350 likes | 586 Views
เทคโนโลยีสารสนเทศ Information Technology. เนื้อหา. 1. สังคมยุคข้อมูลข่าวสาร 2. เทคโนโลยีสารสนเทศ 3. คุณสมบัติข้อมูล 4. ลักษณะสารสนเทศที่ดี 5. ประโยชน์ของระบบสารสนเทศ 6. ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศ 7. จริยธรรมและความปลอดภัย. สังคมยุคข้อมูลข่าวสาร.
E N D
เนื้อหา 1. สังคมยุคข้อมูลข่าวสาร 2. เทคโนโลยีสารสนเทศ 3. คุณสมบัติข้อมูล 4. ลักษณะสารสนเทศที่ดี 5. ประโยชน์ของระบบสารสนเทศ 6. ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศ 7. จริยธรรมและความปลอดภัย
สังคมยุคข้อมูลข่าวสาร สังคมยุคข้อมูลข่าวสาร • ในปัจจุบันนี้ สังคมมนุษย์ได้มีการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตไปมากจากในอดีต โดยในปัจจุบันนี้จะเป็นยุคของข้อมูลข่าวสาร (Information Technology ) ถ้าหากใครมีข้อมูลข่าวสารที่ทันสมัย และครบถ้วนกว่าอีกคนหนึ่ง คนนั้นก็จะเกิดความได้เปรียบและสามารถนำข้อมูลข่าวสารนั้นมาใช้งานในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด • ในชีวิตประจำวันของคนเราจำเป็นที่จะต้องมีการใช้ข้อมูลข่าวสารอยู่เสมอ ตั้งแต่เราเริ่มตื่นนอน เดินทาง ทำงาน หรือแม้แต่การรับประทานอาหารประจำมื้อ
สังคมยุคข้อมูลข่าวสารสังคมยุคข้อมูลข่าวสาร • ตัวอย่างเช่น เมื่อเราไปทำงานเราก็จะต้องมีข้อมูลเกี่ยวกับเส้นทางการเดินรถ ตารางเวลารถไฟ เพื่อที่จะได้นำมาใช้ประกอบการตัดสินใจได้ว่าจะไปทำงานทันหรือไม่ • ในการทำงาน เราก็จะต้องมีข้อมูลอย่างเช่น ยอดขายสินค้า เพื่อทำการเปรียบเทียบดูว่ายอดขายสินค้าของเราเป็นไปตามเป้าหมายที่เรากำหนดไว้หรือไม่ • ในมื้ออาหารสำหรับบางคนก็อาจจะมีข้อมูลว่าอาหารที่รับประทานนั้นมีคอเลสเตอรอลเท่าไร หรือให้พลังงานกี่แคลลอรี่ เป็นต้น
สังคมยุคข้อมูลข่าวสารสังคมยุคข้อมูลข่าวสาร • ทรัพยากรแบบดั้งเดิมที่ใช้ในเศรษฐกิจ • ที่ดิน • แรงงาน • ทุน • องค์ประกอบใหม่ของเศรษฐกิจ • สารสนเทศ
สังคมยุคข้อมูลข่าวสารสังคมยุคข้อมูลข่าวสาร • การมีความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ Computer Literacy • ความตระหนักและรับรู้ (Awareness) • โดยตระหนักถึงความสำคัญ ความหลากหลาย และการแพร่หลายในสังคมของเรา • ความรู้ (Knowledge) • เรียนรู้ว่าคอมพิวเตอร์ทำงานอย่างไร • เรียนรู้ศัพท์เทคนิคทางด้านคอมพิวเตอร์ • การมีปฎิสัมพันธ์ (Interaction) • รู้ว่าจะใช้คอมพิวเตอร์สำหรับงานง่ายๆ อย่างไร
เทคโนโลยีสารสนเทศ ความหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ • เทคโนโลยีสารสนเทศ ไม่ได้มีเพียงแค่คอมพิวเตอร์เท่านั้น แต่ยังรวมถึงเทคโนโลยีอื่นๆ ที่ทำงานร่วมกันด้วย • เทคโนโลยีสารสนเทศมีผลต่อชีวิตความเป็นอยู่ของเราอย่างมาก เนื่องจากเป็นการทำให้เราเปลี่ยนมุมมองต่อโลก โดยการขยายวิสัยทัศน์และการรับรู้ของเราเพื่อทำให้เราเข้าใจเรื่องต่างๆ จากนั้นเมื่อเราเข้าใจเรื่องต่างๆ เราก็สามารถที่จะควบคุมสภาพแวดล้อมต่างๆ และเริ่มที่จะสร้างทางแก้ไขปัญหาขึ้นมาได้ เช่น การคิดค้นบริการใหม่ๆ , สินค้าใหม่ๆ
ความหมายของข้อมูลและสารสนเทศ(ต่อ)ความหมายของข้อมูลและสารสนเทศ(ต่อ) • ข้อมูล คือ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์ หรือข้อมูลดิบที่ยังไม่ผ่านการประมวลผล ยังไม่มีความหมายในการนำไปใช้งาน ข้อมูลอาจเป็นตัวเลข ตัวอักษร สัญลักษณ์ รูปภาพ เสียง หรือภาพเคลื่อนไหว • สารสนเทศ คือ ข้อมูลที่ได้ผ่านการประมวลผลหรือจัดระบบแล้ว เพื่อให้มีความหมายและคุณค่าสำหรับผู้ใช้
เทคโนโลยีสารสนเทศ ประเภทของเทคโนโลยีสารสนเทศ • Sensing เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยเราเก็บข้อมูล จากสิ่งแวดล้อมรอบตัว และแปลเป็นข้อมูลในรูปแบบที่เราเข้าใจ ตัวอย่างเช่น • Image Scanner เช่นบันทึกรูปภาพ ลายนิ้วมือ • Sensors เช่น การรับอุณหภูมิ ความร้อน ความเย็น • Communicationเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยในการสื่อสารเชื่อมโยงสารสนเทศระหว่าง Sensing , Analyzing , Display • Fax • Cellular Telephones • LAN (Local Area Networks)
เทคโนโลยีสารสนเทศ • Analyzing เป็นส่วนของ Hardware และ Software ที่รับข้อมูลมาจาก Sensing , Communication แล้วนำมาประมวลผลหรือวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้ได้สารสนเทศนำไปใช้งานได้โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ประเภทต่างๆ ตัวอย่างเช่น • การออกแบบพื้นที่ใช้สอยในบ้านให้มีประสิทธิภาพสูงสุด • วิเคราะห์สภาพอากาศโลก • Display เป็นเครื่องมือและ Software ที่ทำให้ข้อมูลที่ถูกประมวลผลแล้วไปสู่ผู้ใช้ ไม่ว่าจะเป็นด้วยการมองเห็น หรือการได้ยิน โดยการนำเอาข้อมูลที่ได้จากการ Sensing , Communication , Analyzing มาแสดง • จอภาพ LCD , Color Monitor • Virtual Reality • Printer
ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) • คือ อุปกรณ์หรือเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการรวบรวมประมวล เก็บรักษา และเผยแพร่ข้อมูลและสารสนเทศโดยรวมทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ฐานข้อมูล และการสื่อสาร โทรคมนาคม
คุณสมบัติของข้อมูล • ความถูกต้อง เมื่อนำข้อมูลเข้าสู่คอมพิวเตอร์แล้วผลลัพธ์ที่ได้จะต้องถูกต้องในทุกส่วน หากมีการเก็บรวบรวมข้อมูลแล้วข้อมูลเหล่านั้นเชื่อถือไม่ได้จะทำให้เกิดผลเสียอย่างมาก โดยปกติความผิดพลาดของสารสนเทศส่วนใหญ่ มาจากข้อมูลที่ไม่มีความถูกต้องซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากคนหรือเครื่องจักร
ความรวดเร็วและเป็นปัจจุบัน การได้มาของข้อมูลจำเป็นต้องให้ทันต่อความต้องการของผู้ใช้ มีการตอบสนองต่อผู้ใช้ได้เร็ว ตีความหมายสารสนเทศได้ทันต่อเหตุการณ์หรือความต้องการสามารถนำมาใช้ได้ทันที • ความสมบูรณ์ ความสมบูรณ์ของสารสนเทศขึ้นกับการรวบรวมข้อมูลและวิธีการทางปฏิบัติด้วย ในการดำเนินการจัดทำสารสนเทศต้องสำรวจและสอบถามความต้องการใช้ข้อมูลเพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีความสมบูรณ์ในระดับหนึ่งที่เหมาะสม
ความชัดเจนและกะทัดรัด การจัดเก็บข้อมูลจำนวนมากจะต้องใช้พื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูลมากจึงจำเป็นต้องออกแบบโครงสร้างข้อมูลให้กะทัดรัดสื่อความหมายได้ มีการใช้รหัสหรือย่นย่อข้อมูลให้เหมาะสมเพื่อจัดเก็บไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ได้
ความสอดคล้อง ความต้องการเป็นเรื่องที่สำคัญ ดังนั้นจึงต้องมีการสำรวจเพื่อหาความต้องการของหน่วยงานและองค์กร ดูสภาพการใช้ข้อมูล ความลึกหรือความกว้างของขอบเขตของข้อมูลที่สอดคล้องกันความต้องการ และต้องมีความสัมพันธ์กับสถานการณ์ปัจจุบันและสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม
องค์ประกอบระบบสารสนเทศที่ใช้คอมพิวเตอร์องค์ประกอบระบบสารสนเทศที่ใช้คอมพิวเตอร์ • ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการที่ใช้คอมพิวเตอร์ (Computer-based information systems :CBIS) มีองค์ประกอบที่สำคัญ 5 ส่วนคือ • ฮาร์ดแวร์ (hardware) • ซอฟต์แวร์ (software) • ฐานข้อมูล (database) • เครือข่าย (network) • กระบวนการ (procedure) • บุคลากร (people)
ลักษณะสารสนเทศที่ดี • เนื้อหา (Content) • ความสมบูรณ์ครอบคลุม (completeness) • ความสัมพันธ์กับเรื่อง (relevance) • ความถูกต้อง (accuracy) • ความเชื่อถือได้ (reliability) • การตรวจสอบได้ (verifiability)
ลักษณะสารสนเทศที่ดี (ต่อ) • รูปแบบ (Format) • ชัดเจน (clarity) • ระดับรายละเอียด (level of detail) • รูปแบบการนำเสนอ (presentation) • สื่อการนำเสนอ (media) • ความยืดหยุ่น (flexibility) • ประหยัด (economy)
ลักษณะสารสนเทศที่ดี (ต่อ) • เวลา (Time) • ความรวดเร็วและทันใช้ (timely) • การปรับปรุงให้ทันสมัย (up-to-date) • มีระยะเวลา (time period) • กระบวนการ (Process) • ความสามารถในการเข้าถึง (accessibility) • การมีส่วนร่วม (participation) • การเชื่อมโยง (connectivity))
การผลิตสารสนเทศจากข้อมูลการผลิตสารสนเทศจากข้อมูล การทำข้อมูลให้เป็นสารสนเทศที่จะเป็นประโยชน์ต่อการใช้งานจำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการดำเนินการเริ่มตั้งแต่การรวบรวมและตรวจสอบข้อมูลการดำเนินการประมวลผลข้อมูลให้กลายเป็นสารสนเทศและการดูแลรักษาสารสนเทศเพื่อการใช้งาน
การรวบรวมและการตรวจสอบข้อมูลการรวบรวมและการตรวจสอบข้อมูล • การเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นเรื่องของการเก็บรวบรวมข้อมูลซึ่งมีจำนวนมากและต้องเก็บให้ได้อย่างทันเวลาเช่นข้อมูลการลงทะเบียนเรียนของนักเรียนข้อมูลประวัติบุคลากรปัจจุบันมีเทคโนโลยีช่วยในการจัดเก็บอยู่เป็นจำนวนมากเช่นการป้อนข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์การอ่านข้อมูลจากรหัสแท่งการตรวจใบลงทะเบียนที่มีการฝนดินสอดำในตำแหน่งต่างๆเป็นวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลเช่นกัน
การรวบรวมและการตรวจสอบข้อมูล (ต่อ) • การตรวจสอบข้อมูลเมื่อมีการเก็บรวบรวมข้อมูลแล้วจำเป็นต้องมีการตรวจสอบข้อมูลเพื่อตรวจสอบความถูกต้องข้อมูลที่เก็บเข้าในระบบต้องมีความเชื่อถือได้หากพบที่ผิดพลาดต้องแก้ไขการตรวจสอบข้อมูลมีหลายวิธีเช่นการใช้ผู้ป้อนข้อมูลสองคนป้อนข้อมูลชุดเดียวกันเข้าคอมพิวเตอร์แล้วเปรียบเทียบกัน
การดำเนินการประมวลผลให้เป็นสารสนเทศการดำเนินการประมวลผลให้เป็นสารสนเทศ 1. การจัดแบ่งกลุ่มข้อมูล ข้อมูลที่จัดเก็บจะต้องมีการแบ่งแยกเป็นกลุ่ม เพื่อ เตรียมไว้สำหรับการใช้งาน 2. การจัดเรียงข้อมูล เมื่อจัดแบ่งกลุ่มเป็นแฟ้มแล้ว ควรมีการจัดเรียงข้อมูลตามลำดับ ตัวเลข หรือตัวอักษร หรือเพื่อเรียกใช้งานได้ง่ายประหยัดเวลา 3. การสรุปผล บ่งครั้งข้อมูลที่จัดเก็บก็มีจำนวนมาก จำเป็นต้องมีการสรุปผลหรือการสร้างรายงานย่อเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ ข้อมูลที่สรุปอาจสื่อความหมายได้ดีกว่า 4. การคำนวณ ข้อมูลที่เก็บมีเป็นจำนวนมาก ข้อมูลบางส่วนเป็นข้อมูลตัวเลขที่สามารถนำไปคำนวณเพื่อหาผลลัพธ์บางอย่างได้ ดังนั้นการสร้างสารสนเทศจากข้อมูลจึงอาศัยการคำนวณข้อมูลที่เก็บไว้ด้วย
การดูแลรักษาสารสนเทศเพื่อการใช้งานการดูแลรักษาสารสนเทศเพื่อการใช้งาน • การเก็บรักษาข้อมูลหมายถึงการนำข้อมูลมาบันทึกเก็บไว้ในสื่อบันทึกต่างๆเช่นแผ่นบันทึกข้อมูลนอกจากนี้ยังรวมถึงการดูแลและทำสำเนาข้อมูลเพื่อให้ใช้งานต่อไปในอนาคตได้ • การค้นหาข้อมูลข้อมูลที่จัดเก็บไว้มีจุดประสงค์ที่จะเรียกใช้งานได้ต่อไปการค้นหาข้อมูลจะต้องค้นได้ถูกต้องแม่นยำรวดเร็วจึงมีการนำคอมพิวเตอร์เข้ามามีส่วนช่วยในการทำงานทำให้การเรียกค้นกระทำได้ทันเวลา
การดูแลรักษาสารสนเทศเพื่อการใช้งาน (ต่อ) • การทำสำเนาข้อมูลการทำสำเนาเพื่อที่จะนำข้อมูลเก็บรักษาไว้หรือนำไปแจกจ่ายในภายหลังจึงควรจัดเก็บข้อมูลให้ง่ายต่อการทำสำเนาหรือนำไปใช้อีกครั้งได้โดยง่าย • การสื่อสารข้อมูลต้องกระจายหรือส่งต่อไปยังผู้ใช้งานที่ห่างไกลได้ง่ายการสื่อสารข้อมูลจึงเป็นเรื่องสำคัญและมีบทบาทที่สำคัญยิ่งที่จะทำให้การส่งข่าวสารไปยังผู้ใช้ทำได้รวดเร็วและทันเวลา
ประโยชน์ของระบบสารสนเทศประโยชน์ของระบบสารสนเทศ • ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน • ช่วยสร้างทางเลือกในการแข่งขัน • ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจ • ช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิต
ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศ • ผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ • ผลกระทบด้านการเมืองและการตัดสินใจ • ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม • ผลกระทบด้านการศึกษา • ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อปัจเจกบุคคล
จริยธรรมและความปลอดภัยจริยธรรมและความปลอดภัย • เทคโนโลยีสารสนเทศมีผลกระทบต่อสังคมเป็นอย่างมากโดยเฉพาะประเด็นจริยธรรมที่เกี่ยวกับระบบสารสนเทศที่จำเป็นต้องพิจารณารวมทั้งเรื่องความปลอดภัยของระบบสารสนเทศการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศหากไม่มีกรอบจริยธรรมกำกับไว้แล้วสังคมย่อมจะเกิดปัญหาต่างๆตามมาไม่สิ้นสุดรวมทั้งปัญหาอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ด้วยดังนั้นหน่วยงานที่ใช้ระบบสารสนเทศจึงจำเป็นต้องสร้างระบบความปลอดภัยเพื่อป้องกันปัญหาดังกล่าว
References • http://202.29.138.73/tecno_std/suwimol/test.html • http://www.nrru.ac.th/preelearning/rungrot/page13006.asp • http://www.tanti.ac.th/Com-tranning/IT/techno.html • http://www.bcoms.net/temp/it.asp • http://elearning.northcm.ac.th/it/lesson1-1.asp • http://bc.siamu.ac.th/sriprai/chap11.3.htm