390 likes | 1.03k Views
โครงการสถานที่ทำงานน่าอยู่ น่าทำงาน Healthy Workplace. ข้อมูลการสำรวจแรงงาน จากสำนักงานสถิติแห่งชาติ. ปี 2545 มีจำนวนผู้มีงานทำทั้งสิ้น 33.86 ล้านคน ( 63 ล้านคน). ล้านคน. ยิ่งทำงาน ยิ่งป่วย.
E N D
โครงการสถานที่ทำงานน่าอยู่ น่าทำงานHealthy Workplace
ข้อมูลการสำรวจแรงงาน จากสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2545 มีจำนวนผู้มีงานทำทั้งสิ้น 33.86 ล้านคน (63 ล้านคน) ล้านคน
ยิ่งทำงาน ยิ่งป่วย. . . • การประสบอุบัติเหตุหรือบาดเจ็บอันเนื่องมาจากการทำงานในประเทศไทย มีอัตราเฉลี่ย 4.14% ซึ่งนับว่าสูงมากเมื่อเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น อังกฤษ ซึ่งมีอัตราเฉลี่ยที่ 0.77% ต่อปีเท่านั้น • (จากข้อมูลของกองทุนเงินทดแทน สำนักงานประกันสังคม ) • โรคสำคัญที่เกิดจากการทำงาน เช่น โรคปอด โรคพิษตะกั่ว โรคสูญเสียจากการได้ยินเสียงดัง • ซึ่งมีรายงานว่าพบผู้ป่วยจากโรคเหล่านี้เฉลี่ยไม่เกิน 200 ราย ต่อปี แต่คาดว่าจำนวนนี้จะต่ำกว่าความเป็นจริงมาก • พบว่าผู้ได้รับพิษมีแนวโน้มสูงขึ้น เมื่อพิจารณาจากสถิติ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 เป็นต้นมา และสถิตินี้ยังไม่ครอบคลุมสถานประกอบการที่มีคนงานจำนวนต่ำกว่า 10 คน ซึ่งไม่มีรายงานอย่างเป็นทางการ
กลุ่มอาชีพที่มีปัญหาสุขภาพมากที่สุดคือ กลุ่มงานอาชีพบริหารจัดการ โดยมีปัญหาเรื่องจิตใจ โรคเครียดจากการทำงาน (ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ) • จำนวนการเจ็บป่วยของแรงงานภาคอุตสาหกรรมด้วยสาเหตุที่ไม่เกี่ยวข้องกับงานโดยตรงก็มีจำนวนมาก บางกรณีก็ยากที่จะพิสูจน์ จึงมักเกิดปัญหาผลักภาระการเบิกจ่าย • กองทุนเงินทดแทนและประกันสังคม จัดเป็นระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลแก่ แรงงานภาคอุตสาหกรรมจำนวน 7 ล้านคน ปัจจุบันยังไม่ครอบคลุมแรงงานในสถานประกอบการขนาดเล็ก ยิ่งกว่านั้นยังมีแรงงานอีกถึง 16 ล้านคนที่เรียกว่า “แรงงานนอกระบบ” รับจ้างอย่างไม่เป็นทางการหรือเป็นครั้งคราว ขณะนี้ยังไม่มีระบบใดๆ ปกป้องคุ้มครองแรงงานกลุ่มใหญ่นี้
ปัญหาในกลุ่มแรงงาน แรงงงานส่วนใหญ่เป็นผู้มีรายได้น้อย ต้องทำงานหนักเป็นระยะเวลาติดต่อกันวันละ 8 ชั่วโมง เป็นอย่างน้อย ต้องทำงานภายใต้เครื่องมือ เครื่องจักร และสิ่งแวดล้อม ที่อาจก่อให้เกิดความเครียดและอันตราย คนงานส่วนใหญ่มีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม ขาดการดูแลสุขภาพอนามัย
ภาระค่าใช้จ่ายเพื่อสุขภาพของคนไทยภาระค่าใช้จ่ายเพื่อสุขภาพของคนไทย ถึงเวลาเริ่มต้นแก้ไขอย่างจริงจังหรือยัง? คนไทยจ่ายเงินเพื่อสุขภาพ ปี 2537 เป็นเงิน 1.44 แสนล้านบาท ปี 2539 1.72 แสนล้านบาท ปี 2541 1.78 แสนล้านบาทปี 2542 2.8 แสนล้านบาท และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี เมื่อนำตัวเลขค่าใช้จ่ายเพื่อสุขภาพปี 2542 เปรียบเทียบกับงบประมาณแผ่นดินปีเดียวกัน 8.2 แสนล้านบาท เป็น 34.14% เป็นตัวเลขที่บ่งบอกได้ถึงปัญหาสุขภาพของสังคมไทยเป็นอย่างดี ข้อมูล......กระทรวงสาธารณสุข
จะทำอย่างไร ? คนทำงานเกิดความตระหนักในเรื่องสุขภาพมากขึ้น คนทำงานมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม มีการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการมีสุขภาพดี
แนวคิดของสถานที่ทำงานน่าอยู่ น่าทำงาน 1. พัฒนาสถานที่ทำงานด้วยกิจกรรม 5 ส 2. กระบวนการส่งเสริมสุขภาพคนทำงาน - การส่งเสริมสุขภาพ - การดำเนินงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย - การจัดทรัพยากรบุคคล การพัฒนาอย่างยั่งยืน ทั้งทางสังคมและสิ่งแวดล้อม 3. แนวคิดและกลยุทธ์เมืองน่าอยู่ • การมีส่วนร่วม • การพัฒนาเป็นขั้นตอนและต่อเนื่อง • การพึ่งตนเองและความยั่งยืน
หมายถึง สถานที่ทำงาน ที่มีการจัดสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการมีสุขภาพดี ของคนทำงานทุกคนไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการ ผู้ปฏิบัติงาน หรือผู้มารับบริการ รวมทั้งจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ ให้เกิดความสุขกาย สบายใจในที่ทำงาน
วัตถุประสงค์โครงการ : 1. เพื่อให้สถานที่ทำงานเห็นความสำคัญในการส่งเสริมสุขภาพคนทำงานโดยการกำหนดเป็นนโยบาย และการจัดสิ่งแวดล้อมที่ดี 2. เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมของคนทำงานทุกคน 3. เพื่อให้ผู้ประกอบการและผู้ปฏิบัติงานทุกคนเห็นความสำคัญของชุมชน โดยกระบวนการผลิตและกระบวนการทำงานไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของคนในชุมชน
เกิดความสัมพันธ์ที่ดีทุกระดับ ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของการพัฒนาองค์กร • เกิดประสิทธิภาพในการทำงาน ขวัญกำลังใจ เพิ่มผลผลิต • ลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลขององค์กร ซึ่ง นำกลับไปเป็นสวัสดิการให้แก่พนักงาน • ลดมลพิษที่เกิดจากกระบวนการทำงาน กระบวนการผลิต • เกิดภาพลักษณ์ที่ดีของสถานที่ทำงาน • เกิดความร่วมมือที่ดีและความสนับสนุนจากอง๕กรภายนอก • ประเทสชาติได้ประชากรและองค์กรที่มีคุณภาพ ลดภาระในการพึ่งพารัฐ ประโยชน์ของการดำเนินงาน
ปลอดภัย สะอาด สิ่งแวดล้อมดี มีชีวิตชีวา
ร่วมกันรักษาความสะอาดร่วมกันรักษาความสะอาด • ขยะไม่เกลื่อนกลาด สะอาดตา • จัดวางข้าวของเป็นระเบียบ • เก็บให้เรียนร้อยเป็นหมวดหมู่ • สิ่งของไม่จำเป็น ไม่เก็บ ไม่สะสม • ควบคุมสัตว์ แมลงนำโรค ให้หมดไป สะอาด
ปลอดภัย • ปฏิบัติตามกฎความปลอดภัย • ไม่ประมาทขณะทำงาน • ใช้เครื่องป้องกันอันตรายส่วนบุคคล • ดูแลเครื่องจักรให้อยู่ในสภาพดี • ระมัดระวังป้องกันอัคคีภัย • พื้นที่เป็นสัดส่วน แสงสว่างเพียงพอ • อากาศถ่ายเทสะดวก
สิ่งแวดล้อมดี • จัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม ไม่ส่งผลต่อชุมชนโดยรอบ • เสียงดังเป็นภัย ลดได้ถ้าป้องกัน • ควบคุมกลิ่น • ระมัดระวังการใช้สารพิษ • ลดมลพิษอากาศ • ขยะมากมาย แยกขายเป็นเงิน • น้ำเสียปลาตาย ทำให้ใสใช้ได้อีก
มีชีวิตชีวา • ส่งเสริมความรู้ ดูแลสุขภาพ • ออกกำลังกายวันละนิด จิตแจ่มใส • นันทนาการ สร้างความชื่นบานระหว่างพัก • อาหารดี มีครบทุกหมู่ • งดสารเสพติดให้โทษ • ใส่ใจสุขภาพ
กลุ่มเป้าหมาย 1. สถานประกอบกิจการ หรือสถานที่ทำงานที่มีผู้ปฏิบัติงานน้อยกว่า 10 คน 4 3 2. สถานประกอบกิจการ หรือสถานที่ทำงานที่มีผู้ปฏิบัติงาน ไม่น้อยกว่า 10 คน 1 2 3. วิสาหกิจชุมชน 4. อื่นๆ
ขั้นตอนการขอรับรอง ขั้นตอนที่ 1 สมัครเข้าร่วมโครงการที่เทศบาลหรือ อบต. หรือ สสอ. หรือ สสจ. ขั้นตอนที่ 2 ชี้แจง/ทำความเข้าใจขั้นตอนเกณฑ์การประเมิน แนวทาง พร้อมทั้งแจกคู่มือโครงการฯ ขั้นตอนที่ 3 เจ้าของหรือผู้แทนสถานประกอบกิจการ ทำการ ตรวจประเมินสถานที่ทำงาน ครั้งที่ 1 เพื่อเป็นข้อมูลค้นหาจุดบกพร่อง ปัญหา
ขั้นตอนที่ 4 นำจุดบกพร่องที่พบมาทำการวิเคราะห์หาสาเหตุ แนวทางแก้ไข และจัดทำแผนงาน แก้ไขปัญหา กำหนดผู้รับผิดชอบ ขั้นตอน ระยะเวลา ขั้นตอนที่ 5 ลงมือปฏิบัติ หากปัญหาที่พบเกินความสามารถ ให้ขอรับการสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอก ขั้นตอนที่ 6 ทบทวน ตรวจสอบ ขั้นตอนที่ 7 ตรวจประเมินตนเองครั้งที่ 2 เตรียมความพร้อม ขั้นตอนที่ 8 ติดต่อขอรับการตรวจรับรอง หากพบข้อบกพร่องให้แก้ไขตามเวลาที่กำหนด และ ตรวจประเมินอีกครั้ง ขั้นตอนที่ 9 ผ่านการประเมิน ได้ใบรับรองจากกรมอนามัย
. . .การประเมินผลคืออะไร. . .
การประเมินผล หมายถึง กระบวนการดำเนินงานอย่างเป็นระบบในการเก็บรวบรวมข้อมูลวิเคราะห์ข้อมูล โดยเปรียบเทียบผลที่ได้รับจากการดำเนินงานโครงการนั้นกับเกณฑ์หรือมาตรฐานที่ตั้งไว้ เพื่อตัดสินคุณค่าตลอดจนวินิจฉัยทางเลือกเพื่อปรับปรุงโครงการนั้นให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเพิ่มมากขึ้น เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ
การตรวจประเมิน • ครั้งที่ 1 เป็นการสำรวจข้อมูลพื้นฐาน เพื่อนำมาวางแผนปรับปรุงสถานที่ทำงาน/ สถานประกอบกิจการ • ครั้งที่ 2 เป็นการตรวจประเมินเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนขอรับการตรวจประเมินจากคณะกรรมการ (บุคคลภายนอก ) • ครั้งที่ 3 เป็นการตรวจประเมินจากคณะกรรมการ เพื่อขอรับการรับรองจากกรมอนามัย
การรับรอง ระดับพื้นฐาน ใบรับรองทองแดง ระดับดี ใบรับรองเงิน ระดับดีมาก ใบรับรองทอง
คณะกรรมการ 1. คณะกรรมการระดับเขต ศูนย์อนามัย 1.1 สายสิ่งแวดล้อม 1.2 สายส่งเสริมสุขภาพ
2. คณะกรรมการระดับจังหวัด2.1 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด 2.2 สำนักงานประกันสังคมจังหวัด2.3 สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด2.4 สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด2.5 พัฒนาชุมชน 2.6 เทศบาลเมือง/เทศบาลนคร2.7 โรงพยาบาลทั่วไป/โรงพยาบาลศูนย์2.8 โรงพยาบาลชุมชน (ฝ่ายสุขาภิบาลและป้องกันโรค) 2.9 สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ
3. คณะกรรมการระดับอำเภอ 3.1 สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ 3.2 โรงพยาบาลชุมชนและ 3.3 หน่วยงานอื่น
เป้าหมายการดำเนินงานในปีงบประมาณ ปี 2546 • รณรงค์ให้มีสถานที่ทำงานเข้าร่วมโครงการจำนวน อย่างน้อยศูนย์อนามัยละ 150 แห่ง • สถานที่ทำงานที่เข้าร่วมโครงการสามารถพัฒนา ตนเองจนผ่านการรับรองของกรมอนามัย อย่างน้อยร้อยละ 20 ( 30 แห่ง)
กราฟแสดงผลการประเมินสถานที่ทำงานกราฟแสดงผลการประเมินสถานที่ทำงาน จำนวน (แห่ง)
กราฟแสดงผลการประเมินสถานที่ทำงานกราฟแสดงผลการประเมินสถานที่ทำงาน จำนวนเหรียญ
เป้าหมายการดำเนินงานในปีงบประมาณ ปี 2547 • รณรงค์ให้มีสถานที่ทำงานเข้าร่วมโครงการจำนวน อย่างน้อยศูนย์อนามัยละ 250 แห่ง • สถานที่ทำงานที่เข้าร่วมโครงการสามารถพัฒนา ตนเองจนผ่านการรับรองของกรมอนามัย อย่างน้อยร้อยละ 30 ( 75 แห่ง)
อุปสรรคขั้นต้นของการส่งเสริมสุขภาพในสถานประกอบการคือ ความเข้าใจผิดๆ ที่ต้องแก้ไข คือ คนทำงาน สุขภาพดีไม่ใช่อยู่ที่โรงพยาบาล แต่อยู่ที่ตัวคุณเองที่พร้อมที่จะเปลี่ยนพฤติกรรมที่ ไม่ดีในชีวิตประจำวัน เช่น การกิน การดื่ม การเสพ ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพ มีการพักผ่อนที่พอเพียง มีการออกกำลังกายสม่ำเสมอ สิ่งเหล่านี้สามารถสร้างควบคุมได้ด้วยตัวคุณเอง สถานประกอบการ การสร้างเสริมสุขภาพไม่ใช่การสิ้นเปลืองแต่คุณภาพสินค้าจะดีขึ้นในปริมาณที่มากขึ้น รายได้จะเพิ่มขึ้นทั้งสถานประกอบการและลูกจ้าง แรงงานสัมพันธ์จะดีขึ้น ภาพลักษณ์บริษัทดีขึ้นเหนือสิ่งอื่นใด เป็นคุณค่าทางจิตใจที่ประมาณค่ามิได้ ภาครัฐ กฎหมายไม่ใช่สูตรของความสำเร็จเสมอไป แต่การสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องหรือ การคิดถูก ทำถูกต่างหาก เป็นทิศทางที่ถูกต้อง
ปัจจัยสู่ความสำเร็จ • นโยบายสุขภาพขององค์กร ต้องอาศัยการบริหารจัดการที่เหมาะสม การสนับสนุนขององค์กร และการมีส่วนร่วมของพนักงานทุกคน • สิ่งแวดล้อมทางกายภาพที่เอื้อต่อการมีสุขภาพดี เช่น อาคารสถานที่ อุปกรณ์เครื่องมือ เสียง แสง อุณหภูมิ • สิ่งแวดล้อมทางสังคม ความสัมพันธ์ • การส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพ กาย ใจ สารเสพติด อาหาร ออกกำลังกาย • กลุ่มแกนนำที่เข้มแข็งนำไปสู่ความสำเร็จและยั่งยืน • การจัดบริการสุขภาพที่ตรงปัญหา การพัฒนาขีดความสามารถของทีมสุขภาพ บริการสุขภาพเชิงรุก และแนวใหม่ • ความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชน มีกิจกรรมร่วม ไม่ก่อเหตุเดือดร้อนรำคาญ
ข้อแนะนำ • กำหนดนโยบายส่งเสริมสุขภาพผนวกเข้ากับนโยบายสุขภาพและความปลอดภัย และติดประกาศให้ทุกคนทราบ • กำหนดกฎระเบียบที่เอื้อต่อสุขภาพและความปลอดภัย • ส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วม และสนับสนุนกลุ่ม กิจกรรมต่างๆ • ร่วมกันพัฒนาสิ่งแวดล้อมทั้งกายภาพและสังคม รวมทั้งควบคุมมลพิษไม่ให้ส่งผลกระทบต่อชุมชน • จัดกิจกรรม โครงการ ตามความต้องการ อาหารเพื่อสุขภาพ ออกำลังกาย • ประสานกับหน่วยงานอื่น