1.51k likes | 1.99k Views
จริยธรรมและกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology law). ผลกระทบต่อสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศ. เทคโนโลยีสารสนเทศมีผลต่อความคิดและพฤติกรรมของมนุษย์.
E N D
จริยธรรมและกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ(Information Technology law)
ผลกระทบต่อสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศผลกระทบต่อสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศมีผลต่อความคิดและพฤติกรรมของมนุษย์เทคโนโลยีสารสนเทศมีผลต่อความคิดและพฤติกรรมของมนุษย์ • การใช้โทรศัพท์มือถือ มีเครื่องมือที่ใช้ในการช่วยจำหมายเลขโทรศัพท์ ทำให้ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือมีความรู้สึกว่าไม่มีความจำเป็นจะต้องทำการจดจำหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ที่ต้องการติดต่อด้วยอีกต่อไป • พฤติกรรมในการซื้อสินค้า จากเดิมอาจจะต้องไปซื้อสินค้าด้วยตนเองที่ร้านค้า ก็เปลี่ยนเป็นสั่งซื้อผ่านทางอินเทอร์เน็ต • พฤติกรรมในการติดต่อสื่อสารกัน จากเดิมที่อยู่ในรูปของ • จดหมายมีน้อยลง แต่จะเปลี่ยนเป็นใช้การติดต่อผ่าน E-mail แทน • พฤติกรรมในการค้นหาข้อมูลจากเดิมจะค้นหาข้อมูลจาก • ห้องสมุด ก็เปลี่ยนเป็นค้นหาจากอินเทอร์เน็ตโดยส่วนใหญ่
เทคโนโลยีสารสนเทศและสังคมมีผลกระทบซึ่งกันและกันเทคโนโลยีสารสนเทศและสังคมมีผลกระทบซึ่งกันและกัน • สังคมมีผลต่อเทคโนโลยีสารสนเทศ มีแรงผลักดันจากสังคมให้เกิดเทคโนโลยีใหม่ๆเช่น • เนื่องจากสถานภาพทางเศรษฐกิจ ทำให้มีการออกแบบให้คอมพิวเตอร์สามารถทำงานหลาย ๆ งาน ได้ในขณะเดียวกัน เพื่อทำให้ประหยัดทรัพยากร • จากกระแสความต้องการการสื่อสารที่รวดเร็วทั่วถึงได้ผลักดันให้เกิดอินเทอร์เน็ตขึ้น • เทคโนโลยีสารสนเทศส่งผลกระทบต่อสังคม เช่น • เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดรูปแบบสังคมแบบใหม่ที่มีการ • พบปะพูดคุยในเรื่องที่มีความสนใจร่วมกัน ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต • การติดต่อสื่อสารผ่านระบบอินเทอร์เน็ต อาจจะทำให้เกิดการ ล่อลวงกัน จนเกิดเป็นคดีต่าง ๆ • การเข้าถึงข้อมูลและกระจายข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตที่ง่ายเกินไป • มีผลต่อกลุ่มบุคคลที่ไม่ควรที่จะได้รับข้อมูลเหล่านั้น เช่น ภาพที่ไม่ • เหมาะสม
เทคโนโลยีสารสนเทศมีผลต่อการดำเนินชีวิตเทคโนโลยีสารสนเทศมีผลต่อการดำเนินชีวิต • มีความรู้สึกโดยทั่วกันว่า ต้องสามารถติดต่อผู้ที่มีมือถือได้โดยสะดวก หากบางครั้งก็พบอุปสรรค เช่น บางครั้งคู่สนทนาอยู่ในที่อับสัญญาณ ทำให้กระทบต่อการติดต่อสื่อสาร • เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยอำนวยความสะดวกในการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น คอมพิวเตอร์ถูกฝังอยู่ในอุปกรณ์เครื่องใช้ภายในบ้าน อาทิ โทรทัศน์ ตู้เย็น เครื่องซักผ้า ไมโครเวฟ สภาพชีวิตความเป็นอยู่จึงเปลี่ยนไป เป็นต้น • ระบบคอมพิวเตอร์ที่ควบคุมการจ่ายไฟให้กับพลเมืองเกิดขัดข้อง จะก่อให้เกิดผลเสียมากมายรวมทั้งเกิดความวุ่นวายต่าง ๆ
ปัญหาสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศปัญหาสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศ • ปัญหาเด็กติดเกมส์ • ปัญหาละเมิดลิขสิทธิ์ • ปัญหาสังคมเสื่อมโทรมจากการใช้เทคโนโลยี ในทางที่ผิด • ปัญหาอาชญากรรมต่อชีวิตที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศ • ปัญหาอาชญากรรมต่อข้อมูล • ปัญหาการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล เช่น คุกกี้ การนำภาพบุคคลมาตกแต่งดัดแปลงเพื่อให้เกิดการ เข้าใจผิด
ประเด็นพิจารณาการใช้จริยธรรมเพื่อแก้ปัญหาสังคม ประเด็นพิจารณาการใช้จริยธรรมเพื่อแก้ปัญหาสังคม ที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผลกระทบจากเทคโนโลยีสารสนเทศ และทฤษฎีเรื่องจริยธรรม • ตัวอย่างเช่น • ข้อถกเถียงที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบจากการใช้วงจรปิด • การใช้คุกกี้ในอินเทอร์เน็ต ต่อสิทธิในเรื่องความเป็นส่วนตัวของมนุษย์ • ข้อถกเถียงในเรื่องผลกระทบจากความแตกต่างในเรื่องชนชั้นทางสังคม ต่อสิทธิในการเข้าถึงข้อมูล เช่น โอกาสในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของนักเรียนในชนบท • กรณีข้อถกเถียงในเรื่องการใช้ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ต่อเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา เป็นต้น
การวิพากษ์เพื่อนำจริยธรรมมาใช้กับการวิพากษ์เพื่อนำจริยธรรมมาใช้กับ เทคโนโลยีสารสนเทศ ตัวอย่างเช่น - เราจะใช้แนวทางใดเพื่อปกป้องเยาวชนของเราเมื่อพวกเขาเข้าสู่สังคมอินเทอร์เน็ต - แนวทางที่กำหนดขึ้นนี้มีผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลอย่างไร - ข้อถกเถียงในลักษณะของแนวนโยบายในการคุ้มครองผู้ผลิตสินค้าดิจิตอลที่มีผลต่อสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งกำลังการซื้อและการใช้สินค้าไอที เป็นต้น
เทคโนโลยีสารสนเทศกับจริยธรรมเทคโนโลยีสารสนเทศกับจริยธรรม และการเมือง ตัวอย่างเช่น - การสร้างภาพของพระเอกหรือผู้ร้ายในภาพยนตร์ - การเกิดของกระแส Open source เพื่อคานอำนาจกับซอฟต์แวร์ให้สิทธิการใช้ - เครื่องเอทีเอ็ม ที่ออกแบบมาเพื่อให้ใช้ได้กับคนปกติได้แต่ไม่สามารถใช้งานได้กับคน ตาบอด หรือคนพิการที่อยู่บนรถเข็น หรือคนที่มีปัญหาในการจำ
เทคโนโลยีสารสนเทศกับจริยธรรมเทคโนโลยีสารสนเทศกับจริยธรรม และความเป็นมนุษย์ ทัศนคติ อารมณ์ความรู้สึก ที่มนุษย์มีก่อให้เกิดการรวมกลุ่มหรือมีการสร้างสังคมรูปแบบเสมือนจริง ในกลุ่มของผู้สนใจหรือมีแรงปรารถนา (passion) คล้ายคลึงกัน เรียกว่า โลกเสมือนจริง (virtuality)
เทคโนโลยีสารสนเทศกับจริยธรรมเทคโนโลยีสารสนเทศกับจริยธรรม และความเป็นมนุษย์ - กรณีของการเปลี่ยนแปลงสภาพสังคมในเรื่องของโลกเสมือนจริง (virtuality) แยกกลุ่มตามความสนใจเป็น - ชุมชนผู้ใช้อินเทอร์เน็ต (Cyber Community) - การศึกษาแบบเสมือนจริง (Virtual Education) - การมีมิตรภาพแบบเสมือนจริง (Virtual Friendships) - องค์กรแบบเสมือนจริง (Virtual Organizations) - และอื่นๆ สิ่งที่อาจเกิดขึ้นได้ในชุมชนเหล่านี้ ซึ่งอาจจะนำไปสู่การล่อลวงได้ ตัวอย่างเช่น - คนไม่สวยอาจถูกทำให้เข้าใจว่าเป็นคนสวย - คนอ้วนอาจถูกทำให้เข้าใจว่าเป็นคนหุ่นดี
กรณีศึกษาอาชญากรรมและกฎหมายไอที (1) กรณีที่ 1 : นายจ้างเปิด e-mail ลูกจ้างอ่านได้หรือไม่? กรณีที่ 2 : Copy รูปภาพ/ข้อความบนเว็บไซต์ของผู้อื่นมา ใช้เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ทุกกรณี หรือเปล่า? กรณีที่ 3 : หมิ่นประมาททางอินเทอร์เน็ตกับความรับผิด ทางแพ่งหรือไม่? กรณีที่ 4 : ทำ Hyperlink ยังไงไม่ให้ละเมิดลิขสิทธิ์? กรณีที่ 5 : โหลดโปรแกรมหรือเพลงทางอินเทอร์เน็ตผิด กฎหมายหรือเปล่า?
กรณีที่ 1 : นายจ้างหรือผู้บังคับบัญชา เปิด e-mail ลูกจ้างหรือผู้ใต้บังคับบัญชาอ่านได้หรือไม่? - ในประเทศสหรัฐอเมริกา ถ้าองค์กรนั้น ๆ มีการกำหนด User name และ Password ให้กับคนในองค์กร นายจ้าง หรือผู้บังคับบัญชามีสามารถเปิดอ่าน e-mail ของลูกจ้างได้ รวมทั้งสามารถดูแฟ้มข้อมูลต่าง ๆ ในฮาร์ดดิสก์คอมพิวเตอร์ของบริษัทได้ เพราะเป็น e-mail สำหรับการปฏิบัติงาน - แต่หากเป็น e-mail อื่นที่ไม่ใช่ขององค์กร จะไม่ได้รับอนุญาตให้เปิดอ่าน - หากนายจ้างหรือผู้บังคับบัญชาละเมิดสิทธิ์ ลูกจ้างสามารถฟ้องร้องนายจ้างหรือผู้บังคับบัญชาให้ชดใช้ค่าเสียหายทางแพ่งได้
กรณีที่ 2 : การ Copy รูปภาพ/ข้อความบนเว็บไซต์ของผู้อื่นมาใช้ เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ทุกกรณีหรือเปล่า? - หากต้องทำการ copy รูปภาพหรือข้อความบนเว็บไซต์ของผู้อื่นมาใช้งาน จำเป็นต้องขออนุญาตเจ้าของเสียก่อน - หากนำมาใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตจะถือว่าละเมิดลิขสิทธิ์ผิดกฎหมาย - หากนำไปใช้เพื่อการค้าอาจถูกฟ้องเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญาได้ - ยกเว้นสำหรับกรณีเพื่อการศึกษา โดยต้องมีการอ้างอิงและขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์
กรณีที่ 3 การหมิ่นประมาททางอินเทอร์เน็ต สามารถฟ้องร้องเอาผิดได้หรือไม่? (1) - หากมีการหมิ่นประมาทบุคคลผ่านทางอินเทอร์เน็ต สามารถฟ้องร้องได้ทั้งคดีอาญา และคดีแพ่ง - การหมิ่นประมาททางแพ่งหมายถึง การบอกกล่าวข้อความอันเป็นเท็จและทำให้เกิดความเสียหายต่อชื่อเสียง หรือการทำมาหาเลี้ยงชีพของคนอื่น - ส่วนใหญ่คดีหมิ่นประมาทจะฟ้องร้องกันเป็นคดีแพ่ง และเรียกค่าเสียหายกันมากๆ เพื่อให้จำเลยเข็ดหลาบ - คดีแพ่งเรื่องหมิ่นประมาท ในประเทศไทยยังมีประเด็นที่น่าสนใจคือ เรื่องศาลที่จะฟ้องคดี - โจทก์สามารถฟ้องคดีได้ที่ศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนา อยู่ในเขตหรือศาลที่เป็นที่เกิดของเหตุในการฟ้องคดี - การหมิ่นประมาทโดยการโฆษณาหนังสือพิมพ์ฝ่ายผู้เสียหาย อาจถือว่าความผิดเกิดขึ้นทั่วประเทศ จึงทำการตระเวนไปฟ้องตามศาลต่าง ๆ ทั่วประเทศ ส่งผลให้จำเลยต้องตามไปแก้คดี
กรณีที่ 4 : การทำ Hyperlink ยังไงไม่ให้ละเมิดลิขสิทธิ์? - มีโอกาสละเมิดลิขสิทธิ์ หากมีการมองว่าเป็นการทำซ้ำงานอันมีลิขสิทธิ์ - แต่ถ้าการเชื่อมโยงนั้นเป็นการเชื่อมโยงต่อไปยังหน้าแรกของเว็บผู้อื่นก็สามารถทำได้ แต่ควรขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ให้เรียบร้อย - หากเป็นการเชื่อมโยงลึกลงไปถึงเนื้อหาส่วนอื่นของเว็บผู้อื่นจะถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ได้ - ในกรณีที่ไม่ต้องการให้ใครนำเว็บของเราไปเชื่อมโยงอาจจะระบุไว้ที่เว็บเลยว่า ไม่อนุญาตจะทำให้ผู้ที่เข้ามาเชื่อมโยง - หากยังมีการละเมิดสิทธิ์ก็จะมีความผิดโดยไม่ต้องตีความ
กรณีที่ 5 : โหลดโปรแกรมหรือเพลงทางอินเทอร์เน็ตผิดกฎหมายหรือเปล่า? - การ Download โปรแกรมทางอินเทอร์เน็ตมาใช้งานแบบถูกต้องตามกฎหมายโดยไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ ก็ต่อเมื่อโปรแกรมที่ผู้ใช้ Download มาใช้นั้น ถูกระบุว่าเป็นประเภท Freeware, Shareware - สำหรับการโหลดเพลงทางอินเทอร์เน็ต สามารถทำได้โดยไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์หากได้รับอนุญาต - แต่โดยทั่วไปแล้วค่ายเพลงมักจะไม่อนุญาต ยกเว้นจะทำเพื่อการค้า
จริยธรรมและกฎหมายด้านเทคโนโลยีสารสนเทศจริยธรรมและกฎหมายด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ จริยธรรม (Ethics) หมายถึง ความถูกต้อง หรือไม่ถูกต้อง ที่เป็นตัวแทนศีลธรรมที่เป็นอิสระในการเลือกที่จะชักนำพฤติกรรมบุคคล เนื่องจากเทคโนโลยีสารสนเทศ และระบบสารสนเทศทำให้เกิดปัญหาความแตกต่างระหว่างบุคคล และสังคม เพราะทั้ง 2 สิ่งนี้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม
จริยธรรมทางด้านคอมพิวเตอร์จริยธรรมทางด้านคอมพิวเตอร์ ความแตกต่างระหว่างจริยธรรมและจดหมาย
ประเด็นด้านจริยธรรม และกฎหมายที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ • ความเป็นส่วนตัว (Privacy) : มองในส่วนของสิทธิส่วนบุคคลที่พึงมี ซึ่งบุคคลอื่นไม่สามารถเข้าไปใช้หรืออ่านข้อมูลที่เป็นส่วนตัวได้ • ความถูกต้อง (Accuracy) : มองในส่วนการจัดเก็บข้อมูลฐานข้อมูลต้องถูกต้อง ถ้าข้อมูลที่ได้ไม่ถูกต้องแล้วนั้น จะทำให้เมื่อนำไปประมวลผลมีความคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงได้ จะส่งผลต่อการตัดสินใจด้วย • ความเป็นเจ้าของ (Property) : มองในส่วนสิทธิความเป็นเจ้าของในซอฟต์แวร์ (ลิขสิทธิ์) • การเข้าใช้ข้อมูล (Access) : มองในส่วนสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลในองค์กร ใครบ้างที่มีสิทธิในการเข้าถึงข้อมูล และใครบ้างที่สามารถอ่าน เขียนข้อมูลได้
กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ • กฎหมายเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Transactions Law) • กฏหมายเกี่ยวกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Signatures Law) • กฎหมายเกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศให้ทั่วถึงและเท่าเทียมกัน (กฎหมายลำดับรองของรัฐธรรมนูญมาตรา 78) (National Information Infrastructure Law) • กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection Law) • กฎหมายเกี่ยวกับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ (Computer Crime Law) • กฎหมายเกี่ยวกับการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์
กฎหมายเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์กฎหมายเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อรับรองสถานะทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้เสมอด้วยกระดาษ อันเป็นการรองรับนิติสัมพันธ์ต่างๆ ซึ่งแต่เดิมอาจจะจัดทำขึ้นในรูปแบบของหนังสือให้เท่าเทียมกับนิติสัมพันธ์รูปแบบใหม่ที่จัดทำขึ้นให้อยู่ในรูปแบบของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ รวมตลอดทั้งการลงลายมือชื่อในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และการรับฟังพยานหลักฐานที่อยู่ในรูปแบบ ของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ธุรกรรมอิเล็กทรอนิส์ หมายถึง กิจกรรมที่เกี่ยวกับการทำนิติกรรมสัญญา หรือการดำเนินการใด ๆ ที่เกี่ยวข้อง ที่ใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดหรือบางส่วน
รูปแบบของธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์รูปแบบของธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หลักการของกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ กฎหมายเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Transactions Law) เพื่อรับรองสถานะทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้เสมอด้วยกระดาษ อันเป็นการรองรับนิติสัมพันธ์ต่างๆ ซึ่งแต่เดิมอาจจะจัดทำขึ้นในรูปแบบของหนังสือให้เท่าเทียมกับนิติสัมพันธ์รูปแบบใหม่ที่จัดทำขึ้นให้อยู่ในรูปแบบของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ รวมตลอดทั้งการลงลายมือชื่อในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และการรับฟังพยานหลักฐานที่อยู่ในรูปแบบ ของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
สถานะปัจจุบัน • "พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2544" มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 3 เมษายน 2545 เป็นต้นมา" • กฏหมายเกี่ยวกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Signatures Law)เพื่อรับรองการใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วยกระบวนการใดๆ ทางเทคโนโลยีให้เสมอด้วยการลงลายมือชื่อธรรมดา อันส่งผลต่อความเชื่อมั่นมากขึ้นในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และกำหนดให้มีการกำกับดูแลการให้บริการ เกี่ยวกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ตลอดจนการให้บริการอื่นที่เกี่ยวข้องกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ จริยธรรมและกฎหมายด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
กฎหมายเกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศให้ทั่วถึงและเท่าเทียมกันกฎหมายเกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศให้ทั่วถึงและเท่าเทียมกัน • กฎหมายเกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศให้ทั่วถึงและเท่าเทียมกัน (กฎหมายลำดับรองของรัฐธรรมนูญมาตรา 78) (National Information Infrastructure Law) • เพื่อก่อให้เกิดการส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ อันได้แก่ โครงข่ายโทรคมนาคมเทคโนโลยีสารสนเทศ สารสนเทศ ทรัพยากรมนุษย์ และโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศสำคัญอื่นๆ อันเป็นปัจจัยพื้นฐาน สำคัญในการพัฒนาสังคมและชุมชนโดยอาศัยกลไกของรัฐ ซึ่งรองรับเจตนารมณ์สำคัญประการหนึ่งของแนวนโยบาย พื้นฐานแห่งรัฐตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 78 • เพื่อสนับสนุนให้ท้องถิ่นมีศักยภาพในการปกครองตนเอง • พัฒนาเศรษฐกิจภายในชุมชน และนำไปสู่สังคมแห่งปัญญาและการเรียนรู้
สถานะปัจจุบัน • อยู่ระหว่างการดำเนินการปรับร่าง พ.ร.บ. การพัฒนา ICT ให้สอดคล้องกับการจัดตั้งสำนักงานส่งเสริม ICT และ สำนักงานวิจัยและพัฒนา ICT ตามมาตร 57 พ.ร.บ.ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ.2545
กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection Law) • กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection Law)เพื่อก่อให้เกิดการรับรองสิทธิและให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งอาจถูกประมวลผล เปิดเผยหรือเผยแพร่ถึงบุคคลจำนวนมากได้ในระยะเวลาอันรวดเร็วโดยอาศัยพัฒนาการทางเทคโนโลยี จนอาจก่อให้เกิดการนำข้อมูลนั้นไปใช้ ในทางมิชอบอันเป็นการละเมิดต่อเจ้าของข้อมูล ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงการรักษาดุลยภาพระหว่างสิทธิขั้นพื้นฐานในความเป็นส่วนตัว เสรีภาพในการติดต่อสื่อสาร และความมั่นคงของรัฐ
กฎมายเกี่ยวกับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ (Computer Crime Law) • กฎหมายเกี่ยวกับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ (Computer Crime Law)เพื่อกำหนดมาตรการทางอาญาในการลงโทษผู้กระทำผิดต่อระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ ระบบข้อมูล และระบบเครือข่าย ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายฉบับใดกำหนดว่าเป็นความผิด ทั้งนี้ เพื่อเป็นหลักประกันสิทธิเสรีภาพและการคุ้มครองการอยู่ร่วมกันของสังคม
พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550
เหตุผล • “เนื่องจากในปัจจุบันระบบคอมพิวเตอร์ได้เป็นส่วนสำคัญของการประกอบกิจการและการดำรงชีวิตของมนุษย์ หากมีผู้กระทำด้วยประการใดๆ ให้ระบบคอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานตามคำสั่งที่กำหนดไว้หรือทำให้การทำงานผิดพลาดไปจากคำสั่งที่กำหนดไว้ หรือใช้วิธีการใดๆ เข้าล่วงรู้ข้อมูล แก้ไข หรือทำลายข้อมูลของบุคคลอื่นในระบบคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ หรือใช้ระบบคอมพิวเตอร์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จหรือมีลักษณะอันลามกอนาจาร ย่อมก่อให้เกิดความเสียหาย กระทบกระเทือนต่อเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของรัฐ รวมทั้งความสงบสุขและศีลธรรมอันดีของประชาชน สมควรกำหนดมาตรการเพื่อป้องกันและปราบปรามการกระทำดังกล่าว” • ที่ผ่านมายังไม่มีกฎหมายที่ครอบคลุมความผิดที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ที่มา ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 124 ตอนที่ 27 ก หน้า 13 วันที่ 18 มิถุนายน 2550
สภาพการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์สภาพการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ • ผู้กระทำความผิดอยู่ตรงไหนก็ได้ในโลก • ใช้เทคโนโลยีที่ซับซ้อนในการกระทำความผิด • ยากต่อการตรวจพบร่องรอยการกระทำผิด • ยากต่อการจับกุมและนำผู้กระทำผิดมาลงโทษ • ความเสียหายกระทบถึงคนจำนวนมากและรวดเร็ว
นิยาม • “ระบบคอมพิวเตอร์” อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมการทำงานเข้าด้วยกัน โดยได้มีการกำหนดคำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใด และแนวทางปฏิบัติงานให้อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลโดยอัตโนมัติ • “ข้อมูลคอมพิวเตอร์” ข้อมูล ข้อความ คำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใดบรรดาที่อยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ในสภาพที่ระบบคอมพิวเตอร์อาจประมวลผลได้ และให้หมายความถึงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วย
นิยาม • “ผู้ให้บริการ” (1) ผู้ให้บริการแก่บุคคลอื่นในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ต หรือให้สามารถติดต่อถึงกันโดยประการอื่น โดยผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการในนามของตนเอง หรือในนามหรือเพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น (2) ผู้ให้บริการเก็บรักษาข้อมูลคอมพิวเตอร์เพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น • “ผู้ใช้บริการ” ผู้ใช้บริการของผู้ให้บริการไม่ว่าต้องเสียค่าใช้บริการหรือไม่ก็ตาม
ประเภทผู้ให้บริการ 1. ผู้ให้บริการแก่บุคคลทั่วไปในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ต 2. ผู้ให้บริการในการเก็บรักษาข้อมูลคอมพิวเตอร์ • กลุ่ม 1: โทรศัพท์พื้นฐานมือถือ ดาวเทียม สื่อสารไร้สาย ... • กลุ่ม 2: สถานศึกษา หน่วยงานราชการ บริษัท โรงแรม หอพัก ร้านอาหาร ... • กลุ่ม 3:Web hosting, Internet Data Center • กลุ่ม 4:Internet Café เกมออนไลน์ • ผู้ให้บริการ Web board, • Web blog, Internet Banking, • e-Commerce,Web services …
ลักษณะความผิดและบทกำหนดโทษลักษณะความผิดและบทกำหนดโทษ 1. การกระทำต่อระบบคอมพิวเตอร์ -การเข้าถึงระบบ (มาตรา 5) - การเปิดเผยมาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบ (มาตรา 6) - การรบกวนระบบ (มาตรา 10) 2. การกระทำต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ -การเข้าถึงข้อมูล (มาตรา 7) - การดักข้อมูล (มาตรา 8) - การรบกวนข้อมูล (มาตรา 9) - สแปมเมล์ (มาตรา 11) - การนำเข้า/เผยแพร่ข้อมูลที่ไม่เหมาะสม (มาตรา 14) - การเผยแพร่ภาพตัดต่อในลักษณะหมิ่นประมาท (มาตรา 16) 3. การกระทำผิดต่อความมั่นคง (มาตรา 12) 4. การใช้ชุดคำสั่งกระทำความผิด (มาตรา 13) 5. การกระทำความผิดของผู้ให้บริการ (มาตรา 15, มาตรา 26) 6. การเปิดเผยข้อมูลของพนักงานเจ้าหน้าที่ (มาตรา 24)
หมวด 1 ลักษณะความผิดและบทกำหนดโทษ • การเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ มาตรา 5ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มี มาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะ และ มาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน โทษต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน หนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
หมวด 1 ลักษณะความผิดและบทกำหนดโทษ • การเปิดเผยมาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบ มาตรา 6ผู้ใดล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบ คอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะ ถ้านำมาตรการดังกล่าวไปเปิดเผยโดยมิชอบ ในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น โทษ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกิน สองหมื่นบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ
ลักษณะความผิดและบทกำหนดโทษลักษณะความผิดและบทกำหนดโทษ • การกระทำต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ - การเข้าถึงข้อมูล (มาตรา 7) - การดักข้อมูล (มาตรา 8) - การรบกวนข้อมูล (มาตรา 9) - สแปมเมล์ (มาตรา 11) - การนำเข้า/เผยแพร่ข้อมูลที่ไม่เหมาะสม (มาตรา 14) - การเผยแพร่ภาพตัดต่อในลักษณะหมิ่นประมาท (มาตรา 16) -การเปิดเผยข้อมูลของพนักงานเจ้าหน้าที่(มาตรา 24)
ลักษณะความผิดและบทกำหนดโทษลักษณะความผิดและบทกำหนดโทษ • การเข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ มาตรา 7ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มี มาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและ มาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน โทษ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกิน สี่หมื่นบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ การพิจารณาฐานความผิด - การกระทำซึ่งเป็นความผิดตามมาตรา 7 อาจต้องมีการกระทำความผิดตามมาตรา 5 เสียก่อน
ลักษณะความผิดและบทกำหนดโทษลักษณะความผิดและบทกำหนดโทษ • การดักข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ มาตรา 8ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบด้วยวิธี การทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อดักรับไว้ซึ่งข้อมูล คอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่อยู่ระหว่างการส่งใน ระบบคอมพิวเตอร์ และ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ นั้นมิได้มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะ หรือเพื่อ ให้บุคคลทั่วไปใช้ประโยชน์ได้ โทษ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกิน หกหมื่นบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ
ลักษณะความผิดและบทกำหนดโทษลักษณะความผิดและบทกำหนดโทษ • การรบกวนข้อมูลคอมพิวเตอร์ มาตรา 9ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่ง ข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ โทษ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกิน หนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ลักษณะความผิดและบทกำหนดโทษลักษณะความผิดและบทกำหนดโทษ • สแปมเมล์(Spam Mail) มาตรา 11ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมาย อิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่นโดยปกปิดหรือปลอม แปลงแหล่งที่มาของการส่งข้อมูลดังกล่าว อัน เป็นการรบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของ บุคคลอื่นโดยปกติสุข โทษ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
ลักษณะความผิดและบทกำหนดโทษลักษณะความผิดและบทกำหนดโทษ การนำเข้า/ เผยแพร่เนื้อหาอันไม่เหมาะสม มาตรา 14ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ (1) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน (2) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน (3) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆอันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา (4) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆที่มีลักษณะอันลามก และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ (5) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (1) (2) (3) หรือ (4) โทษ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
ลักษณะความผิดและบทกำหนดโทษลักษณะความผิดและบทกำหนดโทษ • การเผยแพร่ภาพซึ่งตัดต่อในลักษณะหมิ่นประมาท • มาตรา 16 ผู้ใดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติมหรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการ อื่นใด ทั้งนี้ โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชังหรือได้รับความอับอาย โทษ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าการกระทำตามวรรคหนึ่ง เป็นการนำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยสุจริตผู้กระทำไม่มีความผิด ความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นความผิดอันยอมความกันได้ ถ้าผู้เสียหายในความผิดวรรคหนึ่งตายเสียก่อนร้องทุกข์ ให้บิดา มารดา คู่สมรส หรือบุตรของผู้เสียหายร้องทุกข์ได้และให้ถือว่าเป็นผู้เสียหาย
ลักษณะความผิดและบทกำหนดโทษลักษณะความผิดและบทกำหนดโทษ • การเปิดเผยข้อมูลของพนักงานเจ้าหน้าที่ มาตรา 24 ผู้ใดล่วงรู้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจร คอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่ พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มาตามมาตรา 18 และเปิดเผยข้อมูลนั้นต่อผู้หนึ่งผู้ใด โทษ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกิน สี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ลักษณะความผิดและบทกำหนดโทษลักษณะความผิดและบทกำหนดโทษ • การกระทำซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบต่อความมั่นคง มาตรา 12 กำหนดว่าถ้าเป็นการกระทำความผิดที่เป็นการ รบกวนข้อมูล คอมพิวเตอร์ตามมาตรา 9 หรือ เป็นการรบกวนระบบคอมพิวเตอร์ตามมาตรา 10 (1)ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน ไม่ว่าความเสียหายนั้นจะเกิดขึ้นในทันทีหรือในภายหลังและไม่ว่าจะเกิดขึ้นพร้อมกันหรือไม่ โทษต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสอบปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท (2) เป็นการกระทำโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศหรือการบริการสาธารณะ หรือเป็นการกระทำต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะ โทษต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี และปรับตังแต่หกหมื่นบาทถึงสามแสนบาท ถ้าการกระทำความผิดตาม (2) เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบปีถึงยี่สิบปี
ลักษณะความผิดและบทกำหนดโทษลักษณะความผิดและบทกำหนดโทษ • การใช้ชุดคำสั่งในทางมิชอบ มาตรา 13ผู้ใดจำหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคำสั่งที่จัดทำขึ้น โดยเฉพาะเพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการ กระทำความผิดตามมาตรา 5 มาตรา 6 มาตรา 7 มาตรา 8 มาตรา 9 มาตรา 10 หรือ มาตรา 11 โทษ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกิน สองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ตัวอย่างโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ก่อให้เกิดความเสียหายหรืออันตรายได้ตัวอย่างโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ก่อให้เกิดความเสียหายหรืออันตรายได้ • Virusสร้างขึ้นเพื่อทำลายระบบและมักมีการแพร่กระจายตัวได้อย่างรวดเร็ว • Trojan Horseคือ โปรแกรมที่กำหนดให้ทำงานโดยแฝงอยู่กับโปรแกรมทั่วไป เพื่อจุดประสงค์ใดจุดประสงค์หนึ่ง เช่น การขโมยข้อมูล เป็นต้น • Bombsคือ โปรแกรมที่กำหนดให้ทำงานภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดขึ้น เช่น Logic Bomb เป็นโปรแกรมที่กำหนดเงื่อนไขให้ทำงานเมื่อมีเหตุการณ์หรือเงื่อนไขใดๆเกิดขึ้น • Rabbit เป็นโปรแกรมที่กำหนดขึ้นเพื่อให้สร้างตัวมันเองซ้ำๆ เพื่อให้ระบบไม่สามารถทำงานได้ เช่น พื้นที่หน่วยความจำเต็ม • Snifferเป็นโปรแกรมที่กำหนดขึ้นเพื่อลักลอบดักข้อมูลที่ส่งผ่านระบบเครือข่าย ทำให้ทราบรหัสผ่านของบุคคลหรือส่งโอนข้อมูลผ่านระบบเครือข่าย