1 / 44

ปัญหาโรคเด็กที่พบบ่อย ในโรงพยาบาลชุมชน

ปัญหาโรคเด็กที่พบบ่อย ในโรงพยาบาลชุมชน. พญ . รัตนา กาสุริย์ 6 พฤศจิกายน 2552. โ รคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน. Pitfall ในการ management 1. การใช้ยาปฏิชีวนะโดยไม่จำเป็น ทำให้เด็กได้รับยามากเกินไปและ อาจเกิดการดื้อยาได้ 2. การใช้ยาลดน้ำมูกและยาแก้ไอ อย่างไม่เหมาะสม

tamal
Download Presentation

ปัญหาโรคเด็กที่พบบ่อย ในโรงพยาบาลชุมชน

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ปัญหาโรคเด็กที่พบบ่อยในโรงพยาบาลชุมชนปัญหาโรคเด็กที่พบบ่อยในโรงพยาบาลชุมชน พญ. รัตนา กาสุริย์ 6 พฤศจิกายน 2552

  2. โรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนโรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน • Pitfall ในการ management 1. การใช้ยาปฏิชีวนะโดยไม่จำเป็น ทำให้เด็กได้รับยามากเกินไปและ อาจเกิดการดื้อยาได้ 2. การใช้ยาลดน้ำมูกและยาแก้ไอ อย่างไม่เหมาะสม 3. การให้คำแนะนำไม่ถูกต้องควรเน้นเรื่องการเช็ดตัวและการ หลีกเลี่ยงอากาศเย็น

  3. ไข้หวัด( Common cold ) • สาเหตุ เกิดจากเชื้อไวรัส ส่วนมากเกิดจาก rhinovirus, RSV, influenza virus • อาการ ไข้ จาม น้ำมูกไหล ปวดศีรษะ ในเด็กเล็กอาจมีอาการอาเจียน ท้องเสียร่วมด้วย • ตรวจร่างกาย พบไข้ต่ำๆ เยื่อบุจมูกบวมแดง คอแดงเล็กน้อย ฟังปอดเสียงหายใจปกติ ยกเว้นในเด็กเล็กอาจมีเสียง ครืดคราดจากน้ำมูกอุดตันในช่องจมูก • การรักษา ไม่มีการรักษาจำเพาะของโรค ให้รักษาตามอาการ

  4. ยาปฏิชีวนะ ไม่ช่วยลดระยะเวลาการเจ็บป่วย แต่อาจเกิดการแพ้ยาหรือการดื้อยาได้ • ยาลดไข้ ใช้กรณีมีไข้ขึ้น ให้ได้ทุก 4-6 ชั่วโมง ควรเน้นการเช็ดตัวที่ถูกต้องร่วมด้วยโดยใช้น้ำอุณหภูมิปกติ เช่น น้ำประปา ไม่ควรใช้น้ำเย็นจัดหรือน้ำร้อนในการเช็ดตัว ยกเว้นช่วงอากาศหนาวเย็นอาจใช้น้ำอุ่นเล็กน้อยเช็ดตัว เวลาเช็ดตัวต้องแก้ผ้าเด็กออก และเน้นเช็ดบริเวณซอกคอ รักแร้ ขาหนีบ ควรเช็ดนานประมาณ 10-15 นาที จนตัวเย็นลง • การติดแผ่นลดความร้อน (cool gel)ไม่ช่วยลดไข้และมีราคาแพง

  5. ยาลดน้ำมูก อาจได้ผลในเด็กโตที่มีน้ำมูกมาก แต่ในเด็กเล็กผลที่ได้ยังไม่แน่นอน และไม่ควรใช้ในเด็กอายุน้อยกว่า 6 เดือน เพราะอาจทำให้เกิดผลแทรกซ้อนของยาได้ ในทางปฏิบัติอาจใช้ไม้พันสำลีสอดเข้าไปซับน้ำมูกหรือดูดออกโดยใช้ลูกยางแดง กรณีมีน้ำมูกอุดตันอาจใช้น้ำเกลือ0.9%NSSหยอดจมูกเพียง 1-2 หยดเพื่อให้น้ำมูกลดความเหนียวลงแล้วใช้ผ้าซับออกหรืออาจใช้ 0.25-0.5% ephedrineหยอดจมูก แต่ไม่ควรใช้นานเกิน 5 วัน

  6. ยาแก้ไอ ไม่มีความจำเป็นในกรณีที่ไอเล็กน้อย อาจแนะนำให้ดื่มน้ำอุ่นหรือดื่มน้ำมากๆจะทำให้เสมหะเหลวและถูกขับออกมาได้ แต่ถ้าไอมากอาจให้ยาขับเสมหะ guaifenesin หรือ glyceryl guaiacolateส่วนยาระงับไอไม่ควรใช้ในเด็กเป็นหวัด โดยเฉพาะในเด็กเล็ก นอกจากในรายที่ไอมากจนรบกวนการนอน อาจพิจารณาให้ dextrometrophanเป็นรายๆไป • Vitamin C ยังไม่มีหลักฐานยืนยันว่าช่วยป้องกันโรคหวัดได้

  7. คออักเสบ (Acute pharyngitis,Tonsillitis) • สาเหตุ ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัส มีบางส่วนเกิดจากเชื้อ group A beta hemolytic streptococcus (GABHS ) • อาการ ถ้าเป็นจากเชื้อไวรัสอาการมักไม่รุนแรง ไข้ เจ็บคอเล็กน้อย ไอ น้ำมูก ตาแดง ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ต่อมน้ำเหลืองที่คอโต อาการมักเป็นไม่นานเกิน 5 วัน

  8. ถ้าเป็นจากเชื้อGABHSมักพบในเด็กอายุ > 2 ปี มักมีไข้สูง ปวดศีรษะ เจ็บคอ ทอนซิลอักเสบบวมแดง อาจมีหนองบริเวณทอนซิลด้วย อาจมีจุดเลือดออกที่บริเวณเพดานอ่อน ต่อมน้ำเหลืองที่คอโตและกดเจ็บ • การวินิจฉัยแยกโรค มักใช้ลักษณะอาการทางคลินิก กรณีต้องการยืนยันเชื้อทำได้โดยเก็บ Throat swab culture

  9. การรักษา ในกลุ่ม GABHSให้ยา penicillin50,000-100,000 ยูนิต/กก./วัน วันละ 3 ครั้ง นาน 10 วัน หรือ Amoxycillin 30-50 มก./กก./วัน นาน 10 วัน ถ้ามีประวัติแพ้ penicillinอาจให้ยาerythromycin 30-40 มก./กก./วัน นาน 10 วัน ควรเน้นให้กินยาให้ครบ 10 วัน เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน คือ acute rheumatic feverและ acute glomerulonephritis

  10. โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน • Pitfall ในการ management 1. การใช้ยาปฏิชีวนะโดยไม่จำเป็น 2. พึงระลึกเสมอว่าหลักการรักษาที่สำคัญที่สุด คือ การให้สารน้ำทดแทนและแก้ไขสมดุลเกลือแร่ที่ผิดปกติ 3. ต้องแนะนำเรื่องการดูแลความสะอาด การล้างมือ และการล้างขวดนม ที่ถูกวิธี

  11. อุจจาระร่วงเฉียบพลัน คือ การถ่ายอุจจาระเหลวอย่างน้อย 3 ครั้งต่อวัน หรือถ่ายมีมูกหรือปนเลือดอย่างน้อย 1 ครั้ง หรือถ่ายเป็นน้ำจำนวนมากกว่า 1 ครั้งต่อวัน กรณีเด็กทารกกินนมแม่และมีอาการถ่ายบ่อย แต่กินได้ นอนหลับ น้ำหนักเพิ่มขึ้นปกติ ไม่ไช่ภาวะอุจจาระร่ว) • สาเหตุ ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัส เช่น rotavirus ส่วนเชื้อแบคทีเรียที่พบ เช่น shigella salmonella , E.coli

  12. อาการ แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ 1. Dysentery diarrheaคือ ถ่ายอุจจาระมีมูกเลือดปน มีอาการปวดเบ่งร่วมด้วย ตรวจอุจจาระพบเม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาว ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย 2. Non-dysentery diarrhea คือ ถ่ายอุจจาระเหลวเป็นน้ำไม่มีเลือดปน อาจเกิดจากเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย

  13. การรักษา การให้สารน้ำทดแทน สิ่งสำคัญต้องประเมินให้ได้ว่ามีการขาดน้ำมากน้อยเพียงใด โดยประเมินจาก V/S , การตรวจร่างกาย และปริมาณปัสสาวะ และแก้ไขโดยแบ่งเป็น 2 ช่วงคือ 1. ช่วง rehydration แก้ตามภาวะการขาดน้ำโดยแก้ 5-10% deficit in 4-6ชั่วโมง โดยให้เป็น 5%DNSSหรือ 5%DN/2 2. ช่วง 24 ชั่วโมงต่อไป ให้เป็นMaintenance +concurrent loss

  14. ORSปัจจุบันใช้แบบ Reduce osmolarityคือ มีโซเดียม 75 mmol/L ถ้าเด็กขาดน้ำไม่มาก อาจแนะนำการกิน ORSและดูแลที่บ้านได้ • การให้ยาปฏิชีวนะ ควรเลือกให้เฉพาะในรายที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียโดยเฉพาะ shigellaแต่ในทางปฏิบัติไม่สามารถบอกเชื้อสาเหตุได้แน่นอน ฉะนั้นควรเลือกให้เฉพาะรายที่มีอาการเข้าได้กับการติดเชื้อ shigella คือ มักพบในเด็กโต มีไข้ ปวดเบ่ง ถ่ายปนมูกเลือด แต่ในช่วงแรกอาจถ่ายเป็นน้ำได้ต่อมาจึงมีมูกเลือดปน

  15. ยาที่ใช้คือ norfloxacin 10-20 มก./กก./วัน หรือcetriaxone 50 มก./กก./วัน ฉีดเข้ากล้าม กรณีเด็กเล็กที่มีไข้ร่วมกับถ่ายอุจจาระเป็นน้ำหรือเป็นมูกแต่ไม่มีเลือด มักมีสาเหตุจากเชื้อไวรัส ฉะนั้นการให้ยาปฏิชีวนะจึงไม่มีประโยชน์

  16. Wheezing Child • Pitfall ในการ management 1. แพทย์มักให้การวินิจฉัยเด็กที่ฟังปอดได้ยินเสียง wheezing ว่าเป็นโรคหอบหืดและรักษาด้วยการให้ยาพ่นขยายหลอดลม ซึ่งไม่ถูกต้องเสมอไป 2. การให้คำแนะนำในการดูแลเด็กที่มี wheezing ยังไม่ถูกต้อง

  17. Wheezing คือ เสียงที่เกิดจากลมหายใจผ่านหลอดลมที่แคบกว่า ปกติ ซึ่งอาจเกิดจาก asthma, allergy, croup, foreign body หรือใน เด็กเล็กอาจเกิดจากการบวมของเยื่อบุทางเดินหายใจหรือมีเสมหะมาก อุดในหลอดลม ฉะนั้นต้องแยกให้ได้ก่อนว่าเกิดจากอะไรจึงให้การรักษาต่อไป

  18. Acute wheezingถ้าเกิดในเด็ก < 3 ปี มักพบในภาวะ respiratory tract infection เช่น acute bronchiolitis , croup, viral pneumonia หรือ first attack ของ asthma แต่ถ้าเกิดในเด็กอายุ> 3 ปี ส่วนใหญ่เกิดจาก asthmatic attack • Recurrent wheezingคือ การตรวจพบว่ามี wheezing เป็นๆหายๆ มากกว่า 2 ครั้งขึ้นไป ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจาก asthma

  19. ถ้ามีอาการดังต่อไปนี้ต้องหาสาเหตุอื่นที่ไม่ใช่ asthma คือ - ตรวจพบ unilateral หรือ asymmetrical wheezing, - มี failure to thrive, - stridor, - clubbing finger

  20. สิ่งที่ช่วยในการวินิจฉัยว่าเป็น asthmaคือ • ประวัติ recurrent wheezing ร่วมกับอาการไอ, • มักมีประวัติโรคภูมิแพ้ในครอบครัว, • มีสิ่งกระตุ้นให้เกิดอาการหอบ เช่น การติดเชื้อไวรัส สูดควันบุหรี่ อากาศเย็นจัด ฝุ่นละออง การออกกำลังกาย • การตรวจร่างกายจะพบ expiratory wheezing อาจตรวจพบอาการของโรคภูมิแพ้ร่วมด้วย เช่น เยื่อจมูกบวม ภูมิแพ้ที่ผิวหนัง • การทดสอบโดยการพ่นยาจะมีการตอบสนองต่อยาขยายหลอดลมดีมาก

  21. การรักษา ให้การรักษาตามสาเหตุที่ทำให้เกิด wheezing ถ้าเป็นจาก asthma ให้การรักษาดังนี้ Specific treatment • Beta2 agonistที่ใช้บ่อยคือ salbutamol และ terbutaline มีทั้งแบบ inhale, oral ส่วนมากนิยมใช้แบบพ่นโดยใช้ ventoline solution 0.01-0.03 cc/kg/dose ผสมกับ NSS เป็น 3-3.5 cc พ่น • Steroid กรณี acute asthmatic attack ถ้ากินได้ให้ prednisolone 1-2 mg/kg/day ถ้ากินไม่ได้ให้ Hydrocortisone IV 3-5 mg/kg/dose ทุก 4-6 ชั่วโมง

  22. Supportive and symptomatic treatment • Oxygen ควรให้ทุกรายที่มีอาการหอบ • IV fluid = maintenance+dehydration ไม่ควรให้มากเกินไป อาจเกิด SIADH • Antibiotic ให้เฉพาะรายที่มีการติดเชื้อแบคทีเรีย • Antihistamine ไม่จำเป็นต้องให้เนื่องจากอาจทำให้อาการแย่ลงจาก drying effect ของยา • สิ่งสำคัญที่สุดควรแนะนำให้ผู้ป่วยเข้าใจในโรคและหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้น เช่น ฝุ่น ควันบุหรี่ เกสรดอกไม้ ขนสัตว์ อากาศเย็น และควรแนะนำให้ออกกำลังกายตามความเหมาะสม

  23. Recurrent Abdominal Pain • Pitfall ในการ management 1. แพทย์มักให้การรักษาแบบ Dyspepsia โดยให้แต่ยากิน แต่ไม่ได้อธิบายโรคและไม่ได้ให้คำแนะนำ ทำให้ผู้ปกครองกังวลและพาไปพบแพทย์โดยเปลี่ยนหมอไปเรื่อยๆ 2. แพทย์มักวินิจฉัยเบื้องต้นจากประวัติโดยอาจไม่ได้ ตรวจร่างกายละเอียดทำให้วินิจฉัยแยกโรคไม่ถูกต้อง

  24. อาการปวดท้องเป็นๆหายๆ คืออาการปวดท้องที่เป็นมาอย่างน้อย 3 ครั้ง เป็นเวลาอย่างน้อย 3 เดือน • สาเหตุ ส่วนใหญ่เกิดจาก functional abdominal pain คือ ไม่มีสาเหตุทางกายที่ชัดเจน โดยอาการปวดจะไม่สัมพันธ์กับการกิน การขับถ่าย อาการปวดไม่ได้เป็นการแกล้งทำ และมีผลกระทบต่อกิจวัตรประจำวัน โดยมักปวดรอบๆสะดือ ปวดเป็นพักๆ อาจมีอาการเวียนศีรษะ คลื่นไส้ร่วมด้วย แต่มักไม่อาเจียน สาเหตุ เกิดจากระบบทางเดินอาหารไวต่อการกระตุ้นมากกว่าคนปกติ สิ่งกระตุ้น เช่น ท้องผูก การติดเชื้อไวรัส แก๊สในลำไส้ อาหารบางชนิด การเปลี่ยนแปลงทางจิตใจอารมณ์

  25. สิ่งสำคัญคือ ต้องทราบถึงอาการบ่งชี้ของ Organic abdominal painคือ ถ้ามีอาการดังต่อไปนี้ต้องหาสาเหตุอื่นเพิ่มเติม ได้แก่ • อาการปวดมากจนตื่นมากลางดึก • อาเจียนบ่อยโดยเฉพาะอย่างยิ่งอาเจียนมีน้ำดีหรือเลือดปน • มีอาการร่วม เช่น มีไข้ เบื่ออาหาร น้ำหนักลด • ตำแหน่งที่ปวดชัดเจนห่างจากสะดือ • ตรวจพบ organomegaly

  26. การรักษา 1.Reassurance อธิบายให้พ่อแม่เข้าใจว่าการปวดท้องของเด็กเป็นเรื่องจริงไม่ได้แกล้งทำ แต่ไม่ใช่พยาธิสภาพของอวัยวะโดยตรง เกิดจากการทำงานของลำไส้ที่ไวต่อการกระตุ้นและมีการตอบสนองมากกว่าคนปกติ 2.Psychological support ค้นหาสาเหตุความเครียดทางกายและจิตใจแล้วพยายามแก้ไข

  27. 3. Environment modification หลีกเลี่ยงสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมอาการปวด ลดการถามนำและการแสดงความวิตกเกี่ยวกับการปวดท้อง และพยายามให้เด็กมีกิจวัตรตามปกติ 4. การปรับอาหารโดยการเพิ่ม fiber ควรงดเครื่องดื่มที่มี caffeine น้ำอัดลม อาหารรสจัด อาหารที่มีไขมันสูง 5. การให้ยา ส่วนใหญ่เป็นยาที่ใช้ในการรักษา dyspepsiaเช่น ranitidine, domperidone, omeprazole, antacid

  28. โรคปอดบวม ( Pneumonia ) Pitfall ในการ management 1.กรณีที่วินิจฉัยว่าเป็นโรคปอดบวม แพทย์มักให้ยาปฏิชีวนะเสมอ โดยไม่ได้แยกว่าเป็นปอดบวมจากเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย 2.กรณีรักษาไปแล้วไข้ไม่ลดลงแพทย์มักเปลี่ยนเป็นยาที่แรงขึ้นเรื่อยๆ โดยไม่หาสาเหตุร่วมอย่างอื่นที่ทำให้เกิดไข้ได้ เช่น thrombophleblitis ,pleural effusion 3. ต้องไม่ลืมว่าโรคปอดบวมใน พ.ศ.2552 อาจเกิดจาก Influenza virus H1N1 ได้ กรณีรักษาแล้วไม่ดีขึ้นอาจพิจารณา add ยา Oseltamivir

  29. ปอดอักเสบ คือ โรคที่เกิดจากการติดเชื้อทำให้มีการอักเสบของปอดบริเวณหลอดลมฝอยส่วนปลายและถุงลม • สาเหตุ เกิดจากเชื้อไวรัส เช่น Adenovirus, Influenza virus และเชื้อแบคทีเรีย เช่น Streptococcus pneumoniae, Mycoplasma pneumoniae ซึ่งจะเป็นเชื้ออะไรขึ้นอยู่กับกลุ่มอายุผู้ป่วยและ host

  30. ประวัติสำคัญ คือ ไข้ ไอ หอบ อาจมีซีดเขียวหรือหยุดหายใจร่วมด้วย • ตรวจร่างกาย มักพบว่ามีไข้และหายใจเร็วกว่าเกณฑ์ปกติ หายใจลำบาก เช่น มี retraction ฟังเสียงปอดได้ยิน crepitation หรือ rhonchi • การส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการCBC, film CXR, sputum G/S C/S, nasopharyngeal swab

  31. *สิ่งสำคัญควรแยกให้ได้ว่าปอดบวมเกิดจากเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัส โดยพิจารณาจาก Bacterial pneumonia Viral pneumonia Onset Abrupt Gradual • Temperature > 38.5 c < 38.5 c • Lung อาจได้ยินเสียงcrepitationมักได้ยินเสียง wheezing ,rhonchi • WBC > 15,000 < 15,000 • PMN > 10,000 < 10,000 • CXR อาจพบ alveolar , patcy infiltration Hyperinflation, • Pneumatocele, pleural effusion Interstitial infiltration

  32. การรักษา • กรณีเป็นจากเชื้อไวรัส ไม่มีการรักษาจำเพาะยกเว้น Oseltamivir ใน case Influenza • กรณีเป็นจากเชื้อแบคทีเรีย ให้ยาปฏิชีวนะโดยคำนึงถึง อายุ อาการทางคลินิก และ CXR โดยพิจารณาดังนี้ • อายุ < 20 วัน ควร Admit ทุกราย ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อ group B streptococci และ gram negative bacilli ให้ Ampicillin (100-200 MKD) + Gentamicin (5-7 MKD) หรือ 3rdCephalosporin เช่น Claforan (100-200 MKD) ให้ยานาน 7-10 วัน

  33. อายุ 3 สัปดาห์-3 เดือน กรณีไม่มีไข้ อาการค่อยเป็นค่อยไป ไอเป็นชุดแบบตื้นๆ อาจมีตาอักเสบร่วมด้วย ควรคิดถึงC.tracomatis ให้กิน Erythromycin นาน10-14 วัน ถ้ามีไข้ควร Admit และให้ยา Ampicillin หรือ3rdCephalosporin

  34. อายุ 3 เดือน-5ปี ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อ S.pneumoniae และ H.influenzae ถ้าไม่รุนแรงให้กิน Amoxycillin 40-50MKD ถ้าแพ้ Penicillin ให้ยา Erythromycin แทน ถ้าไม่ดีขึ้นภายใน 2 วันให้คิดถึงเชื้อดื้อยา พิจารณาเปลี่ยนยาเป็น Augmentin (40-50 MKD ของamoxy) ในรายที่มีอาการุนแรง พิจารณา admit ควรให้3rdCephalosporin หรือ Augmentin ฉีดนาน 10-14 วัน

  35. อายุ 5-15 ปี ถ้าไม่รุนแรงหรือสงสัยเป็นจาก M.pneumoniae ให้กิน Erythromycin นาน 7-10วัน กรณีสงสัยเป็นจาก S.pnemoniae ให้ยาAmoxycillin หรือ Penicillin 7-10 วัน ในรายที่มีอาการรุนแรง ควรให้ Ampicillin หรือ3rdCephalosporin ฉีดนาน 10-14 วัน กรณีสงสัยเป็นจาก S.aureus ( เด็กเล็กไข้สูง อาการทรุดลงอย่างรวดเร็ว CXR พบ pneumatocele) ควรให้ฉีด Cloxacillin (100-150 MKD) นาน 3 สัปดาห์

  36. การรักษาทั่วไป 1.การให้ออกซิเจน ควรให้ทุกรายที่มี Oxygen sat room air < 92% • 2.การให้สารน้ำ ควรให้อย่างเพียงพอ ควรเช็ค electrolyte เป็น ระยะ ระวัง SIADH • 3.ให้ยาขยายหลอดลม ในรายที่ได้ยินเสียง wheezing หรือ rhonchi และตอบสนองดีต่อการพ่นยาขยายหลอดลม

  37. ภาวะแทรกซ้อน • กรณียังมีไข้หรืออาการไม่ดีขึ้นหลังการรักษาแล้ว 2 วัน ควรประเมินว่ามีภาวะแทรกซ้อนอย่างอื่นหรือไม่ เช่น pleural effusion, pneumatocele, lung abscess โดยควรส่ง film x-ray ซ้ำ • นอกจากนี้อาจเกิดจากการติดเชื้อที่อื่นจากภาวะ septicemia เช่น osteomyelitis, septic arthritis โดยเฉพาะรายที่ติดเชื้อ S.aureus

  38. THANK YOU FOR YOUR ATTENTION

More Related