550 likes | 713 Views
20. หัวหน้าพนักงานฝ่ายารสนเทศ ( C I O).
E N D
20. หัวหน้าพนักงานฝ่ายารสนเทศ (C I O) เมื่อบทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งในการบริหารจัดการของภาคธุรกิจ เอกชน และ โดยเฉพาะภาครัฐ ซึ่งนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างมากมายในการดำเนินชีวิต วิธีการผลิต การบริหารจัดการ และเรื่องอื่นๆ เช่น ในหลายๆ แห่งเราสามารถซื้อและขายสินค้า และบริการผ่านอินเตอร์เน็ตได้ ซึ่งนำไปสู่ตัวแบบใหม่ของภาคธุรกิจและภาครัฐ ยิ่งกว่านั้น การตระหนักถึงการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ ไม่ใช่แค่การเปลี่ยนรูปแบบของการสื่อสารหรือเครื่องมือ แต่เป็นการแปลงสภาพของวัฒนธรรมขององค์กร
หัวใจของการปฏิวัติข่าวสาร คือความเชื่อที่ว่าเทคโนโลยีสามารถเปลี่ยนแปลงมาตรฐานต่างๆ ที่มีอยู่ ขั้นตอนและกระบวนการซึ่งจะนำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผล ในขณะเดียวกันก็มีค่าใช้จ่ายทางด้านทรัพยากร สุดท้ายแล้วเทคโนโลยีจะช่วยทำให้เราทำงานฉลาดมากยิ่งขึ้น ไม่ใช่หนักยิ่งขึ้นแล้ว
นอกจากผู้จัดการระดับสูงคนอื่นๆ ในองค์การแล้วCIO Chief Information Officer) หรือหัวหน้าพนักงานฝ่ายสารสนเทศ ได้เริ่มมีบทบาทที่สำคัญตำแหน่งหนึ่งในยุคข่าวสาร คลื่นลูกที่สาม ยุคอิเล็กทรอนิกส์ ยุคดิจิตอล หรือสังคม ไฮเทคในฐานะที่เป็นกลไก สำคัญเชื่อมโยงระหว่างหน่วยทางธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ งานเขียนนี้มีวัตถุประสงค์ต้องการตอบคำถามCIO คือใคร มีบทบาทหน้าที่อะไร สำคัญอย่างไรต่อองค์การในยุคสังคมข่าวสาร
1. พัฒนาการของ (C I O) ราวๆ กลางทศวรรษ 1980 องค์การเริ่มเห็นความสำคัญของการที่จะจัดการกับข่าวสาร ตำแหน่งChief Information Officer จึงได้เกิดขึ้นCIO เป็นสมาชิกของทีมผู้จัดการระดับอาวุโส ซึ่งมีบทบาทที่สำคัญในการกำหนดกลยุทธ์ทางข่าวสาร และรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกี่ยวกับข่าวสาร การจัดการอย่างบูรณาการในเรื่องที่มาและบริการ เพื่อสนับสนุนวัตถุประสงค์ของธุรกิจ ความจำเป็นที่ต้องมีบุคคลเช่นนี้เกิดจากเหตุผลหลายประการ คือ
1) องค์การยอมรับความจำเป็นที่จะต้องจัดการกับข่าวสารในฐานะ เป็นทรัพยากรและเป็นสินทรัพย์ที่สำคัญ2) การเพิ่มขึ้นของอำนาจและความสามารถของเทคโนโลยีสารสนเทศทำให้โครงสร้างในการให้บริการข่าวสารเดิมล้าสมัย 3) การเพิ่มปริมาณของผู้ใช้ที่ปลายทาง(end-users) และความละเอียดอ่อนของเทคโนโลยี ทำให้ระบบข่าวสารทำงานด้วยความสลับซับซัอนและยากในการจัดการมากยิ่งขึ้น4) ผู้บริหารอาวุโสผิดหวังกับบริการข่าวสารที่ได้รับ เมื่อเปรียบเทียบกับค่าใช้จ่าย 5) เทคโนโลยีสารสนเทศได้กลายเป็นเครื่องมือที่สำคัญที่จะต้องให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขัน
นอกจากนี้ ค่าใช้จ่ายในการประมวลขององค์การขนาดใหญ่มีค่าเป็นร้อยๆ ล้านเหรียญสหรัฐ เช่นAmerican Airline ที่คอมพิวเตอร์มีบทบาทที่สำคัญCIO มีพนักงานอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบ 4,000 คน มีงบประมาณ 400 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีหน้าที่รับผิดชอบในการขายการจองจากระบบAmerican’Sabreซึ่งทำรายได้ร้อยละ 6.0 ของรายได้ทั้งหมดในปี 1985 แต่คิดเป็นกำไรถึงร้อยละ 28
ชื่อต่างๆ ของหน่วยงาน และตำแหน่ง* ในปี 1985SynnottและGruberเป็นบุคคลแรกที่กล่าวถึงCIO และให้ข้อสังเกตว่าหากได้ข่าวสารอย่างเหมาะสมแล้วจะกลายเป็นเครื่องมือทางกลยุทธ์ที่หาค่ามิได้ * งานเขียนที่นำเสนอด้านบน ผู้อ่านจะได้พบชื่อที่เป็นทางการLuftmam J. และคณะได้ให้ความหมายCIO ที่ท่านอาจจะเกิดอารมณ์ขัน เช่นCIO = Is –Over (อาชีพนี้จบเรียบร้อย) หรือ Crisis – Os – Onging (วิกฤตไม่รู้จบสิ้น)
ชื่อมักจะผูกพันกับชื่อของหน่วย แผนก หรือฝ่ายที่ทำหน้าที่ทางด้านสารสนเทศหรือข่าวสาร ในระยะเริ่มต้นของการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ หน่วยที่รับผิดชอบตรงนี้อาจจะเรียกชื่อว่าComputer Center ต่อมาเพื่อเป็นการยกระดับจึงได้พัฒนามาเป็นData Processing Department ต่อมาก็เปลี่ยนเป็น Management Information Systems หลังจากนั้นก็ได้เปลี่ยนเป็นInformation System Department (ISD) หรือบางทีตั้งเป็นInformation Service Department Information Technology Department Corporate Technology Center
ในองค์การขนาดใหญ่ISD ถูกยกระดับเป็นDivision เช่นที่Bank of America บริษัท Boeing ได้กลายเป็นองค์การอิสระ ชื่อของหน่วยที่รับผิดชอบในเรื่องนี้ขึ้นอยู่กับบทบาท ขนาด และอื่นๆ เมื่อมีชื่อเป็นInformation Resource Managementหรือ Information Technology องค์การก็มักจะมีหนังสือรับรอง(charter) ให้ทำหน้าที่มากกว่าจัดหาข่าวสาร นั้นคือ รวมการวางแผนกลยุทธ์ การปรับรื้อระบบ(BPR) การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และบางครั้งรวมถึงการขายบริการฯ ให้กับองค์การอื่นๆ
ส่วนชื่อของตำแหน่งนั้นก็มีวิวัฒนาการมีเมื่อไม่นานมานี้ คือ ราวๆ ทศวรรษ 1980 Lucas ได้กล่าวว่าในระยะแรกๆ ของการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการคำนวณ บุคคลที่ดูแลเรื่องนี้ได้ชื่อตำแหน่งว่าManager of Data Processingเมื่อความสนใจได้เปลี่ยนเป็นการจัดการระบบข่าวสารก็ได้ถูกเปลี่ยนเป็นManager of MIS แต่เนื่องจากในหลายๆ องค์การตำแหน่งนี้ถูกมองว่าเป็นช่างเทคนิคมากกว่า ต่อมาจึงถูกเปลี่ยนเป็นCIO
เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของInformation Systemบางองค์การเรียกDirector ของIS ว่า‘CIO’ เหมือนๆ กับตำแหน่งCFO (Chief Financial Officer) COO (Chief Operating Officer) ปกติแล้วบุคคลที่ดำรงตำแหน่งคือรองประธานอาวุโส(Vice President) ตำแหน่งCIO มักจะมีที่องค์การที่มีอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างกว้างขวาง เช่น ธนาคาร บริษัทประกันต่างๆ และสายการบินCIO อาจจะตำแหน่ง 1) รองประธานฯ ฝ่ายบริหาร หรือ 2) ผู้บริหารอาวุโสของฝ่ายปฏิบัติการ(Operation division) หรือ 3) รองประธานฯ ฝ่ายบริหาร(an executive vice president) หรือ 4) ตัวCEO เอง
ในองค์การที่Centralized ISD ซึ่งมีDirectorเป็นหัวหน้า ซึ่งอาจจะมีตำแหน่งเป็นMIS Director Manager of Computing Service Manager of Information TechnologyหรือCIO ซึ่งแสดงว่า องค์การได้ให้ความสำคัญInformation System CIO ปกติแล้วมักจะสำรองไว้ให้กับผู้จัดการระดับสูงเช่นCFO,COO หรือแม้กระทั้งCEO ตำแหน่งที่สัมพันธ์เกี่ยวข้องกับCIO ได้แก่ CKO (Chief Knowledge Officer)
ซึ่งเป็นผู้ได้รับมอบหมายให้คอยจับหรือตะครุบและใช้ความรู้ที่ได้จาก IT CIO อาจจะรายงานต่อ CKO หรือบางครั้งดำรงตำแหน่ง CKO ด้วย ในการใช้เทคโนโลยีข่าวสารเพื่อให้ได้มาซึ่งการได้เปรียบในการแข่งขัน McKcown และ Leiton เชื่อว่าราวกลางทศวรรษ 1990 บริษัทเหล่านี้เกือบทั้งหมดคงจะมีตำแหน่ง CIO ตำแหน่ง CIO ก็เหมือนกับตำแหน่งอื่นๆ ที่ได้รับความนิยม ประเมินค่าต่ำว่าเป็นแค่ช่างเทคนิค ในบางองค์การที่มีการใช้ข้อมูลข่าวสารมากตำแหน่งนี้ก็ประสบความสำเร็จ เรียกได้ว่าเป็นบุคคลหมายเลข 2 ขององค์การ แทนตำแหน่งอื่นๆ ที่เคยอยู่ในฐานะนี้ในอดีต
แต่ในหลายๆ องค์การก็ค่อยหมดความสำคัญลงไปเรื่อยๆ จากการสำรวจในปี 1982 โดย Coopers & Lybran ร่วมกับวารสาร Datamation เปิดเผยว่ามีเพียงร้อยละ 14 ผู้จัดการระดับสูงในเรื่อง Information Service ที่ถูกเรียกว่า CIO ชื่อที่นิยมกันคือ Director MIS ร้อยละ 37.0 และจากการสำรวจในปี 1987 พบว่าราวๆ ครึ่งหนึ่งของ 500 บริษัทที่ Fortune ได้ขึ้นบัญชีรายชื่อไว้มีตำแหน่ง CIO ซึ่งไม่ใช่แค่การปรับชื่อเท่านั้น แต่ CIO ได้ตรวจสอบข่าวสาร นั้นคือจัดการภาพของบริษัท เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับกองต่างๆ
ในสหรัฐฯ ตำแหน่ง CIO ได้เกิดขึ้นที่สหรัฐฯ ในปี ค.ศ.1981 ในภาคเอกชนและธุรกิจ ภาครัฐได้เจริญรอยตามมาเมื่อมีการออก พ.ร.บ. Clinger – Cohen Act 1996
2. ภาระ หน้าที่ และความรับผิดชอบ (C I O) เมื่อปี 1985 Synnott ได้เสนอแนะว่า ผู้จัดการในการประมวลผลแบบดั้งเดิมจะถูกแทนที่โดยCIO ซึ่งหน้าที่ดังต่อไปนี้ 1) จัดการทรัพยากรสารสนเทศในฐานะที่เป็นสินทรัพย์ที่สำคัญของบริษัท 2) นำระบบเข้าสู่ตลาดแห่งการแข่งขัน 3) จัดการและประสานทรัพยากรข่าวสารที่จะถูกกระจายออกไป 4) จัดการกับการคำนวณโดยผู้ใช้ที่ปลายทาง เพื่อให้ตอบสนองความต้องการของบริษัท 5) เป็นตัวเร่งสำหรับการเปลี่ยนแปลงในบริษัทLucasกล่าวว่าที่American Airline CIO รับผิดชอบในการขาย
ผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีที่บริษัทอื่นๆ CIO พยายามจะกำหนดว่าบริษัทหรือองค์การสามารถใช้เทคโนโลยีได้อย่างมีกลยุทธ์ได้เพียงใดCIO น่าจะรับผิดชอบในการเลือกและการติดตั้งเทคโนโลยีรวมทั้งเครื่องมือและพนักงานสำหรับการประมวลผล การทำให้ที่ทำงานเป็นอัตโนมัติและการสื่อสารโทรคมนาคม Srair กล่าวว่าCIO ทำงานร่วมกับพนักงานระดับสูงขององค์การนั้นคือCFO CEO ในการจัดการและควบคุมทรัพยากรทั้งหมดของบริษัท
Haagและคณะ ถามว่าใครจะเป็นคนดูแลข่าวสารขององค์การได้กล่าวว่าปัจจุบันงานนี้อยู่กับ CIOซึ่งรับผิดชอบในการบริหารข้อมูลนั้นคือ วางแผน ดูแลการพัฒนา และเฝ้าระวังทรัพยากรข่าวสาร รวมทั้งบริหารฐานข้อมูลนั้นคือจัดการทั้งในแง่เทคนิคและปฏิบัติการของข่าวสารที่มีอยู่ในฐานข้อมูล สำหรับคำนิยามคือผู้จัดการระดับกลยุทธ์ซึ่งทำหน้าที่กำหนดทิศทางระบบสารสนเทศทั้งหมดและบุคลากร โดยการติดต่อโดยตรงกับผู้บริหารระดับสูงสุดขององค์การ
Post and Andersonได้นิยามไว้ว่าคือบุคคลผู้ดูแลองค์การ MIS ของบริษัท รับผิดชอบในเรื่องปฏิบัติการ กำหนดความสำคัญของ MIS เป็นผู้บริหารระดับสูงสุดของ MIS พัฒนาและสนับสนุนกลยุทธ์ของบริษัท Lucas ได้นำเสนอบทบาทของCIO โดยใช้ตัวแบบบทบาทของMintzbergและได้พรรณนาว่าCIOทำหน้าที่ ดังนี้
บทบาท กิจกรรม ระหว่างบุคคล ประธานในพิธีกร ทำหน้าที่ที่เป็นสัญลักษณ์ ผู้นำ กำหนดทิศทาง สร้างแรงจูงใจให้กับพนักงาน ผู้ประสานงาน ประสานงานกับผู้อื่น ข่าวสาร เฝ้าระวัง ติดตามสิ่งแวดล้อม เผยแพร่ สื่อสารกันภายในองค์การ โฆษก สื่อสารกับภายนอกองค์การ
บทบาท กิจกรรม การตัดสินใจ พ่อค้าวานิชย์ มองหาโอกาส จัดการกับเหตุร้าย สู้กับไฟ จัดสรรทรัพยากร จัดหาทรัพยากร ผู้เจรจา แก้ปัญหาความขัดแย้ง
Luftman และคณะได้แบ่งบทบาทของ CIO ตามยุค ระยะเวลาต่างๆ คือ 1. ยุคแมนเฟรม (Main frame Era) บทบาทส่วนใหญ่ของ CIO (ตอนนั้นส่วนใหญ่ยังเรียก Data Processing Manager) คือปฏิบัติการ ทำให้ระบบทำงานตรงเวลาและภายใต้งบประมาณกำหนดให้ 2. ยุคการจำแนกแจกจ่าย (Distributed Era) ในยุคนี้หลักทรัพย์การลงทุน (portfolio) มุ่งไปที่พนักงานที่มีความรู้ในลักษณะส่วนบุคคลและลักษณะเฉพาะ เทคโนโลยีสารสนเทศถูกมองว่าเป็นวิธีที่จะเพิ่มกระบวนการทางธุรกิจ และเปิดโอกาสของการได้เปลี่ยนบทบาทของ CIO เปลี่ยนไปเป็น
1) ผู้ออกแบบองค์การ 2) ผู้ร่วมค้า(partner) กลยุทธ์ 3) เทคโนโลยีสถาปัตยกรรม 4) ผู้ซื้อที่มีความรู้ 3. ยุคเว็บเบส (Web-based Era) ภาระหน้าที่ของทั้งสองยุคก็ยังคงอยู่ที่ผู้บริหารที่ถูกกระทบโดยเว็บเบส มองหาความช่วยเหลือจาก CIO ในแง่ของกลยุทธ์ที่จะดำเนินการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การที่ธุรกิจต้องอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศไปเพิ่มอิทธิพลของ CIO แต่ขณะเดียวกันก็ทำให้ CIO อยู่ในฐานะเสี่ยงมากยิ่งขึ้น
Schelin and Garson ได้กล่าวถึงความรับผิดชอบ 11 ประการที่ไปกำหนดบทบาทของ CIO 1. ทำให้องค์การกลายเป็นผู้ชนะ โดยการส่งเสริมเทคโนโลยีสารสนเทศภายในให้เป็นเครื่องมือกลยุทธ์สำหรับการเจริญเติบโต 2. สถาปัตยกรรมการจัดการ โดยการกำหนดทิศทางและความสำคัญก่อนหลัง 3. เป็นที่ปรึกษากลยุทธ์ในทางธุรกิจ มีส่วนร่วมกับการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูง 4. วางแผนเทคโนโลยีทางธุรกิจ เชื่อมโยงกลุ่มธุรกิจกับกลุ่มเทคโนโลยี เพื่อผสมผสานในการวางแผนและดำเนินการ
5. นำการพัฒนามาใช้ ดูแลสิ่งที่เป็นมรดกตกทอดและการริเริ่มที่จะปรากฏใหม่ รวมทั้งหน่วยกลยุทธ์ทางธุรกิจและการริเริ่มของแผนก 6. จัดการเครื่องมือเครื่องใช้ทางเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่นคอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์ และเครือข่ายต่างๆ โดยการดูแลรักษาเทคโนโลยีที่ใช้อยู่และลงทุนในเทคโนฯ ของอนาคต 7. หาแหล่ง โดยพัฒนาและดำเนินการกลยุทธ์ในการจ้างองค์การภายนอกรวมทั้งได้บริการภายใน ในการให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศ
8. สร้างหุ้นส่วน (partnership) เจรจาความสัมพันธ์กับผู้จัดหาวัตถุดิบรายสำคัญที่เกี่ยวกับความเชี่ยวชาญทางเทคโนโลยีสารสนเทศและบุคลากร 9. หน่วยสำหรับการเคลื่อนย้ายเทคโนโลยี จัดหาเทคโนโลยี ซึ่งจะให้องค์การสามารถทำงานดีขึ้นกับผู้จัดหาวัตถุดิบและลูกค้า 10. จัดการเรื่องความพึงพอใจของลูกค้า เข้าใจและสื่อสารกับลูกค้าภายนอก ภายใน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในเรื่องความพึงพอใจ
11. อบรม จัดอบรมให้แก่ผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ รวมทั้งผู้บริหารอาวุโสเพื่อให้เข้าใจว่าเทคโนโลยีสารสนเทศเชื่อมโยงกับ กลยุทธ์ขององค์การอย่างไร จะเห็นได้ว่า CIO ไม่ใช้จะทำงานอย่างมีประสิทธิภาพในทางเทคนิคเท่านั้น แต่ยังรวมการจัดการธุรกิจโดยส่วนรวม ทักษะ 9 ประการต่อไปนี้จำเป็นสำหรับความสำเร็จของ CIO คือ
1. วิธีคิดที่มุ่งสู่ธุรกิจในองค์การ เช่น การให้คำแนะนำ 2. สามารถมองเห็นประโยชน์หรือกำไรและจัดการกับต้นทุนและความเสี่ยงที่ผูกติดกับเทคโนโลยีสารสนเทศ 3. สามารถที่จะเชื่อมโยงช่องว่างระหว่างเทคโนโลยีที่มีอยู่และความจำเป็นของธุรกิจ 4. ความคุ้นเคยกับความต้องการของลูกค้าภายในที่ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญ 5. มีทักษะที่เกี่ยวกับองค์การที่จะจัดการทรัพยากรเทคโนโลยีสารสนเทศ
6. สามารถที่จะคิด สร้าง และดำเนินการโครงการทางเทคโนโลยีสารสนเทศให้ทันกับเวลาและงบประมาณ 7. สามารถเชื่อมโยงและส่งเสริมวิสัยทัศน์ในการจัดการทางเทคโนโลยีสารสนเทศ 8. สามารถที่จะเชื่อมโยงกับสถาปัตย์ทางการจัดการที่มีอยู่ 9. วิสัยทัศน์กลยุทธ์สำหรับองค์การที่นอกเหนือเทคโนโลยี
Mckeown and Leitch กล่าวว่า ความรับผิดชอบของ CIO คือการจัดการและใช้ทรัพยากรสารสนเทศขององค์การอย่างมีกลยุทธ์ CIO เป็นสมาชิกของฝ่ายจัดการระดับสูงและทำหน้าที่ในเรื่องข้อมูลของบริษัท เช่นเดียวกับ CFO ทำหน้าที่ในเรื่องงบประมาณ รวมทั้งการวางแผนโครงการใหม่ๆ แน่ใจว่าข้อมูลของบริษัทถูกใช้อย่างเหมาะสม และให้การศึกษาแก่ฝ่ายบริหารในการใช้ข่าวสาร
Wysocki and DcMichill กล่าวว่า ความรับผิดชอบสำคัญของ CIO คือการกระจายข่าวสารเกี่ยวกับพัฒนาการล่าสุดของเทคโนโลยีแก่ผู้จัดการที่เกี่ยวข้อง และช่วยให้องค์การคุ้นเคยกับเทคโนโลยีใหม่ๆ เนื่องจากความรับผิดชอบเหล่านี้มีผลต่อการพัฒนากลยุทธ์ CIO ไม่มีงานปฏิบัติการประจำวันที่จะต้องทำ เพราะฉะนั้นเขาจะต้องมีเวลาอิสระที่จะได้เน้นในเรื่องกว้างๆ ที่มีผลต่อองค์การ CIO ที่ประสบความสำเร็จต้องมีลักษณะผสมผสานที่เป็นผู้อำนวยความสะดวก ผู้จัดรายการ ผู้ก่อให้เกิด นักธุรกิจ นักนวัตกรรม และนักสื่อสาร ซึ่งเป็นเรื่องยากที่จะรวมลักษณะเหล่านี้เข้าด้วยกันให้อยู่ในคนๆ เดียวกัน
Martin ได้กล่าวถึงแนวคิดในเรื่อง CIO ทำหน้าที่อะไร 1) รายงานโดยตรงต่อ CEO และเป็นส่วนหนึ่งของทีมฝ่ายจัดการอาวุโส 2) มีส่วนร่วมโดยตรงในการวางแผนและนโยบายเชิงกลยุทธ์ 3) มุ่งเรื่องตลาด 4) มีประสบการณ์อย่างกว้างขวางในธุรกิจและการจัดการมองว่าตัวเองเป็นนักธุรกิจมืออาชีพมากกว่าผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิค 5) มีทักษะในการติดต่อสื่อสารอย่างเหนือชั้น 6. เลือกเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่เหมะสมเพื่อตอบสนองและเสริมสร้างเป้าหมายขององค์การ
7. ดูแลในเรื่องเทคโนโลยี รวมทั้งคอมพิวเตอร์ การสื่อสารและระบบสำนักงานอัตโนมัติ ในหลายๆ องค์การ CIO ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาให้แก่ฝ่ายจัดการอาวุโส ในบางองค์การเป็นผู้อำนาจหรือซาร์ทางข่าวสาร ซึ่งมีอิทธิพลที่แท้จริงต่อฝ่ายจัดการระดับสูง ถึงแม้ว่า CIO จะต้องสามารถจัดการกับความรับผิดชอบในงานประจำ (Line responsibities) แต่ทั้งหมดก็ไม่ได้เข้าไปยุ่งเกี่ยวในงานประจำวันของ Computer and Communication Department
McNurlin and Sprague กล่าวว่า เพื่อที่จะเล่นบทบาทผู้นำไปเปลี่ยนวิธีใหม่ในการทำงานและการแข่งขัน ผู้บริหารในระบบสารสนเทศมีหน้าที่รับผิดชอบที่สำคัญ 6 ประการ 1. เข้าใจธุรกิจ โดยเฉพาะในตลาดที่องค์การขายสินค้าและบริการ 2. สร้างความน่าไว้วางใจให้แก่ Information System Department เพื่อเพิ่มความมั่นใจให้แก่ผู้บริหารฝ่ายจัดการในความคิดที่ Information System Department นำเสนอ
3. เพิ่มวุฒิภาวะของเทคโนโลยีขององค์การเพื่อทำให้เป็นเรื่องง่ายขึ้นที่พนักงานจะประยุกต์ระบบสารสนเทศกับงานของเขา 4. สร้างวิสัยทัศน์ของอนาคตและขายต่อ โดยการกำหนดการใช้ระบบสารสนเทศโดยองค์การและทำให้คนอื่นเห็นดีเห็นงามที่ยอมรับวิสัยทัศน์นี้ 5. ดำเนินการสถาปัตยกรรมระบบข่าวสารซึ่งจะไปส่งเสริมวิสัยทัศน์และองค์การในอนาคต 6. พัฒนาและรักษาความสัมพันธ์กับฝ่ายจัดการอาวุโส ผู้บริหารฝ่ายบริหาร ผู้จัดหาวัตถุดิบ พันธมิตรคู่ค้า และ ลูกค้า (ทั้งภายนอกและภายใน)
Turban และคณะเปรียบเทียบบทบาทของ ISD แบบเก่าและแบบใหม่ ซึ่งมี CIO เป็นผู้นำ หน้าที่ของ Information System แบบดั้งเดิม 1. จัดการการพัฒนาระบบและการจัดการระบบโครงการ 2. จัดการการปฏิบัติของคอมพิวเตอร์ รวมทั้งศูนย์คอมพิวเตอร์ 3. พนักงาน การฝึกอบรมและพัฒนาทักษะของระบบสารสนเทศ 4. จัดหาบริหารทางด้านเทคนิค
หน้าที่ของ Information System แบบใหม่ 1. ริเริ่มและออกแบบกลยุทธ์เฉพาะของระบบข่าวสาร 2. วางแผนอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ พัฒนาและควบคุม 3. ผนวกอินเตอร์เน็ตและอีคอมเมิร์ชเข้าไปในธุรกิจ 4. จัดการระบบบูรณาการรวมอินเตอร์เน็ต อินทราเน็ต และ เอ็กตราเน็ต 5. ให้การศึกษาเกี่ยวกับระบบสารสนเทศแก่ผู้จัดการสายอื่นๆที่ไม่ใช่ IS
6. ให้การศึกษาแก่พนักงานสาย IS เกี่ยวกับธุรกิจ 7. สนับสนุนการใช้คอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ที่ปลายทาง 8. เป็นหุ้นส่วนกับผู้บริหารซึ่งเป็นผู้ดำเนินการธุรกิจ 9. เข้ามีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในการปรับรื้อระบบ (BPR)10. ใช้ความรู้ทางธุรกิจและเทคนิคอย่างมีบทบาท (Proactively) เพื่อเพาะความคิดสร้างสรรค์เกี่ยวกับระบบสารสนเทศ 11. สร้างพันธมิตรทางธุรกิจกับพ่อค้าและ ISD ขององค์การอื่นๆ
บทบาทของ CIO : ภาคปฏิบัติDana Deasy ซึ่งเน้น CIO ที่ Siemens พรรณนางานของเขาว่าเป็น “กึ่งนักจิตวิทยา บางส่วนเป็นนักการเมือง บางส่วนเป็นนก” นั้นคือในฐานะนักจิตวิทยาพึงละเว้นจากการกำหนดในสิ่งที่คนจะต่อต้าน แต่ใช้วิธีการทางทูตและการให้รู้จักตัวเอง (self realization) นักการเมืองปฏิบัติกับพนักงานและผู้จัดการเหมือนผู้ลงคะแนนเสียงและวิ่งเต้นเพื่อให้ได้ผลออกมาตรงที่ต้องการ เป็นนกเพราะใช้เวลาเกือบทั้งหมดโบยบินไปยังทุกส่วนขององค์การ เพื่อสร้างเครือข่ายและพบปะเจรจาตัวต่อตัว ฟังดูแล้วน่าหมดแรง แต่นี่เป็นเพียงบทบาทบางส่วนเท่านั้นของ CIO
ที่มา :Luftman, J. et al., 2004. Managing the Information Technology Resource : Leadership in the Information Age. New Jersey : Pearson Education International.
นอกจากภารกิจที่สำคัญที่กล่าวมาแล้ว Turban และคณะได้กล่าวถึงคำถามท้าทาย CIO ที่สำคัญคือ 1. CIO เข้าใจความสลับซับซ้อนที่ผูกติดมากับการทำธุรกิจที่แข่งขัน สิ่งแวดล้อมระดับโลก 2. CIO จัดการในอัตราเร่งด่วนกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลง 3. CIO เข้าใจว่าเทคโนโลยีสารสนเทศอาจจะเปลี่ยนรูปร่างขององค์การจนกลายเป็นองค์การที่ผลักดันด้วยเทคโนโลยี (Technology – driven) 4. CIO ตระหนักว่าบ่อยครั้งที่เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นตัวที่สามารถทำให้การเกิดแก้ไขทางเศรษฐกิจ
5. CIO รู้ภาคธุรกิจที่องค์การเกี่ยวข้องดีเพียงใด 6. CIO เข้าใจโครงสร้างทางองค์การขององค์การและขั้นตอนในการดำเนินงานดีมากน้อยเพียงใด 7. CIO ได้ใช้ภาษาธุรกิจ ไม่ใช่เทคโนโลยีเมื่อติดต่อสื่อสารกับฝ่ายจัดการของบริษัท 8. CIO ได้รับการยอมรับในฐานะสมาชิกของทีมจัดการธุรกิจหรือไม่ 9. ได้สร้างความนาเชื่อถือให้แก่ IS Department มากน้อยเพียงใด
10. CIO ได้เพิ่มความมีวุฒิภาวะทางเทคโนโลยีขององค์การมากน้อยเพียงใด 11. CIO ได้สร้างวิสัยทัศน์ของอนาคตของเทคโนโลยีและขายความคิดในเรื่องนี้ให้ฝ่ายจัดการระดับสูง 12. CIO ได้นำสถาปัตยกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศไปปฏิบัติซึ่งจะส่งเสริมสนับสนุนวิสัยทัศน์ 13. CIO ได้ดูแลรักษาสมรรถนะทางเทคโนโลยีอย่างพอเพียง 14. CIO เข้าใจความเชื่อมโยงในระดับโลก
15. CIO สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงภายในแผนกและองค์การ 16. CIO ได้จัดเรื่องความปลอดภัยและมั่นคงของระบบสารสนเทศหรือไม่ 17. CIO ได้ให้การศึกษาแก่ผู้บริหารท่านอื่นๆ 18. CIO เข้าใจมาตรฐานของอุตสาหกรรมหรือไม่ 19. CIO องค์การได้จัดให้มีมาตรฐานธุรกิจ 20. CIO ได้จัดการความเร่งด่วนในการให้เกิดความสมดุลย์
3. (C I O) คือใคร มีคุณสมบัติอย่างไร คำถามที่สำคัญได้ถูกตอบไปแล้วในหัวข้อที่ 4 คำถามที่สำคัญรองลงมาที่ควรถามคือ CIOคือใคร มีคุณสมบัติอย่างไรShelin and Garson ได้กล่าวว่า คุณลักษณะที่กล่าวถึงมากที่สุดรวมถึงผู้รู้ในเรื่องทั่วๆ ไป(Generalist) มีอำนาจและสิทธิอำนาจในองค์การอย่างมีนัย เป็นผู้ให้วิสัยทัศน์รวม(common) ในการดำเนินการเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีกลยุทธ์
มีหลักฐานพอที่จะยืนยันว่า CIO ที่ประสบความสำเร็จเริ่มต้นอาชีพในตำแหน่งทางเทคนิค ต่อมาย้ายมาทางด้านการจัดการที่เป็นงานประจำ จึงเป็นการผสมผสานระหว่างความสามารถทางเทคนิคกับความเชี่ยวชาญทางธุรกิจ ดังจะเห็นได้จากการศึกษา CIO ใหม่ในสหรัฐฯ ระหว่างปี 1986 และ 1989 พบว่ากว่าร้อยละ 70.0 มีประสบการณ์ในการจัดการอย่างน้อย 5 ปี ร้อยละ 37.0 มีทั้งพื้นฐานทางธุรกิจและทางเทคนิค และร้อยละ 30.0 ขึ้นมาดำรงตำแหน่งนี้ได้โดยการผ่านงานทางด้านข่าวสารแบบดั้งเดิมมาก่อน
มีการคาดการณ์ว่าการนำวิธีการให้องค์การอื่นที่มีความชำนาญกว่ารับภารกิจที่เป็นงานประจำไปทำแทน (outsourcing) อาจจะมีผลต่อตำแหน่ง CIO ถ้าความคิดยังเริ่มต้นที่องค์การ การ outsourcing ก็ไม่จำเป็นต้องมีผลทางลบ เพราะอย่างไรก็ตาม CIO ก็ยังไม่สามารถวางมือจากความรับผิดชอบในการจัดการเทคโนโลยีภายในองค์การจริงๆ แล้ว CIO น่าจะมีความรับผิดชอบมากยิ่งขึ้นในแง่ของการเป็นหุ้นส่วนที่สำคัญใน outsourcing และช่วยในการที่จะทำให้กระบวนการเปลี่ยนแปลงขององค์การไปข้างหน้ารวดเร็วยิ่งขึ้น
1985 2000 ต้นๆ Luftman และคณะได้เปรียบเทียบคุณสมบัติของ CIO เมื่อปี 1985 และปัจจุบัน (ราว ๆ 2000 ต้น) ไว้ดังต่อไปนี้ เสาเอกในลำดับชั้น ผู้นำวิสัยทัศน์ผู้เผด็จการ ผู้จัดการความสัมพันธ์ผู้รู้เชี่ยวชาญทางเทคโนโลยี นักการตลาดสาวกของเมนเฟรม มุ่งสู่ระบบเปิดมีประสบการณ์ 20 ปีที่ IBM มีประสบการณ์ 20 ปีใน LOB mgt.Jobsมีความชำนาญ COBOL PLI FORTRAN,C รู้ภาษาฝรั่งเศส เยอรมัน ญี่ปุ่นปริญญาเอก MIT ปริญญาโททางธุรกิจ อาร์วาร์ด
จากการสำรวจ CIO พบว่าร้อยละ 64 ตอบว่าตัวเองมีพื้นฐานทางด้าน IT CIO ในความเห็นของ CEO ร้อยละ 57 ของ CEO เห็นว่าลักษณะที่สำคัญของ CIO คือการเป็นผู้นำ ร้อยละ 29 เห็นว่าการประยุกต์ความรู้ทาง IT ไปใช้ในทางธุรกิจร้อยละ 8 มีความรู้ทั่วๆ ไปเกี่ยวกับธุรกิจร้อยละ 5 ตอบว่าต้องมีความคิดสร้างสรรค์และ นวตกรรม ร้อยละ 3 เห็นว่าการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลเป็นเรื่องสำคัญ และอีกร้อยละ 3 CIO ต้องมีความตระหนักในเทคโนโลยี
4. บุคลากรอื่นๆ ใน Information System Department CIO มีหน้าที่ดูแลIS Department โดยตรงแต่เนื่องจากCIO เป็นตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงจึงจะมีดำรงตำแหน่งอีกตำแหน่งหนึ่ง ซึ่งสูงกว่าเช่นเป็นVice Presidentเพราะฉะนั้น CIOจึงต้องมีเจ้าหน้าที่ประจำคอยดูแลงานประจำLucal ได้กล่าวถึง 1. Manager of the ISD 2.Managers of Systems and Programming 3. Manager of Operations. 4. Project Manager