1 / 27

เศรษฐกิจไทย 100 ปีหลังสนธิสัญญาเบาวริ่ง ค.ศ. 1850 - 1950 (พ.ศ. 2393 - 2493)

เศรษฐกิจไทย 100 ปีหลังสนธิสัญญาเบาวริ่ง ค.ศ. 1850 - 1950 (พ.ศ. 2393 - 2493). เอกสารอ้างอิง James Ingram: Economic Change in Thailand during1850- 1970 , Chs . 2-6 ฉัตรทิพย์ นาถสุภา (2543), ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจไทย

Download Presentation

เศรษฐกิจไทย 100 ปีหลังสนธิสัญญาเบาวริ่ง ค.ศ. 1850 - 1950 (พ.ศ. 2393 - 2493)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. เศรษฐกิจไทย 100 ปีหลังสนธิสัญญาเบาวริ่งค.ศ. 1850 - 1950(พ.ศ. 2393 - 2493)

  2. เอกสารอ้างอิง • James Ingram: Economic Change in Thailand during1850- 1970, Chs. 2-6 • ฉัตรทิพย์ นาถสุภา (2543), ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจไทย • Chris Dixon: The Thai Economy: Uneven Development and Internationalisation, Ch. 2 • นิรมล สุธรรมกิจ (2551), สังคมกับเศรษฐกิจ กรณีศึกษาประเทศไทย (2500 – 2545) บทที่ 5

  3. ประเด็น สนธิสัญญาเบาวริ่งมีสาระสำคัญอย่างไร และมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยอย่างไร คนไทยได้รับประโยชน์จากการเปิดประเทศมากน้อยเพียงใด และบทบาทของคนต่างชาติ (รวมถึงคนจีนอพยพ) ในเศรษฐกิจไทยมีมากน้อยเพียงใด ทำไม Ingram จึงเห็นว่า การเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจไทยไม่นำไปสู่ความก้าวหน้าและการพัฒนาทางเศรษฐกิจมากนัก

  4. เศรษฐกิจไทย 1850 - 1950 • สนธิสัญญาเบาวริ่ง (Bowring Treaty) มีผลสำคัญให้ไทยเปิดประตูค้าขายกับต่างชาติ • สยามในปี 1850: เศรษฐกิจแบบเกษตร ข้าวเป็นพืชหลัก นอกนั้นคือ อ้อย ฝ้าย พริกไทย ผลไม้และผักต่างๆ • อุตสาหกรรมน้อยมาก ส่วนใหญ่เป็นสินค้าหัตถกรรมพื้นบ้าน

  5. เศรษฐกิจไทย 1850 - 1950 • พอเลี้ยงตนเองได้ในด้านอาหารและเครื่องนุ่งห่ม • ไม้สักและดีบุก: ผลิตโดยผู้ประกอบการชาวจีน • สยามค้าขายกับประเทศเพื่อนบ้านและจีน • ส่งออกสินค้าขั้นปฐม (ข้าว น้ำตาล และแร่ดีบุก) และนำเข้าสินค้าอุตสาหกรรม (สิ่งทอ)

  6. เศรษฐกิจไทย 1850 - 1950 • การส่งออกข้าวผันผวนมาก เพราะนโยบายและปริมาณการผลิต • การค้าระหว่างประเทศยังเป็นส่วนเล็กของเศรษฐกิจ • ราชวงศ์และขุนนางผูกขาดในการค้าระหว่างประเทศ และเก็บภาษีการค้าในอัตราสูง • อำนาจผูกขาดบางอย่างขายให้พ่อค้าชาวจีน

  7. เศรษฐกิจไทย 1850 - 1950 • ร. 4 ยอมตกลงสนธิสัญญาเบาวริ่ง (Bowring) ในปี 1855 โดยหวังให้อังกฤษคานอำนาจฝรั่งเศส (ล่าอาณานิคม) • ลดภาษีการค้าเหลือ 3% การค้าเสรี • ยกเลิกผูกขาดการค้า • ค้าฝิ่นได้ถูกต้องตามกฎหมาย

  8. เศรษฐกิจไทย 1850 - 1950 • สนธิสัญญาเบาวริ่ง (Bowring) ในปี 1855 • ประเทศที่ได้รับการอนุเคราะห์ยิ่ง Most-favored-nation status(MFN) • สิทธิสภาพนอกอาณาเขต (extraterritoriality) • ยอมตกลงสนธิสัญญาคล้ายกันกับประเทศตะวันตกอื่นๆ ในเวลาต่อมา

  9. เศรษฐกิจไทย 1850 - 1950 • การผลิตและส่งออกข้าวและสินค้าอื่นๆ (ดีบุก ยางพารา และไม้สัก) ขยายตัวอย่างรวดเร็วมาก • เริ่มเปลี่ยนสภาพจากการผลิตพอพึ่งตนเอง(self sufficiency) ไปสู่การผลิตตามความถนัด (specialization) ในสินค้าน้อยอย่าง

  10. เศรษฐกิจไทย 1850 - 1950 • ข้าวสำคัญเพิ่มขึ้น: 80% ของประชากรปลูกข้าว และ มีมูลค่า 60% ของการส่งออกทั้งหมด • พื้นที่ปลูกข้าวขยายก่อนในภาคกลาง และต่อมาขยายไปในภาคเหนือและอีสาน (บทบาทของรถไฟและการเลิกทาส) • การขุดคลองเพื่อชลประทานและขนส่ง

  11. เศรษฐกิจไทย 1850 - 1950 • รัฐบาลยกเว้นเก็บภาษีที่ดิน • คนไทยพอใจที่จะทำนา ยอมให้คนจีนทำหน้าที่ “พ่อค้าคนกลาง” • แรงงานในเกษตร : ประชากรขยายตัว และการเลิกทาส • แรงงานนอกเกษตร : แรงงานจีนอพยพ

  12. เศรษฐกิจไทย 1850 - 1950 • สินค้าส่งออกอื่นๆ : ดีบุก ไม้สัก และยางพารา • เกือบทุกขั้นตอนการผลิตและการค้าอยู่ในมือของต่างชาติ: • ดีบุก : ทุนจากยุโรปและจีน + แรงงานจีน • ไม้สัก: โรงเลื่อยโดยทุนยุโรปและจีน + แรงงานจีน • ยางพารา: ชาวสวนขนาดเล็กชาวไทยและจีน + พ่อค้าจีน

  13. เศรษฐกิจไทย 1850 - 1950 • ไทยนำเข้าสิ่งทอตั้งแต่สมัยอยุธยา • สิ่งทอ เครื่องนุ่งห่มท้องถิ่นที่ทำด้วยมือ ถูกทดแทนโดยสิ่งทอนำเข้าที่มีราคาถูกกว่า • อุตสาหกรรมสิ่งทอในประเทศหดตัว (แต่ต่อมากลับฟื้นหลังสงครามโลกที่ 2 และกำแพงภาษีนำเข้า)

  14. เศรษฐกิจไทย 1850 - 1950 • ในยุคนั้น ยังไม่มีโรงงานสิ่งทอขนาดใหญ่เพราะ ภาษีขาเข้าต่ำ ตลาดภายในยังเล็ก ขาดเงินลงทุนและแรงงานมีฝีมือ • แต่ก็เริ่มมีโรงงานทอผ้าฝ้ายไม่กี่โรง ลงทุนโดยรัฐบาลและนักลงทุนชาวจีน

  15. เศรษฐกิจไทย 1850 - 1950 • ส่งออกน้ำตาลเพิ่มขึ้นหลังมีสนธิสัญญา แต่ต่อมากลับลดลงเพราะภาษีการผลิต และราคาตลาดโลกตกต่ำ • กลับต้องนำเข้าน้ำตาลจากอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ ระหว่างปี 1880 to 1950 • มีการผลิตน้ำตาลจากโรงงานของรัฐบาลอยู่บ้าง แต่ในปี 1950 ยังไม่มีแววว่าจะส่งออกได้

  16. เศรษฐกิจไทย 1850 - 1950 • สินค้านำเข้าอื่น : “สินค้าผู้บริโภค”, ทั้งที่ฟุ่มเฟือยและจำเป็น • การนำเข้าสินค้าเริ่มมีสัดส่วนสูงขึ้น • มูลค่านำเข้าทั้งหมด = 10% ของ GNP ในปี 1950

  17. เศรษฐกิจไทย 1850 - 1950 • การค้าต่างประเทศมีลักษณะ “แบบอาณานิคม” (“Colonial”) คือค้าขายกับจักรวรรดิ์อังกฤษ (British Empire) • ส่วนใหญ่บริษัทของประเทศตะวันตกเป็นผู้ดำเนินการค้าและขนส่งระหว่างประเทศ

  18. เศรษฐกิจไทย 1850 - 1950 • สาขาอุตสาหกรรมยังเล็กมาก: ในปี 1919 (พ.ศ. 2462)กรุงเทพฯ มี “โรงงาน” 7 แห่ง (ซีเมนต์ สบู่ บุหรี่) • กลุ่มอุตสาหกรรมสำคัญ : โรงสี และโรงเลื่อย

  19. เศรษฐกิจไทย 1850 - 1950 • ทำไมอุตสาหกรรมยังเล็กมาก? • ขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติ ทุน ผู้ประกอบการ และแรงงานมีฝีมือ • ภาษีนำเข้าต่ำ ปกป้องอุตสาหกรรมในประเทศไม่ได้ • ตลาดในประเทศยังเล็ก • ขาดแคลนไฟฟ้า (อาศัยแกลบเป็นเชื้อเพลิง)

  20. เศรษฐกิจไทย 1850 - 1950 • โรงงานอุตสาหกรรมของเอกชน : ซีเมนต์ ใบยาสูบ ไม้ขีดไฟ สบู่ เบียร์ ฯ • ชาวจีนเป็นเจ้าของอยู่หลายแห่ง • รัฐบาลตั้งโรงงานเอง: กระดาษ ทอผ้า น้ำตาล บุหรี่

  21. เศรษฐกิจไทย 1850 - 1950 • ใน 1952 (พ.ศ. 2495) รัฐบาลวางแผนจะตั้งอีก 20 โรงงาน • จอมพล ป. พิบูลสงคราม มุ่งลดอิทธิพลของชาวจีนและต่างชาติอื่นๆ – “ลัทธิชาตินิยม” (“สยาม” เป็น “ไทย”) • โรงงานของรัฐส่วนใหญ่ไม่ประสบผลสำเร็จ : คอรัปชั่น การบริหารผิดพลาด ขาดทุน

  22. เศรษฐกิจไทย 1850 - 1950 • บทบาทของชาวจีนในไทย สำคัญในการค้าและสาขานอกเกษตรอื่นๆ • ในทศวรรษ 1930’s: 80% ของการค้าในประเทศอยู่ในมือของพ่อค้าจีน • การร่วมมือกัน (ฮั้วกัน) ระหว่างพ่อค้าจีน เป็นอุปสรรคต่อการแข่งขันจากคนภายนอกวงการ

  23. เศรษฐกิจไทย 1850 - 1950 • ระหว่างปี 1820-1950: คนจีน 4 ล้านคนอพยพมาไทย • เป็นกำลังแรงงานสำคัญในกิจการนอกเกษตร • ระหว่างปี 1938-1941: จอมพล ป. เริ่มใช้มาตรการต่อต้านชาวจีนในไทย (ปิดโรงเรียนภาษาจีน ฯลฯ)

  24. เศรษฐกิจไทย 1850 - 1950 • การผสมผสานเป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทย : วัฒนธรรม ศาสนา ประเพณี และเศรษฐกิจ • จีนในไทยกลมกลืนเข้ากับสังคมท้องถิ่นได้ดีที่สุด เทียบกับประเทศอื่นในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ • ในปี 1950: ไทยมีเชื้อสายจีนอยู่ 3 ล้านคน (15% ของประชากร)

  25. เศรษฐกิจไทย 1850 - 1950 Ingram สรุปว่า ในช่วงปี 1850 – 1950 • เศรษฐกิจไทยเปลี่ยนแปลงมาก(“changes”) แต่ไม่มีความก้าวหน้า (“progress”) และการพัฒนา(“development”) มากนัก

  26. เศรษฐกิจไทย 1850 - 1950 Ingram สรุปว่า ในช่วงปี 1850 – 1950 • การเปลี่ยนแปลง (“changes”): ใช้เงินมากขึ้น ผลิตตามถนัดมากขึ้น การแบ่งงานกันทำตามเชื้อชาติมากขึ้น (racial division of labor) และอัตราการขยายตัวของประชากรสูงขึ้น

  27. เศรษฐกิจไทย 1850 - 1950 Ingram สรุปว่า ในช่วงปี 1850 – 1950 • ความก้าวหน้า (“progress”)ยังไม่มาก: การเพิ่มรายได้ต่อหัว • การพัฒนา(“development”) ยังไม่มากนัก: การใช้สินค้าทุน (เทียบกับแรงงาน) และเทคนิคการผลิตใหม่ๆ

More Related