1.95k likes | 2.51k Views
Tools & Techniques. 7 QC Tools 7 New QC Tools. ปัญหา คือ อะไร ?.
E N D
Tools & Techniques 7 QC Tools 7 New QC Tools
ปัญหา คือ อะไร ? • คำถามที่อาจยกขึ้นมาก็คือ คำว่า “ปัญหา” คืออะไร เราสามารถนิยามได้ง่าย ๆ ว่า “มันคือความ แตกต่างของสิ่งที่เกิดขึ้นจริงกับสิ่งที่คาดหวังเอาไว้” เช่น เราวัดแรงดันของวงจรที่เรากำลังสนใจ ได้ค่า แรงดันออกมา 6 โวลท์ แต่สิ่งที่เราคาดหวัง (อาจได้มาจากการคำนวณตอนออกแบบ) มันน่าจะเป็น 5.5 โวลท์ เป็นต้น หมายความว่า การที่เราจะบอกว่า น่าจะมีปัญหาเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อ มีการเปรียบเทียบข้อมูล ที่เราสนใจ • คำถามที่ตามต่อมาก็คือ ข้อมูลข้างต้นนั้น มีที่มาอย่างไร (เป็นสิ่งที่เราสนใจหรือไม่ มีความชัด เจนของแหล่งที่มาหรือไม่) มีการเก็บรวบรวมข้อมูล(data collection) อย่างไร และ มีการแยกแยะข้อมูล (Stratification) อย่างไร ก่อนไปต่อ ลองหันกลับมาดูว่า เราควรจะเข้าไปเก็บข้อมูลในสภาพแวดล้อม แบบใด ข้อมูลนั้นจึงสามารถสะท้อนถึงปัญหาที่เกิดขึ้นได้
5 G • จากคำถามข้างต้น แสดงว่า เราต้องรู้ข้อมูลจริง ๆ เข้าใจจริง ๆ มีเทคนิคหนึ่งของญี่ปุ่นที่ที่ควร นำมาใช้คือ “5 Gen” (บางทีเรียก “5G”) หรือ แปลเป็นไทยว่า “5 จริง” ได้แก่ • Genba สถานที่เกิดเหตุจริง • Genbutsu ใช้ข้อเท็จจริง • Genjisu ที่ สถานการณ์จริง ของการเกิดข้อมูล • Genri ใช้ทฤษฏีที่ถูกต้องมายืนยันผลของข้อมูล • Gensoku ใช้หลักการพื้นฐานในการแก้ปัญหาและปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
การเก็บข้อมูล • ในกรณีที่ข้อมูลเป็นแบบเชิงคุณภาพ (Qualitative data) เช่น ข้อมูลแสดงลำดับ ข้อมูลแสดงการเปรียบเทียบ (สูง ต่ำ ดี เสีย ผ่าน ไม่ผ่าน) เครื่องมือที่ใช้มักเป็นเครื่องมือที่เกี่ยวกับแนว ความคิด เช่น การระดมสมอง การสร้างภาพในใจ เป็นต้น ถ้าข้อมูลเป็นแบบเชิงปริมาณ (Quantitative data) เช่น ข้อมูลที่นับได้ วัดได้ เป็นตัวเลข เป็นต้น เครื่องมือที่ใช้มักเป็นเครื่องมือสำหรับวิเคราะห์ ข้อมูล
ความหมายของข้อมูล • ข้อมูลดิบ (Raw Data) หมายถึง ข้อเท็จจริงที่รวบรวมมาจากสถานที่เกิดเหตุการณ์จริง เป็น ข้อมูลที่ยังไม่ได้ทำการวิเคราะห์ หรือ หาความสัมพันธ์ใด ๆ เราสามารถแยกข้อมูลออกได้เป็นสอง ประเภท คือข้อมูลเชิงปริมาณ และ ข้อมูลเชิงคุณภาพตามที่กล่าวผ่านมาแล้วข้างต้น การวิเคราะห์ข้อมูล จึงใช้เทคนิคที่แตกต่างกันออกไป เช่น • ข้อมูลเชิงคุณภาพ ข้อมูลเชิงปริมาณ • การระดมความคิด แผ่นตรวจสอบ • ผังแสดงการไหลของกระบวนการ ผังพาเรโต • ผังแสดงเหตุและผล กราฟชนิดต่าง ๆ • ฯลฯ ฯลฯ • แต่ถ้าเรามองในขั้นตอนการนำมาใช้งานแล้ว สามารถกล่าวได้ว่า เครื่องมือเหล่านี้สามารถแบ่งออกได้ เป็นสามกลุ่ม คือ กลุ่มที่เป็นเครื่องมือในการสร้างความคิด กลุ่มที่เป็นเครื่องมือช่วยในการตัดสินใจ และ กลุ่มที่เป็นเครื่องมือที่ใช้ วิเคราะห์ข้อมูล เราจะกล่าวถึงเป็นกลุ่ม ๆ ไป
การระดมความคิด (Brainstorming) ? ? ? ? ? ? เป็นเทคนิคแบบหนึ่งที่ช่วยในการสร้างความคิดมากมายหลายแนวทาง เพื่อใช้ในการแก้ปัญหา และสามารถทำได้ใน ช่วงเวลาสั้น ๆ Alex Osborn
การระดมความคิด คือ อะไร?(1) • การระดมความคิด เป็นกระบวนการหนึ่งในการให้ได้มาซึ่งแนวคิด ที่ได้รับการ พัฒนามาจาก Alex Osborn ซึ่งเป็นผู้บริหารในบริษัทโฆษณาที่มีชื่อเสียง ในปลาย ยุค 1930 • เขามีความเชื่อว่า องค์กรใด ๆ ก็ตามจะประสบความสำเร็จได้ ก็ด้วยการคิดอย่าง สร้างสรรค์ ดังที่เขากล่าวไว้ว่า “จินตนาการ เป็นหน้าที่ขั้นพื้นฐานของมนุษยชาติ” • นอกจากนี้ เขายังกล่าวเสริมอีกว่า ในสถานการณ์ใด ๆ (โดยเฉพาะในที่ประชุม) ความคิดใหม่ ๆ ล้วนแล้วแต่ถูกทำลายด้วยพฤติกรรมบางอย่างของคนบางพวก โดยเฉพาะหากแนวความคิดใหม่ ๆ นั้นยังไม่หนักแน่นเพียงพอ (ด้วยความใหม่ของมัน) หรือ ได้รับการเสนอจากผู้ที่ไม่มีตำแหน่ง หรือ อำนาจ • ดังนั้น เขาจึงได้เสนอแนวทางที่จะช่วนละลายพฤติกรรมเหล่านั้น พร้อมให้ทุกคน สามารถปลดปล่อยความคิดสร้างสรรค์ของตนออกมาได้อย่างเต็มที่
การระดมความคิด คือ อะไร?(2) • ด้วยกระบวนการอันง่ายแสนง่าย ที่มีกฏว่า ให้ทุกคนช่วยกันระดมแนวความ คิดต่าง ๆ ออกมาให้ได้มากที่สุดในระยะเวลาอันสั้น จากนั้นจึง เลือกเฟ้นเอา แนวความคิดชั้นยอดออกมาในท้ายสุด • จากเหตุดังกล่าว จึงทำให้วิธีการระดมความคิดนี้ ได้รับความนิยม แพร่หลาย ออกไปในวงกว้าง • ทักษะสำคัญที่สุดของการระดมความคิดก็คือ การแยกกันอย่างเด็ดขาดระหว่าง “ความคิด (Idea)” และ “การนำ(ความคิด)มาประยุกต์ใช้”
กฏการระดมความคิด (Brainstorming) • Alex Osborn ได้เขียนออกมาเป็นแนวทาง 4 ข้อ คือ • 1) ห้ามวิจารณ์ • การตัดสินใจใด ๆ จะกระทำหลังจากระดมความคิดเสร็จสิ้นแล้วเท่านั้น • 2) อนุญาตให้ออกนอกลู่นอกทางได้ • ความคิดยิ่ง Over มากเท่าใดก็ยิ่งดี เพราะการคิดแบบธรรมดาทั่วไป มันง่ายกว่าการคิด ให้ปรูดปราด • 3) ปริมาณมาก ๆ เข้าไว้ • ยิ่งมากยิ่งดี เพราะจะทำให้มีแนวโน้มที่จะนำไปสู่ผลลัพธ์ที่คาดหวังได้มากขึ้น • 4) รวบรวมและปรับปรุง • ผู้เข้าร่วมควรช่วยกันปรับปรุงแนวคิดให้ดียิ่งขึ้น เช่น รวมสองแนวคิดเป็นแนวคิด ใหม่อันเดียวกัน
ตามด้วย… ปัจจัยอีก 4 ประการ • นอกจากข้อกำหนด 4 ข้อข้างต้นแล้ว ยังเน้นถึงปัจจัยอีก 4 ประการได้แก่ • 1) คิดไปเรื่อย ๆ • ควรคิดไปเรื่อย ๆ อย่าหยุดคิด อย่ารอจนไม่เหลือเวลาให้คิด • 2) มุ่งเน้น • ควรมุ่งเน้นพิจารณาสิ่งที่มีอยู่ในมือเป็นหลัก • 3) มีสมาธิ • ควรมีสมาธิกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งทีละเรื่อง • 4) แน่วแน่ • มุ่งแต่ประเด็นโดยไม่ละพยายาม แม่ว่าในขณะนี้ จะคิดไม่ออกก็ตาม ยังคง พยายามคิดต่อไป
ความล้มเหลวของการระดมความคิดความล้มเหลวของการระดมความคิด • การระดมความคิดนั้น ดูเหมือนง่าย ๆ โดยทุก ๆ คนช่วยกันคิดให้มากที่สุด แต่ เชื่อหรือไม่ว่า การระดมความคิดเพื่อแก้ปัญหาหนึ่ง ๆ จะมีความล้มเหลวรอท่า อยู่เช่นกัน ถ้าไม่ระมัดระวัง • มีปัจจัย 3 ประการที่ทำให้การระดมความคิดล้มเหลว • 1) แก้ไม่ถูกจุด • 2) ปัญหาจากพฤติกรรมของบุคคล • 3) ขาดการเอาใจใส่ต่อกระบวนการ
1) แก้ไม่ถูกจุด • จุดมุ่งหมายหลักของการระดมความคิด คือ เพื่อให้ได้มาซึ่งความคิดใหม่ ดังนั้น ปัญหาที่ต้องการใช้หลักการของการระดมความคิดจึงมีไม่มากนัก หรือ กล่าวกลับกันได้ว่า การระดมความคิดไม่สามารถแก้ปัญหาได้ทุกเรื่อง • การระดมความคิดไม่เหมาะกับงานเชิงปฏิบัติ งานซึ่งต้องได้รับการแก้ไขใน เชิงปฏิบัติ เช่น ปัญหาด้านเทคนิค ด้านเครื่องกล เป็นต้น ปัญหาประเภทนี้ ไม่ ต้องใช้การระดมความคิด เมื่อรู้ว่ามันเสียก็ไปซ่อมมันเท่านั้นเอง เพราะปัญหา เหล่านี้ มีแนวทางการแก้ไขเป็นตรรกะที่ชัดเจนด้วยตัวของมันเองอยู่แล้ว รอเพียงแต่ลงมือทำเท่านั้นเอง • ปัญหาที่เหมาะกับการระดมความคิดคือปัญหาที่ไม่ใช่เชิงปฏิบัติการ เช่น ปัญหาแบบเปิด งานที่มีรายละเอียดหรือเป็นภาพรวม หรือ การคิดในเชิงของ ความเป็นไปได้ เป็นต้น
2) ปัญหาจากพฤติกรรมของบุคคล • ผู้ที่ระดมความคิดมักนำเอาวิธีคิดในเชิงปฏิบัติมาใช้ ซึ่งมุ่งเน้นไปยังผลลัพธ์ สุดท้าย มากกว่าความเป็นไปได้ จึงทำให้ผลิตแนวความคิดออกมาได้น้อย หรือ ไม่มีแนวความคิดใหม่ ๆ ออกมาเลย แนวความคิดที่ได้มักจะซ้ำ ๆ กับที่เคยทำ • การมุ่งเน้นไปยังผลลัพธ์สุดท้าย หมายถึง การที่เราตัดสินใจแนวความคิดในเชิง คุณประโยชน์ (Usefulness) และ ความเป็นไปได้ (Feasibility) มากกว่าที่จะ เป็นในเชิงความแปลกใหม่ (Novelty) หรือ มีแนวโน้ม (Potential) เป็นหลัก • การมุ่งเน้นไปยังผลลัพธ์สุดท้าย จะทำให้เราส่งใจไปตัดสินใจสิ่งใด ๆ ที่เกิดขึ้น และจะเป็นไปในเชิงจับผิดเสียมากกว่า และมักจะเกิดคำถามเหล่านี้ตามมา เช่น • ฟังดูแล้วไม่มีเหตุผล • เคยลองมาแล้ว ใช้ไม่ได้หรอก • มันยุ่งยากเกินไป
3) ขาดการเอาใจใส่ต่อกระบวนการ • หลักการระดมความคิดนั้น จะมีลักษณะแบบอิสระ (Free Form) หรือไม่มีการเตรียมตัวล่วงหน้า ซึ่งอาจนำมาซึ่งประโยชน์และความเสียหายพอ ๆ กัน ดังนั้น การระดมความคิดที่ปราศจากโครงสร้างหรือแบบแผนที่ดี อาจทำให้เราได้แนว ความคิดไม่กี่แบบและไม่คุ้มเวลาที่เสียไป • ดังนั้น การระดมความคิดต้องประกอบด้วย กฏ กติกา และ มารยาท และ การ เตรียมการที่ถูกต้อง เช่น การคัดเลือกคนที่เหมาะสมและแตกต่างกันออกไป การกำหนดภารกิจที่ชัดเจนภายในช่วงเวลาที่เหมาะสม เป็นต้น ตรงนี้มันจะ แตกต่างจากการช่วยกันคิดในความหมายของเราอย่างชัดเจน
การเตรียมการเพื่อระดมความคิด (1) • ในขั้นการเตรียมการนั้น สิ่งที่ต้องคำนึงมากที่สุดคือ • 1) ทีม ควรมีสมาชิก 8-10 คน ประกอบด้วย • ประธาน เป็นผู้รักษากระบวนการและวิธีการระดมสมอง • เจ้าของปัญหา ซึ่งเป็นผู้เข้าใจภารกิจอย่างชัดเจน • กลุ่มนักคิด ซึ่งควรประกอบด้วย • ผู้คิด • นักปฏิบัติ ที่มีทักษะในการวางแผน การกำกับดุแล การแปลแผนไปสู่แนวทาง ปฏิบัติ • ผู้จัดการ ที่มีทักษะทางด้าน การกลั่นกรอง การวิเคราะห์ ตรวจสอบรายละเอียด • ผู้ประสานงาน
การเตรียมการเพื่อระดมความคิด (2) • 2) ภารกิจ • ต้องกำหนดให้ชัดเจนว่า ใครเป็นผู้รับผิดชอบภารกิจนี้ • ปัญหานั้น เป็นปัญหาที่ “เกิดขึ้นแล้ว” หรือ “สมมติว่า มันเกิดขึ้น” • การตั้งคำถาม “อย่างไร (Why?)” เพื่อ สำรวจ และ ไขโครงสร้างของ ปัญหา โดยให้อยู่ในขอบเขตในลักษณะของ • ปัจจุบันนี้เป็นอย่างไร • ในอนาคตต้องการให้เป็นอย่างไร • มีแนวทางอย่างไร ที่จะไปให้ถึงอนาคต • 3) ตารางเวลา (Time Plan)
แนวทางการใช้การระดมความคิดเพื่อแก้ปัญหาแนวทางการใช้การระดมความคิดเพื่อแก้ปัญหา • แนวทางการใช้การระดมความคิด เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหา มีขั้น ตอนดังต่อไปนี้ • 1) เปิดประเด็นปัญหา • 2) ระดมความคิดเพื่อสร้างประเด็นปัญหาใหม่ ๆ ให้มากที่สุด • 3) การยอมรับประเด็นปัญหา • 4) ระดมความคิดเพื่อหาวิธีขจัดปัญหา • 5) คัดเลือกความคิด เพื่อใช้แก้ไขปัญหา • 6) ประเมินแนวทางขจัดปัญหา • 7) กำหนดรายละเอียดของทางแก้ปัญหา • 8) เขียนแผนปฏิบัติการ • 9) นำไปปฏิบัติ
การระดมความคิดเริ่มจาก …. การสำรวจปัญหา • การเข้าใจปัญหาให้ถูกต้องตรงประเด็นจะเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด กลุ่ม ควรเริ่มจาก: • เปิดประเด็นปัญหาโดยเจ้าของปัญหาเป็นผู้อธิบาย • กลุ่มควรฟังอย่างสร้างสรรค์ เพื่อหาประเด็นปัญหาใหม่ ๆ โดยการ • แยกแยะปัญหา (Factoring the Problem) เพื่อดูสิ่งที่แฝงอยู่เป็นการนำ ไปสู่ประเด็นใหม่ ๆ • เปลี่ยนมุมมอง (Shifting Perspective) เพื่อคิดในมุมมองอื่น ๆ ทั้งการมองไปข้างหน้า (Forward) และ มองย้อนหลัง (Backward) • เชื่อมโยงความคิดต่าง ๆ เข้าด้วยกันโดยการใช้ How to’s Technique
การแยกประเด็นของปัญหาการแยกประเด็นของปัญหา • เจ้าของปัญหาอาจแยกแยะข้อมูลออกเป็น 3 กลุ่ม เพื่อพิจารณาได้เร็ว ขึ้น โดยพิจารณาตามแนวทางต่อไปนี้ • แนวความคิดที่เป็นจริงได้ • หมายถึง ประเด็นปัญหาที่สามารถนำมาปฏิบัติได้ทันที • แนวความคิดที่อาจเป็นจริงได้ • หมายถึง ประเด็นปัญหาหรือแนวความคิด ที่สามารถนำมาซึ่ง วิธีการ แก้ปัญหาได้ หลังจากมีการแก้ไข ปรับปรุง หรือ พัฒนา • แนวความคิดที่ก่อให้เกิดความสนใจ • หมายถึงแนวความคิดที่กระตุ้นความสนใจ แม้ว่าจะไม่เข้าใจมันอย่าง ครบถ้วนก็ตาม • จากนั้น ให้เจ้าของปัญหาจะเป็นผู้เลือกประเด็นที่น่าสนใจขึ้นมาที่ละ 1 เรื่องเพื่อพิจารณาร่วมกันต่อไป
การยอมรับประเด็นปัญหาการยอมรับประเด็นปัญหา • ที่ประชุมยอมรับในประเด็นปัญหา หลังจากเจ้าของปัญหานำเสนอ ขึ้นมา • ขั้นตอนต่อไปคือ การระดมความคิดเพื่อหาวิธีการแก้ไขปัญหาให้กับ เจ้าของปัญหา เทคนิคที่นำมาใช้มีหลายเทคนิคด้วยกัน เช่น • เทคนิคการพยากรณ์ หรือ หาความสัมพันธ์กันของข้อมูลต่าง ๆ • เทคนิคการคิดเชิงอุปมาอุปมัย • เทคนิคการฝืนกฎ
การเลือกความคิด • การเลือกความคิด (สำหรับแก้ไขปัญหา) (สัก 3 ความคิด) เพื่อเสนอ ต่อเจ้าของปัญหา เทคนิคในการคัดเลือกความคิด เช่น • การใช้สัญชาตญาณ • การจัดกลุ่มความคิด • การให้คะแนนเพื่อการจัดลำดับ • การลงคะแนนโดยตรง • เมื่อมาถึงขั้นตอนนี้ ควรจะเหลือแนวความคิดแค่ความคิดเดียว เพื่อ พัฒนาไปสู่แผนปฏิบัติการ ในขณะเดียวกันความคิดอีกสองความคิด อาจต้องเก็บไว้ เผื่อใช้ประโยชน์ในภายหน้าด้วย
อธิบายแนวทางการแก้ปัญหาที่ถูกเลือกอธิบายแนวทางการแก้ปัญหาที่ถูกเลือก • ให้เจ้าของแนวทางแก้ปัญหาที่ถูกเลือกมาอธิบายให้กลุ่มเข้าใจเหมือน ๆ กัน • กลุ่มประเมินแนวทางแก้ไขปัญหา โดยใช้ • การวิเคราะห์ PNI (Positive Negative and Interest) • ผู้ได้รับผลประโยชน์ ผู้สนับสนุน • Force Field Analysis • กำหนดผู้สนันสนุน
จัดทำแผนปฏิบัติการ • เริ่มจากทำรายละเอียดคร่าว ๆ เพื่อดูวัตถุประสงค์หลัก • Why-Why Analysis • FPA (Failure Prevention Analysis) • จัดทำรายละเอียดเพื่อใช้ดำเนินการ • ระบุผู้รับผิดชอบ • เริ่มปฏิบัติตามแผนที่วางเอาไว้
สรุป • การระดมความคิดนั้นสามารถนำมาใช้ได้ตั้งแต่ • การขยายขอบเขตของปัญหาที่เกิดขึ้น • การคัดเลือกปัญหา • การหาแนวทางแก้ไขที่หลากหลาย • การคัดเลือกแนวทางการแก้ปัญหาที่เหมาะสม • การจัดทำแผนและรายละเอียดเพื่อดำเนินการ
ผังการไหลในกระบวนการ (Flow Process Chart) • ผังการไหลในกระบวนการ คือ การแสดงให้เห็นถึงขั้นตอนย่อย ๆ ที่เกิดขึ้นในกระบวนการทำงาน เพื่อให้เห็นภาพได้ชัดยิ่งขึ้น และ ง่ายต่อการจัดการ ประโยชน์ของการใช้ผังการไหลในกระบวนการคือ สามารถกำจัดงานที่ไร้ประสิทธิภาพ และ งานที่ไม่เกิดมูลค่าเพิ่มออกไปได้ • เราจะใช้ผังการไหลของกระบวนการ • เมื่อต้องการแบ่งแยกกิจกรรมการทำงานออกเป็นขั้นตอนย่อย ๆ • เมื่อต้องการรวบรวม จัดการ และวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในกระบวนการทำงาน • เมื่อต้องการปรับปรุงและพัฒนากระบวนการทำงานให้ดีขึ้น
การสร้างผังการไหลในกระบวนการการสร้างผังการไหลในกระบวนการ • เรามาทำความรู้จักกับสัญลักษณ์ที่ใช้ในผังการไหลในกระบวนการกันก่อน สัญลักษณ์ข้างต้นมีอยู่ 5 ตัว ได้แก่ • 1) การปฎิบัติงาน ใช้สัญลักษณ์วงกลม • หมายถึง การผลิต การเตรียมงาน เช่น การขันน็อต การเจาะ การบัดกรี เป็นต้น • 2) การเดินทาง ใช้สัญลักษณ์รูปลูกศร • หมายถึง การเคลื่อนที่ การเคลื่อไหว เช่น การส่งของ การยกของ การเคลื่อนย้าย • 3) การอคอย ใช้สัญลักษณ์รูปแอนด์เกต • หมายถึง รอคอยระหว่างปฎิบัติงาน เช่น รอขึ้นลิฟท์ รอพิมพ์งาน • 4) การตรวจสอบ ใช้สัญลักษณ์รูปสี่เหลี่ยม • หมายถึง การตรวจรับ การตรวจทาน การทดสอบ (เพื่อดูความถูกต้อง) เช่น อ่านค่าจากมิเตอร์ ตรวจสอบตามมาตรฐาน
5) การจัดเก็บ ใช้สัญลักษณ์รูปสามเหลี่ยมหัวลง • หมายถึง การจุดเก็บใด ๆ ที่เกิดขึ้นระหว่าง หรือ ท้ายกระบวนการ เช่น เก็บสินค้าเข้าโกดัง เก็บเอกสาร เข้าห้องเก็บเอกสาร • บางทีในการทำงานจริง มักพบการกระทำที่ซ้อนกันก็ได้ เช่น ผลิตและตรวจสอบในสถานที่การทำงาน ที่เดียวกัน ในกรณีนี้ให้ใช้สัญลักษณ์ซ้อนกัน เช่น
ตัวอย่าง ตัดแผ่นเหล็ก เดิน เบิกแผ่นเหล็ก เดิน บรรจุและจัดเก็บ เจาะแผ่นเหล็กที่ตัดแล้ว และวัดขนาด รอให้ครบ
ทำเป็นตารางสำเร็จรูปก็ได้ทำเป็นตารางสำเร็จรูปก็ได้
ปัญหา, ผล เครื่องมือคุณภาพ 7 ชนิด (แบบเดิม) 1. แผ่นตรวจสอบ (Check Sheet) 2. ผังพาเรโต (Pareto diagram) 3. กราฟ (Graph) 4. ผังเหตุและผล (Cause & Effect diagram) 5. ผังการกระจาย (Scatter diagram) 6. แผนภูมิควบคุม (Control chart) 7. ฮิสโตแกรม (Histogram) ST-C-PD-004
1.แผ่นตรวจสอบ (CHECK SHEET) แผ่นตรวจสอบคือ แบบฟอร์มที่มีการออกแบบช่องว่างต่าง ๆ ไว้เรียบร้อย เพื่อจะใช้ในการบันทึกข้อมูลได้ง่ายและสะดวก ถูกต้อง ไม่ยุ่งยาก ในการออกแบบฟอร์มทุกครั้งต้องมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน วัตถุประสงค์ของการออกแบบฟอร์มในการเก็บข้อมูล 1. เพื่อควบคุมและติดตาม (Monitoring) ดูผลการดำเนินการผลิต 2.เพื่อการตรวจเช็ค 3. เพื่อวิเคราะห์หาสาเหตุของความไม่สอดคล้อง
ประเภทของแผ่นตรวจสอบ 1. แผ่นตรวจสอบการปฏิบัติงานประจำวัน 1.1 แผ่นตรวจสอบเพื่อใช้ดูการแจกแจงของข้อมูลอย่างง่าย 1.2 แผ่นตรวจสอบเพื่อการตรวจสอบยืนยัน 2.แผ่นตรวจสอบการตรวจสอบคุณภาพ 2.1 แผ่นตรวจสอบสำหรับบันทึกของเสีย 2.2 แผ่นตรวจสอบแสดงสาเหตุของความบกพร่อง 2.3 แผ่นตรวจสอบเพื่อใช้แสดงตำแหน่งจุดบกพร่องหรือจุดเกิดเหตุ
จำนวนชิ้นที่ตรวจสอบ ขนาดที่กำหนด ความถี่ 10 5 - 10 - 9 ขนาดเล็กสุด - 8 - 7 - 6 X 1 2 4 6 9 - 5 X X - 4 X X X X - 3 X X X X X X - 2 X X X X X X X X X - 1 X X X X X X X X X X X 0 8.300 11 X X X X X X X X 8 7 3 2 1 1 1 X X X X X X X 2 X X X 3 X X 4 X 5 X 6 7 ขนาดโตสุด 8 1.1 แผ่นตรวจสอบเพื่อดูการแจกแจงข้อมูลอย่างง่าย
1 2 3 1.2 แผ่นตรวจสอบเพื่อการตรวจสอบยืนยัน รายละเอียดการตรวจสอบ ผลตรวจ ส่วนที่ 1 1.1ปริมาณน้ำหล่อเย็นและการรั่วไหล 1.2 ปริมาณน้ำมันเบรกและคลัตช์ ส่วนที่ 2 2.1 สภาพสีของไอเสีย 2.2 สภาพแถบสะท้อนแสง(ขับขี่ตอนกลางคืน) ส่วนที่ 3 3.1 แรงดันของยางรถยนต์
2.1 แผ่นตรวจสอบสำหรับบันทึกของเสีย วันที่.…..…….…….……………….... แผนก……………………………….. ชื่อผู้ตรวจสอบ………………………. ล็อตที่…………..………...………… ใบสั่งเลขที่…………………………... สินค้า.…..…….…….…. ขั้นตอนการผลิต : ตรวจสอบขั้นสุดท้าย ชนิดของความบกพร่อง ตำหนิที่ผิวชิ้นงาน รอยแตก ฉีดไม่เต็มชิ้น รูปร่างบิดเบี้ยว จำนวนชิ้นงานที่ตรวจสอบ : 1525 หมายเหตุ ตรวจทุกชิ้น ผลรวมแต่ละ ชนิดของความบกพร่อง ชนิดของความบกพร่อง 17 11 26 3 5 ตำหนิที่ผิวชิ้นงาน รอยแตก ฉีดไม่เต็มชิ้น รูปร่างบิดเบี้ยว อื่นๆ 62 จุดบกพร่อง รวมจำนวนความบกพร่อง จำนวนชิ้นงานที่เป็น ของเสีย 42 ชิ้น
เครื่องจักร ชื่อ พนักงาน จันทร์ อังคาร พุธ พฤหัสบดี ศุกร์ เสาร์ เข้า บ่าย เข้า บ่าย เข้า บ่าย เข้า บ่าย เข้า บ่าย เข้า บ่าย เครื่องจักร ที่ 1 นาย ก นาย ข รอยขีดข่วนผิวงาน ฟองอากาศ งานผิดปกติ 2.2 แผ่นตรวจสอบแสดงสาเหตุของความบกพร่อง
เครื่องจักร ชื่อ พนักงาน จันทร์ อังคาร พุธ พฤหัสบดี ศุกร์ เสาร์ เช้า บ่าย เช้า บ่าย เช้า บ่าย เช้า บ่าย เช้า บ่าย เช้า บ่าย เครื่อง 1 นาย ก นาย ข นาย ค เครื่อง 2 รอยขีดข่วนผิวงาน งานผิดรูปร่าง ฟองอากาศ ความบกพร่องอื่น ๆ ผิวงานสำเร็จไม่ได้คุณภาพ 2.2 แผ่นตรวจสอบแสดงสาเหตุของความบกพร่อง
ชนิดของรถ สถานที่ตรวจสอบ เวลาการตรวจสอบ จำนวนที่ตรวจสอบ สัญลักษณ์ ตำหนิที่สี x มีสิ่งเจือปน # กระบวนการ วิธีการตรวจสอบ วิธีการสุ่ม ผู้ตรวจสอบ อื่นๆ หมายเหตุ x # 2.3 แผ่นตรวจสอบสำหรับหาตำแหน่งจุดบกพร่อง
ขั้นตอนการออกแบบแผ่นตรวจสอบขั้นตอนการออกแบบแผ่นตรวจสอบ 1. ต้องกำหนดวัตถุประสงค์ ตั้งชื่อ ของแผ่นตรวจสอบ 2. กำหนดปัจจัย (4M) 3. ทดลองออกแบบ กำหนดสัญลักษณ์ 4. ทดลองนำไปใช้เก็บข้อมูล 5. ปรับปรุงแก้ไข ทดลองเก็บ 6. กำหนดการใช้แผ่นตรวจสอบ (5W 1H) 7. นำข้อมูลมาวิเคราะห์และสรุป 8. แบบฟอร์มข้อมูลดิบ + แบบฟอร์มสรุป
ข้อควรจำในการออกแบบแผ่นตรวจสอบข้อควรจำในการออกแบบแผ่นตรวจสอบ • ต้องมีวัตถุประสงค์ในการใช้แผ่นตรวจสอบ • กรอกข้อมูลสะดวก ง่ายต่อการบันทึก • ยิ่งมีการเขียนหรือคัดลอกมากเท่าใด โอกาสผิดมากเท่านั้น • สะดวกต่อการอ่านค่าหรือใช้ในการวิเคราะห์ • ต้องพอสรุปผลได้ทันทีที่กรอกข้อมูลเสร็จ • ก่อนใช้แผ่นตรวจสอบจริงผู้ออกควรทดลองเก็บข้อมูลก่อนใช้จริง • มีการปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
2.แผนภูมิพาเรโต (PARETO DIAGRAMS) เป็นแผนภูมิที่ใช้แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างสาเหตุของความบกพร่องกับปริมาณความสูญเสียที่เกิดขึ้น - จำนวนชิ้นงานเสีย - มูลค่าความเสียหายจากของเสีย - ความถี่ของการเกิด - ตามชนิดของความบกพร่อง - ตำแหน่งที่พบความบกพร่อง - เครื่องจักรที่ก่อจุดบกพร่อง
เหตุ ผล 20% 80% 80% 20% จำนวนสาเหตุน้อยแต่มีมูลค่าความสูญเสียมากจำนวนสาเหตุมากแต่มีมูลค่าความสูญเสียน้อย ซึ่งเรียกการวิเคราะห์แบบนี้ว่า “การวิเคราะห์แบบพาเรโต”
ประโยชน์ของผังพาเรโต • สามารถบ่งชี้ให้เห็นว่าหัวข้อใดเป็นปัญหามากที่สุด • สามารถเข้าใจลำดับความสำคัญมากน้อยของปัญหาได้ทันที • สามารถเข้าใจว่าแต่ละหัวข้อมีอัตราส่วนเป็นเท่าใดในส่วนทั้งหมด • เนื่องจากใช้กราฟแท่งบ่งชี้ขนาดของปัญหา ทำให้โน้มน้าวจิตใจได้ดี • ไม่ต้องใช้การคำนวณที่ยุ่งยาก ก็สามารถจัดทำได้ • สามารถใช้ในเปรียบเทียบผลได้ • ใช้สำหรับการตั้งเป้าหมาย ทั้งตัวเลขและปัญหา
ขั้นตอนการสร้างผังพาเรโตขั้นตอนการสร้างผังพาเรโต 1. ตัดสินใจว่าจะศึกษาปัญหาอะไร และต้องการเก็บข้อมูลชนิดไหน (แกน Y # 1) - ความถี่ของการเกิด (ครั้ง) - มูลค่า (แกน Y # 2) - % ของความถี่ จากแกน Y # 1 (แกน X) การจำแนกข้อมูล - ลักษณะของเสีย - ตำแหน่งของเสีย 2. กำหนดวิธีการเก็บข้อมูลและช่วงเวลาที่จะทำการเก็บ
ขั้นตอนการสร้างผังพาเรโตขั้นตอนการสร้างผังพาเรโต 3. ออกแบบแผ่นบันทึก 4. นำไปเก็บข้อมูล