200 likes | 404 Views
แนวคิด การ ขัดกันทางค่านิยม ( Value Conflict ). นักทฤษฎีการขัดกัน. แนวคิดการขัดกันทางค่านิยม เป็นการผสมผสานแนวคิดการขัดกันของยุโรปและอเมริกาเข้าด้วยกัน
E N D
แนวคิด การขัดกันทางค่านิยม (Value Conflict)
นักทฤษฎีการขัดกัน • แนวคิดการขัดกันทางค่านิยม เป็นการผสมผสานแนวคิดการขัดกันของยุโรปและอเมริกาเข้าด้วยกัน • นักทฤษฎีการขัดกันคนสำคัญของยุโรป คือ Ludwig GomplowiczKarl Marx Gustav Ratzenhoferและ George Simmelแต่ผู้ให้ความคิดแก่แนวคิดการขัดกันทางค่านิยมคนสำคัญได้แก่ Marx และ Simmel
Karl Marx (5 พฤษภาคม 1818 - 14 มีนาคม 1883) ชาวเยอรมัน ปราชญ์ นักเศรษฐศาสตร์ สังคมวิทยาประวัติศาสตร์ นักข่าว และการปฏิวัติสังคมนิยม ความคิดของเขามีบทบาทสำคัญในการพัฒนาวิทยาศาสตร์ทางสังคมและการเคลื่อนไหวสังคมนิยม Marx กล่าวว่า การต่อสู้ดิ้นร้นระหว่างชนชั้นเป็นตัวกำหนดรูปแบบของสังคมและการปฏิวัติเป็นกำลังผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่างๆในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ
George Simmel (1 มีนาคม 1858 - 28 กันยายน 1918) ชาวเยอรมัน นักสังคมวิทยา นักปรัชญาและนักวิจารณ์ Simmel ได้เขียนบทความเกี่ยวกับเรื่องการขัดกันให้ข้อคิดที่เป็นประโยชน์อย่างมากเกี่ยวกับสภาพและผลกระทบของการขัดกันในสังคม สิ่งที่เป็นหัวใจของความคิดเหล่านั้นคือ ความเห็นที่ว่าการขัดกันเป็นการกระทำระหว่างกันรูปหนึ่งซึ่งเป็นความคิดที่แพร่หลายในหมู่นักสังคมวิทยาเรื่อยมาจนปัจจุบัน
สำหรับนักทฤษฎีขัดกันชาวอเมริกา คนสำคัญในยุคแรกๆได้แก่ Albion Small และ Robert E. Park แห่งมหาวิทยาลัยชิคาโก Albion Small (11 พฤษภาคม 1854 - 24 มีนาคม 1926) เป็นผู้ก่อตั้งภาควิชาสังคมวิทยาขึ้นครั้งแรกในสหรัฐอเมริกาที่มหาวิทยาลัยชิคาโกในชิคาโก อิลลินอยส์ในปี 1892 เขาเป็นคนที่มีอิทธิพลเกี่ยวกับสถานประกอบการของสังคมวิทยาเป็นเขตข้อมูลที่ถูกต้องของการศึกษาทางวิชาการ • Small เป็นผู้นำความคิดของ Simmel จากเยอรมันนีมาสู่สหรัฐอเมริกา นอกจาก นั้นเขาได้เสนอความคิดเกี่ยวกับความสนใจพื้นฐานของมนุษย์ซึ่งเป็นสิ่งที่มักจะกระตุ้นให้มนุษย์ทำการต่อสู้ดิ้นรนให้ได้มาซึ่งสิ่งที่เขาสนใจหรือต้องการ
Robert E. Park (14 กุมภาพันธ์ 1864 - 7 กุมภาพันธ์ 1944) เป็นชาวอเมริกัน นักสังคมวิทยาเมือง Park ซึ่งได้รับอิทธิพลทางความคิดจาก Simmel เหมือนกัน ได้เผยแพร่ความคิดที่ว่า การขัดกันเป็นกระบวนการทางสังคมขั้นพื้นฐาน โดยได้ใช้แนวคิดนี้เป็นหลักนำการศึกษาชุมชนชนบท ชุมชนเมืองและความสัมพันธ์ระหว่างเชื้อชาติอย่างมากมาย
แนวคิดการขัดกันทางค่านิยม คือ สภาพสังคมที่ไม่สอดคล้องกับระบบค่านิยมของกลุ่มหรือสังคม • การขัดกันในค่านิยมกลุ่มต่างๆในฐานะเจ้าของค่านิยมต่างเป็นฝ่ายตรงข้ามกัน เมื่อความเป็นปฏิปักษ์กันเป็นสิ่งที่ปรากฏชัดเจนในความสัมพันธ์ทางสังคม มันจะดำเนินต่อไปเป็นขั้นตอนต่างๆจากขั้นตระหนักในปัญหา ขั้นสร้างนโยบายและขั้นแก้ไป กลุ่มคนต่างๆจะเข้าสู่กระบวนการ 3 ขั้นนี้ตอนไหนก็ได้บางกลุ่มก็จะเกี่ยวกันกับปัญหาต่อไปจนจบ บางกลุ่มอาจบอกเลิกลาไม่เกี่ยวข้องแวะกับปัญหานั้นเสียกลางคัน
การขัดกันอาจเกิดขึ้นบ่อย เกิดนานและรุนแรงหรือไม่ ขึ้นอยู่กับประเภทของการแข่งขันและการติดต่อกันระหว่างกลุ่มสองกลุ่ม บางประเภททำให้ต้องการขัดกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้นเมื่อเกิดปัญหาขึ้นแล้วก็อาจมีกลุ่มต่างๆแข่งขันกันเสมอ ความคิดที่ตนเห็นว่ามีประสิทธิภาพมากที่สุดในการแก้ปัญหาสังคม ปัญหาสังคมจึงอาจเกิดได้ในในหลายสภาพหรือสถานการณ์ • การขัดกันเป็นทั้งการสึกกร่อนร่อยหรอและสิ้นเปลือง ผลลัพธ์ส่วนใหญ่มักออกมาไม่ค่อยดีนัก แต่การขัดกันก็ทำให้สามารถแสดงค่านิยมของตนอย่างชัดเจนว่าเป็นอย่างไรและมีค่าเพียงใดในการปกป้องรักษาไว้ ส่วนใหญ่กลุ่มที่อ่อนแอกว่าในความสัมพันธ์แบบขัดแย้งจะเป็นผู้แพ้หรือเข้าตาจนไม่มีทางแก้ไข
นอกจากนั้นการขัดแย้งจะก่อให้เกิด “ความรู้สึกไม่ดี” ต่อกัน ซึ่งอาจดำรงอยู่เป็นชั่วอายุคน กล่าวอย่างกว้างการขัดกันในค่านิยมอาจก่อให้เกิดทั้งผลบวกและผลลบ แนวคิดการขัดกันทางค่านิยมเสนอให้แก้ไขปัญหาโดยการแก้ไขสถานการณ์อันเป็นความขัดแย้งนั่นเอง ซึ่งอาจทำได้ 3 แนวทางใหญ่ๆ คือ การเห็นพ้องต้องกัน การแลกเปลี่ยนและการใช้อำนาจล้วนๆ หากกลุ่มขัดแย้งสามารถแบ่งปันผลประโยชน์กันก็อาจหาทางปรองดองกันได้ หากตกลงกันไม่ได้อาจแลกเปลี่ยนสิ่งที่มีค่าแก่กัน ซึ่งก็จะทำให้เลิกขัดแย้งกัน แต่หากสองทางแรกไม่สำเร็จก็จะต้องใช้ทางที่สามคือใช้อำนาจเข้าจัดการ ซึ่งหมายถึงว่า กลุ่มที่มีอำนาจมากกว่าจะเป็นผู้ชนะการขัดกันนั้น
สรุป ปัญหาสังคมเกิดจากการขัดกันในค่านิยม สภาพการณ์ของการขัดกันขึ้นอยู่กับประเภทและชนิดของการแข่งขันและการติดต่อกันของกลุ่มต่างๆ การขัดกันในค่านิยมมักจะทำให้มีการแบ่งกลุ่มออกเป็นฝักเป็นฝ่ายและทำให้แต่ละกลุ่มประกาศค่านิยมของตนชัดเจนขึ้นด้วย แนวทางการแก้ไขนั้นอาจทำได้ทั้งการใช้อำนาจล้วนๆการต่อรองแลกเปลี่ยนและการหาทางตกลงแบ่งปันสิ่งมีค่าระหว่างกัน
ปัญหาการแต่งกายของวัยรุ่นปัญหาการแต่งกายของวัยรุ่น สำหรับผู้ใหญ่การแต่งกายของเด็กวัยรุ่นโดยเด็กผู้หญิงจะต้องมิดชิด ไม่เว้าหน้าเว้าหลัง ไม่เปิดโน้นเปิดนี่ กางเกงขาสั้น นุ่งประโปรงสั้น ใส่เสื้อรัดรูป เกาะอก เสื้อแขนกุดช่างไม่เหมาะสมเสียเลยที่จะสวมใส่ออกจากบ้านเพราะไม่เหมาะสมและไม่ถูกกาลเทศะแต่ในความคิดของของเด็กวัยรุ่นผู้หญิงกลับคิดว่าเสื้อแขนกุดใส่แล้วดูเก๋ดูน่ารัก กางเกงขาสั้นเอาไว้โชว์ขาสวยๆ หน้าท้องแบนราบที่ต้องแลกมาด้วย การลดความอ้วนสุดชีวิตสุดชีวิต ก็ต้องคู่กับเสื้อเอวลอยเปิดสะดือ วับๆแวบๆ การแต่งกายแบบนี้ ทันสมัย สวย ดูดี และเป็นที่ยอมรับ ในกลุ่มเพื่อน
ส่วนเด็กผู้ชายทำสีผม เจาะหู เจาะลิ้น เจาะคิ้ว แต่งกายตามกระแสนิยม เช่น สไตล์ฮิพฮอพร็อคพั้งก์ สกาเร็กเก้เซอร์ฯลฯเป็นต้นลักษณะการแต่งกายเหล่านี้อาจดูประหลาดขัดหูขัดตาผู้ใหญ่และถูกผู้ใหญ่มองว่าเป็นเด็กเกเร ไม่เอาถ่าน เป็นเด็กมีปัญหา เป็นเด็กไม่ดี น่าเกลียด ไม่เหมาะสม ฝ่าฝืนจารีตประเพณีอันดีงามของไทยแต่ในมุมมองของเด็กผู้ชายกลับมองว่าการแต่งกายแบบนี้นี่แหละเท่ห์ จ๊าบและเจ๋งเกินบรรยาย
หากผู้ใหญ่ซึ่งเป็นพ่อแม่หรือผู้ปกครอง นำเรื่องดังกล่าวมาตำหนิ ติเตือนหรือดุด่าว่ากล่าวด้วยถ้อยคำรุนแรง ก็อาจทำให้เด็กเกิดความรู้สึกต่อต้าน ขัดแย้ง ไม่สนใจ ไม่ฟัง และยิ่งแต่งตัวในสไตล์ที่ตนพึงพอใจให้มากยิ่งขึ้นเพื่อเป็นการประชดประชันหรือในทำนองเดียวกันแม้ผู้ใหญ่จะบอกกล่าวด้วยดี แต่วันรุ่นหัวดื้อที่ไม่ใส่ใจคำบอกกล่าว มุ่งแต่จะตามแฟชั่นตามกลุ่มตามเพื่อนก็จะก่อให้เกิดความรู้สึกขัดแย้งในความคิดเห็นของผู้ใหญ่จนทำให้ต้องดุด่าว่ากล่าวหรือลงโทษอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วปัญหาความขัดแย้งอื่นๆก็จะตามมา จากปัญหาเล็กน้อยไปจนกลายเป็นปัญหาใหญ่ยิ่งขึ้น เช่น ปัญหาครอบครัว ปัญหายาเสพติด ปัญหาการมีเพศสัมพันธ์และมีบุตรก่อนวัยอันควร จนกลายเป็นลูกโซ่ปัญหาสังคมต่อไปไม่รู้จบสิ้น
สาเหตุ 1.บางครั้งเด็กอาจรู้สึกด้อยคุณค่าเมื่ออยู่ในครอบครัวถูกเปรียบเทียบกับคนอื่นหรือว่าไม่ได้รับความสำคัญตามควารรู้สึกของเขาในสายตาของพ่อแม่เขาไม่เคยทำอะไรอย่างที่พ่อแม่พอใจ เขาจึงลุกขึ้นมาทำอะไรแปลก ดูเด่น หรือดู้ป็นสิ่งน่าสนใจ แม้จะเป็นความสนใจในทางลบก็ตามที การแต่งตัวแปลกๆอันนี้ก็คงเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ทำให้พ่อแม่หันมาสนใจกับเขามากขึ้น • 2.ค่านิยมทางวัตถุและวัฒนธรรมต่างชาติที่ได้รับสื่อต่างๆไม่ว่าจะเป็นโทรทัศน์ อินเทอร์เน็ต นิตยสาร ฯลฯ • 3.การทำตามเพื่อนหรือเพื่อให้ได้รับการยอมรับจากกลุ่มเพื่อน • 4.บางทีการเข้ากลุ่มเพื่อนการหาเครื่องประดับ การแต่งตัว การพูดคุยในเรื่องเหล่านี้อาจเป็นวิธีคลายเครียดอย่างหนึ่งสำหรับตัวเด็กเองด้วย แม้ว่าบางคนอาจจะมองว่าเป็นเรื่องไร้สาระก็ตาม
แนวทางแก้ปัญหาความ 1.หาข้อตกลงร่วมกันที่เป็นที่ยอมรับร่วมกันได้โดยไม่สร้างความขัดแย้งรุนแรง 2.สร้างสัมพันธภาพในครอบครัวแทนที่จะเพ่งเล็งเรื่องการแต่งตัวของเด็ก 3.ผู้ใหญ่และเด็กควรจะรู้จักปรับตัวเข้าหากัน ปรับทัศนคติความคิด รู้จักคุยกัน ยอมรับฟังเหตุผลของกันและกัน ผู้ใหญ่ไม่ถือทิฐิว่าตนเป็นผู้ใหญ่กว่าเก่งกว่ายอมรับฟังในเหตุผลของเด็ก เด็กเองก็ต้องรู้ว่าตนยังเด็กไม่ประสาต่อโลกยังเห็นชีวิตมาได้เพียงไม่กี่ปีไม่ควรทำเก่งดื้อรั้นดันทุรัง ควรเคราะอ่อนน้อมถ่อมตนและรับฟังสิ่งที่ผู้ใหญ่สั่งสอน
แนวทางแก้ปัญหาความ • 4.ภาครัฐและภาคเอกชนต้องเข้ามาช่วยเหลือ ถึงการดูแลเรื่องสื่อและเทคโนโลยีต่างๆด้วยเช่น การรณรงค์การแต่งกายมิดชิด สื่อสาธารณะ(ดารานักแสดง นักร้อง )ควรเป็นกลุ่มตัวอย่างในการแต่งกาย และขณะเดียวกันก็ควรแสดงถึงเอกลักษณ์วัฒนธรรมไทยด้วย • 5.พ่อแม่ผู้ปกครองเองก็ต้องคอยดูแลลูกหลานของตนเอง ปลูกฝังให้รักนวลสงวนตัว ไม่ให้แต่งกายมิดชิดไม่เปิดเนื้อหนังมากเกินแต่ก็ไม่ควรให้เด็กรู้สึกว่าก้าวก่ายมากเกินไป และต้องเป็นแบบอย่างให้กับเด็กๆด้วยที่สำคัญที่สุดคือ เยาวชนหรือวัยรุ่นเองก็ต้องรู้จักแต่งกายให้รัดกุม มิดชิด ไม่เปิดให้เห็นเนินอก หรือขาสั้นจนเกินงาม วัยรุ่นควรที่จะป้องกันอันตรายด้วยการสร้างจิตสำนึกแก่ตนเองเช่นกัน อย่ามัวแต่ให้คนอื่นมาคอยดูแลเพียงฝ่ายเดียว
วิเคราะห์ การขัดกันในค่านิยมมักจะทำให้มีการแบ่งเป็นฝักเป็นฝ่ายและทำให้แต่ละคนประกาศค่านิยมของตนชัดเจนขึ้นด้วย การมีความเห็นหรือมุมมองในเรื่องเดียวกันที่แตกต่างกันในที่นี้ฝ่ายผู้ใหญ่ซึ่งเป็นพ่อแม่หรือผู้ปกครองมีความคิดเห็นในการแต่งตัวของเด็กวัยรุ่น เช่น ใส่เสื้อผ้าเว้าหน้าเว้าหลัง เสื้อเอวลอยเปิดสะดือวับๆแวบๆ โชว์โน้นโชว์นี่ เจาะหู และแต่งกายตามกระแสนิยมในสไตล์ต่างๆเป็นต้น ที่ดูประหลาดขัดหูขัดตาผู้ใหญ่ว่าไม่เหมาะสม ไม่ถูกกาลเทศะน่าเกลียด ไม่เหมาะสม และฝ่าฝืนจารีตประเพณีอันดีงามของไทยแต่ในความคิดของฝ่ายเด็กเองมองการแต่งตัวแบบนี้เป็นที่ยอมรับของเพื่อน ทันสมัย สวย ดูดี เท่ห์และถือเป็นสิทธิส่วนบุคคล ทั้งสองฝ่ายจึงประกาศค่านิยมของตนและเกิดความเห็นที่แตกต่างจึงก่อให้เกิดความขัดแย้งหรือการขัดกันทางค่านิยมการแต่งตัว
วิเคราะห์ หากผู้ใหญ่ซึ่งเป็นพ่อแม่หรือผู้ปกครอง นำเรื่องดังกล่าวมาตำหนิติเตือนหรือดุด่าว่ากล่าวด้วยถ้อยคำรุนแรง ก็อาจทำให้เด็กเกิดความรู้สึกต่อต้านและยิ่งแต่งตัวในสไตล์ที่ตนพึงพอใจให้มากยิ่งขึ้นเพื่อเป็นการประชดประชัน ก่อให้เกิดความรู้สึกขัดแย้งในความคิดเห็นของผู้ใหญ่จนทำให้ต้องดุด่าว่ากล่าวหรือลงโทษอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วปัญหาความขัดแย้งอื่นๆก็จะตามมา จากปัญหาเล็กน้อยไปจนกลายเป็นปัญหาใหญ่ยิ่งขึ้น เช่น ปัญหาครอบครัว ปัญหายาเสพติด ปัญหาการมีเพศสัมพันธ์และมีบุตรก่อนวัยอันควร จนกลายเป็นลูกโซ่ปัญหาสังคมต่อไปไม่รู้จบสิ้น