270 likes | 700 Views
รายงาน เรื่อง การจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อหุ่นมือ ( Hand Puppet). เสนอ อาจารย์ สุวิสาข์ เหล่าเกิด จัดทำโดย นางสาวปราณี ศรีบุญเรือง เลขที่ 4 นางสาว พรสวรรค์ พิละมาตย์ เลขที่ 27 สาขาการศึกษาปฐมวัย ปี 3 ห้อง 3 มหาวิทยาลัยนครพนม.
E N D
รายงาน เรื่อง การจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อหุ่นมือ (Hand Puppet)
เสนอ อาจารย์ สุวิสาข์ เหล่าเกิด จัดทำโดย นางสาวปราณี ศรีบุญเรือง เลขที่ 4 นางสาว พรสวรรค์ พิละมาตย์ เลขที่ 27 สาขาการศึกษาปฐมวัย ปี 3 ห้อง 3 มหาวิทยาลัยนครพนม
การจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อหุ่นมือ (Hand Puppet) ความหมาย ศรินทิพย์ รักษาสัตย์ (2528)ได้ให้ความหมายไว้ว่า หุ่น เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นให้สามารถเคลื่อนไหวเพื่อสื่อความหมายกับผู้อื่น ใช้เป็นสื่อในการถ่ายทอดอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิด หุ่นไม่จำเป็นต้องเหมือนของจริงแต่คงไว้ในลักษณะที่เด่นชัดสามารถสื่อความหมายได้ดีทั้งสีหน้าและท่าทาง
ลัดดา เชียงนางาม (2537) ได้ให้ความหมายของหุ่นว่า หมายถึง รูปตุ๊กตาหรือรูปจำลองทุกประเภทที่สามารถเคลื่อนไหวไปมาด้วยการกระทำของมนุษย์ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อการแสดงละคร หรือเป็นมหรศพสำหรับให้ความบันเทิง หรือเพื่อการศึกษา ดั้งนั้นหุ่น จึงเป็นรูปจำลองหรือเลียนแบบจากของจริง ไม่ว่าจะเป็นคน หรือสัตว์ สิ่งต่าง ๆ สามารถเคลื่อนไหว และสื่อถึงบุคคลให้เข้าใจความหมายที่สื่อได้
ทฤษฎี/แนวคิด ทฤษฎีการเรียนรู้และหลักการเรียนรู้โดยใช้หุ่นมือ การสอนโดยใช้หุ่นมือ มีทฤษฎีการเรียนรู้และหลักการเรียนรู้ดังต่อไปนี้ 1.ทฤษฎีการเรียนรู้ของ Tolma สรุปได้ดังนี้พฤติกรรมที่ตอบสนอง ส่งผลให้ผู้เรียนมีการเลือกพฤติกรรมตอบสนองพร้อมทั้งมีตัวแปรอื่น ๆ ได้แก่ ความคิด ความเข้าใจ เป็นต้น
1.2 ผู้เรียนมีความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้ากับสิ่งเร้าเข้าด้วยกัน มากกว่าสิ่งเร้ากับการตอบสนอง สิ่งเร้ามีความสำคัญและมีความหมายอยู่ก่อนจึงจะทำให้ผู้เรียนเกิดความรู้เชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าได้
2.ทฤษฎีการเรียนรู้ของ Hilgard และ Bower สรุปได้ดังนี้ 2.1 ผู้เรียนต้องเป็นผู้กระทำมากกว่าการเป็นผู้ฟัง เพราะต้องมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งเร้าถือว่าการเรียนรู้เกิดขึ้นโดยการปฏิบัติ 2.2 ความถี่ของการกระทำเป็นสิ่งสำคัญในการเรียนรู้ทางทักษะ เช่น การเรียนภาษา ดนตรี กีฬา จะไม่สามารถเรียนได้ผลดีถ้าไม่มีการปฏิบัติ
3. การเรียนรู้ในสิ่งที่เหมือนกันและความแตกต่างกัน เป็นสิ่งสำคัญที่ได้จากการฝึกหัดและทำให้เกิดการเรียนรู้นั้นอยู่ได้นาน 4. พฤติกรรมใหม่ ๆ เกิดขึ้นได้จากการเรียนแบบหรือการหลอมขึ้นใหม่จากการวางเงื่อนไข
3. ทฤษฎีการเรียนรู้ของ Thorndike สรุปได้ดังนี้ 3.1 กฎแห่งความพร้อม (Law of readiness) กล่าวถึงความพร้อมของผู้เรียนทั้งร่างกายและจิตใจ - ทางร่างกาย หมายถึงความพร้อมทางวุฒิภาวะและ อวัยวะของร่างกาย เช่น หูและตา - ทางจิตใจ หมายถึงความพร้อมที่เกิดจากความพึงพอใจ เป็นสำคัญ คือถ้าเกิดความพึงพอใจจะนำไปสู่การ เรียนรู้ ถ้าเกิดความไม่พึงพอใจจะทำให้การเรียนรู้ หยุดชะงักได้
3.2 กฎแห่งการฝึกหัด(Law of exercise) กล่าวถึงความมั่นคงของการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองที่ถูกต้อง โดยการฝึกหัดทำซ้ำบ่อย ๆ ย่อมทำให้เกิดการเรียนรู้ได้นานและคงทนถาวร 3.3 กฎแห่งผล (Law of effect) กล่าวถึงผลที่ได้รับเมื่อแสดงพฤติกรรมการเรียนรู้แล้วว่าถ้าได้รับผลที่พอใจอินทรีก็อยากจะเรียนรู้อีกต่อไป แต่ถ้าได้รับผลที่ไม่พึงพอใจอินทรีย์ก็ไม่อยากเรียนรู้หรือเกิดความเบื่อหน่ายต่อการเรียนรู้ได้
ประเภทของสื่อหุ่นมือ 1. หุ่นนิ้วมือ เหมาะสำหรับประดิษฐ์เป็นชุดหุ่นเล่านิทาน ใช้กับกลุ่มเด็กเล็ก โดยเมื่อกล่าวถึงหุ่นตัวใดก็ใส่เพิ่มทีละนิ้ว ใช้แสดงหรือเล่านิทานที่มีตัวละครพร้อมกันจำนวนมาก
2. หุ่นถุงกระดาษ เป็นหุ่นทำง่าย ประหยัดเวลา โดยพับกระดาษเป็นถุงก้นกว้างและตัดกระดาษแข็งเป็นรูปหน้า ตกแต่งด้วยกระดาษสีต่าง ๆ โดยแบ่งช่วงหน้าเป็น 2 ส่วน ส่วนบนตั้งแต่หัวถึงริมฝีปาก ส่วนล่างตั้งแต่ริมฝีปากถึงคาง เมื่อแสดงให้สอดมือไปตรงรอยพับก้นถุง เคลื่อนนิ้วไปมาทำให้หุ่นพูดได้ใช้สำหรับการสอนทักษะการพูด การเล่าเรื่อง หรือการแสดงละคร
3. หุ่นถุงมือและหุ่นนิ้วจากถุงมือ การเชิดใส่นิ้วมือในถุงมือ ล้วงงอนิ้วมือ กล่าวคือ ตัวหุ่นตัวไหนก็ชี้นิ้วนั้นขึ้นมาทีละตัว ใช้กับการสอนกลุ่มเล็กระยะใกล้ 4. หุ่นเชิดมือจากถุงเท้า หุ่นเชิดมือชนิดนี้หัวหุ่นทำจากรองเท้าตัวหุ่นเย็บเป็นเสื้อต่อกับมือหุ่น การเชิดใช้นิ้วทุกนิ้วโดยไม่ต้องงอนิ้วใด ๆ จะทำให้ไม่เมื่อยหรือเก็งในมือขณะเชิด โดยใช้นิ้วชี้สอดที่หัวหุ่นนิ้วก้อย นิ้วนาง นิ้วกลาง สอดมือหุ่นด้านหนึ่งและนิ้วหัวแม่มืออีกด้านหนึ่ง
5. หุ่นเชิดมือจากผ้าชนิดต่าง ๆ หุ่นเชิดมือชนิดนี้ตัวหัวจะใช้ผ้ายืด ส่วนตัวเย็บผ้าเป็นเสื้อต่อมือที่แขนเสื้อนำไปสอดในคอหุ่น เย็บขาหุ่นสองข้างและเย็บบนติดกับเอวเสื้อด้านใน ขณะแสดงการเชิดก็ทำให้หุ่นห้อยขาเป็นท่านั่งหรือลอยให้รองเท้าติดขอบเวที ทำให้หุ่นสวยงามน่าสนใจมากยิ่งขึ้น
ประโยชน์ของสื่อหุ่นมือประโยชน์ของสื่อหุ่นมือ 1. เป็นสื่อการเรียนการสอน ในวิชาต่างๆ ช่วยให้เด็กมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนสามารถจดจำเนื้อหาและแนวคิดได้อย่างแม่นยำขึ้น 2. เป็นเนื้อหาวิชาในหลักสูตรกลุ่มสร้างเสริมลักษณะนิสัยที่สอนทำหุ่น โดยเน้นที่การแสดงออกทางความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ 3. เป็นสื่อการเผยแพร่ความรู้นอกระบบ เช่น การเผยแพร่ความรู้เรื่องประชาธิปไตย การรณรงค์ของกระทรวงสาธารณสุข เป็นต้น
4. ช่วยปรับพฤติกรรมที่เป็นปัญหา เช่น เด็กขี้อาย พูดติดอ่าง ก้าวร้าว มีปัญหาในการออกเสียง การให้เด็กสื่อผ่านหุ่นช่วยให้เด็กมีความกล้า และเชื่อมั่นยิ่งขึ้น 5. ช่วยให้เกิดการเรียนรู้ในด้านสังคม การอยู่ร่วมกัน การทำงานร่วมกับผู้อื่น เพราะการแสดงหุ่นจะต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายฝ่าย มีการติดต่อประสานงาน ฝึกความรับผิดชอบในหน้าที่ต่าง ๆ เรียนรู้การรับฟังและเสนอความคิดเห็นของตนเองรวมทั้งรู้และยอมรับในความสามารถของตนเองและผู้อื่น
แนวทางการจัดการเรียนรู้แนวทางการจัดการเรียนรู้ ขั้นตอนการสอนโดยใช้หุ่นมือ 1. ขั้นนำ เป็นขั้นที่ผู้สอนได้ทบทวนความรู้เดิมของผู้เรียนเชื่อมโยงกับเนื้อหาที่สอนในบทเรียน กระตุ้นจูงใจให้ผู้เรียนอยากมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน เช่น การเล่นเกม กระตุ้นให้นักเรียนอยากหาคำตอบ
2. ขั้นสอน ในขั้นตอนนี้ใช้หุ้นมือในการจัดการเรียนการสอน มีขั้นตอนดังนี้ 2.1 ขั้นเสนอเนื้อหา (Presentation) ขั้นนี้ครูเสนอเนื้อหา โดยให้นักเรียนได้ฟังและดูหุ่นมือ โดยครูเป็นคนจัดแสดงเพื่อเสนอเนื้อหาที่จะเรียน เช่น การนำเสนอคำศัพท์ใหม่ ประโยคบทสนทนา เพลง เพื่อเป็นการใช้หุ่นมือกระตุ้นดึงดูดความสนใจผู้เรียน ให้อยากเรียนรู้ และเกิดมโนมติในสิ่งที่หุ่นมือเสนอ และมีการสรุปเนื้อหาโครงสร้างของสิ่งที่เรียนให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจในสิ่งที่นำเสนอ
2.2 ขั้นฝึกปฏิบัติ (Practice) ขั้นนี้ให้นักเรียนแต่ละคนได้ใช้หุ่นมือฝึกปฏิบัติจากสิ่งที่นักเรียนในขั้นนำเสนอเนื้อหา เช่น การฝึกบทสนทนาโต้ตอบ โดยการฝึกนั้นนักเรียนจะมีการจับคู่เข้ากลุ่ม การฝึกขั้นนี้จะเป็นการฝึกแบบควบคุม นักเรียนจะฝึกจนสมารถจดจำ และให้รูปแบบภาษานั้นได้โดยใช้หลักในการฝึกตามรูปแบบของภาษา
2.3 ขั้นนำภาษาไปใช้เพื่อการสื่อสาร (Production) เป็นขั้นที่นักเรียนได้นำเนื้อหาไปทำกิจกรรม เช่น การผลัดเปลี่ยนกันสนทนาในกลุ่ม การทำงานตามที่ได้รับมอบหมาย เช่น การให้นักเรียนฝึกถามตอบเกี่ยวกับจำนวนของที่อยู่ในห้องเรียน การถามจำนวนสิ่งของของเพื่อนๆ โดยนักเรียนมีการฝึกที่มีความหมาย
3. ขั้นสรุป เป็นขั้นที่ผู้สอนให้นักเรียนสรุปสิ่งที่เรียนไปแล้วจากการนำเสนอเนื้อหาของหุ่นมือ ซึ่งนักเรียนจะต้องสรุปสิ่งที่เรียนไปแล้วเพื่อให้เกิดมโนมติที่เรียนด้วยตัวของนักเรียนเอง 4.ขั้นวัดและประเมินผล ในขั้นนี้ผู้สอนต้องใช้การประเมินเนื้อหา และกิจกรรมที่นักเรียนได้เรียน เช่น การสังเกตการณ์ร่วมกิจกรรม การฝึกสนทนาถามตอบ รวมทั้งการให้นักเรียนได้ทำแบบฝึกหัด
คำถาม 1. “หุ่น เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น ใช้เป็นสื่อในการถ่ายทอดอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิด” จากข้อความดังกล่าวใครเป็นผู้ให้ความหมาย (ก) พวงเพชร มงคลวิทย์ (ข) ศรินทิพธ์ รักษาสัตย์ (ค) ลัดดา เชียงนางาม (ง) อาทิตย์ โคตรศรีวงศ์
2. ประเภทของสื่อหุ่นมือ มีกี่ประเภท (ก) 3 (ข) 4 (ค) 5 (ง) 6 3. หุ่นประเภทไหนเหมาะสำหรับประดิษฐ์เป็นชุดหุ่นเล่านิทาน ใช้กับกลุ่มเด็กเล็ก (ก) หุ่นนิ้วมือ (ข) หุ่นถุงกระดาษ (ค) หุ่นเชิดมือจากถุงเท้า (ง) หุ่นเชิดมือจากผ้าชนิดต่าง ๆ
4. หุ่นประเภทไหนใช้สำหรับการสอนทักษะการพูด การเล่าเรื่อง หรือการแสดงละคร (ก) หุ่นนิ้วมือ (ข) หุ่นถุงกระดาษ (ค) หุ่นเชิดมือจากถุงเท้า (ง) หุ่นถุงมือและหุ่นนิ้วจากถุงมือ
5. ประโยขน์ของสื่อหุ่นมือช่วยปรับพฤติกรรมที่เป็นปัญหาของเด็กกลุ่มใด (ก) เด็กที่มีปัญหาในการฟัง (ข) ออทิสติก (ค) เด็กติดนิ้ว (ง) เด็กขี้อาย