220 likes | 387 Views
291351 Electronic Commerce. บทที่ 9 การขนส่งสินค้า อ.ธารารัตน์ พวงสุวรรณ thararat@buu.ac.th. Outline. ความหมายของการขนส่ง ขอบเขตและหน้าที่ของการขนส่ง การวัดประสิทธิภาพในการขนส่ง โครงสร้างของระบบขนส่ง ต้นทุนการขนส่ง การขนส่งกับแหล่งอุตสาหกรรม รูปแบบของการบริการขนส่ง.
E N D
291351 Electronic Commerce บทที่ 9 การขนส่งสินค้า อ.ธารารัตน์ พวงสุวรรณ thararat@buu.ac.th
Outline • ความหมายของการขนส่ง • ขอบเขตและหน้าที่ของการขนส่ง • การวัดประสิทธิภาพในการขนส่ง • โครงสร้างของระบบขนส่ง • ต้นทุนการขนส่ง • การขนส่งกับแหล่งอุตสาหกรรม • รูปแบบของการบริการขนส่ง
การขนส่ง ( Transportation ) • เป็นการเคลื่อนย้ายสินค้าและบริการจากแหล่งผู้ผลิตหรือผู้จัดเก็บ ไปยังลูกค้าในระดับต่างๆ • ด้วยยานพาหนะ เครื่องมือหรืออุปกรณ์ในการขนส่งจากที่แห่งหนึ่งไปยังอีกแห่งหนึ่ง ตามความประสงค์และเกิดอรรถประโยชน์ตามต้องการ • เป็นอุตสาหกรรมบริการชนิดหนึ่งที่สำคัญมากต่อการดำรงชีวิตประจำวันและธุรกิจทุกแขนง
www.nfe.go.th/waghor/exhibition/road/tr-p3.html สรุปวิวัฒนาการขนส่ง
ประโยชน์ของการขนส่ง • ทำให้เกิดความสะดวกสบายต่อปัจจัยสี่ • ทำให้เกิดชุมชนใหม่ • ทำให้เกิดตลาดสินค้าและบริการ • ทำให้เกิดอรรถประโยชน์และมูลค่าต่างๆ • ทำให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและประเทศ
ขอบเขตและหน้าที่ของการขนส่งขอบเขตและหน้าที่ของการขนส่ง Customer Plants Supply Production Support Marketing Support การขนส่งจะทำหน้าที่ในการเคลื่อนย้ายสินค้าหรือบริการ (Products) ต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการลูกค้า การขนส่งจะทำหน้าที่ในการเคลื่อนย้ายปัจจัยการผลิต (Supply) ต่างๆ เพื่อนำไปผลิตเป็นสินค้าหรือบริการต่อไป
การพัฒนาการขนส่ง(Transportation Development)
โครงสร้างของระบบขนส่ง (Transportation Structure) • แบ่งตามกิจกรรมการผลิต 1.การขนส่งขาเข้า (Inbound Transportation) 2. การขนส่งขาออก (Outbound Transportation) 3. การขนส่งระหว่างประเทศ (International Transportation)
โครงสร้างของระบบขนส่ง (Transportation Structure) • แบ่งตามด้านกายภาพ 1. การขนส่งทางรถยนต์ (Motor Transportation) 2. การขนส่งทางราง (Rail Transportation) 3. การขนส่งทางน้ำ (Water Transportation) 4. การขนส่งทางอากาศ (Air Transportation) 5. การขนส่งทางท่อ (Pipeline Transportation) การขนส่งร่วม(Intermodal Transportation)
ต้นทุนการขนส่ง • ต้นทุนคงที่ (Fixed Cost) • ต้นทุนแปรผัน (Variable Cost)
ปัจจัยด้านต้นทุนการขนส่งปัจจัยด้านต้นทุนการขนส่ง การเพิ่มหรือลดของต้นทุนการขนส่ง มาจากปัจจัย 2 ปัจจัย 1. ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ (Product Related Factors) -เป็นปัจจัยของลักษณะของสินค้าที่มีผลต่อต้นทุนการขนส่ง • คุณลักษณะทางกายภาพ • คุณลักษณะด้านการจัดเก็บ (Stow Ability) • ความยากง่ายในการขนถ่าย (Ease/Difficulty of Handling) • ความรับผิดชอบหรือการรับประกันของเสียหาย (Liability)
ปัจจัยด้านต้นทุนการขนส่งปัจจัยด้านต้นทุนการขนส่ง 2. ปัจจัยด้านตลาด (Market Related Factors) -เป็นปัจจัยที่เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมที่ทำการขนส่ง • ที่ตั้งของตลาด • การเชื่อมโยงระหว่างช่องทางการขนส่งต่างๆ • ความสมดุลระหว่างสินค้าขาไปและขากลับ • การขนส่งในประเทศและต่างประเทศ
การขนส่งกับแหล่งอุตสาหกรรมการขนส่งกับแหล่งอุตสาหกรรม • การขนส่งมีความสัมพันธ์กับกิจการทุกประเภทในห่วงโซ่อุปทาน อัตราค่าขนส่งจึงถูกรวมเป็นต้นทุนการผลิตด้วยเสมอ • การพิจารณาว่าทำเลที่ตั้งของแหล่งอุตสาหกรรมต่างๆ ให้เหมาะสมกับต้นทุนค่าขนส่ง จึงมีความสำคัญกับทุกๆ อุตสาหกรรม ใกล้ ใกล้ แหล่งวัตถุดิบ ตลาดหรือลูกค้า โรงงาน / แหล่งอุตสาหกรรม
โรงงานแห่งหนึ่งผลิตสินค้าโดยแหล่งวัตถุดิบอยู่ห่างตลาดเป็นระยะทาง 100 กม. อัตราค่าบริการขนส่งทั้งวัตถุดิบและสินค้าสำเร็จรูปราคาเท่ากันทั้งสองอย่าง คือ 2 $ ต่อกิโลเมตร • ในการผลิตสินค้าใช้วัตถุดิบ 120 ตัน แต่เมื่อผลิตเป็นสินค้าแล้วน้ำหนักจะลดลง 25% สมมติว่าน้ำหนักวัตถุดิบเท่ากับ 120 ตัน น้ำหนักสินค้าจะเท่ากับ 90 ตัน (120 x 25% = 30) • ควรจะเลือกตั้งโรงงานในสถานการณ์อย่างไร • ตั้งไว้ ณ จุดกึ่งกลางพอดี • ตั้งใกล้ตลาด - ใกล้วัตถุดิบ
กรณีที่ 1 ตั้งไว้ ณ จุดกึ่งกลางพอดี ค่าขนส่งจากแหล่งวัตถุดิบไปยังโรงงาน = 2x120x50=12,000 $. ค่าขนส่งจากโรงงานไปยังตลาดลูกค้า = 2x90x50 = 9,000 $. ค่าขนส่งในกรณีที่ 1 รวมทั้งสิ้น = 21,000 $. 50 km 50 km
กรณีที่ 2 ตั้งใกล้แหล่งตลาด ค่าขนส่งจากแหล่งวัตถุดิบไปยังโรงงาน = 2x120x70=16,800 $. ค่าขนส่งจากโรงงานไปยังตลาดลูกค้า = 2x90x30 = 5,400 $. ค่าขนส่งในกรณีที่ 2 รวมทั้งสิ้น = 22,200 $. 70 km 30 km
กรณีที่ 3 ตั้งใกล้แหล่งวัตถุดิบ ค่าขนส่งจากแหล่งวัตถุดิบไปยังโรงงาน = 2x120x30= 7,200 $. ค่าขนส่งจากโรงงานไปยังตลาดลูกค้า = 2x90x70 = 12,600 $. ค่าขนส่งในกรณีที่ 3 รวมทั้งสิ้น = 19,800 $. 30 km 70 km สรุปควรตั้งโรงงานไว้ใกล้แหล่งวัตถุดิบ เพราะให้ค่าใช้จ่ายขนส่งต่ำสุด
รูปแบบของการบริการขนส่งรูปแบบของการบริการขนส่ง • ต้นทุนของการขนส่งระหว่างประเทศจะอยู่ในราว 35-50% ของต้นทุนในการกระจายสินค้า และอยู่ในราว 20% ของต้นุทนกิจการทั้งหมด • การเลือกวิธีการขนส่งที่ดีจะช่วยลดต้นทุนได้ ดังนั้นจึงควรเลือกรูปแบบการขนส่งที่เหมาะสมต่อสภาพสินค้า เส้นทางคมนาคม ระยะเวลาที่ลูกค้ารอคอย ค่าใช้จ่ายหรืองบประมาณที่เหมาะสม ซึ่งประกอบด้วย • ยานพาหนะส่วนตัว (Private Carrier) • ยานพาหนะสาธารณะ (Common Carrier) • ยานพาหนะที่ทำสัญญา (Contact Carrier)
ธุรกิจขนส่ง (logistics Business) • ธุรกิจขนส่งในปัจจุบันมีบทบาทสำคัญกับทุกอุตสาหกรรมทั้งในระดับประเทศและระดับโลก • ธุรกิจขนส่งเหล่านี้มี ยานพาหนะ หลากหลายรูปแบบ ทั้งเครื่องบิน เรือขนาดใหญ่ ขนาดเล็ก รถยนต์รถบรรทุก รถกระบะ รถตู้ คอนเทนเนอร์ • และพนักงานส่งของที่มีประสิทธิภาพ สามารถส่งสินค้าทั่วโลกได้ในเวลาอันรวดเร็ว คุ้มกับค่าขนส่งที่ค่อนข้างราคาแพง