430 likes | 654 Views
วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อชีวิต รหัสวิชา 4000107 Information Technology for Life. อ.รจนา วานนท์ Master of Business Administration (MBA ) roseyayee@gmail.com roseyayee.wordpress.com Atta- yayee FacebooK Tel089-7204020. 1 ความรู้ เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ.
E N D
วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อชีวิต รหัสวิชา4000107Information Technology for Life อ.รจนา วานนท์ Master of Business Administration (MBA) roseyayee@gmail.com roseyayee.wordpress.com Atta-yayeeFacebooK Tel089-7204020
1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ • ข้อมูล (Data) หมายถึง ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันของมนุษย์เรา ข้อมูลอาจได้มาจากการสังเกต การวัด หรือการนับ (นรีรัตน์ นิยมไทย,2549:11) ข้อมูลมักเป็นข้อความที่อธิบายถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่ง อาจเป็นตัวอักษร ตัวเลข หรือสัญลักษณ์ใด ๆ ที่สามารถนำไปประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ได้ ตัวอย่างเช่น จำนวน ราคา ปริมาณ ชื่อ ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ เป็นต้น
1. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ (ต่อ) • สารสนเทศ (information) หมายถึง ข้อมูล ข่าวสารที่ได้จากการวิเคราะห์ หรือผ่านการประมวลผลแล้ว สามารถนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์ได้ (นรีรัตน์ นิยมไทย, 2549 : 11) • ข้อมูลและสารสนเทศนับว่ามีประโยชน์ต่อการนำไปใช้บริหารงานด้านต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ • ด้านการวางแผน • ด้านการตัดสินใจ • ด้านการดำเนินงาน
1. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ (ต่อ) • เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology : IT) หรือเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technologies: ICTs) ก็คือ เทคโนโลยีสองด้าน หลัก ๆ ที่ประกอบด้วยเทคโนโลยีระบบคอมพิวเตอร์ และ เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมที่ผนวกเข้าด้วยกัน เพื่อใช้ในกระบวนการจัดหา จัดเก็บ สร้าง และเผยแพร่สารสนเทศในรูปต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเสียง ภาพ ภาพเคลื่อนไหว ข้อความหรือตัวอักษร และตัวเลข เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความถูกต้อง ความแม่นยำ และความรวดเร็วให้ทันต่อการนำไปใช้ประโยชน์
1. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ (ต่อ) • เทคโนโลยีสารสนเทศ คือเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บประมวลผล และเผยแพร่สารสนเทศ ซึ่งรวมแล้วก็คือ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคม หรือ Computer and Communications ที่นิยมเรียกกันย่อ ๆ ว่า C & C อย่างไรก็ตาม มีแนวโน้มที่จะนับเทคโนโลยีอื่น ๆ ที่เป็นองค์ประกอบของ C & C และเกี่ยวเนื่องเข้ามาเป็นเทคโนโลยีสารสนเทศด้วย เช่น เทคโนโลยีไมโครอิเล็กทรอนิกส์ เทคโนโลยีระบบอัตโนมัติ เทคโนโลยีการพิมพ์ เทคโนโลยีสำนักอัตโนมัติ เทคโนโลยีการศึกษา เป็นต้น (ทรงศักดิ์ แก้วอ่อง, 2546 : 77)
1. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ (ต่อ) • เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology : IT) หมายถึง การนำวิทยาการที่ก้าวหน้าทางด้านคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร มาสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสารสนเทศ ทำให้สารสนเทศมีประโยชน์และใช้งานได้กว้างขวางมากขึ้น เทคโนโลยีสารสนเทศรวมถึงการใช้เทคโนโลยีด้านต่าง ๆ ในการรวบรวมจัดเก็บ ใช้งาน ส่งต่อ หรือสื่อสารระหว่างกัน เทคโนโลยีสารสนเทศเกี่ยวข้องโดยตรงกับเครื่องมือเครื่องใช้ในการจัดการสารสนเทศ ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์รอบข้าง ขั้นตอนวิธีการดำเนินการซึ่งเกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์ เกี่ยวข้องกับข้อมูล บุคลากร และกรรมวิธีการดำเนินงานเพื่อให้ข้อมูลเกิดประโยชน์สูงสุด (กมลชนก ใยปางแก้ว, 2552 : 4)
ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมี 5 ประการ(Souter 1999: 409) ได้แก่ • ประการแรก การสื่อสารถือเป็นสิ่งจำเป็นในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ สิ่งสำคัญที่มีส่วนในการพัฒนากิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ประกอบด้วย Communications media การสื่อสารโทรคมนาคม (Telecoms) และเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) • ประการที่สอง เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารประกอบด้วยผลิตภัณฑ์หลักที่มากไปกว่าโทรศัพท์และคอมพิวเตอร์ เช่น แฟกซ์ อินเทอร์เน็ต อีเมล์ ทำให้สารสนเทศเผยแพร่หรือกระจายออกไปในที่ต่าง ๆ ได้สะดวก
ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมี 5 ประการ(Souter 1999: 409) ได้แก่ • ประการที่สาม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีผลให้การใช้งานด้านต่าง ๆ มีราคาถูกลง • ประการที่สี่ เครือข่ายสื่อสาร (Communication networks) ได้รับประโยชน์จากเครือข่ายภายนอก เนื่องจากจำนวนการใช้เครือข่าย จำนวนผู้เชื่อมต่อ และจำนวนผู้ที่มีศักยภาพในการเข้าเชื่อมต่อกับเครือข่ายนับวันจะเพิ่มสูงขึ้น • ประการที่ห้า เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทำให้ฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ และต้นทุนการใช้ ICT มีราคาถูกลงมาก
บทบาทความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศบทบาทความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ • เทคโนโลยีที่ใช้ในระบบสารสนเทศที่กำลังได้รับความสนใจอย่างมากในขณะนี้ คือ เทคโนโลยีสื่อประสม (Multimedia) ซึ่งรวมข้อความ ภาพ เสียง และวีดิทัศน์เข้ามาผสมกัน เทคโนโลยีนี้กำลังได้รับการพัฒนา ในอนาคตเทคโนโลยีแบบสื่อประสมจะช่วยเสริมและสนับสนุนงานด้านสารสนเทศให้ก้าวหน้าต่อไป เป็นที่คาดหมายว่าอัตราการเติบโตของผู้ทำงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศจะมีมากขึ้น (กมลชนก ใยปางแก้ว, 2552 : 1-4)
บทบาทความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ (ต่อ) • แนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศค่อย ๆ กลายมาเป็นระบบรวม โดยให้คอมพิวเตอร์ระบบหนึ่งทำงานพร้อมกันได้หลาย ๆ อย่าง นอกจากใช้ประมวลผลข้อมูลด้านบัญชีแล้ว ยังใช้งานจัดเตรียมเอกสารแทนเครื่องพิมพ์ดีด ใช้รับส่งข้อความหรือจดหมายกับคอมพิวเตอร์ที่อยู่ห่างไกล ซึ่งอาจอยู่คนละซีกโลกในลักษณะที่เรียกว่า “ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์” (Electronic Mail หรือ E-Mail) สำหรับเครื่องถ่ายเอกสาร นอกจากจะใช้ถ่ายสำเนาเอกสารตามปกติแล้ว อาจเพิ่มขีดความสามารถให้ใช้งานเป็นเครื่องพิมพ์หรือรับส่งโทรสารได้อีกด้วย
องค์ประกอบของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศองค์ประกอบของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ • เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ • ฮาร์ดแวร์ (Hardware) • ซอฟต์แวร์ (Software)
องค์ประกอบของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (ต่อ) • เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม • เทคโนโลยีที่ใช้ในการสื่อสารหรือเผยแพร่สารสนเทศ ได้แก่ เทคโนโลยีที่ใช้ในระบบโทรคมนาคมทั้งชนิดมีสายและไร้สาย เช่น ระบบโทรศัพท์ โมเด็ม แฟกซ์ โทรเลข ดาวเทียม วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ เคเบิ้ลใยแก้วนำแสง และคลื่นไมโครเวฟ เป็นต้น ต้นแหล่งของข้อความ สื่อกลาง จุดรับข้อความ
องค์ประกอบของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (ต่อ) เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถจำแนกตามลักษณะการใช้งานได้เป็น 6 รูปแบบ ดังนี้ต่อไปนี้ • เทคโนโลยีที่ใช้ในการเก็บข้อมูล เช่น ดาวเทียมถ่ายภาพทางอากาศ กล้องดิจิทัล กล้องถ่ายวีดีทัศน์ และเครื่องเอกซเรย์ เป็นต้น • เทคโนโลยีที่ใช้ในการบันทึกข้อมูล จะเป็นสื่อบันทึกข้อมูลต่าง ๆ เช่น เทปแม่เหล็กจานแม่เหล็ก จานแสงหรือจานเลเซอร์ และบัตรเอทีเอ็ม เป็นต้น • เทคโนโลยีที่ใช้ในการประมวลผลข้อมูล ได้แก่ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์
องค์ประกอบของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (ต่อ) เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถจำแนกตามลักษณะการใช้งานได้เป็น 6 รูปแบบ ดังนี้ต่อไปนี้ (ต่อ) • เทคโนโลยีที่ใช้ในการแสดงผลข้อมูล เช่น เครื่องพิมพ์ จอภาพ และพลอตเตอร์ เป็นต้น • เทคโนโลยีที่ใช้ในการจัดทำสำเนาเอกสาร เช่น เครื่องถ่ายเอกสาร ไมโครฟิล์ม และเครื่องถ่าย เป็นต้น • เทคโนโลยีสำหรับถ่ายทอดหรือสื่อสารข้อมูล ได้แก่ ระบบโทรคมนาคมต่าง ๆ เช่น โทรทัศน์ วิทยุกระจายเสียง โทรเลข เทเล็กซ์ และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั้งระยะใกล้และไกล
ประโยชน์ที่ได้จากเทคโนโลยีสารสนเทศประโยชน์ที่ได้จากเทคโนโลยีสารสนเทศ • ช่วยให้ติดต่อสื่อสารระหว่างกันอย่างสะดวกรวดเร็วโดยใช้โทรศัพท์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต • ช่วยในการจัดระบบข่าวสารจำนวนมหาศาล • ช่วยให้เก็บสารสนเทศไว้ในรูปที่สามารถเรียกใช้ได้ครั้งแล้วครั้งเล่าอย่างสะดวก • เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสารสนเทศ เช่น ช่วยนักวิทยาศาสตร์ วิศวกร ในการคำนวณตัวเลขที่ยุ่งยาก ซับซ้อนซึ่งไม่สามารถทำให้สำเร็จได้ด้วยมือ
ประโยชน์ที่ได้จากเทคโนโลยีสารสนเทศประโยชน์ที่ได้จากเทคโนโลยีสารสนเทศ • สามารถจัดระบบอัตโนมัติเพื่อการเก็บ เรียกใช้และประมวลผล • สามารถจำลองแบบระบบการวางแผนและทำนาย เพื่อทดลองกับสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น • อำนวยความสะดวกในการเข้าถึงสารสนเทศ ดีกว่าสมัยก่อน ทำให้ผู้ใช้สารสนเทศมี ทางเลือกที่ดีกว่า มีประสิทธิภาพกว่า และสามารถแข่งขันกับผู้อื่นได้ดีกว่า • ช่วยให้มีการตัดสินใจที่ดีขึ้น จากการมีสารสนเทศประกอบการตัดสินใจและพิจารณาทางเลือกภายใต้เงื่อนไขต่าง ๆ
ประโยชน์ที่ได้จากเทคโนโลยีสารสนเทศประโยชน์ที่ได้จากเทคโนโลยีสารสนเทศ • ลดค่าใช้จ่ายซึ่งเป็นผลมาจากการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย ทำให้ประหยัดเวลาการทำงานหรือลดค่าใช้จ่ายในการทำงานลง • พัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนโดยมีการค้นคว้าผ่านระบบเครือข่าย เพิ่มโอกาสให้นักศึกษาสามารถสืบค้นข้อมูลได้จากสถานที่อื่นนอกมหาวิทยาลัย เป็นการฝึกให้รู้จักเรียนรู้ด้วยต้นเองมากขึ้น • เพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน ทั้งในด้านความเที่ยงตรง ความรวดเร็วในความต้องการใช้ข้อมูล ข้อมูลมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้ และสามารถตรวจสอบข้อมูลได้อย่างถูกต้อง • ช่วยในการรื้อปรับระบบ (Reengineering) และพัฒนาระบบสอดคล้องกับความต้องการขององค์การได้อย่างต่อเนื่อง โดยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือการปรับระบบ และพัฒนาระบบให้ทันสมัยอยู่เสมอ
ปัจจัยที่ทำให้เกิดความล้มเหลวในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ปัจจัยที่ทำให้เกิดความล้มเหลวในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ • ขาดการวางแผนที่ดีพอ • การนำเทคโนโลยีที่ไม่เหมาะสมมาใช้งาน • ขาดการจัดการหรือสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูง • ความกลัวการเปลี่ยนแปลง • การไม่ติดตามข่าวสารความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างสม่ำเสมอ • โครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของประเทศกระจายไม่ทั่วถึง
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ • การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสาขาการศึกษา • คอมพิวเตอร์ช่วยสอน • การเรียนการสอนโดยใช้เว็บเป็นหลัก • อิเล็กทรอนิกส์บุค • วิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์ • ระบบวีดีโอออนดีมานด์ (Video on Demand) • การสืบค้นข้อมูล (Search Engine) • อินเทอร์เน็ต • การเรียนรู้แบบออนไลน์ หรือ E-Learning • ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ (E-library)
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (ต่อ) • การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสาขาธุรกิจ พาณิชย์และสำนักงาน • E-commerce (Electronic Commerce) หรือการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง การทำธุรกรรมในเชิงธุรกิจทุกประเภทที่กระทำผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งรวมทั้งกิจกรรมการซื้อขาย การแลกเปลี่ยนสินค้าและกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น การโฆษณา การประชา-สัมพันธ์ การส่งสินค้า การชำระเงิน และการบริการด้านข้อมูล เป็นต้น E-commerce นั้นสามารถให้บริการที่สะดวก รวดเร็ว และไม่จำกัดขอบเขตของผู้ใช้บริการและระยะเวลาทำการของหน่วยงาน
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (ต่อ) • การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสาขาธุรกิจ พาณิชย์และสำนักงาน • E-business เป็นธุรกิจเชิงอิเล็กทรอนิกส์ เป็นธุรกิจเชิงอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีขอบเขตที่กว้างกว่า E-commerce เนื่องจากเป็นการพิจารณาถึงองค์ประกอบทุกส่วนของการดำเนินธุรกิจ มิได้พิจารณาเพียงเฉพาะกิจกรรมการซื้อ-ขายเท่านั้น เป็นการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ทางธุรกิจผนวกกับเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อดำเนินธุรกรรมต่าง ๆ และปรับปรุงธุรกิจให้มีความเป็นระบบ สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยเพิ่มศักยภาพของธุรกิจด้วยการดำเนินธุรกิจให้กลายเป็นรูปแบบ Online และครอบคลุมได้ทั่วโลก
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (ต่อ) • การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสาขาธุรกิจ พาณิชย์และสำนักงาน • การแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Interchange: EDI) • สำหรับมาตรฐานของ EDI ในประเทศไทยถูกกำหนดโดยกรมศุลกากร ซึ่งเป็นหน่วยงานแรกที่นำระบบนี้มาใช้งาน คือ มาตรฐาน EDIFACT (Electronic Data Interchange for Administration, Commerce and Transport) ตัวอย่างของเอกสารที่นำมาใช้แลกเปลี่ยนข้อมูลด้วยระบบ EDI เช่น ใบสั่งซื้อสินค้า ใบเสนอราคา ใบกำกับสินค้า ใบเสร็จรับเงิน ใบกำกับภาษี
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (ต่อ) ประโยชน์ของการใช้ระบบ EDI • ลดค่าใช้จ่ายด้านการจัดส่งเอกสาร • ลดเวลาทำงานในการป้อนข้อมูล ทำให้ข้อมูลมีความถูกต้องและลดข้อผิดพลาดจากการป้อนข้อมูลที่ซ้ำซ้อน • เพิ่มความรวดเร็วในการติดต่อสื่อสาร • ลดค่าใช้จ่ายและภาระงานด้านเอกสาร • แก้ปัญหาอุปสรรคทางภูมิศาสตร์และเวลา
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (ต่อ) • การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสาขาธุรกิจ พาณิชย์และสำนักงาน • ระบบสำนักงานอัตโนมัติ • การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสาขาอุตสาหกรรมและการผลิต • การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสาขาสาธารณสุขและการแพทย์
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (ต่อ) • การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสาขาการสื่อสารและโทรคมนาคม การประยุกต์ใช้ในงานประเภทนี้ได้แก่ การบริการโทรศัพท์ โทรศัพท์เคลื่อนที่ วิทยุ โทรทัศน์ เคเบิลทีวี การค้นคืนสารสนเทศระบบออนไลน์ ดาวเทียม และโครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิทัล (ISDN) เป็นต้น • ดาวเทียม (Satellite) • โครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิทัล(Integrated Service Digital Network- ISDN)
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (ต่อ) • ระบบ ISDN หรือที่เรียกว่า Integrated Service Digital Network ซึ่งเป็นระบบที่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยนำมาใช้เพื่อให้บริการส่งข้อมูลในลักษณะโครงข่าย ISDN โดยเป็นโครงข่ายโทรคมนาคมความเร็วสูงในระบบดิจิทัลที่สามารถส่งทั้งสัญญาณ เสียง และข้อมูล ต่าง ๆ ร่วมไปในสายเส้นเดียวกัน และสามารถเชื่อมต่อกับโครงข่ายโทรศัพท์ในปัจจุบัน (PSTN) รวมทั้งการเชื่อมต่อกับโครงข่ายส่วนบุคคลอื่น (Private Network) เพื่อติดต่อกับผู้ใช้บริการรายอื่นได้ทั่วประเทศ
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (ต่อ) • การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสาขาการสื่อสารและโทรคมนาคม (ต่อ) • โทรสาร (Facsimile) • โทรภาพสาร (Teletext) • ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail : E-mail) • การประชุมทางไกล (Teleconference) • เทคโนโลยีการติดต่อไร้สายแบบ Bluetooth
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (ต่อ) • การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในหน่วยงานราชการต่าง ๆ • สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศภาครัฐ(Government Information Technology Services – GITS) ลักษณะงานของสำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศภาครัฐ จะให้บริการเครือข่ายสารสนเทศภาครัฐ (Government Information Network) เพื่อตอบสนองการบริหารงานสำหรับหน่วยงานของภาครัฐได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพสูง ส่งเสริมหน่วยงานภาครัฐให้มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการดำเนินงานอันนำไปสู่การเป็น E-government และเป็นศูนย์กลางส่งเสริมให้เกิดระบบการเชื่อมโยงข่าวสารระหว่างภาครัฐและประชาชน
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (ต่อ) • การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในหน่วยงานราชการต่าง ๆ • สำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation - OA) สำนักงานอัตโนมัติที่หน่วยงานของรัฐจัดทำขึ้นมีชื่อว่า IT Model Office เป็นโครงการนำร่องที่จัดทำขึ้นเพื่อพัฒนาระบบเครือข่ายพื้นฐานของภาครัฐ ในรูปของสำนักงานอัตโนมัติ เช่น งานสารบรรณ งานจัดทำเอกสารและจัดส่งทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ งานแฟ้มเอกสาร งานบันทึกการนัดหมายผู้บริหาร งานด้านบัญชี (GF)
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (ต่อ) • การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในหน่วยงานราชการต่าง ๆ • อินเทอร์เน็ตตำบล อินเทอร์เน็ตตำบล เป็นการวางระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตให้ตำบลต่าง ๆ ทั่วประเทศสามารถเข้าใช้อินเทอร์เน็ตได้อย่างมีประสิทธิภาพอันจะเป็นประโยชน์อย่างมากในด้านต่างๆ เช่น หน่วยงานของรัฐ และองค์กรต่างๆ สามารถมีส่วนร่วมในการจัดทำและใช้ประโยชน์จากระบบอินเทอร์เน็ตตำบล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หน่วยงานที่อยู่ ณ ตำบลและใกล้ชิดกับประชาชนก็จะมีความสำคัญและความรับผิดชอบในการจัดทำ ตรวจสอบและปรับปรุงข้อมูล รวมทั้งให้บริการแก่กลุ่มชนต่าง ๆ
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (ต่อ) • การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในหน่วยงานราชการต่าง ๆ • การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านสรรพกร เนื่องจากกรมสรรพากรทำหน้าที่เป็นเหมือนแหล่งรายได้ของรัฐบาล รายได้จากการจัดเก็บภาษีของกรมสรรพากรมีมากถึง 60 เปอร์เซ็นต์ของรายได้รวมของประเทศ ดังนั้นรัฐบาลจำต้องให้ความสำคัญกับระบบการจัดเก็บ ข้อมูลและประวัติของผู้เสียภาษีอย่างต่อเนื่องนอกจากนี้ สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ยังต้องการข้อมูลเพื่อนำไปวิเคราะห์เพื่อทำ Macro Model หรือแบบจำลองทางเศรษฐศาสตร์ให้กับประเทศอีกด้วย ปัจจุบันกรมสรรพกรได้จัดทำโครงการ E-revenue ซึ่งเป็นบริการเสียภาษีออนไลน์ นอกจากนี้ยังให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์ด้านการพาณิชย์ มีบริการโปรแกรมประการยื่นแบบ บริการแบบพิมพ์ บริการยื่นแบบผ่านอินเทอร์เน็ต เป็นต้น ซึ่งอำนวยความสะดวก รวดเร็ว มากยิ่งขึ้นต่อประชาชนผู้ใช้บริการ
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (ต่อ) • การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสาขาด้านความมั่นคงของชาติและทางทหาร • ด้านกฎหมายและการปกครอง ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสรุปคดีทุกคดีว่าใครฟ้องใคร เรื่องอะไร ศาลชั้นต้นศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกา ตัดสินว่าอย่างไร เข้าคอมพิวเตอร์ทั้งหมด หลังจากนั้นคอมพิวเตอร์ก็จะช่วยงานได้หลายอย่าง เช่น ต้องการทราบว่ารัฐธรรมนูญฉบับไหนเหมือนหรือแตกต่างกับฉบับไหนมากน้อยเท่าใด ก็ให้คอมพิวเตอร์ค้นหา และวิเคราะห์เปรียบเทียบพิมพ์ลงได้ หรือต้องการทราบว่าคดีแบบไหนเคยมีฟ้องร้องแล้วศาลตัดสินอย่างไร ก็ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยหาให้ก็จะได้คำตอบภายในเวลาไม่กี่นาที
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (ต่อ) • การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสาขาด้านความมั่นคงของชาติและทางทหาร • ด้านรัฐสภา เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการสนับสนุน และการดำเนินบทบาทด้านการพัฒนาประชาธิปไตยเป็นอย่างมากต่องานรัฐสภา ซึ่งเป็นหน่วยงานด้านนิติ-บัญญัติ ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ รัฐสภาได้มีการปรับปรุงระบบงานใหม่ พร้อมดึงเอาคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในกิจการงานสภา ศึกษาวิเคราะห์ระบบงานรัฐสภาทั้งหมดและจัดตั้งศูนย์คอมพิวเตอร์ ขึ้นมากำกับดูแลงานด้านคอมพิวเตอร์ พร้อมพัฒนาฐานข้อมูลรัฐสภาขึ้นระหว่างปีพ.ศ. 2535-2540
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (ต่อ) • การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสาขาด้านความมั่นคงของชาติและทางทหาร • ด้านการทหารและกองบัญชาการทหารสูงสุด การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ในด้านการทหารแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ ด้านการสื่อสาร และภูมิศาสตร์ • มีการนำดาวเทียมทหารมาใช้เพื่อกิจการด้านความมั่นคงทางทหาร เพราะสามารถส่งข้อมูลข่าวสารซึ่งเป็นความลับเกี่ยวกับความมั่นคงของชาติ โดยเฉพาะด้านการทหารซึ่งไม่สามารถเปิดเผยข้อมูลได้ • การถ่ายภาพภูมิศาสตร์ จำลองลักษณะภูมิศาสตร์ในภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศ เพื่อความสะดวก ในการจัดทำยุทธภูมิและการวางแผนป้องกันประเทศ
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (ต่อ) • การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสาขาด้านความมั่นคงของชาติและทางทหาร • ด้านการตำรวจ ทางด้านการตำรวจของไทย มีศูนย์ประมวลข่าวสารกรมตำรวจ ซึ่งมีคอมพิวเตอร์ขนาดกลางใช้ทำทะเบียนรถยนต์ทำทะเบียนใบขับขี่ ทำทะเบียนปืน ทำทะเบียนประวัติอาชญากรรม ทำงานกำลังพล และทำงานบัญชีของกรมตำรวจในสหรัฐอเมริกานั้น นอกจากนี้สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้นำระบบคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้านข่าวสารข้อมูล ซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ของ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในปัจจุบัน ขณะนี้ มีด้วยกัน 4 ระบบใหญ่ๆ มีลักษณะการใช้งาน ดังต่อไปนี้
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (ต่อ) • (1) ระบบตรวจสอบลายพิมพ์นิ้วมืออัตโนมัติ (AFIS) เป็นระบบที่ใช้ในการจัดเก็บ และค้นหา ลายพิมพ์นิ้วมือแฝง ที่ได้จาก การตรวจ สถานที่เกิดเหตุ และระบบที่ ใช้จัดเก็บ และค้นหา ประวัติ ผู้กระทำผิด จากลายพิมพ์นิ้วมือ 10 นิ้ว และลายพิมพ์นิ้วมือแฝงที่ส่งมาจากสถานีตำรวจ • (2) ระบบทะเบียนประวัติอาชญากร (CDOS) เป็นระบบที่เก็บและค้นหาประวัติ การกระทำผิด, แผน ประทุษกรรม, ตำหนิรูปพรรณ และหมายจับ ฯลฯ • (3) ระบบคอมพิวเตอร์ประกอบภาพใบหน้าคนร้าย เป็นระบบที่ ใช้สร้างภาพ คนร้าย ตามคำบอกเล่าของพยาน ที่จำหน้า คนร้ายได้ • (4) ระบบสถิติคดีอาญา (CSS) เป็นระบบที่ใช้สำหรับจัดเก็บสถิติคดีอาญาอย่างเป็นระบบ เริ่มตั้งแต่ การรับแจ้งคดี การจับกุมเพิ่มเติม
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (ต่อ) • การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสาขาบันเทิง • ยุคของสังคมสารสนเทศที่มีลักษณะการใช้นวัตกรรมเทคโนโลยี และเทคโนโลยีสารสนเทศ จึงทำให้เกิด อีซีนีม่า(E-cinema) กิจกรรมต่างๆ สำหรับสมาชิกที่เข้ามาใช้ อีซีนีม่า คือ เปิดออนไลน์ บุ๊คกิ้งมีการเปิดให้จองตั๋วและเลือกที่นั่งทางเว็บไซต์ ลูกค้าสามารถจ่ายเงินในเว็บได้เลยโดยผ่านบัตรเครดิต ธุรกิจด้านอีซีนีม่านี้นับได้ว่ามีประโยชน์มหาศาล เพราะทางเจ้าของกิจการได้มีการบอกข่าวสารบางอย่างที่ลูกค้าไม่รู้ทุกอย่างรวมอยู่ในเว็บ ซึ่งมีความสำคัญอย่างมากในเชิงธุรกิจ ทั้งได้รับการตอบรับสูงจากลูกค้า ของการเปิดจองทั้งระบบ ซึ่งปัจจุบันบริการทั้งระบบโทรศัพท์และระบบออนไลน์
แนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคตแนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต • การประยุกต์ใช้ RFID (กมลชนก ใยปางแก้ว, 2552 : 15-17) RFID (Radio Frequency Identification)เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับระบบการระบุเอกลักษณ์ด้วยคลื่นวิทยุ สามารถใช้ในการระบุเอกลักษณ์ของวัตถุ บอกตำแหน่ง ติดตามและตรวจสอบสินค้า โดยการใช้ป้ายอิเล็กทรอนิกส์ที่ฝังไมโครชิปเก็บข้อมูล และสายอากาศ ทำงานโดยใช้เครื่องอ่านที่สื่อสารกับป้ายด้วยคลื่นวิทยุในการอ่านและเขียนข้อมูล
แนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคตแนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต • การใช้ระบุเอกลักษณ์บุคคล • การใช้งานในเชิงพาณิชย์ • การใช้งานในด้านการจราจร/ขนส่ง • หนังสือเดินทางและใบขับขี่ • เครื่องอ่านระดับน้ำตาล • ระบบงานห้องสมุด
จริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยี • 1) ไม่ควรให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ • 2) ไม่บิดเบือนความถูกต้องของข้อมูล ให้ผู้รับคนต่อไปได้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง • 3) ไม่ควรเข้าถึงข้อมูลของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต • 4) ไม่ควรเปิดเผยข้อมูลกับผู้ที่ไม่ได้รับอนุญาต • 5) ไม่ทำลายข้อมูล • 6) ไม่เข้าควบคุมระบบบางส่วน หรือทั้งหมดโดยไม่ได้รับอนุญาต
จริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยี • 7)ไม่ทำให้อีกฝ่ายหนึ่งเข้าใจว่าตัวเองเป็นอีกบุคคลหนึ่ง ตัวอย่างเช่น การปลอมอีเมล์ของผู้ส่งเพื่อให้ผู้รับเข้าใจผิด เพื่อการเข้าใจผิด หรือ ต้องการล้วงความลับ • 8)การขัดขวางการให้บริการของเซิร์ฟเวอร์ โดยการทำให้มีการใช้ทรัพยากรของเซิร์ฟเวอร์จนหมด หรือถึงขีดจำกัดของมัน ตัวอย่างเช่น เว็บเซิร์ฟเวอร์ หรือ อีเมล์เซิร์ฟเวอร์ การโจมตีจะทำโดยการเปิดการเชื่อมต่อกับเซิร์ฟเวอร์จนถึงขีดจำกัดของเซิร์ฟเวอร์ ทำให้ผู้ใช้คนอื่น ๆไม่สามารถเข้ามาใช้บริการได้
จริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยี • 9)ไม่ปล่อย หรือสร้างโปรแกรมประสงค์ร้าย (Malicious Program) ซึ่งเรียกย่อ ๆว่า (Malware) เป็นโปรแกรมที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อทำการ ก่อกวน ทำลาย หรือทำความเสียหายระบบคอมพิวเตอร์เครือข่าย โปรแกรมประสงค์ร้ายที่แพร่หลายในปัจจุบันคือ ไวรัสเวิร์ม และม้าโทรจัน • 10) ไม่ก่อความรำคาญให้กับผู้อื่นโดยวิธีการต่าง ๆ เช่น สแปม (Spam) (การส่งอีเมล์ไปยังผู้ใช้จำนวนมาก โดยมีจุดประสงค์เพื่อการโฆษณา) • 11) ไม่ผลิตหรือใช้สปายแวร์ (Spyware) โดยสปายแวร์จะใช้ช่องทางการเชื่อมต่อทางอินเตอร์เน็ตเพื่อแอบส่งข้อมูลส่วนตัวของผู้นั้นไปให้กับบุคคลหรือองค์กรหนึ่งโดยที่ผู้ใช้ไม่ทราบ • 12) ไม่สร้างหรือใช้ไวรัส
แบบฝึกหัดท้ายบท • 1. ข้อมูล หมายถึงอะไร • 2. สารสนเทศ หมายถึงอะไร • 3. ประโยชน์ของข้อมูลและสารสนเทศได้แก่อะไรบ้าง • 4 เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึงอะไร • 5. องค์ประกอบของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศประกอบด้วยอะไรบ้าง • 6. จงบอกประโยชน์ที่ได้จากเทคโนโลยีสารสนเทศ • 7. ปัจจัยที่ทำให้เกิดความล้มเหลวในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ได้แก่อะไรบ้าง • 8. จงยกตัวอย่างการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันมา 5 ตัวอย่าง • 9. จงบอกแนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคตว่าจะเป็นอย่างไร • 10. จงบอกการมีคุณธรรม และจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยี