450 likes | 1.46k Views
สถิติธุรกิจ. อาจารย์ทัศนัย กีรติรัตนะ. แนะนำผู้สอน. อาจารย์ทัศนัย กีรติรัตนะ โปรแกรมวิชาคณิตศาสตร์ คณะครุศาสตร์ ป.ตรี วท.บ. (คณิตศาสตร์) ป.โท ศษ.ม. (จิตวิทยาการศึกษา) ป.เอก ปร.ด. (การจัดการเทคโนโลยี) กำลังศึกษา โทร. 081-623-3043. แนะนำรายวิชา.
E N D
สถิติธุรกิจ อาจารย์ทัศนัย กีรติรัตนะ
แนะนำผู้สอน • อาจารย์ทัศนัย กีรติรัตนะ • โปรแกรมวิชาคณิตศาสตร์ คณะครุศาสตร์ • ป.ตรี วท.บ. (คณิตศาสตร์) • ป.โท ศษ.ม. (จิตวิทยาการศึกษา) • ป.เอก ปร.ด. (การจัดการเทคโนโลยี) กำลังศึกษา • โทร. 081-623-3043
แนะนำรายวิชา • 4112105 สถิติธุรกิจBusiness Statistics • หน่วยกิต3(3-0) • ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสถิติและการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ ได้แก่ การเก็บรวบรวมและการนำเสนอข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น ตัวแปรสุ่มและการแจกแจงความน่าจะเป็นของตัวแปรสุ่มประชากรและการสุ่มตัวอย่าง การประมาณค่า การทดสอบสมมุติฐาน การทดสอบไคส์แควร์ การวิเคราะห์ความแปรปรวน สถิตินอนพาราเมตริก การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ และการถดถอย อนุกรมเวลา เลขดัชนี การพยากรณ์และการตัดสินใจทางธุรกิจ
แนะนำหนังสือ • หนังสือหลัก: สถิติธุรกิจ, รศ.ดร.สรชัย พิศาลบุตร • หนา 405 หน้า ราคา 220 บาท • หัวข้อตรงตามหลักสูตร • อ่านง่าย มีตัวอย่างเยอะ มีแบบฝึกหัดให้ลองทำ • หนังสืออ่านประกอบ: หนังสือสถิติทั่วไป
ความหมายของสถิติ • “ข้อมูลสถิติ” = ตัวเลขที่แทนข้อเท็จจริงที่เราสนใจ • “สถิติศาสตร์” = ศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับวิธีการที่ใช้ใน การศึกษาข้อมูล • “ค่าสถิติ” = ค่าตัวเลขที่คำนวณได้จากข้อมูลกลุ่มตัวอย่าง (ค่าที่คำนวณจากประชากร เรียกว่า พารามิเตอร์)
สถิติ ในความหมายของ “วิชาสถิติ” ซึ่งหมายถึง วิชาวิทยาศาสตร์แขนงหนึ่ง ซึ่งมีเนื้อหาและรากฐานมาจากวิชาคณิตศาสตร์และตรรกศาสตร์ ในปัจจุบันนี้จึงได้มีการพัฒนาทฤษฎีและเทคนิคใหม่ๆ ทางสถิติเพิ่มขึ้นมาเรื่อยๆ ทำให้ขอบข่ายของของวิชาสถิติมีความหมายกว้างขวางและมีความเกี่ยวข้องผูกพันอย่างแน่นแฟ้นกับศาสตร์แขนงอื่นๆ เช่น เศรษฐศาสตร์ บริหารธุรกิจ จิตวิทยา เป็นต้น • จึงทำให้คำจำกัดความของสถิติแผนใหม่ว่า เป็นศาสตร์ของการตัดสินใจภายใต้สถานการณ์ที่ยังไม่แน่ใจ • (ศิริชัย กาญจนวสี 2550)
สถิติกับการตัดสินใจทางธุรกิจสถิติกับการตัดสินใจทางธุรกิจ • ใช้ในการตรวจสอบและควบคุมคุณภาพในการผลิตสินค้า • ใช้ในการวิจัยตลาด • ใช้ในด้านการประกันภัยและประกันชีวิต • ใช้ในด้านการเงินและการธนาคาร
ข้อมูล : มุมมองที่ต้องสนใจ • ข้อมูล • ข้อมูลปฐมภูมิ • ข้อมูลทุติยภูมิ • ข้อมูล • ข้อมูลเชิงคุณภาพ • ข้อมูลเชิงปริมาณ • ข้อมูล • ข้อมูลที่เป็นตัวเลข • ข้อมูลที่ไม่เป็นตัวเลข
ข้อมูล : มุมมองที่ต้องสนใจ • มาตรวัดข้อมูล • นามบัญญัติ (Norminal Scale) บอกประเภท • อันดับ (Ordinal Scale) แสดงลำดับ • ช่วง/อันตรภาค (Interval Scale) มีค่าต่อเนื่อง • อัตราส่วน (Interval Scale) เริ่มจากศูนย์แท้
ข้อมูล : มุมมองที่ต้องสนใจ • ประชากร/กลุ่มตัวอย่าง
รูปแบบการนำเสนอข้อมูลรูปแบบการนำเสนอข้อมูล • เรียงความ • ตาราง • แผนภูมิแท่ง • แผนภูมิวงกลม • กราฟเส้น • ฮิสโตแกรม • แผนภาพการกระจาย • ตารางแจกแจงความถี่
การวิเคราะห์ข้อมูล • การวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูง • การประมาณค่า • การทดสอบสมมติฐาน • การหาสหสัมพันธ์ • การพยากรณ์ • การวิเคราะห์ข้อมูลขั้นต้น • การแจกแจงความถี่ • การหาร้อยละ • การหาสัดส่วน • การวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง • การวัดการกระจาย ความรู้พื้นฐาน : ไม่เรียนในวิชานี้ เป็นเรื่องที่เรียนในวิชานี้
การวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลางการวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง • ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (Mean) : • มัธยฐาน (Median) • ฐานนิยม(Mode)
การวัดการกระจาย (Measure of Dispersion) • พิสัย (Range) • พิสัยระหว่างควอไทล์ • ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation : SD) • ความแปรปรวน (Variance)
การวัดการกระจายสัมพัทธ์ (Coefficient of Variation : CV)
ความน่าจะเป็น และการนำไปใช้ประโยชน์ทางธุรกิจ
ตัวแปรสุ่ม (Random Variable) • ค่าหรือตัวเลขที่ใช้แทนเหตุการณ์ต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ทั้งหมดจากการทดลองหรือสภาพที่เป็นจริงเกี่ยวกับเรื่องที่ศึกษา • เช่น ถ้า Y เป็นตัวแปรสุ่มใช้แทนเหตุการณ์ที่เป็นจำนวนลูกค้าที่เข้ามาซื้อสินค้าในร้าน (อาจมีค่าเป็น 0, 1, 2, 3, ... ) • ตัวแปรสุ่มมี 2 ชนิด • ตัวแปรสุ่มไม่ต่อเนื่อง • ตัวแปรสุ่มต่อเนื่อง
ความน่าจะเป็น (Probability) • “ความน่าจะเป็น” หมายถึง โอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง • อาจหมายถึง อัตราส่วนระหว่างจำนวนสมาชิกของเหตุการณ์ที่สนใจ กับ จำนวนสมาชิกของเหตุการณ์ทั้งหมดที่อาจเกิดขึ้น • ความน่าจะเป็นจึงมีค่าตั้งแต่ 0 ถึง 1 ซึ่ง 0 หมายถึง ไม่เกิดเหตุการณ์นั้นเด็ดขาด และ 1 หมายถึง เกิดเหตุการณ์นั้นแน่นอน • การเขียนค่าความน่าจะเป็น นิยมใช้ทศนิยม • เช่น .50 .72 เป็นต้น แต่สามารถใช้เศษส่วน หรือร้อยละได้
วิธีการหาค่าความน่าจะเป็นวิธีการหาค่าความน่าจะเป็น • แนวดั้งเดิมหรือใช้หลักคณิตศาสตร์ • การใช้ความถี่สัมพัทธ์ • การใช้ดุลยพินิจส่วนบุคคล จำนวนผลที่เป็นไปได้ของเหตุการณ์นั้นๆ จำนวนผลที่เป็นไปได้ทั้งหมดจากการทดลอง
การแจกแจงความน่าจะเป็นการแจกแจงความน่าจะเป็น • คือ การแจกแจงของเหตุการณ์ทุกเหตุการณ์ที่เป็นไปได้ และความน่าจะเป็นที่เหตุการณ์เหล่านั้นจะเกิด • เช่น ลงทุนเปิดร้านเสริมสวย ผลจากการลงทุนเป็นไปได้ 3 ทางคือ กำไร เท่าทุน และขาดทุน สมมติว่า มีความน่าจะเป็น 0.85 0.12 และ 0.03 ตามลำดับ ค่าความน่าจะเป็น 3 ค่านี้ เรียกว่า การแจกแจงความน่าจะเป็น • การแสดงการแจกแจงความน่าจะเป็น อาจเขียนในรูปตารางหรือแผนภูมิแท่งก็ได้
P(X) X
การแจกแจงความน่าจะเป็นการแจกแจงความน่าจะเป็น ตัวแปรสุ่มไม่ต่อเนื่อง ตัวแปรสุ่มต่อเนื่อง ความแปรปรวน ค่าเฉลี่ย การแจกแจงปกติ การแจกแจงแบบ F การแจกแจงปัวส์ซง การแจกแจงแบบ t การแจกแจงทวินาม การแจกแจงแบบไคสแควส์ การแจกแจงแบบแกมมา/เบต้า
การแจกแจงปกติ (Normal Distribution) • มีลักษณะเป็นโค้งรูประฆังคว่ำ • มีสมบัติสำคัญดังนี้ • เป็นโค้งที่สมมาตร (Symmetry) • มีค่าเฉลี่ยเลขคณิต มัธยฐาน และฐานนิยม เท่ากัน • พื้นที่ใต้โค้งและเหนือแกน X ทั้งหมกเท่ากับ 1 • พื้นที่ใต้โค้งที่อยู่เหนือแกน X และระหว่าง • μ-σและμ+σมีประมาณ 68% • μ-2σและμ+2σมีประมาณ 95% • μ-3σและμ+3σมีประมาณ 99.7%
การแจกแจงปกติ • การแจกแจงปกติมาตรฐาน (Standard Normal Distribution) • มีค่าเฉลี่ยเป็น 0 และความแปรปรวนเป็น 1 • การทำให้การแจกแจงที่มีค่าเฉลี่ย μและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน σ มีค่าเป็น 0 และ 1 ตามลำดับ ทำได้โดยการหาคะแนนมาตรฐาน ตามสูตร