410 likes | 718 Views
Ebola Virus Disease. วิเชฎฐ์ ยาทองไชย นายสัตวแพทย์ชำนาญการพิเศษ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดสกลนคร. ตระกูลและสายพันธุ์. Family: Filoviridae Filovirus Genus: Marburgvirus Ebolavirus Cuevavirus. Nakayama, E., & Saijo , M., 2013. Marburgvirus. 1967 Marburg ในเยอรมนี และ ยูโกสลาเวีย
E N D
Ebola Virus Disease วิเชฎฐ์ ยาทองไชย นายสัตวแพทย์ชำนาญการพิเศษ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดสกลนคร
ตระกูลและสายพันธุ์ • Family: FiloviridaeFilovirus • Genus: Marburgvirus • Ebolavirus • Cuevavirus Nakayama, E., & Saijo, M., 2013
Marburgvirus • 1967 • Marburg ในเยอรมนี และ ยูโกสลาเวีย • พบในคนที่ทำงานในห้องปฏิบัติงานซึ่งสัมผัสกับลิง (Africal green vervet monkey) ที่ส่งมาจากประเทศยูกานดา • มีผู้ป่วยทั้งหมด 31 ราย เสียชีวิต 7 ราย
ตระกูลและสายพันธุ์ • Family: FiloviridaeFilovirus • Genus: Marburgvirus • Ebolavirus • Cuevavirus Nakayama, E., & Saijo, M., 2013
Cuevavirus • 2010 “Lloviucuevavirus” • พบในค้างคาว ผลไม้ Miniopterusschreibersii • ถ้ำในประเทศสเปน โปรตุเกส และฝรั่งเศส • เป็น filovirusตัวแรกที่พบต้นกำเนิดในยุโรป • ไม่ก่อโรคในมนุษย์
ตระกูลและสายพันธุ์ • Family: FiloviridaeFilovirus • Genus: Marburgvirus • Ebolavirus • Cuevavirus Nakayama, E., & Saijo, M., 2013
Ebola Virus Genus Ebolavirus is 1 of 3 members of the Filoviridae family (filovirus). •Genus Marburg virus and genus Cueva virus. •Comprises 5 distinct species: –Bundibugyoebolavirus (BDBV) –Zaire ebolavirus (EBOV) –Reston ebolavirus (RESTV) –Sudan ebolavirus (SUDV) –Taï Forest ebolavirus (TAFV)
Ebola Virus Disease • BDBV EBOV และ SUDV นั้นเกี่ยวข้องกับการระบาดของ EVD ในแอฟริกา • ส่วน RESTV นั้นพบในประเทศฟิลิปปินส์และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนจีน ซึ่งสามารถติดในมนุษย์ได้โดยไม่มีอาการป่วยหรือตายแต่อย่างใด
โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา Ebola Virus Disease : EVD • เป็นโรคอุบัติใหม่/อุบัติซ้ำ ที่ร้ายแรงมากทำให้มีการป่วยตายในมนุษย์ และสัตว์ตระกูลลิง • อัตราการตาย 50-90% เชื้อโรคนี้ติดต่อกันทางการสัมผัสเลือด สารคัดหลั่ง ของเหลวจากอวัยวะหรือส่วนต่างๆของร่างกายของสัตว์ที่ติดเชื้อ
Ebola Virus Disease • ในแอฟริกานั้นมีรายงานการติดเชื้อจากการสัมผัสสัตว์ที่มีเชื้ออย่าง ลิงชิมแปนซี กอริลลา ค้างคาวผลไม้ ลิง ละมั่งป่า เม่นโดยพบว่าสัตว์เหล่านี้จะมีอาการป่วยและตายอยู่ในป่าดิบชื้น
Ebola Virus Disease • ระยะฟักตัวของโรค 2-21 วันโดยพบได้ทุกกลุ่มอายุอาการไข้สูง อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ เจ็บคอ ตามด้วยอาการท้องเสีย อาเจียน ผื่น ไตและตับไม่ทำงาน บางรายมีเลือดออกทั้งภายในและภายนอก ตรวจเลือดพบเม็ดเลือดขาวต่ำ
พบเชื้อได้ในค้างคาวผลไม้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสายพันธุ์Hypsignathusmonstrosus (hammer-headed fruit bat), Epomopsfranqueti (Franquet'sepauletted bat) และMyonycteristorquata (little collared fruit bat) ซึ่งเป็นที่อยู่ (host) ของไวรัสอีโบลาการกระจายตัวทางสภาพภูมิศาสตร์ของไวรัสอีโบลาอาจเกิดจากแนวทับซ้อนของค้างคาวผลไม้
การระบาดครั้งแรก • 1976 • ประเทศซูดาน มีผู้เสียชีวิต 151 รายจากผู้ป่วย 284 ราย (53%) อีโบลา-ซูดาน (Sudan; SEBOV) • ประเทศคองโก (เดิม: ซาอีร์) มีผู้เสียชีวิต 280 รายจากผู้ป่วย 318 ราย (88%) อีโบลา-ซาอีร์(Zaire; ZEBOV) 1976 Feldmann & Geisbert, 2010
อีโบลา-ซาอีร์ 1976 • ผู้ป่วย สงสัยมาลาเรีย รพ. ยัมบูกุ • ฉีดยา Chloroquin กลับบ้าน 5 วัน ป่วยซ้ำ รพ. ยัมบูกุ 7 วัน เสียชีวิต • ใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน • ผู้ติดเชื้อ 82 ราย ตั้งครรภ์ (25% แท้งบุตรก่อนที่จะเสียชีวิต) • เจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลซึ่งรับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคทัยฟอยด์
อีโบลา-ซูดาน 1976 เมือง Nzara 128 กม. เมือง Maridi • คนงานโรงงานฝ้าย เจ้าหน้าที่โรงพยาบาล ชุมชน • การระบาดภายนอกโรงพยาบาลสงบลงเองโดยไม่ได้ดำเนินมาตรการควบคุมใดๆ
แผนภาพแสดงการแพร่ระบาดของอีโบลา-ไทฟอร์เรสต์แผนภาพแสดงการแพร่ระบาดของอีโบลา-ไทฟอร์เรสต์ 1994 1994
แผนภาพแสดงการแพร่ระบาดของอีโบลา-บูนดิบูเกียวแผนภาพแสดงการแพร่ระบาดของอีโบลา-บูนดิบูเกียว ยูกันดา ตาย 34% 2007
แผนภาพแสดงการแพร่ระบาดของอีโบลา-เรสตันแผนภาพแสดงการแพร่ระบาดของอีโบลา-เรสตัน 2014 1992 1989 2008 1989
RESTV เป็นสาเหตุการระบาดอย่างรุนแรงของ EVD ในลิงแสม (macaque monkeys: Macacafascicularis) ในฟาร์มประเทศฟิลิปปินส์ และตรวจพบในลิงของฟิลิปปินส์ที่นำเข้าไปในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยพบในสถานีกักกันโรคเมืองเรสตัน รัฐเวอร์จิเนีย เป็นลิงแสมที่ส่งไปจากฟาร์ม ชานกรุงมะนิลา ลิงที่เพาะไว้จำหน่ายเพื่อใช้เป็นสัตว์ทดลองที่ฟาร์มแห่งหนึ่งบนเกาะมินดาเนา ลิงจะถูกกักกันไว้ก่อนส่งต่อไปยังห้องปฏิบัติการต่างๆ เพื่อให้แน่ใจว่าไม่นำโรคจากป่ามาแพร่ในเมือง โดยเฉพาะแพร่สู่นักวิจัย ในระหว่างกักกันลิงได้ล้มเจ็บลงหลายตัวเกือบทั้งฝูง และมีอัตราตายสูง การสอบสวนและตรวจชันสูตรทางห้องปฏิบัติการพบว่าเป็น “ไวรัสอีโบลา” หากลิงติดเชื้อ โรคจะเกิดแก่ลิงที่มีความรุนแรงมาก อัตราตายสูง แม้ว่าจะก่อให้เกิดการติดเชื้อในมนุษย์ได้เหมือนกัน (พิสูจน์ได้จากการตรวจเลือดผู้สัมผัสใกล้ชิดเช่นผู้เลี้ยงและสัตวแพทย์ผู้ดูแลสุขภาพลิง) แต่กลับไม่ก่อโรคที่มีอาการป่วยดังเช่นสายพันธุ์ซาอีร์และสายพันธุ์ซูดานจึงเรียกชื่อสายพันธุ์ไม่นี้ ว่า“สายพันธุ์เรสตัน” หรือ Ebola-R) โดยพบในปี ค.ศ. 1989, 1990 และ 1996 และลิงที่นำเข้าไปยังประเทศอิตาลีในปี 1992
2. อีโบลา ที่กำลังระบาดอยู่เป็นสายพันธุ์ใด ???
การตรวจวินิจฉัยโรคอีโบลา ทำได้อย่างไร??
การตรวจโรคอีโบลา ต้องทำในห้องปฏิบัติการความปลอดภัยทางชีวภาพระดับใด??? Texas Biomedical Research Institute
การวินิจฉัย • การวินิจฉัยโดยการตรวจ antigen-RNA หรือ genes ของไวรัสจากตัวอย่างเลือด หรือ ตรวจหาแอนติบอดีต่อเชื้อไวรัส หรือ แยกเพาะเชื้อไวรัส การตรวจตัวอย่างเหล่านี้ มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อมาก ต้องทำในห้องปฎิบัติการที่มีการป้องกันระดับสูง (สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค, 2557)
อีโบลา ถูกทำลายได้หรือไม่ อย่างไร ??? • ความทนทานของเชื้อ อีโบลาสามารถอยู่ในของเหลวหรือสารแห้ง (dried material) เป็นเวลาหลายวัน เชื้อไวรัสยังมีความสามารถในการติดเชื้อได้ นอกโฮสต์ที่อุณหภูมิห้อง หรือ 4°C เป็นเวลาหลายวัน • การทำลายเชื้อไวรัสอีโบลา -ความร้อน 60°C เป็นเวลา 30-60 นาที หรือต้มในน้ำเดือดนาน 5 นาที -ฉายด้วยรังสีแกมมา -สารละลายไขมัน ฟอร์มาลีน1% เบตา-โปรปีโอแลคโตน กรดอะซิติค3% ยาฆ่าเชื้อพวกสารประกอบ phenolicน้ำยาโซเดียมไฮโปคลอไรด์
มียารักษาที่ได้ผล และวัคซีนสำหรับอีโบลาหรือไม่ ??? • ยังไม่มียารักษาจำเพาะและวัคซีนป้องกันโรคในคน • ยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคที่ขึ้นทะเบียนสำหรับสัตว์ • ผู้ป่วยต้องได้รับการดูแลแบบพยุงอาการ โดยให้สารน้ำและ อิเล็กโตรไลท์ทางหลอดเลือด ยาปฏิชีวนะ สารช่วยให้เลือดแข็งตัว
บทบาทของกรมปศุสัตว์ • กรมปศุสัตว์ดำเนินการจัดประชุมรับมือโรคอีโบลา ร่วมกับกรมอุทยานฯ องค์การสวนสัตว์ ม.มหิดล สัตวแพทยสมาคม • สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ. เตรียมพร้อมตรวจตัวอย่างทางห้องปฏิบัติการ • กองสารวัตรฯ กรมปศุสัตว์ออกมาตรการชะลอสินค้าปศุสัตว์นำเข้าทั้งทางบก เรือ และทางอากาศ
บทบาทของกรมปศุสัตว์ • ออกคำสั่งชะลอการนำเข้าสินค้าตามกฏหมายว่าด้วยโรคระบาดสัตว์จากประเทศที่มีรายงานการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา ตามหนังสือเลขที่ กษ ๐๖๒๑/๖๔๗ และมีการควบคุมการนำเข้าทั้งทาง ท่าอากาศยาน ท่าเรือ และชายแดน ดังนี้ • ชะลอการนำเข้าสินค้าตามกฏหมายว่าด้วยโรคระบาดสัตว์จากประเทศที่มีรายงานการระบาด • เพิ่มความเข้มงวดและเฝ้าระวัง การนำเข้าสินค้าฯจากประเทศที่มีความเสี่ยง รวมถึงการป้องกันการลักลอบนำเข้าสินค้าและปฏิบัติตามระเบียบการนำเข้าสัตว์และซากสัตว์ของกรมปศุสัตว์อย่างเข้มงวด • ประสานงานขอความร่วมมือให้สายการบินหรือเรือสินค้าที่มาจากประเทศที่มีรายงานการระบาดหรือประเทศกลุ่มเสี่ยงจอดที่ท่าเทียบเดียวกัน • ดำเนินการทำลายเชื้อโรคยานพานะจากประเทศที่มีการระบาดและประเทศกลุ่มเสี่ยง
ความเสี่ยงของโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลาในสัตว์ในประเทศไทยความเสี่ยงของโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลาในสัตว์ในประเทศไทย • จากข้อมูลของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ยืนยันได้ว่าประเทศไทยยังไม่พบโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลาในสัตว์และสัตว์ป่า และการนำเข้าสัตว์มีชีวิตและสินค้าปศุสัตว์ที่มีความเสี่ยง มีขั้นตอนที่เข้มงวดและมีประสิทธิภาพ ทำให้ความเสี่ยงของโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลาในประเทศมีระดับต่ำ
มาตรการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา ด้านสัตว์และสัตว์ป่า ระยะสั้น เพิ่มศักยภาพการตรวจโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลาของสภาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ • ชะลอการนำเข้าสินค้าปศุสัตว์จากประเทศที่มีการระบาดของโรคฯ • เพิ่มความเข้มงวดการนำเข้าสินค้าปศุสัตว์จากประเทศที่มีความเสี่ยง • การสื่อสารความเสี่ยงต้องชัดเจน โดยเฉพาะสายพันธุ์เรสตันที่ไม่ส่งผลกระทบต่อปศุสัตว์และมนุษย์ • เสนอให้กรมอุทยานฯ ชะลอการนำเข้าสัตว์ป่าทุกชนิด • เฝ้าระวังติดตามสถานการณ์การระบาดของโรคอย่างใกล้ชิด • ประสานงานร่วมระหว่างกรมปศุสัตว์ กรมควมคุมโรค กรมอุทยานฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายใต้ One Health
ระยะยาว • จัดทำเอกสารองค์ความรู้ในการป้องกันโรคในสัตว์และสัตว์ป่า สำหรับเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานและประชาชนทั่วไป • เฝ้าระวังการเกิดโรคในต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง • ควรจะมีการประสานงานหรือเครือข่ายในลักษณะนี้ร่วมกัน เมื่อเกิดการระบาดของโรคที่สำคัญที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคม
สรุป • อีโบลาเป็นโรคอันตราย ทำให้เกิดโรครุนแรงในมนุษย์และสัตว์ตระกูลลิง ทำให้มีอัตราการป่วยตายสูง มีค้างคาวผลไม้เป็น แหล่งกักเก็บเชื้อโรค ( reservoir host) • อีโบลาสายพันธุ์เรสตันพบในลิงและสุกร แต่ไม่ก่อโรคในคนที่สัมผัสเชื้อ แต่อาจเกิดการกลายพันธุ์ขณะอยู่ในสุกรได้ • ยังไม่มีวัคซีนและการรักษาที่จำเพาะต่อโรค • การระบาดส่วนใหญ่เกิดขึ้นในแอฟริกา ยังไม่พบรายงานในไทย แต่จำเป็นต้องมีมาตรการรองรับ
เอกสารอ้างอิง • Center of Disease Control and Prevention (CDC), 2014 • World Health Organization website (WHO): Ebola factsheet • Takada, A. (2012). Filovirus tropism: cellular molecules for viral entry. Frontiers in microbiology, 3. • Nakayama, E., & Saijo, M. (2013). Animal models for Ebola and Marburg virus infections. Frontiers in microbiology, 4. • Rouquet, P., Froment, J. M., Bermejo, M., Kilbourn, A., Karesh, W., Reed, P., ... & Leroy, E. M. (2005). Wild animal mortality monitoring and human Ebola outbreaks, Gabon and Republic of Congo, 2001-2003. Emerging infectious diseases, 11(2). • http://followtheoutbreak.wordpress.com/2014/04/30/re- emergence-of-ebola-focuses-need-for-global-surveillance- strategies/ • https://microbewiki.kenyon.edu/index.php/Infection_Mechanism_of_Genus_Ebolavirus