660 likes | 1.63k Views
บทที่ 6 ยาต้านจุลชีพ Antibacterial Drugs. วัตถุประสงค์ เพื่อให้ทราบ 1. คุณสมบัติที่ดีของยาต้านจุลชีพ 2. กลไกการออกฤทธิ์ของยาต้านจุลชีพ 3. หลักการเลือกใช้ยาต้านจุลชีพอย่างมีประสิทธิภาพ 4. ชนิดของยาต้านจุลชีพ เช่น กลุ่ม Penicillins กลุ่ม Aminoglycosides เป็นต้น.
E N D
บทที่ 6 ยาต้านจุลชีพ Antibacterial Drugs
วัตถุประสงค์เพื่อให้ทราบวัตถุประสงค์เพื่อให้ทราบ • 1. คุณสมบัติที่ดีของยาต้านจุลชีพ • 2. กลไกการออกฤทธิ์ของยาต้านจุลชีพ • 3. หลักการเลือกใช้ยาต้านจุลชีพอย่างมีประสิทธิภาพ • 4. ชนิดของยาต้านจุลชีพ เช่น กลุ่ม Penicillins กลุ่ม Aminoglycosides เป็นต้น
ตามหลักแล้ว ยาต้านจุลชีพ (antimicrobial agent) เป็นกลุ่มยาที่มีผลยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์หรือทำลายจุลินทรีย์ สามารถนำมาใช้ใน 2 ลักษณะ คือ • 1. เพื่อควบคุมจุลินทรีย์ภายนอกร่างกาย • Antiseptic • Disinfectant • 2. เพื่อรักษาโรคติดเชื้อภายในร่างกาย • Antibacterial drugs/ antibiotics
ยาต้านจุลชีพที่ใช้ภายนอกร่างกายยาต้านจุลชีพที่ใช้ภายนอกร่างกาย ยากลุ่มนี้จะมีกลไกการออกฤทธิ์ไม่เลือกสรร เช่น สามารถตกตะกอนโปรตีน ละลายไขมันฯลฯ ทำให้มีผลต่อเชื้อโรคประเภทต่างๆ รวมทั้งอาจมีผลต่อเซลของโฮสต์ด้วย จึงมีการนำมาใช้ใน 2 ลักษณะ คือ • 1. เพื่อทำลายเชื้อในสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นพวกวัสดุ สิ่งของ เรียกว่า Disinfectantและ • 2. พวกที่ใช้กับผิวกายหรือส่วนนอกร่างกายเรียกว่า Antisepticทั้งสองชนิดนี้มักเรียกรวมกันว่ายาฆ่าเชื้อ
ยาต้านจุลชีพที่ใช้รักษาโรคติดเชื้อภายในร่างกาย ยาในกลุ่มนี้จะมีกลไกการออกฤทธิ์ที่เลือกสรรต่อเชื้อจุลชีพมากกว่าที่จะมีผลต่อโฮสต์ ยาในกลุ่มนี้จึงมีชื่อเรียกว่า antimicrobial chemotherapeutic agent ซึ่งเป็นที่เรียกกันสั้นๆ ว่ายาต้านจุลชีพ
Antibacterial Drugs • ยาต้านจุลชีพอาจได้จากเชื้อจุลชีพหรือได้จากการสังเคราะห์ ซึ่งเป้าหมายแรกเริ่มของการผลิตมาเพื่อใช้รักษาโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียเป็นหลัก มียาบางตัวที่อาจให้ผลต่อการรักษาเชื้อโปรโตซัว หรือในรายที่เกิดโรคจากเชื้อไวรัส ยาจะช่วยป้องกันการติดเชื้อแทรกซ้อนที่จะตามมาจากเชื้อแบคทีเรียได้ ดังนั้นความสำเร็จในการใช้ยาปฏิชีวนะรักษาโรค ก็ขึ้นอยู่กับการที่จะสามารถวินิจฉัยโรคให้ได้ใกล้เคียงตรงกับเป้าหมายที่สุด
ยาปฏิชีวนะ (antibiotics)หมายถึง สารประกอบที่สร้างขึ้นโดยจุลชีพชนิดใดชนิดหนึ่งซึ่งมีฤทธิ์สามารถยับยั้งหรือขัดขวางการเจริญเติบโต ของจุลชีพอีกกลุ่มหนึ่ง หรือมีฤทธิ์ทำลาย จุลชีพกลุ่มนั้น ๆ แหล่งที่มา ได้จากจุลชีพในกลุ่มต่อไปนี้ • 1. Actinomycetalesgroup เช่น เชื้อรา Streptomycesspp. เช่น ยา Chloramphenicol, Erythromycin, Kanamycin, Neomycin, Streptomycin, Tetracyclineเป็นต้น • 2. Aspergillalesgroup.เช่น ผลิตจากเชื้อรา Penicilliumspp. ได้ยา Penicillin เป็นต้น • 3.Bacillaceaegroup เช่น ผลิตจากแบคทีเรียชนิด Bacillusspp. ได้ยา Polymyxin, Colistin เป็นต้น
Sulfonamides คือกลุ่มสารประกอบของตัวยา Sulfa ซึ่งได้จากการสังเคราะห์ทางเคมี • ตัวอย่าง เช่น Sulfamonomethoxine, Sulfaguanidine เป็นต้น • ปัจจุบันการผลิตยาในทางอุตสาหกรรมก็ได้จากการสังเคราะห์ หรือ กึ่งสังเคราะห์ทั้งสิ้น
ประเภทของยาต้านจุลชีพแบ่งตามขอบเขตการออกฤทธิ์เป็นประเภทของยาต้านจุลชีพแบ่งตามขอบเขตการออกฤทธิ์เป็น • 1. ออกฤทธิ์กับเชื้อแบคทีเรียแกรมบวกคือ เชื้อแบคทีเรียที่ย้อมติดสีม่วงเนื่องจากผนังเซลมีส่วนประกอบของ peptidoglycan เช่น Penicillins • 2. ออกฤทธิ์กับ เชื้อแบคทีเรียแกรมลบ คือ เชื้อแบคทีเรียย้อมติดสีแดงเนื่องจากผนังเซลมีส่วนประกอบของ lipopolysaccharide เช่น Aminoglycosides • ออกฤทธิ์แบบข้อ 1 หรือ ข้อ 2 จัดเป็น พวกออกฤทธิ์แคบ • ออกฤทธิ์ทั้งใน ข้อ 1 และข้อ 2 เช่น Ampicillin จัดเป็น พวกออกฤทธิ์กว้าง
ประเภทการออกฤทธิ์ของยาต้านจุลชีพ แบ่งเป็น • Bactericidal : ยาออกฤทธิ์ต่อ ผนังเซล, เซลเมมเบรน, DNA หรือยาที่ความเข้มข้นสูงทำให้มีฤทธิ์ฆ่าจุลชีพ (99.9% ของเซลแบคทีเรียที่เพาะเลี้ยงถูกฆ่าในเวลาที่กำหนด) • Bacteriostatic : ยาออกฤทธิ์ต่อขบวนการสร้างโปรตีนหรือยาที่ความเข้มข้นต่ำ ทำให้ยับยั้งการเจริญเติบโต (reversible change) และจะต้องอาศัยกลไกในการต้านทานโรคของร่างกายมาช่วยในการกำจัดเชื้อร่วมด้วย
Bactericide vs. Bacteriostatic ทราบได้จากการเพาะเชื้อ 105 colony-forming units (CFU) แล้วบ่มเพาะที่ 37 C จากนั้นจึงศึกษาการให้ยาต้านจุลชีพชนิดที่ออกฤทธิ์ ฆ่า/ทำลาย หรือ ยับยั้ง เปรียบเทียบกลุ่มควบคุม
Mode of Action of Antibacterial Drugs 1. ทำให้โครงสร้างผนังเซลของแบคทีเรียผิดปกติ ออกฤทธิ์ bactericidal เช่น Penicillins & Cephalosporins 2.ขัดขวางการสังเคราะห์โปรตีน 2.1 ออกฤทธิ์bactericidal เช่น Aminoglycosides 2.2 ออกฤทธิ์bacteriostatic เช่น Lincomycin, Spectinomycin Chloramphenicol Tetracycline Erythromycin
Mode of Action of Antibacterial Drugs (ต่อ) 3.ทำให้การทำงานของเซลเมมเบรนผิดปกติหรือขัดขวางขบวนการสร้างเซลเมมเบรน ออกฤทธิ์ bactericidal เช่น Polymyxin, Colistin 4.ขัดขวางขบวนการสร้างกรดนิวคลีอิคของแบคทีเรียอออกฤทธิ์ bactericidal เช่น Quinolones 5.รบกวนการสร้างเมตาบอไลท์ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของแบคทีเรีย ออกฤทธิ์ bacteriostatic เช่น Sulfonamides และ Trimethoprim
สรุปชนิดของกลุ่มยาต้านจุลชีพที่ออกฤทธิ์แบบ bactericidal และ bacteriostatic
รูปที่ แสดงตำแหน่งที่ยาต้านจุลชีพชนิดต่างๆ ออกฤทธิ์ต่อเซลแบคทีเรีย
คุณสมบัติของ Antibacterial Drugs ที่ดี 1. ออกฤทธิ์ได้ดี และมีความจำเพาะต่อชนิดของเชื้อ 2. ออกฤทธิ์แบบ bactericidal ดีกว่า bacteriostatic 3.ออกฤทธิ์อย่างอิสระไม่เกี่ยวข้องกับระบบความต้านทานโรค ในร่างกาย 4. ไม่ค่อยก่อให้เกิดปัญหาการดื้อยา 5. ปลอดภัยต่อการให้ยารักษาแบบเฉียบพลัน และแบบเรื้อรัง 6. มีฤทธิ์ไม่พึงประสงค์น้อยที่สุด
หลักการเลือกใช้ยาต้านจุลชีพหลักการเลือกใช้ยาต้านจุลชีพ การเลือกใช้ยาต้านจุลชีพให้มีประสิทธิภาพมีปัจจัยเกี่ยวข้อง 3 ประการ คือ • 1. ชนิดของเชื้อที่เป็นสาเหตุของโรค • 2. ยาต้านจุลชีพที่มีความไวต่อเชื้อ • 3. สภาวะร่างกาย
รูปที่ แสดงความสัมพันธ์ของปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อการรักษาด้วยยาต้านจุลชีพ
ชนิดของเชื้อที่เป็นสาเหตุของโรคชนิดของเชื้อที่เป็นสาเหตุของโรค การวินิจฉัยโรคเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องทำเป็นอันดับแรกสุด ซึ่งจะประมวลได้จากการซักประวัติ การสังเกตอาการ การผ่าซากดูวิการ รวมทั้งการเพาะหาเชื้อชนิดต่างๆและการตรวจทางภูมิคุ้มวิทยา ในกรณีที่ไม่สามารถจะตรวจทางห้องปฏิบัติการได้ก็ควรจะคาดเดาได้ว่าเกิดจากเชื้อในกลุ่มแบคทีเรียที่ย้อมติดสีแกรมบวกหรือแกรมลบ
วิธีการย้อมสีแกรม โครงสร้างแสดงความแตกต่างของเชื้อแกรมบวกและแกรมลบ เชื้อแกรมบวกย้อมติดสีน้ำเงินม่วง เชื้อแกรมลบย้อมติดสีค่อนข้างแดง
ชนิดของเชื้อที่เป็นสาเหตุของโรค (ต่อ) • โดยทั่วไปการติดเชื้อแบคทีเรียจะทำให้สัตว์มีไข้ ถ้าอาการไข้ค่อยๆสูงขึ้นจนถึงสูงสุด มักเกิดจากเชื้อพวกแกรมบวก แต่ถ้าอาการไข้สูงถึงจุดสูงสุดทันทีทันใด มักเกิดจากเชื้อแกรมลบ แม้ว่าปัจจุบันยาที่ผลิตสู่ท้องตลาดจะสามารถออกฤทธิ์ได้กว้าง แต่การใช้ยารักษาเชื้อชนิดแกรมลบนั้น มักจะต้องใช้ยาในขนาดที่สูงกว่าปกติ • ส่วนถ้าอาการไข้สูงเกินกว่า 106 องศาฟาเรนไฮต์ มักจะไม่ได้เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ยกเว้นโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
ตาราง แสดงตำแหน่งที่ติดเชื้อและเชื้อที่มักพบเป็นสาเหตุ
2. ยาต้านจุลชีพที่มีความไวต่อเชื้อ • จะต้องทราบเกี่ยวกับเภสัชจลนศาตร์ของยา เลือกใช้ยาที่สามารถออกฤทธิ์ไปยังอวัยวะเป้าหมายได้ตรงจุด มีการเลือกให้ยาในรูปแบบที่เหมาะสม ยาที่ใช้รักษาจะต้องมีขนาดสูงพอที่จะออกฤทธิ์ทำลายเชื้อ คือต้องสูงกว่าระดับยาต่ำสุดที่ใช้ยับยั้งเชื้อ โดยมีระยะห่างของการให้ยาแต่ละครั้งอย่างถูกต้องเพื่อให้รักษาระดับยาที่จะออกฤทธิ์ได้อย่างต่อเนื่อง • ควรพยายามเลือกใช้ยาที่ออกฤทธิ์แคบไว้ก่อน เพื่อหลีกเลี่ยงการทำลาย normal floraอื่นๆ และกรณีที่ให้ยาที่น่าจะรักษาได้แต่ไม่ได้ผล ควรทำการหาเพาะเชื้อและหาความไวของยาต่อเชื้อด้วย (sensitivity test)
รูปที่ แสดงการเพาะแยกเชื้อแบคทีเรียและการทดสอบความไวของเชื้อ
2. ยาต้านจุลชีพที่มีความไวต่อเชื้อ (ต่อ) • ตัวอย่างเช่น ยาที่ควรใช้ในการรักษาโรคที่เกิดจากการติดเชื้อในสมอง คือยาที่สามารถผ่าน blood brain barrierได้ดี เช่น Chloramphenicol เป็นต้น • ยาที่ควรใช้ในการรักษาการติดเชื้อในท่อน้ำดี คือยาที่ขับผ่านในท่อน้ำดีในปริมาณสูง เช่น Ampicillin,Tetracycline เป็นต้น หรือ • ยาที่ควรใช้ในการรักษาการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ คือยาที่ขับผ่านทางเดินปัสสาวะในปริมาณสูงและควรให้โดยการฉีด เช่น Penicillin ยาในกลุ่มAminoglycosides
2. ยาต้านจุลชีพที่มีความไวต่อเชื้อ (ต่อ) • ยาที่รักษาโรคในทางเดินอาหาร หากให้เป็นยากินก็ได้ผลดีพอแล้ว ไม่จำเป็นต้องใช้ยาฉีดซึ่งมีราคาแพงกว่า เป็นต้นและ • หากมีอาการอาเจียน วิธีการให้ยาก็ควรเป็นการฉีด เป็นต้น
2. ยาต้านจุลชีพที่มีความไวต่อเชื้อ (ต่อ) • ขนาดของยาที่ให้ ตามหลักแล้วครั้งแรกที่ให้ยาควรให้ในขนาดที่สูงก่อน ซึ่งเป็นขนาดที่จะทำให้ระดับของยาในเลือดสูงพอที่จะให้ผลในการรักษาทันที แล้วตามด้วยขนาดยาที่ลดลงเพื่อให้รักษาระดับยาในเลือดอยู่ในระดับ minimum effective concentrationตลอดเวลาที่ให้ยา โดยทั่วไปขนาดยาที่ให้ครั้งแรกจะเป็น 2 เท่าของขนาดปกติที่ให้ในครั้งต่อมา • ส่วนระยะห่างของการให้ยาขึ้นอยู่กับค่ากึ่งชีวิตของยาแต่ละตัว (มาลินี, 2540)
นอกจากนี้ในการติดเชื้อที่ไม่รุนแรงและผู้ป่วยมีภูมิคุ้มกันปกติ จะใช้ยาต้านจุลชีพประมาณ 5-7 วันติดต่อกันจึงจะหยุดยาได้ แต่ในกรณีที่เป็นโรคอย่างเรื้อรัง เชื้อมีการเจริญช้า หรือเป็นผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ หรือเป็นโรคที่กลับเป็นซ้ำบ่อยๆ จำเป็นจะต้องให้ยานานกว่าปกติ เช่นวัณโรค (ในคน) • หากให้ยาที่ออกฤทธิ์แบบbactericidalจะใช้ยาในระยะเวลาสั้นกว่ายาที่มีฤทธิ์เป็น bacteriostatic
3. สภาวะร่างกาย • สัตว์ที่อายุน้อยควรลดขนาดยา สัตว์ป่วยที่มีร่างกายแข็งแรงจะตอบสนองต่อยาต้านจุลชีพได้ดี สามารถกำจัดเชื้อได้เมื่อใช้ยาชนิดbacteriostatic ในขณะที่สัตว์ป่วยจากโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องควรจะเลือกใช้ยาชนิด bactericidal มากกว่า นอกจากนี้ในบริเวณที่มีการติดเชื้อและมีปัจจัยอื่นๆร่วมด้วย ก็จะมีผลต่อการออกฤทธิ์ของยา เช่น การเป็นฝีหนอง pH การใส่สิ่งแปลกปลอม เช่น อวัยวะเทียม การใช้เหล็กดามกระดูก การเป็นโรคที่เกี่ยวกับตับหรือไตหรือนิ่ว จะส่งผลต่อการออกฤทธิ์และการเป็นพิษของยาด้วย
หลักการใช้ยาต้านจุลชีพร่วมกันมากกว่า 1 ชนิด ใช้ในบางกรณีที่จำเป็นเท่านั้น ดังต่อไปนี้ • 1. กรณีโรคติดเชื้อ ที่เกิดจากเชื้อหลายชนิด และยาปฏิชีวนะเพียงชนิดเดียว ไม่มีผลต่อเชื้อทุกตัว • 2. ใช้กรณีรักษาโรคติดเชื้ออย่างรุนแรง ซึ่งไม่ทราบหรือไม่สามารถแยกได้ว่าเกิดจากเชื้ออะไร • 3. กรณีที่ทราบแล้วว่า ยาที่ให้ร่วมกันนั้นสามารถออกฤทธิ์แบบsynergism หรือ additive • 4.โรคที่ใช้ยารักษาในขนาดที่สูงและยานั้นมีความเป็นพิษสูง การใช้ร่วมกับยาชนิดอื่นจะช่วยลดความเป็นพิษและลดอัตราการดื้อยาด้วย เช่นในกรณีโรคเมลิออยโดซิส
การให้ยามากกว่า 1 ชนิดร่วมกันอาจเกิดผลได้ 4 แบบ คือ 1 Synergism คือ เมื่อใช้ยาสองชนิดร่วมกันยาจะมีกลไกเสริมฤทธิ์กันอย่างทวีคูณ เช่น • 1.1 ยับยั้งปฏิกิริยาชีวเคมีที่เกี่ยวข้องกันอย่างต่อเนื่อง เช่น Sulfa-Trimethoprim • 1.2 ยับยั้งเอนซัยม์ที่ทำให้ยาต้านจุลชีพเสื่อมฤทธิ์ เช่น Chloramphenicol ร่วมกับยาในกลุ่ม Penicillins • 1.3 เสริมความสามารถของยาต้านจุลชีพที่มีผลต่อการสร้างผนังเซลและทำให้เพิ่มความสามารถของยาในการผ่านเข้าเซล เช่น Penicillin-Streptomycin
2 Additive (ยาต่างแยกกันออกฤทธิ์ โดยออกฤทธิ์ทั้ง 2 ชนิด) • 3 Indifference (ไม่แตกต่างจากการใช้ยาชนิดเดียว)
4 Antagonism(ยาออกฤทธิ์ต้านกัน) เช่น • 4.1คุณสมบัติทางเคมีหักล้างกันเอง การผสมยาChloramphenicol+ Erythromycin จะตกตะกอน • 4.2กลไกการออกฤทธิ์ของยาเกิดต้านกันเอง เช่น การให้ PenicillinและTetracyclineจะไม่ให้ผลในการรักษาเนื่องจาก Tetracyclineไปขัดขวางการสังเคราะห์โปรตีน ทำให้เซลหยุดการแบ่งตัว ดังนั้น Penicillinจึงไม่สามารถไปมีผลต่อการสร้างผนังเซลได้ • 4.3เหนี่ยวนำให้สร้างเอนซัยม์ที่ทำให้ยาต้านจุลชีพเสื่อมฤทธิ์ • 4.4แย่งจับที่ binding siteเดียวกัน
รูปที่ แสดงผลที่แตกต่างกันเมื่อให้ยาต้านจุลชีพมากกว่าหนึ่งชนิดร่วมกัน บนซ้ายคือการเสริมฤทธิ์แบบทวีคูณ ล่างซ้ายคือให้ผลไม่แตกต่างจากเมื่อให้ยาเพียงชนิดเดียว ล่างขวาคือให้ผลขัดขวางกัน
การเลือกใช้ยาร่วมกันนี้ มีหลักโดยทั่วไปว่าไม่ควรเลือกใช้ยาที่มีฤทธิ์ bacteriostaticร่วมกับยาที่ออกฤทธิ์ bactericidalซึ่งมักจะให้ผลต้านฤทธิ์กัน ในขณะที่การใช้ยาที่มีฤทธิ์ bactericidalร่วมกันมักจะให้ผลเสริมฤทธิ์กัน อย่างไรก็ตามหลักการนี้ก็ไม่ได้เป็นจริงเสมอไป เช่น โรค Brucellosisการรักษาโดยใช้ยาTetracycline ซึ่งมีฤทธิ์เป็น bacteriostatic ร่วมกับStreptomycin ซึ่งมีฤทธิ์เป็น bacteriocidalให้ผลในการรักษาได้ดีกว่าการใช้ยาชนิดใดชนิดหนึ่งเพียงชนิดเดียว
มีรายงานยาที่ออกฤทธิ์ต้านกันในหลอดทดลอง (In vitro) หลายชนิด แต่เมื่อนำมาใช้ในผู้ป่วยก็ไม่ได้มีผลหักล้างกัน เช่น Penicillin + Chlortetracycline,Ampicillin + Chlortetracycline + Streptomycin, Penicillin + Chlortetracycline อย่างไรก็ตาม การที่ผลการใช้รักษาในผู้ป่วยไม่เหมือนกับผลที่ได้ในหลอดทดลองก็เนื่องจากในผู้ป่วยมีกลไกของภูมิต้านทานโรคมาช่วยในการต่อสู้กับเชื้อด้วย
การใช้ยาต้านจุลชีพเพื่อป้องกันการติดเชื้อการใช้ยาต้านจุลชีพเพื่อป้องกันการติดเชื้อ • การให้ยาต้านจุลชีพในการเลี้ยงสัตว์เพื่อป้องกันโรคได้มีการนำมาใช้ในหลายกรณี เช่น • ใช้ป้องกันโรคที่ระบาดอยู่เป็นประจำในการเลี้ยงสัตว์ระบบอุตสาหกรรมซึ่งมีข้อจำกัดในเรื่องแรงงานและเวลา ช่วงเวลาที่ให้ยาคือก่อนระยะที่สัตว์จะ แสดงอาการของโรค และการใช้ยานั้น จะให้ขนาดยาในระดับต่ำกว่าขนาดยาที่ใช้รักษาเป็นระยะเวลาหนึ่งและจะต้องมีระยะหยุดยาก่อนส่งโรงฆ่าด้วย
การใช้ยาต้านจุลชีพเพื่อป้องกันการติดเชื้อ (ต่อ) • ให้เพื่อป้องกันเชื้อฉวยโอกาสในสัตว์ป่วยซึ่งมักจะมีภูมิคุ้มกันต่ำลง • ให้เพื่อป้องกันเชื้อแทรกซ้อนหลังการผ่าตัด • ให้ร่วมกับการใช้ยาที่มีผลกดระบบภูมิคุ้ม เช่น ยาพวกสเตียรอยด์ (แต่แยกคนละเข็ม)
สาเหตุที่ทำให้การใช้ยาต้านจุลชีพไม่ได้ผลสาเหตุที่ทำให้การใช้ยาต้านจุลชีพไม่ได้ผล • 1. เครื่องมือที่ให้ยาไม่สะอาด โดยเฉพาะ การฉีดเช่น มีฝีในบริเวณที่ฉีดยาเข้ากล้าม หรือ เกิดเส้นเลือดอักเสบ บริเวณที่ฉีดเข้าเส้นเลือด • 2. ไม่ให้ยาตาม recommendation : ก่อน/หลังอาหาร : ให้ผิด route :ให้ไม่ต่อเนื่องหรือให้ในระยะเวลาที่สั้นเกินไป
3.ให้ยาที่ไม่มีความไวต่อเชื้อชนิดนั้น หรือเชื้อดื้อยา หรือวินิจฉัยโรคผิด • 4. สัตว์ได้รับยาไม่ครบ dose เช่น สัตว์ไม่กินอาหารจึงไม่ได้รับยาที่ผสมอยู่ในอาหาร หรือ ป้อนยาแล้วยาหก หรือ สัตว์ได้รับยาแล้วอาเจียน หรือ ยามีรสขมทำให้สัตว์ไม่ชอบกิน • 5. โฮสต์มีระบบภูมิคุ้มกันโรคเสื่อม • 6.ให้ยาหลายชนิดพร้อมกันทำให้เกิด : antagonism หรือ incompatibility
7. ให้ยาพร้อมกับอาหารบางชนิด เช่น • Penicillin ไม่ควรให้พร้อมอาหาร/เครื่องดื่มที่เป็นกรด • Tetracycline ไม่ควรให้พร้อมนม • Sulfa ไม่ควรให้ พร้อม Vitamin B • 8. ชนิดสัตว์และพันธุกรรมจะเกี่ยวข้องกับการใช้ยาให้ได้ผลหรืออาจมีผลต่อการแพ้ยาได้แตกต่างกันเช่น • แมวจะแพ้ยาหลายชนิดกว่าสุนัข เช่น Penicillin, Paracetamol • สุนัขพันธุ์ Collie จะแพ้ยาถ่ายพยาธิ Ivermectin ถึงตายได้
สรุป • สิ่งที่ควรคำนึงในการเลือกใช้ antibacterial drugs • 1. Drug sensitivity • 2. Route of administration : IV, IM, oral (acid stable/ acid labile) • 3. Dosage • 4. Duration and interval of treatment • 5. Cost of the drug regimen • 6. Possible adverse effect
การใช้ยาต้านจุลชีพเพื่อเร่งการเจริญเติบโตของสัตว์การใช้ยาต้านจุลชีพเพื่อเร่งการเจริญเติบโตของสัตว์ • ยาต้านจุลชีพถูกนำมาใช้เพื่อเร่งการเจริญเติบโตของสัตว์ที่ใช้เป็นอาหารและสัตว์ผลิตขน ยาจะช่วยการเจริญได้ดี เมื่อสัตว์อยู่ในระยะร่างกายกำลังเจริญเติบโตโดยเฉพาะสัตว์ที่ได้รับการเลี้ยงดูแบบไม่ค่อยถูกหลักสุขศาสตร์ เช่น อยู่ในสภาพหนาแน่นมากเกินไป อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ค่อนข้างสกปรก
ช่วงอายุของสัตว์ที่จะได้รับประโยชน์จากยาได้มากที่สุดคือ(มาลินี, 2540) • สัตว์ปีก 8-10 อาทิตย์ • สุกร 4-6 เดือน • ลูกโค 3 เดือน • โคเนื้อ 18 เดือน • แกะ 2 เดือน • สัตว์ผลิตขน 2-3 เดือน
ยาในกลุ่มที่ใช้มากคือ Sulfonamides, Penicillinsและ Tetracycline • ขนาดยาที่ใช้เร่งการเจริญเติบโตจะต่ำกว่าขนาดที่ใช้รักษามาก คือ ประมาณ 5-20 ส่วนในล้านส่วนต่ออาหารประจำวัน ในขณะที่ขนาดที่ใช้ป้องกันคือ ประมาณ 100-400 ส่วนในล้านส่วน และขนาดที่ใช้รักษาคือ 2,000 ส่วนในล้านส่วน
สาเหตุที่ยาสามารถเร่งการเจริญเติบโตของสัตว์ได้ เนื่องจาก • ยาไปยับยั้งหรือทำลายเชื้อที่อยู่ในระยะเพิ่งติดเชื้อและยังไม่ได้แสดงอาการ • ยาไปทำลายเชื้อที่สร้างสารพิษที่มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของสัตว์ • ยาไปลดหรือทำลายเชื้อที่สร้างแอมโมเนียจากไนโตรเจนซึ่งย่อยสลายจากสารอาหารในลำไส้
สาเหตุที่ยาสามารถเร่งการเจริญเติบโตของสัตว์ได้ เนื่องจาก (ต่อ) • ยาไปลดหรือทำลายเชื้อที่แก่งแย่งกับเชื้อที่ช่วยสร้างอาหารในลำไส้ • ยาไปทำให้ผนังของลำไส้บางลงและเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนตัวของลำไส้ ซึ่งจะช่วยให้การดูดซึมอาหารดีขึ้น ทำให้การใช้อาหารมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ยาที่ใช้ในขนาดที่เร่งการเจริญเติบโตนี้ จะไม่ก่อให้เกิดปัญหาการดื้อยา หรือหากเกิดมีปัญหาอันเนื่องมาจากการใช้ยาเป็นระยะเวลานานๆ สภาวะการดื้อยานี้จะหายไปได้เมื่องดการใช้ยา ปัญหาที่พบในปัจจุบันคือ การที่ให้ขนาดยาที่สูงเกินกว่าระดับที่กำหนดเพื่อเร่งการเจริญเติบโต ทำให้เกิดการดื้อยาอย่างถาวรและยานี้ก็จะปรากฏในรูปสารตกค้างในผลิตภัณฑ์สัตว์ด้วย
ชนิดของยาต้านจุลชีพ (แบ่งตามคุณสมบัติทางเคมี) • 1. กลุ่มยา Penicillins (bactericidal) • 2. กลุ่มยา Cephalosporins (bactericidal) • 3. กลุ่มยา Macrolides (bactericidal) • 4. กลุ่มยา Tetracyclines (bacteriostatic) • 5. กลุ่มยาAminoglycosides (bactericidal) • 6. กลุ่มยา Sulfonamides และ กลุ่มยาไตรเมทโธพริม(bacteriostatic) • 7. กลุ่มอื่น ๆ: Lincosamides, Chloramphenicol, Quinolones เป็นต้น