1 / 94

Pitfall & Management For …DM

Pitfall & Management For …DM. Pitfall (n.) แปลว่า หลุมพราง , กับดักอันตรายแอบแฝง. P i t f a l l การจัดการรายกรณี มีความหมายว่าอย่างไร? ให้ยกตัวอย่าง?. Pitfall… การจัดการรายกรณี. ประเด็น หรือเหตุการณ์ที่อาจทำให้การจัดการเกิดความผิดพลาด หรือไม่สำเร็จ

darice
Download Presentation

Pitfall & Management For …DM

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. Pitfall & ManagementFor …DM

  2. Pitfall (n.) แปลว่า หลุมพราง,กับดักอันตรายแอบแฝง

  3. P i t f a l lการจัดการรายกรณีมีความหมายว่าอย่างไร? ให้ยกตัวอย่าง?

  4. Pitfall… การจัดการรายกรณี ประเด็น หรือเหตุการณ์ที่อาจทำให้การจัดการเกิดความผิดพลาด หรือไม่สำเร็จ เป็นสิ่งที่ผู้จัดการรายกรณีควรให้ความสำคัญ และระมัดระวังในการปฏิบัติงานจัดการรายกรณี การจัดการเรียนรู้จากข้อผิดพลาด (pitfall) ซึ่งเกิดขึ้นจริงที่พบบ่อย หรือเป็นข้อผิดพลาดที่สำคัญต้องรู้

  5. Pitfall & Management DM

  6. ประเด็นปัญหา & อุปสรรค “บุคคล” ที่มีความเจ็บป่วยเป็นหลัก ไม่ใช่ “ตัวเลข” ที่เป็นเพียงเครื่องมือในการวัดระดับสารเคมีในเลือดเท่านั้นเอง “สิ่งที่เราดูแล (Care) คือ ตัวผู้ป่วย ไม่ใช่ระดับน้ำตาล” ทุกครั้งที่แพทย์หรือพยาบาลพบว่า ผู้ป่วยที่มารับการรักษาต่อเนื่องมานานหลายปีกลับไม่สามารถรักษาระดับน้ำตาลได้ตามPractice guidelineหรือPrescribing by numbersยิ่งเป็นโรคเบาหวานที่คุมไม่ได้นานเท่าไหร่ ก็ยิ่งเกิดภาวะแทรกซ้อนมากขึ้นเป็นเงาตามตัว

  7. ปัญหาการดูแลรักษาเบาหวานปัญหาการดูแลรักษาเบาหวาน ผู้เป็นเบาหวานเพิ่มมากขึ้น ประมาณครึ่งหนึ่งไม่ได้รับการวินิจฉัย แพทย์ และบุคลากรทางการแพทย์ ยังขาดความรู้ ความชำนาญในการดูแลรักษาเบาหวานอย่างถูกต้อง ผู้เป็นเบาหวาน ยังขาดความรู้ และมีทัศนคติ ต่อโรคเบาหวานไม่ถูกต้อง มาตรฐานในการรักษาเบาหวาน ยังมีความแตกต่างกันในโรงพยาบาลระดับต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ผู้เป็นเบาหวานส่วนใหญ่ยังควบคุมไม่ดี มีภาวะแทรกซ้อนสูง 24

  8. ความครอบคลุมของการวินิจฉัย รักษา และควบคุมเบาหวาน ที่มา: รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 4 พ.ศ. 2551–2552

  9. โรคเบาหวานคือ เป็นโรคที่ทำให้เกิดความไม่สมดุลของขบวนการเมตาบอลิสมของคาร์โบไฮเดรตไขมัน และโปรตีน มีลักษณะเด่น คือ ระดับน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งเกิดจากความบกพร่องในการสร้าง และการทำงานของอินซูลิน ทำให้ไม่สามารถนำน้ำตาลในเลือดไปใช้เป็นพลังงานให้กับเซลล์ต่างๆ ในร่างกายได้ โรคเบาหวานเกิดขึ้นจากการขาดอินซูลินหรือ การดื้อของเนื้อเยื่อต่ออินซูลินหรือทั้งสองสาเหตุร่วมกัน

  10. เกณฑ์ในการแบ่งชนิดและวินิจฉัยเกณฑ์ในการแบ่งชนิดและวินิจฉัย เกณฑ์ในการแบ่งชนิดและวินิจฉัยเบาหวานใหม่ (พ.ศ.2540) ได้แบ่ง เบาหวานออกเป็น 4 ชนิดโดยมีสิ่งที่เปลี่ยนไปจากเดิมคือ 1. ยกเลิกคำ เรียก “เบาหวานชนิดพึ่งอินซูลิน (insulin-dependent diabetes mellitus, type I diabetes, IDDM, juvenile onset diabetes)” และ “เบาหวานชนิด ไม่พึ่งอินซูลิน (non-insulin-dependent diabetes mellitus, type II diabetes,NIDDM, adult-onset diabetes)” เพราะทำให้สับสน และแบ่งผู้ป่วยตามการรักษาแทนที่จะแบ่งตามสาเหตุของโรค 2. ให้ใช้คำ ว่า type 1 และ type 2 diabetes แทน โดยให้ใช้เลขอาโรบิกแทนที่เลขโรมัน เพราะว่าเลข II โรมัน อาจทำ ให้สับสนได้ง่ายกับเลข 11

  11. 3. ยกเลิกคำ เรียก “เบาหวานชนิดที่เกิดจากภาวะทุพโภชนา (malnutrition-related diabetes)” เพราะว่ามีหลักฐานไม่ชัดเจนนักว่าเบาหวานเกิดจากการขาดโปรตีนโดยตรง 4. คงคำว่า impaired glucose tolerance (IGT) และ impaired fasting glucose (IFG) ไว้ 5. คงคำว่า gestational diabetes mellitus (GDM) ไว้ ตามคำ นิยามขององค์การอนามัยโลก และคณะกรรมการระดับชาติเบาหวานของแพทย์สหรัฐฯ (NDDG) ตามลำดับ

  12. ชนิดของโรคเบาหวาน โรคเบาหวานแบ่งเป็น 4 ชนิดตามสาเหตุของการเกิดโรค 1. โรคเบาหวานชนิดที่ 1 (type 1 diabetes mellitus, T1DM) 2. โรคเบาหวานชนิดที่ 2 (type 2 diabetes mellitus, T2DM) 3. โรคเบาหวานที่มีสาเหตุจำเพาะ (other specific type). 4. โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (gestational diabetes mellitus, GDM)

  13. พยาธิสภาพของโรคเบาหวานชนิดที่ 2 (Type 2) ที่สำคัญมี 2 ประการ 1. มีการหลั่งอินซูลินน้อยกว่าปกติ ในภาวะที่ร่างกายมีการหลั่งอินซูลินน้อยกว่าปกติทำให้ ระดับน้ำตาลในเลือดสูง มีอาการแสดงของโรคเบาหวานแต่มักไม่ทำให้เกิดภาวะคีโตอะซิโดซีสทั้งนี้เพราะร่างกายยังพอมีอินซูลินอยู่ในระดับที่สามารถนำกลูโคสเข้าเซลล์ได้บ้างจึงไม่สลายไขมัน และโปรตีนมาใช้เป็นพลังงาน ร่างกายจึงไม่เกิดภาวะกรดคั่งแต่เกิดภาวะวิกฤตจากระดับน้ำตาลใน เลือดสูงแทน (Hyperglycemic Hyperosmolar Non- Ketotic Coma: HHNC) , HHS (Hyperglycemic Hyperosmolar stage)

  14. 2. เกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน (Insulin Resistance) คือ ภาวะที่รีเซ็บเตอร์ต่ออินซูลินที่เนื้อเยื่อมีจำนวนลดลง ทำให้มีการใช้น้ำตาลทางกล้ามเนื้อลดลง ทำให้เนื้อเยื่อไม่สามารถนำกลูโคสไปใช้ได้ นอกจากนี้ยังมีการผลิตน้ำตาลจากตับเพิ่มขึ้น การขาดอินซูลิน ทำให้กลูโคสจากอาหารไม่สามารถเก็บสะสมที่ตับในรูปของไกลโคเจนได้ระดับน้ำตาลในเลือดจึงสูงเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินความสามารถของไต (renal threshold) ที่จะดูดซึมกลูโคสได้หมดคือ 180 มก. ต่อดล.ทำให้ตรวจพบน้ำตาลในปัสสาวะได้ เมื่อกลูโคสขับออกมาทางปัสสาวะมาก ทำให้เกิดภาวะออสโมติกไดยูรีซีส (Osmotic diuresis) ร่างกายจึงเสียน้ำและอิเล็กโตรลัยท์ออกมาทางปัสสาวะมาก (polyuria) และเมื่อเสียน้ำมากทำให้ผู้ป่วยรู้สึกกระหายน้าเพิ่มขึ้น (polydipsia) นอกจากนี้การขาดอินซูลินทำให้ตับเกิดกระบวนการกลูโคจีโนไลซีสและกลูนีโอจีนีซีส ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกิดการสลายตับและโปรตีนที่กล้ามเนื้อและเกิดการสลายไขมันเพื่อนำมาใช้เป็นพลังงานการสลายไขมันทำให้เกิดสารคีโตน เมื่อมีมากทำให้ร่างกายมีภาวะเป็นกรด และเกิดภาวะวิกฤตของโรคเบาหวานที่เรียกว่า คีโตอะซีสโดซีส (ketoacidosis) ความแตกต่างของโรคเบาหวานชนิดที่ 1 และชนิดที่ 2

  15. ความเสี่ยงที่ควรได้รับการตรวจคัดกรองเบาหวานความเสี่ยงที่ควรได้รับการตรวจคัดกรองเบาหวาน ถ้าผลปกติควรได้รับการตรวจซ้ำทุกปี* (ADA 3 ปี) • อายุ 35 ปีขึ้นไป • ผู้ที่อ้วน(BMI ≥25 หรือรอบเอว≥90 ในชาย,≥80ในหญิง)และมีพ่อ แม่ พี่ หรือ น้อง เป็นโรคเบาหวาน • เป็นโรคความดันโลหิตสูงหรือกินยาควบคุมความดันโลหิตอยู่ • มีระดับไขในเลือดในเลือดผิดปกติ TG ≥250 HDL ≤ 35 • มีประวัติเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์หรือเคยคลอดบุตรน้ำหนักมากกว่า 4 kg 6. เคยได้รับการตรวจพบว่าเป็น impaired glucose tolerance (IGT) หรือ impaired fasting glucose(IFG)IGT หรือ IGT 7. มีโรคหัวใจและหลอดเลือด

  16. วิธีวินิจฉัยโรคเบาหวานวิธีวินิจฉัยโรคเบาหวาน ในประเทศไทย ยังไม่แนะนำให้ใช้ HbA1c สำหรับการวินิจฉัยโรคเบาหวาน เนื่องจากยังไม่มี standardization และ quality control ของการตรวจ HbA1c ที่เหมาะสมเพียงพอ และค่าใช้จ่ายในการตรวจยังสูงมาก ตรวจระดับกลูโคสในพลาสมาหลังอดอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมง (fasting plasma glucose – FPG) ตรวจระดับกลูโคสในเลือดแบบสุ่ม (random blood- glucose) โดยไม่ผู้ป่วยไม่ต้องอดอาหารมาก่อน ในผู้ป่วยที่มีอาการของระดับน้ำตาลสูงในเลือด การทำ oral glucose tolerance test (OGTT) การตรวจระดับน้ำตาลสะสม (HbA1c)

  17. การวินิจฉัยโรคเบาหวานการวินิจฉัยโรคเบาหวาน 1. ผู้ที่มีอาการของโรคเบาหวานชัดเจนคือ หิวน้ำมาก ปัสสาวะบ่อยและมาก น้ำหนักตัวลดลงโดยที่ไม่มีสาเหตุ สามารถตรวจระดับพลาสมากลูโคสเวลาใดก็ได้ ไม่จำเป็นต้องอดอาหาร ถ้ามีค่ามากกว่าหรือเท่ากับ 200 มก./ดล. ให้การวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวาน 2. การตรวจระดับพลาสมากลูโคสตอนเช้าหลังอดอาหารข้ามคืนมากกว่า 8 ชั่วโมง (FPG) พบค่า ≥126มก./ดล. ให้ตรวจยืนยันอีกครั้งหนึ่งต่างวันกัน 3. การตรวจความทนต่อกลูโคส (75 g Oral Glucose Tolerance Test, OGTT) ใช้สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงสูงแต่ตรวจพบ FPG น้อยกว่า 126 มก./ดล. ถ้าระดับพลาสมากลูโคส 2 ชั่วโมงหลังดื่ม ≥200 มก./ดล. ให้การวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวาน 4.ระดับน้ำตาลสะสม (HbA1c) มีค่าตั้งแต่ 6.5%

  18. 1. มีอาการของโรคเบาหวานร่วมกับcasual plasma glucose ≥ 200 mg/dl • casual plasma glucose หมายถึงเวลาใดๆของวัน โดยไม่คำนึงถึงระยะเวลาตั้งแต่อาหารมื้อสุดท้ายอาการของโรคเบาหวาน (classic symptoms) ได้แก่ ปัสสาวะบ่อย(polyuria) กระหายน้ำบ่อย (polydipsia) และน้าหนักตัวลดลงโดยไม่สามารถอธิบายได้จากสาเหตุอื่น(unexplained weight loss)

  19. การแปลผลระดับน้ำตาลในเลือดการแปลผลระดับน้ำตาลในเลือด Fasting = งดรับประทานอาหารและเครื่องดื่มที่มีแคลอรีทุกชนิดเป็นเวลานานอย่างน้อย 8 ชม การแปลผลค่าพลาสมากลูโคสขณะอดอาหาร (FPG) FPG < 100 มก./ดล. = ปกติ FPG 100 – 125 มก./ดล. = Impaired fasting glucose (IFG) FPG ≥ 126 มก./ดล. = โรคเบาหวาน การแปลผลค่าพลาสมากลูโคสที่ 2 ชั่วโมงหลังดื่มน้ำตาลกลูโคส 75 กรัม (75 g OGTT) 2 h-PG < 140 มก./ดล. = ปกติ 2 h-PG 140 – 199 มก./ดล. = Impaired glucose tolerance (IGT) 2 h-PG ≥ 200 มก./ดล. = โรคเบาหวาน

  20. การแปลผล FPG Normal FG Provisional DM IFG mg/dl 126 FPG 100

  21. การแปลผล FPG Normal GT Provisional DM mg/dl 200 2 hr PG 140

  22. คนแก่ผนังหลอดเลือดเสื่อม น้ำตาลจึงค้างผ่านซึมได้ช้า ฮอร์โมน(ต้าน) สูง เช่นGH,Cortisol,Glucagon หญิงตั้งครรภ์,ผู้มีกรรมพันธ์ที่กำลังเริ่มเป็น,อ้วน,ชอบอด ผู้ที่มีโรคอื่นแฝง เช่น โรคไต โรคตับ ติดเชื้อHBVระยะแรก กินยาสมุนไพร ขับฉี่เยอะ แก้ปัญหาโรคพื้นฐานได้ เบาหวานเทียมๆ หายได้ IFG ตับอ่อนทำงานหนักเกิน และเสื่อมไป เป็นชั่วชีวิต เบาหวานจริงๆ DM ได้แค่ควบคุมไว้ไม่กำเริบหรือไม่มีอาการแทรกซ้อน ไม่หาย ชะลอตาย

  23. โรคแทรกซ้อน ของหลอดเลือดขนาดใหญ่ โรคแทรกซ้อนของหลอดเลือดขนาดเล็ก TG HDL Type 2 Diabetes mellitus: Tip of the Iceberg เบาหวานประเภทที่๒ ขั้นที่๓ ขั้นที่๒ ความต้านทาน ต่อน้ำตาลบกพร่อง น้ำตาลหลังอาหารสูง น้ำตาลก่อนอาหารปกติ การหลั่งอินสุลินลดลง หลอดเลือดอักเสบ ระดับอินสุลินเพิ่ม ความดื้อต่ออินสุลิน อ้วน ขั้นที่๑ น้ำตาลปกติ ความดันโลหิตสูง ประวัติครอบครัว เบาหวานตอนท้อง

  24. วิธีการตรวจหาระดับน้ำตาลในเลือดวิธีการตรวจหาระดับน้ำตาลในเลือด 1. Fasting Blood Sugar (FBS) ปัจจุบันคือ Fasting Plasmaglucose( FPG) 2 2 hours.Postprandial Glucose(2 hr.PPG),random PG 3. Oral Glucose Tolerance Test (OGTT) 4. Hemoglobin A1c • Fructosamin แล็ปสำหรับตรวจเพื่อวินิจฉัยเบาหวาน คือ 1,2,3,(4,5) แล็ปสำหรับตรวจเพื่อติดตามการรักษาเบาหวาน คือ 4,5 ตรวจเบื้องต้นคนทั่วไป ไม่ต้องอดอาหาร ได้ทุกเมื่อคือ 2 ตรวจให้แน่ใจว่าปกติ ต้องอดอาหารคือ 1 ตรวจกรณีก้ำกึ่งคือ 3

  25. คุณสมบัติของน้ำตาลในกระแสเลือดคุณสมบัติของน้ำตาลในกระแสเลือด 1. แพร่อิสระสู่สมอง(ไม่พึ่งอินสุลิน) 2. ดูดซับน้ำ อุ้มน้ำไว้ 3. จับโปรตีน (หลอดเลือด เส้นประสาทฯลฯ) 4. พึ่ง insulinพาเข้าเซลล์อวัยวะอื่น ปัญหาใหญ่ของเบาหวานคือเรื่องกิน

  26. เบาหวาน : DIABETES MELLITUS (DM) • เกิดภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังในระบบต่างๆของร่างกายเช่น – ตา (retinopathy) – ไต (nephropathy) – เส้นประสาท (neuropathy) – หลอดเลือดแดงทั้งขนาดเล็ก(microvascular) และขนาดใหญ่ (macrovascular)

  27. น้ำตาลที่เหลือค้างในเลือดสูง จึงไปจับโปรตีนและดูดซับน้ำ HbA1c จับ Hemoglobin แพร่เข้า RBC จับ Albumin Fructosamine แพร่สู่ serum จับปลายประสาท ปลายประสาทพองมึนชา ดูดน้ำตาม จับผนังหลอดเลือด ผนังหลอดเลือดเสื่อม แช่นาน Micro-,Macrovascular เช่นที่ สมองหัวใจไตตาแขนขา

  28. วิธีการทดสอบความทนต่อกลูโคส (Oral Glucose Tolerance Test)

  29. การทดสอบความทนต่อกลูโคสในผู้ใหญ่ (ไม่รวมหญิงมีครรภ์) มีวิธีการดังนี้ 1) ผู้ถูกทดสอบทำกิจกรรมประจำวันและกินอาหารตามปกติ ซึ่งมีปริมาณคาร์โบไฮเดรตมากกว่าวันละ150 กรัม เป็นเวลาอย่างน้อย 3 วัน ก่อนการทดสอบการกินคาร์โบไฮเดรตในปริมาณที่ต่ำกว่านี้อาจทำให้ผลการทดสอบผิดปกติได้ 2) งดสูบบุหรี่ระหว่างการทดสอบและบันทึกโรคหรือภาวะที่อาจมีอิทธิพลต่อผลการทดสอบ เช่น ยา,ภาวะติดเชื้อ เป็นต้น 3) ผู้ถูกทดสอบงดอาหารข้ามคืนประมาณ 10-16 ชั่วโมง ในระหว่างนี้สามารถดื่มน้ำเปล่าได้ การงดอาหารเป็นเวลาสั้นกว่า 10 ชั่วโมง อาจทำให้ระดับ FPG สูงผิดปกติได้ และการงดอาหารเป็นเวลานานกว่า 16ชั่วโมง อาจทำให้ผลการทดสอบผิดปกติได้

  30. 4) เช้าวันทดสอบ เก็บตัวอย่างเลือดดำ (fasting venous blood sample) หลังจากนั้นให้ผู้ทดสอบดื่มสารละลายกลูโคส 75 กรัม ในน้ำ 250-300 มล. ดื่มให้หมดในเวลา 5 นาที เก็บตัวอย่างเลือดดำหลังจากดื่มสารละลายกลูโคส 2 ชั่วโมง ในระหว่างนี้อาจเก็บตัวอย่างเลือดเพิ่มทุก 30 นาที ในกรณีที่ต้องการ 5) เก็บตัวอย่างเลือดในหลอดซึ่งมีโซเดียมฟลูออไรด์เป็นสารกันเลือดเป็นลิ่มในปริมาณ 6 มก.ต่อเลือด1มล., ปั่น และ แยกเก็บพลาสมาเพื่อทำการวัดระดับพลาสมากลูโคสต่อไป ในกรณีที่ไม่สามารถทำการวัดระดับพลาสมากลูโคสได้ทันทีให้เก็บพลาสมาแช่แข็งไว้

  31. การทดสอบความทนต่อกลูโคสในเด็กการทดสอบความทนต่อกลูโคสในเด็ก สำหรับการทดสอบความทนต่อกลูโคสในเด็กมีวิธีการเช่นเดียวกันกับในผู้ใหญ่แต่ปริมาณกลูโคสที่ใช้ ทดสอบคือ 1.75 กรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม รวมแล้วไม่เกิน 75 กรัม

  32. การทดสอบความทนต่อกลูโคสและเกณฑ์วินิจฉัยโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (gestational diabetes mellitus) การวินิจฉัย GDM ด้วย oral glucose tolerance test มีอยู่หลายเกณฑ์ เกณฑ์ที่นิยมใช้กันมากที่สุดในประเทศไทยคือเกณฑ์ของ National Diabetes Data Group (NDDG) ใช้ 3 hour oral glucose tolerance test • ให้ผู้ป่วยงดอาหารและน้ำประมาณ 8 ชั่วโมงก่อนการดื่มน้ำตาลกลูโคส 100 กรัมที่ละลายในน้ำ 250-300 มล. • ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดก่อนดื่ม และหลังดื่มชั่วโมงที่ 1, 2 และ 3ให้การ • วินิจฉัยโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ เมื่อพบระดับน้ำตาลในเลือดผิดปกติ 2 ค่าขึ้นไป คือก่อนดื่ม ชั่วโมงที่ 1, 2 และ 3 มีค่าเท่ากับหรือมากกว่า 105, 190, 165 และ 145 มก./ดล. ตามลำดับ

  33. ปัจจุบันมีเกณฑ์การวินิจฉัยเบาหวานขณะตั้งครรภ์ใหม่โดย IADPSG (International Association Diabetes Pregnancy Study Group) ซึ่งเป็นเกณฑ์การวินิจฉัยที่ได้จากการวิจัยระดับน้ำตาลที่มีผลเสียต่อการตั้งครรภ์ แนะนำให้ใช้ 75 กรัม OGTT โดยถือว่าเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์เมื่อมีค่าน้ำตาลค่าใดค่าหนึ่งเท่ากับหรือมากกว่า 92, 180 และ 153 มก./ดล. ขณะอดอาหารและหลังดื่มน้ำตาล 1 และ 2 ชั่วโมงตามลำดับ

  34. วิธีการและเกณฑ์วินิจฉัยโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์วิธีการและเกณฑ์วินิจฉัยโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ NDDG = National Diabetes Data Group; ADA = American Diabetes Association, IADPSG = International Association ofDiabetes Pregnancy Study Group

  35. Fructosamin Fructose + albumin = Fructosamin ตรวจวัด albumin ที่มีน้ำตาลไปเกาะจับเพื่อบอกภาวะควบคุมอาหารระยะ 1-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา ดีกว่า HbA1c เล็กน้อย (บอกถึงการควบคุมระดับน้ำตาลช่วง 7-10 วันก่อนมาตรวจ) อายุของ Fructosamine จะอยู่ได้นานตามระยะ อายุของ albuminในกระแสเลือด คือ 3 สัปดาห์ หรือ ๑ เดือน ข้อจำกัด ในผู้ป่วยที่มีอัลบูมินสูงในกระแสเลือด จะมีค่าสูงตามไปด้วย เช่น โรคตับอักเสบ หญิงตั้งครรภ์ เป็นต้น อาจมีค่าต่ำในผู้ป่วยตับแข็ง หรือโรคไต หรือขาดอาหาร เนื่องจากกระแสเลือดผู้ป่วยมีระดับอัลบูมินต่ำ ใช้ serum ตรวจ ค่าปกติ < 240 µmol/L

  36. สรุปวิธีตรวจเบาหวานบท LAB.test ใช้เพื่อ 1. FBS,FPG ตรวจหาเบาหวานหลังอดอาหาร 2. 2 hr.PG,rPGตรวจหาเบาหวานแม้หลังกินอาหาร 3. OGTT ตรวจยืนยันเบาหวานหลังกินน้ำตาล 4. Hemoglobin A1c ดูผลคุมอาหารย้อนหลัง < 3 เดือน 5. Fructosamin ดูผลคุมอาหารย้อนหลัง < 2 สัปดาห์

  37. เป้าหมายของการควบคุมโรคเบาหวาน (ตาม American Diabetes Association : ADA, 2010) 1. ระดับน้ำตาลในเลือด ก่อนอาหาร 70-130 มก./ดล. - หลังอาหาร 1 - 2 ชั่วโมง น้อยกว่า 180 มก./ดล. - น้ำตาลสะสมเฉลี่ย (HbA1c) น้อยกว่า 7 เปอร์เซ็นต์ 2. ความดันโลหิต น้อยกว่า 130/80 มม.ปรอท 3. ไขมันในเลือด - ไขมันในเส้นเลือดชนิดไม่ดี แอลดีแอล (LDL) น้อยกว่า 100 มก./ดล. - ไตรกลีเซอไรด์ (TG) น้อยกว่า 150 มก./ดล. - ไขมันในเส้นเลือดชนิดดี เอชดีแอล (HDL) มากกว่า 40 มก./ดล. (ผู้ชาย)มากกว่า 50 มก./ดล. (ผู้หญิง) 4. ดรรชนีมวลกาย (BMI) ไม่เกิน 23 กก./ม.2

  38. 1. ผู้ป่วยที่ต้องควบคุมอย่างเข้มงวดมาก ได้แก่ ผู้ป่วยอายุน้อย เป็นเบาหวานมาไม่นาน ยังไม่มี ภาวะแทรกซ้อนและไม่มีอาการของภาวะนํ้าตาลตํ่า ในเลือดรุนแรง กลุ่มนี้เป้าหมายในการควบคุมคือ A1C < 6.5% 2. ผู้ป่วยที่ต้องควบคุมอย่างเข้มงวด ได้แก่ ผู้ป่วยที่เคยมีอาการของภาวะนํ้าตาลตํ่าในเลือดรุนแรงหรือผู้สูงอายุที่มีสุขภาพดี กลุ่มนี้เป้าหมายในการควบคุมคือ A1C < 7%

  39. 3. ผู้ป่วยที่ไม่ต้องควบคุมอย่างเข้ม งวด ได้แก่ ผู้ป่วยที่มีอาการของภาวะนํ้าตาลตํ่าในเลือดรุนแรงบ่อยๆ ผู้ป่วยสูงอายุที่ไม่สามารถช่วย เหลือตนเองได้หรืออยู่เพียงลำ�พังผู้ป่วยที่มีภาวะ แทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน ได้แก่ โรคหัวใจล้มเหลว โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคหลอดเลือดสมอง โรคลมชัก โรคตับและโรคไตในระยะท้าย เป็นต้น กลุ่มนี้เป้าหมายในการควบคุมคือ A1C < 7-8%

  40. ดังนั้น ผู้ป่วยแต่ละรายที่มารับการรักษา เบาหวานต้องได้รับการประเมินปัจจัยต่างๆ อย่าง ครบถ้วนและวางแผนกำหนดเป้าหมายในการรักษา สำหรับผู้ป่วยแต่ละรายโดยพิจารณาเป็นรายๆ ไป (individualized therapy)

  41. 1.ใครเป็นโรคเบาหวาน ลำยองระดับน้ำตาลหลังอาหาร 1 ชั่วโมง 225 มก./ดล. ร่วมกับมีอาการปัสสาวะบ่อย ดื่มน้ำมาก น้ำหนักตัวลดมาก คุณกวง มีระดับน้ำตาลสะสม 6.4% วันเฉลิมมีระดับน้ำตาลในเลือดที่ 2 ชั่วโมงหลังกินกลูโคส 75 กรัม = 188 มก./ดล. น้องอ้อยปัสสาวะบ่อย ดื่มน้ำบ่อย น้ำหนักลด ตรวจน้ำตาลตอนเช้าได้ 105 มก./ดล. ป้าแลตรวจน้ำตาลตอนเช้าได้ 108 มก./ดล. และน้ำตาลสะสม 6.9% หนูสมตรวจพบน้ำตาลในปัสสาวะ ตรวจน้ำตาลในเลือดแต่ไม่อดอาหารได้ 280 มก./ดล. กำนันตรวจน้ำตาลตอนเช้าได้ 127 มก./ดล. และตรวจน้ำตาลหลังอาหาร 2 ชั่วโมงได้ 205 มก./ดล. แต่ไม่มีอาการใดๆ พี่สันมีระดับน้ำตาลอดอาหารตอนเช้า 132 และ 142มก./ดล.

  42. พี่สันมีระดับน้ำตาล อดอาหารตอนเช้า 132 และ 142 มก./ดล.  ลำยองระดับน้ำตาลหลังอาหาร 1 ชั่วโมง 225 มก./ดล. ร่วมกับมีอาการปัสสาวะบ่อย ดื่มน้ำมาก น้ำหนักตัวลดมาก  คุณกวงมีระดับน้ำตาลสะสม 6.4%  วันเฉลิมมีระดับน้ำตาลในเลือดที่ 2 ชั่วโมงหลังกินกลูโคส 75 กรัม = 188 มก./ดล.  น้องอ้อยปัสสาวะบ่อย ดื่มน้ำบ่อย น้ำหนักลด ตรวจน้ำตาลตอนเช้าได้ 105 มก./ดล.  ป้าแลตรวจน้ำตาลตอนเช้าได้ 108 มก./ดล. และน้ำตาลสะสม 6.9%  หนูสมตรวจพบน้ำตาลในปัสสาวะ ตรวจน้ำตาลในเลือดแต่ไม่อดอาหารได้ 280 มก./ดล.  กำนันตรวจน้ำตาลตอนเช้าได้ 127 มก./ดล. และตรวจน้ำตาลหลังอาหาร 2 ชั่วโมงได้ 205 มก./ดล. แต่ไม่มีอาการใดๆ 

  43. ใครไม่จำเป็นตรวจคัดกรองเบาหวานใครไม่จำเป็นตรวจคัดกรองเบาหวาน 1 ผู้หญิงอายุ 20 ปี BMI 30 ความดัน 120/80 mmHg triglycerly 200 มีพ่อเป็นเบาหวาน 2 ชายอายุ 30ปี BMI 30 ความดัน 130/80 mmHg triglycerly 200 มีป้าเป็นเบาหวาน และสูบบุหรี่ 3 ชายอายุ 50 ปี BMI 23 ความดัน 130/80 mmHg triglycerly 300 มีป้าเป็นเบาหวาน และสูบบุหรี่ 4 หญิงอายุ 15 ปี BMI 30 ความดัน 120/80 mmHg triglycerly 300 ไม่มีคนในครอบครัวเป็นเบาหวาน

  44. ชายอายุ 45 ปีมีแม่เป็นเบาหวาน BP 120/80 mmhg DTX(NPO)ได้145mg% ท่านจะให้การรักษาอย่างไร • วินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานแนะนำการปฏิบัติตัวและส่งพบแพทย์เพื่อรับการรักษา • แนะนำว่าน้ำตาลผิดปกติ แนะนำการปฏิบัติตัวและเริ่มยาที่รพสตได้เลย • แนะนำว่าน้ำตาลผิดปกติ แนะนำการปฏิบัติตัว ส่งพบแพทย์เพื่อยืนยันการวินิจฉัยโดยการตรวจ FPS อีก 1 สัปดาห์ • แนะนำว่าน้ำตาลผิดปกติ แนะนำการปฏิบัติตัว และนัดตรวจ DTX(NPO)อีก 1 สัปดาห์ • ทท

  45. Pitfall & Management การรักษา DM

  46. การจัดการเรื่องการใช้ยาผู้ป่วยเบาหวานการจัดการเรื่องการใช้ยาผู้ป่วยเบาหวาน 1.รับประทานยาไม่ถูกต้องตามคำสั่งแพทย์ 2.ไม่ทราบว่าตนเป็นโรคอะไร ทานยาอะไรบ้าง 3.มียาเดิมเหลือปริมาณมากและไม่ทราบว่ายาหมดอายุหรือเสื่อมสภาพหรือไม่ 4.เมื่อมีการเปลี่ยนบริษัทยาใหม่ผู้ป่วยมีการทานยาซ้ำซ้อน 5.ผู้ป่วยมีการใช้ยาหลากหลายรายการ

  47. บทบาทของพยาบาลในการจัดการด้านยาในโรคเรื้อรังบทบาทของพยาบาลในการจัดการด้านยาในโรคเรื้อรัง สำหรับใน รพ.สต. ที่ไม่มีเภสัชกรที่ปรึกษาหรือร่วมจัดบริการเป็นประจำ เจ้าหน้าที่ รพ.สต. ควรมีความเข้าใจในหลักการของการควบคุมคุณภาพบริการเภสัชกรรม สามารถท้วงติงแพทย์ในกรณีเกิดความผิดพลาดในการสั่งยาของแพทย์ สามารถให้ความรู้เบื้องต้นในการใช้ยาที่ใช้บ่อยๆ แก่ผู้ป่วยได้ สามารถให้ข้อมูลและตอบคำถามใดๆ เพิ่มเติมได้

More Related