560 likes | 1.57k Views
บทที่ 2 การเมืองและการบริหาร การเมืองคืออะไร การบริหารคืออะไร การเมืองกับการบริหารเกี่ยวข้องกันอย่างไร การเมืองกับการบริหาร มีความสำคัญอย่างไรต่อประชาชน. Plato , Aristotle , Machiavelli , Hobbes , Weber , Lasswell :
E N D
บทที่ 2 การเมืองและการบริหาร การเมืองคืออะไร การบริหารคืออะไร การเมืองกับการบริหารเกี่ยวข้องกันอย่างไร การเมืองกับการบริหาร มีความสำคัญอย่างไรต่อประชาชน
Plato , Aristotle , Machiavelli , Hobbes , Weber , Lasswell: • ยอมรับว่า รัฐศาสตร์เป็นเรื่องของการศึกษาเกี่ยวกับอำนาจ เช่น ศึกษาในเรื่องความหมาย และขอบเขตของอำนาจ บทบาทของผู้มีอำนาจ การได้มาซึ่งอำนาจ และการใช้อำนาจและการรักษาไว้ซึ่งอำนาจที่ได้มา การแย่งชิงอำนาจ การจำกัดอำนาจ การมอบหมายอำนาจ ตลอดจนการทวงอำนาจคืนจากรัฐบาลโดยประชาชน • Harold Lasswell : เขียนหนังสือชื่อ Politics , Who Gets What , When and How (ค.ศ.1936) การศึกษาการเมือง คือ การศึกษาถึงอิทธิพลและ ผู้ทรงอิทธิพล (The Study of politics is the study of influence and the influential)
ดี. เอ. คัชชิน: กล่าวคือ การเมือง ได้แก่ กระบวนการในการตัดสินใจว่า ผู้ใดได้รับอะไร เมื่อไร ที่ไหน อย่างไร กระบวนการใช้อำนาจให้มีผลกระทบต่อการบริหารจัดการของรัฐบาลในเรื่องใดๆ • สมพงษ์ เกษมสิน: กล่าวถึง ความหมายของการเมืองอย่างกว้าง ๆ อาจสรุปได้ว่า การเมืองเป็นเรื่องของการใช้อำนาจปกครองภายใต้กฎระเบียบ และยังหมายรวมถึงส่วนหนึ่งที่เกี่ยวกับการจัดทำนโยบาย • ติน ปรัชญพฤทธิ์: การเมือง ได้แก่ กิจกรรม เนื้อหา กระบวนการและพฤติกรรมในอันที่จะจัดสรรทรัพยากรที่มีค่าสำหรับกลุ่มองค์การและสังคม และการจัดสรรดังกล่าวจะต้องมีผลบังคับตามกฎหมาย นั่นคือ หากผู้ใดไม่ปฏิบัติตามจะถูกลงโทษ
กุลธน ธนาพงศธร: ได้ทำการสำรวจและประมวลความหมายของคำว่าการเมืองโดยนักวิชาการตะวันตกไว้ 6 กลุ่ม คือ 1) เป็นการให้ความหมายของการเมืองในแง่ของอำนาจ ซึ่งเป็นเรื่องของการก่อร่างและเป็นการแบ่งสรรอำนาจหรือต่อสู้ช่วงชิงอำนาจ ตามกติกาหรือกฎเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2) เป็นการให้ความหมายของการเมืองไปในแง่ของการจัดสรรปันส่วนในทรัพยากรต่างๆ ของรัฐบาล ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องใกล้ชิดกับเรื่องอิทธิพลและผู้ทรงอิทธิพล 3) เป็นการให้ความหมายการเมืองในแง่ที่เป็นเรื่องนโยบายสาธารณะ 4) เป็นการให้ความหมายการเมืองในแง่ของความขัดแย้ง ไม่ว่าจะเป็นความขัดแย้งเรื่องผลประโยชน์แง่ความคิดเห็น 5) เป็นการให้ความหมายของคำว่าการเมืองไปในแง่ประนีประนอม 6) เป็นการให้ความหมายของคำว่าการเมืองไปในแง่ที่เกี่ยวกับรัฐ การบริหารประเทศ
สุกิจ เจริญรัตนกุล: ได้กล่าวว่า คนไทยมีความเห็นเกี่ยวกับคำว่า “การเมือง” แตกต่างกันเป็น 3 กลุ่ม - กลุ่มที่หนึ่ง คือ คนไทยทั่วไปที่เข้าใจว่าเป็นกิจกรรมของผู้มีอำนาจและกลุ่มบริหารของผู้มีอำนาจ - กลุ่มที่สอง ได้แก่ กลุ่มนักการเมืองไทยเข้าใจว่าเป็นเกมการแข่งขันให้ได้มาซึ่งอำนาจและผลประโยชน์ - กลุ่มที่สาม เป็นสามัญสำนึกของนักสังคมศาสตร์มักถือว่าเป็นเรื่องที่จะต้องศึกษาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับปรากฏการณ์ต่างๆ ทั้งในประวัติศาสตร์และปัจจุบัน เพื่อนำเอาข้อเท็จจริงไปอธิบายถึงเหตุและผลของปรากฏการณ์เหล่านั้น ปัญหารัฐธรรมนูญ เสถียรภาพของระบอบการเมือง สถาบันและกลุ่มการเมือง การเมืองในระบบราชการ ผู้นำและอภิสิทธิชนทางการเมือง พฤติกรรมการตัดสินใจกับการกำหนดนโยบายของรัฐ ฯลฯ
ความหมายของการเมือง • นักรัฐศาสตร์ให้ความเห็นว่า “การเมือง คือ เรื่องของอำนาจ (Politics is Power)” • รัฐศาสตร์เป็นการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องของอำนาจ เช่น ศึกษาในเรื่องความหมายและขอบเขตของอำนาจ บทบาทของผู้มีอำนาจ การได้มาซึ่งอำนาจ การใช้อำนาจและการรักษาไว้ซึ่งอำนาจที่ได้มา การแย่งชิงอำนาจ การจำกัดอำนาจ การมอบหมายอำนาจตลอดจนการทวงอำนาจคืนจากรัฐบาลโดยประชาชน เป็นต้น • นักรัฐศาสตร์ทั่วไปเห็นพ้องต้องกันว่า “การเมืองเป็นเรื่องที่เกี่ยวพันกับการใช้อำนาจ และการจัดสรรประโยชน์”
ความหมายของการบริหาร • สมพงษ์ เกษมสิน: กล่าวว่า การบริหารเป็นกิจกรรมที่ต้องอาศัยความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ของแต่ละบุคคล การบริหารจึงเป็นศิลป์ (Art) อย่างหนึ่ง • ชุบ กาญจนประกร: กล่าวว่า การบริหาร หมายถึง การทำงานของคณะบุคคล ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ที่ร่วมกันปฏิบัติการให้บรรลุเป้าหมายร่วมกัน • ฮาโรลด์ คูนท์ซ: อธิบายว่า การบริหาร คือ การดำเนินงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้โดยอาศัยปัจจัยทั้งหลาย ได้แก่ คน เงิน วัตถุสิ่งของ เป็นทรัพยากรในการปฏิบัติงานนั้น • ปีเตอร์ ดรักเกอร์: ให้ความหมายการบริหารในเชิงพฤติกรรมว่า การบริหารคือ ศิลปะในการทำงานให้บรรลุเป้าหมายร่วมกับผู้อื่น
สมพงษ์ เกษมสิน: ได้สรุปลักษณะเด่นของการบริหารจากคำจำกัดความว่า 1) การบริหารอาศัยปัจจัยบุคคลเป็นองค์ประกอบสำคัญที่สุด 2) บริหารต้องใช้ทรัพยากรการบริหารเป็นองค์ประกอบพื้นฐาน 3) บริหารมีลักษณะการดำเนินการเป็นกระบวนการ 4) การบริหารต้องอาศัยการร่วมมือของกลุ่ม เพื่อให้ภารกิจบรรลุวัตถุประสงค์ 5) การบริหารมีลักษณะเป็นการร่วมมือกันดำเนินอย่างมีเหตุผล • สร้อยตระกูล อรรถมานะ: ได้กล่าวว่า การบริหารคือ การกระทำร่วมกันด้วยความตั้งใจของกลุ่มบุคคลอย่างร่วมแรงร่วมใจ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ร่วมกันอย่างมีเหตุผล ดังนั้น จึงสามารถสรุปได้ว่า การบริหารเป็นการร่วมกันทำงานอย่างเป็นกระบวนการกลุ่มบุคคล โดยใช้ทรัพยากรการบริหารเพื่อบรรลุเป้าหมายร่วมกัน • สรุปได้ว่าการบริหารเป็นการร่วมกันทำงานอย่างเป็นกระบวนการของกลุ่มบุคคล โดยใช้ทรัพยากรทางการบริหารเพื่อให้บรรลุเป้าหมายร่วมกัน
การดำเนินกิจการของภาครัฐ มีผู้ที่เกี่ยวข้อง 2 ฝ่าย • ได้แก่ • 1. ฝ่ายการเมือง • 2.ฝ่ายบริหาร หรือฝ่ายราชการ
ฝ่ายการเมือง • คือ บุคคลผู้ดำเนินการเกี่ยวกับการเมือง ไม่ว่าจะเป็นอาชีพหรือสมัครเล่น เรียกว่า นักการเมือง แต่เมื่อนักการเมืองที่ได้รับการเลือกตั้งจากประชาชนและได้รับการแต่งตั้งจากผู้มีอำนาจทางการเมือง ให้ทำหน้าที่รับผิดชอบกิจการทางด้านการเมือง จะเรียกว่า ข้าราชการเมืองหรือฝ่ายการเมือง
ฝ่ายบริหาร • คือ บุคคลที่ทำหน้าที่ในแวดวงของการบริหารหรือการปฎิบัติงานราชการ ก็คือบรรดาข้าราชการ • โดยทั่วไป ข้าราชการพลเรือน หรือข้าราชการประจำ หมายถึง บุคคลที่ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งตาม พ.ร.บ.ข้าราชการพลเรือน ให้เข้ารับราชการโดยได้รับเงินเดือนจากงบประมาณแผ่นดินหมวดเงินเดือนในกระทรวง ทบวง กรม ฝ่ายพลเรือน
ความแตกต่างระหว่างฝ่ายการเมืองและฝ่ายบริหารความแตกต่างระหว่างฝ่ายการเมืองและฝ่ายบริหาร
ความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายการเมืองกับฝ่ายบริหารความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายการเมืองกับฝ่ายบริหาร • ถูกกำหนดขึ้นตามกฎหมาย • โดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญ • พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน • และพระราชบัญญัติองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ข้าราชการการเมืองและราชการประจำข้าราชการการเมืองและราชการประจำ 1. ฝ่ายการเมือง - ข้าราชการการเมือง บุคคลผู้ดำเนินการเกี่ยวกับการเมืองไม่ว่าจะเป็นอาชีพหรือสมัครเล่นเรียกว่านักการเมือง แต่เมื่อนักการเมืองได้รับเลือกตั้งจากประชาชนหรือได้รับการแต่งตั้งจากผู้มีอำนาจทางการเมือง ให้ทำหน้าที่รับผิดชอบกิจการทางด้านการเมืองแล้วจะเรียกว่าข้าราชการการเมืองหรือฝ่ายการเมือง พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการการเมือง พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2542
2. ฝ่ายบริหาร – ข้าราชการประจำ ข้าราชการพลเรือนหรือที่เรียกกันทั่วไปว่า ฝ่ายบริหารหรือข้าราชการประจำ ซึ่งหมายถึง บุคคลที่ได้รับบรรจุและแต่งตั้งตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนให้รับราชการโดยได้รับเงินเดือนจากงบประมาณ หมวดเงินเดือนในกระทรวง ทบวง กรม ฝ่ายพลเรือน ในระดับประเทศ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2538 ได้กำหนดให้ข้าราชการพลเรือนมี 3 ประเภท 1) ข้าราชการพลเรือนสามัญ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ 1.1) ตำแหน่งประเภททั่วไป 1.2) ตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะหรือเชี่ยวชาญเฉพาะ 1.3) ตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงหรือบริหารระดับกลาง 2) ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ 3) ข้าราชการประจำต่างประเทศพิเศษ
ในระดับท้องถิ่น ฝ่ายบริหารหรือฝ่ายข้าราชการประจำยังมีความหมายรวมถึง พนักงานส่วนท้องถิ่น ให้หมายความว่า ข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด พนักงานเทศบาล พนักงานส่วนตำบล ข้าราชการกรุงเทพมหานคร พนักงานเมืองพัทยา และข้าราชการหรือพนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีกฎหมายจัดตั้ง
3. ความแตกต่างระหว่างฝ่ายการเมืองกับฝ่ายบริหาร 1) อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ 2) การเข้าดำรงตำแหน่ง 3) ระยะเวลาของการดำรงตำแหน่ง 4) ความมั่นคงในการดำรงตำแหน่ง 5) ระดับความรู้ความสามารถและความชำนาญงาน 6) ความเป็นกลางทางการเมือง 7) ข้อจำกัดด้านพฤติกรรม
4. ความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายการเมืองกับฝ่ายบริหาร ในระดับประเทศ ในการบริหารราชการส่วนภูมิภาค สำหรับการจัดระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น
แนวความคิดที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างการเมืองและการบริหารแนวความคิดที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างการเมืองและการบริหาร
แนวความคิดการบริหารแยกจากการเมืองแนวความคิดการบริหารแยกจากการเมือง • Woodrow Wilsonในผลงานเรื่อง “The Study of Administration” ได้ให้ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อวิชารัฐประศาสนศาสตร์ 4 ประการ ดังนี้ • 1) ประเทศที่เจริญ คือ ประเทศที่มีการปกครองที่ดี มีรัฐบาลหรือฝ่ายการบริหารที่เข้มแข็ง และมีระบบราชการที่มีประสิทธิภาพและมีเหตุผล • 2) วิชารัฐประศาสนศาสตร์ศึกษาเรื่องการนำเอากฎหมายมหาชนไปปฏิบัติในรายละเอียดอย่างเป็นระบบ • 3) วิธีการศึกษาวิชาการบริหารนั้น สามารถสร้างหลักการต่าง ๆ ทางการบริหารขึ้นมาได้ • 4) การเมือง คือ การออกกฎหมายและนโยบาย ส่วนการบริหารนั้น เป็นการนำเอากฎหมายและนโยบายนั้นไปปฏิบัติ
Frank J. Goodsnow ได้เขียนหนังสือเล่มหนึ่งว่า Politics and Administration ซึ่งกล่าวว่าอำนาจของรัฐอาจแบ่งแยกพิจารณาออกเป็น 3 รูปแบบ ได้แก่ • รูปแบบที่หนึ่ง อำนาจในการใช้กฎหมายบังคับพลเมืองให้ปฏิบัติตาม • รูปแบบที่สอง อำนาจในการใช้ตรวจสอบรัฐเอง • รูปแบบที่สาม อำนาจในการบริหารกิจการทั้งหลายทั้งปวงของรัฐ • ซึ่งอำนาจทั้งสามดังกล่าวนี้จะถูกนำมาใช้ผสมผสานภายในรัฐ ส่วนในการทำหน้าที่ของรัฐตามหลักการจะมีอยู่ 2 ประการ คือ • 1) เพื่อบริหารและรับใช้ประชาชน • 2) เพื่อธำรงรักษาไว้ซึ่งวิถีทางการเมือง
พิทยา บวรวัฒนา ได้สรุปความคิดเห็นของ กูดนาว ว่าได้ให้ข้อเสนอแนะที่สำคัญอยู่ 2 ประการ ได้แก่ • 1) การปกครอง ประกอบด้วยหน้าที่ 2 ประการ คือ หน้าที่การเมืองซึ่งหมายถึง เรื่องนโยบายและการแสดงออกซึ่งเจตนารมณ์ของรัฐ และหน้าที่การบริหาร ซึ่งหมายถึง การบริหารและการปฏิบัติตามนโยบาย หน้าที่ทั้งสองแยกออกจากกันอย่างเด็ดขาด • 2) การปฏิรูปการปกครอง ควรสร้างการบริหารตามหลักการที่เป็นเหตุเป็นผล • Leonard D. White เขียนหนังสือชื่อ Introduction to the Study of Public Administration กล่าวว่า การบริหารเริ่มเป็นที่ยอมรับว่าเป็นเรื่องที่ต้องใช้ความรู้ • ความสามารถเฉพาะด้าน เป็นงานที่ต้องอาศัยมืออาชีพ เพราะถือเป็นเรื่องสำคัญและยากต่อการรับผิดชอบ
พิทยา บวรวัฒนา: ได้สรุปแนวความคิดของไวท์ ดังนี้ • 1) การเมืองไม่ควรแทรกแซงการบริหาร • 2) การบริหารสามารถศึกษาได้โดยวิธีการศึกษาแบบวิทยาศาสตร์ • 3) การเมืองเป็นเรื่องค่านิยม ส่วนการบริหารเป็นข้อเท็จจริง หากตัดอคติออกได้ วิชารัฐประศาสนศาสตร์จะเป็นวิทยาศาสตร์ • 4) เป้าหมายของการบริหาร คือ เพื่อประหยัดและมีประสิทธิภาพ เน้นการใช้ประโยชน์จากการใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าสูงสุด
แนวความคิดที่ว่าด้วยการบริหารไม่สามารถแยกจากการเมืองแนวความคิดที่ว่าด้วยการบริหารไม่สามารถแยกจากการเมือง • หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 (ในปี ค.ศ.1946) มีหนังสือรวมบทความเรื่อง “Elements of Public Administration” โดย Fritz Marx เป็นบรรณาธิการ โดยรวบรวมบทความจำนวน 14 บทความ ที่ได้อธิบายว่า “การบริหารที่ปราศจากค่านิยมนั้น ในความเป็นจริงแล้วเกี่ยวข้องกับการเมืองที่มีค่านิยมสอดแทรกอยู่ด้วยเสมอ ไม่ว่าในเรื่องเกี่ยวกับงบประมาณหรือการบริหารงานบุคคลจึงไม่มีประโยชน์ในการแยกการบริหารออกจากการเมือง ผู้บริหารงานภาครัฐและฝ่ายนิติบัญญัติล้วนแต่ต้องตัดสินใจทางการเมือง และกำหนดนโยบายสาธารณะด้วยเสมอ”
ปี ค.ศ.1949 Paul Applebyได้เขียนหนังสือชื่อ “Policy and Administration”เผยแพร่ความคิดที่ว่า การบริหารแยกจากการเมืองไม่ได้ โดยเห็นว่า “การบริหารงานของรัฐแท้จริงแล้วเป็นเรื่องของการเมือง และกระบวนการบริหารเป็นกระบวนการหนึ่งของกระบวนการทางการเมือง” และมองว่า“นักบริหารของรัฐทำหน้าที่เป็นนักการเมืองและนักบริการประชาชนไปพร้อมๆกัน ยิ่งนักบริหารมีตำแหน่งสูงขึ้นเท่าใด ก็ยิ่งต้องมีลักษณะเป็นนักการเมืองมากขึ้น นอกจากนั้นการบริหารง่านแต่ละรูปแบบจะมีการเล่นพรรคเล่นพวกที่ไม่เหมือนกัน และองค์การปกครองขนาดเล็กจะมีการเล่นพรรคเล่นพวกมากว่าองค์การขนาดใหญ่” สรุปว่า การบริหารงานเป็นส่วนหนึ่งและแยกไม่ออกจากการเมือง และรัฐประศาสนศาสตร์เป็นการมองการเมืองในแง่มุมหนึ่ง ดังนั้น การศึกษารัฐประศาสนศาสตร์จึงไม่ควรเน้นการแสวงหาหลักสากลในการทำงาน เพราะต้องคำนึงถึงสภาพแวดล้อมด้วย
Norton Long : เขียนบทความเรื่อง “Power and Administration”(ค.ศ.1949) สนับสนุนแนวคิดที่ว่า “การบริหารคือการเมือง” โดยกล่าวว่า “การขาดความเป็นเอกภาพของฝ่ายนิติบัญญัติ โดยเฉพาะความไม่ชัดเจนของระบบพรรคการเมืองในการกำหนดนโยบายสาธารณะ เป็นการเปิดโอกาสให้หน่วยงานของรัฐใช้อำนาจดุลยพินิจในการตัดสินใจเกี่ยวกับการกำหนดรายละเอียดของนโยบายได้นอกจากนี้อำนาจเป็นสิ่งที่กระจายอยู่ทั่วไปในองค์การ นักบริหารจะอยู่ได้ต้องอาศัยฐานอำนาจทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ โดยเฉพาะนักบริหารที่ต้องตัดสินใจในเรื่องราวต่างๆ ที่กระทบต่อการเมือง ถ้ำพลาดไปตนอาจตกงานได้ ดังนั้น เพื่อความก้าวหน้าและมั่นคง หน่วยงานของรัฐต่างๆ จึงต้องคอยสร้างฐานอำนาจทางการเมืองมาสนับสนุน เช่น สร้างพันธมิตรกับกลุ่มผลประโยชน์”
วรเดช จันทรศร: ได้กล่าวถึง มิติความสัมพันธ์ของฝ่ายการเมืองและฝ่ายบริหารในประเทศประชาธิปไตยทั่วๆ ไป ว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างน้อย 4 ด้าน คือ • 1) ข้าราชการการเมืองและข้าราชการประจำ : ความสัมพันธ์ภายในอย่างเป็นทางการ • 2) หน่วยงานราชการและสถาบันอื่นๆ ของรัฐ : ความสัมพันธ์ภายนอกอย่างเป็นทางการ • 3) กลุ่มภายนอกระบบราชการ : ความสัมพันธ์ที่มีต่อหน่วยราชการ • 4) หน่วยราชการและความสัมพันธ์กับกลุ่มภายนอกระบบราชการ
วรเดช จันทศร: สรุปเหตุผลของการแทรกแซงกันและกันของการเมืองกับการบริหาร ไว้ดังนี้ • เหตุผลที่ฝ่ายการเมืองแทรกแซงก้าวก่ายฝ่ายบริหาร ฝ่ายการเมืองเป็นผู้กำหนดนโยบายโดยผ่านทางกลุ่มผลประโยชน์ กลุ่มอิทธิพล และพรรคการเมือง และให้ฝ่ายบริหารนำนโยบายหรือกฎหมายนั้นไปใช้ แต่ในทางปฏิบัติการเมืองกลับเป็นผู้ปฏิบัติเสียเอง หรือไม่ก็ร่วมปฏิบัติกับฝ่ายบริหาร เพื่อพยายามปกป้องผลประโยชน์ของตนเอง • เหตุผลที่ฝ่ายบริหารแทรกแซงก้าวก่ายฝ่ายการเมือง ประเทศที่กำลังพัฒนามักขาดสถาบันทางการเมืองที่มีความสามารถ ดังนั้น การถ่วงดุลหรือการควบคุมอำนาจราชการจึงมีน้อย เป็นการเปิดโอกาสให้ข้าราชการประจำทั้งฝ่ายทหารและฝ่ายพลเรือนเข้ามามีบทบาททางการเมืองได้ง่าย ซึ่งดูเป็นลักษณะของการขาดดุลของอำนาจ
ความสัมพันธ์ระหว่างการเมืองและการบริหารในบริบทของสังคมไทยความสัมพันธ์ระหว่างการเมืองและการบริหารในบริบทของสังคมไทย • วรเดช จันทศร ซึ่งได้กล่าวถึงมิติความสัมพันธ์ของฝ่ายการเมืองและฝ่ายบริหารในประเทศประชาธิปไตยทั่วๆไปว่า มีความสัมพันธ์กันอย่างน้อย 4 ด้าน คือ 1) ข้าราชการการเมืองและข้าราชการประจำ : ความสัมพันธ์ภายในอย่างเป็นทางการ ความสัมพันธ์ในลักษณะนี้ หมายถึง ความสัมพันธ์ของข้าราชการระดับสูง ได้แก่ ปลัดกระทรวงและอธิบดี กับข้าราชการการเมือง ได้แก่ รัฐมนตรีเจ้ากระทรวง ความสัมพันธ์ได้สะท้อนออกมาในรูปของการตัดสินใจและการกำหนดนโยบายของรัฐมนตรี การปฏิสัมพันธ์ภายในกระทรวงของทั้งสองฝ่ายถือเป็นองค์ประกอบสำคัญในกระบวนการกำหนดนโยบาย
2) หน่วยงานราชการและสถาบันอื่นๆ ของรัฐ : ความสัมพันธ์ภายนอกอย่างเป็นทางการ ความสัมพันธ์ในมิตินี้เกิดขึ้นได้ 2 ลักษณะ คือ ลักษณะแรก เป็นกระบวนการในการแสวงหาทรัพยากรหรืองบประมาณ ถือว่าเป็นกิจกรรมทางการเมืองที่หน่วยงานจะต้องหาการสนับสนุนจากสภาพแวดล้อมภายนอก ซึ่งได้แก่ สถาบันของรัฐที่เกี่ยวข้องกับระบบการเมือง และลักษณะที่สอง คือ เป็นเรื่องของการควบคุมทางการเมือง ซึ่งจะมีองค์กรทางการเมืองที่เป็นทางการ เช่น คณะกรรมาธิการด้านต่างๆ ของสภาผู้แทนราษฎรคอยควบคุมและตรวจสอบการทำงานของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจต่างๆ 3) กลุ่มภายนอกระบบราชการ : ความสัมพันธ์ที่มีต่อหน่วยงานราชการ ความสัมพันธ์ของกลุ่มอิทธิและกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ ที่มีต่อหน่วยงานราชการสะท้อนให้เห็นถึงแง่มุมที่กลุ่มต่างๆ พยายามที่จะเข้ามามีอิทธิพลในหน่วยงานราชการ ในการที่จะกำหนดนโยบายไปในทิศทางที่เอื้อประโยชน์ต่อกลุ่มตน
4) หน่วยงานราชการและความสัมพันธ์กับกลุ่มภายนอกระบบราชการ เพื่อที่จะได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มหรือสาธารณชนที่มีผลประโยชน์ในหน้าที่หรือในโครงการส่วนที่ราชการนั้นทำอยู่หรือกำลังจะทำต่อไป ทั้งนี้เพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดในระบบการเมือง ความสัมพันธ์เช่นนี้เป็นเรื่องของการแข่งขันในทางการเมือง ระหว่างส่วนราชการต่างๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพยากรและความอยู่รอดของตน
ปัญหาของระบบการบริหารของไทยปัญหาของระบบการบริหารของไทย • ทินพันธ์ นาคะตะ: ชี้ให้เห็นแนวโน้มและปัญหาของระบบการเมืองและการบริหารของไทยในอนาคต ว่าสามารถศึกษาได้จากปัญหาที่ประเทศประสบ ดังนี้ • การขาดระบบการเมืองที่ยึดมั่นในผลประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ • การดำเนินกิจกรรมทางการเมืองที่สำคัญยังถูกครอบงำจากระบบราชการ • ระบบราชการของไทยขาดความรับผิดชอบต่อประชาชนและขาดประสิทธิภาพ • การขยายตัวของระบบราชการไทย • ขาดพัฒนาการทางการเมือง
ปัญหาของระบบการเมืองการบริหารของไทยปัญหาของระบบการเมืองการบริหารของไทย • ทินพันธ์ นาคะตะ: ได้ชี้ให้เห็นแนวโน้มและปัญหาที่สำคัญของระบบการเมืองและการบริหารไทยในอนาคต • 1) การขาดระบบการเมืองที่ยึดมั่นในผลประโยชน์ของคนส่วนใหญ่รัฐธรรมนูญที่มีอยู่ยังคงไว้สำหรับผู้มีอำนาจ การพัฒนาสถาบันทางการเมืองการปกครองถูกสกัดกั้น มีการแสวงหาประโยชน์ส่วนตัวระหว่างผู้มีอำนาจกับผู้มั่งมี • 2) การดำเนินกิจกรรมทางการเมืองที่สำคัญยังถูกครอบงำจากระบบราชการ ข้าราชการยังมีบทบาทสำคัญในการปกครอง เพื่อประโยชน์ของตัวข้าราชการเอง ซึ่งได้แก่ การมองปัญหาสังคม การกำหนดแนวทางในการแก้ปัญหา การกำหนดนโยบายและนำนโยบายไปปฏิบัติ การตีความข้อบัญญัติเมื่อเกิดความขัดแย้ง
3) ระบบราชการไทยขาดความรับผิดชอบต่อประชาชนและขาดประสิทธิภาพ ข้าราชการสนใจที่จะสนองตอบต่อความต้องการของผู้บังคับบัญชามากกว่าปฏิบัติตามนโยบายของรัฐบาล หรือสนองตอบต่อความต้องการของพรรคการเมืองกลุ่มผลประโยชน์ หรือประชาชน ระบบราชการยังขาดการประสานงาน มีการเล่นพรรคเล่นพวก ขาดการใช้เทคนิคในการวางแผนและประเมินโครงการ และผู้บริหารขาดความรู้ทางการบริหาร 4) การขยายตัวของระบบราชการไทย มีการขยายตัวขององค์การในระบบราชการมากขึ้นทำให้ต้องแก้ปัญหาทางด้านกระบวนการบริหารและต้องจัดตั้งหน่วยงานใหม่ไม่มีสิ้นสุด โดยมุ่งสร้างอาณาจักรให้แก่ตนเองมากกว่าที่จะมุ่งให้เกิดประโยชน์ต่อการแก้ปัญหาของสังคม 5) ขาดการพัฒนาพรรคการเมือง ประเทศไทยประสบปัญหาของการพัฒนาพรรคการเมืองที่มีฐานสนับสนุนมาจากประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ ทั้งนี้เพราะขาดความต่อเนื่อง ขาดอุดมการณ์ ขาดวินัยและยึดถือตัวบุคคลมากไป
สรุป มีผู้ให้ความหมายของการเมืองและการบริหารได้อย่างหลากหลายและแตกต่างกันออกไป ซึ่งขึ้นอยู่กับมุมมองและความเข้าใจของแต่ละฝ่าย โดยคนไทยจำนวนไม่น้อยเห็นว่า การเมืองเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับอำนาจและผลประโยชน์ และมองว่าการเมืองเป็นเรื่องสกปรก ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว การเมืองเป็นเรื่องที่ดี เป็นเรื่องของการจัดสรรและเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของส่วนรวม ในขณะที่ความหมายของการบริหารเป็นเรื่องของการร่วมกันทำงานอย่างเป็นกระบวนการของกลุ่มบุคคล โดยใช้ทรัพยากรการบริหารเพื่อบรรลุเป้าหมายร่วมกัน
ในบริบทของสังคมไทยจะเห็นได้ว่า นักวิชาการไทยมักมีแนวโน้มที่จะสนับสนุนแนวคามคิดที่ว่า การบริหารคือการเมือง ซึ่งเป็นผลทำให้แนวความคิดที่ว่า การบริหารแยกออกจากการเมืองกลายเป็นเพียง อุดมคติ (Idealism) คือ ไม่สามารถอธิบายความเป็นจริงและนำมาปฏิบัติตามได้ ทั้งนี้เนื่องจากการเมืองและการบริหารของไทยมีความสัมพันธ์ที่ไม่สมดุลทางอำนาจ ก่อให้เกิดการก้าวก่ายแทรกแซง ทั้งเหตุที่การเมืองก้าวก่ายแทรกแซงการบริหาร หรือฝ่ายบริหารก้าวก่ายแทรกแซ.ฝ่ายการเมือง โดยโครงสร้างของอำนาจตามกฎหมายแล้ว ฝ่ายการเมืองย่อมมีอำนาจเหนือฝ่ายบริหาร แต่จากปรากฏการณ์จริงในสังคมไทยในอดีต ฝ่ายบริหารมีอำนาจมากกว่าฝ่ายการเมือง แนวโน้มดังกล่าวอาจมีการเปลี่ยนแปลงไปในอนาคต หากประเทศไทยมีการพัฒนาทางการเมืองเป็นไปตามหลักการและเจตนารมณ์ที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ