2.43k likes | 5.61k Views
รวมกฎ กติกา และพื้นฐานการเล่นHANDBALL. นำเสนอ. ประวัติกีฬาแฮนด์บอล ประโยชน์ของการเล่น การมีน้ำใจนักกีฬา กติกา 19 ข้อ รวมทั้งอุปกรณ์การเล่น ผลการแข่งขันและการจัดอันดับของทีม ทักษะในการเล่นกีฬาแฮนด์บอล. ประวัติกีฬาแฮนด์บอล.
E N D
รวมกฎ กติกา และพื้นฐานการเล่นHANDBALL
นำเสนอ • ประวัติกีฬาแฮนด์บอล • ประโยชน์ของการเล่น • การมีน้ำใจนักกีฬา • กติกา 19 ข้อ รวมทั้งอุปกรณ์การเล่น • ผลการแข่งขันและการจัดอันดับของทีม • ทักษะในการเล่นกีฬาแฮนด์บอล
ประวัติกีฬาแฮนด์บอล เยอรมันนีเป็นผู้ริเริ่ม ราวปลายศตวรรษที่ 19 โดยครูสอนพลศึกษาชื่อ Donrad Koch อาศัยทักษะพื้นฐานจากการเล่นฟุตบอลและบาสเกตบอล ชื่อที่เรียกในระยะแรกๆ คือ ฮอกกี้มือ โปโลบก โดยมีจำนวนผู้เล่นทีมละ 11 คน เหมือนฟุตบอล
ค.ศ. 1900- เยอรมันนี เชคโกสโลวาเกีย และเดนมาร์ก ร่วมกันปรับปรุงการเล่นพื้นฐานขึ้น - ใช้ห้องพลศึกษาดัดแปลง เพราะสภาพอากาศไม่เป็นใจในการเล่นกลางแจ้ง- สถานที่คับแคบ จึงลดคนเล่นลงเหลือ ข้างละ7 คนค.ศ. 1904- แฮนด์บอลอยู่ในความดูแลของ สหพันธ์กีฬาสมัครเล่นระหว่างชาติ ( I.A.A.F )
ค.ศ. 1909- โซเวียตปรับปรุงกีฬาแฮนด์บอลข้างละ 7 คนขึ้นอีก- เมือง Kharkov- โดย Edward Malyค.ศ. 1920- Karl Schelenz- ปรับปรุงขนาดของลูกให้เล็กลง- ปรับปรุงกติกาว่าด้วยการเคลื่อนที่ ในขณที่ไม่มีการส่งลูกและเลี้ยงลูกบอลได้ 3 ก้าว
ค.ศ. 1926- I.A.A.F. ตั้งคณะกรรมการกีฬาแฮนด์บอล โดยคัดเลือกจากประเทศต่างๆในเครือสมาชิก- ตกลงกันเรื่องกติกาค.ศ. 1928- มีการตั้งสหพันธ์แฮนด์บอลสมัครเล่นนานาชาติขึ้น- มี 11 ประเทศสมาชิก- มีการสาธิตการแข่งขันกีฬาแฮนด์บอลขึ้น ในโอกาสที่มีการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ณ กรุงอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์
ค.ศ. 1931- แฮนด์บอลถูกบรรจุเข้าเป็นรายแข่งขันกีฬาระหว่างชาติ โดยการยอมรับของ I.O.C.ค.ศ. 1934- ประเทศสมาชิกสหพันธ์แฮนด์บอลสมัครเล่นนานาชาติ ขยายตัวเพิ่มเป็น 25 ประเทศค.ศ. 1936- มีการบรรจุกีฬาแฮนด์บอลเข้าในกีฬาโอลิมปิก- กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมัน- เรียกว่า NAZI OLYMPIC- เยอรมันได้เหรียญทอง
ค.ศ. 1938- เยอรมันเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันแฮนด์บอลชิงชนะเลิศของโลกเป็นครั้งแรก- มี 10 ประเทศเป็นผู้ร่วมเข้าแข่งขันค.ศ. 1946- ตั้งสหพันธ์แฮนด์บอลนานาชาติ ( THF)- สมาชิก 8 ประเทศ คือ เดนมาร์ก สวีเดน นอร์เวย์ ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ โปแลนด์ และสวิตเซอร์แลนค.ศ. 1954THF จัดให้มีการแฮนด์บอลในร่มชิงชนะเลิศของโลกขึ้นเป็นครั้งแรกสวีเดน เป็นผู้ชนะเลิศ
ค.ศ. 1956- มีการแข่งขันแฮนด์บอลหญิงเป็นครั้งแรก- ประเทศเชกโกสโลวาเกียเป็นผู้ชนะเลิศ- มีการปรับปรุงกติกาใหม่ที่เล่นกันจนถึงปัจจุบัน- โดยอาศัยกติกาของฟุตบอลและบาสเกตบอลมาผสมกันค.ศ. 1959- Dr. Peter Bushning - ริเริ่มนำกีฬาแฮนด์บอลเข้าไปเผยแพร่ที่รัฐนิวยอร์ก และรัฐนิวเจอร์ซี ประเทศสหรัฐอเมริกา
ค.ศ. 1968- B.J. Bowland และ Phil Hoden สมาชิกของสมาคมแฮนด์บอล ประเทศอังกฤษ- จัดให้มีการประชุมระหว่างสมาชิกของสมาคมแฮนด์บอลต่างๆ ในอังกฤษ- เพื่อเข้าร่วมเป็นสมาพันธ์ระหว่างชาติค.ศ. 1969- อิตาลี ได้เดินทางมาแข่งขันกีฬาแฮนด์บอล ที่ประเทศอังกฤษ- เพื่อเชื่อมสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศ
ค.ศ. 1972- แฮนด์บอลถูกบรรจุเข้าแข่งขันในกีฬาโอลิมปิกอีครั้งหนึ่ง - ณ เมืองมิวนิก ประเทศเยอรมัน- ประเทศยูโกสลาเวีย ได้เหรียญทองค.ศ. 1976- มีการบรรจุการแข่งขันประเภทหญิง- ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ณ กรุงมอลทรีลที่ประเทศแคนาดา- สหภาพโซเวียต ชนะเลิศ ทั้ง ทีมหญิง และ ทีมชายค.ศ. 1982- มีการบรรจุกีฬาแฮนด์บอลเป็นครั้งแรกกีฬาเอเชื่ยนเกมส์ครั้งที่ 9 ที่ประเทศอินเดีย
กีฬาแฮนด์บอลในประเทศไทยกีฬาแฮนด์บอลในประเทศไทย พ.ศ. 2482- ได้มีการนำ กีฬาแฮนด์บอลเข้ามาเผยแพร่ในประเทศไทย - โดยอาจารย์กอง วิสุทธารมย์ อดีตอธิบดีกรมพลศึกษา - มีการเล่นแบบ 11 คนอยู่- หลังจากนั้นไม่นานจึงถูกยกเลิกไปพ.ศ. 2500- นายธนิต คงมนต์ ได้เสนอกีฬาแฮนด์บอลเข้าไว้ในหลักสูตรพลศึกษาของวิทยาลัยและโรงเรียนฝึกหัดครูพลานามัย- ได้รับการอนุมัติใน พ.ศ. 2501
ในปัจจุบัน กีฬาแฮนด์บอลได้ถูกบรรจุเข้าไว้ในการเรียนการสอน ในระดับ ประถมศึกษา มัธยมศึกษา และ มหาวิทยาลัย
ประโยขน์ของการเล่น ประโยชน์ทางด้านร่างกาย ประโยชน์ทางด้านจิตใจ และ อารมณ์ ประโยชน์ทางด้านสังคมทั่วไป
ประโยชน์ทางด้านร่างกายประโยชน์ทางด้านร่างกาย ส่งเสริมสมรรถภาพทางร่างกาย-กล้ามเนื้อแข็งแรง สร้างความคล่องแคล่วว่องไว ความอ่อนตัว ความอดทนและพลัง เสริมสร้างระบบการประสานงานระหว่างกล้ามเนื้อ กับประสาทสัมผัส ช่วยให้เซลล์ต่างๆ ของเนื้อเยื่อทำงานได้ดี ระบบโครงกระดูก พัฒนาดี เจริญเติบโตดี • เสริมสร้างบุคลิกภาพ สง่างามสมส่วน • เกิดไหวพริบปฏิภาณในการตัดสินใจ • สนุกสนาเพลิดเพลิน ผ่อนคลาย • รู้คุณค่าของการออกกำลังกาย • มีน้ำใจเป็นนักกีฬา เคารพกฎ กติกา เป็นผู้ดูที่ดี • มีความสามัคคี • ฝึกการแก้ไขเฉพาะหน้า
ประโยชน์ทางด้านจิตใจและอารมณ์ประโยชน์ทางด้านจิตใจและอารมณ์ เกิดความมั่นใจ กล้าตัดสินใจ มีจิตใจหนักแน่น เกิดการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี มีน้ำใจเป็นนักกีฬา ยอมรับในตัวผู้อื่น เป็นผู้เสียสละ เป็นการพักผ่อน ระบายความเครียด จิตใจและอารมณ์ สุขุม เยือกเย็น
ประโยชน์ทางด้านสังคม มีระเบียบวินัย เคารพกฎหมาย กติกา เป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยขน์ ฝึกพื้นฐานการอยู่ร่วมกัน รู้จักการเข้าสังคม
กติกาข้อ 1 : สนามแข่งกติกาข้อ 2 : เวลาการเล่นกติกาข้อ 3 : ลูกบอลกติกาข้อ 4 : ผู้เล่นกติกาข้อ 5 : ผู้รักษาประตูกติกาข้อ 6 : เขตประตูกติกาข้อ 7 : การเล่นลูกบอลกติกาข้อ 8 : การเข้าหาผู้เล่นฝ่ายตรงข้าม กติกาข้อ 9 : การได้ประตู กติกาและอุปกรณ์การเล่น • กติกาข้อ 10 : การส่งลูกเริ่มเล่น • กติกาข้อ 11 : การส่งลูกเข้าเล่น • กติกาข้อ 12 : การส่งลูกจากประตู • กติกาข้อ 13 : การส่งลูกกินเปล่า • กติกาข้อ 14 : การยิงประตูโทษ • กติกาข้อ 15 : การโยนลูกบอลของผู้ตัดสิน • กติกาข้อ 16 : วิธีการส่ง • กติกาข้อ 17 : การลงโทษ • กติกาข้อ 18 : ผู้ตัดสิน • กติกาข้อ 19 : ผู้บันทึกและผู้จับเวลา
การปฏิบัติ • 1.1. ยืนแล้วก้มลำตัวไปข้างหน้าเล็กน้อย งอเข่า ศีรษะตั้งตรง ตามองไปข้างหน้า • 1.2. เหยียดแขนไปข้างหน้า งอศอกตามธรรมชาติ แขนท่อนล่างอยู่ด้านหน้า กำมือหลวมๆ แบมือ และกางนิ้วมือออก ไม่เกร็ง • 1.3. เท้าทั้งสองยืนห่างประมาณช่วงไหล่ อาจยืนเท้าคู่ขนานหรือเท้านำเท้าตามก็ไได้ ให้เผยอส้นเท้าเล็กน้อยตามธรรมชาติใลักษณะพร้อมที่จะเคลื่อนไหวตลอดเวลา
2. การทรงตัวขณะเคลื่อนที่ • การปฏิบัติ • 2.1 ให้เลื่อนเท้าไปข้างหน้า แล้วลากเท้าอีกข้างหนึ่งตามมาชิดในท่าของการยืนทรงตัวเมื่อต้องการเคลื่อไหวไปข้าง • 2.2 ถ้าต้องการเคลื่อนที่ไปข้างๆ ให้ใช้เท้าที่ถนัดสืบเท้านำไปข้างๆ แล้ลากเท้าที่เหลือมาชิดตาม • หมายเหตุ การใช้เท้าเคลื่อนไหวไปในทิศทางต่างๆ ตามความประสงค์ที่สั่งการนั้น ไม่ใช่การก้าว แต่ต้องสืบเท้าไปให้เร็ว ตามทิศทางที่ต้องการ
3. การทรงตัวเมื่อต้องการหยุด • การปฏิบัติ • การหยุดแบบเท้าหนึ่งอยู่หน้า ในขณะที่เรากำลังเคลื่อนที่ เมื่อต้องการหยุดเคลื่อนที่ ให้ใช้เท้าใดเท้าหนึ่งก้าวนำ งอเข่าลำตัวเอนมาข้างหลังเล็กน้อย • ย่อตัวต่ำลง ศีรษะตั้งตรง ตามองไปยังที่หมายข้างหน้า แขนกางออกเพื่อช่วยในการทรงตัว เท้าหลังยึดแน่นกับพื้น • การหยุดแบบเท้าคู่ ลักษณะกรหยุดแบบนี้ จะใช้ในส่วนของฝ่ายทีมรับ(การป้องกัน) เมื่อเราต้องการเลี้ยงลูกเข้ามาของฝ่ายตรงข้าม ใช้เท้ากระโดด เพื่อทิศทางและจังหวะหยุด แล้วลงสองเท้าพร้อมกัน • งอเข่าย่อตัวและเอียงลำตัว เพื่อทิ้งน้ำหนักตัวมาด้านหลังแล้วยืดตัวขึ้น สะโพกต่ำ ศีรษะตรง ตามองไปยังที่เป้าหมาย พร้อมที่จะใช้เท้าใดเท้าหนึ่งเป็นหลักในหารหมุนตัวหรือกลับตัวไปสู่ทิศทางที่ต้องการ
การรับลูกบอลในลักษณะต่างๆการรับลูกบอลในลักษณะต่างๆ • 1. การรับลูกบอลในอากาศด้านหน้า • เหยียดแขนขึ้นไปเหนือศีรษะ และกระโดดตวัดจับลูกบอลเมื่อลูกบอลสัมผัสนิ้วมือจับกระชับให้แน่น ดึงแขนกลับลง มาพร้องลูกบอลเข้าสู่การครอบครอง • ถือลูกบอลชิดหน้าอก ข้อศอกกางออก เมื่อลงสู่พื้นแล้วต้องย่อเข่าทรงตัวให้มั่นคงในท่าของการทรงตัวที่ดี
2. การรับลูกที่ส่งมาไม่ตรงตัวทางแขนด้านที่ถนัด ปฏิบัติเช่นวิธีแรก • เพิ่มทักษะของการบิดลำตัวในขณะที่กระโดดไปในทิศทางที่ลูกบอลลอยมา มือด้านที่ไม่ถนัดจะบังคับลูก มือที่ถนัดจะรับประคองลูกบอลไว้ • 3. การรับลูกที่ส่งมาไม่ตรงตัว ทางแขนด้านที่ไม่ถนัด • ปฏิบัติเช่นเดียวกับวิธีที่ 2 แต่การใช้มือ จะทำในลักษณะตรงข้าม
4. การรับลูกบอลที่กลิ่งมาตามพื้น • ถ้าลูกบอลวางนิ่งอยู่บนพื้น แต่ผู้เล่นกำลังเคลื่อนที่ ใช้มือที่ถนัดคว้าลูกบอลขึ้นมา มือที่เหลือให้ประคองลูกขึ้นมา • ถ้าลูกบอลอยู่บนพื้นนิ่งๆ ให้หยิบด้วยมือทั้งสองข้าง ไม่ควรใช้มือเดียว • ถ้าลูกบอลกลิ้งมาและผู้รับกำลังเคลื่อนที่ผ่าน ปฏิบัติเช่นข้อ 4.2 • ถ้าลูกบอลกลิ้งไปข้างหน้า ผู้รับวิ่งตามเพื่อเก็บลูก ในทิศทางเดียวกันอาจใช้มือทั้งสองคว้าลูกขึ้นมา หรือจะใช้มือหนึ่งมือใดหยุดลูกและหยิบขึ้นมา
การส่งลูกบอลประกอบด้วยหลักการดังนี้การส่งลูกบอลประกอบด้วยหลักการดังนี้ • 1. ผู้รับ-ผู้ส่งจะต้องส่งไปยังผู้รับอย่างแม่นยำ เป้าหมายในการส่งคือระดับอกของผู้รับ ซึ่งถือว่าเป็นเป้าหมายที่จะทำให้ผู้รับรับได้ง่ายที่สุด • 2. ทิศทางส่งลูกไปข้างหน้า ทางซ้าย ทางขวา หรือย้อนหลัง ไปยังตำแหน่งที่ผู้รับยืนอยู่ การหลอกล่อเพื่อส่งลูกเป็นสิ่งที่ทำให้คู่ต่อสู้หลงทาง • 3. ความเร็วต้องมีการกะระยะ หรือคาดคะเนระยะทาง ระหว่างผู้ส่งและผู้รับเพื่อที่จะได้ส่งลูกออกไปได้ตามแรงที่เหมาะสม
การปฏิบัติในการส่งลูก-ถ้าผู้ส่งถนัดมือขวา ก็จะต้องใช้เท้าซ้ายอยู่ข้างหน้าเท้าขวาในขณะส่งลูก- โน้มตัวไปด้านหน้า ถ่ายน้ำหนักตัวไปยังด้านหน้าเอเสริมแรงทำให้ลูกวิ่งได้เร็วและแรงมากยิ่งขั้น
การยืนส่งบอลในลักษณะต่างๆการยืนส่งบอลในลักษณะต่างๆ • 1. ยืนส่งลูกบอลด้วยมือเดียว • 1.1 มือเดียวเหนือไหล่ตรงหน้า • การยืน เท้านำ เท้าตาม ถือลูกบอลด้วยมือด้านที่ตรงข้ามกันกับเท้านำ หรืออาจจะยืนเท้าคู่ขนานก็ได้ • ข้อศอกงอทำมุมประมาณ 90 องศา แขนตอนบนขนานกับพื้น หัวไหล่เหยียดออกจากลำตัว (บิดมาทางมือข้าที่จะส่ง) • ส้นมือและนิ้วมือประคองสัมผัสลูกบอล นิ้วมือจะเป็นตัวบังคับทิศทางของลูก
1.2 การส่งไปด้านข้าง ด้วยมือที่ถนัดและไม่ถนัด • วิธีปฏิบัติคล้ายกับวิธีมือเดียวเหนือไหล่ แต่มีข้อแตกต่างคือ • ลำตัวจะหมุนขณะที่ส่งลูกบอลไปตามทิศทางที่ส่งไป • หัวไหล่และสะโพกจะหมุนเพื่อส่งแรงตามไป • เหยียดแขนส่งแรงไปทางด้านข้าง ในทิศทางที่จะส่งลูกบอลไป
1.3. มือเดียวระดับหัวไหล่ตรงหน้า ยืนแบบเท้านำเท้าตาม หรือยืนแบบเท้าคู่ขนาน • แขนตอนบนทำมุมกับหัวไหล่ 45 องศากับข้อศอก มือถือลูกบอลอยู่ระดับไหล่ • แขนตอนบนทำมุมกับแขนตอนล่าง 90 องศา • สะโพก และหัวไหล่บิดไปทางด้านหลัง
1.4. ส่งลูกบอลมือเดียวระดับล่าง ยืนแบบเท้านำเท้าตาม • งอหรือก้มลำตัวลงต่ำระดับเอว ให้พอเหมาะเนื่องด้วยทิศทาง • มือจับลูกบอลค่อนมาทางข้างหลัง สายคามองที่เป้าหมายที่จะส่ง
1.5 ส่งลูกบอลระดับกลางด้านข้าง • วิธีการเหมือนข้อ 1.4 แตกต่างกันในตำแหน่งของการถือลูกบอลคือ ถือลูกบอลให้สูงขึ้นในระดับสะโพกเท่านั้น 1.6. การพลิกมือส่ง ยืนแบบเท้านำ เท้าตาม หรือเท้าขนาน • ถือลูกบอลให้ชิดลำตัว แขนงอ ลำตัวก้มเล็กน้อย • แขนด้านที่ถือลูกบอลเหยียดออก และพลิกมือเหยียดออกทางด้านข้างลำตัว • ลูกบอลต้องอยู่ระดับข้อมือ • เท้าด้านเดียวกับมือที่ถือลูกบอล เผยอส้นเท้า อุ้งเท้าเป็นจุดหมุนตามแรงในการส่งลูกบอลไปตามทิศทางที่ต้องการ
1.7 การส่งลูกมือเดียวอ้อมหลัง มือที่ถือลูกส่งผ่านด้านหลัง งอข้อศอก หงายฝ่ามือขึ้น แรงส่งจากข้อมือบังคับทิศทางด้วยปลายนิ้วมือทั้งห้า • ก้าวเท้าตรงกันข้ามกับมือที่ถือลูกบอลไปเฉียงหน้า • การส่งลูกบอลท่านี้สามารถส่งไปที่หมายข้างหน้า หรือด้านข้าง และแนวหัวไหล่จะเป็นแนวทิศทางของการส่งลูก
1.8. การส่งลูกมือเดียวอ้อมไหล่ • ตำแหน่งเริ่มต้น มือที่ถือลูกบอลงอแขนกึ่งเหยียดสูงระดับหัวไหล่ ลำตัวเอียงไปทางด้านที่ถือลูกบอล • การปฏิบัติ • ตวัดข้อศอกและตวัดข้อมือ บังคับลูกผ่านปลายนิ้วมือ ให้ลูกผ่านด้านหลังส่วนบนตอนหัวไหล่ไปสู่เป้าหมาย • การใช้ส่งลูกบอลท่านี้ นิยมส่งไปที่เป้าหมายข้างหน้า ในลักษณะหลอกล่อผู้เล่นด้านหลัง
1.9. การส่งลูกมือเดียวอ้อมไหล่ • 1.1การส่งลูกบอลแบบผลัก • - ตำแหน่งเริ่มต้นเหมือนวิธีส่งลูกระดับไหล่ตรงหน้า • -เทคนิคอาศัยการหมุนของหัวไหล่และสะโพก • -ลำตัวมีการเคลื่อนไหวไปข้างหน้าเล็กน้อยและลูกบอลถูกผลักไปตามทิศทางที่ต้องการ
1.10. การส่งลูกแบบตวัด • - ตำแหน่งเริ่มต้นเหมือนกับการส่งลูกบอลอ้อมหัวไหล่ • - ตำแหน่งการถือลูกไม่ควรสูงกว่าระดับหัวไหล่ • - การปฏิบัติเป็นลักษณะของการหลอดล่อยิงประตูในทันทีทันใดก็เปลี่ยนเป็นส่งลูกโดยการตวัดให้ลูกลอยขึ้นไปในอากาศ • - วิถีของลูกบอลนั้นลอยเป็นวิถีโค้ง
2.การยืนส่งด้วยมือสองมือ2.การยืนส่งด้วยมือสองมือ • 2.1 การส่งสองมือระดับอก • ยืนให้เท้าทั้งสองยืนห่างกันพอประมาณ จะยืนเท้านำเท้าตาม หรือเท้าขนานก็ได้ • การเริ่มส่งลูกบอลจะอยู่ที่หน้าอก ข้อศอกอยู่ข้างลำตัว • ถือลูกบอลพร้อมด้วยใช้ข้อมือทั้งสอง เพื่อดึงลูกบอลลงมาข้างล่างระดับท้อง • ผลักลูกบอลออกจากหน้าอก ด้วยกำลังของนิ้วมือทั้งสองและไม่เกร็ง • เมื่อปล่อยลูกแล้ว มือและแขนจะต้องเหยียดไปตามวิถีทางของลูกบอล
2.1 ส่งลูกบอลสองมือเหนือศีรษะ2.1 ส่งลูกบอลสองมือเหนือศีรษะ • จับลูกบอลสองมือชูข้นเหนือศีรษะ • ยืนแบบเท้านำ เท้าตาม หรือเท้าขนานก็ได้ • ขณะส่งลูกบอลให้เหวี่ยงมือและแขนไปด้านหลัง บิดข้อมือหงายไปข้างหลังและตวัดข้อมือเหวี่ยงแขนไปในทิศทางที่จะส่งลูกบอลไป • สามารถก้าวเท้าใดเท้าหนึ่งตามไปข้างหน้าเพื่อช่วยในการทรงตัว
2.1 ส่งลูกบอลสองมือด้านหน้า2.1 ส่งลูกบอลสองมือด้านหน้า • มือหนึ่งสัมผัสบริเวณค่อนมาทางด้านหลังของลูกบอล อีกมือหนึ่งที่เหลือประคองลูก • เอียงลำตัวไปทางด้านข้างในขณะเดียวกัน ให้ก้าวเท้าออกไปด้านข้าง(อาจเฉียงด้านหน้า) พร้อมกับย่อเข่า ส่วนเท้าที่เหลือให้เผยอส้นเท้า • น้ำหนักตัว และศูนย์ถ่วงอยู่ใกล้เท้าแรก • การส่งลูกบอลออกไปให้เหยียดข้อมือผลักลูกไปยังเป้าหมาย
การกระโดดส่งลูกบอล1. กระโดดส่งลูกบอลมือเดียวตรงหน้า- กระโดดใช้เท้าด้านที่ตรงข้ามกับมือที่ถือลูก (Take off) ในขณะเดียวกันให้งอเข่าตรงข้าม- ขณะที่ตัวลอยอยู่ในอากาศ ส่งลูกบอลออกไป ในขณะเดียวกันให้บิดลำตัว เพื่อส่งกำลังติดตามด้วยไหล่ ข้อศอก และสุดท้ายที่ข้อมือจนตึงปลายนิ้ว