540 likes | 1.51k Views
Education Philosophy ปรัชญาการศึกษา. บทที่ 2. ณรงค์ศักดิ์ บุณยมาลิก. ความมุ่งหวัง. ผู้เรียนเข้าใจแนวคิดพื้นฐานของการศึกษา และสามารถวางแผนจัดการศึกษาได้ และมีแนวทางในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่ตนรับผิดชอบได้. วัตถุประสงค์.
E N D
Education Philosophyปรัชญาการศึกษา บทที่ 2 ณรงค์ศักดิ์ บุณยมาลิก
ความมุ่งหวัง ผู้เรียนเข้าใจแนวคิดพื้นฐานของการศึกษา และสามารถวางแผนจัดการศึกษาได้ และมีแนวทางในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่ตนรับผิดชอบได้
วัตถุประสงค์ 1. ผู้เรียนเข้าใจปรัชญาของการจัดการศึกษาและหลักการวางแผนการศึกษาทั้งระดับมหภาค (Macro System) และระดับจุลภาค (Micro System) 2. ผู้เรียนสามารถกำหนดดัชนีบ่งชี้การจัดการศึกษา (Educational Indicators) และคำนวณสถิติทางการศึกษา (Educational Statistics) ได้ 3. ผู้เรียนเข้าใจหลักการวางแผนการจัดการศึกษา (Educational Planning) ได้ทั้งระยะสั้น (Short Term Plan) และระยะยาว (Long Term Plan) 4. ผู้เรียนเข้าใจหลักการติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษาได้ทั้งระบบ
ปรัชญาการศึกษา หลักปรัชญาการของการศึกษา การกำหนดเป้าหมายของการจัดการศึกษา เป้าหมายและอุดมการณ์ของการจัดการศึกษาแต่ละระดับ แนวคิดพื้นฐานของ HRD (Human Resource Development) หลักการวางแผนการศึกษาระดับมหภาค (Macro System) และระดับจุลภาค (Micro System)
การศึกษา คืออะไร??? การจัดประสบการณ์หรือสิ่งแวดล้อมให้กับเด็กหรือผู้เรียน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนางอกงามไปในทิศทางที่พึงประสงค์
การศึกษาและการเรียนรู้การศึกษาและการเรียนรู้ • Education??? • Learning??? • Teaching and learning process???
กระบวนการเรียนรู้ของคนSocializationกระบวนการเรียนรู้ของคนSocialization ปัจจัยหลัก ๆ ที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ของคนอยู่ 4 อย่าง คือ 1.การอบรมเลี้ยงดูจากครอบครัว 2.การได้รับการศึกษาและฝึกฝนอบรม 3.การได้รับอิทธิพลของสื่อต่าง ๆ 4.การปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับเพื่อนและสภาพแวดล้อม มองในแง่ผู้จัดการกับกระบวนการเรียนรู้ Formal Education : 2 Non-formal Education : 1 และ 2 Informal Education: 1, 3 และ 4
Teaching and Learning Process กระบวนการจัดการเรียนการสอน • มีสิ่งที่จะสอน หรือ content • มีวิธีการ หรือ treatment ที่จะสื่อ content นั้นไปสู่ผู้เรียน • Treatment นั้นจะต้องเหมาะสมกับพัฒนาการทางการเรียนรู้ของผู้เรียน • ใน content และสื่อเดียวกัน ผู้เรียน เรียนรู้แตกต่างกันได้
การศึกษา มีองค์ประกอบที่สำคัญอยู่ 4 ประการคือ 1.จะต้องมีสิ่งที่พึงประสงค์ คือสิ่งที่อยากจะให้เกิดขึ้น 2.มีหลักสูตร หมายถึงมีแนวทางในการจัดการเรียนรู้ 3. มีผู้สอน หรือครู คือมีผู้จัดให้ 4. มีผู้เรียน หรือกลุ่มเป้าหมาย
วัตถุประสงค์ของการศึกษาวัตถุประสงค์ของการศึกษา • จุด (ความ) มุ่งหมายของการศึกษาในระดับชาติ (Over all Goal) • จุด (สิ่ง) มุ่งหมาย (หวัง) ของการศึกษาในระดับหรือประเภทของการศึกษา (Aims) • จุดมุ่งหมายของการศึกษาในระดับหลักสูตร (Purposes) • จุดหมาย (เป้าหมาย) ของการศึกษาในระดับวิชา (Objectives) • จุดหมาย (วัตถุประสงค์) ของการศึกษาในระดับกิจกรรมการเรียนการสอน (Behavioral Objectives)
จุดมุ่งหมายของการศึกษาจุดมุ่งหมายของการศึกษา Social Visionsหรือวิสัยทัศน์ : เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ ทันสมัย เศรษฐกิจดี Over all Goal หรือเป้าหมาย : คนไทยคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น Educational Goal หรือเป้าประสงค์ : สามารถแสวงหา และเข้าถึง ความรู้ได้ ด้วยเทคโนโลยี Curriculum purposeหรือจุดมุ่งหมาย : สามารถใช้และออกแบบฐานข้อมูลได้ Learning Objectiveหรือวัตถุประสงค์ : ใช้โปรแกรม excel ได้
เราจัดการศึกษาแต่ละระดับไปทำไมเราจัดการศึกษาแต่ละระดับไปทำไม ก่อนประถมเพื่อเตรียมความพร้อมให้สามารถเรียนได้ ประถมเพื่อให้ทักษะพื้นฐานในการดำรงชีวิต มัธยมเพื่อให้เลี้ยงชีพ หรือประกอบอาชีพได้ ปริญญาตรี เพื่อให้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ปริญญาโท เพื่อสร้างผู้รู้หรือนักวิชาการ ปริญญาเอก เพื่อสร้างองค์ความรู้ หลัง ป.เอก เพื่อสร้างทฤษฎี/หลักปรัชญา
หลักสูตร แผนการดำเนินกิจกรรมการเรียนรู้ หรือโปรแกรมการเรียนการสอน ประกอบด้วย • สิ่งที่พึ่งประสงค์ • กลุ่มผู้เรียนเป้าหมาย • เนื้อหาของการเรียนรู้ • วิธีการจัดการเรียนรู้ และกระบวนการเรียนรู้ • ผู้สอนหรือผู้รับผิดชอบจัดการเรียนรู้ • สื่อการเรียน อุปกรณ์ และสถานที่ • เวลาและช่วงเวลา • การวัดและประเมินผล รวมทั้งตัวบ่งชี้ผลการเรียน
การสร้างและพัฒนาหลักสูตรการสร้างและพัฒนาหลักสูตร • เป็นการวางแผนการจัดการศึกษาที่เป็นรูปธรรมที่สุด • ควรจะพัฒนาโดยครูผู้สอน • พัฒนาด้วยกระบวนการวิจัย • ควรมีลักษณะเฉพาะกลุ่มผู้เรียน เฉพาะเวลาและโอกาส เฉพาะพื้นที่และลักษณะของผู้สอน
คำถามสำหรับคนเป็นครู 1. หน้าที่ของครูคืออะไร ? 2. ครูมืออาชีพคืออย่างไร ? 3. ครูเป็นอาชีพชั้นสูง เป็นอย่างไร ?
คำตอบ หน้าที่ของครู คือ 1. เป็นผู้จัดประสบการณ์ เรียนรู้ให้เด็ก 2. เป็นต้นแบบการเรียนรู้สำหรับเด็ก 3. เป็นผู้ช่วยเหลือเด็กให้เจริญงอกงาม
คำตอบ ครูมืออาชีพ มีคุณสมบัติ คือ 1. สามารถวินิจฉัยเด็กได้ 2. สามารถสร้างนวัตกรรมให้เด็กได้ 3. สามารถประเมินความงอกงามของเด็กได้
คำตอบ ครูเป็นอาชีพชั้นสูงเพราะ 1. เป็นภาระหน้าที่ของคนชั้น Top ของสังคม 2. เป็นนักวิชาการและนักวิจัยชั้นเรียน อยู่ตลอดเวลา 3. เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ และมีจรรยาบรรณ
การกำหนดตำแหน่งของครูการกำหนดตำแหน่งของครู 1. ตำแหน่งครูผู้ช่วย 2. ตำแหน่งครู 2.1 ครูปฏิบัติการ 2.2 ครูชำนาญการ 2.3 ครูเชี่ยวชาญ 2.4 ครูเชี่ยวชาญพิเศษ
- ครูปฏิบัติการทำหน้าที่สอน - ครูชำนาญการทำหน้าที่คิดเรื่องและวิธีการสำหรับจะสอนด้วย - ครูเชี่ยวชาญทำหน้าที่วินิจฉัยเด็กด้วย - ครูเชี่ยวชาญพิเศษทำหน้าที่ขยายผลสิ่งที่ ทำได้นั้นด้วย
การวิเคราะห์เด็ก คิดหาและ สร้างเนื้อหาวิธีการสอนตลอดจน ประเมินผลนี้คือขั้นตอนของ การวิจัยสำหรับครู
ครูกับการสอนให้คนเกิดการเรียนรู้ครูกับการสอนให้คนเกิดการเรียนรู้ ครูจึงจำเป็นต้องมีความรู้เฉพาะทางอยู่ 3 เรื่องอย่างบูรณาการ • พัฒนาของคน • การเรียนรู้ในพัฒนาการนั้น • การจัดการเรียนรู้ตามพัฒนาการนั้น หลักการจัดการเรียนรู้ ๑.วางแผนการจัดการเรียนรู้ ๒.วิเคราะห์ผู้เรียน ๓.ให้ treatment ๔. ประเมินผลสัมฤทธิ์
HRD Human Resource Development การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การศึกษาและ HRD เหมือนหรือต่างกันอย่างไร???
ฐานความคิดของHRD • คนเป็นทรัพยากรในการผลิต • คนพัฒนาได้ตามที่ต้องการ • ผลสำเร็จต่าง ๆ เกิดจากการวางแผนจัดการกับคน HR Developersมี 2 ส่วน คือ คนที่วางแผนจัดการให้คนพัฒนา กับคนที่สอนให้คนพัฒนา
คำถามชวนคิด สมมุติว่าท่านเป็นประธานบริษัทหนึ่ง ท่านมีวิสัยทัศน์จะตั้งโรงงานผลิตเครื่องบินพาณิชย์ในประเทศไทย เพื่อส่งขายในทวีปเอเชีย แข่งกับบริษัทผลิตเครื่องบินในยุโรป ท่านจะวางแผนอย่างไรจึงจะบรรลุวิสัยทัศน์นี้
นักการศึกษา กับ ครูEducator and Teacher • การเรียนการสอนวิชาการศึกษา และวิชาครู • นักบริหารการศึกษา และนักสอน • นักบริหาร และนักบริหารการศึกษา • การวางแผน และการวางแผนการศึกษา
ศึกษาศาสตร์ และ ครุศาสตร์ Education Sciences and Teacher Training
Education and Research การศึกษาและการวิจัย 1. การวิจัยทางการศึกษา หรือวิจัยการศึกษา (Educational Research) เป็นเรื่องของครูที่จะทำวิจัย 1.1 วิจัยพัฒนาหลักสูตร 1.2 วิจัยพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอน 1.3 วิจัยชั้นเรียน หรือปฏิบัติการพัฒนาผู้เรียน (Classroom Research) 2. การวิจัยด้านการศึกษา (Research in Educationa) 2.1 วิจัยเชิงนโยบาย และบริหารจัดการ 2.2 วิจัยเทคโนโลยีการศึกษา 2.3 วิจัยประเมินผลการจัดการศึกษา
แผนคืออะไร • สิ่งที่เราอยากจะทำให้เกิด Vision, goal, target, strategy,กลยุทธ์ มาตรการ • สิ่งที่เราเตรียมจะทำในอนาคต (A) • สิ่งที่เราจะต้องทำต่อไปจากนี้ (B) • (A) + (B) = สิ่งที่เราเตรียมจะทำในระยะต่อไปจากนี้ (C) • Long Term Plan, Short Term PlanและMedium Term Plan • MTEF (Medium Term Expenditure Framework)
Macro Planning และ Micro Planning • แผนระดับชาติและแผนระดับองค์กร • แผนรวมของทุกโครงการ และแผนการดำเนินโครงการ • แผนงานขนาดใหญ่และแผนงานขนาดเล็ก • แผนของทั้งระบบและแผนแยกเฉพาะส่วน
Educational Planning • คือการวางแผนจัดการกับคน หรือเป้าหมายอยู่ที่คน • การวางแผนจะทำใน4 องค์ประกอบของการศึกษา คือ 1.จะต้องมีสิ่งที่พึงประสงค์ คือสิ่งที่อยากจะให้เกิดขึ้น 2.มีหลักสูตร หมายถึงมีแนวทางในการจัดการเรียนรู้ 3. มีผู้สอน หรือครู คือมีผู้จัดให้ 4. มีผู้เรียน หรือกลุ่มเป้าหมาย
นักวางแผนการศึกษาเขาวางแผนอะไร???นักวางแผนการศึกษาเขาวางแผนอะไร??? 1.วางแผนกับสิ่งที่พึงประสงค์ ได้แก่ กำหนดมาตรฐานชาติ วางเป้าหมาย วางมาตรฐานการเรียนรู้ กำหนดสิ่งที่ต้องการ กำหนดคุณลักษณะของคน เป็นต้น 2.วางแผนกับหลักสูตร ได้แก่ กำหนดหลักสูตร วางแผนการสอน วางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กำหนดวิธีการสอน กำหนดวิธีการวัด/ประเมิน กำหนดตารางสอน วางแผนการใช้สื่อ เป็นต้น 3.วางแผนกับผู้สอน ได้แก่ วางแผนเลือกผู้สอน เตรียมผู้สอน วางแผนพัฒนาผู้สอน วางแผนการประเมินผู้สอน วางแผนจัดการกับผู้สอน เป็นต้น 4. วางแผนกับผู้เรียน ได้แก่ ประมาณการผู้เรียน หาผู้เรียนมาเรียน วางแผนจัดการกับตัวผู้เรียน เป็นต้น