมเราหมุนเวียน ปรับเปลี่ยนเชื่อมโยง เสริมส่งแข็งแรง