510 likes | 663 Views
แนวทางจัดทำแผนกลยุทธ์จากการอบรม MMM. สรุปประเด็นคำถามเชิงกลยุทธ์. Who are we? - เราคือใคร มีพันธกิจอะไร(สอน วิจัย บริการฯ) มีสมรรถนะที่เป็นจุดแข็งจุดอ่อนอย่างไร ?. Who are our customers - ผู้รับบริการและผู้สนับสนุนของ
E N D
สรุปประเด็นคำถามเชิงกลยุทธ์สรุปประเด็นคำถามเชิงกลยุทธ์ • Who are we? - เราคือใคร มีพันธกิจอะไร(สอน วิจัย บริการฯ) • มีสมรรถนะที่เป็นจุดแข็งจุดอ่อนอย่างไร ? • Who are our customers- ผู้รับบริการและผู้สนับสนุนของ • and suppliers?เราคือใคร มีโอกาสและข้อจำกัด • อย่างไร? 3. Who are our competitors? - เมื่อเทียบกับคู่แข่งขันหรือกิจการ ชั้นนำ เรามีโอกาสและข้อจำกัด อย่างไร?
4. Where are we going? - วิสัยทัศน์ พันธกิจ จุดมุ่งหมายและ วัตถุประสงค์ ควรจะมุ่งทางไหน? 5. Where are we standing- เมื่อพิจารณาจากสภาพแวดล้อมทั่วไป คือการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒน- ธรรมและเทคโนโลยี เราอยู่จุดไหน? 6. How do we get there? - เราควรมีกลยุทธ์อะไร อย่างไร?
7. How much do we have to pay? - เราควรมีโครงการที่จะต้อง ใช้งบประมาณเท่าไร? 8. How do we know if we are on- ควรจะมีตัวชี้วัดความสำเร็จ track?อะไร อย่างไร? 9. What are our blueprint for - จะกำหนดแผนดำเนินงานอะไร action? บ้าง?
กระบวนการวางแผนเชิงกลยุทธ์กระบวนการวางแผนเชิงกลยุทธ์ • การกำหนดผลลัพธ์ (Outcomes) • การกำหนดผลผลิต (Outputs) • การกำหนดกระบวนการทำงาน (Processes) • การกำหนดลู่ทางในการใช้ทรัพยากร (Inputs)
กระบวนการวางแผนเชิงกลยุทธ์ : คิดจากขวาไปซ้าย 4 3 2 1 ทรัพยากร (Input/ Resources) กระบวนการ (Process / Means) ผลงาน (Output/ Objectives) ผลลัพธ์ (Outcomes/ Goals) ตัวชี้วัด : - ระบบคน - ระบบทุนและ ปัจจัย - ระบบสารสนเทศ ตัวชี้วัด : - ขั้นตอนการดำเนินงาน - กิจกรรม/ เวลา /ค่าใช้จ่าย - กฎเกณฑ์/ พฤติกรรม ตัวชี้วัด : - ปริมาณ - คุณภาพ - เวลา - กลุ่มคน ตัวชี้วัด : - ปริมาณ - คุณภาพ - เวลา - กลุ่มคน
กระบวนการดำเนินงาน: คิดจากซ้ายไปขวา 1 2 3 4 ทรัพยากร (Input/ Resources) กระบวนการ (Process / Means) ผลงาน (Output/ Objectives) ผลลัพธ์ (Outcomes/ Goals) ตัวชี้วัด : - ระบบคน - ระบบทุนและ ปัจจัย - ระบบสารสนเทศ ตัวชี้วัด : - ขั้นตอนการดำเนินงาน - กิจกรรม/เวลา /ค่าใช้จ่าย - กฎเกณฑ์ / พฤติกรรม ตัวชี้วัด : - ปริมาณ - คุณภาพ - เวลา - กลุ่มคน ตัวชี้วัด : - ปริมาณ - คุณภาพ - เวลา - กลุ่มคน
การจัดทำเอกสารแผน(บทสรุปสำหรับผู้บริหาร)การจัดทำเอกสารแผน(บทสรุปสำหรับผู้บริหาร) • บทนำ • บทบาทหน้าที่ของหน่วยงาน • สภาพทั่วไปที่มีผลสำคัญต่อการดำเนินงานของหน่วยงาน • ในปัจจุบันและอนาคต • การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของหน่วยงาน • - โอกาส • - ข้อจำกัด/อุปสรรค • - จุดแข็ง • - จุดอ่อน
5. สรุปและวิเคราะห์ประเด็นเชิงกลยุทธ์ - SO Strategies -WO Strategies - ST Strategies -WT Strategies 6. กลยุทธ์และขอบเขตในการดำเนินงาน - วิสัยทัศน์และพันธกิจ -สาระสำคัญของกลยุทธ์ - แนวทางการดำเนินงานโครงการและตัวชี้วัดหลักที่สำคัญ
กำหนดภาระหน้าที่และองค์กรในการบริหารงานกำหนดภาระหน้าที่และองค์กรในการบริหารงาน • การประมาณการรายจ่ายล่วงหน้าระหว่างปี 2552-2556 • ตัวชี้วัดผลลัพธ์ ผลผลิต และแนวทางการประเมินผลการดำเนินงาน
เป้าหมาย เป้าหมาย วัตถุประสงค์ เป้าประสงค์หรือจุดมุ่งหมาย คือสภาพที่ พึงประสงค์ การกำหนดเป้าหมาย คือ การกำหนดสภาพที่พึงประสงค์ โดยมีกรอบกำหนดไว้ว่าจะให้สำเร็จเมื่อใด
เป้าหมายโดยทั่วไปแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ 1. เป้าหมายที่เป็นผลงานหรือผลผลิต (Outputs) บางครั้งเรียกว่าวัตถุประสงค์(objectives) เป็นเป้าหมายในเชิงปฏิบัติ ว่าจะทำอะไรหรือสร้างอะไร อย่างไรและเมื่อใด (ในทางการแพทย์มัก ขึ้นต้นด้วยคำว่า ป้องกัน ส่งเสริม บำบัดรักษา ฟื้นฟูสมรรถภาพ ฯลฯ 2. เป้าหมายที่เป็นผลลัพธ์ (Outcomes) บางครั้งเรียกว่าเป้าหมายหรือเป้าประสงค์(goals) เป็นการกำหนดเป้าหมายในเชิงผลสำเร็จว่าต้องการให้ได้อะไร ขนาดไหน ใช้เวลาเท่าใด
หลักการกำหนดเป้าหมายขององค์การหลักการกำหนดเป้าหมายขององค์การ 1. มีลักษณะ SPIRO 2. มีตัวชี้วัด 3.มีมาตรวัด
ลักษณะ SPIRO S = Specific (เฉพาะ) P = Pay of Oriented (น่าทำ) I = Intrinsic Reward (มีค่า) R = Realistic (เป็นจริง) O = Obsearvable (สังเกตวัดได้)
ตัวชี้วัด • KRA (Key result areas)แก่น สาระสำคัญ • KSF (Key success factors)ปัจจัยบ่งชี้ถึงความสำเร็จ • และความล้มเหลว • KPI(Key performance indicators)ตัวบ่งชี้ถึงผลการปฏิบัติงาน
มาตรวัด • Nominal Scale : การระบุสิ่งที่จะวัด เช่น คน ผู้ชาย อาการ • Ordinal Scale : การกำหนดทิศทางสิ่งที่จะวัด เช่น คนดี – คนเลว ผู้ชายหล่อ – ผู้ชายไม่หล่อ อาการดีขึ้น - อาการแย่ลง • Interval Scale : การนำ Ordinal Scale มาซอยให้เป็นช่วงๆ ละเอียดขึ้น เช่น ซอยคำว่า “ ดี ” เป็นดีพอใช้ ดีปานกลาง ดีมาก ดีเยี่ยม • Ratio Scale : การทำ Interval Scale ให้เป็นตัวเลข เช่น 0 1 2 3 4 5 เป็นต้น
การวางแผนหรือการคิดเชิงกลยุทธ์การวางแผนหรือการคิดเชิงกลยุทธ์ (Planning and Strategic Thinking) การวางแผนหรือการคิดเชิงกลยุทธ์เป็นการกำหนดจุดมุ่งหมายและแนวทางการดำเนินงานขององค์การในระยะยาวที่สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมหรือบริ-บทต่างๆอย่างแท้จริง
ประโยชน์ของการวางแผนหรือการเชิงกลยุทธ์ประโยชน์ของการวางแผนหรือการเชิงกลยุทธ์ 1. ช่วยให้องค์การบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมาย 2. ช่วยลดการทำงานตามยถากรรมและการทำงานซ้ำซ้อน 3. ช่วยให้การใช้ประโยชน์และการประสานทรัพยากรของ องค์การเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ 4. ช่วยให้ผู้บริหารมีความเชื่อมั่นในการบริหารงานมากขึ้น 5. ช่วยให้ผู้บริหารสามารถตรวจสอบความสำเร็จของเป้าหมายได้
ประเภทของแผน 1. แบ่งตามเรื่องหรือขอบเขตของกิจกรรม เช่น ๏ แผนการตลาด ๏ แผนการผลิต ๏ แผนงานบุคคล ๏ แผนการเงิน ๏ แผนการวิจัย ๏ แผนการพัฒนาองค์กรและบุคคล
2. แบ่งตามระยะเวลาของแผน เช่น ๏แผนระยะสั้น (Short – range planning) ไม่เกิน 2 ปี ๏แผนระยะกลาง (Intermediate planning) 2 – 5 ปี ๏ แผนระยะยาว (Long – range planning) 5 ปีขึ้นไป
3. แบ่งตามลักษณะของแผน เช่น ๏แผนหลักหรือแผนแม่บท (Orientation planning)หรือแผนยุทธศาสตร์ (Grand strategies) เป็นเรื่องเกี่ยวกับเป้าหมายและแนวทางดำเนินงานโดยรวมทั้งหมดขององค์การ ๏แผนดำเนินการ (Implementation planning)หรือแผนกลยุทธ์ (strategies)เป็นเรื่องเกี่ยวกับกิจกรรมและวิธีการต่างๆที่จะนำไปสู่จุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้
4. แบ่งตามการใช้งานของแผน ได้แก่ 4.1 แผนใช้ประจำ (Repetitive use plan) ประกอบด้วย - วัตถุประสงค์ (Objective) - เป้าหมาย (Goal) - วิสัยทัศน์ (Vision) - นโยบาย (Policy) - วิธีดำเนินงาน (Procedure) - วิธีการทำงาน ( Method) - มาตรฐานงาน ( Standard )
-วัตถุประสงค์(Objective) เป็นแผนบื้องต้นเกี่ยวกับกิจกรรมที่จะทำในอนาคต - เป้าหมาย (Goal)คือการกำหนดความสำเร็จสำหรับกิจกรรมโดยมีกรอบของระยะเวลากำหนดไว้ด้วยว่าต้องการจะทำสำเร็จเมื่อไร และต้องมีเครื่องชี้วัด (indicator) * เป้าหมายรวมหรือพันธกิจ ( Mission) เป็นเป้าหมายที่กำหนดไว้อย่างกว้างๆถึงหน้าที่รับผิดชอบขององค์กร เป็นสิ่งที่องค์กรมุ่งมั่นจะทำ * เป้าหมายระยะยาว(Long-term goal)คือเป้าหมายที่เป็นผลลัพธ์สุดท้ายของการปฏิบัติงานตามแผน * เป้าหมายระยะสั้น(Short-term goal)คือเป้าหมายย่อยๆที่จะช่วยให้บรรลุเป้าหมายระยะยาว
-วิสัยทัศน์ (Vision) เป็นภาพที่แต่ละองค์การมองตนเองในอนาคตว่า ตนจะเป็นอย่างไร อยู่ตรงจุดไหน -นโยบาย (Policy) เป็นการกำหนดขอบเขตและแนวทางกว้างๆของ กิจกรรมต่างๆโดยไม่ได้ชี้ชัดว่าจะต้องทำอะไรบ้าง เพื่อให้สามารถ เลือกปฏิบัติหรือใช้ดุลยพินิจได้ในขอบเขตอันควร - วิธีดำเนินงาน (Procedure) เป็นแผนซึ่งกำหนดขั้นตอนการกระทำที่ จำเป็นสำหรับงานแต่ละอย่างโดยละเอียด ( ระเบียบปฏิบัติ )
-วิธีการทำงาน (Method) เป็นแผนซึ่งกำหนดวิธีการปฏิบัติของงาน แต่ละอย่างโดยละเอียด เพื่อแสดงให้เห็นว่างานนั้นๆทำกันอย่างไร ส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่แต่ละคน * วิธีการทำงานมีขอบเขตจำกัดกว่าวิธีดำเนินงาน * -มาตรฐานงาน (Standard ) เป็นแผนซึ่งกำหนดคุณค่าหรือผลของงาน ที่ใช้เป็นบรรทัดฐาน มาตรฐานมีประโยชน์สำหรับการประเมินการปฏิบัติงาน
4.2แผนใช้เฉพาะครั้ง (Single use plan) ได้แก่ 4.2.1 งบประมาณ (Budget) เป็นการแสดงข้อมูลที่ใช้เป็น พื้นฐาน คาดคะเนผลที่จะได้รับในช่วงเวลาหนึ่ง เป็นข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งมีตัวตน เช่น เงิน คน หรือวัสดุครุภัณฑ์ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการบริหาร 4.2.2 โปรแกรม (Program) เป็นแผนละเอียด ซึ่งรวมเอาแผนต่างๆ ไว้ด้วยกัน 4.2.3 โครงการ (Project) เป็นแผนที่จัดทำขึ้นสำหรับงานที่ต้องกระ- ทำแตกต่างไปจากกิจกรรมประจำวันขององค์การ งานที่มีความซับซ้อน งานที่มีค่าใช้จ่ายสูง งานซึ่งมีการกำหนดเวลาที่ต้องทำให้สำร็จ และใน การดำเนินงานตามแผนงานใหญ่ กิจกรรมทั้งหมดจะถูกแบ่งออกเป็น ส่วนๆในรูปของโครงการ
เครื่องมือที่ใช้ในการวางแผนเชิงกลยุทธ์เครื่องมือที่ใช้ในการวางแผนเชิงกลยุทธ์ 1. เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์สถานการณ์ 2. เครื่องมือที่ใช้ในการวางแผนปฏิบัติการ 3.ความรู้และเทคนิคในการจัดทำและนำเสนอแผนกลยุทธ์
เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์สถานการณ์เชิงกลยุทธ์เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์สถานการณ์เชิงกลยุทธ์ เป็นการวิเคราะห์สถานการณ์ ทั้งภายนอกและภายในองค์การโดยการ ๏SWOT Analysis ๏การจัดทำประเด็นยุทธศาสตร์โดยใช้ SWOT Matrix
การวิเคราะห์สถานการณ์โดยใช้ SWOT Analysis ๏การวิเคราะห์สถานการณ์ภายนอกเพื่อประเมินโอกาส (Opportunities) และข้อจำกัด (Threats)ขององค์การ โอกาส (O) หมายถึง ปัจจัยหรือสถานการณ์ภายนอกที่มีส่วนช่วยให้องค์การ สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้หรือมากกว่าที่มุ่งหวังไว้ โอกาสขององค์การที่เป็นไปได้ เช่น การเพิ่มบริการให้กลุ่มลูกค้ามากขึ้นหรือ การขยายเข้าสู่ตลาดใหม่ เป็นต้น
อุปสรรคหรือภัยคุกคาม (T)หมาย ถึงปัจจัยภายนอกที่อาจมีผลกระทบทำให้องค์การประสบความล้มเหลวไม่บรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้ เช่น ความเป็นไปได้ที่คู่แข่งหน้าใหม่ที่มีพลังจะเข้ามาเป็นคู่แข่งในอนาคตหรือ เกิดบริการทดแทน ทำให้สูญเสียรายได้ เป็นต้น
๏การวิเคราะห์สถานการณ์ภายนอกเพื่อประเมินโอกาส (Opportunities) และข้อจำกัด (Threats)ขององค์การ สามารถกระทำได้โดย 1. พิจารณาจากสภาพแวดล้อมทั่วไปโดยใช้ PEST Analysis - P = Politics : การเมือง - E = Economics : เศรษฐกิจ - S = Socio-cultual : สภาพสังคมและวัฒนธรรม - T = Technology : การใช้เทคโนโลยี
2. พิจารณาสภาพการแข่งขันโดยใช้Five Competitive Forces Analysis ของ Michael E. Porter ประกอบด้วย - การต่อรองของลูกค้าหรือผู้รับบริการ - การต่อรองของผู้สนับสนุนหรือผู้จัดหา (Suppliers) - ความสามารถของคู่แข่งขันเดิม - ความสามารถของคู่แข่งขันใหม่ - คุณลักษณะของบริการทดแทน
จัดทำตารางโอกาสและข้อจำกัดของสภาพแวดล้อมภายนอกจัดทำตารางโอกาสและข้อจำกัดของสภาพแวดล้อมภายนอก ประเด็นพิจารณา โอกาส ข้อจำกัด
๏การวิเคราะห์สถานการณ์ภายในเพื่อประเมินจุดแข็ง (Strengths)และ จุดอ่อน (Weakness)ขององค์การ จุดแข็ง(S) หมายถึง ข้อได้เปรียบขององค์การเหนือคู่แข่งขัน ที่องค์การ สามารถนำมาใช้ในการดำเนินงาน ได้แก่ ทีมงานบริหารที่เชี่ยวชาญ มีประสบการณ์สูง มีวิสัยทัศน์กว้างไกล และมีความรู้ความสามารถเกี่ยวกับการให้บริการและลูกค้าเป็นอย่างดี
จุดอ่อน (W) หมายถึง สิ่งที่องค์การยังขาดหรือด้อยกว่าคู่แข่งขัน ได้แก่ - การขาดทรัพยากรทางการเงิน - การขาดประสบการณ์ด้านการบริหาร - มีเครื่องมือการผลิตที่มีคุณภาพด้อยกว่า เป็นต้น
๏การวิเคราะห์สถานการณ์ภายในเพื่อประเมินจุดแข็ง (Strengths) และจุดอ่อน (Weakness)ขององค์การ สามารถกระทำได้โดย 1. พิจารณาความพร้อมและความพอเพียงของทรัพยากร - ระบบคน - ระบบทุนกับปัจจัยต่างๆ - ระบบสารสนเทศ 2. ประเมินสมรรถนะขององค์การด้วยการวัดผลงานอย่างสมดุล โดยใช้ Balance Scorecard
การวัดผลการดำเนินงานอย่างสมดุล (Balanced Scorecard) ของ Robert S. Kaplan & David P. Norton • ให้ความสำคัญต่อการวัดผลการดำเนินงานจากมุมมอง 4 ด้าน (the 4 perspectives) คือ 1. ด้านการเงิน (Financialperspective) 2. ด้านลูกค้า (Customer perspective) 3. ด้านกระบวนการภายใน (Internal process perspective) 4. ด้านการเรียนรู้และเติบโต (Learning and growth perspective)
มุมมอง ด้าน การเงิน วัตถุประสงค์ ตัวชี้วัด เป้าหมาย กิจกรรมที่จะเริ่ม มุมมอง ด้าน ลูกค้า มุมมอง ด้านการ เรียนรู้ วิสัยทัศน์ และ กลยุทธ์ วัตถุประสงค์ ตัวชี้วัด เป้าหมาย วัตถุประสงค์ ตัวชี้วัด เป้าหมาย กิจกรรมที่จะเริ่ม กิจกรรมที่จะเริ่ม มุมมอง ด้าน กระ บวนการ วัตถุประสงค์ ตัวชี้วัด เป้าหมาย กิจกรรมที่จะเริ่ม
ด้านการเงิน (Financial) ผลตอบแทนจากการลงทุน (Return-On-Captal-Employed(ROCE) ความผูกพันของผู้รับบริการ (On-time Delivery) ใช้ BSC พร้อมกับ การกำหนดตัวชี้วัด หลัก ด้านลูกค้าหรือผู้รับบริการ (Customer) ส่งสินค้าตรงเวลา (On-time Delivery) ด้านกระบวนการภายใน (Internal Process) คุณภาพของกระบวนการ (Process Quality) ระยะเวลาของกระบวนการ (Process Cycle Time) ด้านการเรียนรู้และการพัฒนา (Learning & Growth) ทักษะพนักงาน (Employee skills)
บรรทัดฐานในการประเมินจุดแข็ง / จุดอ่อน • เพื่อให้การประเมินจุดแข็ง/จุดอ่อนมีความชัดเจนควรมีการวัดเปรียบเทียบคุณลักษณะและผลการดำเนินการขององค์กรกับ… 1. บรรทัดฐานขององค์การ (Industry norms) 2. ประวัติการดำเนินงานขององค์การ (Historical Performances) 3. องค์การชั้นนำ (Benchmarks)
จัดทำตารางสรุปจุดอ่อนและจุดแข็งขององค์การจัดทำตารางสรุปจุดอ่อนและจุดแข็งขององค์การ ประเด็นพิจารณา จุดแข็ง จุดอ่อน
จัดทำตารางสรุปจุดอ่อนและจุดแข็งขององค์การจัดทำตารางสรุปจุดอ่อนและจุดแข็งขององค์การ ประเด็นพิจารณา จุดแข็ง จุดอ่อน
จัดทำตารางสรุปจุดอ่อนและจุดแข็งขององค์การจัดทำตารางสรุปจุดอ่อนและจุดแข็งขององค์การ ประเด็นพิจารณา จุดแข็ง จุดอ่อน
การจัดทำประเด็นยุทธศาสตร์โดยใช้ SWOT Matrix ๏จัดทำตาราง SWOT Matrix เพื่อกำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญ คือ 1. วิสัยทัศน์และพันธกิจ (Vision and Mission) 2. เป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Goals) 3. ประเด็นสำคัญเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Issues)
การจัดทำSWOT MATRIX นำผลการวิเคราะห์สถานการณ์ภายนอก (โอกาส / ข้อจำกัด) และสถานการณ์ภายใน (จุดอ่อน / จุดแข็ง) อย่างละ 5 - 10 รายการ มาจำลองเป็นสถานการณ์ (Scenario planning)หรือ SWOT Matrix ดังต่อไปนี้…
ภายใน จุดแข็ง (Strengths) จุดอ่อน (Weaknesses) ภายนอก SO Strategies รุกไปข้างหน้า WO Strategies พัฒนาภายใน โอกาส (Opportunities) ST Strategies สร้างพันธมิตร WT Strategies ปรับเปลี่ยนภายใน ข้อจำกัด (Threats)
กลยุทธ์ SO (SO strategies) จัดทำแผนกลยุทธ์โดยใช้จุดแข็งที่มีอยู่เพื่อสร้างความได้เปรียบจาก โอกาสที่เอื้ออำนวยให้ เช่น องค์กรมีทรัพยากรบุคลากรและที่เทคโนโลยีด้าน… (จุดแข็งภายใน) และพบว่ามีผู้รับบริการในโรงพยาบาล A มีปัญหาเรื่อง…เป็นจำนวนมาก(โอกาสภายนอก) กลยุทธ์ SO ที่เป็นไปได้วิธีหนึ่งคือสร้างความร่วมมือกับโรงพยาบาลที่มีผู้มารับบริการดังกล่าวหรือนำเสนอบริการหรือสินค้าที่จะช่วย แก้ไขปัญหาเรื่อง…
กลยุทธ์ WO (WO strategies) จัดทำแผนกลยุทธ์โดยเอาชนะจุดอ่อนเพื่อใช้ประโยชน์จากโอกาส เช่น หน่วยงานค้นพบว่าผู้รับบริการในโรงพยาบาลมีปัญหาเรื่อง…เป็นจำนวนมาก(โอกาสภายนอก)แต่ในหน่วยงานยังขาดบุคลากรและเทคโนโลยีด้าน…(จุดอ่อนภายใน) กลยุทธ์ WO คือ การพัฒนาความรู้ความสามารถบุคลากรด้วยการจ้างหรือฝึกอบรมบุคลากรเพิ่มขึ้น เพื่อให้มีสมรรถภาพอย่างเพียงพอ
กลยุทธ์ ST (ST strategies) จัดทำแผนกลยุทธ์โดยใช้จุดแข็งเพื่อหลีกเลี่ยงข้อจำกัดหรือภัยคุกคาม เช่น หน่วยงานมีความเชี่ยวชาญด้านการวิจัยและพัฒนา (R&D) เป็นอย่างดี (จุดแข็งภายใน) และพบว่าจำนวนประชากรวัยเด็กและวัยกลางคนกำลังลดลง (อุปสรรคภายนอก) กลยุทธ์ ST ที่เป็นไปได้คือการพัฒนาบริการใหม่ๆสำหรับผู้สุงอายุมากขึ้น เป็นต้น