1.37k likes | 1.87k Views
พยานเอกสาร : ความหมาย document evidence. 13. 13.1 ความหมายของพยานเอกสาร. พยานเอกสาร หมายถึง พยานหลักฐานที่มีการบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร หรือ ด้วยรูปรอยใดๆ อันเป็นการสื่อความหมายในภาษาใดภาษาหนึ่ง พยานเอกสารจะต้องมีวัตถุรองรับ เช่น กระดาษ ผ้า หนังสือ แผ่นศิลา
E N D
พยานเอกสาร: ความหมายdocument evidence 13
13.1 ความหมายของพยานเอกสาร พยานเอกสารหมายถึงพยานหลักฐานที่มีการบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษรหรือด้วยรูปรอยใดๆอันเป็นการสื่อความหมายในภาษาใดภาษาหนึ่ง พยานเอกสารจะต้องมีวัตถุรองรับเช่นกระดาษผ้าหนังสือแผ่นศิลา รูปรอยภาษาหนังสือที่ไม่มีสื่อรองรับเช่นเครื่องบินพ่นควันเป็นตัวหนังสือแล้วหายไป ไม่เป็นเอกสาร
ข้อมูลสื่ออิเล็กทรอนิกส์ไม่ใช่พยานเอกสารตามความหมายของกฎหมายไทยข้อมูลสื่ออิเล็กทรอนิกส์ไม่ใช่พยานเอกสารตามความหมายของกฎหมายไทย ข้อมูลสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ถ้าพิจารณาตามความหมายแล้วไม่ใช่พยานเอกสาร แต่พ.ร.บ.ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์บอกว่า “ไม่ให้ปฏิเสธไม่รับฟังเพียงเพราะว่าสิ่งนั้นเป็นข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์...” อย่างไรก็ดีกฎหมายไทยยังไม่ได้กำหนดวิธีการนำสืบให้ชัดเจน ซึ่งควรจะมีการแก้ไขกฎหมายในเรื่องนี้ด้วย
เอกสารอาจเป็นได้ทั้งพยานเอกสารหรือ พยานวัตถุ ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการนำสืบ ถ้านำสืบข้อความที่บันทึกไว้ในเอกสาร จึงจะถือว่าเป็นการนำสืบพยานเอกสารซึ่งต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ว่าด้วยการนำสืบพยานเอกสาร
ข้อสังเกตเกี่ยวกับพยานเอกสารข้อสังเกตเกี่ยวกับพยานเอกสาร (1) ภาพถ่าย / ภาพวาดเขียนแม้จะปรากฏเป็นรูปและสามารถแสดงว่าสิ่งที่เห็นในภาพคืออะไรแต่ก็มิใช่การสื่อความหมายในภาษาดังนั้นจึงไม่ใช่พยานเอกสารตามความหมายข้างต้น (ฎ.840/2499, ฎ.2235/2515, ฎ.147/2518)
(2) ตามป.วิ.พ. มาตรา 46 ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจสั่งให้คู่ความทำคำแปลต้นฉบับเอกสารที่เป็นภาษาต่างประเทศได้ดังนั้นจึงอาจส่งคำแปลภายหลังได้ไม่ถือว่าคำแปลดังกล่าวเป็นพยานเอกสาร (หมายเหตุ คำแปลไม่ใช่พยานหลักฐาน แต่สิ่งที่เป็นพยานหลักฐานคือเอกสารต้นฉบับที่เป็นภาษาต่างประเทศนั้น) (ฎ.1934/2521) เว้นแต่ จะอ้างส่งเอกสารคำแปลนั้นโดยตรง เพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคำแปลนั้นเช่น คำแปลนั้นถูกต้องหรือไม่ หรือ ใครเป็นผู้ทำคำแปล
13.2 หลักเกณฑ์การอ้างเอกสารเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่ง
การอ้างเอกสารเป็นพยานในคดีแพ่งมีหลักเกณฑ์ที่ต้องปฏิบัติ 2 หลักคือ 13.2.1 การอ้างเอกสารเป็นพยานต้องส่งสำเนา (ป.วิ.พ. มาตรา 90) 13.2.2 การอ้างเอกสารเป็นพยานต้องส่งต้นฉบับ (ป.วิ.พ.มาตรา 93)
13.2.1 การอ้างเอกสารเป็นพยานต้องส่งสำเนา(ป.วิ.พ. มาตรา 90) (1) เหตุผล (2) ความหมายของสำเนาเอกสาร (3) สำเนา VS. คู่ฉบับ (4) หลักเกณฑ์การส่งสำเนาเอกสาร (ป.วิ.พมาตรา 90) (5) ข้อยกเว้นที่ไม่ต้องส่งสำเนาเอกสาร(ป.วิ.พมาตรา 90 (1)(2)(3)) (6) ผลของการไม่ส่งสำเนาเอกสาร (7) การส่งสำเนาเอกสารตาม ป.วิ.พมาตรา 90 ไม่นำไปใช้ในคดีอาญา (8) การส่งสำเนาเอกสารในคดีอาญา
(1) เหตุผลของการส่งสำเนาเอกสาร เพื่อตรวจสอบความถูกต้องแท้จริงของพยานเอกสาร การนำสืบพยานเอกสารหมายถึงการนำสืบข้อความที่มีการบันทึกไว้ในเอกสาร ดังนั้นจึงจำเป็นต้องให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งได้รู้ว่าเอกสารนั้นมีข้อความอย่างไร นอกจากนั้นการส่งสำเนาเอกสารยังเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการคัดค้านเอกสารตามป.วิ.พ. มาตรา 122 – 126 อีกด้วย
(2) ความหมายของสำเนาเอกสาร ได้แก่สิ่งที่คัดมาจากต้นฉบับด้วยวิธีการต่างๆเช่นพิมพ์ดีด, เขียน, ถ่ายเอกสาร ฎ.2158/2534ป.วิ.พมาตรา 90 วรรคแรกมิได้บังคับว่าสำเนาเอกสารที่ส่งให้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งจะต้องเป็นเอกสารที่ถ่ายจากต้นฉบับสำเนาเอกสารที่ทนายโจทก์พิมพ์ข้อความลงในแบบพิมพ์สัญญากู้ซึ่งเป็นแบบพิมพ์อย่างเดียวกับต้นฉบับสัญญากู้และมีข้อความเช่นเดียวกันโดยทนายโจทก์ลงชื่อรับรองสำเนาถูกต้องถือเป็นสำเนาเอกสารตามบทกฎหมายดังกล่าวแล้ว
(3) สำเนา VS. คู่ฉบับ สำเนาสิ่งที่คัดมาจากต้นฉบับ คู่ฉบับเอกสารที่จัดทำต้นฉบับไว้หลายฉบับ ด้วยกัน เช่นสัญญากู้ยืมที่ทำไว้ 2 ฉบับคู่สัญญาลงชื่อทั้ง 2 ฉบับและถือไว้คนละฉบับจึงถือว่าเป็นต้นฉบับทั้งคู่(ฎ.4529/2541)
ฎ. 4529/2541การที่โจทก์จำเลยทำเอกสารโดยใช้กระดาษคาร์บอนคั่นกลางเมื่อเขียนและลงชื่อแล้วจึงมอบฉบับล่างให้โจทก์โดยคู่กรณีถือว่าฉบับล่างเป็นหนังสือสัญญาเช่นเดียวกับฉบับบนสำหรับฉบับบนจำเลยเก็บไว้การทำเอกสารในลักษณะเช่นนี้เห็นเจตนาของคู่สัญญาได้ว่าประสงค์ให้ถือเอาเอกสารฉบับล่างเป็นคู่ฉบับของเอกสารฉบับบนโดยไม่ถือว่าเอกสารฉบับล่างเป็นสำเนาเพราะมิใช่ข้อความที่คัดลอกหรือถ่ายเอกสารมาจากต้นฉบับแต่ได้ทำขึ้นพร้อมกับฉบับบนหรือต้นฉบับเพื่อใช้เป็นหนังสือสัญญา 2 ฉบับมีผลเท่ากับเป็นต้นฉบับด้วยจึงไม่ต้องห้ามมิให้ศาลรับฟังเอกสารที่โจทก์อ้างเป็นพยานหลักฐานดังกล่าว
(4) หลักเกณฑ์การส่งสำเนาเอกสาร(ป.วิ.พมาตรา 90) (ก) การส่งสำเนาเอกสาร คู่ความฝ่ายที่อ้างเอกสารเป็นพยานต้อง… ยื่นต่อศาล ส่งให้คู่ความฝ่ายอื่น “วันสืบพยาน” มีความหมายเดียวกับวันสืบพยานตามมาตรา 88 คือวันที่มีการสืบพยานจริงๆ ถ้ามีการนัดสืบพยานแต่มีการเลื่อนออกไป ก็ไม่ใช่วันสืบพยานตามมาตรานี้ ก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 7 วัน
(ข) กรณีที่มีการอ้างเอกสารเป็นพยานหลักฐานเพิ่มเติม (ไม่ว่าจะตามป.วิ.พมาตรา 88 วรรคสอง / วรรคสาม) คู่ความฝ่ายที่อ้างเอกสารเป็นพยานต้อง… • ยื่นต่อศาล ส่งให้คู่ความฝ่ายอื่น ยื่นพร้อมคำแถลง/คำร้อง
(ค) การส่งสำเนาเอกสารกรณีขอต้นฉบับคืน (ป.วิ.พมาตรา 127 ทวิ) กรณีเป็นเอกสารที่ต้องใช้เป็นประจำหรือมีความสำคัญในการเก็บรักษา ศาลจะอนุญาตให้ผู้ที่ยื่นรับคืนไปโดยให้คู่ความตรวจและให้ผู้ยื่นส่งสำเนาหรือภาพถ่ายไว้แทน
(ง) การติดตามเอกสารที่อยู่ในความครอบครองของคู่ความฝ่ายอื่น / บุคคลภายนอก ให้คู่ความฝ่ายที่ต้องการจะอ้างเอกสารนั้น ยื่นคำร้องต่อศาลตามกำหนดเวลาเดียวกับข้อและมีหน้าที่ติดตามเพื่อให้ได้เอกสารมาภายในกำหนดเวลาที่ศาลกำหนด (ประกอบป.วิ.พมาตรา 123)
(5) ข้อยกเว้นที่ไม่ต้องส่งสำเนาเอกสาร(ป.วิ.พมาตรา 90 (1)(2)(3)) 1.ยื่นคำขอฝ่ายเดียวโดยทำเป็นคำร้องต่อศาล 2. ขออนุญาต งด การยื่นสำเนา + ขอยื่นต้นฉบับแทนตามเงื่อนไขที่ศาลเห็นสมควร (1) การอ้างเอกสารเป็นชุด วิธีการ (3) การคัดสำเนาจะทำให้ล่าช้า/ไม่อาจคัดสำเนาให้เสร็จทัน
(2) เอกสารอยู่ในความครอบครองของคู่ความ / บุคคลภายนอก 1. ยื่นคำร้องภายในกำหนด 2. ขอให้ศาลมีคำสั่งเรียกเอกสารตามมาตรา 123 3. ติดตามเพื่อให้ได้เอกสารภายในเวลาที่ศาลกำหนด วิธีการ
เอกสารตามป.วิ.พ. มาตรา 90 (1) เช่นจดหมายโต้ตอบระหว่างคู่ความในคดีหรือ เอกสารสำนวนในคดีเรื่องอื่น(ฎ.149/2522) เอกสารตามป.วิ.พ. มาตรา 90 (2) เช่นรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดี(ฎ.1007/2537)
ข้อสังเกต (1) ในทางปฏิบัติทนายความมักรวบรวมพยานเอกสารที่จำเป็นต้องใช้อ้างอิงโดยแนบสำเนาเอกสารมาพร้อมกับสำเนาคำฟ้องหรือคำให้การซึ่งมีผลให้ไม่จำต้องส่งสำเนาอีกครั้งเพราะถือว่าคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งได้รับสำเนาแล้ว(ฎ.504/2509 และฎ.1572/2487) (2) เอกสารที่เป็นส่วนหนึ่งของคำคู่ความเช่นใบมอบอำนาจให้ฟ้องคดีเป็นเพียงเอกสารซึ่งผู้รับมอบอำนาจแสดงต่อศาลว่ามีอำนาจฟ้องเท่านั้นไม่ใช่การอ้างเอกสารเป็นพยานหลักฐานที่จะอยู่ในบังคับมาตรา 90 (ฎ.1129/2499)
(3) การส่งสำเนาเอกสารใช้บังคับเฉพาะในการสืบพยานหลักฐานอันเป็นประเด็นหลักแห่งคดีที่พิพาทเท่านั้น ดังนั้นในการไต่สวนคำร้องที่ไม่เกี่ยวกับประเด็นแห่งคดีที่พิพาท(สาขาของคดี) ก็ไม่จำต้องส่งสำเนาเอกสาร(ฎ.4276/2532) เช่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่คำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา หรือเอกสารที่คู่ความส่งอ้างเพื่อพิสูจน์ต่อพยานด้วยตามมาตรา 89 และมาตรา 120 (ฎ. 3470/2538)
ฎ.8910/2543คดีมโนสาเร่ซึ่งจำเลยต้องให้การแก้ข้อหาและนัดสืบพยานในวันเดียวกันจำเลยจึงมีสิทธิยื่นคำให้การและยื่นบัญชีระบุพยานและสืบพยานจำเลยพร้อมทั้งอ้างส่งเอกสารได้เพราะไม่อาจส่งล่วงหน้าตามกำหนดเวลาในมาตรา 90 ได้ศาลรับฟังพยานเอกสารนั้นได้ หมายเหตุแต่ฝ่ายโจทก์จะต้องปฏิบัติตามมาตรา 88 และต้องส่งสำเนาเอกสารให้แก่จำเลยตามมาตรา 90 ด้วย
(4) ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานที่ยื่นต่อศาลโดยไม่ได้ส่งสำเนาได้ตามป.วิ.พ. มาตรา 87(2) เมื่อเห็นว่าเอกสารนั้นเกี่ยวกับประเด็นสำคัญและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม เช่น - เป็นเอกสารที่คู่ความอีกฝ่ายรับรองเอกสารนั้นแล้ว(ฎ.1148/2501) - เมื่อเอกสารนั้นเป็นพยานสำคัญและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม(ฎ.3012/2516,ฎ.2058/2520, ฎ.2936/2524, ฎ.1964/2529, ฎ. 2295/2543 เป็นต้น)
- คู่ความอีกฝ่ายได้มีโอกาสตรวจสอบเอกสารแล้ว (ฎ.2956/2525) - จำเลยยอมรับข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในเอกสารแล้ว (ฎ.1197/2530) ฎ.1175–1178/2545เอกสารที่จำเลยยื่นส่งต่อศาลเพื่อประกอบการแถลงรับข้อเท็จจริงตามเอกสารและศาลได้บันทึกไว้ในรายงานกระบวนพิจารณานั้นมิใช่เอกสารที่จำเลยอ้างประกอบการสืบพยานของจำเลยจึงไม่อยู่ภายใต้บังคับป.วิ.พ. มาตรา 90
(6) ผลของการไม่ส่งสำเนาเอกสาร • ผลตามกฎหมาย ตามป.วิ.พ. มาตรา 87 เทียบเท่าการไม่ยื่นบัญชีระบุพยานตามป.วิ.พ. มาตรา 88 คือต้องห้ามมิให้รับฟัง • ผลในทางปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลฎีกา ศาลมักใช้ดุลพินิจผ่านป.วิ.พ. มาตรา 87 (2)
เช่นวินิจฉัยว่าการไม่ส่งสำเนาเอกสารเป็นเพียงการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบตามป.วิ.พ. มาตรา 27คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งต้องคัดค้านภายใน 8 วันนับแต่วันที่มีการส่งเอกสารต่อศาลมิฉะนั้นจะยกขึ้นโต้แย้งในชั้นอุทธรณ์ / ฎีกาไม่ได้(ฎ.3055/2526, ฎ.6108/2531) อย่างไรก็ดีแม้ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจรับฟังพยานเอกสารซึ่งนำเสนอโดยผิดระเบียบก็ถือว่าศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจรับฟังพยานเอกสารนั้นไว้แล้วตามป.วิ.พ. มาตรา 87(2) (ฎ.6108/2531)
13.2.2 การอ้างเอกสารเป็นพยานต้องส่งต้นฉบับ(ป.วิ.พ.มาตรา 93) หลักการ ได้รับอิทธิพลมาจากหลักกฎหมาย Common Law เรื่อง“The Best Evidence Rule” เหตุผล การตรวจสอบความถูกต้องแท้จริงของเอกสารนั้นทำได้โดยการตรวจต้นฉบับ ความหมายของ“ต้นฉบับเอกสาร” เทียบฎ.4529/2541
ป.วิ.พ.มาตรา 93 ที่แก้ไขใหม่บัญญัติว่า “การอ้างเอกสารเป็นพยานหลักฐานให้ยอมรับฟังได้เฉพาะต้นฉบับเอกสารเท่านั้น เว้นแต่ (1) เมื่อคู่ความที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายตกลงกันว่าสำเนาเอกสารนั้นถูกต้องแล้วให้ศาลยอมรับฟังสำเนาเช่นว่านั้นเป็นพยานหลักฐาน (2) ถ้าต้นฉบับเอกสารนำมาไม่ได้ เพราะถูกทำลายโดยเหตุสุดวิสัย หรือสูญหาย หรือไม่สามารถนำมาได้โดยประการอื่น อันมิใช่เกิดจากพฤติการณ์ที่ผู้อ้างต้องรับผิดชอบ หรือเมื่อศาลเห็นว่าเป็นกรณีจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมที่จะต้องสืบสำเนาเอกสารหรือพยานบุคคลแทนต้นฉบับเอกสารที่นำมาไม่ได้นั้น ศาลจะอนุญาตให้นำสำเนาหรือพยานบุคคลมาสืบก็ได้
(3) ต้นฉบับเอกสารที่อยู่ในความอารักขาหรือในความควบคุมของทางราชการนั้นจะนำมาแสดงได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากทางราชการที่เกี่ยวข้องเสียก่อน อนึ่ง สำเนาเอกสารซึ่งผู้มีอำนาจหน้าที่ได้รับรองว่าถูกต้องแล้ว ให้ถือว่าเป็นอันเพียงพอในการที่จะนำมาแสดง เว้นแต่ศาลจะได้กำหนดเป็นอย่างอื่น (4) เมื่อคู่ความฝ่ายที่ถูกคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งอ้างอิงเอกสารมาเป็นพยานหลักฐานยันตนมิได้คัดค้านการนำเอกสารนั้นมาสืบตามมาตรา 125 ให้ศาลรับฟังสำเนาเอกสารเช่นว่านั้นเป็นพยานหลักฐานได้แต่ทั้งนี้ไม่ตัดอำนาจศาลตามมาตรา 125 วรรคสาม”
ข้อยกเว้นที่ไม่จำต้องใช้ต้นฉบับเอกสาร(ป.วิ.พ.มาตรา 93 (1)(2)(3)(4)) (1) เมื่อคู่ความตกลงกันว่าสำเนาเอกสารนั้นถูกต้อง ฎ.4861/2543จำเลยเบิกความยอมรับว่าเป็นผู้เขียนข้อความทั้งด้านหน้าและด้านหลังรวมทั้งเป็นผู้วาดแผนที่ไว้ในสำเนาแบบแสดงรายการที่ดินแม้เอกสารดังกล่าวจะมิใช่ต้นฉบับที่แท้จริงแต่เป็นภาพถ่ายสำเนามาจากต้นฉบับซึ่งจำเลยยอมรับว่าเป็นผู้เขียนขึ้นเองเมื่อโจทก์ก็ยอมรับไม่โต้เถียงความไม่ถูกต้องจึงต้องถือว่าคู่ความทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องตกลงกันว่าสำเนาเอกสารนั้นถูกต้องแล้วสามารถรับฟังเป็นพยานเอกสารได้ตามป.วิ.พ.มาตรา 93(1)
ตามป.วิ.พ.มาตรา 93(1) อาจหมายความรวมถึงกรณีที่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งยอมรับว่าสำเนาเอกสารนั้นถูกต้อง ดังนั้น แม้จะไม่มีการส่งต้นฉบับเอกสารในชั้นสืบพยานหรือไม่มีต้นฉบับเอกสารแต่คู่ความยอมรับสำเนาเอกสารนั้น เช่นการส่งเอกสารทางโทรสาร(ฎ. 5963/2539, ฎ.1920/2546)ศาลก็ย่อมรับฟังเอกสารนั้นเป็นพยานหลักฐานตามป.วิ.พ.มาตรา 93(1) ได้
(2) เมื่อต้นฉบับถูกทำลายโดยเหตุสุดวิสัย / สูญหาย/ไม่สามารถนำมาได้โดยประการอื่น อันมิใช่เกิดจากพฤติการณ์ที่ผู้อ้างต้องรับผิดชอบ 2.1 ต้นฉบับถูกทำลายโดยเหตุสุดวิสัย เหตุสุดวิสัยตาม ป.พ.พ. มาตรา 8 “คำว่า "เหตุสุดวิสัย" หมายความว่า เหตุใด ๆ อันจะเกิดขึ้นก็ดี จะให้ผลพิบัติก็ดี เป็นเหตุที่ไม่อาจป้องกันได้แม้ทั้งบุคคลผู้ต้องประสบหรือใกล้จะต้องประสบเหตุนั้น จะได้จัดการระมัดระวังตามสมควรอันพึงคาดหมายได้จากบุคคลในฐานะและภาวะเช่นนั้น”
2.2 ต้นฉบับสูญหาย/ ไม่สามารถนำมาได้โดยประการอื่น อันมิใช่เกิดจากพฤติการณ์ที่ผู้อ้างต้องรับผิดชอบ เช่นต้นฉบับซึ่งได้ถูกนำส่งสถานทูตซึ่งจะมีเอกสิทธิ์ทางการทูตไม่อาจขอให้ศาลมีคำสั่งเรียกได้ 2.3 เมื่อศาลเห็นว่าเป็นกรณีจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ดังนั้นหากแสดงต่อศาลได้ถึงเหตุใดเหตุหนึ่งศาลอาจจะอนุญาตให้นำสำเนาเอกสาร / พยานบุคคลมาสืบได้ ข้อควรระวัง!!! แม้ตามป.วิ.พ.มาตรา 93(2) จะอนุญาตให้นำพยานบุคคลมาสืบแทนแต่ก็อาจมีปัญหาในการชั่งน้ำหนักพยานได้
ข้อพิจารณา 1. การอนุญาตตามป.วิ.พ.มาตรา 93(2) ศาลอาจอนุญาตโดยปริยายก็ได้ เช่นการนำสืบว่าหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือสูญหายไปนั้นโจทก์สามารถนำสืบด้วยพยานบุคคลได้เพราะเป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดงส่วนการนำสืบพยานบุคคลว่าจำเลยกู้เงินโจทก์ตามหลักฐานแห่งการกู้ยืมที่สูญหายไปต้องได้รับอนุญาตจากศาลก่อนเมื่อศาลยอมให้โจทก์นำพยานบุคคลเข้าสืบได้ตลอดทั้งเรื่องถือว่าได้อนุญาตโดยปริยายการสืบพยานของโจทก์จึงชอบด้วยป.วิ.พ. มาตรา 93 (2) (ฎ. 204/2539)
ฎ. 3416/2551 โจทก์นำสืบส่งภาพถ่ายสำเนาหนังสือมอบอำนาจช่วงเป็นพยานหลักฐานต่อศาล จำเลยไม่ได้คัดค้านหรือนำสืบโต้แย้งว่าโจทก์มิได้นำต้นฉบับมาสืบ การที่ศาลชั้นต้นรับฟังสำเนาหนังสือมอบอำนาจช่วง จึงเท่ากับศาลชั้นต้นอนุญาตให้นำสำเนาเอกสารนั้นมาสืบได้ตามปวิพ. มาตรา 93(2)
2. การส่งโทรสารจากต่างประเทศ ต้นฉบับเอกสารย่อมอยู่ต่างประเทศจึงเป็นกรณีที่ไม่สามารถนำต้นฉบับเอกสารมาได้โดยประการอื่นตามป.วิ.พ. มาตรา 93 (2) ศาลจึงรับฟังสำเนาเอกสารที่ส่งมาทางโทรสารได้(ฎ.3395/2542)
3. ต้นฉบับเอกสารหาไม่ได้ แสดงว่าเดิมเคยมีต้นฉบับเอกสารอยู่ก่อนแล้วมิใช่ไม่เคยมีต้นฉบับมาก่อนเลย เมื่อหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินสูญหายผู้ให้กู้ย่อมนำสำเนา หรือพยานบุคคลมาสืบแทนตามป.วิ.พ.มาตรา 93(2) ได้กรณีดังกล่าวจึงไม่ใช่กรณีที่การกู้ยืมเงินไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือเลยอันเป็นจะเป็นการ นำสืบฝ่าฝืนป.พ.พ.มาตรา 653
(3) เมื่อต้นฉบับเอกสารอยู่ในความอารักขา หรือควบคุมของทางราชการ ข้อพิจารณา 1. เนื่องจากราชการมีความจำเป็นต้องเก็บรักษาไว้เพื่อเป็นหลักฐานและเพื่อตรวจสอบข้อมูลต่างๆดังนั้นหากมีการส่งเอกสารซึ่งเป็นต้นฉบับอาจเกิดการสูญหาย / ถูกทำลาย / มีการเปลี่ยนแปลงได้ระหว่างการส่งเอกสาร 2. ป.วิ.พ. มาตรา 93(3) จึงอนุญาตให้สำเนาเอกสารซึ่งผู้มีอำนาจหน้าที่ได้รับรองว่าถูกต้องแล้วแต่ไม่ตัดอำนาจศาลที่จะสั่งเป็นอย่างอื่น เช่นพินัยกรรมฝ่ายเมืองที่อยู่ในความอารักขาของอำเภอหากมีกรณีพิพาทเกี่ยวกับพินัยกรรมศาลอาจกำหนดให้ส่งต้นฉบับพินัยกรรมต่อศาลได้
3. เอกสารตามป.วิ.พ. มาตรา 93(3) ส่วนใหญ่เป็นเอกสารที่เจ้าพนักงานทำขึ้นในหน้าที่จึงเป็นเอกสารมหาชนตามป.วิ.พ. มาตรา 127 ซึ่งต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้อง ดังนั้นสำเนาเอกสารที่เจ้าพนักงานรับรองในหน้าที่ก็ย่อมรับฟังได้โดยไม่จำต้องให้บุคคลที่รับรองมาเบิกความประกอบ(ฎ.1322–1324/2510, ฎ.1386/2531)
4. เอกสารซึ่งอยู่ในความอารักขา หรือ ควบคุมของทางราชการที่เป็นความลับของทางราชการตามป.วิ.พ. มาตรา 92(3) ย่อมได้รับเอกสิทธิ์ที่จะไม่ต้องส่งพยานเช่นว่านั้นเป็นพยานหลักฐานได้
(4) เมื่อคู่ความมิได้คัดค้านการนำเอกสารนั้นมาสืบตามมาตรา 125 ซึ่งเดิมศาลฎีกาวางแนววินิจฉัยตลอดมาว่าการไม่คัดค้านการนำเอกสารนั้นมาสืบตามมาตรา 125 ให้ถือว่าคู่ความรับว่าเอกสารนั้นถูกต้องตามมาตรา 93(1) เช่น จำเลยอ้างส่งสำเนาเอกสารต่อศาลโดยโจทก์มิได้คัดค้านว่าต้นฉบับเอกสารไม่มีหรือเอกสารนั้นปลอมหรือสำเนาไม่ถูกต้องเช่นนี้ศาลมีอำนาจรับฟังสำเนาเอกสารนั้นได้ตาม ป.วิ.พมาตรา 125 (ฎ. 5519/2534) และถือได้ว่าเป็นการตกลงรับรองความถูกต้องแห่งเอกสารดังกล่าวและผู้อ้างไม่จำต้องส่งต้นฉบับเอกสารอีกสำเนาเอกสารนั้นย่อมรับฟังได้เสมอต้นฉบับ (ฎ.3936/2543 )
ผลของการไม่ส่งต้นฉบับเอกสารและกรณีก็ไม่เข้าข้อยกเว้นผลของการไม่ส่งต้นฉบับเอกสารและกรณีก็ไม่เข้าข้อยกเว้น ศาลย่อมไม่รับฟังสำเนานั้นเป็นพยานหลักฐาน ฎ.254/2520จำเลยส่งเอกสารต่อศาลโดยไม่ส่งสำเนาให้โจทก์ครั้นโจทก์คัดค้านว่าไม่ควรรับฟังจำเลยแถลงว่าต้นฉบับอยู่ในความครอบครองของทางราชการจะต้องมีหมายเรียกต้นฉบับมาแต่จำเลยมิได้ขอให้ศาลหมายเรียกมาเมื่อเอกสารที่จำเลยส่งศาลเป็นสำเนาซึ่งไม่มีเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจรับรองว่าถูกต้องกับต้นฉบับจึงรับฟังไม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 93
ฎ.621/2546สำเนากรมธรรม์ประกันภัยต้องห้ามมิให้รับฟังตามป.วิ.พมาตรา 93 ทั้งจำเลยได้ต่อสู้ในคำให้การว่าโจทก์มิได้รับประกันภัยรถยนต์แสดงว่าจำเลยโต้แย้งความถูกต้องแท้จริงของสำเนากรมธรรม์ประกันภัยดังนี้สำเนากรมธรรม์ประกันภัยจึงไม่อาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้
การขอต้นฉบับพยานเอกสารโดยส่งสำเนาไว้แทน(ป.วิ.พ. มาตรา 127 ทวิ) เพื่อความสะดวกแก่คู่ความในการเก็บรักษาเอกสารที่สำคัญไว้ ทำให้คู่ความสามารถขอคืนต้นฉบับเอกสารได้ แล้วส่งสำเนาเอกสารแทน ดังนี้ “มาตรา 127 ทวิ ต้นฉบับพยานเอกสารหรือพยานวัตถุอันสำคัญที่คู่ความได้ยื่นต่อศาล หรือบุคคลภายนอกได้ยื่นต่อศาล หากผู้ยื่นต้องใช้เป็นประจำหรือตามความจำเป็นหรือความสำคัญในการเก็บรักษา ศาลจะอนุญาตให้ผู้ยื่นรับคืนไป โดยให้คู่ความตรวจดู และให้ผู้ที่ยื่นส่งสำเนาหรือภาพถ่ายไว้แทนหรือจะมีคำสั่งอย่างใดตามที่เห็นสมควรก็ได้” 45
13.3 หลักเกณฑ์การอ้างเอกสารเป็นพยานหลักฐานในคดีอาญา 13.3.1 การส่งสำเนาเอกสารในคดีอาญา ป.วิ.อ. มาตรา 240 ที่แก้ไขใหม่บัญญัติว่า“ในกรณีที่ศาลมิได้กำหนดให้มีวันตรวจพยานหลักฐานตามมาตรา 173/1เมื่อคู่ความประสงค์จะอ้างเอกสารที่อยู่ในความครอบครองของตนเป็นพยานหลักฐาน ให้ยื่นพยานเอกสารนั้นต่อศาลก่อนวันไต่สวนมูลฟ้อง หรือวันสืบพยานไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน เพื่อให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งมีโอกาสตรวจและขอคัดสำเนาเอกสารดังกล่าวได้ก่อนที่จะนำสืบพยานเอกสารนั้น เว้นแต่เอกสารที่คู่ความประสงค์จะอ้างอิงนั้นเป็นบันทึกคำให้การของพยาน หรือเป็นเอกสารที่ปรากฏชื่อหรือที่อยู่ของพยาน หรือศาลเห็นสมควรสั่งเป็นอย่างอื่นอันเนื่องจากสภาพและความจำเป็นแห่งเอกสารนั้น 46
ในกรณีที่ไม่อยู่ในบังคับต้องส่งเอกสารตามวรรคหนึ่ง เมื่อมีเอกสารใช้เป็นพยานหลักฐานในชั้นศาล ให้อ่านหรือส่งให้คู่ความตรวจดู ถ้าคู่ความฝ่ายใดต้องการสำเนา ศาลมีอำนาจสั่งให้ฝ่ายที่อ้างเอกสารนั้นส่งสำเนาให้อีกฝ่ายหนึ่งตามที่เห็นสมควร ถ้าคู่ความฝ่ายใดไม่ส่งเอกสารตามวรรคหนึ่งหรือสำเนาเอกสารตามวรรคสอง หรือไม่ส่งพยานเอกสารหรือพยานวัตถุตามมาตรา 173/1 วรรคหนึ่ง ให้ศาลมีอำนาจไม่รับฟังพยานหลักฐานนั้น เว้นแต่ศาลเห็นว่าเป็นกรณีเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม หรือการไม่ปฏิบัติดังกล่าวมิได้เป็นไปโดยจงใจและไม่เสียโอกาสในการดำเนินคดีของคู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง”
13.3.2 สิทธิของจำเลยในการขอคัดสำเนาพยานเอกสาร ป.วิ.อ. ให้สิทธิของจำเลยในการขอคัดสำเนาพยานเอกสารได้ตามมาตรา 8(4)(5) และ (6) ดังนี้ “มาตรา 8 นับแต่เวลายื่นฟ้องจำเลยมีสิทธิดังต่อไปนี้ (4) ตรวจดูสิ่งที่ยื่นเป็นพยานหลักฐานและคัดสำเนาหรือถ่ายรูปสิ่งนั้นๆ (5) ตรวจดูสำนวนการไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณาของศาลและคัดสำเนาหรือขอรับสำเนาที่รับรองว่าถูกต้องโดยเสียค่าธรรมเนียมเว้นแต่ศาลจะมีคำสั่งให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมนั้น (6) ตรวจหรือคัดสำเนาคำให้การของตนในชั้นสอบสวนหรือเอกสารประกอบคำให้การของตน”
13.3.3ต้นฉบับเอกสารในคดีอาญา : ป.วิ.อ.มาตรา 238 “ต้นฉบับเอกสารเท่านั้นที่อ้างเป็นพยานได้ถ้าหาต้นฉบับไม่ได้สำเนาที่รับรองว่าถูกต้องหรือพยานบุคคลที่รู้ข้อความก็อ้างเป็นพยานได้ ถ้าอ้างหนังสือราชการเป็นพยานแม้ต้นฉบับยังมีอยู่จะส่งสำเนาที่เจ้าหน้าที่รับรองว่าถูกต้องก็ได้เว้นแต่ในหมายเรียกจะบ่งไว้เป็นอย่างอื่น”
ข้อพิจารณา (1) คำว่า “หาต้นฉบับไม่ได้” กว้างกว่าในคดีแพ่ง (2) การอ้างหนังสือราชการเป็นพยานนั้นก็อนุญาตให้ใช้สำเนาที่เจ้าหน้าที่รับรองว่าถูกต้องได้โดยไม่จำต้องนำพยานบุคคลมาสืบประกอบพยานเอกสาร(ฎ.1719/2494)