2.05k likes | 4.28k Views
401 310 การเมืองการปกครองเปรียบเทียบ ( Comparative Politics and Government). บรรยายโดย พระมหาสมเด็จ มหาสมิทฺธิ. ขอบข่ายรายวิชา. แนวสังเขปรายวิชา ศึกษาแนวคิดและวิธีการต่างๆ ในการศึกษา เกี่ยวกับการเมืองการปกครอง เปรียบเทียบ ทั้งนี้ให้ศึกษาเปรียบเทียบของประเทศต่างๆ โดยเฉพาะ
E N D
401 310การเมืองการปกครองเปรียบเทียบ(Comparative Politics and Government) บรรยายโดย พระมหาสมเด็จ มหาสมิทฺธิ
ขอบข่ายรายวิชา แนวสังเขปรายวิชา ศึกษาแนวคิดและวิธีการต่างๆ ในการศึกษา เกี่ยวกับการเมืองการปกครอง เปรียบเทียบ ทั้งนี้ให้ศึกษาเปรียบเทียบของประเทศต่างๆ โดยเฉพาะ เลือกบางประเทศที่สำคัญในกลุ่มประเทศประชาธิปไตย กลุ่มประเทศ คอมมิวนิสต์และกลุ่มประเทศโลกที่สาม โดยเน้นการศึกษาเกี่ยวกับ พฤติกรรมทางการเมือง โครงสร้าง องค์ประกอบและหน้าที่ของระบบ การเมืองการปกครองเหล่านั้นเป็นกรณีศึกษา
การศึกษาการเมืองการปกครองเปรียบเทียบ หัวข้อการเปรียบเทียบ เพราะเหตุใดจึงต้องศึกษาเปรียบเทียบ ประเด็นของการศึกษา การจัดกลุ่มประเทศ การจัดประเภทของระบบการเมือง Aรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตย Bระบบเผด็จการอำนาจนิยม Cระบบเผด็จการเบ็ดเสร็จ Dระบบคอมมิวนิสต์
กลุ่มในทางการเมือง Aผู้แทนตามหน้าที่การงาน B ผู้แทนตามขอบเขตพื้นที่ประเด็นของการศึกษา C กลุ่มผลประโยชน์ D พรรคการเมือง สถาบันทางการเมือง Aฝ่ายบริหาร Bฝ่ายนิติบัญญัติ นโยบายสาธารณะ ความเจริญของสังคม
ความหมายของทฤษฎี ทฤษฎี คือ ชุดของแนวความคิด (a set of concept) เนื่องจากเป็นแนวความคิดรวบยอดของหลายๆ แนวคิด ทฤษฎี คือ ชุดของข้อเสนอ (a set of proposition) เนื่องจากเป็นการผูกนามธรรม จินตภาพ และความคิดต่างๆ เข้าด้วยระบบเหตุผล ทฤษฎี คือชุดของการสร้าง (a set of construction) เป็นข้ออธิบายอยู่บนพื้นฐานของความรู้
ระดับความหมายของทฤษฎีระดับความหมายของทฤษฎี ความหมายทฤษฎีระดับชาวบ้านทั่วไป ระดับพื้นฐาน คำอธิบาย สิ่งใดๆ หรือปรากฎการณ์ใดๆ เหตุการณ์/สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่สูงขึ้นไป คำบรรยาย ระดับสูงสุด สมมุติฐานหรือความคิดที่ยังไม่ได้ตรวจสอบ ความหมายทฤษฎีของนักวิทยาศาสตร์ คำอธิบายตามหลักเหตุผล แสดงความสัมพันธ์ ระหว่างสิ่งต่างๆของสิ่งนั้น และสามารถพยากรณ์ ในอนาคตได้
คุณลักษณะของทฤษฎี ตั้งเป็นกฎเกณฑ์นามธรรมได้อย่างเป็นระบบ เป็นนามธรรม (abstract) เป็นสากล (generalize) ทดสอบได้ (testability) มีความเที่ยงตรง (validity) เชื่อถือได้ (reliability) ตีความ อธิบายความกับข้อเท็จจริงได้ สามารถทดสอบกับข้อเท็จจริงได้ มีกฎเกณฑ์ เที่ยงตรงแน่นอน ผ่านการทดสอบแล้ว ยิ่งทดสอบยิ่งน่าเชื่อถือ
องค์ประกอบของทฤษฎี ความเป็นจริงทางสังคม (Social reality) การเข้าถึงความจริง มี 3 กลุ่มแนวคิด กลุ่มปรากฎการณ์นิยม (Phenomenologist)กลุ่มนี้เชื่อว่า ถ้าต้องการรู้ความเป็นจริงจะต้องมองภาพรวม (Totality)มองหลายๆ ด้านเข้าด้วยกัน เช่น การมองบุคคลว่าเป็นคนดีหรือไม่ดี ต้องมองทั้งกิริยา มารยาท และภูมิหลังด้วย เรียกว่ามองทั้งด้านภาวะวิสัย (Objective reality)และทางด้านอัตวิสัย (Subjective reality)
กลุ่มวิภาษวิธี (Dialectic)กลุ่มนี้เชื่อว่าการมองหาความจริงทางสังคมจะต้องมองภาพทั้ง 2 ด้านในลักษณะที่ขัดแย้งกันเสมอ คือ เมื่อมีความมั่นคง ก็ต้องมีการเปลี่ยนแปลง มีด้านบวกและก็มีด้านลบ มีด้านดีก็มีด้านชั่ว แต่การมองแบบนี้ก็ยังไม่เพียงพอ เพราะความเป็นจริงที่ได้รับอาจเป็นภาพลวงตาได้ ฉะนั้น กลุ่มนี้จึงเห็นว่าจะเข้าสู่ความจริงทางสังคมได้จะต้องนำปรากฏการณ์ต่างๆ เข้าสู่กระบวนการวิเคราะห์ (Analysis process)
กลุ่มปฏิฐานนิยม (positivism) กลุ่มนี้เห็นว่าการจะเข้าถึงความจริงสังคมได้ จะต้องได้พบ ได้สัมผัส และสามารถวัดได้ จึงมองความเป็นจริงทางด้านภาวะวิสัย (Objective reality )
หน่วยในการวิเคราะห์ (Unit of analysis) บางครั้งภาพที่ปรากฏ อาจไม่ใช่ความจริง ดังนั้นจะต้องทำการวิเคราะห์ (Analysis) เพื่อทราบ ข้อเท็จจริง จากนั้นจึงสรุปรวบยอดเป็นนามธรรมกฎเกณฑ์ อย่างไรก็ตาม การใช้ หน่วยในการวิเคราะห์ที่ต่างกัน ย่อมได้ข้อสรุปที่ต่างกัน ดังนั้นจะต้องเลือกหน่วย ในการวิเคราะห์ เพราะถ้าเลือกหน่วยวิเคราะห์ผิดและด่วนสรุปจะก่อให้เกิดความ ล้มเหลวผิดพลาดได้ ซึ่งมี 2 แบบ คือ 1.2 Over induction คือความล้มเหลวผิดพลาดจากการใช้หน่วยปัจเจกจุลภาค (Micro) และอธิบายสู่ภาพรวมใหญ่ (Macro) 2.2 Over deduction คือคือความล้มเหลวผิดพลาดจากการใช้หน่วย ซึ่งถือเป็นภาพใหญ่ (Macro) มาอธิบายพฤติกรรมหรือปรากฏการณ์ของภาพเล็กๆ
ฐานคดี (Assumption) ตึกและอาคารย่อมมีฐาน ต้นไม้ย่อมมีรากแก้ว ฐานคติจึงเป็นพื้นฐานของศาสตร์และ ทฤษฎี ฐานคติหมายถึง แนวความคิดเบื้องต้น ทุกคนจะทำ อะไรมักจะมีฐานคติของตนเองอยู่เบื้องหลังเสมอ ระดับการไตร่ตรอง (Level of Consideration) การไตร่ตรองเป็นความรู้สึกนึกคิดด้านนามธรรม (Abstraction) และมีหลายระดับ ทฤษฎีก็เช่นเดียวกันจะมีทั้งระดับสูง (Grand theory)ระดับปานกลาง (Middle range theory)และระดับต่ำ (Ground theory)
อุดมการณ์ (Ideology) แปลว่า ชุดความเชื่อ (a set of believes) หมายถึงเชื่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่จะสะท้อนในตัวของมันเอง ซึ่งอาจแตกต่างกันตามวัฒนธรรมและสภาพแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นอุดมการณ์การเมือง ทางสังคม และทางเศรษฐกิจ อุดมการณ์ มักจะเกี่ยวโยงกับค่านิยมส่วนตัว (Personal value) อคติส่วนตัว (Personal bias) และนำไปสู่การก่อให้เกิดอคติทางปัญญาตามมา (Intellectual bias)
หน้าที่ของทฤษฎี 1. ใช้อธิบาย (Explanation) หมายความว่า ทฤษฎีจะต้อง อธิบายปรากฏการณ์ต่างๆ ได้อย่างมีเหตุผลและสามารถอธิบายได้หลาย รูปแบบจะอธิบายแบบพรรณนา (Description) แบบจำแนก แยกแยะ (Classification) หรือจะอธิบายแบบเชื่อมโยงเป็น เหตุผล (Association) ก็ได้ 2. ใช้ทำนาย (Prediction) ทฤษฎีจะต้องสามารถใช้คาดการณ์ หรือทำนายเหตุการณ์ต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้อีกด้วย
บทนำ (Introduction) มนุษย์มีวัฒนธรรม มนุษย์เป็นสัตว์ประเสริฐกว่าสัตว์อื่นๆ เพราะว่า • องค์ประกอบสำคัญของวัฒนธรรมมนุษย์คือ “ภาษา” ซึ่งได้แก่ ภาษาพูด ภาษาเขียน และภาษาท่าทาง ภาษาทำให้มนุษย์รู้จักคิด คิดได้ คิดเป็น ช่วยกันคิด แข่งกันคิด • ผลของความคิดและการกระทำร่วมกัน “เกิดเป็นความรู้” เป็นคำอธิบายเรื่องราวต่างๆเกี่ยวกับมนุษย์และสภาพแวดล้อมรอบตัวมนุษย์ วัฒนธรรม ภาษา รู้จักคิด เกิดความรู้ ถ่ายทอด
ความหมายของความคิดทางสังคมความหมายของความคิดทางสังคม ความคิดทางสังคม คือ ความคิดของมนุษย์ โดยมนุษย์ และเพื่อมนุษย์ ความคิดของมนุษย์ หมายถึง ความคิดที่กำลังกล่าวถึงเป็นเรื่องของ มนุษย์เท่านั้น โดยมนุษย์ หมายถึง ความคิดที่มนุษย์เป็นผู้ประดิษฐ์คิดค้นขึ้นจะโดย คนเดียวหรือช่วยกันกันคิดหลายคนก็ได้ (การช่วยกันคิด ก็คือการ กระทำระหว่างกัน) • เพื่อมนุษย์ หมายถึง ความคิดใดๆ ของมนุษย์ เกี่ยวข้องกับสิ่งใดๆ ไม่ว่ามนุษย์ด้วยกัน สัตว์ สิ่งของ พืช เหตุการณ์หรือปรากฎการณ์ สถานการณ์ใดๆ ที่มีผลกระทบต่อมนุษย์ ไม่ว่าผลกระทบนั้นจะเป็นทางบวก หรือทางลบ ถือได้ว่าเป็นความคิดทางสังคมทั้งสิ้น
ประเภทของกลุ่มแนวคิดทางสังคมประเภทของกลุ่มแนวคิดทางสังคม ปรัชญาชีวิต เช่น รักอิสระ โอบอ้อมอารี มีศีลธรรม ศาสนา ประวัติศาสตร์ วรรณคดี ภูมิปัญญาไทย หรือ ความรู้พื้นบ้าน สุภาษิต
สรุป ความคิดทางสังคม เป็นเรื่องราว ข้อมูล ความรู้ ของมนุษย์ โดยมนุษย์ เพื่อมนุษย์ โดยมีลักษณะเป็นคำบอกเล่า (affirmative statement) เรื่องราวต่างๆ ที่เป็นเหตุเป็นผลหรือไม่ก็ได้ และมักจะไม่มีการฝืนความถูกต้อง หรือไม่ได้จงใจให้มีการยืนยันความ ถูกต้อง หากมีก็เป็นประสบการชีวิตนั่นเอง ความคิดทางสังคมเหล่านี้อาจปรากฎในสังคมในรูปปรัชญา ศาสนา ประวัติศาสตร์ วรรณคดี สุภาษิต และความรู้พื้นบ้าน ซึ่งเหล่านี้ยังไม่ อาจถือว่าเป็นทฤษฎี
ทฤษฎีทางสังคม (Social Theory) ทฤษฎีสังคม หมายถึง คำอธิบายเรื่องของคนและความสัมพันธ์ระหว่างคนตาม หลักเหตุผลและความสัมพันธ์ระหว่างส่วนต่างๆของคน หรือระหว่างคนต่อคน ต่อกลุ่มคน คนต่อสภาพแวดล้อม อย่างมีระบบจนสามารถพยากรณ์ได้ ความหมายทฤษฎีสังคมมีความกว้างขวาง กล่าวคือ เป็นทฤษฎีจิตวิทยา เรื่องของคนแต่ละคนก็ได้ เป็นทฤษฎีรัฐศาสตร์ เรื่องของอำนาจ คนหลายคนเกี่ยวข้องกัน เป็นทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ เรื่องของคนหลายคนกับวัตถุในการผลิตการจำหน่ายจ่าย แจกผลิตภัณฑ์และบริการในการอุปโภคบริโภค เป็นทฤษฎีสังคมวิทยา เรื่องของคนและแบบแผนในการคิดการกระทำหรือ วัฒนธรรม
เปรียบเทียบความคิดทางสังคมและทฤษฎีสังคมเปรียบเทียบความคิดทางสังคมและทฤษฎีสังคม
ศัพท์ทางการเมือง (Political Terms) ความคิดทางการเมือง (Political Thought) เป็นเรื่องเกี่ยวกับการเมืองกว้างๆ เน้นด้านพรรณนา (Descriptive) และเน้นความคิดเชิงประวัติศาสตร์คือเรียงลำดับว่าใครคิดอะไร เมื่อใด ไม่ แยกหัวข้อวิเคราะห์ ปรัชญาการเมือง (Political Philosophy) เป็นการศึกษาการเมืองระดับลึกซึ้งและเกี่ยวโยงกับสาขาอื่นด้วย เน้นหลักจริยธรรม และไม่เป็นวิทยาศาสตร์ เป็นข้อคิดที่อาจพิสูจน์ไม่ได้ โดยมุ่งค้นหาสิ่งต่างๆที่เชื่อมโยงสัมพันธ์กัน เสมือนยาหม้อใหญ่ที่รวมหลายๆอย่างเข้าด้วยกัน
ไม่ยึดหลัก คุณธรรม ปลูกฝัง เพื่อผล ทางการเมือง อุดมการณ์ทางการเมือง (Political Ideology) ใช้ในรูปของความเชื่อและความคิดในระดับไม่ลึกซึ้งนัก เน้นความเชื่อ ความศรัทธามากกว่าเหตุผล เป็นพลังผลักดันให้เกิดการกระทำ-เคลื่อนไหวทางการเมือง ทฤษฎี คอมมิวนิสต์ ลัทธิทางการเมือง(Political Ism) เป็นหลักการทางการเมือง ที่มีลักษณะผสมผสานจากความคิด หรือทฤษฎีต่างๆประกอบกันเป็นแนวคิดเกี่ยวกับระบบการเมือง ปรัชญาการเมืองหนึ่งๆ อาจก่อให้เกิดลัทธิการเมืองมากกว่าหนึ่งลัทธิ โซเวียต จีน ทฤษฎีการเมือง(Political Theory) เป็นเรื่องเกี่ยวกับสาธารณะ คำสอน การพรรณนาข้อเท็จจริง/ประวัติศาสตร์ การตัดสินคุณค่า ไม่ยึดหลักวิทยาศาสตร์ ใช้เหตุผลอย่างเดียว
ผังแสดงเปรียบเทียบศัพท์ทางการเมืองผังแสดงเปรียบเทียบศัพท์ทางการเมือง อุดมการณ์ ทางการเมือง เน้นความเชื่อ ความศรัทธา มากกว่าเหตุผล ทฤษฎี ทางการเมือง เน้นอธิบาย ปรากฎการณ์ บางประการ ปรัชญา ทางการเมือง เน้นอธิบาย ปรากฎการณ์ทั้งหมด และเน้นจริยธรรม ความคิดทางการเมือง พูดถึงเรื่องราวการเมืองกว้างๆ เชิงประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ถ่ายทอด มีภาษา รู้จักคิด มีความรู้
อุตสาหกรรม ทฤษฎีความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (Growth theory) แนวความคิดหลัก 1. ขยายสิ่งที่ยังไม่มีโดยการทำให้มีขึ้น 2. สิ่งที่มีน้อยทำให้มีมาก 3. ให้เริ่มที่ระบบย่อยที่เห็นว่ามีศักยภาพก่อน 4. เน้นหลักขยายแล้วจึงขยาย การพัฒนาทุกด้าน ไม่สามารถทำได้ เนื่องจากข้อจำกัดทางทรัพยากร งบประมาณ และเทคโนโลยี เกษตรกรรม บริการ พัฒนาเป็นอันดับแรก
ข้อดีของทฤษฎี • ลดการว่างงาน เพราะทุ่มเทไปที่ภาคอุตสาหกรรมทำให้เกิดความต้องการ 2. เกิดความหลากหลายด้านอุตสาหกรรมด้านแรงงานเพิ่มขึ้น 3. มองเห็นเป็นความเจริญอยู่บ้าง ข้อด้อยของทฤษฎี 1. รายได้กระจายช้าและไม่เป็นธรรม เพราะทุ่มเทเฉพาะอุตสาหกรรมเท่านั้น 2. เป็นการให้ค่ากลุ่มนายทุน ซึ่งเป็นกลุ่มน้อยมากกว่ากลุ่มเกษตรกรคนยากจน
ทฤษฎีภาวะทันสมัย (Modernization theory) หลักพื้นฐานของทฤษฎี ต้องพัฒนาประเทศด้อยพัฒนา/กำลังพัฒนา โดยยึดรูปแบบ การพัฒนาของประเทศอเมริกาเหนือและยุโรปตะวันตก ด้านสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง อเมริกา กำลังทางทหาร บริโภคนิยม ทุนนิยม เลือกตั้ง อเมริกา ยุโรป เอเชีย กำลังทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรมไร้พรมแดน ไม่มีภาษี/เสรี ไม่มีรัฐ
แสนยานุภาพทางทหารของโซเวียต-รัสเซียแสนยานุภาพทางทหารของโซเวียต-รัสเซีย การล่มสลายของสหภาพโซเวียตเป็นชื่อเรียกช่วงเวลาระหว่าง ปี ค.ศ.1985 ถึง ค.ศ.1991 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่นาย มิคาคิล กอร์บาชอฟเป็นผู้นำของสหภาพโซเวียต เขาได้เดินหน้าปฏิรูปเศรษฐกิจและการเมือง ของสหภาพโซเวียตภายใต้โครงการ เปเรสตรอยกา และกลาสต์น๊อต ซึ่งเป็นการเพิ่มสิทธิเสรีภาพของประชาชน และเปิดโอกาสให้ประชาชนเป็นเจ้าของธุรกิจส่วนบุคคล ซึ่งการปฏิรูปดังกล่าวทำให้ประชาชนในสหภาพโซเวียต ตระหนักถึงเสรีภาพในการ ดำรงชีวิต ทำให้เกิดการล่มสลายของสหภาพโซเวียตในปี ค.ศ. 1991 ในที่สุด
ความโหดร้ายของสงครามเวียดนามความโหดร้ายของสงครามเวียดนาม สงครามเวียดนาม (Vietnam War, ค.ศ. 1957-1975) เป็นสงครามระหว่างเวียดนามเหนือ และเวียดนามใต้ที่สนับสนุนโดยสหรัฐอเมริกา เพื่อตัดสินว่าควรรวมเวียดนามเป็นหนึ่งเดียว ตามข้อตกลงเจนีวา ค.ศ. 1954 หรือไม่ สงครามจบลงด้วยชัยชนะของเวียดนามเหนือ และรวมประเทศเวียดนามทั้งสองเข้าด้วยกัน ซึ่งปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศเวียดนาม ในประเทศเวียดนามเองเรียกสงครามนี้ว่า “สงครามปกป้องชาติจากอเมริกัน หรือ สงครามอเมริกัน” สหรัฐอเมริกา ตาย 58,159 สูญหาย 2,000 บาดเจ็บ 30,3635 เวียตนามเหนือตาย-สูญหาย 1,176,000 คน เวียตนามใต้ตาย 1,581,000คน
กระบวนการพัฒนาตามแนวทางทฤษฎีภาวะทันสมัยกระบวนการพัฒนาตามแนวทางทฤษฎีภาวะทันสมัย 1. เป็นกระบวนเปลี่ยนแปลงทั้งโครงสร้างทั้งระบบสังคม 2. มองปัจจัยหลายด้านที่ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลง (Complex process) 3. หากระบบใดระบบหนึ่งเสียไปย่อมจะส่งผลกระทบต่อระบบอื่นๆ (Systematic process ) 4. เป็นกระบวนการพัฒนาที่ใช้รูปแบบเดียวกันใช้ได้ทุกประเทศและทุกสังคม (Global process) 5. เป็นกระบวนการค่อยเป็นค่อยไปและใช้เวลานานบอกไม่ได้ว่าเมื่อไรจะเจริญ (Lengthyprocess)
6. สามารถกำหนดการเปลี่ยนแปลงได้เป็นช่วงๆ (Phased process) 7. มองทุกสังคมว่ามีลักษณะเดียวกันและเหมือนกันๆ (Homogenizing process) 8. การเปลี่ยนแปลงจะไม่ย้อนกลับที่เดิม มีการพัฒนาไปเรื่อยๆ (Irreversible process) 9. การพัฒนามีทิศทางก้าวหน้าไปเรื่อยๆ (Progressive process)
วิธีการของทฤษฎี • นำปัจจัยภายนอกเข้าสู่ภายใน (External input) ที่ยังล้าหลัง 2. ปัจจัยภายนอกที่นำเข้าจะต้องทันสมัยกว่า 3. ต้องนำเข้าทั้งระบบเศรษฐกิจ ระบบสังคม และระบบการเมือง ตลอดจนเทคโนโลยีระดับสูง 4. ควรมีสถาบันเป็นศูนย์กลางสร้างความทันสมัย
ทฤษฎีความจำเป็นพื้นฐาน (Basic needs theory) หลักแนวคิดพื้นฐาน มีจุดมุ่งหมาย (Target) พัฒนาสังคมโดยการตอบสนองต่อความจำเป็นพื้นฐาน จุดมุ่งหมายไม่ควรเน้นต่อความเจริญเติบโตทางวัตถุ ไม่ควรเน้นแต่เพียงภาคอุตสาหกรรม และไม่ควรให้ความสำคัญแก่สังคมกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเป็นหลัก แต่ควรจะพัฒนาอย่างมีดุลภาพอย่างเท่าเทียมกันและควรเน้นสิ่งอันจำเป็นพื้นฐานของประชาชน ซึ่งอย่างน้อยให้มีอาหารบริโภคอย่างพอเพียง มีที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเอง มีที่ดินทำกินเป็นของตัวเอง มีเสื้อผ้าและยารักษาโรคในยามเจ็บป่วย เน้นปัจจัย 4
2. เน้นพัฒนาภาคเกษตรกรรม การพัฒนาที่ผ่านมาเป็นการระดมทรัพยากรด้านต่างๆ จากภาคเกษตรเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรม ระดมแรงงานราคาถูกจากชนบทเข้าสู่เมืองโดยหวังจะให้ภาคอุตสาหกรรมเป็นฐานทางเศรษฐกิจพอที่จะผลักดันให้ส่วนต่างๆ ทั้งประเทศพัฒนาได้ จึงได้เน้นที่อุตสาหกรรม (Industrial sector)ก่อนและใช้ศูนย์กลางเป็นตัวนำการพัฒนา (Polarization) และจากศูนย์นำนี้จะช่วยเหนี่ยวนำ (induced) ให้ส่วนที่ยังไม่พัฒนาได้พลอยพัฒนาตามไปด้วยซึ่งเรียกว่า Trickle down effects เกษตรกรรม การบริการ อุตสาหกรรม
การเคลื่อนย้าย แรงงานจากชนบทสู่เมืองกรุง
3. ให้ความสำคัญแก่ชาวชนบท ตระหนักถึงความสำคัญของชาวชนบท ในฐานะเป็นกำลังหลักของภาคเกษตรกรรม 4. เครื่องชี้วัด (Index)ของการพัฒนาต้องดูที่ ด้านสวัสดิการและคุณภาพชีวิตของชนชาติ ตามแนวคิดทฤษฎีนี้มีทัศนะว่า ประเทศใดก็ตามการที่รู้ว่ามีคุณภาพที่ดีขึ้นหรือไม่จะต้องดูตัวชี้วัด ดังนี้ 4.1 รายได้ของครอบครัวพอเพียงแก่การดำรงชีวิตขั้นต้น 4.2 ประชาชนมีงานทำ เพื่อให้แน่ใจว่ามีการกระจายรายได้ 4.3 การศึกษาและอัตราการรู้หนังสือ (Literacy) 4.4 โอกาสของประชาชนในการมีส่วนร่วมปกครองประเทศ 4.5 ความมีเอกราชของชาติและปราศจากการแทรกแซงครอบงำจากต่างชาติ
5. เน้นการใช้แรงงานในการผลิต การใช้เทคโนโลยีระดับสูงมาใช้ประกอบการ แทนแรงงานคนมากเท่าใด โอกาสที่คนจะว่างงานก็มากขึ้นเท่านั้น และเมื่อชนในชาติว่างงานมากขึ้น การพัฒนาก็ไม่เกิดความหมายใดๆ 6. ควรใช้ ทุนภายในประเทศหรือภายในชุมชน การกู้ยืมเงินจากต่างประเทศเอามาเป็นทุนเพื่อพัฒนานั้นควรเป็นเรื่องจำเป็นจริงๆ มิใช่นำมาใช้ทุกเรื่อง เพราะจะก่อให้เกิดการขาดดุลภาพ
ปัจจุบันมีแรงงานต่างด้าวที่มีใบอนุญาตมี 3 ประเภทคือ • แรงงานต่างด้าวที่มาต่ออายุใบอนุญาตทำงานมีทั้งสิ้น 141,289 คน จากจำนวนแรงงานต่างด้าว ที่มีใบอนุญาตเดิมที่หมดอายุเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2550 มีจำนวน 208,562 คน คิดเป็นจำนวนแรงงานที่หายไป 67,273 คน (2) แรงงานต่างด้าวที่มาจดทะเบียนตามมาตรการสนับสนุนเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 10,540 คน (3) แรงงานต่างด้าวที่มาต่อใบอนุญาตทำงาน จำนวน 394,443 คน จากจำนวนแรงงานที่มีใบอนุญาตเดิมที่หมดอายุในวันที่ 30 มิถุนายน 2550 จำนวน 460,014 คน (ข้อมูลจากสำนักงานบริหารแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน วันที่ 13 กันยายน 2550) คิดเป็นแรงงานต่างด้าวที่หายไปจำนวน 65,571 คน แรงงานต่างด้าวที่ไม่มาต่ออายุใบอนุญาตทำงานรวมทั้งสิ้น 132,844คน
7. เน้นการผลิตแบบผสมผสาน (Mix product) ผลิตผลที่เกิดขึ้นควรจะเป็นลักษณะหลากหลายและต้องเกื้อกูลซึ่งกันและกันตามแนวคิดทฤษฎีนี้ อุตสาหกรรมต่างๆ จะต้องรองรับผลิตผลทางการเกษตรได้เป็นอย่างดี 8. ควรกำหนดนโยบาย (Policy) และแผนงาน (Planning) จากระดับล่างสู่ระดับบน
8.1 การพัฒนาจากเบื้องบน(Development from above) หมายถึง การกำหนดนโยบายและแผนงานจากระดับบนสู่ล่าง แม้จะรวดเร็วต่อการกำหนดและง่ายต่อการกำหนด แต่เมื่อนำไปปฏิบัติแล้วมีหลายเรื่องที่ถือได้ว่าล้มเหลวโดยสิ้นเชิง เนื่องจากแต่ละท้องถิ่นย่อมมีปัญหาที่แตกต่างกัน เมื่อนำแผนงานไปใช้จึงไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงและไม่ตรงกับความต้องการของประชาชน รัฐ กรณีศึกษาผู้ใหญ่ลี ประชาชน
8.2 การกำหนดแผนงานจากระดับล่างสู่บน (Development from below) การพัฒนาจากล่างสู่บน (Bottom up) เป็นการพัฒนาที่มองว่า คนหรือสังคมไม่ใช่เครื่องมืออย่างหนึ่งของการพัฒนา ซึ่งมีเป้าหมายอยู่ที่ความเจริญเติบโตทางวัตถุหรือตัวเลขที่แสดงการเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่การพัฒนานี้จะต้องให้ความสำคัญแก่คนทุกคนและทุกพื้นที่เป็นผู้ที่มีส่วนร่วมใน การตัดสินใจ (Decision) ในการพัฒนา คือ มีส่วนรับรู้เป้าหมายและผลของการพัฒนาเป็นการมองผลประโยชน์ร่วมกัน (Common benefit) รัฐ ประชาชน
สมมติฐานเบื้องต้นของการพัฒนาจากล่างสู่บนสมมติฐานเบื้องต้นของการพัฒนาจากล่างสู่บน 1. ความไม่เท่าเทียมกันในระดับการครองชีพระหว่างภูมิภาคส่วนต่างๆ ของประเทศ เป็นผลมาจากการพัฒนาเศรษฐกิจโดยส่วนรวม 2. มีแนวคิดด้านการพัฒนาเป็นจำนวนมากที่ให้ความสำคัญแก่สภาพแวดล้อมทางสังคมตลอดจนเงื่อนไขทางด้านสถาบันและวัฒนธรรม 3. การพัฒนาควรจะเกิดจาก การมีส่วนร่วม ในการรับรู้และกำหนดแนวทางการปฏิบัติจากคนในแต่ละชุมชน 4. การใช้หลักแบ่งงานตามความสามารถเฉพาะระหว่างชุมชนและสังคมในระดับกว้าง มิใช่เป็นสิ่งที่ดีเสมอไป สำหรับชุมชนที่ด้อยกว่า เพราะจะก่อให้เกิดการโอนย้ายทางเศรษฐกิจสังคมและการเมืองที่ภาวะครอบงำเช่นเดียวกันกับลัทธิล่าอาณานิคม ในท้ายที่สุดผู้ด้อยโอกาสจะเป็นผู้เสียเปรียบ. ควรมีรัฐสวัสดิการ
ทฤษฎีพึ่งพิง (Dependent Theory) ประวัติแนวความคิดพื้นฐานของทฤษฎี กระบวนการพัฒนาอุตสาหกรรมเป็น ทางออกทางเดียวของประเทศกำลังพัฒนา วางยุทธศาสตร์การพัฒนาโดยการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมเพื่อทดแทน ประเทศลาตินอเมริกาประสบความล้มเหลวในการพัฒนาตามทฤษฎีนี้ ประเทศด้อยพัฒนายังพึ่งพิงเครื่องจักรจากประเทศที่พัฒนาแล้ว เปลี่ยนมาเน้นการปรับปรุงโครงสร้างทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองทั้งหมดแทน พัฒนาแบบองค์รวม ไม่สุดโต่งเฉพาะทางเศรษฐกิจ
โลกที่ 1 ยุโรปตะวันตกและอเมริกาเหนือ โลกที่ 2 ประเทศคอมมิวนิสต์ โลกที่ 3 ประเทศด้อยพัฒนา คำนิยามของทฤษฎีพึ่งพิง ทฤษฎีพึ่งพิง หมายถึง ทฤษฎีการพัฒนาที่อธิบายถึง ความสัมพันธ์ที่ไม่เท่าเทียมกันระหว่างประเทศทุนนิยมที่พัฒนาแล้ว กับประเทศล้าหลัง พัฒนาน้อย ด้อยพัฒนา กำลังพัฒนาหรือประเทศในโลกที่ 3 เป็นทฤษฎีที่อธิบายสภาวะของความด้อยพัฒนาว่าขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์กับประเทศอื่นโดยเฉพาะกับประเทศที่พัฒนาแล้ว ความสัมพันธ์นี้เป็นความสัมพันธ์ที่ไม่เท่าเทียมกัน คือ เป็นความสัมพันธ์แบบครอบงำพึ่งพา(Dominant dependent) ประเทศที่มีฐานะและความสามารถทางเศรษฐกิจที่แตกต่างกันมากๆ นี้จะก่อให้เกิดสภาวะครอบงำ ในขณะที่เศรษฐกิจของประเทศที่ครอบงำ (Dominant) ไม่สามารถที่จะขยายตัวได้หรือถ้าจะขยายตัวได้ก็เป็นเพียงการสะท้อนของการขยายตัวของเศรษฐกิจจากประเทศที่ครอบงำเท่านั้น
ผังแสดงการพึ่งพิง S S M S S เมืองแม่METRO-POLITANT เมืองบริวาร SATELLITE
แนวคิดทฤษฎีพึ่งพา แบ่งกลุ่มประเทศทุนนิยมโลกออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 1. กลุ่มประเทศทุนนิยมศูนย์กลางหรือเมืองแม่ (Metro-politant) 2. กลุ่มประเทศบริวาร (Satellite) พัฒนาการของรูปแบบการครอบงำ ยุคดั้งเดิม คือ ยุคแห่งการล่าอาณานิคม หรือยุคจักรวรรดินิยม ประเทศทุนนิยมศูนย์กลางหรือประเทศเมืองแม่จะใช้กำลังทหารและอาวุธที่เหนือกว่าเป็นกลไกลในการครอบงำ (Dominate) ประเทศบริวารหรือประเทศอาณานิคมในทุกด้านไม่ว่าจะเป็น ด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง
ยุคใหม่ประเทศจักรวรรดินิยมทั้งหลายได้ปลดปล่อยคืนเอกราชให้กับบรรดาประเทศที่เป็นบริวารของตนเอง แต่มอบเอกราชทางอำนาจทางการเมืองเท่านั้น ส่วนอำนาจทางเศรษฐกิจยังคงครอบงำเหมือนเดิม ใช้สื่อ โฆษณา CNN FTA IMF เขตการค้าเสรี BBC กองทุนระหว่างประเทศ International Monetary Fund Free Trade Area
ลักษณะการพึ่งพา 1.พึ่งพาทางเศรษฐกิจ (Economic Dependency) 2.พึ่งพาทางการเมือง (Political Dependency ) 3.พึ่งพาเทคโนโลยี (Technology Dependency ) 4.พึ่งพาทางวัฒนธรรม (Cultural Dependency)