1.13k likes | 4.81k Views
หน่วยที่ 2 วิวัฒนาการหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย. อ.ศจีมาศ พูลทรัพย์ วิทยาลัยชุมชนระนอง. วิวัฒนาการของการศึกษาปฐมวัยในประเทศไทย. วิวัฒนาการของการศึกษาปฐมวัยในประเทศไทย แบ่งเป็น 5 ระยะ คือ 1. การจัดการศึกษาปฐมวัยก่อนมีระบบโรงเรียน 2. การจัดการศึกษาปฐมวัยสมัยสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
E N D
หน่วยที่ 2 วิวัฒนาการหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย อ.ศจีมาศ พูลทรัพย์ วิทยาลัยชุมชนระนอง
วิวัฒนาการของการศึกษาปฐมวัยในประเทศไทยวิวัฒนาการของการศึกษาปฐมวัยในประเทศไทย วิวัฒนาการของการศึกษาปฐมวัยในประเทศไทย แบ่งเป็น 5 ระยะ คือ 1. การจัดการศึกษาปฐมวัยก่อนมีระบบโรงเรียน 2. การจัดการศึกษาปฐมวัยสมัยสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 3. การจัดการศึกษาปฐมวัยสมัยมีระบบโรงเรียน 4. การจัดการศึกษาปฐมวัยสมัยก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 5. การจัดการศึกษาปฐมวัยหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง
1. การจัดการศึกษาปฐมวัยก่อนมีระบบโรงเรียน • สมัยสุโขทัย – สมัยรัตนโกสินทร์ (ร.5) • ไม่มีโรงเรียนสำหรับเรียนโดยเฉพาะ ไม่มีหลักสูตร ไม่มีการกำหนดเวลาเรียน ไม่มีการวัดผล • รัฐมอบให้วัดจัดการศึกษา • จัดตามประเภทของเด็ก ได้แก่ สำหรับเจ้านายเชื้อพระวงศ์, สำหรับบุคคลที่มีฐานะดี, สำหรับบุคคลธรรมดาที่พ่อแม่มีฐานะยากจน
2. การจัดการศึกษาปฐมวัยสมัยสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว • พ.ศ.2435 จัดตั้งโรงเรียนราชกุมาร และพ.ศ.2436 จัดตั้งโรงเรียนราชกุมารี เพื่อเป็นสถานศึกษาของสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ ที่ยังทรงพระเยาว์ • สร้างสถานรับเลี้ยงเด็ก โดยพระอัครชายาเธอพระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมขุนสุทธาสินีนาฏ เพื่อเลี้ยงดูเด็กกำพร้า เด็กยากจน และเด็กจนจัด ให้ปลอดภัยจากอันตราย
3. การจัดการศึกษาปฐมวัยสมัยมีระบบโรงเรียน • จัดการศึกษาในรูปของโรงเรียนมูลศึกษา เน้นอ่าน เขียนและคิดเลขเป็นหลัก • จัดในโรงเรียนประถมศึกษา เพื่อเตรียมเข้าเรียนชั้นประถมศึกษา • ไม่มีหลักสูตร ไม่มีระเบียบการสอน
4. การจัดการศึกษาปฐมวัยสมัยก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง • ได้มีการเผยแพร่ขยายแนวความคิดในการจัดการศึกษาปฐมวัยตามแบบตะวันตกของเฟรอเบลและมอนเตสซอรี่ เข้ามาในประเทศไทยเป็นครั้งแรกและจากการนี้ได้ก่อให้เกิดการศึกษาในรูปแบบ "อนุบาล" • ปลายสมัย ร.5 จัดตั้งโรงเรียนอนุบาล ตามแนวคิดของเฟรอเบลและมอนเตสซอรี่ ในโรงเรียนเอกชน 3 แห่ง ได้แก่ วัฒนาวิทยาลัย ราชินี มาแตร์เดอี
5. การจัดการศึกษาปฐมวัยหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง • รัฐส่งบุคลากรไปดูงานด้านการศึกษาอนุบาลต่างประเทศได้นำแนวคิดมาจัดตั้งโรงเรียนอนุบาลของรัฐในปี พ.ศ. 2483 คือ โรงเรียนอนุบาลลอออุทิศ ซึ่งยึดแนวการสอนแบบมอนเตสซอรี่ • พ.ศ.2540 กระทรวงศึกษาธิการ ประกาศใช้ หลักสูตรก่อนประถมศึกษา พ.ศ.2540 เป็นหลักสูตรฉบับแรกของประเทศไทย
สำหรับหลักสูตรระดับปฐมวัยมีการประกาศใช้เป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2489 มาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 5 ช่วง คือ 1) ช่วง พ.ศ. 2489 - 2493 หลักสูตรที่ใช้คือ แนวการเตรียมการจัดอนุบาลศึกษา กำหนดหลักสูตรไว้ 2 ปี วิชาที่เรียนได้แก่ หน้าที่พลเมือง และศีลธรรม การเล่นฝึกเชาวน์ ภาษาไทย เลขคณิต ความรู้เรื่องเมืองไทย วาดเขียนและการฝีมือ ขับร้อง สุขศึกษา 2) ช่วง พ.ศ. 2494 - 2502 หลักสูตรคล้ายคลึงกับหลักสูตรในช่วงปี พ.ศ. 2489 - 2493 โดยกำหนดให้เรียนวิชาต่อไปนี้ คือ หน้าที่พลเมืองและศีลธรรม ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ธรรมชาติศึกษา สุขศึกษาและพลศึกษา ขับร้องเพลง ดนตรี วาดเขียนและการฝีมือ
3) ช่วง พ.ศ. 2503 - 2519 หลักสูตรฉบับนี้เป็นการเรียนการสอน โดยแยกเป็นรายวิชาทั้งสิ้น 7 รายวิชา ได้แก่ ไทย เลขคณิต พลานามัย ธรรมชาติศึกษา สังคมศึกษา ศิลปศึกษา ขับร้องและดนตรี 4) ช่วง พ.ศ. 2520 - 2534 มีการประกาศใช้แผนการศึกษาชาติ 2520 มีการประกาศใช้ระเบียบการจัดชั้นเด็กเล็ก และในแผนการศึกษาชาติฉบับนี้ ได้มีการกล่าวถึงการศึกษาปฐมวัยไว้อย่างชัดเจน โดยใช้ชื่อว่า "ระดับก่อน ประถมศึกษา" ซึ่งเป็นการศึกษาที่มุ่งอบรมเลี้ยงดูเด็กก่อนการศึกษาภาค บังคับ เพื่อเตรียมเด็กให้มีความพร้อมทุกด้าน โดยมุ่งจัดประสบการณ์การ เรียนการสอนเป็นมวลประสบการณ์ 3 กลุ่ม คือ เตรียมสร้างเสริมทักษะ ภาษาไทยและคณิตศาสตร์ เตรียมสร้างเสริมประสบการณ์ และเตรียมสร้าง เสริมลักษณะนิสัย
รูปแบบการศึกษาปฐมวัยในประเทศไทยรูปแบบการศึกษาปฐมวัยในประเทศไทย • จากแนวการจัดการศึกษา แผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปี พ.ศ.2520 รัฐส่งเสริมและสนับสนุนให้เอกชนจัดการศึกษาระดับปฐมวัย โดยแบ่งเบาภาระของการจัดการศึกษาของรัฐส่วนหนึ่ง และรัฐรับผิดชอบการจัดบริการศูนย์เด็กปฐมวัยส่วนหนึ่ง ซึ่งแบ่งการศึกษาออกเป็น 3 รูปแบบ ดังนี้ 1. สถานบริบาลทารก รับเด็กอายุแรกเกิด – 2 ขวบ เพื่อแบ่งเบาภาระของผู้ปกครองที่ต้องออกไปประกอบอาชีพ ดูแลเรื่องอาหารและสุขภาพและอนามัย การฝึกหัดการบริหารร่างกาย การส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญา
2. ศูนย์เลี้ยงเด็ก(Child Care Center) รับเด็กตั้งแต่อายุ 2-6 ขวบ ทั้งภาครัฐและเอกชนช่วยกันจัด เพื่อช่วยเหลือแบ่งเบาภาระของผู้ปกครองและส่งเสริมพัฒนาการทั้งทางร่างกายและจิตใจเด็ก กิจกรรมที่จัดจะมุ่งเรื่องโภชนาการ สุขภาพอนามัย และการฝึกสุขนิสัยต่างๆ การส่งเสริมทางร่างกายและสติปัญญา 3. โรงเรียนอนุบาล (Kindergarten) รับเด็กอายุ 3-6 ปี เพื่อเตรียมความพร้อมทางวิชาการ ร่างกาย จิตใจ ที่เข้าเรียนชั้นป.1
พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 กับการจัดการศึกษาปฐมวัย • การจัดการศึกษาเป็นการจัดการศึกษาตลอดชีวิต • บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปี ที่รัฐต้องจัดให้ทั่วถึง มีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย โดยให้ทุกส่วนของสังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาปฐมวัย แนวการจัดการศึกษา 1. จัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจ และความถนัดของผู้เรียน โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล 2. ฝึกทักษะกระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์และการประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา
3. จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็น ทำเป็น รักการอ่าน และเกิดการใฝ่รู้ 4. จัดการเรียนการสอนโดยผสมผสานสาระความรู้ด้านต่างๆ อย่างได้สัดส่วนสมดุลกัน รวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่ดีงาม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ในทุกวิชา 5. สนับสนุนให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อการเรียน และอำนวยความสะดวก เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ และมีความรอบรู้ รวมทั้งสามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ ทั้งนี้ผู้สอน 6. จัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นทุกเวลา ทุกสถานที่ มีการประสานความร่วมมือกับบิดา มารดา ผู้ปกครอง และบุคคลในชุมชนทุกฝ่าย เพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ
รูปแบบการจัดการศึกษา รูปแบบการจัดการศึกษาปฐมวัย ทำได้ 3 รูปแบบ คือ 1. การศึกษาในระบบ เป็นการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน 2. การศึกษานอกระบบ เป็นการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบ วิธีการจัดการศึกษา ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล โดยเนื้อหาและหลักสูตรจะต้องมีความเหมาะสมกับสภาพปัญหาและความต้องการของบุคคลแต่ละกลุ่ม 3. การศึกษาตามอัธยาศัย เป็นการศึกษาที่ให้ผู้เรียนได้เรียนด้วยตนเองตามความสนใจ สังคม สภาพแวดล้อม สื่อ หรือแหล่งความรู้อื่นๆ
สภาพปัจจุบัน และปัญหาของการจัดการศึกษาปฐมวัยในประเทศไทย • อัตราการตายของทารกแรกเกิดสูงถึงปีละ 40,000 คน • เด็กไทยกว่า 500,000 คน ที่เกิดมาพร้อมกับความพิการบางอย่าง มีเพียงร้อยละ 10 ที่ได้รับการพัฒนาอย่างถูกต้อง • การกระจายโอกาสทางการศึกษาแก่เด็กวัย 3- 5 ขวบยังไม่ทั่วถึง • คุณภาพการศึกษา การวัดความพร้อมของพัฒนาการด้านสติปัญญายังอยู่ในเกณฑ์ต่ำ • ปัญหาการถูกทอดทิ้งและทารุณกรรม • ครอบครัวแตกแยก • โรคติดเชื้อที่ได้รับจากพ่อแม่ เช่น โรคเอดส์ • คุณภาพและมาตรฐานของสถานรับเลี้ยงเด็ก ขาดเกณฑ์มาตรฐานในการยึดถือปฏิบัติ
แนวโน้มของการจัดการศึกษาปฐมวัยในอนาคตแนวโน้มของการจัดการศึกษาปฐมวัยในอนาคต • การจัดการศึกษาปฐมวัยในอนาคตควรมีการขยายการจัดบริการเพื่อให้เด็กทุกคนมีโอกาสได้รับการบริการอย่างทั่วถึง • พัฒนาสุขภาพและสมองของเด็ก โดยการปฏิรูปการศึกษาตั้งแต่อยู่ในครรภ์ • ให้ความสำคัญกับคุณภาพของครูและพี่เลี้ยงเด็กที่มีความรู้ความเข้าใจ และความตั้งใจในการปฏิบัติหน้าที่ • ส่งเสริมให้มีการทำวิจัยในชั้นเรียนอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ เกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตร การเรียนการสอน และวิธีการสอนที่เหมาะสมสำหรับเด็ก • ส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วม ในรูปแบบของจัดตั้งคณะกรรมการโรงเรียน • รัฐควรมีมาตรการในการให้ความช่วยเหลือแก่แม่ที่มีปัญหาพิเศษบางกลุ่ม
รัฐควรมีมาตรการคุ้มครองเด็กที่มีปัญหา เช่น เด็กถูกทารุณกรรม • ส่งเสริมและเปิดโอกาสให้เด็กได้มีโอกาสเรียนรู้จากระบบสื่อสารให้มากขึ้น เข้าร่วมกิจกรรมที่เป็นประโยชน์แก่ส่วนรวม ฝึกการคิดแบบมีวิจารณญาณ • มุ่งพัฒนาจิตสำนึกของพ่อแม่ในการเลี้ยงดูลูกให้มากขึ้น และการให้การศึกษาแก่ผู้สูงอายุในการเลี้ยงดูเด็ก