1 / 22

Vernier

Vernier. เวอร์เนียร์ คือเครื่องมือที่ใช้วัดระยะ (distance) หรือ ความยาว (length) ให้ได้ค่าอย่างละเอียด เวอร์เนียร์ต่างจากไม้บรรทัดทั่วๆไป เพราะมี 2 สเกล สเกลแรก เรียกกันว่า สเกลหลัก มีลักษณะเหมือนสเกลของไม้บรรทัดแบบทั่วๆไป

hien
Download Presentation

Vernier

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. Vernier • เวอร์เนียร์ คือเครื่องมือที่ใช้วัดระยะ (distance) หรือ ความยาว (length) ให้ได้ค่าอย่างละเอียด • เวอร์เนียร์ต่างจากไม้บรรทัดทั่วๆไป เพราะมี 2 สเกล • สเกลแรก เรียกกันว่า สเกลหลัก มีลักษณะเหมือนสเกลของไม้บรรทัดแบบทั่วๆไป • สเกลที่สอง เรียกกันว่า สเกลเวอร์เนียร์ เป็นสเกลที่ใช้ช่วยอ่านค่าให้แม่นยำมากขึ้น

  2. Vernier & Ruler ไม้บรรทัดทั่วไป มีเพียงสเกลหลักเท่านั้น สเกลเวอร์เนียร์ สเกลหลัก เวอร์เนียร์ มีสเกลหลักและสเกลเวอร์เนียร์ช่วยอ่านค่า

  3. การอ่านค่าจากไม้บรรทัดการอ่านค่าจากไม้บรรทัด จากภาพ ค่าที่อ่านได้ควรเป็น 4.8 หรือ 4.9 เซนติเมตร แต่อาจจะประมาณเป็น 4.87 เซนติเมตรก็ได้ แต่ค่าตัวเลขสุดท้าย (เลข 7) เป็นค่าที่ได้จากการคาดคะเน

  4. การอ่านค่าจากเวอร์เนียร์การอ่านค่าจากเวอร์เนียร์ จากภาพ เรามีเวอร์เนียร์ที่อ่านได้ละเอียด 0.01เซนติเมตรเนื่องจากมีสเกลเวอร์เนียร์ที่ช่วยในการอ่านค่า ค่าที่อ่านได้ คือ 4.86 เซนติเมตร ค่าที่อ่านได้ละเอียด 0.01 เซนติเมตร คือ Least count ของเวอร์เนียร์อันนี้

  5. Least Count of Vernier เวอร์เนียร์ที่ Least count อ่านได้ 1/128 นิ้ว

  6. Least Count of Vernier (2) เวอร์เนียร์ที่ Least count อ่านได้ 1/200 เซนติเมตร เราจะหาค่า least count ได้อย่างไร?

  7. การหาค่าของ Least Count • เราหาค่า Least count ได้จากสมการ Least Count = S/n • เมื่อ S คือ ค่าความยาว 1 ช่องของ main scale • และ n คือ จำนวนช่องทั้งหมดบน vernier scale จากรูป S = 0.1 cm และ n = 10 ช่อง ทำให้ least count = 0.01 cm

  8. อีกตัวอย่างของการหาค่า Least count ตามรูป S = 0.1 cm และ n = 20 ช่อง เราจึงได้ Least count = 0.1/20 = 0.005 cm

  9. Mathematic of Vernier โดยทั่วไป นอกจากเราจะมี Least count =S/n แล้ว เรายังมี Least count = S - V เมื่อ S คือความยาว 1 ช่องของสเกลหลัก และ V คือความยาว 1 ช่องของสเกลเวอร์เนีย ดังนั้น S - V = S/n nS - nV = S nS - S = nV nV = (n-1)S สมการนี้เราจะใช้ในการสร้างสเกลเวอร์เนีย ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเรามี เวอร์เนียที่มี n เท่ากับ 8 ช่อง เราจะได้ 8V = 7S ซึ่งหมายความว่า เราจะต้องนำความยาว 7 ช่องของสเกลหลัก มาแบ่งเป็น 8 ช่องเท่าๆกันสำหรับสเกลเวอร์เนีย

  10. หลักการทำงานของเวอร์เนียหลักการทำงานของเวอร์เนีย จากรูป เราจะเห็นได้ว่า ระยะ 8 ช่องของสเกลเวอร์เนีย จะเท่ากับ 7 ช่องของสเกลหลัก S = 1/16 และ n = 8 ทำให้ เวอร์เนียนี้มีค่า Least count หรือ LCเท่ากับ1/128 จาก LC = S - V และ จากรูป ขีด 0 ของสเกลหลักและสเกลเวอร์เนีย อยู่ตรงกัน ตำแหน่งขีดที่ 1ของสเกลหลัก จะยาวกว่า ตำแหน่งขีดที่ 1ของสเกลเวอร์เนีย อยู่ 1 LC ตำแหน่งขีดที่ 2ของสเกลหลัก จะยาวกว่า ตำแหน่งขีดที่ 2ของสเกลเวอร์เนีย อยู่ 2 LC

  11. หลักการทำงานของเวอร์เนีย (ต่อ) คำถาม ตามภาพ ตำแหน่งของขีดที่ 5 ของเวอร์เนียจะห่างจากขีดที่ 5 บนสเกลหลักกี่ LC? โปรดสังเกต ถ้าตำแหน่งขีด 0 ของสเกลเวอร์เนีย อยู่ตรงกับขีดของสเกลหลัก ตำแหน่งของขีดที่ 1 ถึงขีดที่ 7 จะไม่ตรงกับขีดใดๆบนสเกลหลักเลย

  12. หลักการทำงานของเวอร์เนีย (ต่อ) จากรูป จะเห็นได้ว่า ขีด 0 ของเวอร์เนียไม่ตรงกับขีดบนสเกลหลัก แต่ขีดที่ 1 อยู่ตรงกับขีดบนสเกลหลักแทน แสดงว่าขีด 0 เลื่อนออกมาจากตำแหน่งเดิมเป็นระยะ 1 LC ค่าที่อ่านได้ คือ 1/128นิ้ว โปรดสังเกต ถ้าตำแหน่งขีดที่ 1 ของสเกลเวอร์เนีย อยู่ตรงกับขีดของสเกลหลัก ตำแหน่งของขีดอื่นๆของสเกลเวอร์เนีย จะไม่ตรงกับขีดใดๆบนสเกลหลักเลย

  13. หลักการทำงานของเวอร์เนีย (ต่อ) จากรูป จะเห็นได้ว่า ขีด 0 และ ขีดที่ 1 ของเวอร์เนียไม่ตรงกับขีดบนสเกลหลัก แต่ขีดที่ 2 อยู่ตรงกับขีดบนสเกลหลักแทน แสดงถึงว่าขีด 0 เลื่อนออกมาตำแหน่งเดิมเป็นระยะ 2 LC ค่าที่อ่านได้ คือ 2/128นิ้ว โปรดสังเกต ถ้าตำแหน่งขีดที่ 2 ของสเกลเวอร์เนีย อยู่ตรงกับขีดของสเกลหลัก ตำแหน่งของขีดอื่นๆของสเกลเวอร์เนีย จะไม่ตรงกับขีดใดๆบนสเกลหลักเลย

  14. หลักการทำงานของเวอร์เนีย (ต่อ) จากรูป จะเห็นได้ว่า ขีด 0 และ ขีดอื่นๆ ของเวอร์เนียไม่ตรงกับขีดบนสเกลหลัก เว้นแต่ขีดที่ 7 อยู่ตรงกับขีดบนสเกลหลักแทน แสดงถึงว่าขีด 0 เลื่อนออกมาตำแหน่งเดิมเป็นระยะ 7 LC ค่าที่อ่านได้ คือ 7/128นิ้ว โปรดสังเกต ถ้าตำแหน่งขีดที่ 0 ของสเกลเวอร์เนีย เลื่อนเพิ่มไปอีก 1 LCขีด 0 จะอยู่ตรงกับขีดของสเกลหลักอีกครั้ง และเราจะอ่านค่าได้ เป็น 8/128 หรือ 1/16 นิ้ว และจะเริ่มการอ่านค่าเป็น n/128 นิ้ว เพิ่มเติมเข้าไปถ้า ขีด 0 อยู่ระหว่างช่องของสเกลหลัก และ ขีดที่ n ของเวอร์เนียตรงกับขีดใดขีดหนึ่งของสเกลหลัก

  15. หลักการทำงานของเวอร์เนีย (ต่อ) จากรูป จะเห็นได้ว่า ขีด 0 อยู่เลยตำแหน่ง ขีดที่ 1 ของสเกลหลัก และขีดที่ 3 ของสเกลเวอร์เนียอยู่ตรงกับขีดบนสเกลหลักแทน ค่าที่อ่านได้ คือ 1/16+3/128 นิ้ว

  16. ทดสอบการอ่านค่าเวอร์เนียทดสอบการอ่านค่าเวอร์เนีย ตามรูป ค่าที่อ่านได้คือกี่นิ้ว? ค่าที่อ่านได้คือ 1+2/16+5/128 นิ้ว

  17. อีกตัวอย่างของการอ่านเวอร์เนียอีกตัวอย่างของการอ่านเวอร์เนีย ตามรูป ค่าที่อ่านได้คือกี่เซนติเมตร? ค่าที่อ่านได้คือ 3.74 เซนติเมตร

  18. อีกตัวอย่างของการอ่านเวอร์เนียอีกตัวอย่างของการอ่านเวอร์เนีย เวอร์เนียนี้มีค่า Least count = 0.005 cm ตามรูป ค่าที่อ่านได้คือกี่เซนติเมตร? ค่าที่อ่านได้คือ 3.745 เซนติเมตร

  19. การสร้างเวอร์เนีย เวอร์เนียประกอบด้วยสเกล 2 สเกล คือ สเกลหลัก กับสเกลเวอร์เนีย สเกลหลักจะมีขีดแบ่งเหมือนสเกลมาตรฐานทั่วไป คือเป็น มิลลิเมตรหรือ เซนติเมตร หรือ นิ้ว ทำให้จัดสร้างขึ้นได้ง่าย แต่สเกลเวอร์เนียจะมีค่าที่แตกต่างไปจากสเกลหลักเล็กน้อย ทำให้จัดสร้างได้ยากกว่า โดยทั่วไป เราจะใช้สมการ nV = (n-1)S ในการจัดสร้างสเกลเวอร์เนีย เช่น ถ้าเรามี n = 10 เราจะได้ 10V = 9S ซึ่งหมายถึง จะต้องนำความยาว 9 ช่องของสเกลหลักมาแบ่งเป็น 10 ช่องเท่าๆกัน เพื่อใช้เป็นสเกลเวอร์เนีย

  20. เปรียบเทียบสเกลหลักกับสเกลเวอร์เนียเปรียบเทียบสเกลหลักกับสเกลเวอร์เนีย ในรูป เราจะเห็นได้ชัดว่าสเกลของเวอร์เนีย สั้นกว่าสเกลหลัก และจะเห็นได้ว่า 10 ช่องของสเกลเวอร์เนียจะยาวเท่ากับ 9 ช่องของสเกลหลัก ในตัวอย่างนี้ ค่า V = 0.09 เซนติเมตร และ S = 0.1 เซนติเมตร

  21. การขยายสเกลเวอร์เนีย ถ้าเราต้องการวัดได้ละเอียดมากขึ้นเป็น 1/200 หรือ 0.005 เซนติเมตร เราอาจทำได้โดยการเพิ่มจำนวนช่องของเวอร์เนีย จาก 10 เป็น 20 ช่อง จากสมการ nV = (n-1)S เราจะได้ 20V = 19S ซึ่งหมายถึงเราต้องนำ 19 ช่องของสเกลหลัก มาแบ่งเป็น 20 ช่องของสเกลเวอร์เนีย จำนวนช่องที่มากขึ้นอาจจะทำให้การแบ่งความยาว 19 มิลลิเมตรทำได้ยาก บางครั้งเราจึงนำเทคนิคการขยายสเกลมาใช้ ถ้าเราจะขยายสเกลเป็น 2 เท่า สมการ nV = (n-1)S จะถูกเปลี่ยนไปเป็น nV = (2n-1)S ในที่นี้ เราจะได้ 20V = 39S นั่นคือ เราจะนำความยาว 39 มิลลิเมตร มาแบ่งเป็น 20 ช่องเท่าๆกัน เพื่อเป็นสเกลเวอร์เนีย

  22. ตัวอย่างของการขยายสเกลเวอร์เนียตัวอย่างของการขยายสเกลเวอร์เนีย จากรูป เราจะเห็นได้ว่า ความยาว 20 ช่องของสเกลเวอร์เนียจะยาวเท่ากับ 39 ช่อง หรือ 39 มิลลิเมตรบนสเกลหลัก ค่าความยาว 1 ช่องของเวอร์เนีย (V) จะยาวเท่ากับ 1.95 มิลลิเมตร หรือ 0.195 เซนติเมตร ซึ่งจะสั้นกว่า 2 ช่อง (2mm) ของสเกลหลักอยู่ 0.005 เซนติเมตร การอ่านค่าจะมีผลเหมือนกับการอ่านค่าจากเวอร์เนียทั่วๆไป

More Related