520 likes | 769 Views
GESC103. Information Technology for Life. Name: Teacher / Contact. บทที่ 7 กฎหมายและจริยธรรมในการใช้คอมพิวเตอร์. เนื้อหาการเรียนรู้ กฎหมายเบื้องต้น ลำดับขั้นกฎหมาย ที่มาของกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ กฎหมายเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา จริยธรรม กฎหมายและจรรยาบรรณ
E N D
GESC103 Information Technology for Life Name: Teacher / Contact
บทที่ 7 กฎหมายและจริยธรรมในการใช้คอมพิวเตอร์ เนื้อหาการเรียนรู้ • กฎหมายเบื้องต้น • ลำดับขั้นกฎหมาย • ที่มาของกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ • กฎหมายเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา • จริยธรรม กฎหมายและจรรยาบรรณ • หลักเกณฑ์การเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ • พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550
บทที่ 7 กฎหมายและจริยธรรมในการใช้คอมพิวเตอร์ 1. กฎหมายเบื้องต้น กฎหมาย หมายถึง คำสิ่งหรือข้อบังคับของรัฐ ซึ่งบัญญัติขึ้นเพื่อใช้ควบคุมความประพฤติของบุคคลซึ่งอยู่ในรัฐหรือในประเทศของตน หากผู้ใดฝ่าฝืนไม่ประพฤติปฏิบัติตาม ก็จะมีความผิดและถูกลงโทษ หรือได้รับผลเสียหายนั้นด้วย และได้มีผู้ให้ความหมายของกฎหมายไว้ดังนี้ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ พระบิดาแห่งกฎหมายไทย"กฎหมาย คือ คำสั่งทั้งหลายของผู้ปกครองว่าการแผ่นดินต่อราษฏรทั้งหลายเมื่อไม่ทำตาม ธรรมดาต้องลงโทษ"
บทที่ 7 กฎหมายและจริยธรรมในการใช้คอมพิวเตอร์ 1.1 ลักษณะของกฎหมายเป็นข้อบังคับแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะคือ 1. บังคับไม่ให้กระทำ เช่น ห้ามลักทรัพย์ ห้ามทำร้ายร่างกาย ห้ามเสพสิ่งเสพย์ติด 2. บังคับให้กระทำ เช่น ประชาชนชาวไทยเมื่อมีอายุ 15ปี ต้องมีบัตรประจำตัวประชาขน ผู้มีรายได้ต้องเสียภาษีอากร เป็นต้น
บทที่ 7 กฎหมายและจริยธรรมในการใช้คอมพิวเตอร์ 1.2 บทลงโทษแก่ผู้ฝ่าฝืน ได้แก่ 1. ความผิดทางอาญากำหนดโทษไว้ 5สถาน คือ ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับและริบทรัพย์สิน 2. วิธีการเพื่อความปลอดภัย เป็นมาตรการเพื่อให้สังคมปลอดภัยจากการกระทำของผู้กระทำผิดที่ติดเป็นนิสัยไม่มีความเข็ดหลาบ ตามประมวลกฎหมายอาญากำหนดไว้ 5ประการ คือ การกักกัน ห้ามเข้าเขตกำหนด เรียกประกันทัณฑ์บน คุมตัวไว้ในสถานพยาบาล และห้ามประกอบอาชีพบางอย่าง 3. กฎหมายต้องมาจากรัฏฐาธิปัตย์ คือ กฎหมายที่บัญญัติออกมาต้องมาจากรัฐที่มีเอกราช
บทที่ 7 กฎหมายและจริยธรรมในการใช้คอมพิวเตอร์ 1.2 บทลงโทษแก่ผู้ฝ่าฝืน ได้แก่ (ต่อ) 4. พนักงานของรัฐเป็นผู้บังคับให้เป็นไปตามกฎหมาย หมายความว่า เมื่อมีการกระทำผิดที่ฝ่าฝืนกฎหมาย จะมีเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นผู้ดำเนินการลงโทษผู้กระทำผิด ผู้เสียหายจะแก้แค้นหรือลงโทษกันเองไม่ได้บุคคลเหล่านี้ได้แก่ เจ้าหน้าที่ตำรวจ ผู้พิพากษา เป็นต้น
บทที่ 7 กฎหมายและจริยธรรมในการใช้คอมพิวเตอร์ 2. ลำดับขั้นกฎหมาย - กฎหมายรัฐธรรมนูญ - พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) - ประมวลกฎหมาย - พระราชกำหนด (พ.ร.ก.) - พระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.)
บทที่ 7 กฎหมายและจริยธรรมในการใช้คอมพิวเตอร์ 2. ลำดับขั้นกฎหมาย (ต่อ) - กฎกระทรวง - ประกาศ ระเบียบ ข้อบังคับ และคำสั่ง - กฎหมายที่ออกโดยองค์กรปกครองตนเอง
บทที่ 7 กฎหมายและจริยธรรมในการใช้คอมพิวเตอร์ 3.ที่มาของกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ แต่เดิม กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศมี 6 ฉบับ ได้แก่ กฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ กฎหมายลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ กฎหมายการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ กฎหมายการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ กฎหมายการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ การเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน
บทที่ 7 กฎหมายและจริยธรรมในการใช้คอมพิวเตอร์ 3.ที่มาของกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ ต่อมา จึงได้รวมเอากฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์และกฎหมายว่าด้วยลายมือชื่อิเล็กทรอนิกส์ผนวกเข้าไว้เป็นฉบับเดียวกัน ดังนั้นกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศของไทยในปัจจุบันจึงมีทั้งสิ้น5ฉบับ ได้แก่ 1. พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 2. พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 3. ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วย ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ… 4. ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ… และ 5. ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ จากข้างต้นก็จะเห็นได้ว่า ในปัจจุบัน มีกฎหมายเกี่ยวกับเทคโนโลยีเพียง 2 ฉบับ ที่มีผลบังคับใช้
บทที่ 7 กฎหมายและจริยธรรมในการใช้คอมพิวเตอร์ 3.1 พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544นับเป็นกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศฉบับแรกที่ใช้บังคับกับการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์และลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์บางประเภท เช่น การทำสัญญา กฎหมายกำหนดว่าต้องมีการลงลายมือชื่อคู่สัญญาจึงจะมีผลสมบูรณ์และใช้บังคับได้ตามกฎหมาย กฎหมายทั้งสองส่วนจึงมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด
บทที่ 7 กฎหมายและจริยธรรมในการใช้คอมพิวเตอร์ 3.1 พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 (ต่อ) ตัวอย่างการกระทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ กรมการค้าต่างประเทศนำระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ หรืออีดีไอ (Electronic Data Interchange -- EDI) เป็นการส่งหรือรับข้อความโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์โดยใช้มาตรฐานที่กำหนดไว้ล่วงหน้า มาใช้สำหรับการให้บริการออกใบอนุญาตและหนังสือรับรองการส่งออกและนำเข้าสินค้าอื่นๆ การซื้อขายสินค้าบนเว็บไซต์ มีลักษณะที่ร้านค้าบนอินเทอร์เน็ตเสนอขายสินค้าให้แก่ผู้บริโภคโดยตรง โดยเว็บไซต์จะระบุราคาสินค้าและค่าขนส่งอย่างชัดเจน มีการรับคำสั่งซื้อกระทำโดยระบบอัตโนมัติผ่านเว็บไซต์ และมีการรับชำระเงินด้วยบัตรเครดิต หรืออาจเป็นการชำระเงินแบบดั้งเดิมคือหักจากบัญชีธนาคารโดยผู้ซื้อต้องไปดำเนินการโอนเงินที่ธนาคารซึ่งตนเปิดบัญชีไว้เพื่อเข้าสู่บัญชีของผู้ขายอีกทีหนึ่ง
บทที่ 7 กฎหมายและจริยธรรมในการใช้คอมพิวเตอร์ 3.2 พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 เป็นกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศที่มุ่งควบคุมการกระทำความผิดต่อระบบคอมพิวเตอร์และข้อมูลคอมพิวเตอร์ เนื่องจากในอดีตที่ ผ่านมากฎหมายอาญาที่บังคับใช้อยู่ในขณะนั้นไม่สามารถรองรับหรือครอบคลุมถึงการกระทำความผิดรูปแบบใหม่ที่เกิดขึ้นจากเทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้เนื่องจากการกระทำความผิดที่อาศัยคอมพิวเตอร์ในการกระทำความผิดนั้นมีลักษณะที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เช่น การบุกรุกทางคอมพิวเตอร์ หรือแฮกกิง (hacking) ซึ่งเป็นการเจาะเข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น โดยที่ผู้กระทำผิดและเครื่องคอมพิวเตอร์อาจอยู่คนละแห่งกัน
บทที่ 7 กฎหมายและจริยธรรมในการใช้คอมพิวเตอร์ 3.2 พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ตัวอย่างการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ระบบคอมพิวเตอร์ของทางราชการได้ถูกแฮกเกอร์การเจาะเข้าสู่ระบบโดยไม่ได้รับอนุญาต และมีรหัสผ่านเพื่อเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของหน่วยงานราชการอื่นๆ ทั่วประเทศ ซึ่งส่งผลต่อความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลและสารสนเทศ การปล่อยซอฟต์แวร์บางชนิดที่เป็นไวรัสเพื่อทำลายหรือแก้ไขข้อมูลคอมพิวเตอร์ และทำให้การใช้บริการของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตต้องชะงัก เช่น ไวรัสไฟล์ (virus file) ใช้เรียกไวรัสที่ติดไฟล์โปรแกรม เช่นโปรแกรมที่ดาวน์โหลดจากอินเทอร์เน็ต หรือม้าโทรจัน (trojan horse) ซึ่งเป็นโปรแกรมจำพวกหนึ่งที่ถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อแอบแฝงกระทำการบางอย่างในเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยที่เจ้าของคอมพิวเตอร์นั้นรับมาโดยไม่รู้ตัว
บทที่ 7 กฎหมายและจริยธรรมในการใช้คอมพิวเตอร์ 3.3 กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล แม้ว่ากฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของประเทศไทยมีด้วยกันหลายฉบับ แต่ไม่อาจครอบคลุมข้อมูลส่วนบุคคลได้ทุกประเภท เนื่องจากกฎหมายเหล่านี้มีลักษณะเป็นการให้ความคุ้มครองแก่ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นการเฉพาะเรื่อง เช่น ข้อมูลส่วนบุคคลที่อยู่ในการครอบครองของสถาบันการเงินอยู่ภายใต้พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต พ.ศ. 2545 การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลตามพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534
บทที่ 7 กฎหมายและจริยธรรมในการใช้คอมพิวเตอร์ 3.3 กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (ต่อ) ตัวอย่างการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล ในการสมัครใช้บัตรเครดิต และการขอสินเชื่อต่างๆ ผู้ขอใช้บริการต้องกรอกข้อมูลเกี่ยวกับชื่อ อายุ ที่อยู่ รายได้ ประวัติทางการเงิน ฯลฯ ซึ่งบางครั้งธนาคารหรือสถาบันการเงินบางแห่งอาจนำข้อมูลดังกล่าวไปเปิดเผยแก่บริษัทในเครือข่าย หรืออาจส่งต่อไปให้ผู้อื่นได้ ในการซื้อสินค้าบนเว็บไซต์ ผู้ซื้อต้องกรอกข้อมูลบนหน้าเว็บไซต์ เกี่ยวกับชื่อ ที่อยู่ หมายเลขบัตรประชาชน หมายเลขบัตรเครดิตฯลฯ ซึ่งเว็บไซต์บางแห่งอาจนำข้อมูลบัตรเครดิตดังกล่าวไปใช้ในทางที่มิชอบ หรือนำไปเปิดเผยแก่บุคคลอื่น สร้างความเสียหายให้กับผู้ซื้อได้
บทที่ 7 กฎหมายและจริยธรรมในการใช้คอมพิวเตอร์ 3.4 กฎหมายการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ การโอนเงินโดยอาศัยระบบการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ของไทยได้เริ่มนำมาใช้เป็นระยะเวลานานแล้ว ตั้งแต่ระบบการโอนเงินผ่านเครื่องเบิกถอนเงินสดอัตโนมัติ หรือที่เรียกทั่วไปว่า เครื่องเอทีเอ็ม และมีวิวัฒนาการเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน โดยทั่วไปการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์จะมีบทบาทเป็นอย่างมากในการทำธุรกรรมทางการค้า เช่น การใช้บัตรเครดิต (credit card) และบัตรเดบิต (debit card) จึงมีความจำเป็นในการออกกฎหมายเกี่ยวกับการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการบังคับใช้กฎหมายกับการโอนเงินรายใหญ่ รายย่อย และเงินอิเล็กทรอนิกส์
บทที่ 7 กฎหมายและจริยธรรมในการใช้คอมพิวเตอร์ 3.4 กฎหมายการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (ต่อ) สำหรับการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ของที่สำคัญของประเทศไทยในปัจจุบันมีด้วยกัน 3 ระบบ ได้แก่ ระบบบาทเน็ต (BATHNET) ระบบการหักบัญชีเช็ค และระบบการโอนเงินรายย่อย (คณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ 2544: 71-72) ดังนี้ (1) ระบบบาทเน็ต เป็นการให้บริการโอนเงินระหว่างบัญชีเงินฝากที่ฝากไว้กับธนาคารแห่งประเทศไทยทางอิเล็กทรอนิกส์แก่ธนาคารพาณิชย์ สถาบันการเงิน และส่วนของราชการ (2) ระบบการหักบัญชีเช็ค เป็นบริการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยมีไว้หักบัญชีเช็คระหว่างธนาคารสมาชิกในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยธนาคารสมาชิกจะส่งข้อมูลเช็คเรียกเก็บให้แก่ศูนย์หักบัญชีอิเล็กทรอนิกส์แบบออนไลน์ และทางศูนย์หักบัญชีอิเล็กทรอนิกส์จึงจะคำนวณดุลและชำระดุลผ่านระบบบาทเน็ต
บทที่ 7 กฎหมายและจริยธรรมในการใช้คอมพิวเตอร์ 3.4 กฎหมายการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (ต่อ) (3) ระบบการโอนเงินรายย่อย การให้บริการในระบบนี้ธนาคารแห่งประเทศไทยร่วมกับธนาคารสมาชิกระบบมีเดียเคลียริง (Media Clearing) ให้บริการแก่ลูกค้าในการโอนเงินที่มีข้อตกลงล่วงหน้าจากบัญชีเงินฝากของลูกค้าธนาคารหนึ่งไปยังบัญชีเงินฝากของลูกค้าอีกธนาคารหนึ่ง ซึ่งวิธีการนี้เหมาะสำหรับรายการชำระเงินที่แน่นอนและมีปริมาณมาก
บทที่ 7 กฎหมายและจริยธรรมในการใช้คอมพิวเตอร์ 3.5 กฎหมายการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ กฎหมายว่าด้วยการพัฒนาโครงสร้างสารสนเทศ หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ พ.ศ… เป็นกฎหมายที่ยกร่างขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับบทบัญญัติมาตรา 78 ในรัฐธรรมนูญ โดยมีแนวคิดหลักเพื่อให้เกิดการส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาโครงสร้างเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งได้แก่ โครงข่ายโทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศ สารสนเทศทรัพยากรมนุษย์ และโครงสร้างอื่นๆ อันเป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาสังคมและชุมชนโดยอาศัยกลไกของรัฐ และกําหนดมาตรการในการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาให้เข้าถึงได้โดยง่าย สะดวก และต้องไม่เลือกปฏิบัติ รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการรวบรวมและประมวลสารสนเทศให้มีประสิทธิผล
บทที่ 7 กฎหมายและจริยธรรมในการใช้คอมพิวเตอร์ 3.5 กฎหมายการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ (ต่อ) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศตามกฎหมายนี้จึงแบ่งออกได้ 4 ประเภท คือ 1) การพัฒนาโครงข่ายโทรคมนาคม 2) การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ 3) การพัฒนาสารสนเทศ 4) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
บทที่ 7 กฎหมายและจริยธรรมในการใช้คอมพิวเตอร์ 4. กฎหมายเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา เนื่องด้วยพัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบันทำให้เกิดการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา (intellectual property) กันมากขึ้น เนื่องจากเทคโนโลยีเหล่านี้ทำให้เกิดช่องทางใหม่ในการเผยแพร่ข้อมูลอันเป็นทรัพย์สินทางปัญหาได้ง่าย และนำไปสู่การละเมิดทรัพย์สินทางปัญญารูปแบบต่างๆ ได้แก่ การละเมิดลิขสิทธิ์ เครื่องหมายการค้า และสิทธิบัตร ลิขสิทธิ์ เป็นการให้สิทธิแก่ผู้ผลิต หรือผู้ผลิต หรือผู้ประดิษฐ์แต่เพียงผู้เดียว ที่จะสามารถทำซ้ำ ดัดแปลง แก้ไข หรือจำหน่ายจ่ายแจกสิ่งผลงานที่ตนสร้างขึ้น
บทที่ 7 กฎหมายและจริยธรรมในการใช้คอมพิวเตอร์ 4. กฎหมายเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา (ต่อ) ตัวอย่างของการละเมิดลิขสิทธิ์ การทำซ้ำไฟล์เพลงซึ่งจัดเก็บอยู่ในรูปของเอ็มพีสาม เพื่อเผยแพร่หรือจัดจำหน่าย โดยไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของลิขสิทธิ์ การดาวน์โหลดโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อมาใช้งานในเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนตัว ซึ่งโปรแกรมคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่จะมีลำดับหมายเลข (serial number) ไว้ให้ผู้ใช้ป้อนลงไปก่อนการใช้งาน เพื่อยืนยันว่าเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ถูกต้องตามลิขสิทธิ์
บทที่ 7 กฎหมายและจริยธรรมในการใช้คอมพิวเตอร์ 4. กฎหมายเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา (เพิ่มเติม) พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ได้จัดให้ โปรแกรมคอมพิวเตอร์มีลักษณะเป็นวรรณกรรมจึงทำให้การคุ้มครองโปรแกรมคอมพิวเตอร์ภายใต้พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ จึงมีลักษณะเป็นการคุ้มครองถึงการแสดงออก (expression) กล่าวคือ เป็นการคุ้มครองวิธีการเขียนคำสั่ง การดำเนินเค้าโครงของโปรแกรม การเรียบเรียงประโยคคำสั่ง
บทที่ 7 กฎหมายและจริยธรรมในการใช้คอมพิวเตอร์ 4. กฎหมายเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา (เพิ่มเติม) การคุ้มครองผู้สร้างสรรค์ สำหรับการคุ้มครองผู้สร้างสรรค์งานสร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์มีลักษณะที่คล้ายกับการคุ้มครองงานวรรณกรรมทั่วไป กล่าวคือ กฎหมายกำหนดให้ผู้สร้างสรรค์เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ และมีระยะเวลาคุ้มครองตลอดชีวิตของผู้สร้างสรรค์ บวกอีก 50 ปี หลังการเสียชีวิตของผู้สร้างสรรค์
บทที่ 7 กฎหมายและจริยธรรมในการใช้คอมพิวเตอร์ ข้อยกเว้นที่ไม่ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ มีดังนี้ (1) วิจัย หรือศึกษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น (2) ใช้เพื่อประโยชน์ของเจ้าของสำเนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น (3) ติชม วิจารณ์ หรือแนะนำผลงาน โดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น (4) เสนอรายงานข่าวทางสื่อสารมวลชน โดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น (5) ทำสำเนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในจำนวนที่สมควร โดยบุคคลผู้ซึ่งได้ซื้อ หรือได้รับโปรแกรมนั้นมาจากบุคคลอื่นโดยถูกต้อง เพื่อเก็บไว้ใช้ประโยชน์ในการบำรุงรักษา หรือป้องกันการสูญหาย
บทที่ 7 กฎหมายและจริยธรรมในการใช้คอมพิวเตอร์ ข้อยกเว้นที่ไม่ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ มีดังนี้ (ต่อ) (6) ทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกแสดง หรือทำให้ปรากฏ เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาของศาล หรือเจ้าพนักงาน ซึ่งมีอำนาจตามกฎหมาย หรือในการรายงานผลการพิจารณาดังกล่าว (7) นำโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้นมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการถามและตอบในการสอบ (8) ดัดแปลงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในกรณีที่จำเป็นแก่การใช้ (9) จัดทำสำเนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อเก็บรักษาไว้สำหรับการอ้างอิง หรือค้นคว้า เพื่อประโยชน์ของสาธารณชน
บทที่ 7 กฎหมายและจริยธรรมในการใช้คอมพิวเตอร์ 5. จริยธรรม กฎหมายและจรรยาบรรณ จริยธรรมกับกฎหมายเป็นสิ่งที่มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด เนื่องจากเป็นเครื่องมือที่คนในสังคมสร้างขึ้นมาเพื่อควบคุมพฤติกรรมของคนในสังคมให้อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข ทั้งจริยธรรมและกฎหมายจึงมีบทบาทเสริมซึ่งกันและกัน และเป็นสิ่งที่ไม่สามารถแยกออกจากกันได้อย่างเด็ดขาดแต่เมื่อเปรียบเทียบกัน จริยธรรมแตกต่างจากกฎหมายหลายประการ
บทที่ 7 กฎหมายและจริยธรรมในการใช้คอมพิวเตอร์ 5. จริยธรรม กฎหมายและจรรยาบรรณ (ต่อ) นอกจากจริยธรรมกับกฎหมายเป็นสิ่งที่มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดแล้ว จริยธรรมยังเป็นที่มาของสิ่งที่เรียกว่า จรรยาบรรณ ซึ่งเป็นหลักประพฤติปฏิบัติสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพต่างๆ วิชาชีพหลายสาขาต่างก็มีจรรยาบรรณเป็นของตนเอง เพื่อควบคุมความประพฤติและเป็นแนวปฏิบัติสำหรับผู้ที่ประกอบวิชาชีพนั้นๆ เช่น แพทย์ วิศวกร ทนายความ
บทที่ 7 กฎหมายและจริยธรรมในการใช้คอมพิวเตอร์ 5. จริยธรรม กฎหมายและจรรยาบรรณ (ต่อ) ตารางเปรียบเทียบข้อแตกต่างระหว่างกฎหมาย จริยธรรม จรรยาบรรณ
บทที่ 7 กฎหมายและจริยธรรมในการใช้คอมพิวเตอร์ 6. หลักเกณฑ์การเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หมายถึง ข้อมูลเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งแสดงถึงแหล่งกำเนิด ต้นทาง ปลายทาง เส้นทาง เวลา วันที่ ปริมาณ ระยะเวลาชนิดของบริการ หรืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์นั้น ซึ่งข้อมูลจราจรคอมพิวเตอร์ที่สำคัญก็คือ หมายเลขไอพี หรือไอพีแอดเดรส (Internet Protocol Address -- IP Address) ที่คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่ต่ออยู่บนเครือข่ายจะมีหมายเลขรหัสประจำเครื่อง และคอมพิวเตอร์ แต่ละเครื่องทั่วโลกจะต้องไม่ซ้ำกัน
บทที่ 7 กฎหมายและจริยธรรมในการใช้คอมพิวเตอร์ 6. หลักเกณฑ์การเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ ผู้ให้บริการแก่บุคคลทั่วไปในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ต สามารถจำแนกได้ 4 ประเภท 1) ผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมและการกระจายภาพและเสียง (telecommunication and broadcast carrier) 2) ผู้ให้บริการการเข้าถึงระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (access service provider) 3) ผู้ให้บริการเช่าระบบคอมพิวเตอร์ หรือให้เช่าบริการโปรแกรมประยุกต์ต่างๆ 4) ผู้ให้บริการร้านอินเทอร์เน็ต มีหน้าที่ต้องเก็บรักษาข้อมูลที่สามารถระบุตัวบุคคลเวลาของการเข้าใช้ และเลิกใช้บริการ และหมายเลขไอพี
บทที่ 7 กฎหมายและจริยธรรมในการใช้คอมพิวเตอร์ 6. หลักเกณฑ์การเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ ผู้ให้บริการมีหน้าที่ในการจัดเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ซึ่ง กำหนดว่าผู้ให้บริการมีหน้าที่ในการจัดเก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ไว้ ไม่น้อยว่า 90 วันนับตั้งแต่ที่ข้อมูลนั้นได้เข้าสู่ระบบ เพื่อเป็นพยานหลักฐานในการ สืบสวนสอบสวน และติดตามผู้กระทำผิดมาลงโทษ
บทที่ 7 กฎหมายและจริยธรรมในการใช้คอมพิวเตอร์ 7. พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มีผลบังคับใช้ไปแล้วตั้งแต่วันที่ 18 กรกฎาคม 2550เรามาทำความเข้าใจว่าทำอย่างไรถึงจะไม่เสี่ยงกับ ความผิดทางอาญาตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ที่ควรทราบ
บทที่ 7 กฎหมายและจริยธรรมในการใช้คอมพิวเตอร์ 7. พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 5 ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกัน การเข้าถึงโดยเฉพาะ และมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
บทที่ 7 กฎหมายและจริยธรรมในการใช้คอมพิวเตอร์ 7. พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 6 ผู้ใดล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ ผู้อื่นจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะ ถ้านำมาตรการดังกล่าวไปเปิดเผยโดยมิชอบในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ ผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
บทที่ 7 กฎหมายและจริยธรรมในการใช้คอมพิวเตอร์ 7. พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 7 ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการ ป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะ และมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน40,000บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
บทที่ 7 กฎหมายและจริยธรรมในการใช้คอมพิวเตอร์ 7. พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 8 ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อดักรับไว้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของ ผู้อื่นที่อยู่ระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร์ และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้น มิได้มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือเพื่อให้บุคคลทั่วไปใช้ประโยชน์ได้ต้อง ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
บทที่ 7 กฎหมายและจริยธรรมในการใช้คอมพิวเตอร์ 7. พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 9 ผู้ใดทำให้เสียหายทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมด หรือบางส่วน ซึ่งของผู้อื่นโดยมิชอบ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินข้อมูลคอมพิวเตอร์ห้าปี หรือปรับไม่เกิน หนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
บทที่ 7 กฎหมายและจริยธรรมในการใช้คอมพิวเตอร์ 7. พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 10 ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบ เพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น ถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวนจนไม่สามารถทำงานตามปกติได้ต้องระวางโทษจำคุก ไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
บทที่ 7 กฎหมายและจริยธรรมในการใช้คอมพิวเตอร์ 7. พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 11 ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคล อื่นโดยปกปิด หรือปลอมแปลงแหล่งที่มาของการส่งข้อมูลดังกล่าว อันเป็นการรบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของ บุคคลอื่นโดยปกติสุข ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 100,000 บาท
บทที่ 7 กฎหมายและจริยธรรมในการใช้คอมพิวเตอร์ 7. พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 12 ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา 9 หรือมาตรา 10 (1) ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน ไม่ว่าความเสียหายนั้นจะเกิดขึ้นในทันที หรือในภายหลัง และไม่ว่าจะเกิดขึ้นพร้อมกันหรือไม่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปีและปรับไม่เกิน 200,000 บาท
บทที่ 7 กฎหมายและจริยธรรมในการใช้คอมพิวเตอร์ มาตรา 12 (ต่อ) (2) เป็นการกระทำโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบ คอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคง ในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือการบริการสาธารณะ หรือเป็นการกระทำข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 30 ถึง 50 ปี และปรับตั้งแต่ 60,000 บาทถึง 300,000 บาท ถ้าการกระทำความผิดตาม (2) เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 10 ถึง 20 ปี
บทที่ 7 กฎหมายและจริยธรรมในการใช้คอมพิวเตอร์ 7. พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 13 ผู้ใดจำหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคำสั่งที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะเพื่อนำไป ใช้เป็นเครื่องมือ ในการกระทำความผิดตามมาตรา 5 มาตรา 6 มาตรา 7 มาตรา 8 มาตรา 9 มาตรา 10 หรือมาตรา 11 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
บทที่ 7 กฎหมายและจริยธรรมในการใช้คอมพิวเตอร์ 7. พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 14ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (1) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน
บทที่ 7 กฎหมายและจริยธรรมในการใช้คอมพิวเตอร์ มาตรา 14 (ต่อ) (2) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิด ความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน (3) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง แห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา
บทที่ 7 กฎหมายและจริยธรรมในการใช้คอมพิวเตอร์ มาตรา 14 (ต่อ) (4) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่มีลักษณะอันลามก และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ (5) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (1) (2) (3) หรือ(4)
บทที่ 7 กฎหมายและจริยธรรมในการใช้คอมพิวเตอร์ 7. พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 15 ผู้ให้บริการผู้ใดจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มี การกระทำความผิดตามมาตรา 14 ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิดตาม มาตรา 14
บทที่ 7 กฎหมายและจริยธรรมในการใช้คอมพิวเตอร์ 7. พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 16 ผู้ใดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ซึ่งข้อมูล คอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติม หรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใด ทั้งนี้โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้น เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
บทที่ 7 กฎหมายและจริยธรรมในการใช้คอมพิวเตอร์ 7. พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 17 ผู้ใดกระทำความผิดตามพ.ร.บ.นี้ นอกราชอาณาจักรและ (1) ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนไทย และรัฐบาลแห่งประเทศที่ความผิดได้เกิดขึ้น หรือผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ หรือ (2) ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนต่างด้าว และรัฐบาลไทย หรือคนไทยเป็นผู้เสียหาย และผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ จะต้องรับโทษภายในราชอาณาจักร