1.56k likes | 2.08k Views
ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส( Opensource Software). เสรี ชิโนดม ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ seree@buu.ac.th. หัวข้อนำเสนอ. ประวัติความเป็นมาของซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส ความหมายของซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส สัญญาอนุญาตแบบต่างๆ กระแสโอเพนซอร์สในประเทศต่างๆ
E N D
ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส(Opensource Software) เสรีชิโนดม ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ seree@buu.ac.th
หัวข้อนำเสนอ • ประวัติความเป็นมาของซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส • ความหมายของซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส • สัญญาอนุญาตแบบต่างๆ • กระแสโอเพนซอร์สในประเทศต่างๆ • นโยบายการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศของไทยโดยใช้ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส • ตัวอย่างซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สที่ใช้ในปัจุบัน • แหล่งสืบค้นข้อมูลของซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส
History • ความคิดพื้นฐานของซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สให้คิดง่ายๆ คือเมื่อ programmers สามารถอ่าน ทำการเผยแพร่ และแก้ไข ปรับปรุงโปรแกรมต้นฉบับของซอฟต์แวร์แล้ว คนอื่นๆ สามารถปรับปรุงต่อได้ สามารถดัดแปลงและแก้ไข bugsที่เกิดขึ้น และcสามารถนำไปใช้งานแทนที่ซอฟต์แวร์ที่ใช้งานอยู่
History • มีอิสระภาพในการการแก้ไขและปรับปรุง สามารถใช้งานร่วมกันและสร้างสรรค์ร่วมกัน Open Source Now!
ยุคเริ่มต้น :UNIX • 1969 Ritchie และ Thompson,จาก AT&T Bell Labsได้พัฒนาระบบปฏิบัติการเล็กๆหนึ่งตัวขึ้น ซึ่งมีประสิทธิภาพมากใช้กับเครื่องPDP-7 ซึ่งเขาเรียกว่า Unix • ปี 1972, เขาทั้งสองได้สร้างภาษาสำหรับการเขียนโปรแกรมขึ้นเรียกว่า C language • ปี 1974 Unix ได้ถูกปรับปรุงโดยเขียนด้วยภาษา C และสามารถใฃ้ได้กับเครื่องหลาย platforms • Unix กลายเป็นระบบปฏิบัติการยอดนิยมในหมู่นักวิชาการ และ Source Code แจกฟรี
ยุคเริ่มต้น :UNIX • Berkeley ได้พัฒนาระบบปฏิบัติการเรียกว่า BSD ซึ่งพัฒนามาจาก UNIX และระบบของ AT&T และ BSD เสร็จเมื่อปี 1980 • AT&T ได้ปรับปรุงระบบปฏิบัติการของตนและได้รวบรวมคุณลักษณะบางอย่างของ BSD เข้ามาไว้ในระบบปฏิบัติการของตน • Vendors ได้พัฒนาระบบปฏิบัติการมากมายซึ่งเป็น proprietary versions ของ UNIX โดยมีฐานเป็น System 7 ของ AT&T
GNU (GNU ‘s not UNIX) • Richard Stallman ไม่พอใจนโยบายการใช้งานซอฟต์แวร์ของมหาวิทยาลัย จึงลาออกจาก MIT และทำการจัดตั้ง Free Software Foundation ในปี 1984 โดยมีจุดม่งหมายเพื่อพัฒนาระบบปฏิบัติการที่แจกจ่ายฟรีคล้าย UNIX และเรียกว่า GNU (GNU ‘s not UNIX)
ความสำเร็จของ GNU • มีโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นโดยใช้หลักการของGNU เช่น • Emacs เป็น Text Editor ที่มีความสามารถมากมาย • gcc- C compiler เป็น GNU Compiler ที่สามารถใช้ได้มากกว่า 30 platforms และสนับสนุนถึง 7 ภาษา • Bash shell • Hurd (OS) start • 1985 GNU ได้ประกาศเป็นทางการ • แต่อย่างไรก็ตาม Kernel หรือ Core ของระบบปฏิบัติการยังไม่สมบูรณ์
ลีนุกซ์ • ลีนุกซ์พัฒนาขึ้นโดย ลีนุส ทอร์วัลด์ส (Linus Torvalds) ในปี 1991 ขณะนั้นกำลังศึกษา ปริญญาโท สาขา Computer Scienceที่มหาวิทยาลัยเฮลซิงกิ (Helsinki) ในประเทศฟินแลนด์
ลีนุกซ์ • ลีนุส ทอร์วัลด์ส พัฒนาระบบลีนุกซ์โดย ศึกษาระบบปฏิบัติการมินิกซ์ (Minix) ซึ่งพัฒนามาจากยูนิกซ์เพื่อใช้งานบน • เครื่องคอมพิวเตอร์พีซี • • ลีนุสทอร์วัลด์ส เห็นว่ามินิกซ์ยังใช้งาน • ไม่ได้ดีจึงปรับปรุงพัฒนาใหม่จากยูนิกซ์ได้เป็นลีนุกซ์ • การตั้งชื่อระบบปฏิบัติการตาม • ชื่อของ Linus
Cathedral & Bazaar • เผยแพร่ในปี 1997 โดย Eric S Raymond • แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างขั้นพื้นฐานของรูปแบบ การพัฒนาซอฟต์แวร์ให้สิทธิการใช้กับซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส โดยการใช้ลีนุกซ์ (Linux) เป็นตัวแทนของซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส
Cathedral & Bazaar • Raymond ใช้คำว่า “Cathedral” ซึ่งหมายถึงรูปแบบส่วนใหญ่ในโลกเชิงธุรกิจและ “Bazaar” ว่าหมายถึง รูปแบบของโลกลินุกซ์ (Linux World) ซึ่งผู้พัฒนาอิสระนับพันคนจากทั่วโลก มีการติดต่อกันโดยทางของอินเทอร์เน็ต เพื่อร่วมกันพัฒนาระบบปฎิบัติการที่น่าเชื่อถือที่สุดที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน • 1998 Eric Raymond ได้ช่วย บริษัท Netscape ในการจัดทำ ‘open source’ • พยายามสนับการพัฒนาแบบ free software
เปรียบเทียบการพัฒนาของซอฟต์แวร์ให้สิทธิการใช้กับซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส
เปรียบเทียบลักษณะทั่วไปของซอฟต์แวร์ให้สิทธิการใช้กับซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สเปรียบเทียบลักษณะทั่วไปของซอฟต์แวร์ให้สิทธิการใช้กับซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส
สรุปโอเพนซอร์สคือ Open Source ≅ Free Software Free Software ≠ Freeware Free Software ≠ Freeware ฟรีแต่ขายได้
Free Software คืออะไรwww.fsf.org ซอฟต์แวร์ที่มีเสรีภาพ ในการ • ใช้งาน (freedom to run ) • ศึกษา (freedom to study) • แจกจ่ายต่อ (freedom to redistribute) • ปรับปรุง (freedom to improve)
โอเพนซอร์สต้องรวมความดังต่อไปนี้โอเพนซอร์สต้องรวมความดังต่อไปนี้ • Free Redistributionเผยแพร่ได้อย่างเสรี; ไม่จำกัดไม่ให้ขายหรือแจก; ทำซ้ำ ขาย หรือแจกจ่ายได้โดยไม่ต้องจ่ายค่า Royalty fee • Source Codeซอร์สโค้ด:นอกจากโปรแกรมที่ compile แล้วต้องเผยแพร่ Source code ด้วย • Derived Worksงานต่อเนื่อง ;อนุญาตให้แก้ไข ปรับแต่ง ดัดแปลง และต้องเผยแพร่ต่อภายใต้ license ต้นฉบับ
โอเพนซอร์สต้องรวมความดังต่อไปนี้โอเพนซอร์สต้องรวมความดังต่อไปนี้ • Integrity of the Authors Source Codeการคงความสมบูรณ์ในซอร์สโค้ดของผู้เขียน;ต้นฉบับอาจกำหนดให้เผยแพร่ฉบับแก้ไขได้ด้วย patch file เพื่อระบุส่วนความรับผิดชอบของ Source code • No Discrimination Against Persons or Groupsการไม่เลือกปฏิบัติต่อบุคคลหรือกลุ่ม ; ไม่แบ่งแยกหรือกีดกันบุคคลหรือกลุ่มบุคคลในการเข้าถึงซอฟต์แวร์ • No Discrimination Against Fields of Endeavorการไม่เลือกปฏิบัติในการจำกัดสาขาการใช้งาน; • ไม่แบ่งแยกหรือกีดกันการใช้ซอฟต์แวร์เฉพาะงานหรือสาขา
โอเพนซอร์สต้องรวมความดังต่อไปนี้โอเพนซอร์สต้องรวมความดังต่อไปนี้ • Distribution of Licenseการเผยแพร่สัญญาอนุญาต; ต้องให้สิทธิเท่าเทียมกันกับทุกฝ่าย โดยต้องไม่มี license เพิ่มเติมเฉพาะฝ่าย; ป้องกันการเรียกร้อง non-disclosure agreement • License Must Not Be Specific to a Productสัญญาอนุญาตต้องไม่เจาะจงผลิตภัณฑ์; ทุกส่วนของต้นฉบับต้องอนุญาตสิทธิที่เท่าเทียมกันสำหรับทุกฝ่ายในการนำไปใช้งาน
โอเพนซอร์สต้องรวมความดังต่อไปนี้โอเพนซอร์สต้องรวมความดังต่อไปนี้ • The License Must Not Restrict Other Softwareสัญญาอนุญาตต้องไม่จำกัดซอฟต์แวร์อื่นๆ License ต้องไม่มีผลถึงซอฟต์แวร์อื่นที่เผยแพร่ไปในสื่อเดียวกัน • No provision of the license may be predicated on any individual technology or style of interfaceสัญญาอนุญาตต้องเป็นกลางทางเทคโนโลยี ไม่มีบทบัญญัติในสัญญาอนุญาตที่ไม่ผูกกับเทคโนโลยีหรือรูปแบบอินเตอร์เฟสแบบใดแบบหนึ่ง
ซอฟต์แวร์เสรี (Free Software) • คำว่าซอฟต์แวร์เสรี (บางครั้งก็เรียกว่าฟรีซอฟต์แวร์) หมายถึง อิสรภาพในการใช้ซอฟต์แวร์นั้นๆ ในทุกๆ วัตถุประสงค์ ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาการทำงานของโปรแกรม การประยุกต์ซอฟต์แวร์ให้เป็นไปตามความต้องการของผู้ใช้ การเผยแพร่ซ้ำและการเพิ่มขีดความสามารถในโปรแกรมและเผยแพร่โปรแกรมที่มีการปรับปรุงแล้วสู่สาธารณชนเพื่อประโยชน์ของประชาคมโดยรวม
ซอฟต์แวร์สาธารณะ (Public domain software) • ซอฟต์แวร์สาธารณะเป็นซอฟต์แวร์ที่ไม่มีลิขสิทธิ์ ในบางกรณีโปรแกรมกระทำการ (Executable Program) สามารถอยู่ใน Public Domain โดยไม่มีซอร์สโค้ดให้ ซึ่งไม่จำกัดว่าเป็นซอฟต์แวร์เสรี เพราะซอฟต์แวร์เสรีต้องสามารถเข้าถึงซอร์สโค้ดได้
Copylefted software • Copylefted software เป็นซอฟต์แวร์เสรีที่มีข้อกำหนดเกี่ยวกับการเผยแพร่ซอฟต์แวร์นั้นๆ ว่า ผู้ที่ทำการดัดแปลงและเผยแพร่ซอฟต์แวร์ซ้ำ จะไม่สามารถตั้งข้อจำกัดในการใช้ซอฟต์แวร์นั้นๆ ได้ ซึ่งหมายความว่า ซอฟต์แวร์เสรีที่เป็น Copylefted software ถึงแม้จะมีการนำมาดัดแปลง ก็จะต้องยังคงเป็นซอฟต์แวร์เสรีอยู่
ฟรีแวร์ (Freeware) • ฟรีแวร์มักจะใช้กับชุดของซอฟต์แวร์ที่อนุญาตให้เผยแพร่ซ้ำได้แต่ไม่สามารถดัดแปลงซอฟต์แวร์ได้ ฟรีแวร์จะไม่ให้ซอร์สโค้ด ซึ่งซอฟต์แวร์ในลักษณะนี้จะไม่ใช่ซอฟต์แวร์เสรี
แชร์แวร์ (Shareware) • แชร์แวร์ เป็นซอฟต์แวร์ที่มาพร้อมกับการอนุญาตอให้ผู้ใช้สามารถเผยแพร่ซ้ำซอฟต์แวร์นั้นๆ แต่ผู้ที่ใช้ซอฟต์แวร์นั้นต่อจะต้องจ่ายค่าสัญญาอนุญาต แชร์แวร์ไม่ใช่ซอฟต์แวร์เสรีหรือแม้แต่กึ่งซอฟต์แวร์เสรีโดยส่วนใหญ่ แชร์แวร์จะไม่ให้ซอร์สโค้ด
ซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์ (Commercial Software) • ซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์เป็นซอฟต์แวร์ที่พัฒนาโดยธุรกิจซึ่งมีจุดมุ่งหมายในการหารายได้จากผู้ใช้ซอฟต์แวร์ • ซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์ กับ ซอฟต์แวร์ให้ใช้สิทธิ์ ไม่เหมือนกัน โดยซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์ส่วนใหญ่เป็นซอฟต์แวร์ที่ให้สิทธิ์การใช้แต่ก็มีบ้างที่เป็นซอฟต์แวร์เสรีเชิงธุรกิจ และก็มีบ้างที่ไม่ใช่ซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์และไม่ใช่ซอฟต์แวร์เสรี
Open Source Licensing • ทำไมต้องซอฟต์แวร์เพนซอร์สต้องมีสัญญาอนุญาต • ถ้าไม่มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขสัญญาอนุญาต กฏหมายลิขสิทธิ์ ไม่มีการรับประกันให้ผู้ใช้มีอิสระในการแก้ไข และ/หรือการเผยแพร่ทำซ้ำ
สัญญาอนุญาต(License) • ปัจจุบันมีข้อสัญญาอนุญาตมากมายที่สามารถจำแนกออกเป็นกลุ่มๆได้ที่เป็นสัญญาอนุญาตพื้นฐานและเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางได้แก่ • The GNU General Public License (GPL) • The GNU Library or "Lesser" Public License (LGPL) • The BSD license • The MIT license • The Artistic license • The Mozilla Public Licensev. 1.0 (MPL)
สัญญาอนุญาต(2) • The Qt Public License (QPL) • The IBM Public License • The MITRE Collaborative Virtual Workspace License (CVW License) • The Ricoh Source Code Public License • The Python license (CNRI Python License) • The Python Software Foundation License • The zlib/libpng license • The Apache Software License • The Vovida Software License v. 1.0 • The Sun Industry Standards Source License (SISSL) • The Intel Open Source License
สัญญาอนุญาต(3) • The Mozilla Public License 1.1 (MPL 1.1) • The Jabber Open Source License • The Nokia Open Source License (NOKOS License) Version 1.0a • The Sleepycat License • The Nethack License • The Common Public License • The Apple Public Source License • The X.Net License • The Sun Public License
สัญญาอนุญาต(4) • The Effiel Forums License • The W3C License • The Motosoto License • The Open Group Test Suite License • The Zope Public License • The zlib/libpng License • The Academic Free License • The Attribution Assurance License
สามารถดูรายละเอียดได้ที่สามารถดูรายละเอียดได้ที่ • http://www.gnu.org/ • http://www.opensource.org/ • http://conferences.oreillynet.com/os2002/ • http://www.slat.org/project/legal/GNU_GPL_Chinese • http://www.gnu.org/licenses/translations.zh.html
The public Domain • ทำไม ซอฟต์แวร์เพนซอร์สจึงไม่ใช้สัญญาอนุญาตแบบ public domain • เนื่องจากถ้าซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สใช้สัญญาอนุญาตแบบ public domain แล้วผู้พัฒนาจะสูญเสียสัญญาอนุญาต เนื่องจากจะทำให้ใครๆสามารถใช้ code นั้นอย่างอิสระเพื่อทำอะไรก็ได้
GPL :GNU General Public License • เป็นสัญญาอนุญาตที่มีข้อจำกัดทางด้านการค้ามากที่สุด • การเปลี่ยนแปลงแก้ไขจะต้องเผยแพร่โปรแกรมต้นฉบับด้วย • GPL code จะต้องแจกฟรี • สามารถทำซ้ำได้
The BSD Licenses • BSD Unix ของ Berkeley • ถ้าต้องการซอร์สโค้ดที่ดัดแปลงให้รวมกับซอฟต์แวร์อื่น • อนุญาตให้เป็นการใช้งงานแบบ proprietary software ได้
Artistic License • เป็นสัญญาอนุญาตที่ Larry Wall ใช้สำหรับพัฒนาภาษา Perl เนื่องจากเขาไม่พอใจสัญญาอนุญาตแบบ GPL • อนุญาตให้ใช้แบบ Proprietary software • มีข้อจำกัดน้อยในการเผยแพร่ Binary code
LGPL • สามารถรวมกับซอฟต์แวร์ที่ไม่ฟรี • รวมกับซอฟต์แวร์อนุญาตให้สิทธิ์และเผยแพร่ซ้ำ • รวมกับซอฟต์แวร์GPL และเผยแพร่ซ้ำ • ต้องแบ่งปันซอร์สของรุ่นเผยแพร่ซ้ำ
ข้อแนะนำสำหรับสัญญาอนุญาต OSS ที่เหมาะสมกับความต้องการ
ตัวอย่าง License • GPL : Emacs • LGPL : C Library [can include in product] • X, BSD, Apache [gov. own; approx. public domain] • Artistic : Perl [non-sale, but can sell if others] • MPL : Mozilla [no allowing Netscape to re-distribution the mod.] • NPL : Netscape [allow Netscape to re-distribution the mod.]
ข้อดี-ข้อเสียของ OSS ข้อดี • เทคโนโลยี: ต่อยอด, นวัตกรรม, มาตรฐาน, ความปลอดภัย • เศรษฐกิจ: ประหยัดงบประมาณ, ลดต้นทุน การผลิต • สังคม: ลดช่องว่างของการเข้าถึงข่าวสาร, ป้องกันการผูกขาด • บุคลากร: พัฒนาบุคลากร, โปรแกรมเมอร์ • จริยธรรม: ลดปัญหาซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ สามารถกำหนด License ใหม่ได้
ข้อดี-ข้อเสียของ OSS • ข้อดี • ทำให้ซอฟต์แวร์ราคาลดลง • ข้อเสีย • มีหลากหลาย • ผู้ใช้ขาดความเชื่อมั่น • การรักษาความปลอดภัย ยังมองต่างมุม • เอกสารที่เกี่ยวข้องเผยแพร่ยังมีน้อยมาก • ขาดบุคลากร
กระแสนิยมโอเพนซอร์สในต่างประเทศกระแสนิยมโอเพนซอร์สในต่างประเทศ • จีน: • YangFan, Qihang, RedFlag • ญี่ปุ่น: • METI เริ่มโครงการทดลองใช้โอเพนซอร์สในสำนักงาน • Sharp, Fujitsu, Toshiba, IBM, ... • Turbo Linux, Vine Linux, ... • เกาหลี: • โอเพนซอร์สในสำนักงานของรัฐ • Hancom Linux (office suite in Sharp Zaurus)
กระแสนิยมโอเพนซอร์สในต่างประเทศกระแสนิยมโอเพนซอร์สในต่างประเทศ • อินเดีย: • เอพีเจ อับดุล คาลาม (A.P.J. Abdul Kalam) ประธานาธิบดีอินเดีย หนุนซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์ส โดยกล่าวว่าซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์ส ช่วยให้ประเทศกำลังพัฒนา เช่น อินเดีย มีโอกาสก้าวได้ทัดเทียมกับชาติตะวันตกหรือประเทศที่พัฒนาแล้วทั่วโลก • เยอรมัน: • คณะผู้บริหารเมืองมิวนิก ประเทศเยอรมนี ได้ประกาศอัพเกรดคอมพิวเตอร์จำนวน 14,000 เครื่อง จากระบบ Windows ไปเป็น Linux รวมถึงเปลี่ยนชุดซอฟต์แวร์ออฟฟิศจาก Microsoft Office ไปเป็น OpenOffice ด้วย คิดเป็นมูลค่า 30 ล้านยูโร (ประมาณ 1.5 พันล้านบาท)
กระแสนิยมโอเพนซอร์สในต่างประเทศกระแสนิยมโอเพนซอร์สในต่างประเทศ • ฟิลิปปินส์: • Bayanihan Linux (based on RH 7.3) • ELGU (tax collection, real-estate property management, e-business) • แผนปฏิบัติการโอเพนซอร์ส 2003 • เวียดนาม: • RedHat Vietnam Edition (based on RH 7.1) • Vietkey Linux
กระแสนิยมโอเพนซอร์สในต่างประเทศกระแสนิยมโอเพนซอร์สในต่างประเทศ • เวเนซุเอลา: • รัฐบาลกำหนดนโยบายและสนับสนุนการใช้งานซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สทุกรูปแบบ • สเปน: • ใน Extremadura region ได้มีการเปลี่ยนแปลงระบบคอมพิวเตอร์ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานทางธุรกิจ การใช้งานที่บ้านและการใช้งานในสำนักงานของหน่วยงานราชการทั้งหมดเปลี่ยนมาใช้ลีนุกซ์แทน
กระแสนิยมโอเพนซอร์สในต่างประเทศกระแสนิยมโอเพนซอร์สในต่างประเทศ • สหประชาชาติ: • หนังสือพิมพ์นิวยอร์ก ไทมส์ รายงานโดยอ้างความเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่กล่าวแก่กลุ่มนักลงทุนและเจ้าหน้าที่กำหนดนโยบาย ในงานประชุมเน็ต เวิลด์ ออร์เดอร์ ว่า รัฐบาลประเทศกำลังพัฒนาจะสามารถเสริมสร้างเศรษฐกิจของตนได้โดยการกวาดล้างคอรัปชั่น, ปรับปรุงศักยภาพรัฐ และใช้เทคโนโลยีโอเพ่นซอร์สในการพัฒนาโครงข่ายข้อมูลข่าวสารที่น่าเชื่อถือและมีราคาถูก • กลุ่มผู้บริหารที่เข้าร่วมงานได้ให้ความเห็นว่า การอาศัยระบบปฏิบัติการโอเพ่นซอร์สที่เป็นเทคโนโลยีระดับพื้นฐานและมีต้นทุนต่ำ จะช่วยให้ประเทศกำลังพัฒนามีโอกาสสร้างเศรษฐกิจที่เข้มแข็งของตนเองได้
บริษัทยักษ์ใหญ่ใช้โอเพนซอร์สบริษัทยักษ์ใหญ่ใช้โอเพนซอร์ส • บริษัทหลักทรัพย์ยักษ์ใหญ่ของอเมริกา เช่น เมอร์ริล ลินช์ หันมาใช้ลีนุกซ์ ซึ่งช่วยประหยัดเงินได้นับล้านดอนลาร์สหรัฐ พร้อมดินหน้าปรับสถาปัตยกรรมโครงสร้างข้อมูลใหม่ทั้งระบบด้วยลีนุกซ์โดยใช้เป็นทั้งเครื่องแม่ข่าย และลูกข่าย • บริษัท เวอริซ่อน ผู้ให้บริการโทรคมนาคม ยืนยันว่า บริษัทประหยัดต้นทุนค่าอุปกรณ์ภายในองค์กรได้เกือบ 6 ล้านดอนลาร์สหรัฐ • ส่วนอเมซอนดอทคอมสามารถประหยัดเงินได้นับล้านดอลลาร์สหรัฐ