230 likes | 403 Views
E 20. E20 คืออะไร E20 คือน้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่วผสมกับเอทานอลซึ่งเป็นแอลกอฮอล์ บริสุทธิ์ 99.5% ในอัตราส่วน เบนซิน 80 : เอทานอล 20 ได้เป็นน้ำมัน E 20 ออกเทน 95 ตามมาตรฐานของกระทรวงพลังงาน . E20 ใช้กับเครื่องยนต์แบบไหน
E N D
E20 คืออะไร E20 คือน้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่วผสมกับเอทานอลซึ่งเป็นแอลกอฮอล์ บริสุทธิ์ 99.5% ในอัตราส่วน เบนซิน 80 : เอทานอล 20 ได้เป็นน้ำมัน E 20 ออกเทน 95 ตามมาตรฐานของกระทรวงพลังงาน
E20 ใช้กับเครื่องยนต์แบบไหน E20 ใช้ได้กับเครื่องยนต์ที่ออกแบบมาสำหรับการใช้ E 20 โดยรถที่สามารถ ใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ E 20 ได้ยังสามารถใช้น้ำมันเบนซินออกเทน 95 และน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95 ได้อีกด้วย
เอทานอล ใน E20 ทำจากอะไร E20 มีส่วนผสมของเอทานอลที่ผลิตได้เองจากพืชผลเกษตรในประเทศถึง 20% (มันสำปะหลัง) ซึ่งพลังงานชีวภาพเหล่านี้ช่วยลดมลพิษจาก การเผาไหม้ โดยลดคาร์บอนไดออกไซด์ และสารไฮโดรคาร์บอนลงจึง ลดการเกิดภาวะโลกร้อน
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ E20 1.สมรรถนะของเครื่องยนต์เมื่อเปรียบเทียบกับน้ำมันเบนซิน - ด้วยสัดส่วนของเอทานอลที่เพิ่มขึ้นเป็น 20% ช่วยให้การเผาไหม้สมบูรณ์ ทำให้เครื่องยนต์ สะอาดขึ้น กำลังของเครื่องยนต์ และแรงบิดจึงมี ประสิทธิภาพดีขึ้น - อัตราเร็วสูงสุดใกล้เคียงกับการใช้น้ำมันเบนซิน
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ E20 2.รถรุ่นไหนบ้างที่ใช้ E20 ได้ ในเบื้องต้นจะมีรถยนต์แก๊สโซฮอล์ E 20 จำหน่ายในปี 51 ประมาณ 60,000คัน จาก 5 ยี่ห้อ(ข้อมูลจากบริษัทรถยนต์ ณ วันที่ 20 ธันวาคม 2550) - Ford : Focus ทุกรุ่นตั้งแต่ปี 2005, Escape 3.0 L ตั้งแต่ปี 2005 - Honda : Accord, CR-V, Civic, City รุ่นปี 2008 - Mazda : Mazda 3 - Mitsubishi : New Space Wagon minor change - Nissan : Tiida, Teana รุ่นปี 2008 - Toyota : Camry, New Altis, New Vios รุ่นปี 2008
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ E20 3.รถที่ใช้แก๊สโซฮอล์ อยู่ในปัจจุบันจะเปลี่ยนไปใช้ E 20 ได้หรือไม่ รถที่จะใช้ E 20 ได้ ต้องเป็นรถที่ออกแบบมาเฉพาะ โดยมีการพัฒนาอุปกรณ์บางอย่างในระบบน้ำมันเชื้อเพลิงให้เหมาะสม เพื่อรองรับส่วนผสมของเอทานอลที่สูงกว่าร้อยละ 10 ทั้งนี้เนื่องจากปริมาณเอทานอลที่สูงขึ้นเป็นร้อยละ 20 ในแก๊สโซฮอล์ E 20 นั้น จะส่งผลถึงความสามารถในการกัดกร่อนยาง และโลหะ หรือทองแดง ในระบบเก็บส่งน้ำมันในเครื่องยนต์
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ E20 3.รถที่ใช้แก๊สโซฮอล์ อยู่ในปัจจุบันจะเปลี่ยนไปใช้ E 20 ได้หรือไม่ จากการศึกษาพบว่าชิ้นส่วนที่สัมผัสกับน้ำมันโดยตรง เช่น ถังน้ำมัน ท่อส่งน้ำมัน หัวฉีด คาบูเรเตอร์ ที่ทำจากโลหะ ทองเหลือง ทองแดง ยาง พลาสติก รวมถึงระบบสมองกล ECU จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนให้เหมาะสม ปัจจุบันมีค่ายรถยนต์เพียงรายเดียวที่ออกแบบชิ้นส่วนให้รองรับการใช้ E 20 ได้แก่ ฟอร์ด โฟกัส โดยปรับเปลี่ยนโลหะบางชนิดมาใช้สเตนเลสแทน ซึ่งทนทานกว่า และคาดว่าในปีนี้ค่ายรถยนต์อื่นๆ จะเปิดตัวรถยนต์ที่รองรับการใช้ E 20 หลังรัฐบาลให้การสนับสนุนมาตรการด้านภาษีกับรถยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงแก๊สโซฮอล์ E 20 ในปี 2551
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ E20 4.มีประเทศไหนบ้างที่ใช้น้ำมัน E 20 มีหลายประเทศใช้เอทานอลผสมในสัดส่วน 15% - 100% (E15-E100) เช่น บราซิล, อเมริกา, สวีเดน, อาร์เจนตินา เป็นต้น 5.ในเมืองไทยสามารถเติม E 20 ได้ที่ไหนบ้าง สถานีบริการน้ำมันแก๊สโซฮอล์ E 20 ปัจจุบันมีอยู่ทั้งสิ้น 18 แห่ง โดยเป็นของ บางจาก 5 แห่ง และของ ปตท อีก 12 แห่ง
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ E20 สถานีบริการน้ำมัน บางจาก ที่จำหน่าย E20 5 สถานี - สาขาสุขาภิบาล 1 - สาขาเกษตร - สาขาคู่ขนานรามอินทรา-อาจณรงค์ 2 - สาขาเอกมัย - สาขาพระราม 3
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ E20 • สถานีบริการน้ำมันปตท. ที่จำหน่าย “ พีทีที E20 พลัส ” 12 สถานี • - สาขาทางด่วนบางนาขาออก(สุขุมวิท 62) - หจก. ศรีเจริญภัณฑ์ (วิภาวดี)- สาขาบางบอน - บจก. เกษตรนวมินทร์ปิโตรเลียม • สาขากรมช่างอากาศ - บจก. ที.3 เจ. (ราชพฤกษ์) • สาขาการท่าอากาศยาน 2 (ดอนเมือง) - สาขาองค์การแบตเตอรี่ - บจก. ปิโตรเลียมน้ำมัน (รามอินทรา) - หจก. สุวัจชัยออยล์ (ประชาชื่น)- สาขาสำนักงานใหญ่ - บจก.นาคสวัสดิ์
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ E20 6.อัตราภาษีสรรพสามิตรถยนต์ E20 กระทรวงการคลังได้ออกประกาศ เรื่อง ลดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ 80) เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2550 (เอกสารแนบ 2) และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2551 โดยลดอัตราภาษีสรรพสามิตรถยนต์ที่สามารถใช้เชื้อเพลิงประเภทเอทานอลไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 เป็นส่วนผสมกับน้ำมันเชื้อเพลิง ดังนี้ - รถยนต์ที่มีความจุกระบอกสูบไม่เกิน 2,000 ลบ.ซม. และมีกำลังเครื่องยนต์ ไม่เกิน 220 แรงม้า จากอัตราภาษีที่จัดเก็บในปัจจุบันร้อยละ 30 (ซึ่งมีเพดานภาษีร้อยละ 50) ลดลงเหลือร้อยละ 25
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ E20 - รถยนต์ที่มีความจุกระบอกสูบเกิน 2,000 ลบ.ซม. แต่ไม่เกิน 2,500 ลบ.ซม. และมีกำลังเครื่องยนต์ไม่เกิน 220 แรงม้า จากอัตราภาษีที่จัดเก็บในปัจจุบันร้อยละ 35 (ซึ่งมีเพดานภาษีร้อยละ 50) ลดลงเหลือร้อยละ 30 - รถยนต์ที่มีความจุกระบอกสูบเกิน 2,500 ลบ.ซม. แต่ไม่เกิน 3,000 ลบ.ซม. และมีกำลังเครื่องยนต์ไม่เกิน 220 แรงม้า จากอัตราภาษีที่จัดเก็บในปัจจุบันร้อยละ 40 (ซึ่งมีเพดานภาษีร้อยละ 50) ลดลงเหลือร้อยละ 35 - รถยนต์ที่มีความจุกระบอกสูบเกิน 3,000 ลบ.ซม. หรือมีกำลังเครื่องยนต์เกิน 220 แรงม้า จัดเก็บคงเดิมในอัตราภาษีจัดเก็บในปัจจุบันร้อยละ 50
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ E20 7.รถยนต์ที่จะใช้อัตราภาษีสรรพสามิตรถยนต์ใหม่นี้ จะต้องมีคุณลักษณะ ครบถ้วนทุกข้อดังนี้ 1. เป็นรถยนต์ที่ถูกออกแบบและผลิต ให้ใช้เชื้อเพลิงประเภทเอทานอลไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 เป็นส่วนผสมกับน้ำมันเชื้อเพลิงได้ และต้องผลิตโดยโรงงานอุตสาหกรรมที่ผลิตรถยนต์รุ่นนั้นๆ โดยตรง 2. มีการรับประกันจากผู้ผลิตว่าสามารถใช้เชื้อเพลิงประเภทเอทานอลไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 เป็นส่วนผสมกับน้ำมันเชื้อเพลิงได้ 3. ต้องได้รับการรับรองมาตรฐานมลพิษจากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ไม่ต่ำกว่าระดับมอก. 2160-2546
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ E20 8.มาตรฐานน้ำมันแก๊สโซฮอล์ E20ตามประกาศของกรมธุรกิจพลังงานเรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันแก๊สโซฮอล์ พบว่าคุณภาพของน้ำมันแก๊สโซฮอล์ E 20 นั้น แทบจะไม่ได้แตกต่างจากน้ำมันแก๊สโซฮอล์ E10 มีค่าเพียง 3 ค่าที่แตกต่างกันคือ 1. อุณหภูมิการกลั่น 2. ความดันไอสูง 3. ปริมาณผสมเอทานอล
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ E20 9.ประโยชน์ของการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ E 20 ต่อผู้บริโภค 1. ผู้บริโภคได้ใช้น้ำมันเบนซินออกเทน 95 ในราคาถูกลงกว่าลิตรละ 5 บาท 2. ราคารถยนต์ที่ใช้ E20 ถูกลงจากการลดภาษีสรรพสามิตประมาณคันละ 5 หมื่น -1 แสนบาท 10.ข้อดีของการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ 1. การเผาไหม้ของ E 20 สมบูรณ์กว่าน้ำมันเบนซินปกติ จึงช่วยเพิ่มกำลังและ แรงบิดของเครื่องยนต์ 2. การใช้แก๊สโซฮอล์ E 20 ช่วยลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจกกว่าร้อยละ 30 3. ช่วยพยุงราคาพืชผล(มันสำปะหลัง) ซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตเอทานอล 4. ลดการนำเข้าน้ำมันเบนซิน
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ E20 FFV (Flexible Fuel Vehicle) เป็นรถยนต์ที่ได้รับการออกแบบให้มีระบบเซ็นเซอร์สำหรับตรวจสอบอัตราส่วนผสมของเอทานอลกับน้ำมันเบนซิน และสามารถใช้น้ำมันที่มีส่วนผสมของเอทานอลในอัตราส่วนต่างๆ ( E15 – E100)ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รถยนต์ FFV ได้มีการปรับเปลี่ยนวัสดุระบบเชื้อเพลิง เช่น ถังน้ำมัน ท่อจ่ายน้ำมัน และหัวฉีดน้ำมัน ให้ทนต่อการกัดกร่อนของเอทานอลได้ ซึ่งโดยรวมแล้วระบบต่างๆ ของรถยนต์ FFV แทบจะไม่แตกต่างจากรถยนต์ทั่วไป
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ E20 เพิ่มเติมเรื่องอื่นๆ - ความคืบหน้าเพิ่มเติม เกี่ยวกับสถานการณ์น้ำมันแก็สโซฮอล์ที่มีส่วนผสม ของเอทานอล 85% หรือ E85 โดยปัจจุบันกำลังอยู่ในขั้นตอนการวิจัยของ บางจาก และมีแนวโน้มสูงที่จะสามารถนำมาใช้ในประเทศไทยภายในปี 2552 นี้ ท่ามกลางการคัดค้านของบริษัทผู้ผลิตรถยนต์หลายราย - ยังไม่มีผู้ผลิตรถยนต์รายใด ให้การรับรองรถยนต์ที่ผลิตและจำหน่ายก่อน ปี 2551 ว่าสามารถใช้น้ำมัน E 20ได้ ยกเว้นฟอร์ดบางรุ่น - ราคาน้ำมันแก็สโซฮอล์ E 20 ในปัจจุบันจะถูกกว่าเบนซิน 95 อยู่ถึง 6 บาท โดยจะมีผลถึงวันที่ 31 มีนาคม 2551 นี้
ปัญหาจาก E20 เนื่องจาก เอทานอลคือแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ มีคุณสมบัติเด่นที่ต่างจากน้ำมันเบนซิน เช่น จุดเดือดของแอลกอฮอล์จะต่ำกว่าน้ำมันทำให้มีแรงดันไอมากกว่า ซึ่งจะมีปัญหากับรถบางรุ่น โดยเฉพาะรถรุ่นเก่าที่ใช้คาร์บิวเรเตอร์ ที่มีถังน้ำมันติดตั้งห่างจากตัวเครื่องยนต์มากเกินไป หรือรถยนต์ที่มีขนาดของท่อเชื้อเพลิงที่เล็กเกินไป อาจมีผลทำให้แอลกอฮอล์ที่อยู่ในท่อเชื้อเพลิงเปลี่ยนสภาพจากของเหลวเป็นไอได้ง่าย เนื่องจากความฝืดของท่อมีมาก ส่งผลให้การหมุนของเครื่องยนต์มีความเร็วรอบไม่สม่ำเสมอ เครื่องจะกระตุกหรือดับในบางช่วง
ปัญหาจาก E20 นอกจากนี้ แอลกอฮอล์ยังมีคุณสมบัติการกัดกร่อนสูง ยิ่งสัดส่วนของแอลกอฮอล์ในน้ำมันมากขึ้นจะยิ่งเพิ่มคุณสมบัติการกัดกร่อนให้เพิ่มมากขึ้นด้วย ซึ่งสามารถกัดกร่อนยาง พลาสติกบางชนิด และโลหะประเภททองเหลือง ทองแดง และอาจส่งผลให้ท่อส่งน้ำมันไปจนถึงถังน้ำมันเกิดการผุกร่อนจนทะลุได้ภายในระยะเวลาประมาณ ครึ่งปี – 1 ปี
ปัญหาจาก E20 สำหรับผู้ที่ใช้ แก็สโซฮอล์ E10 แล้วยังมีปัญหา ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มผู้ใช้รถที่มักจะจอดรถทิ้งไว้นานๆ ไม่ได้ใช้รถเป็นประจำ ทำให้แอลกอฮอล์กับน้ำมันเกิดการแยกตัวออกจากกันเพราะ ทิ้งไว้เป็นเวลานานเกินไป แอลกอฮอล์ซึ่งมีน้ำหนักเบากว่าจะลอยอยู่ด้านบน เมื่อมีการใช้รถ เชื้อเพลิงที่ถูกสูบเข้าไปในห้องเครื่องจะไม่ใช่น้ำมันแก๊สโซฮอล์ แต่จะเป็นแอลกอฮอล์ที่มีความเข้มข้นสูงมากหรือเทียบได้กับการใช้แอลกอฮอล์ล้วน ๆ เป็นเชื้อเพลิง ทำให้เกิดปัญหากับระบบเผาไหม้ของเครื่องยนต์
ที่มาของข้อมูล - บริษัท บางจากปิโตเลียม จำกัด(มหาชน) - บริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) - สำนักนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน - หนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ - หนังสือพิมพ์ ไทยรัฐ - หนังสือพิมพ์ ฐานเศรษฐกิจ - เว็บไซท์ ไทยแลนด์ อินดัสตรี ดอทคอม * ข้อมูลจากแหล่งที่เชื่อถือได้