1 / 65

นโยบายการค้าระหว่างประเทศของไทยในช่วงปี 2543 ถึงปัจจุบัน

นโยบายการค้าระหว่างประเทศของไทยในช่วงปี 2543 ถึงปัจจุบัน. รศ.ดร.ชยันต์ ตันติวัสดาการ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. เนื้อหา. 1. ภาพรวมการค้าระหว่างประเทศ 2. นโยบายการค้าของไทยและการปฏิบัติตามข้อตกลงการค้าของไทย 3 . ความตกลงทางการค้าต่างๆของไทย WTO ระดับภูมิภาค และทวิภาคี

devaki
Download Presentation

นโยบายการค้าระหว่างประเทศของไทยในช่วงปี 2543 ถึงปัจจุบัน

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. นโยบายการค้าระหว่างประเทศของไทยในช่วงปี 2543 ถึงปัจจุบัน รศ.ดร.ชยันต์ ตันติวัสดาการ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

  2. เนื้อหา 1. ภาพรวมการค้าระหว่างประเทศ 2. นโยบายการค้าของไทยและการปฏิบัติตามข้อตกลงการค้าของไทย 3. ความตกลงทางการค้าต่างๆของไทย • WTO • ระดับภูมิภาค และทวิภาคี 4. ข้อสังเกตเกี่ยวกับนโยบายการค้าของไทย

  3. 1. ภาพรวมการค้าระหว่างประเทศ

  4. หน่วย: ล้านเหรียญ

  5. 36.3% 21.8% 12.9% 15.4% 13.7% Thailand export patterns, 2005, Department of Trade Negotiation

  6. 43.5% 18.3% 8.9% 7.3% 22.0% Thailand import patterns, 2005, Department of Trade Negotiation

  7. สินค้าส่งออก 10 รายการแรก

  8. สินค้านำเข้า 10 รายการแรก

  9. 1. มีความได้เปรียบสูงมาก RCA > 5 ผลิตภัณฑ์ข้าว (25.22) น้ำตาล (5.6) 2. มีความได้เปรียบสูง 5 > RCA > 2 กลุ่มพืชอื่นๆ (4.1) กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารอื่นๆ (3.5) ข้าวเปลือก (3.3) กลุ่มผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์อื่นๆ (3.0) 3. มีความได้เปรียบ 2 > RCA > 1 อุปกรณ์อิเล็กทรอนิค (2.0) เครื่องหนัง (1.8) เครื่องแต่งกาย (1.7) ขนส่งทางอากาศ (1.69) กลุ่มอุตสาหกรรมอื่น (1.60) บริการขนส่งอื่น (1.47) ประมง (1.43) สิ่งทอ (1.42) ผลิตภัณฑ์จากแร่ธาตุอื่น (1.23) ผลิตภัณฑ์ไม้ (1.17) ความสามารถในการส่งออกของไทย (1) ระดับความสามารถ กลุ่มสินค้า (ค่าดัชนี RCA)

  10. 4. ไม่มีความได้เปรียบ 1 >RCA> 0.5 เคมีภัณฑ์ ยางและพลาสติก (0.87) เครื่องจักร&อุปกรณ์ (0.83) ก่อสร้าง (0.81) กลุ่มผักผลไม้และผลไม้มีเปลือกแข็ง (0.80) ผลิตภัณฑ์โลหะ (0.76) ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมและถ่านหิน (0.69) ขนส่งทางทะเล (0.66) การค้าปลีกและค้าส่ง (0.63) กลุ่มผลิตภัณฑ์จากสัตว์อื่นๆ (0.57) 5. ไม่มีความได้เปรียบมาก (0.5 > RCA > 0.2) น้ำมันพืชและไขมัน (0.50) กระดาษและการพิมพ์ (0.48) บริการธุรกิจ (0.43) ธัญพืชอื่นๆ (0.42) เหล็ก (0.41) คมนาคม (0.38) เครื่องดื่มและยาสูบ (0.30) ประกัน (0.29) รถยนต์และชิ้นส่วน (0.29) ผลิตภัณฑ์นม (0.25) โลหะอื่นๆ ที่ไม่ใช่เหล็ก (0.25) อุปกรณ์ขนส่งอื่นๆ (0.20) ความสามารถในการส่งออกของไทย (2) ระดับความสามารถ กลุ่มสินค้า (ค่าดัชนี RCA)

  11. ความสามารถในการส่งออกของไทย (3) 6. มีความเสียเปรียบโดยเปรียบเทียบสูงมาก (RCA < 0.2) แร่ธาตอื่นๆ ป่าไม้ บริการการเงินอื่นๆ กลุ่มผลิตภัณฑ์เส้นใยจากพืช กลุ่มเมล็ดพืชน้ำมัน น้ำมัน อ้อย บริการไฟฟ้า กลุ่มวัว แพะและแกะ กลุ่มเนื้อวัว แพะและแกะ นมสด กลุ่มขนสัตว์ ไหมและดักแด้ บริการการผลิตและการจำหน่ายก็าซ ข้าวสาลี ถ่านหิน ก็าซ ระดับความสามารถ กลุ่มสินค้า (ค่าดัชนี RCA) ที่มา: คำนวณจากฐานข้อมูล GTAP version 6

  12. นโยบายการค้าของไทยและการปฏิบัติตามข้อตกลงการค้าของไทยนโยบายการค้าของไทยและการปฏิบัติตามข้อตกลงการค้าของไทย

  13. ภาพรวมของ นโยบายการค้าของไทย • ไทยปฏิบัติตามหลัก MFN กับทุกประเทศสมาชิก WTO • ใช้แนวทาง ภูมิภาคเปิด (Open regionalism) ของ APEC และผูกพันที่จะมีการเปิกการค้าและการลงทุนเสรีภายในปี 2563 • พยายามเจรจาการค้าแบบทวิภาคีกับหลายประเทศเพิ่มเติมจากที่มีอยู่แล้วภายใต้ AFTA • มีนโยบายด้านการลงทุนที่ค่อนข้างเสรี โดยผู้ลงทุนจากสหรัฐฯได้รับการปฏิบัติเป็นพิเศษเหนือกว่าประเทศอื่นตามสนธิสัญญาทางไมตรีระหว่างไทยและสหรัฐฯ ปี พ.ศ. 2509

  14. การปฏิบัติตามข้อตกลง 2.1 ภาพรวมการปฏิบัติตามข้อตกลง • ไทยใช้ภาษีนำเข้าเป็นมาตรการหลักในการควบคุมการค้า • อัตราภาษีเฉลี่ย 14.7% (ปี 2546) จากจำนวนภาษี 5,505 รายการภาษี • 1/4 ของรายการภาษีทั้งหมดนี้มีลักษณะ unbound และที่ bound ก็มักมีอัตราจะสูงกว่าอัตรา MFN rates ที่ใช้จริงอยู่มาก -> water in the tariff • รัฐบาลมีอำนาจปรับเพิ่มอัตราได้ด้วยการประกาศในพระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง และประกาศของคณะรัฐมนตรี • ไทยมีการปรับเพิ่มอัตราภาษีเพียงไม่กี่ครั้ง (ส่วนใหญ่ในกลุ่มอาหารและยานยนต์) • แต่มีการใช้ anti dumping หลายครั้ง

  15. 2.1 ภาพรวมการปฏิบัติตามข้อตกลง • การใช้มาตรการใบอนุญาตนำเข้ายังคงไม่ชัดเจนและในหลายกรณีมีสภาพไม่ต่างกับการจำกัดปริมาณ ใบอนุญาตดังกล่าวประกาศใช้ภายใต้เหตุผลด้านความมั่นคงของชาติ สุขอนามัย และสิ่งแวดล้อม • ยังคงมีการใช้มาตรการที่ไม่ภาษี (Non-tariff boarder measures) บางชนิดอยู่เพื่อเหตุผลอื่นๆ หรือเพื่อปกป้องอุตสาหกรรมทารก • ประเทศไทยยังไม่ได้เข้าร่วมเป็นภาคีใน ความตกลงว่าด้วยการจัดซื้อของรัฐ (Agreement on Government Procurement) • มีการยกเลิก subsidies ที่ผูกกับการส่งออกหลายชนิด

  16. 2.1 ภาพรวมการปฏิบัติตามข้อตกลง • การส่งเสริมการลงทุน: ตระหนักว่าต้องเร่งกำจัดอุปสรรคของการลงทุนมากกว่าที่จะพึ่งพิงแต่การให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอย่างที่เคย • หันมาเน้นนโยบายอุตสาหกรรมมากขึ้นด้วยการพยายามเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในบางอุตสาหกรรมเป้าหมาย • มีการยกเลิกการใช้การบังคับ Local content และ Performance requirement เกือบทั้งหมด • มีความก้าวหน้าในการแปรรูปรัฐวิสาหกิจเป็นบริษัทมากพอสมควรซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการที่จะแปรรูปให้เป็นเอกชนในที่สุด • อย่างไรก็ดีการแปรรูปในภาพรวมยังคงล่าช้ากว่าแผนงานที่ตั้งไว้

  17. 2.1 ภาพรวมการปฏิบัติตามข้อตกลง • มีการออกมาตรฐานอุตสาหกรรมของไทยตามมาตรฐานสากลเพิ่มขึ้น • มีการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายต่างๆ หลายฉบับที่เกี่ยวกับการกักกันสิ่งมีชีวิต (quarantine) • ปรับปรุงความเข้มแข็งของกฎหมายด้านทรัพย์สินทางปัญญาด้วยการออกมาตรการหลายประการเพื่อบังคับใช้กฎหมายมากขึ้น • การบังคับใช้นโยบายแข่งขันทางการค้ายังไม่เข้มแข็งนัก • มีการตัดสินคดีความไปเพียง 3 คดีเท่านั้นนับตั้งแต่กฎหมายดังกล่าวมีผลบังคับใช้ในปี พ.ศ. 2542- 45

  18. 2.2 มาตรการที่มีผลต่อการนำเข้า: พิธีศุลกากร • ตั้งแต่ปี 2542 ไทยใช้ระบบ EDI เพื่อเร่งการผ่านพิธีศุลกากร • ระบบดังกล่าวจัดการคำร้องศุลกากรประมาณ 85% • ลดเวลาเฉลี่ยการผ่านพิธีการจาก 4 ชั่วโมง เหลือ 1 ชั่วโมง • ตั้งแต่ พ.ย. 2545 เริ่มใช้ระบบแจ้งภาษีผ่านอินเตอรเน็ตสำหรับ SMEs • ไทยยังไม่มีกฎหมายเฉพาะเรื่อง Rule of Origin แต่สินค้านำเข้าที่ต้องการใช้สิทธิจาก CEPT (40% ผลิตในอาเซียน) และตามระบบ GSTP จะต้องมีใบรับรองสินค้าตาม กฎแหล่งกำเนิดสินค้า

  19. 2.3 มาตรการที่มีผลต่อการนำเข้า: ภาษีศุลกากร • ระบบ Harmonized System (HS) 7-digit แบ่งเป็น • 1) อัตราประกาศตามพระราชบัญญัติ • 2) อัตราที่ใช้จริง (Applied rates) มีอัตราภาษีเฉลี่ย 14.7% • สินค้าเกษตร มีอัตราภาษีเฉลี่ย 25.4% • สินค้าอุตสาหกรรม มีอัตราภาษีเฉลี่ย 12.9% • 3) อัตราผูกพัน (WTO bound rates) อัตราภาษี เฉลี่ย 28.4% คิดเป็น 72%ของรายการภาษี • 4) อัตราลดหย่อนพิเศษ (Concession rates) เช่น CEPT • สินค้าที่ปลอดภาษีคิดเป็น 4.0 %ของรายการภาษี • สินค้าที่ใช้ tariff quota มี1.0% ของรายการภาษี

  20. การกระจายของอัตราภาษีนำเข้าการกระจายของอัตราภาษีนำเข้า

  21. กลุ่มสินค้าที่มีอัตราภาษีสูงกลุ่มสินค้าที่มีอัตราภาษีสูง • กลุ่มผลิตภัณฑ์ผัก อาหารสำเร็จรูป อุปกรณ์ขนส่ง รองเท้าและหมวก อาวุธและดินปืน • โครงสร้างภาษีมีลักษณะ Tariff escalation • อัตราการคุ้มครองที่แท้จริงของภาษีจะเพิ่มขึ้นเมื่อสินค้าผ่านกระบวนการผลิตที่ซับซ้อนมากขึ้น • เป็นอุปสรรคต่อการนำเข้าสินค้าขั้นกลางและสำเร็จรูป • ได้แก่กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องหนัง ผลิตภัณฑ์ไม้ ผลิตภัณฑ์กระดาษ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมและถ่านหิน ผลิตภัณฑ์อโลหะ เหล็กและเหล็กกล้า โลหะอื่นๆ เป็นต้น

  22. 2.5 มาตรการกีดกันการค้าที่ไม่ใช่ภาษีศุลกากร • ประกอบด้วยใบอนุญาตนำเข้าและการห้ามนำเข้า • เงื่อนไขของการได้มาซึ่งใบอนุญาตนำเข้าของสินค้าบางรายการมีแนวโน้มที่ค่อนข้างสลับซับซ้อนและไม่โปร่งใส และในหลายกรณีดูคล้ายกับการจำกัดด้านปริมาณ • ตามพระราชบัญญัติการส่งออกและนำเข้าปีพ.ศ. 2522ให้อำนาจ รมต. พาณิชย์ ผ่านคณะรัฐมนตรีในการจำกัดการนำเข้า • เพื่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ สาธารณะประโยชน์ สาธารณะสุข ความมั่นคงของชาติ ความสงบสุข ศีลธรรม หรือเหตุผลอื่นๆที่เป็นประโยชน์แก่ชาติ • พรบ. ส่งเสริมการลงทุน ให้อำนาจ BOI ขอให้รมต. พาณิชย์ระงับการนำเข้าสินค้าที่แข่งขันกับอุตสาหกรรมภายในประเทศ

  23. มาตรการฉุกเฉิน • Safeguards:ตามกฎกระทรวงพาณิชย์ (9 มิย. 2542) • มค. 2545BOI ประกาศเก็บ surcharge5% - 25% สินค้าเหล็กนำเข้าเพื่อปกป้องการผลิตเหล็กภายในประเทศที่ได้รับส่งเสริมฯ • ยกเลิกในกค.ปีเดียวกัน ใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดแทน • Anti-dumping: • พค. 2546 เก็บ AD สินค้า 6 ชนิด จาก 12 รัฐสมาชิกของ WTO และเก็บกับสินค้าอีก 3 ชนิดจากที่ไม่ใช่รัฐสมาชิก • มีอัตราอยู่ในช่วงตั้งแต่ 5.9% - 135% • Countervailing Measures: ยังไม่มีการใช้

  24. มาตรการที่มีผลต่อการส่งออกมาตรการที่มีผลต่อการส่งออก • ภาษีส่งออกยังอัตราประกาศฯที่ค่อนข้างสูง แต่ใช้จริงน้อยมาก • ใช้การขออนุญาตในการคุมโควตาส่งออก การห้ามการส่งออกตามเงื่อนไข และการห้ามการส่งออกโดยเด็ดขาด โดยมีสาเหตุ • เหตุผลทางเศรษฐกิจ คุณภาพ สุขภาพ และความปลอดภัย • เป็นไปตามข้อตกลงกับคู่ค้า เช่นสินค้าสิ่งทอและเสื้อผ้า และสินค้าเกษตรกรรมบางชนิดๆ • EXIM Bank: ปลายปี 2545 ยกเลิก Packing Credit แต่ยังคงให้การสนับสนุนการส่งออกประเภทอื่นๆ อยู่

  25. ความตกลงทางการค้าต่างๆของไทยความตกลงทางการค้าต่างๆของไทย

  26. 3. WTO 3.1 จุดยืนของไทยใน WTO • ปฏิบัติตามหลักการ MFN กับทุกประเทศสมาชิก WTO • ให้ความสำคัญกับภาคการเกษตร โดยเฉพาะ export subsidies และ domestic supports • เป็นสมาชิก Cairns Group ใน WTO ที่สนับสนุนการปฏิรูปด้าน market access และยกเลิก export subsidies และ domestic supports • ไม่เห็นด้วยกับการอ้างสิ่งแวดล้อมมาเป็นเหตุลดหย่อนกฎเกณฑ์ WTO • ไม่ยอมรับหลักการการป้องกันไว้ก่อนที่ไม่ใช่หลักเกณฑ์ทางวิทยาศาสตร์ซึ่งอยู่นอกเหนือกรอบของ WTO ปัจจุบัน -> GMO ของ EU

  27. 3. WTO 3.1 จุดยืนของไทยใน WTO • ให้ความสนใจเรื่อง • ข้อตกลง TRIPs กับสาธารณะสุข • การขยายขอบเขตข้อบงชี้ทางภูมิศาสตร์ให้ครอบคลุมสินค้าอื่นนอกเหนือจากไวน์และสุรา • สนใจประเด็นการผนวกการลงทุนและการแข่งขันกับ WTO • ไม่ได้เป็นภาคีหรือเป็นผู้สังเกตการณ์ใน Agreement on Government Procurement แต่เข้าร่วมในคณะ WTO Working Group on Transparency in Government Procurement

  28. 3.2 ความตกลงทางการค้าระดับภูมิภาค (RTA) RTA อาจให้ทั้งคุณและโทษ • Trade creation: สามารถนำเข้าเสรีจากประเทศสมาชิกที่ผลิตได้ถูกกว่า • Trade diversion: เปลี่ยนการนำเข้าจากประเทศนอกกลุ่มที่ผลิตได้ถูก มาเป็นประเทศในกลุ่มที่ผลิตได้แพงกว่า • เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต จากการแข่งขันที่เพิ่มขึ้น

  29. ประโยชน์แก่ประเทศที่ทำ RTAs • นำเข้าได้ถูกลง และเพิ่มการส่งออก • ใช้ประโยชน์จาก ความประหยัดเนื่องจากขนาดการผลิต • ลดอำนาจของบริษัทผูกขาดในประเทศ และเพิ่มประสิทธิภาพ • ดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างชาติ • เพิ่มอำนาจต่อรองในการเจรจา WTO • เป็นห้องทดลองสำหรับการเปิดเสรีเต็มรูปแบบ • ป้องกันการย้อนกลับไปใช้นโยบายปิดประเทศของประเทศด้อยพัฒนา

  30. โทษแก่ประเทศที่ทำ RTAs • เสียรายได้ภาษี • Trade and investment diversion • สร้างภาระกับระบบศุลกากร: rules of origin • สูญเสียอธิปไตยในการกำหนดนโยบาย • อาจมีการกระจายผลประโยชน์ที่ไม่เท่ากันในหมู่สมาชิก จากอำนาจต่อรองที่ต่างกัน • ทำให้เกิดการพึ่งพิงบางตลาดมากเกินไป • ความสัมพันธ์ทางการค้า ซับซ้อนขึ้นเรื่อยๆ

  31. ผลต่อประเทศที่ไม่ใช่สมาชิกผลต่อประเทศที่ไม่ใช่สมาชิก ประโยชน์: • เข้าใกล้การค้าเสรีในระดับโลกมากขึ้น • มีตลาดส่งออกที่ใหญ่ขึ้น • เป็นห้องทดลอง เพื่อเตรียมพร้อมต่อการค้าเสรี ผลเสีย: • Trade and Investment diversion • ปัญหาขัดแย้งระหว่าง blocks • สนใจการเจรจา WTO น้อยลง • สร้างเกณฑ์ใหม่เพื่อบีบ WTO ให้เปลี่ยนตาม • ความสัมพันธ์ทางการค้า ซับซ้อนขึ้นเรื่อยๆ

  32. APEC ASEM Canada Chile Mexico Papua New Guinea Peru USA New Zealand Australia + 1 China EU + 3 Japan Korea CER BIMST-EC Bangladesh India Sri Lanka AFTA-CER Pakistan Bahrain Yunan GMS ASEAN Singapore Philippines Indonesia Brunei Malaysia Vietnam Thailand Myanmar Cambodia Laos Source: adapt from TRDI

  33. ความตกลงการค้าเสรี: AFTA • ลดภาษีนำเข้าสำหรับสินค้า (ที่มี share การผลิตในอาเซียน > 40%) ภายใต้ระบบ CEPT • ลดเหลือ 5% ภายในปี 2545 หรือภายในปี 2546 สำหรับสินค้าบางรายการ • สมาชิกใหม่ของอาเซียนมีระยะเวลานานกว่าในการลดภาษี เวียตนามในปี 2549 ลาวในปี 2551 และกัมพูชาในปี 2553 • สินค้าอื่นนอกรายการ CEPT ถูกจัดอยู่ในกลุ่ม Exclusion Lists หรือ SensitiveLists หรือ Temporary Exclusive List: TEL

  34. ความตกลงการค้าเสรี: AFTA • เดิมนั้นสินค้ากลุ่ม TEL จะถูกรวมเข้ากับ CEPT ภายในปี 2543 • แต่ในเดือนตุลาคม 2543 อาเซียนตกลงให้สมาชิกดั้งเดิมเลื่อนการลดภาษีสินค้ารายการ TEL ที่มี ณ 31 ธค. 2542 โดยต้องชดเชย • เมื่อสิ้นปี 2544 รายการใน TEL คิดเป็น 0.6% ของรายการภาษีทั้งหมดของกลุ่มสมาชิกดั้งเดิมและ 40% สำหรับสมาชิกใหม่ • สินค้ายกเว้นทั่วไป (General exceptions: GE) ซึ่งยกเว้นไม่ต้องลดภาษีถาวร (ด้วยเหตุผลด้านความมั่นคงของชาติ ศีลธรรม ชีวิตและสุขภาพของมนุษย์ สัตว์ และพืช คุณค่าทางประวัติศาสตร์ ศิลปะ และโบราณคดี) มีสัดส่วนประมาณร้อยละ 1 ของรายการภาษีของอาเซียน

  35. ความตกลงการค้าเสรี: AFTA • ไทยมีการโอนรายการสินค้าเข้าสู่ระบบ CEPT อย่างต่อเนื่อง • ในสิ้นปี 2545 แทบทุกรายการสินค้ามีอัตราภาษีสูงสุดไม่เกิน 5% • (60% ของรายการภาษี มีอัตราภาษี 0%) • โดยมีอัตราเฉลี่ยอยู่ที่ 6.0% ในปีเดียวกัน • ลดเหลือ 4.6% ในปี 2546 • ประเทศไทยไม่มีสินค้าที่อยู่ในกลุ่ม TL และ GE แล้วตั้งแต่ปี 2545 • ยังมีสินค้าอีก 7 รายการ (เนื้อมะพร้าวตากแห้ง (copra) กาแฟ ไม้ตัดดอก มันเทศ เป็นต้น) ที่ยังอยู่ใน Sensitive list

  36. ความตกลงการค้าเสรี: AFTA • กลุ่มอาเซียนพยายามที่จะมีความร่วมมือทางการค้ากับนอกกลุ่มด้วย • กลุ่ม ASEAN+3 (จีน ญี่ปุ่น และ เกาหลี) ซึ่งมีการตกลงกันเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2545 ให้มีการศึกษาเพื่อจัดทำเขตการค้าเสรีเอเชียตะวันออก (East Asia Free Trade Area) • ประเทศไทยเองสนับสนุนการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีนภายในปี 2553 สำหรับกลุ่มสมาชิกดั้งเดิม และภายในปี 2558 สำหรับสมาชิกใหม่ • โดยที่มีความยืดหยุ่นในการกำหนดสินค้าอ่อนไหว • ให้เริ่มจากสินค้าบางชนิดที่มีความพร้อมก่อนหรือ early harvest

  37. ความตกลงการค้าเสรี: AFTA • ASEAN+3 (จีน ญี่ปุ่น และ เกาหลี): • ตกลงกันเมื่อ พ.ย 2545 ให้มีการศึกษาเพื่อจัดทำเขตการค้าเสรีเอเชียตะวันออก (East Asia Free Trade Area) • ASEAN-Chaina Free Trade Area • สำหรับกลุ่มสมาชิกดั้งเดิม (ในปี 2553 ) สมาชิกใหม่ (ในปี 2558 ) • มีการลงนามAgreement on Trade in Goods of the Framework Agreement on Comprehensive Economic Co-operation between the ASEAN and China เมื่อ 29 พ.ย. 2547 • ในช่วง ม.ค.-มี.ค.ปี 2549 ไทยส่งออกภายใต้ข้อตกลงดังกล่าวเพียง 273.91 ล้าน$ (10.61%) เนื่องจากเพิ่งลดภาษีเพียง 1-4% และปัญหา ROO

  38. ความตกลงการค้าเสรี: AFTA • ASEAN- เกาหลี:ไทยไม่เข้าร่วมลงนามเมื่อ 16 พ.ค. 2549 นี้ เนื่องจากเกาหลีใต้ตัดสินค้าข้าวออก และนำสินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปไว้ในกลุ่มสินค้าอ่อนไหว เช่น สินค้าไก่สดแช่เย็น/แช่แข็ง, อาหารทะเลกระป๋อง, กล้วย, มะม่วง, ลำไย, กุ้งกุลาดำ/กุ้งก้ามกราม, มันสำปะหลัง เป็นต้น • ไทยยังสนับสนุนให้อาเซียนมีความสัมพันธ์ทางการค้าที่เข้มข้นขึ้นกับ ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น อินเดีย นิวซีแลนด์ และเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2545 ในการประชุมสุดยอดอาเซียนที่กัมพูชา ผู้นำอาเซียนได้เห็นพ้องร่วมกันว่าอาเซียนและญี่ปุ่นจะร่วมกันพัฒนากรอบการเจรจาเพื่อนำไปสู่หุ้นส่วนเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่น (ASEAN-Japan Comprehensive Economic Partnership) ภายในสิบปี

  39. ความตกลงการค้าเสรี: APEC • สมาชิก LDCs จะเปิดเสรีการค้า บริการ และการลงทุน ภายในปี 2563 และภายในปี 2553 สำหรับ DCs • เป็นการเปิดแบบสมัครใจ และแบบ concerted unilateral liberalization ตามหลักการของ Osaka Action Agenda ที่ระบุว่า • ต้องครอบคลุมกว้างขวาง (comprehensive) สอดคล้องกับ WTO • Open regionalism นั่นคือไม่เลือกปฏิบัติในหมู่สมาชิกเอเปก หรือระหว่างสมาชิกกับประเทศนอกกลุ่มสมาชิก • แต่ละประเทศจะมีการระบุแผน Individual Action Plans: IAPs

  40. ความตกลงการค้าเสรี: ASEM • EU และอาเซียนมีความร่วมมืออย่างไม่เป็นทางการ ทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และอื่นๆ ตาม Trade Facilitation Action Plan: TFAP • ลดการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี เพิ่มความโปร่งใส และส่งเสริมโอกาสทางการค้าระหว่างทั้งสองภูมิภาค • มีการรับรอง concrete goals สำหรับปี 2545 – 47 ซึ่งครอบคลุม • การส่งเสริม paperless custom procedure และInvestment Promotion Action Plan: IPAP • มีการใช้ Asia-Europe Business Forum เป็นเวทีในการสร้างความร่วมมือระหว่างภาคเอกชน • ใช้กองทุนอาเซ็ม (ASEM Trust Fund) ในการสนับสนุนทางการเงินแก่การปรับโครงสร้างภาคการเงินและการแก้ปัญหาความยากจน

  41. 3.4 ความตกลงการค้าทวิภาคี: ยุทธศาสตร์ของไทย • ประเทศใหญ่ ตลาดเดิม (Market Strengthening) : • ญี่ปุ่น สหรัฐฯ • ขยายตลาดใหม่ (Market Broadening & Deepening) • ตลาดที่มีศักยภาพ: จีน อินเดีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ • ตลาดที่เป็นประตูการค้า (Gateway): บาห์เรน เปรู • ตลาดภูมิภาค: BIMST-EC

  42. หมายเหตุ: ตัวเลขท้ายชื่อประเทศ เป็นอันดับความสามารถในการแข่งขัน, หน่วยของมูลค่า (ล้านบาท), ไทย อันดับ 32

  43. 3.4 ความตกลงการค้าทวิภาคี: • ไทยกับบาเรน: ลงนามใน Framework Agreement on Closer Economic Partnership แล้ว และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2545 โดยทั้งสองฝ่ายต่างยกเลิกอากรนำเข้าจำนวน 626 รายการซึ่งมีอัตราที่ร้อยละ 3 ลงทันที และคาดว่ารายการที่เหลือจะมีการยกเลิกภายในปี 2553 • อย่างไรก็ดี แม้จะกำหนดให้มีการลดอัตราภาษีลงตั้งแต่ปี 2545 • ไทยได้ออกประกาศกระทรวงการคลังไปแล้ว • แต่บาห์เรนก็ยังไม่ออกประกาศลดอัตราภาษีให้ไทยแต่อย่างใดจนถึงปัจจุบัน

  44. 3.4 ความตกลงการค้าทวิภาคี: • ไทยกับจีน:ทำความตกลงการค้าเสรีกับจีนในแบบ early harvest โดยลงนามเมื่อ 18 มิถุนายน 2546 ครอบคลุมเรื่องการลดภาษีสินค้าผักและผลไม้ทุกรายการ ตามพิกัดศุลกากรตอนที่ 07-08 (116 รายการ ตามพิกัดศุลกากร 6 หลัก) ให้เหลือ 0% ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2546 • ณ สิ้น พ.ย. 2548 ไทยส่งออกผักและผลไม้ไปจีน 16.4 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 30.75% และนำเข้า 6.3 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 15.3% ไทยเกินดุล (เฉพาะผัก ผลไม้) 10.0 พันล้านบาท • สินค้าส่งออกสำคัญของไทย: มันสำปะหลัง (ร้อยละ 99.8) • ดุลการค้าโดยรวมของไทยก็ยังขาดดุลจีนเพิ่มขึ้นเป็น 77.0 พันล้านบาท

  45. 3.4 ความตกลงการค้าทวิภาคี: • ไทย-อินเดีย (TIFTA): ลงนามในแล้วเมื่อ9 ต.ค. 2546 และมีผล 1 ม.ค. 2547 เป็นแบบ Early harvest ครอบคลุมสินค้า 84 รายการ • เริ่มจาก 1 มี.ค. 2547 โดยลดลง 50% ในปีแรก 75% ในปีที่ 2 และ 100% ในปีที่ 3 สินค้าที่เหลือมีเป้าหมายลดภาษีลงเหลือ 0% ในปี 2553 • สำหรับบริการ เริ่มเจรจาในเดือนมกราคม 2547 และมีเป้าหมายที่จะสรุปภายใน มี.ค. 2549 • ไทยส่งออกไปอินเดีย 53.8 พันล้านบาท และนำเข้า 46.7 พันล้านบาท เกินดุลการค้า 7.1 พันล้านบาทซึ่งถ้าพิจารณาเฉพาะสินค้า 82 รายการ ไทยมีการส่งออกไปอินเดีย 12.2 พันล้านบาท และนำเข้า 3.3 พันล้านบาท ทำให้มีการเกินดุลการค้า 8.9 พันล้านบาท

  46. 3.4 ความตกลงการค้าทวิภาคี: • ไทย-ออสเตรเลีย (TAFTA): ลงนามในไปแล้วเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2547 และมีผลแล้วเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2548 นี้โดยเป็นความตกลงที่ครอบคลุมการค้า บริการและการลงทุน • สินค้าส่วนหนึ่ง ลดภาษีเหลือ 0 ทันที ที่เหลือทยอยภายใน 5 ปี • สินค้าอ่อนไหว ลดช้ากว่า (ออสเตรเลียใน 10 ปี ไทยใน 20 ปี) • มีมาตรการปกป้องพิเศษสำหรับสินค้าเกษตรอ่อนไหว • สินค้าเกษตรที่มีโควตา จะกำหนด specific quota และทยอยลดภาษีในโควตา ส่วนภาษีนอกโควตาลดตาม WTO (Margin of preferences: MOP 10%) เช่น WTO คิด 100%, AUS คิด 90% • สิ้นพ.ย. 2548 ไทยขาดดุลถึง 4.5 พันล้านบาทโดยส่งออก 117.6 พันล้านบาทและนำเข้า 122 พันล้านบาท (29% เป็นทองคำ)

  47. 3.4 ความตกลงการค้าทวิภาคี: • ไทยและนิวซีแลนด์ลงนามความตกลง การค้าเสรี ในเดือนเม.ย. 2548 และ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 กค. 2548 • เริ่มเจรจาเดือนพฤษภาคม 2547 และสรุปในเดือนพฤศจิกายน 2547 !! • นิวซีแลนด์จะลดภาษีเป็น 0% ประมาณ 79% ของรายการสินค้าหรือประมาณ 85% ของมูลค่าการนำเข้าของนิวซีแลนด์จากไทยทันที • สำหรับสินค้าที่เหลือทั้งหมดจะลดภาษีเป็น 0 ภายในปีพ.ศ. 2553 ยกเว้นสินค้าสิ่งทอเสื้อผ้าและรองเท้าซึ่งนิวซีแลนด์จะค่อยๆทยอยลดภาษีเป็น 0 ในปีพ.ศ. 2558

  48. 3.4 ความตกลงการค้าทวิภาคี: • ไทยจะลดภาษีเป็น 0 สำหรับสินค้าจาก NZ ประมาณ 54% ของจำนวนรายการทั้งหมดหรือ 49% ของมูลค่านำเข้าจากนิวซีแลนด์ทันที • ไทยจะทยอยลดภาษีเป็น 0% ในปี 2553 อีกประมาณ 10% ของการนำข้าจาก NZส่วนสินค้าอ่อนไหวเช่นนมและผลิตภัณฑ์เนื้อวัวเนื้อหมูหัวหอมและเมล็ดเป็นต้นจะทยอยลดภาษีเป็น 0 ในปีพ.ศ. 2558-2563 • สิ้น พ.ย. 2548 ไทยส่งออก 19.2 พันล้านบาท และนำเข้า 9.1 พันล้านบาท และทำให้ไทยเกินดุลการค้า 10.1 พันล้านบาท

  49. 3.4 ความตกลงการค้าทวิภาคี: • ไทยและญี่ปุ่น (Japan-Thailand Economic Partnership Agreement: JTEPA) เริ่มเจรจาตั้งแต่ 11 ธันวาคม 2546 • ณ ส.ค. 2548 ได้บรรลุข้อตกลงดังนี้ • เหล็ก: เหล็กรีดร้อนที่ไม่ผลิตในไทย จะเลิกภาษีทันที เหล็กอื่นๆ ยกเลิกภาษีภายในปีที่ 11 • ชิ้นส่วนยานยนต์ (สำหรับ OEM): ไทยยกเลิกภาษีรายการสินค้าที่ไม่อ่อนไหวในปี 2554 ส่วนสินค้าอ่อนไหว ยกเลิกปี 2556 (โดยมีเงื่อนไขว่าความตกลง AFTA ต้องมีผลบังคับใช้จริงในปี 2553)

  50. 3.4 ความตกลงการค้าทวิภาคี: • รถยนต์สำเร็จรูป (CBU): • ไทยจะเริ่มลดภาษีในปีแรกที่ JTEPA มีผลบังคับใช้ สำหรับขนาดที่เกินกว่า 3,000 ซีซี (โดยลดจาก 80% เหลือ 60% ในปี 2552 และคงไว้จนกว่าจะมีการเจรจากันใหม่) • สำหรับที่มีขนาดต่ำกว่า 3,000 ซีซี จะเจรจาใหม่ภายใน 5 ปี • สินค้าเกษตร: ญี่ปุ่นจะลดหรือเลิกภาษีในสินค้า ไก่ปรุงสุก ไก่สดแช่เย็น เนื้อปลากระป๋อง ปู หอย ผักสดแช่เย็น กุ้งสด กุ้งต้ม แช่เย็น แช่แข็ง แปรรูป ทุเรียน มะละกอ มะม่วง มังคุด

More Related