190 likes | 632 Views
มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี ( BangkokThonburi University). 1066901 สัมมนาการบริหารการศึกษา ( Seminar in Educational Administration). ดร.จิรวัฒน์ กิติพิเชฐสรรค์. ครั้งที่ 2 การทำงานเป็นทีม. ความหมายของทีม มีผู้ให้ความหมายหลายความหมาย คำว่า “ ทีม ” ไว้ดังนี้
E N D
มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี (BangkokThonburi University) 1066901 สัมมนาการบริหารการศึกษา (Seminar in Educational Administration) ดร.จิรวัฒน์ กิติพิเชฐสรรค์
ครั้งที่ 2 การทำงานเป็นทีม ความหมายของทีม มีผู้ให้ความหมายหลายความหมาย คำว่า “ทีม” ไว้ดังนี้ ราชบัณฑิตยสถาน, (2534 : 257) ทีม หมายถึงชุด หมู่ คณะ มาจาก รากศัพท์ ภาษาอังกฤษ ว่า Team เชอร์เมอร์ฮอร์น, ฮั้นท์ และออสบอร์น (Schermerhorn, Hunt and Osborn, 1994 : 326-327; รังสรรค์ ประเสริฐศรี, (2544 : 150) ให้ความหมายของทีม สอดคล้องกันว่า ทีม หมายถึง กลุ่มเล็ก ๆ ของคนประกอบกันขึ้น ใช้ทักษะในการทำงานให้ บรรลุวัตถุประสงค์ที่เป็นไปได้ด้วยทีม คาร์เซอร์ และ คนอื่น (Kaser and others, 1995 : 180) ให้ความหมายของทีม หมายถึง การทำงานร่วมกับคนอื่น โดยการสื่อสาร ให้การทำงานเกิดประสิทธิภาพและ ประสิทธิผล สร้างความสัมพันธ์ที่เข้มแข็งระหว่างสมาชิก ดร.จิรวัฒน์ กิติพิเชฐสรรค์
มอร์ริสัน (Morrison, 1998 : 182-183) ; วราภรณ์ ตระกูลสฤษดิ์, (2549 : 2) มีความเห็นสอดคล้องกันว่า ทีม หมายถึง กลุ่มของบุคคลที่มีจุดประสงค์ตรงกัน มีพื้นที่อาศัย ทักษะ บุคลิก ลักษณะ ต่างกันและความสามารถช่วยเสริมซึ่งกันและกัน และตกลงใจที่จะทำงานร่วมกัน ร่วมมือกันในงานและจุดมุ่งหมายเดียวกัน ทีมต้องตระหนักในทีมและงานส่วนบุคคลที่ยึดเหนี่ยว กันไว้ และมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ดร.จิรวัฒน์ กิติพิเชฐสรรค์
ความหมายของการทำงานเป็นทีม มีผู้ให้ความหมาย “การทำงานเป็นทีม (Teamwork) ” หลายความหมาย ดังนี้ เมอริล อี. ดักลาส และ ดอนนา เอ็น ดักลาส, (2535: 31) ให้ความหมายของการทำงานเป็นทีม ว่า ทีมงานต้องการความผูกพันและการมีส่วนร่วม สมาชิกในทีมจะเกี่ยวพันซึ่งกันและกัน ร่วมเป้าหมายของทีมเดียวกันและร่วมมือร่วมใจกันทำงาน ทีมงานคือการร่วมมือกันเพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่ดีที่สุด รังสรรค์ ประเสริฐศรี, (2544 : 151) ให้ความหมายของการทำงานเป็นทีม หมายถึง กลุ่มบุคคลที่รวมตัวกันขึ้น เพื่อทำงานร่วมกันให้บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ และผู้ร่วมทีมต่างมีความพึงพอใจในการทำงานนั้น ตลอดจนมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกภายในกลุ่ม ดร.จิรวัฒน์ กิติพิเชฐสรรค์
วราภรณ์ ตระกูลสฤษดิ์, (2549 : 2) ให้ความหมายของการทำงานเป็นทีม หมายถึง กลุ่มคนจำนวนไม่มากที่มีทักษะที่เสริมกันมาทำงานร่วมกันโดยมีวัตถุประสงค์ร่วมกัน มีเป้าหมายของผลงานและรับผิดชอบร่วมกัน การทำงานเป็นทีม หมายถึงการที่บุคคลมารวมกลุ่มกันเพื่อร่วมมือกันกระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดให้สำเร็จลุล่วงด้วยดี โดยการร่วมมือกัน ประสานงานกัน มุ่งดึงศักยภาพที่มีจากบุคคลแต่ละคนภายในกลุ่มออกมาช่วยในการดำเนินกิจกรรมให้งานบรรลุเป้าหมาย การทำงานเป็นทีมมีองค์ประกอบ 3 ประการ (3P) ได้แก่ มีวัตถุประสงค์ (Purpose) ต้องชัดเจน มีการจัดลำดับความสำคัญ (Priority) ในการทำงาน มีผลการทำงาน (Performance) เชน และ ฟินิน (Chen and Finin, 2007 : Online) ให้ความหมายของการทำงานเป็นทีม หมายถึง แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ ในการร่วมกันแก้ปัญหาในการทำงาน หรือเพื่อให้บรรลุผลสัมฤทธิ์ของงาน ไม่เพียงแต่การเพิ่มผลผลิตและประสิทธิภาพ แต่พวกเขาสามารถแก้ปัญหาที่บุคคลคนเดียวไม่สามารถแก้ปัญหาได้โดยลำพัง เช่นการยกส่งของที่มีน้ำหนักมาก การจูงใจเพื่อให้ได้ผลกำไรก้อนโตของการทำงานเป็นทีม ดร.จิรวัฒน์ กิติพิเชฐสรรค์
ข้อดีของการทำงานเป็นทีม มอร์ริสัน (Morrison, 1998 : 183-184) ได้กล่าวถึงข้อดีของการทำงานเป็นทีม ดังนี้ 1) ทีมสามารถทำงานได้กว้างขวางในจำนวนที่มากและยากกว่าที่จะ ทำได้โดยลำพังคนเดียว หรือหุ้นส่วน (หลายหัวดีกว่าหัวเดียว) 2) ความเข้าใจปัญหาและการแก้ปัญหาที่มีคุณภาพดีกว่า 3) พันธกิจ ข้อตกลงที่จะทำงาน โครงการ และกิจกรรมที่เพิ่มขึ้น 4) ปัญหาต่าง ๆ ได้ถูกแยกแยะโดยผู้ที่ผูกติดกับปัญหา 5) พันธกิจในการนำวิธีการแก้ปัญหาไปใช้ ได้รับการตรวจสอบโดยทีมสำหรับการแนะนำวิธีการแก้ปัญหา ดร.จิรวัฒน์ กิติพิเชฐสรรค์
6) ความเชี่ยวชาญและความมีทักษะที่มากมายจะถูกนำมาปรับใช้7) ทีมมาจากความเชี่ยวชาญของบุคคล ช่วยเสริมสร้างความชำนาญให้แก่กันและกันมีความยืดหยุ่น8) การสื่อสารช่วยปรับปรุงงานให้ที่เร่งด่วนให้ถูกต้องแม่นยำ9) บุคคลมีความสนุกสนานที่เป็นสมาชิกของทีมและทำงานในทีม 10) ทีมทำให้สังคมยอมรับในการทำงานและพัฒนาผลงานที่แสดงออกมาให้เห็น ดร.จิรวัฒน์ กิติพิเชฐสรรค์
11) ทุก ๆ คนเป็นเอกภาพในการทำงาน 12) ถ้าเวลามีน้อยทำให้แต่ละคนช่วยกันรับภาระการทำงาน 13) ได้รับการแบ่งปันความทุกข์ใจกันมากกว่าที่จะแยกออกไป 14) การทำให้ง่ายขึ้นผ่านการมีส่วนร่วม 15) ทำให้ลดการแข่งขัน เพิ่มการมีส่วนร่วมและสร้างขวัญกำลังใจ 16) สามารถสร้างความกดดันให้มีความร่วมมือของบุคคล 17) สร้างความยอมรับและความตระหนัก ดร.จิรวัฒน์ กิติพิเชฐสรรค์
ข้อเสียของการทำงานเป็นทีมข้อเสียของการทำงานเป็นทีม มอร์ริสัน (Morrison, 1998 : 183-184) ได้กล่าวถึง ข้อเสียของการทำงานเป็นทีม คือ 1) แรงกดดันจากสมาชิกมีจำนวนมาก 2) การข้ามหน้าที่ การข้ามหน่วยงานที่มีขอบเขตกำหนดไว้คือการแตกหักล่มสลายขององค์การหรือกิจการ 3) สมาชิกมีแรงกดดันในการทำตามมาตรฐานของกลุ่ม บางครั้งอาจผลักดันสมาชิกที่ทำงานได้ดีออกไปจากทีม 4) การหนีงานและปัดความรับผิดชอบ 5) การละเลยหน้าที่ 6) ความคิดของทีม มีแนวโน้มที่จะครอบงำการประเมินการปฏิบัติงานที่แท้จริง ดร.จิรวัฒน์ กิติพิเชฐสรรค์
รังสรรค์ ประเสริฐศรี, (2544 : 152-153) ได้กล่าวถึง ข้อเสียของการทำงานเป็นทีม คือ 1) สมาชิกของกลุ่มจะเผชิญกับความกดดันในการทำงานตามมาตรฐานของงาน 2) เกิดการหนีงานและการปัดความรับผิดชอบ 3) เกิดการละเลยภาระหน้าที่ 4) ความคิดของกลุ่มมีแนวโน้มที่ครอบงำการประเมินการปฏิบัติที่แท้จริง ดร.จิรวัฒน์ กิติพิเชฐสรรค์
การสร้างทีมงาน การสร้างทีมงาน มีข้อเสนอจากนักวิชาการหลายคน คือ เบล (Bell, 1992 : 198) กล่าวว่า การสร้างทีม มี 4 ประการคือ 1) วัตถุประสงค์ที่ชัดเจน 2) กระบวนการตัดสินใจร่วมกัน 3) กำหนดงาน บทบาท ความรับผิดชอบ การจัดองค์กร กำหนดเวลาทำงานที่ชัดเจน 4) มีกฎที่จะทำให้ทีมพัฒนาก้าวไปข้างหน้า ดร.จิรวัฒน์ กิติพิเชฐสรรค์
เชอร์เมอฮอร์น, ฮั้นท์ และ ออสบอร์น (Schermerhorn, Hunt and Osborn, 1994 : 326-327) กล่าวว่า กระบวนการสร้างทีม มีอยู่ 5 ขั้นคือ ขั้นที่ 1 แต่ละคนตระหนักในปัญหาและถือว่าปัญหานั้นยังคงอยู่และต้องการพัฒนา ขั้นที่ 2 เก็บรวบรวมข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กับปัญหา และวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับปัญหา ขั้นที่ 3 สมาชิกกลุ่มร่วมวางแผน ขั้นที่ 4 สมาชิกกลุ่มนำแผนไปใช้ ขั้นที่ 5 สมาชิกดำเนินกิจกรรมตามแผน ตรวจสอบ ติดตามความก้าวหน้า ประเมินผลและสรุปผล นำไปสู่การทำกิจกรรมใหม่ในอนาคตและทำ กิจกรรมเดิมอีกครั้งถ้าจำเป็น ดร.จิรวัฒน์ กิติพิเชฐสรรค์
การประเมินการทำงานของทีม 3 วิธี วิรัติ ปานศิลา และ สุรศักดิ์ เทียบฤทธิ์, (2548 : 47-48) กล่าวว่า การประเมินการทำงานของทีม มี 3 วิธี ดังนี้ 1) การประเมินจากภารกิจงาน 2) การสอบถามจากทีม 3) สอบถามจากบุคคลภายนอก หรือที่ปรึกษา ดร.จิรวัฒน์ กิติพิเชฐสรรค์
วิธีการประเมินผลงานทีม 9 วิธี สมชาติ กิจยรรยง, (2546 : 175-177) กล่าวว่า วิธีการประเมินผลงานทีม มี 9 วิธี แต่ละวิธีมีรายละเอียด ดังนี้คือ 1) แบบจัดลำดับคน วิธีนี้ค่อนข้างหยาบ ทำได้ดีในกลุ่มเล็ก ๆ 2) การบรรยายสรรพคุณ มีส่วนดี ส่วนเสียอย่างไร 3) แบบตรวจสอบรายการ (Check List) โดยสร้างข้อความทั้งด้านดีและ ไม่ดีมาหลาย ๆ ข้อ แล้วนำคนหรือทีมที่ถูกประเมินมาใส่เครื่องหมายว่า มี หรือ ไม่มี 4) แบบเปรียบเทียบ อาจเปรียบเทียบทีละคู่ จาก 10 เหลือ 5 จาก 5 เหลือ 3 จาก 3 มาจัดลำดับ ช้า ละเอียดมาก ทำกับคนกลุ่มใหญ่ไม่ได้ ดร.จิรวัฒน์ กิติพิเชฐสรรค์
5) ประเมินจากผลผลิต จากผลงานที่เป็นรูปธรรมชัดเจน 6) ประเมินจากเป้าหมาย โดยกำหนดเป้าหมายดำเนินงานขึ้นมา แล้วประเมินโดยใช้เป้าหมายเป็นตัววัดผลงาน 7) ประเมินแบบจัดลำดับ โดยกำหนดคุณสมบัติการทำงาน แต่ละด้านแล้วประเมินว่าอยู่ในระดับ ดีเลิศ ดี แย่ แย่มาก หรือใช้ตัวเลข 5-4-3-2-1 8) ประเมินแบบจับกลุ่ม หรือต้อนเข้ากลุ่ม โดยกำหนดจำนวนไว้ในกลุ่มให้ชัดเจน เป็นร้อยละ เช่น ดีเลิศ 10% ดี 20% ปานกลาง 40% ต่ำ 20% ต่ำมาก 10% 9) แบบประเมินพฤติกรรมในการทำงาน โดยให้ผู้เชี่ยวชาญหรือผู้มี ประสบการณ์เป็นอย่างดีในแต่ละสายงาน ดร.จิรวัฒน์ กิติพิเชฐสรรค์
ดำเนินการสัมมนาตามกำหนดการดำเนินการสัมมนาตามกำหนดการ ดร.จิรวัฒน์ กิติพิเชฐสรรค์